พระวิสุทธิมรรค


 หน้าแรก
 สารบาญ เล่ม ๑
 สารบาญ เล่ม ๒
 สารบาญ เล่ม ๓

อารัมภกถา-พุทธโฆสุปัตติ
วิจารณ์
ศีลนิเทศ
ธุดงคนิเทศ
สมาธินิเทศ
กสิณ ๑๐
อสุภ ๑๐
อนุสสติ ๑๐
อัปปมัญญาพรหมวิหาร ๔
อรูปกัมมัฏฐาน ๔
อาหาเรปฏิกูลสัญญา
จตุธาตุววัตถาน



แผนที่วิสุทธิมรรค


 พระไตรปิฎก
 ฉบับประชาชน
 ฉบับปฏิบัติ
 ลานพุทธศาสนา
 เสียงธรรม
 พจนานุกรมฉบับประมวลศัพท์
 ไทย-อังกฤษ
 อังกฤษ-ไทย
 ฉบับประมวลธรรม


  แวะเซ็นติชมหน่อยนะคะ



 
   เล่ม ๑ หน้า ๒๒

   วาระนี้จะได้รับพระราชทานถวายวิสัชนาในสภาวธรรม ๕ ประการ อันเป็นบริวารธุดงคเจตนา ในธุดงคนิเทศปริจเฉทที่ ๒ ในคัมภีร์พระวิสุทธิมรรคปกรณ์ สืบอนุสนธิตามกระแสพระบาลี มีเนื้อความพระพุทธโฆษาจารย์ผู้รจนาคัมภีร์ได้แสดงบทวิภาคว่า “ธุตาทีนํ วิภาคโต” ซึ่งแปลว่าโดยจำแนกแห่งธรรมชื่อว่าธุึตะ คือธุดงค์อันขจัดกิเลสเป็นต้น แลมีบทวินิจฉัย ๕ บท ไขอรรถออกจากบท “วภาค ธุตาทีนํ วิภาคโต” นี้คือบท “ธุโต เวทิตพฺโพ” ว่าธรรมเป็นเหตุขจัดกิเลส ชื่อว่าธุดงค์บัณฑิตพึงรู้เป็นปฐมที่ ๑ แลบท “ธุตวาโท เวทิตพฺโพ” คือบุคคลผู้กล่าวธรรมอันขจัดกิเลสคือธุดงค์ ชื่อว่าธุตวาท เป็นคำรบ ๒ ทั้ง ๒ บทนี้ ได้วินิจฉัยตามอรรถสังวรรณนามาในข้างต้นนั้นแล้ว แต่ยังอีก ๓ บทคือบท “ธุตธมฺมา เวทิตพฺพา” เป็นคำรบ ๓ บทคือบท “ธุึตงฺคานิ เวทิตพฺพานิ” เป็นคำรบ ๔ บท “กสฺส ธุตงฺคเสวนา สปฺปายา” เป็นคำรบ ๕ นั้น ยังหาได้แสดงไม่ จะได้วินิจฉัยโดยลำดับบทสืบไป

   วินิจฉัยในบท “ธุึตธมฺมา เวทิตพฺพา” เป็นคำรบ ๓ นั้น มีอรรถสังวรรณนาว่า “อิเม ปญฺจ ธมฺมา” สภาวธรรม ๕ ประการนี้ อันเป็นบริวารแห่งธุดงค์เจตนา “อปฺปิจฺฉตา” คือความมีปรารถนามักน้อย ๑ “สนฺตุฏิตา” คือความสันโดษยินดีแต่ปัจจัยของตนที่มีอยู่ ๑ “สลฺเลขตา” คือความสัลเลขขัดเกลากิเลสให้เบาบาง ๑ “ปวิเวกตา” คือความยินดีในที่ปริเวกอันสงัดเงียบ ๑ “อิทมฏิตา” คือความมีญาณปัญญา ๑ สภาวะทั้ง ๕ ประการ ชื่อว่าธุตธรรมนี้ คือธุดงค์อันเป็นเหตุขจัดกิเลส เพราะเหตุบาลี สมเด็จพระผู้มีพระภาคได้ตรัสเทศนาไว้ว่า “อปฺปิจฺฉํเยว นิสฺสาย” ดังนี้เป็นซึ่งแปลว่าสภาวะคือธุดงค์อันเป็นเหตุขจัดกิเลสนั้น เพราะอาศัยความมีปรารถนาน้อยแท้จริง

   มีอรรถรูปว่า ในธุตธรรม คือสาภวะแห่งธุดงค์อันเป็นเหตุขจัดกิเลสอันปิจฉตาคุณ คือความปรารถนาน้อยในปัจจัย กับสันตุฏฐิตาคุณ คือความมีสันโดษยินดีในปัจจัยของตนที่มีึสภาวะ ๓ ประการนี้ ได้แก่โลโภ คือความไม่โลภ

   สัลเลขตาคุณ คือความสัลเลขขัดเกลากิเลสให้เบาบาง กับปริเวณตาคุณ คือยินดีในปริเวกอันสงัดเงียบ สภาวะทั้ง ๒ นี้ ย่อมตกตามคือเป็นไปในภายธรรมทั้ง ๒ คือ อโลโภ อโมโห คือความไม่โลภ และความไ่ม่หลง

   อิทมัฏฐิตาคุณ คือความถือว่าสิ่งนี้เป็นประโยชน์ ได้แก่ญาณปัญญา อันเป็นเหตุรู้แท้จริง

   มีอรรถสังวรรณนาในบทอิมัฏฐิตานั้นว่า พระโยคาพจรย่อมขจัดโลภในปฏิกเขปวัตถุคือสิ่งของอันต้องห้าม ด้วยอโลภะคือไม่โลภหวงแหนแลขจัดโมหะที่ปิดบังโทษ ในปฏิกเขปวัตถุเหล่านั้นด้วยอโมหะ คือไม่หลง

   ใช่แต่เท่านั้น พระโยคาพจรนั้นขจัดเสียได้ซึ่งกามสุขัลลิกานุโยค คือความเพียรอันประกอบตามความติดชุ่มอยู่ในกามสุข อันประพฤติเป็นไปด้วยอโลภะ คือเสพอาศัยซึ่งปัจจัยที่สมเด็จพระพุทธองค์ทรงอนุญาตเป็นประธาน แลขจัดเสียซึ่งอัตตกิลมถานุโยคคือเพียรกระทำตนให้ลำบาก อันประพฤติเป็นไปด้วยอโมหะ คือไม่หลงมีความสัลเลขขัดเกลากิเลสให้เบาบางยิ่งนัก ในธุดงคคุณทั้งหลายเหตุใดเหตุดังนั้น สภาวธรรมทั้ง ๕ ประการนี้ บัณฑิตพึงรู้ว่าเป็นธุตธรรมคือธุดงค์เป็นเหตุขจัดกิเลส วินิจฉัยในบท “ธุตงฺคานิ เวทิตพฺพานิ” เป็นคำรบ ๔ นั้น มีอรรถสังวรรณนาว่า “เตรส ธุตงฺคานิ เวทิตพฺพานิ” ธุงดค์ทั้งหลายบัณฑิตพึงรู้มีชื่อดังนี้ คือปังสุกุลิกังดธุดงค์ ๑ เตจีวริกังคธุดงค์ ๑ ปิณฑปาติกังคธุดงค์ ๑ สปทานจริกังคธุดงค์ ๑ เอกาสนิกังคธุดงค์ ๑ ปัตตปิณฑิกังคธุดงค์ ๑ ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ ๑ อารัญญิกกังคธุดงค์ ๑ อัพโภกาสิกังคธุดงค์ ๑ โสสานิกังคธุึดงค์ ๑ ยถาสันติกังคธุดงค์ ๑ เนสัชชิกังคธุดงค์ ๒ รวมเป็น ๑๓ ประการ

   มีอรรถรูปว่า อนึ่งกล่าวโดยเนื้อความ “ลกฺขณาทีหิ วุตฺตาเนว” ธุึดงค์ทั้ง ๑๓ ประการนี้ สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคตรัสเทศนาด้วยเหตุมีลักษณะเป็นต้นแท้จริง

   วินิจฉัยในบท “กสฺส ธุตงฺคเสวนา สปฺปายา” ซึ่งเป็นบทคำรบ ๕ มีคำปุจฉาว่า การเสพรักษาซึ่งธุดงค์เป็นที่สบายของโยคาวจรผู้มีจริตเป็นดังฤๅ

   มีคำบริหารโดยอรรถวินิจฉัยว่า การเสพรักษาซึ่งธุดงค์นั้นเป็นที่สบายของโยคาวจรสองจำพวก คือผู้เป็นราคจริต แลเป็นโมหจริต

   มีคำปุจฉาว่า การเสพรักษาซึ่งธุดงค์นั้นเป็นที่สบายของโยคาวจรผู้เป็นราคจริต แลโมหจริตนั้น เพราะเหตุอย่างไร

   มีคำวิสัชนาว่า “ธุตงฺเสวนา หิ” การเสพยารักษาซึ่งธุดงค์เป็นปฏิบัติยากยิ่ง ๑ เป็นวิหารธรรมอันสัลเลขคือขัดเกลากิเลสให้เบาบางอย่าง ๑

   แท้จริง ราคะคือความกำหนัดในวัตถุกามกิเลสกาม ของโยคาวจรผู้เป็นราคจริตนั้น “ทุกขาปฏิปทํ นิสฺสาย” ถ้าอาศัยความปฏิบัติอันยากลำบากแล้วก็ย่อมสงบระงับ

   โมหะ คือความหลงฟั่นเฟือน อันโยคาวจรผู้เป็นโมหจริตไม่มีความประมาท “สลฺเลขํ นิสฺสาย” ถ้าอาศัยความสัลเลขขัดเกลากิเลสให้เบาบางแล้วย่อมจะละเสียได้

   “หิ ยสฺมา การณา” เพราะเหตุใดเพราะเหตุดังนั้น ในอรรถสังวรรณนาอันเป็นบุรพนัยนี้ จึงกล่าวการเสพรักษาซึ่งธุดงค์เป็นที่สบายของโยคาวจรสองจำพวก คือผู้เป็นราคจริต แลผู้เป็นโมหจริตดังกล่าวแล้ว

   ในอปรนัยนั้น “อารญฺญิกงฺค รุกฺขมูลิกงฺค ปฏิเสวนาวา” อีกประการหนึ่งล้ำธุดงค์ ๑๓ ประการ การเสพรักษาในอรัญญังกังคธุดงค์ แลรุกขมูลิกังคธุดงค์ทั้งสองนี้ เป็นที่สบายแก่โยคาวจรผู้เป็นโทสจริตบ้าง

   มีอรรถรูปว่า แท้จริง เมื่อพระโยคาวจรผู้เป็นโทสจริตมีวิหารธรรมอยู่ ไม่มีวัตถุแลบุคคลใดมากระทบครึดครือ เพราะความเสพปฏิบัติซึ่งธุดงค์ “โทโสปิ วูปสมติ” แม้ว่าโทโสความโกรธเคืองประทุษร้ายก็ย่อมระงับ

   สังวรรณนามาในบพวิภาคคือ “ธุตาทีนํ วิภาโต” บัณฑิต

   วินิจฉัยในบท “สมาสพฺยาสโต” คือว่าด้วยธุดงค์โดยย่อแลธุดงค์โดยพิสดารต่อไป

   “อิมานิ ปน ธุตงฺคานิ สมาสโต ตีณิ สีสงคานิ ปญฺจ อสมฺภินฺนงฺคานีติ อฏเว โหนฺติ”

   มีอรรถสังวรรณนาว่า “อิมานิ ปน ธุตงฺคานิ” ดังกล่าวว่าโดยพิเศษ ถ้าว่าโดยย่อธุดงค์เหล่านี้จัดเป็นสีสังคธุดงค์ คือมีองค์เป็นศีรษะเป็นประธาน แต่สามธุดงค์ ธุดงค์ที่เป็นอภิสัมภีนนังคธุดงค์คือมีองค์ไม่เจือกัน ๕ ธุดงค์ มีเพียง ๘ เท่่านั้น

   ล้ำธุดงค์ ๘ นั้น ธุดงค์เหล่านี้คือสปทานจาริกังคธุดงค์ ๑ เอกาสนิกังคธุดงค์ ๑ อัพโภกาสิกังคธุดงค์ ๑ ทั้ง ๓ นี้เป็นองค์ศีรษะประธานแห่งธุดงค์ทั้ง ๑๓ ประการ

   อธิบายว่า แท้จริงโยคาวจร เมื่อรักษาสปทานจาริกังคธุดงค์ก็ชื่อว่า จักรักษาปิณฑปาติกังธุดงค์ด้วย

   “เอกาสนิกงฺคํ จ รกฺขโต” ใช่แต่เท่านั้น โยคาวจรเมื่อรักษาเอกาสนิกังคธุดงค์อยู่ “ปตฺตปิณฺฑิกงฺคขลุปจฺฉาภตฺติกงฺคานิปิ สุรกฺขนียานิปิ” อันว่าปัตตปิณฑิกังคธุดงค์ก็ดี แลขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ก็ดี ชื่อว่าโยคาวจรนั้นพึงรักษาด้วยแล้ว

   “อพฺโภกาสิกงฺคํ รกฺขนฺตสฺส” เมื่อโยคาวจรรักษาอัพโภกาสิกังคธุดงค์อยู่ “กึ อตฺถิ รุกฺขมูลิกงฺคํ” รุกขมูลิกังคธุดงค์ยังมีอย่างไรเล่า อธิบายว่าพระโยคาวจรรักษาอัพโภกาสิกังคธุดงค์แล้วก็ชื่อว่ารักษารุกขมูลิกังคธุดงค์ด้วย

   “ยถาสนฺถติกงฺคํ จ รกฺขิตพฺพํ นาม” ใช่แต่เท่านั้น ยถาสันถติกังคธุดงค์ก็ชื่อว่า อันพระโยคาวจรภิกษุนั้นพึงรักษาด้วยอย่างเดียวกัน

   อธิบายว่า โยคาวจรภิกษุเมื่อรักษาอัพโภกาสิกังคธุดงค์แล้วทั้งสองด้วยพร้อมกัน

   “อิมา นิ ตีณี สีสงฺคานิ” จึงสรุปรวมความว่า สีสังคธุดงค์คงมีองค์เป็นศีรษะประธาน ๓ ธุดงค์เหล่านี้ ดังที่กล่าวมาแล้วกับอสัมภินนังคธุดงค์ คือมีองค์ไม่เจือกัน คืออารัญญิกังคธุดงค์ ๑ ปังสุกกุลิกังคธุดงค์ ๑ เตจีวรีกังคธุดงค์ ๑ เนสัชชิกังคธุดงค์ ๑ โสสานีกังคธุดงค์ ๑ เป็น ๕ ธุดงค์เหล่านี้ จึงรวมด้วยกันเป็นธุดงค์ ๘ ประการดังนี้

   “จตฺตาเรว โหนฺติ” อนึ่งพระพุทธโฆษาจารย์เจ้า แสดงลักษณะธุดงค์ตามนัยพระพุทธฎีกามี ๔ ประเภท อีกใหม่เล่าว่าธุดงค์ทั้ง ๑๓ ประการนัน ถ้าจัดเป็นปฏสังยุตต์ คือประกอบอาศัยซึ่งปัจจัย แลวิริยะเป็นปฏิสังยุตตธุดงค์แล้ว ก็มีลักษณะเป็น ๔ ประการ

   “เทฺว จีวรปฏิสํยุตฺตานิ” คือธุดงค์เป็นปฏิสังยุตต์ด้วยจีวรปัจจัย ๒ “ปญฺจ ปิณฺฑปาตปฏิสํยุตฺตานิ” คือธุดงค์เป็นปฏิสังยุตต์ด้วยบิณฑบาตปัจจัย ๕ “ปญฺจ เสนาสนปฏิสํยุตฺตานิ” คือธุดงค์เป็นปฏิสังยุตต์เสนาสนะ ๕ “เอกํ วิริยปฏิสํยุตฺตํ” คือธุดงค์เป็นปฏิสังยุตต์ด้วยความเพียร ๑

   เป็นลักษณะประเภทแห่งธุดงค์เป็น ๔ ประการดังนี้ มีความอธิบายว่า ล้ำลักษณะแห่งธุดงค์ทั้ง ๔ ประเภทนั้น เนสัชชิกังคธุดงค์เป็นวิริยปฏิสังยุตต์ คือประกอบพร้อมจำเพาะด้วยความเพียร

   ธุดงค์อีก ๑๒ ข้างนอกนี้ มีลักษณะปรากฏให้เห็นชัดอยู่แท้จริง ธุดงค์ยังมีอีกเล่าเรียกว่านิสสิตธุดงค์ พระพุทธโฆษาจารย์เจ้าจึงแสดงบทในอรรถสังวรรณนาว่า “สพฺพเนว นิสฺสยวเสน เทฺวว โหติ” ธุดงค์อันมีลักษณะเป็น ๒ ด้วยสามารถจัดเป็นนิสัย คืออาศัยเป็นปัจจัยแลวิริยะชื่อว่านิสสิตธุดงค์

   มีความอธิบายว่า ธุดงค์ ๑๒ อันอาศัยซึ่งปัจจัย คือจีวรบิณฑบาตเสนาสนะ เรียกว่าปัจจัยนิสสิตธุดงค์

   แลธุดงค์ ๑ อันอาศัยซึ่งความเพียรเรียกว่าวิริยนิสสิตธุดงค์

   องค์ธุดงค์มีอีก ๒ “เสวิตพฺพาเสวิตพฺพวเสน” ด้วยสามารถธุดงค์อันโยคาวจรภิกษุพึงเสพรักษาเรียกว่า เสวิตัพพธุดงค์ และธุดงค์อันโยคาวจรภิกษุไม่พึงเสพรักษาเรียกว่า อเสวิตัพพธุดงค์

   มีอรรถสังวรรณนาว่า แท้จริงเมื่อพระโยคาวจรภิกษุรูปใดเสพรักษาธุดงค์อยู่ “กมฺมฏานํ วฑฺฒติ” กรรมฐานภาวนาย่อมเจริญขึ้น “เตน เสวิตพฺพานิ” ธุดงค์ทั้งหลายนั้น อันโยคาวจรภิกษุรูปนั้นก็ควรเสพรักษา

   ถ้าโยคาวจรภิกษุรูปใด ผู้เสพรักษาธุดงค์อยู่ กรรมฐานภาวนาย่อมเสื่อมถอยไป “เตน น เสวิตพฺพานิ” ธุดงค์ทั้งหลายนั้น อันโยคาวจร ภิกษุรูปนั้นไม่ควรเสพรักษา

   อีกประการหนึ่ง โยคาวจรภิกษุใด เมื่อเสพรักษาธุดงค์ก็ดี ไม่เสพรักษาธุดงค์ก็ดี “วฑฺฒเว น หายติ” กรรมฐานภาวนาของโยคาวจรภิกษุนั้นย่อมเจริญไม่เสื่อมถอย โยคาวจรภิกษุนั้นเมื่อมีความอนุเคราะห์แก่ปัจฉิมาชนตาชน ผู้เกิดมาในภายหลังก็พึงเสพรักษาธุดงค์ทั้งหลายนั้นเถิด

   อนึ่ง โยคาวจรภิกษุใด รักษาธุดงค์อยู่ก็ดี มิได้รักษาธุดงค์ก็ดี “น วฑฺฒเตว” กรรมฐานภาวนาของโยคาวจรภิกษุนั้นย่อมไม่เจริญแท้จริง โยคาวจรภิกษุนั้นควรรักษาธุดงค์ทังหลายนั้นเถิด “อายตึ” เพื่อประโยชน์แก่วาสนาบารมีเป็นเหตุอบรมสืบต่อไปในภพเบื้องหน้า

   “เอวํ เสวิตพฺพาเสวิตพฺพวเสน ทุวิธานิปิ” ธุดงค์มี ๒ ประการด้วยสามารถเป็นเสวิตัพพธุดงค์แลอเสวิตัพพธุดงค์ ดังพรรณนามาฉะนี้

   อนึ่ง ธุดงค์ทั้งหลายทั้งปวง ถ้ากล่าวด้วยสามารถเจตนาก็มีแต่ประการเดียวเท่านั้น สมด้วยคำพระอรรถกถาจารย์กล่าวในอรรถกถาทั้งหลายมีดังนี้ว่า “เอกาเยว หิ ธุตงฺคสมาทานเจตนา” มีความว่าแท้จริง เจตนาในการสมาทานซึ่งธุดงค์เป็นอย่างเดียวเท่านั้น

   อาจารย์บางจำพวกย่อมกล่าวว่า “ยา เจตนาธุตงฺคํ” เจตนาเป็นความดำริจะสมาทานใด เจตนาคือความดำริสมาทานนั้นนั่นแลชื่อว่าธุดงค์ คือเป็นเหตุอันขจัดกิเลส

   แสดงลักษณะแห่งธุดงค์โดยย่อ มีสีสังคธุดงค์ ๓ เป็นต้น ก็ยุติกาลเท่านี้

   แต่นี้จะสังวรรณนาลักษณะแห่งธุดงค์โดยวิตถารต่อไป

   “พฺยาสโต ปน” ประการหนึ่ง ถ้าจะกล่าวโดยพิสดาร ธุดงค์มี ๔๒ ประการ คือธุดงค์แห่งภิกษุ ๑๓ ธุดงค์ แห่งนางภิกษุณี ๘ ธุดงค์ของสามเณร ๑๒ ธุดงค์ของนางสิกขมานา แลสามเณรี ๗ ธุดงค์ของอุบาสก อุบาสิกา ๒ จึงเป็นธุดงค์ ๔๒ ดังนี้

   “สเจ หิ อพฺโภกาเส อารญฺญิกงฺคสมฺปนฺนสุสานํ โหติ” มีสังวรรณนาว่า แท้จริง ถ้าสุสานประเทศป่าช้าถึงพร้อมแก่อารัญญิกังคธุดงค์มีใดอัพโภกาสอันเป็นที่กลางแจ้ง พระภิกษุแม้แต่รูปเดียวก็อาจเพื่อจะเสพรักษาธุดงค์ทั้งปวงได้คราวเดียวกัน คืออธิบายว่าเป็นอันรักษาธุดงค์ตลอดทั่วถึงกันสิ้นทั้ง ๑๓ ธุดงค์แล

   ดังจะกล่าวโดยพิเศษ ธุดงค์ทั้ง ๒ คืออารัญญิกกังคธุดงค์ ๑ ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ ๑ สมเด็จพระผู้ทรงพระภาค ก็ตรัสห้ามแก่นางภิกษุณีด้วยมีสิกขาบทได้ทรงบัญญัติไว้

   ธุดงค์ทั้ง ๓ นี้ คืออัพโภกาสิกังคธุดงค์ ๑ รุกขมูลิกังคธุดงค์ ๑ โสสานิกังคธุดงค์ ๑ “ทุปฺปริหารานิ” อันนางภิกษุณีจะรักษาได้ด้วยยาก “ภิกฺขุนิยา หิ ทุตยิกํ วินาวสิตุ ํ นฺ วฏฏติ” เพราะเหตุใดเพราะเหตุว่าอันนางภิกษุณี ถ้าเว้นทุติยิกาภิกษุณี ที่เป็นเพื่อนสองแล้วก็ไม่ควรจะอยู่

   อีกประการหนึ่ง “สมานจฺฉนฺทา ทุติยิกา ทุลฺลภา” นางภิกษุณีทุติยิกาที่เป็นเพื่อนสอง ซึ่งมีฉันทะความปรารถนาพอใจอันเสมอกันก็เป็นอันได้ด้วยยากในสถานเห็นปานดังนี้

   อนึ่งถ้าหากนางภิกษุณีนั้น จะพึงได้ทุติยิกาภิกษุณีเป็นเพื่อนสองที่มีความปรารถนาพอใจเสมอกันไซร้ “สํสฏวิหารโต น มุจฺเจยฺย” ก็ไม่พึงด้นจากวิหารโทษ คือความอยู่ระคนกัน

   “เอวํ สติ” ในเมื่อเหตุขัดข้องอย่างนี้มี นางภิกษุณีจะพึงรักษาธุดงค์ได้เพื่อหวังแก่ประโยชน์อย่างใด “เสววสสา อตฺโถ สมฺปชฺเชยฺย” ประโยชน์นั้นไม่พึงสำเร็จแก่นางภิกษุณีนั้นแท้จริง

   เพราะเหตุแห่งนางภิกษุณี ไม่พึงอาจปฏิบัติรักษาธุดงค์ได้ดังที่กล่าวมานี้ “ปญจ หาเปตฺวา ภิกขุนีนํ อฏเฐว โหนฺตีติ เวทิตพฺพานิ” ธุดงค์ทั้งหลาย บัณฑิตพึงรู้ว่า ลดเสีย ๕ ธุดงค์ แล้วธุดงค์ของนางภิกษุณียังมีอยู่ ๘ ธุดงค์

   อธิบายธุดงค์ทั้ง ๘ นั้น นางภิกษุณีจะพึงเลือกธุดงค์หนึ่งธุดงค์ใด ปฏิบัติรักษาได้ โดยควรแก่จริต แลความสบาย แลความศรัทธาเลื่อมใสของตน ตามพระพุทธบัญญัติที่ทรงอนุญาตไว้

   ประการหนึ่งล้ำธุดงค์เหล่านั้น โดยควรแก่คำที่กล่าวแล้ว ธุดงค์ทั้งหลายอันเศษยกเตจีวริกังคธุดงค์เสียมี ๑๒ บัณฑิตพึงรู้ว่าเป็นธุดงค์ของสามเณร แลธุดงค์ ๗ เป็นของสิกขมานาแลสามเณรี

   อนึ่งธุดงค์เหล่านี้ คือเอกาสนิกังคธุดงค์ ๑ ปัตตปิณฑิกังคธุดงค์ ๖ เป็นธุดงค์สมควรแก่อุบาสกอุบาสิกา ธุดงค์ทั้ง ๒ ดังนี้ อันอุบาสกแลอุบาสิกา อาจเพื่อจะปฏิบัติรักษาได้ เพราะเหตุฉะนี้ธุดงค์มี ๔๒ โดยพิสดารดังที่กล่าวมาด้วยประการดังนี้

   “อยํ สมาสพฺยาส โต วณฺณนา” แสดงด้วยอรรถวรรณนาในบท “สมาสพฺยาสโต” คือย่อแลพิสดารแห่งธุดงค์ อันมีประการต่าง ๆ นี้ ก็ยุติกาลแต่เท่านี้

   “สีลสฺส โวทานํ” ความบริสุทธิ์แห่งศีลมีประการอันกล่าวแล้วด้วยคุณทั้งหลายใด มีอัปปิจฉตาคุณ แลสันตุฏฐิตาคุณเป็นต้น “เตสํ สมฺปาทนตฺถํ สมาทานตพฺพธุตงฺคกถา กถิตา” การกล่าวซึ่งธุดงค์อันพระโยคาวจรพึงสมาทาน เพื่อจะให้ถึงพร้อมแห่งคุณมีอัปปิจฉตาคุณ แลสันตุฏฐิตาคุณเป็นต้นเหล่านั้น อันข้าพระองค์ผู้ชื่อว่าพุทธโฆษาจารย์กล่าวแล้วในคัมภีร์พระวิสุทธิมรร ที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคได้ตรัสเทศนาด้วยศีลแลสมาธิปัญญา เป็นประธานในพระคาถานี้ด้วยคำว่า “สีเล ปติฏาย นโร สปญฺโญฺ” มีประมาณเท่านี้

   “ธุตงฺคนิทเทโส นาม ทุติโย ปริจเฉโท” แสดงมาด้วยปริจเฉทเป็นคำรบ ๒ ชื่อธุดงคนิเทส คืแแสดงออกซึ่งธุดงค์อันมีประเภท ๑๓ ประการ แลลักษณะแห่งธุดงค์ทั้งย่อแลพิสดาร ในคัมภีร์พระวิสุทธิมรรค อันข้าพระองค์ผู้มีนามว่าพุทธโฆษาจารย์ได้รจนาตกแต่้งเพื่อให้เกิดความปราโมทย์ คือตรุณปีติอันอ่อนแก่สาธุชน ด้วยประการดังนี้

   รับพระราชทานถวายวิสัชนา ในสภาวธรรมอันเป็นบริวารแห่งธุดงคเจตนาในบท ธุตธมฺมา เวทิตพฺพา” เป็นต้นจนตลอดจบธุดงคนิเทศปริจเฉทที่ ๒ ก็ยุติกาลเพียงเท่านี้

เอวํก็มีด้วยประการฉะนี้


  
:: กลับด้านบน :: :: ย้อนกลับ ::     :: หน้าต่อไป ::


webmaster@larnbuddhism.com
23 June 2005 by 3 nang ©copyright 2005©larnbuddhism.com