พระวิสุทธิมรรค


 หน้าแรก
 สารบาญ เล่ม ๑
 สารบาญ เล่ม ๒
 สารบาญ เล่ม ๓

อารัมภกถา-พุทธโฆสุปัตติ
วิจารณ์
ศีลนิเทศ
ธุดงคนิเทศ
สมาธินิเทศ
กสิณ ๑๐
อสุภ ๑๐
อนุสสติ ๑๐
อัปปมัญญาพรหมวิหาร ๔
อรูปกัมมัฏฐาน ๔
อาหาเรปฏิกูลสัญญา
จตุธาตุววัตถาน



แผนที่วิสุทธิมรรค


 พระไตรปิฎก
 ฉบับประชาชน
 ฉบับปฏิบัติ
 ลานพุทธศาสนา
 เสียงธรรม
 พจนานุกรมฉบับประมวลศัพท์
 ไทย-อังกฤษ
 อังกฤษ-ไทย
 ฉบับประมวลธรรม


  แวะเซ็นติชมหน่อยนะคะ



 
   เล่ม ๑ หน้า ๑๘

   อาจารย์พึงกล่าวนิทานแห่งพระเถระอันเป็นพี่แห่งพระเถระสองพี่น้อง อันอยู่ในเจติยบรรพตวิหาร อันมีความปรารถนาน้อยในธุดงค์สาธกเข้าในอธิการนี้

   กิริยาที่กล่าวทั่วไป บัณฑิตพึงรู้ดังนี้ก่อน เอวํ ก็มีด้วยประการดังนี้

   “อิทานิ เอเกกสฺส สมาทานวิธานปฺปเภทเภทานิสํเส วณฺณ นิสฺสามิ ปํสุกุลิทงฺคํ ตาว คยปติทานจีวรํ ปฏิกฺฺขิปามิ ปํสุกุลิกงฺคํ สมาทิยามิติ อิเมสุ ทฺวิสุ วจเนสุ อญฺญตเรน สมาทินฺ โหติ อิทํ ตาเวตฺถ สมาทานํ เอวํ สมาทินฺนํ ธุตงฺเคน ปนเตน โสสานิกํ อาปฎิกํ รถิยโจฬํ สงฺการโจฬํ โสตฺถิยํ นฺหานโจฬํ ติตฺฉโจฬํ คตปจฺจาคตํ อคฺคิทฑฺฺฒํ โคขายิตํ อุปจิกาขยิตํ อุนฺทูรกฺขายิตำ อนฺตจุฉินฺนํ ทสาจฺฉินฺนํ ธชาหตํ ถูปจีวรํ สมณจีวรํ อาภิเสรกิกํ อิทฺธิมยํ ปนฺถิกํ วาตาหฏํ เทวทตติยํ สามุทฺทิยนฺติ

   วาระนี้ จะได้รับพระราชทานถวายวิสุชนาในเตรสธุดงค์นิเทศปริเฉท ๒ ในปกรณ์ ชื่อว่า วิสุทธิมรรค สืบอนุสนธิตามกระแสวาระพระบาลี มีเนื้อความว่า “อิทานิ เอเกกสฺส วณฺณยิสฺสามิ” ในกาลบัดนี้ข้าพระองค์ผู้่มีนามชื่อว่าพุทธโฆษาจารย์ จักสังวรรณนาสมาทานแลวิธานแลประเภทแลเภทะแลอานิสงส์ แห่งธุดงค์สิ่งหนึ่ง

   “ปํสุกฺลิกิงคํ ตาว” จะกล่าวด้วยวิธีสมาทานปังสุกุลิกังคธุดงค์ก่อนวิธีจะสมาทานปังสุกุลิกังคธุงดงค์นั้น พระโยคาวจรภิกษุผู้ประพฤติซึ่งความเพียร พึงสมาทานด้วยพระบาลีทั้งสองอย่าง

   คือพระบาลีว่า “คหปติทานจีวรํ ปฏิกฺขิปามิ” อย่าง ๑

   คือพระบาลีว่า “ปํสุกุลิกงฺคํ สมาทิยามิ” อย่าง ๑

   พระบาลีทั้งสองอย่างนั้น จะสมาทานอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ชื่อว่าสมาทานแล้ว

   สมาทานบทต้นว่า “คหปติทานจีวรํ ปฏิกฺขิปามิ” นั้น แปลเนื้อความว่า ข้าพระองค์จะห้ามเสียบัดนี้ ซึ่งจีวรอันคฤหบดีถวาย

   จะสมาทานบทปลายว่า “ปํสุกุลิกงฺคํ สมาททิยามิ” แปลว่า ข้าพระองค์จะสมาทานถือเอาบัดนี้ ซึ่งปังสุกุลิกังคธุดงค์

   กิริยาที่สมาทานในปังสุกุงลิกังคธุดงค์ บัณฑิตพึงรู้ดังนี้ก่อน

   “เอวํ สมาทินฺนํ ธุตงฺเคน ปน” อนึ่งพระโยคาวจรภิกษุสมาทานดังนี้แล้ว พึงถือเอาซึ่งจีวรอันใดอันหนึ่ง คือจีวรชื่อว่าโสสานิก แลจีวรชื่อว่าอาปณิกัง ชื่อว่ารถิยโจฬัง ชื่อว่าสังการโจฬัง โสตถิยังนหาน โจฬัง ติตกโจฬัง คตปัจจาคตัง อัคคิทัฑฒัง โคขายิตัง อุปจิกาขายิตัง อุนทูรักขายิตัง อันตัจฉินนัง ทสาจฉินนัง ธชาหตัง ถูปจีวรัง สมณจีวรัง อาภิเสกิกัง อิทธิมยัง ปันถิถัง วาตาหฏัง แลชื่อว่าเทวทัตติยัง แลวจีรชื่อว่าสมุททิยัง เข้ากันเป็นจีวร ๒๓ อย่าง ฉีกผ้าเสียแล้วละเสียซึ่งที่อันทุพพลภาพ ซักซึ่งที่อัน มักกระทำ ให้เป็นจีวรนำเสียซึ่งจีวรที่คฤหัสถ์ถวายอันมีในก่อน จึงบริโภคนุ่งห่ม

   มีอรรถสังวรรณนาในบท คือโสสานิกังเป็นปฐมนั้นว่า “สุสาเน ฉฑฺฑิต” ผ้าอันใดที่บุคคลทิ้งเสียแล้ว ในสุสานประเทศป่าช้า ผ้าอันนั้นชื่อว่า โสสานิกจีวรที่ ๑

   ผ้าอันใดที่ตกอยู่ในที่ประตูร้านตลาด ผ้านั้นชื่อว่า อาปณิกจีวรเป็นคำรบ ๒

   ผ้าอันใดที่บุคคลทั้งหลายมีประโยชน์ด้วยบุญ ทิ้งลงมาโดยช่องหน้าต่างให้ตกอยู่ในตรอกสถล ผ้านั้นชื่อว่า รถิยโจฬะ เป็นคำรบ ๓

   ท่อนผ้าที่บุคคลทิ้งเสียแล้วในกองหยากเยื่อ ชื่อว่า สังการโจฬะจีวร เป็นคำรบ ๔

   ผ้าที่บุคคลเช็คคัพภมลทินแล้วแลทิ้งเสีย ชื่อว่า โสตถิยจีวรเป็นคำรบ ๕

   “กิร” ดังได้สดับมา “ติสฺสามจฺจมาตา” มารดาแห่งอำมาตย์ ชื่อว่าดิสสะ เช็คคัพภมลทินด้วยผ้าค่าควรแสนตำลึง ยังหญิงทาสีใหนำไปทิ้งไว้ในทางที่จะไปสู่ตาลเวฬิวิหาร ด้วยมนสิการกระทำไว้ในใจว่า “ปํสุกุลิกา คณฺหิสฺสนฺติ” พระภิกษุทั้งหลายที่มีบังสุกุลจีวรเป็นปกตินั้น จะได้ถือเอา พระภิกษุทั้งหลายก็ถือเอาผ้านั้น เพื่อประโยชน์แก่จีวรอันคร่ำคร่า

   “ยํ ภูตเวชฺเชหิ” ชนทั้งหลายที่หมอภูตปีศาจ ให้อาบน้ำกับด้วยศีรษะ ทิ้งผ้าอาบน้ำอันใดเสียด้วยอาโภคคิดว่า ผ้านี้เป็นกาลกิณีแล้วก็ไป ผ้านั้นชื่อว่า นหานโจฬจีวร เป็นคำรบที่ ๖

   ผ้าท่อนเก่าที่บุคคลทิ้งไว้ในท่าน้ำ ผ้านั้น ชื่อว่าติดถโจฬจีวร เป็นคำรบที่ ๗

   มนุษย์ทั้งหลายไปสู่สุสานประเทศ กลับมาอาบน้ำแล้วทิ้งผ้าชุบอาบอันใดไว้ ผ้านั้นชื่อว่า คตปัจจาคตจีวร เป็นคำรบที่ ๘

   ผ้าอันใดมีประเภทบางแห่งอันไฟไหม้ ผ้านั้นชื่อว่า อัคคิทัฑฒจีวร เป็นคำรบที่ ๙

   แท้จริงผ้าที่ไฟไหม้นั้น มนุษย์ทั้งหลายก็ย่อมทิ้งเสีย

   ผ้าทั้งหลายที่โคเคี้ยวแลปลวกกัด แลหนูกัด แลขาดในที่สุด แลผ้าชายขาด ผ้าทั้ง ๙ ประการนี้ มนุษย์ทั้งหลายย่อมจะทิ้งเสีย

   แลผ้าชื่อว่า ธชาหตจีวรเป็นคำรบ ๑๕ นั้น อรรถสังวรรณนาว่า “นาวํ อภิรุยฺหตฺตา” มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะขึ้นสู่สำเภา ย่อมผูกธงปักไว้ที่ท่า แล้วจึงขึ้นสู่สำเภา เมื่อล่วงทัศนาวิสัยแห่งมนุษย์ทั้งหลายนั้นแล้วพระภิกษุทั้งหลายมีบังสกุลเป็นวัตรจะถือเอาผ้านั้นก็ควร

   อนึ่ง ผ้าอันใดที่เสนาของพระราชาทั้งสองผู้เป็นธงแล้วแลตั้งไว้ในยุทธภูมิ ในการเมื่อเสนาทั้งสองฝ่ายไปแล้ว พระภิกษุมีปังสุกุลเป็นปกติ จะถือเอาผ้านั้นก็ควร ผ้านั้นชื่อว่า ธชาหฏจีวรเป็นคำรบ ๑๕

   ผ้าที่มนุษย์ทั้งหลายโอบพันจอมปลอม แล้วแลกระทำพลีกรรม ผ้านั้นชื่อว่า ถูปจีวร เป็นคำรบ ๑๖

   ผ้าอันใดเป็นของแห่งพระภิกษุ ผ้านั้นชื่อว่า สมณจีวร เป็นคำรบ ๑๗

   ผ้าอันใดที่บุคคลทิ้งไว้ในที่อภิเษกแห่งบรมขัตติยราช ผ้าอันนั้นชื่อว่า อาภิเสกิกจีวร เป็นคำรบ ๑๘

   จีวรแห่งเอหิภิกษุ ชื่อว่า อิทธิมยจีวร เป็นคำรบ ๑๙

   ผ้าอันใดตกอยู่ในระหว่างหนทาง ผ้านั้นชื่อว่า ปักถิกจีวร เป็นคำรบ ๒๐

   อนึ่ง ผ้าอันใดตนอยู่แลเพราะเหตุลืมสติ แห่งมนุษย์ทั้งหลายอันเป็นเจ้าของ ผ้าอันนั้นให้พระภิกษุรักษาอยู่หน่อยหนึ่งแล้วจึงถือเอาผ้าอันนั้นชื่อว่า ปันถิกจีวร เป็นคำรบ ๒๐ ดุจเดียวกัน

   ผ้าอันใดลมประหารแล้วพาไปตกลงในที่ไกล ผ้านั้นชื่อว่า วาตาหฎา เป็นคำรบ ๒๑

   อนึ่ง ผ้านั้นเจ้าของไม่เห็นแล้ว ภิกษุจะถือเอาก็ควร

   ผ้าอันใดเป็นผ้าอันเทวดาให้ เหมือนกันกับผ้าอันนางเทวธิดาถวายแก่พระอนุรุทธ ผ้านั้นชื่อว่า เทวทัตติยะ เป็นคำรบ ๒๒

   ผ้าอันใดคลื่นซัดไปบนบกผ้านั้นชื่อว่า สามุททิยจีวรเป็นคำรบ ๒๓

   อนึ่ง ผ้าอันใดที่ทายกถวายว่า “สงฺฆสฺส เทม” ข้าพระองค์ถวายแก่พระสงฆ์ แลผ้าที่ภิกษุทั้งหลายเที่ยวไปเพื่อภิกขะแล้วแลได้ผ้าอันนั้นไม่เป็นปังสกุลจีวร

   วินิจฉัยในภิกขุทัตติยจีวรนั้นว่า “ยํ วสฺ สคฺเคนคา เหตฺวา ทียฺยติ” จีวรอันใดที่พระภิกษุทั้งหลาย ยังพระภิกษุมีปังสกุลธุดงค์เป็นปกติให้ถือเอาตามวัสสาอายุแล้วแลให้

   ใช่แต่เท่านั้น จีวรที่พระภิกษุแลคฤหัสถ์ทั้งหลายให้ด้วยวาจาว่าพระภิำกษุทั้งหลายอยู่ในเสนาสนะนี้ จงบริโภคนุ่งห่มจีวรนี้ “นตํ ปํสุกุลํ” จีวรทั้งสองสถานนั้นไม่เป็นปังสุกุลจีวร

   ถ้าพระภิกษุคฤหัสถ์ทั้งหลายไม่ถวายเอง จึงจะเป็นปังสุกุลจีวร

   อนึ่ง จีวรอันใดที่ทายกทั้งหลายตั้งไว้ในที่ใกล้เท้่าของพระภิกษุ พระภิกษุนั้นก็ถวายตั้งไว้ในมือของปังสุกุลิกภิกษุ จีวรนั้น ชื่อว่า บริสุทธิ์ แต่ฝ่ายอันหนึ่ง

   จีวรอันใด ทายกถวายตั้งไว้ในหัตถ์แห่งพระภิกษุนั้น ๆ ก็เอาไปตั้งไว้ในที่ใกล้เท้าของปังสุกุลลิกภิกษุ จึวรนั้นก็บริสุทธิ์อีกฝ่ายหนึ่ง

   จีวรอันใด ทายกตั้งไว้ในที่ใกล้เท้าแห่งพระภิกษุ ๆ ก็เอาไปถวายแก่ปังสุกุลิกเหมือนอย่างนั้น จีวรนั้นชื่อว่าบริสุทธิ์ทั้งสองฝ่าย

   จีวรอันใด ที่พระภิกษุได้เพราะเหตุทายกตั้งไว้ในมือ พระภิกษุนั้นก็ถวายตั้งไว้ในมือแห่งปังสุกุลิกภิกษุ จีวรนั้นชื่อว่าไม่เป็นจีวรอันอุกฤษฏ์

   พระภิกษุที่ปังสุกุลเป็นปกติ รู้ซึ่งเภทะคือกิริยาแตกทำลายแห่งปังสุกุลจีวรดังนี้แล้ว พึงบริโภคนุ่งห่มจีวร

   “อิเมตฺถ วิธานํ” วิธีในปังสุกุลิกธุดงค์นี้ บัณฑิตพึงรู้โดยนัยแห่งคำอันเราจะกล่าวมาแล้วนี้

   “อยมฺปน ปเภโท” อนึ่งประเภทแห่งปังสุกุลิกภิกษุ บัณฑิตพึงรู้โดยนัยแห่งคำอันเราจะกล่าวดังนี้

   “ตโย ปํสุกุลิกา” พระภิกษุที่มีปังสุกุลเป็นปกตินี้มี ๓ จำพวกคือ ปังสุกุลิกภิกษุเป็นอุกฤษฏ์ ปฏิบัติเป็นอย่างสูงจำพวกหนึ่ง

   คือปังสุกุลิกภิกษุเป็นมัชฌิม ปฏิบัติเป็นอย่างท่ามกลางจำพวกหนึ่ง

   คือปังสุกุลิกภิกษุเป็นมุทุ ปฏิบัติเป็นอย่างต่ำจำพวกหนึ่ง เป็น ๓ จำพวกด้วยกันดังนี้

   พระปังสุกุลิกภิกษุที่ถือเอาผ้าโสสานิกจีวร ที่บุคคลทิ้งเสียแล้วในสุสานประเทศอย่างเดียว ชื่อว่าปฏิบัติเป็นอุกฤษฏ์เป็นปฐมที่หนึ่ง

   พระปังสุกุลิกภิกษุที่ถือเอาผ้าปังสุกุล ที่บุคคลตั้งไว้ว่าบรรพชิตจะได้ถือเอาผ้าอันนี้ ชื่อว่าปฏิบัติเป็นมัชฌิมที่สอง

   พระปังสุกุลิกภิกษุ ที่ถือเอาผ้าทายกตั้งไว้ในที่ใกล้แห่งเท้าแล้วแลถวาย ชื่อว่าปฏิบัติเป็นมุทุที่สาม

   พระปังสุกุลิกภิกษุทั้ง ๓ จำพวกนี้ เมื่อยินดีจีวรที่คฤหัสถ์ทั้งหลายให้ธุดงค์ก็ทำลายในขณะที่ตนยินดี ด้วยฉันทะแห่งตน

   อธิบายว่า พระภิกษุไม่ชอบใจที่ทรงไว้แก่ตน แลบริโภคนุ่งห่มด้วยตน แต่ว่าไม่ห้ามที่คฤหัสถ์ทั้งหลายถวายเพื่อจะรักษาไว้ ซึ่งความเลื่อมใสของคฤหัสถ์ ยินดีว่าจะได้ถวายแก่พระภิกษุทั้งหลายอื่น ดุจดังว่าธุดงค์เภทแห่งพระภิกษุทั้งหลาย มีพระอานนท์เถรเจ้าเป็นอาทิ แลทำลายในขณะแห่งตนยินดีด้วยอภิวาสนขันติ อธิบายว่าปังสุกุลิกังคภิกษุนั้น ยินดีด้วยปรารถนาว่าจะบริโภค

   “อยเมตฺถ เภโท” ว่าด้วยธุดงค์ทำลายในปังสุกุลิกธุดงค์ บัณฑิตพึงรู้โดยนัยดังกล่าวมานี้

   อนึ่ง อานิสงส์ปังสุกุลิกธุดงค์ บัณฑิตพึงรู้โดยนัยจะกล่าวดังต่อไปนี้

   “ปํสุกุลจีวรํ นิสฺสาย ปพฺพชฺชา” บังสุกุภิกษุ ชื่อว่าสภาวะปฏิบัติสมควรแก่นิสัยเป็นอานิสงส์ เพราะเหตุว่า องค์สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคตรัสเทศนาไว้ว่า บรรพชานี้อาศัยปังสุกุลจีวร

   อนึ่ง ปังสุกุลิกภิกษุนี้จะได้อานิสงส์ คือจะยังตนให้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์เป็นปฐม

   ตนจะไม่มีทุกข์ที่จะรักษาจีวร แลจะไม่ประพฤติเนื่องด้วยบุคคลผู้อื่น แลมิได้กลัวแต่โจรไพร แลปราศจากบริโภคตัณหา ปรารถนาจะนุ่งห่มจีวรทั้งปวงและจะทรงไว้ซึ่งบริขารสมควรแก่สมณะ บังสุกุลจีวรนั้นมีค่าน้อย เป็นจีวรอันได้ด้วยง่าย จะบริโภคนุ่งห่มก็ปราศจากโทษ องค์สมเด็จพระผู้่ทรงพระภาคตรัสสรรเสริญไว้ดังนี้

   อนึ่ง “ปาสาทิกตา” ปังสุกุลิกภิกษุนั้น จะนำมาซึ่งความเลื่อมใส่แก่ชนทั้งหลายอื่น เพราะเหตุว่าภิกษุที่ทรงปังสุกุลจีวรนั้นเป็นที่เลื่อมใสของสัตว์โลกที่เป็นลูขปมาณ แลจะยังผลแห่งคุณทั้งหลายมีอัปปิจฉตาคุณ คือภาวะมักน้อยเป็นต้นให้สำเร็จ

   “สมฺมาปฏิปตฺติยา อนฺพฺรูหนํ” อนึ่งพระภิกษุที่ทรงผ้าปังสุกุลนั้นจะยังสัมมาปฏิบัติให้เจริญ แลจะยังชนอันมีในภายหลังให้ถึงซึ่งทิฏฐานุคติดูเยี่ยงอย่างปฏิบัติ

   พระพุทธโฆษาจารย์เจ้า นิพนธ์คาถาสรรเสริญพระภิกษุทีทรงบังสุกุลจีวรไว้ว่า “มารเสนวิฆาฏาย ปํสุกุลธโร ยติ” แปลเนื้อความว่า “ยติ” อันว่าพระโยคาวจรภิกษุ ทรงบังสุกุลจีวรเพื่อว่าจะกำจัดเสียซึ่งมารแลเสนามาร งานในพระพุทธศาสนาปรากฏดุจดังว่าบรมขัตติยราชผูกสอดทรงไว้ซึ่งเกราะ อันพิจิตรด้วยสัตตรัตนะกาญจนมัย งามในยุทธภูมิที่รบระงับเสียซึ่งข้าศึก

   อนึ่ง “ยํ โลกครุนา โก ตํ” องค์สมเด็จพระสัพพัญญูผู้เป็นพระบรมครูแห่งสัตว์โลก พระองค์ทรงสละเสียซึ่งวรวัตถา พระภูษาอันประเสริฐมีโกสิยพัตร์เป็นอาทิ ทรมานพระองค์ทรงปังสุกุลจีวรนั้นเล่า เหตุอันใดพระโยคาวจรภิกษุดังฤๅ จะไม่ทรงปังสุกุลจีวรนั้นเล่าเหตุใดเหตุดังนั้น พระภิกษุที่ระลึกถึงคำปฏิญาณแห่งตนที่รับคำว่าบรรพชาอาศัยปังสุกุลจีวรเป็นอาทิแล้ว ก็พึงยินดีด้วยปังสุกุลจีวรอันประพฤติเป็นไปตามความเพียรแห่งตน

   สังวรรณนามาในสมาทานแลวิธาน แลประเภทแลเภทะแลอานิสงส์ ในบังสุกุลลิกังคธุดงค์นี้ บัณฑิตพึงรู้ด้วยประการดังนี้ก่อน

   ในลำดับนั้นข้าพระองค์ผู้มีนามว่า พุทธโฆษาจารย์ จักแสดงเตจีวริกังคธุดงค์เป็นคำรบ ๒

   เตจีวริกังคธุดงค์นี้ พระภิกษุย่อมสมาทานถือเอาด้วยพระบาลีทั้งสองคือสมาทานว่า “จตุตฺถจีวรํ ปฏิกฺขิปามิ” แปลว่าข้าพระองค์จะห้ามเสียซึ่งจีวรเป็นคำรบ ๔

   แลสมาทานว่า “เตจีวริกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่าข้าพระองค์จะสมาทานถือเอา ซึ่งจีวรกังคธุดงค์

   พระภิกษุจะสมาทานด้วยพระบาลีอันใดอันหนึ่ง ก็ได้ชื่อว่าเป็นอันสมาทานแล้ว

   “เตน ปน เตยีวริเกน” อนึ่งภิกษุที่มีไตรจีวรผ้าสามผืนเป็นปกตินั้น มีจีวรอันคร่ำคร่า ได้ผ้าเพื่อประโยชน์จะทำจีวรแล้วยังไม่สามารถอาจเพื่อจะกระทำได้ เพราะเหตุไม่มีความสบาย แลไม่ได้ซึ่งวิจารณกรรมกระทำจัดแจง แลสิ่งของอันใดอันหนึ่งมีเข็มเป็นต้น ยังมิได้สำเร็จตามใดก็พึงเก็บไว้ตราบนั้น โทษจะบังเกิดขึ้นเหตุเก็บผ้าไว้นั้นมิได้มี

   อนึ่ง จำเดิมแต่ย้อมแล้วนั้น พระภิกษุจะเก็บไว้ไม่ควร เมื่่อพระภิกษุเก็บไว้ กระทำสันนิธิสั่งสม พระภิกษุนั้นชื่อว่าธุดงค์โจร

   วิธานแห่งเตจีวริกธุดงค์ บัณฑิตพึงรู้ดังนี้

   อนึ่ง วินิจฉัยโดยประเภทแห่งเตจีวริกังคธุดงค์นั้นว่า “อยํปิ ติวิโธโหติ” พระภิกษุที่มีไตรจีวรเป็นปกติมี ๓ ประการ คืออุกฤษฏ์ แลมัชฌิมะ แลมุทุกะ

   ในกาลเมื่อพระภิกษุอันเป็นอุกฤษฏ์ จะย้อมไตรจีวรนั้น พึงย้อมผ้าชื่อว่าอันตรวาสกก่อน

   เื่มื่อจะย้อมผ้าอันตรวาสกนั้น นุ่งผ้าชื่อว่าอุตราสงค์แล้วย้อมผ้า ชื่อว่าอันตรวาสก

   เมื่อจะย้อมผ้าอุตราสงค์นั้น นุ่งผ้าชื่อว่าอันตรวาสกแล้ว พึงย้อมผ้าชื่่อว่าอุตราสงค์

   เมื่ื่อจะย้อมผ้าสังฆาฏิ “ตํ ปรุปิตฺวา” ห่มผ้าชื่อว่าอุตราสงค์นั้นแล้ว พึงย้อมผ้าสังฆาฏิ อนึ่งอุกฤษฏ์ภิกษุนั้น จะนุ่งผ้าสังฆาฏิไม่ควร

   วัตรอันนี้เป็นวัตตปฏิบัติของอุกฤษฏ์ภิกษุ อันอยู่ในเสนาสนะใกล้บ้าน

   อนึ่ง อุกฤษฏ์ภิกษุที่อยู่ในอรัญเสนาสนะ จะซักจะย้อมซึ่งผ้าทั้งสอง คืออันตรวาสก แลผ้าอุตราสงค์ ในกาลอันเดียวกันก็ควร

   พระอุกฤษฏืภิกษุที่อยู่ป่าย้อมผ้านั้น เห็นบุคคลผู้หนึ่งเดินมาแล้ว แลอาจะเพื่อจะฉุดคร่ามาซึ่งผ้าย้อมฝาด กระทำในเบื้องบนได้ฉันใด พระภิกษุนั้นก็พึงนั่งอยู่ในที่ใกล้จีวรฉันนั้น

   อนึ่ง พระภิกษุมีไตรจีวรเป็นปกติ อันเป็นมัชฌิมปฏิบัติอย่างกลางนั้น จะย้อมไตรจีวรในโรงเป็นที่ย้อมนั้น ย่อมมีผ้าฝากสำหรับพระภิกษุบริโภคนุ่งห่ม ในขณะจะย้อมจีวร มัชฌิมภิกษุนั้นจะนุ่งห่มซึ่งผ้านั้นแล้ว แลกระทำซึ่งรัชชนกรรมก็ควร

   มุทุกภิกษุปฏิบัติอย่างต่ำจะนุ่งจะห่มจีวรทั้งหลาย แห่งพระภิกษุอันเป็นสภาพ แล้วแลกระทำซึ่งรัชชนกรรมก็ควร

   อนึ่ง เครื่องลาดอันเป็นของสงฆ์ แลเป็นของแห่งบุคคลอื่นอันบุคคลกระทำให้แล้วด้วยผ้าย้อมฝาด ตั้งไว้ด้วยความสามารถเป็นเครื่องลาดในอาสนะนั้น ก็ควรแก่มุทุกภิกษุนั้น

   พระมุทุกภิกษุจะยังชนให้รักษา แล้วแลนำไปซึ่งเครื่องลาดนั้นเพื่อประโยชน์แก่ตนไม่ควร

   อนึ่ง มุทุกภิกษุจะนุ่งห่มจีวร แห่งพระภิกษุทั้งหลายอันเป็สภาคเนือง ๆ นั้น ก็มิได้ควร

   อนึ่ง ผ้าย้อมฝาดกระทำเป็นอังสะผืนหนึ่ง เพิ่มขึ้นไปเป็นคำรบ ๔ ผืน ก็ควรแก่พระภิกษุอันมีไตรจีวรเป็นปกติ

   ผ้าอังสะนั้น ถ้าจะว่าโดยกว้างคืบหนึ่งเป็นประมาณ ถ้าจะว่าโดยยาว ๓ ศอกเป็นประมาณนั้นแลควร

   อนึ่ง ธุดงค์แห่งพระภิกษุทั้ง ๓ มีอุกฤษฏ์ภิกษุเป็นอาทิ ย่อมทำลายในขณะที่ตนยินดีจีวรเป็นคำรบ ๔

   เภทะ คือกิริยาทำลายในเตจีวริกธุดงค์ บัณฑิตพึงรู้ดังกล่าวมานี้ เอวํ ก็มีด้วยประการดังนี้

   “อยํ ปน อานิสํโส เตจีวริโก ภิกฺขุ สนุตุฏโ โหติ กายปริหาริเกน จีวเรน เตนสฺส ปกฺขิโนวิยสมาทาเยว คมนํ อปฺปสมารมฺภตา วตฺถสนฺนิธิปริวชฺชนํ สลฺลหุกวุตฺติตา อติเรกจีวโลลุปฺปหานํ กปฺปิเย มตฺตการิตา สลฺเลขวุตฺติ ตา อปฺปิจฺฉตาทีนํ ผลนิปฺผตฺตีติ เอวมาทาทโย คุณา สมฺปชฺชนฺตีติ อติเรกวตฺถตณฺหํ ปหาย สนฺนิธิวิวชฺชิโต ธีโร สนฺโต สสุขรสญฺญู ติจิวรธโร ภวติโยคี ตสฺมา สปตตจรโณ ปกฺขีว สจีวโรธ โยคีวโร สุขมนุวิจริตุกาโม ติจีวรนิยเม รตึ กยิราติ”

   วาระนี้จะได้รับพระราชทานถวายวิสัชนาในธุดงค์นิเทศ ในคัมภีร์พระวิสุทธิมรรค สังวรรณนาในอานิสงส์เตจีวริกภิกษุที่ทรงไตรจีวรสืบอนุสนธิตามกระแสวาระพระบาลี

   มีเนื้อความว่า “อยํ ปน อานิสํโส” อนึ่งอานิสงส์แห่งพระภิกษุมีไตรจีวรเป็นปกตินั้น บัณฑิตพึงรู้โดยนัยแห่งพระบาลี อันข้าพระองค์ผู้ชื่อว่าพุทธโฆษาจารย์ จะแสดงดังนี้

   “เตจิวรีโก ภิกฺขุ” พระภิกษุที่มีไตรจีวรเป็นปกตินั้น จะได้ซึ่งอานิสงส์ คือสันโดษยินดีในปัจจัยแห่งตน คือจีวรอันรักษากายไม่ให้มีอันตราย คือลมแลแดดเป็นอาทิ แลจะถือเอาไตรจีวรไปด้วยตนได้ดุจนกอันมีปีกบินไปในอากาศ แลจะมีกิจน้อย เพราะเหตุหามิได้แห่งกิจทั้งหลาย มีกิจที่จะนำไปซึ่งอติเรกจีวรเป็นอาทิ แลจะเว้นจากสันนิธิสั่งสมซึ่งผ้า แลจะประพฤติเบากายแลจะละเสีย ซึ่งโลภในอติเรกจีวร และจะกระทำซึ่งประมาณในปัจจัยอันควร แลประพฤติสัลเลขากระทำให้จิตเบาจากกิเลส แลยังผลแห่งคุณทั้งหลายมีอัปปิจฉตาคุณคือมีความปรารถนาน้อยเป็นต้น ให้สำเร็จคุณอานิสงส์แห่งเตจีวริกธุดงค์ มีคำกล่าวมาแล้วในหนหลังดังนี้เป็นต้น ย่อมจะสำเร็จแ่ก่พระโยคาวจรภิกษุผู้มีไตรจีวรเป็นปกติ

   ใช่แต่เท่านั้น พระพุทธโฆษาจารย์เจ้ารจนาพระบาลีสรรเสริญอานิสงส์เตจีวรธุึดงค์ไว้ว่า “อติเรกวตฺถตณฺหํ ปหาย” พระโยคาวจรภิกษุอันดำเนินด้วยญาณคติละเสียซึ่งตัณหากล่าวคือความปรารถนาอติเรกจีวร เว้นแล้วจากสันนิธิสั่งสมผ้า รู้ซึ่งรสแห่งความสุขอันบังเกิดแต่สันโดษ จึงทรงไตรจีวรบริโภคผ้านุ่งห่มแต่สามผืนเท่านั้น เหตุดังนั้น พระภิกษุในพระศาสนานี้ ปรารถนาจะเป็นโยคาวจรอันประเสริฐ มีจีวร ๓ ผืนไปกับด้วยกาย ปรารถนาเพื่อจะเที่ยวไปตามความสุขสบาย ดุจดังปักษาชาติทั้งหลาย อันเที่ยวไปกับด้วยปีกแห่งตนพึงกระทำซึ่งความยินดีในกิริยาที่กำหนดซึ่งจีวรรักษาเตจีวริกธุดงค์

   สังวรรณนามาในสมาทาน แลวิธาน แลประเภท แลเภทะแลอานิสงส์ในเตจีวริกธุดงค์ ก็ยุติเพียงเท่านี้


  
:: กลับด้านบน :: :: ย้อนกลับ ::     :: หน้าต่อไป ::


webmaster@larnbuddhism.com
23 June 2005 by 3 nang ©copyright 2005©larnbuddhism.com