พระวิสุทธิมรรค


 หน้าแรก
 สารบาญ เล่ม ๑
 สารบาญ เล่ม ๒
 สารบาญ เล่ม ๓

อารัมภกถา-พุทธโฆสุปัตติ
วิจารณ์
ศีลนิเทศ
ธุดงคนิเทศ
สมาธินิเทศ
กสิณ ๑๐
อสุภ ๑๐
อนุสสติ ๑๐
อัปปมัญญาพรหมวิหาร ๔
อรูปกัมมัฏฐาน ๔
อาหาเรปฏิกูลสัญญา
จตุธาตุววัตถาน



แผนที่วิสุทธิมรรค


 พระไตรปิฎก
 ฉบับประชาชน
 ฉบับปฏิบัติ
 ลานพุทธศาสนา
 เสียงธรรม
 พจนานุกรมฉบับประมวลศัพท์
 ไทย-อังกฤษ
 อังกฤษ-ไทย
 ฉบับประมวลธรรม


  แวะเซ็นติชมหน่อยนะคะ



 
   เล่ม ๑ หน้า ๒๑

   ในรุกขมูลิกธุดงค์นั้นเมื่อพระภิกษุจะสมาทาน ก็พึงสมาทานด้วยพระบาลีทั้งสองคือ “ฉนฺนํ ปฏิกฺขิปามิ” แปลว่าข้าพระองค์จะห้ามเสียซึ่งอาวาสที่อยู่ อันมุ่งด้วยวัตถุทั้งหลายมีกระเบื้องเป็นต้น

   แลพระบาลีว่า "รุกฺขมูลิกงฺคํ สมาทิยามิ" ข้าพระองค์จะพึงถือเอาซึ่งรุกขมูลิกธุดงค์อันใดอันหนึ่ง ก็ชื่อว่าสมาทานแล้ว

   "เต ปน รุกขมูลิเกน" อนึ่งพระภิกษุที่มีรุกขมูลธุดงค์เป็นปกติ พึงเว้นเสียซึ่งต้นไม้ทั้งหลายนี้ คือต้นไม้อันตั้งอยู่ในแดนพระนครแห่งบรมกษัตริย์ทั้งสอง แลรุกขเจดีย์ที่มนุษย์ทั้งหลายสมมติกล่าวกันว่า เป็นต้นไม้อันเทพยดาสิงสถิตอยู่แลต้นไม้มียางมีไม้รกฟ้าเป็นอาทิ แลต้นไม้มีผล แลต้นไม้มีดอก แลต้นไม้อันค้างคาวทั้งหลายเสพอาศัยอยู่ แลต้นไม้มีโพรง สัตว์ทั้งหลายมีทีฆชาติเป็นอาทิ จะยังเบียดเบียนให้บังเกิด แลต้นไม้อยู่ในท่ามกลางวิหาร เมื่อเว้นต้นไม้ดังกล่าวมานี้แล้วพึงถือเอาต้นไม้ที่ตั้งอยู่ในที่ตังอยู่ในที่สุดวิหาร

   วิหารแห่งรุกขมูลธุดงค์ บัณฑิตพึงรู้ดังนี้

   อนึ่งถ้าจะว่าโดยประเภท พระภิกษุที่มีรุกขมูลธุดงค์เป็นปกตินั้นมีประเภท ๓ ประการ คืออุกฤษฎ์แลมัชฌิมะแลมุทุกะ

   อุกฤษฏ์ภิกษุนั้นถือซึ่งต้นไม้ควรแก่ชอบใจแล้ว จะยังชนให้ชำระนั้นไม่ได้ พึงนำเสียซึ่งใบไม้อันตกลงแต่ต้นไม้นั้นด้วยเท้าแลแลพึงอยู่

   มัชฌิมภิกษุนั้น ได้เพื่อจะยังชนทั้งหลายอันมาถึงสถานที่นั้นให้ช่วยชำระภายใต้ต้นไม้ที่ตนถือเอานั้น

   พระมุทุกภิกษุนั้น ได้เพื่อจะเรียกมาซึ่งชนทั้งหลายอันรักษาอารามแลสมณุเทเทศทั้งหลายแล้ว แลให้ชำระให้กระทำแผ่นดินให้เสมอให้โปรยลงซึ่งทรายให้กระทำกำแพงรอบต้นไม้ ให้ประกอบประตูแล้วแลพึงอยู่

   อนึ่งเมื่อวันฉลอง พระภิกษุรุกขมูลิกธุดงค์ นั่งอยู่ภายใต้ต้นไม้นั้น พึงไปนั่งอยู่ในที่อื่นเป็นที่อันกำบัง

   อนึ่งธุดงค์แห่งพระภิกษุรุกขมูลิกทั้ง ๓ จำพวกนั้ ย่อมจะทำลายในขณะเมื่ือตนสำเร็จซึ่งกิริยาที่อยู่ในที่มุงด้วยหญ้าแลใบไม้

   อังคุตตรภาณกาจารย์กล่าวว่า ธุดงค์แห่งพระภิษุ ๓ จำพวกนั้น ย่อมจะทำลายในกาลคือตนรู้อยู่ว่าอรุณจะขึ้นมาแล้ว แลยังอรุณให้ตั้งขึ้นในที่มุง

   "อยเมตฺล เภโท" การที่ทำลายในรุกขมูลิกธุดงค์ บัณฑิตพึงรู้ดังนี้

   อนึ่งอานิสงส์แห่งรุกขมูลิกธุดงค์นี้ คือสภาวะปฏิบัติมีรูปอันเป็นไปตามแก่นิสัย เพราะเหตุพระบาลี องค์สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสเทศนาไว้ว่า “รุกฺขมูลเสนาสนํ นิสฺสาย ปพฺพชฺชา” แปลว่าบรรพชาอาศัยซึ่งที่นอนแลที่นั่ง ณ ภายใต้ต้นพฤกษา

   อนึ่งสภาวะที่พระภิกษุทรงซึ่งรุกขมูลิกธุดงค์นี้ เป็นเหตุเป็นปัจจัยที่จะให้พระผู้่ทรงพระภาคตรัสสรรเสริญว่า ปัจจัยจะบังเกิดแก่พระภิกษุนี้น้อย ปัจจัยนั้นได้ด้วยง่ายไม่มีโทษ

   ใช่แต่เท่านั้น อนิจจสัญญาย่อมจะบังเกิดแก่พระโยคาวจรภิกษุนั้น เพราะเหตุถึงซึ่งวิกาลแห่งต้นไม้เนือง ๆ แลปราศจากตระหนี่ในเสนาสนะแลยินดีในนวกรรมแลจะอยู่กับด้วยรุกขเทวดา แลจะประพฤติเป็นไปตามแก่คุณทั้งหลาย มีอัปปิจฉตาคุณเป็นประธาน

   เหตุใดเหตุดังนั้น พระพุทธโฆษาจารย์เจ้าจึงนิพนธ์พระคาถาไว้ "พุทฺธเสฏเนวณฺณิโต” พระผู้มีรุกขมูลิกธุดงค์เป็นปกตินี้ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสรรเสริญว่า ปฏิบัติสมควรแก่นิสัย พระภิกษุยินดีในที่สงัดนั้น จะเสมอเหมือนด้วยภิกษุอันทรงรุกขมูลธุดงค์นี้หามิได้ พระภิกษุที่ทรงธุดงค์อันนี้ จะนำเสียซึ่งตระหนี่ในอาวาส ปวิติตฺ เตน สนฺโต หิ” แท้จริงพระภิกษุมีวัตรอันงาม อยู่ในที่สงัดคือรุกขมูลอันเทพยดารักษา ก็จะได้ทัศนาการเห็นต้นไม้มีใบไม้อันเขียวแลแดงอันหล่นลงจากขั้ว ก็จะละเสียซึ่งอนิจจสัญญาสำคัญว่าเที่ยง เหตุใดเหตุดังนั้น พระภิกษุผู้ประกอบด้วยวิจารณปัญญายินดีในวิปัสสนา อย่าพึงดูหมิ่นรุกขมูลเสนาสนะอันสงัด อันเป็นทรัพย์มรดกแห่งพระองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า

   สังวรรณนามาในสมาทานแลวิธาน แลประเภทแลทำลายแลอานิสงส์ในรุกขมูลิกธุดงค์ ก็ตั้งอยู่ด้วยอาการอันสำเร็จแล้วนี้

   อนึ่งอัพโภกาสิกธุดงค์นั้น พระภิกษุพึงสมาทานด้วยพระบาลีทั้งสองคือ “ฉนฺนญจรุกฺขมูลลญิจ ปฏิกฺขิปามิ” แปลว่าข้าพระองค์ห้ามเสียบัดนี้ซึ่งเสนาสนะอันมุงแลรุกขมูล

   แลสมาทานว่า "อพฺโภกาสิกงฺคํ สยาทิยามิ" แปลว่าข้าพระองค์จักสมาทานถือเอาอัพโภกาสิกธุดงค์อันใดอันหนึ่ง ก็ได้ชื่อว่าสมาทานแล้ว

   "ตสฺส ปน อพฺโภกาสิกสฺส" อนึ่งพระภิกษุที่มีอัพโภกาสิกธุดงค์เป็นปกตินั้น จะเข้าไปสู่เรือนอันเป็นที่กระทำอุโบสถเพื่อจะฟังธรรม และจะกระทำอุโบสถกรรมก็ควร

   ถ้าแลพระภิกษุนั้นเข้าไปในเรือนเป็นที่กระทำอุโบสถแล้ว ฝนก็ตกลงมา เมื่อฝนยังตกอยู่ก็อย่าออกไปเลย เมื่อฝนหยุดแล้วจึงออกไป พระภิกษุนั้นจะเข้าไปสู่ศาลาโรงภาชนะ แลจะเข้าไปสู่โรงไฟเพื่อจะกระทำซึ่งวัตรก็ควร

   แลจะเข้าไปไต่ถาม พระภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระในโรงบริโภคด้วยภัตราก็ควร

   อนึ่งพระภิกษุนั้นมีกิจเืพื่อจะให้ซึ่งอุเทศ แก่พระภิกษุทั้งหลายอื่นแลจะเรียนซึ่งอุเทศด้วยตน เข้าสู่ที่มุงด้วยอิฐเป็นอาทิก็ควร

   และจะยังเตียงแลตั่งเป็นอาิทิ อันบุคคลเก็บไว้ไม่ดีในภายนอก ให้เข้าไปอยู่ในภายในดังนี้ก็ควร

   อนึ่งถ้าแลว่าพระภิกษุนั้นเดินไปในหนทาง ตนก็ถือเอาบริขารแห่งพระเถระผู้ใหญ่ไว้ด้วย เมื่อฝนตกลงมา พระภิกษุนั้นจะเข้าไปในศาลาที่ตั้งอยู่ในท่ามกลางมรรคาก็ควร

   ถ้าแลตนมิได้ถือเอาบริขารอันใดอันหนึ่ง จะไปโดยเร็วมนสิการว่าอาตมาอยู่ในศาลาดังนี้ไม่ควร

   อนึ่งพระภิกษุนั้นไปโดยปกติแล้ว แลเข้าไปสู่ศาลาอยู่ตราบเท่าฝนหายจึงควรไป

   วิธานแห่งพระภิกษุมีอัพโภสิกธุดงค์เป็นปกติบัณฑิต พึงรู้ดังนี้

   นัยแห่งรุขมูลิกธุดงค์ ก็เหมือนกันกับอัพโอภกาสิกธุดงค์นี้

   อนึ่ง ถ้าจะว่าไปโดยประเภทพระภิกษุมีอัพโภกาสิกธุดงค์เป็นปกติ ๓ ประการ คือ อุกฤษฏ์ แลมัชฌิมะแลมุทุกะ

   อุกฤษฏ์ภิกษุจะอาศัยต้นไม้แลภูเขา แลเรือนแก้วแลอยู่นั้นไม่ควรพึงกระทำกระท่อมจีวรในที่แจ้งแท้จริงแล้วจะพึงอยู่

   มัชฌิมภิกษุนั้นจะอาศัยต้นไม้ ภูเขา แลเรืือน แล้วแลอยู่ก็ควรแต่ทว่าอย่าเข้าไปภายใน

   มุทุกภิกษุนั้น จะอาศัยเงื้อมภูเขามีแดดอันมิได้บังด้วยผ้าเป็นอาทิ แลมณฑปมุงด้วยกิ่งไม้แลผ้าอันคาดด้วยผ้าขาว แลกระท่อมอันชนทั้งหลายมีชนรักษานาเป็นอาทิทิ้งเสียแล้วก็ควร

   อนึ่ง ธุดงค์แห่งพระภิกษุทั้ง ๓ จำพวกนี้ ย่อมทำลายในขณะที่เข้าไปสู่ที่มุงแลรุกขมูลเป็นอาทิเพื่อประโยชน์จะอยู่

   พระอังคุตตรภาณกาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ธุดงค์แห่งพระภิกษุทั้ง ๓ จำพวกนั้นทำลายในกาลที่ตนรู้ว่าอรุณจะขึ้นมาแล้ว แลยังอรุณให้ขึ้นมาในที่มุงด้วยกระเบื้องเป็นอาทิเป็นประมาณ

   "อยเมตฺถ เภโท" กิริยาที่ทำลายในอัพโภกาสิกธุดงค์ บัณฑิตพึงรู้ดังนี้

   อนึ่ง อานิสงส์อัพโภกาสิกธุดงค์ องค์สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสเทศนาไว้ว่า “อาวาสปลิโพธูปจฺเฉโท” พระโยคาวจรภิกษุผู้ทรงไว้ซึ่งอพฺโพกาสิกธุดงค์นี้ จะตัดเสียซึ่งปลิโพธกังวลในอาวาส แลบรรเทาเสียซึ่งถิ่นมิทธะ และมีปกติเที่ยวไปมิได้ขัดข้อง ดุจมฤคชาติอันไม่อาศัยในที่อยู่ พระภิกษุนั้นประพฤติเป็นไปตามคำสรรเสริญดังนี้ แลไม่มีความหวงแหนในอาวาส อาจจาริกไปในทิศทั้งสี่และจะประพฤติเป็นไปตามแก่คุณทั้งหลาย มีอัปปิจฉาตาทิคุณเป็นประธาน

   เพราะเหตุการณ์นั้น พระพุทธโฆษาจารย์เจ้าพึงนิพนธ์พระคาถาไว้ว่า

   "อนาคาริยภาวสฺส อนุรูเป อทุลฺลเภ" แปลเนื้อความว่าพระภิกษุที่อยู่ในอัพโภกาสที่แจ้งนั้น สมควรแก่ภาวะแห่งตนเป็นบรรพชิต เป็นที่อันรุ่้งเรืองด้วยประทีปคือรัศมีพิมานจันทร์เทวบุตร มีเพดานดาดไปด้วยแก้วกล่าวคือดวงดาวดาราในอากาศ เป็นที่อันบุคคลกะพึงได้ด้วยยาก พระภิกษุนั้นย่อมมีจิตประพฤติดุจดังว่ามฤคชาติ เพราะเหตุว่าหาหวงแหนมิได้ในที่อยู่ “ถีนมิทฺธํ วิโนเทตฺวา” บรรเทาเสียแล้ว ซึ่งถีนและมิทธะอาศัยซึ่งความยินดีในภาวนา ไม่ช้าไม่นานก็จสำเร็จซึ่งรสอันบังเกิดแต่บริเวกคือพระนิพพาน เหตุใดเหตุดังนั้น พระภิกษุผู้ประกอบด้วยปรีชาญาณพึงยินดีในอัพโภกาสิกธุดงค์นี้

   สังวรรณนามาในสมาทานและ วิธานและประเภท และทำลาย และอนิสงส์ในอัพโภกาสิกธุดงค์ก็ตั้งอยู่ด้วยอาการสำเร็จดังพรรณนามาฉะนี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้

   “โสสานิกงฺคํปิ น นุสานํ ปฏิกฺขิปามิ โสสานิกงฺคํ สมาทิยามีติ อิเมสํ อญฺญตรวจเนน สมาทินฺนํ โหติ เตน ปน โสสานิเกน ยํมนุสฺสคามํ นเวเสนฺตา อมํ สุสาสนฺติ ววตฺถเปนฺติ น ตตฺถวสิตพฺพํ น หิ มตกสรีเร อชฺฌาปิเต ตํ สุสานํ นาม โหติ ฌา ปิตกาลโพ ปฏาย สเจปิ ทฺวาทสวสฺสานิ ฉฑฺฑิตํ สุสานเมวตสฺมิ ปน วสนฺเตน จงฺกมมฎฺฑปานีทิ การาเปตฺวา มญฺรปีํ ปญฺญาเปตฺวา ปานียํ บริโภชนียํ อุปฏฐาเปตฺวา ธมฺมํ วาเจนฺเตน น เวทิตพฺพํ”

   วาระนี้จะได้รับพระราชทานถวายวิสัชนา ในโสสานิกธุดงค์สืบอนุสนธิตามกระแสวาระพระบาลีมีเนื้อความว่า “โสสานิกงฺคํปิ” เมื่อพระภิกษุจะสมาทานโสสานิกธุดงค์นั้น ย่อมสมาทานด้วยพระบาลีทั้งสองคือ สมาทานว่า “น สุสานํ ปฏิกฺขิปามิ” ข้าพระองค์จะห้ามเสียบัดนี้ซึ่งประเทศอันใช่ป่าช้า

   และบทสมาทานว่า "โสสานิกงฺคํ สมาทิยามิ" ข้าพเจ้าจะถือเอาบัดนี้โสสานิกธุดงค์ คือจะอยู่ในประเทศอันเป็นที่นอนแห่งสัตย์อันตรายเป็นปกติ

   อนึ่ง เมื่อมนุษย์ทั้งหลายจะตั้งบ้าน ย่อมกำหนดซึ่งที่อันใดไว้แล้ว "อิมํ สุสานํ” ที่อันนี้จะเป็นที่สุสานประเทศป่าช้า โสสานิกภิกษุอย่าพึงอยู่ในที่นั้น “มตกสรีเร อชฺฌาปิเต” เมื่อมนุษย์ทั้งหลายยังมิได้เผาสรีระมนุษย์ที่ตายแล้ว ประเทศที่กำหนดไว้นั้นจะได้ชื่อว่าสุสานประเทศหามิได้ “ฌาปิตกาลโต ปฏาย” จำเดิมแต่การเผาสรีระมนุษย์ทั้งหลายอันตรายแล้วที่อันนั้นถึงจะมิได้เผามนุษย์ที่ตาย ชนทั้งหลายทิ้งไว้ถึงสิบปี ที่อันนั้นก็ชื่อว่าสุสานแท้จริง

   "ตสฺมึ ปน วสนฺเตน" อนึ่งเมื่อโสสานิกภิกษุอยู่ในที่นั้น จะยังชนทั้งหลายให้กระทำที่จงกรมและมณฑปเป็นอาทิ แล้วและยังชนใช้ตั้งไว้ซึ่งเตียงและตั่งและหม้อน้ำฉันและหม้อน้ำใช้แล้ว และบอกซึ่งธรรมนั้นไม่ควร

   โสสานิกธุดงค์นี้ พระภิกษุจะพึงรักษาด้วยยาก เหตุใดเหตุดังนั้น ให้พระภิกษุบอกกล่าว ซึ่งพระสังฆเถระและบุรุษนายบ้านอันบรมกษัตริย์ประกอบให้รู้ก่อน เพื่อจะป้องกันอันตรายอันบังเกิดขึ้น จึงอยู่ในสุสานประเทศอย่าประมาณ

   เมื่อจงกรมพึงแลดูประเทศที่เผาด้วยจักษุกึ่งหนึ่งจึงจงกรม

   อนึ่ง เมื่อพระภิกษุนั้นไปสู่สุสานประเทศ ให้แวะลงจากทางใหญ่ พึงเดินไปโดยทางอันผิดจากทางเพื่อจะไม่ให้ปราฏว่าตนเป็นโภสานิกภิกษุ

   และพึงกำหนดอารมณ์ มีจอมปลวกและต้นไม้และตอไม้เป็นต้น ไว้ในเวลากลางวัน แท้จริงโสสานิกภิกษุกำหนดไว้ดังนี้แล้ว ความสะดุ้งตกใจกลัวก็จักไม่มีแก่พระภิกษุนี้ในเวลากลางคืน

   อนึ่ง เมื่อมนุษย์ทั้งหลายร่ำร้องจะเที่ยวไปในราตรี อย่าให้ภิกษุนั้นประหารด้วยวัตถสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

   อนึ่ง โสสานิกภิกษุนั้น จะไม่ไปสู่สุสานประเทศแต่สักวันหนึ่งก็มิได้ควร

   ยังคุตตรภาณกาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า "มชฺฌิมยามํ สุสาเน เข เปตฺวา” โสสานิกภิกษุนั้นอยู่ในสุสานประเทศสิ้นมัชฌิมยามแล้วก็กลับไปในปัจฉิมยามก็ควร

   อนึ่ง วัตถุอันบุคคลพึงกัดเคี้ยวและพึงบริโภค มีงา และแป้ง และภัตต์อันเจือด้วยถั่วและมัจฉะและมังสะและชีวะ น้ำมัน และน้ำอ้อยเป็นอาทิ สิ่งของต่าง ๆ นี้เป็นที่ชอบใจแก่มนุษย์ พระโสสานิกภิกษุนั้นอย่าพึงเสพอย่าพึงเข้าไปในเรือนสกุล เพราะเหตุว่าพระภิกษุนั้นมีสรีระอบไปด้วยควรในสุสานประเทศ และอมนุษย์จะติดตามพระภิกษุนั้นเข้าไป เพื่อจะยังภัยและโรคเป็นอาทิให้ประพฤติเป็นไปแก่มนุษย์ทั้งหลายในสุกลนั้น

   "อิทมสฺส วิธานํ" วิธานแห่งโสสานิกธุดงค์ บัณฑิตพึงรู้ดังนี้

   "ปเภโต ปน อยํปิ ติวิโธ" อนึ่ง ถ้าจะว่าโดยประเภทนั้น พระภิกษุที่อยู่ในสุสานประเทศเป็นปกตินี้มี ๓ จำพวก คือ อุกฏฐะ จำพวก ๑ มัจฉิมะจำพวก ๑ มุทุกะจำพวก ๑

   "ธุวทาห ธุวกฺณป ธุวโรทนานิ" มนุษย์ทั้งหลายเผาซากอสุภสิ้นกาลเป็นนิจ และมีซากอสุภมีอยู่เป็นนิจ และร้องไห้อยู่เป็นนิจมีอยู่ในสุสานประเทศอันใด พระภิกษุที่รักษาโสสานิกธุดงค์เป็นอุกฤกษฏ์พึงอยู่ในสุสานประเทศอันนั้น

   ล้ำลักษณะ ๓ ประการ มีเผาอสุภซากสรีระสิ้นกาลเป็นนิจเป็นอาทิ ในเมื่อลักษณะอันหนึ่งมีอยู่ในสุสานประเทศอันใด พระภิกษุรักษาโสสานิกธุดงค์เป็นมัชฌิมมะควรจะอยู่ในสุสานประเทศอันนั้น

   ที่อันใดมาตรว่าถึงซึ่งลักษณะ กำหนดเรียกว่าสุสานประเทศป่าช้า โดยนัยดังกล่าวมาแล้ว พระภิกษุโสสานิกธุดงค์ เป็นมุทุกะอย่างต่ำสมควรที่จะอยู่ในสถานที่นั้น

   "อิเมสํ ปน ติณฺณํ น สุสานมฺหิ วาสํ" อนึ่ง ภิกษุ ๓ จำพวกนี้สำเร็จซึ่งอันมิอยู่ในที่อันใช่สุสานประเทศป่าช้า โสสานิกธุดงค์ของพระภิกษุ ๓ จำพวกนั้นทำลาย

   อาจารย์ผู้รจนาตกแต่งพระคัมภีร์อังคุตตร กล่าวว่า “สุสานอมตทิวเส” ธุดงค์พระภิกษุ ๓ จำพวกนี้ ทำลายในวันที่ตนมิได้ไปยังสุสานประเทศป่าช้า เภทคือการทำลายในโสสามิกธุดงค์ บัณฑิตพึงรู้ด้วยประการดังนี้

   “อยํ ปนานิสํโส” อนึ่งอานิสงส์แห่งโสสานิกธุดงค์นี้ คือจะให้ได้สติที่ระลึกถึงซึ่งความตาย และจะให้อยู่ด้วยมิได้ประมาท แลจะให้อสุภนิมิตในสรีระว่างามหามิได้ และจะบรรเทาเสียซึ่งกามราคะและจะให้เห็นสภาวะของกายมิได้สะอาด แลมีกลิ่นอันชั่วเป็นอาิทิอยู่เนือง ๆ และจะให้มากไปด้วยความสังเวช และจะให้ละเสียซึ่งความมัวเมาในสภาวะหาโรคมิได้เป็นประธาน และจะให้อดกลั้นได้ซึ่งความสะดุ้งพึุงกลัว และจะเป็นที่เคารพของอมนุษย์ และจะประพฤติเป็นไปตามสมควรในคุณ มีอับปิจฉตาปรารถนาน้อยมิได้มักมากเป็นอาิทิ แท้จริงโทษคือประมาท ย่อมมิได้ถูกต้องพระภิกษุผู้รักษาโสสานิกธุดงค์ อันหยั่งลงสู่หลับด้วยอานุภาพมรณานุสสติ ที่ตนได้ในสุสานประเทศ ใช่แต่เท่านั้น จิตของภิกษุที่ได้เห็นอสุภเป็นต้นมากนั้น จะมิได้ถึงซึ่งอำนาจแห่งความกำหนัดในวัตถุกาม จิตของพระภิกษุนั้นจะถึงซึ่งความสังเวชเป็นอันมาก “นิพุติเมสมาโน โสสานิกงุคํ” พระภิกษุผู้แสวงหาพระนิพพาน เร่งกระทำซึ่งความเพียรรักษาโสสานิกธุดงค์ดังนี้ พระภิกษุที่เป็นบัณฑิตชาติมีหทัย น้อยไปในพระนิพพานพึงเสวนะซ้องเสพเพราะเหตุว่า โสสานิกธุดงค์นี้นำมาซึ่งคุณเป็นอันมาก มีประการอันเรากล่าวแล้ว

   สังวรรณนามาในสมาทาน และวธาน และประเภท และทำลาย และอานิสงส์ในโสสานิกธุดงค์นี้ ก็ตั้งอยู่ด้วยอาการอันสำเร็จ

   ในยถาสันถติกังคธุดงค์ที่ ๑๒ นั้น มีวาจะพระบาลีว่า “อิเมสํ อญฺญตรวจเนน” พระภิกษุสมาทานยถาสันถติกังคธุงดค์ ล้ำพระบาลีทั้ง ๒ คือ สมาทานด้วยพระบาลีว่า “เสนาสนโลลุปฺปํ ปฏิกฺขิปามิ” แปลว่า ข้าพระองค์จะห้ามเสียซึ่งตัณหา คือความปรารถนาในเสนาสนะและสมาทานด้วยพระบาลีว่า “ยถาสนฺถติกงฺคํ สมาทิยาม” แปลว่าข้าพระองค์สมาทานบัดนี้ซึ่งยถาสันถติกังคธุดงค์ สมาทานด้วยพระบาลีอันใดอันหนึ่งก็ชื่อว่าสมาทานแล้ว

   “เตน ปน ยถาสนฺถติเกน” อนึ่ง เสนาสนะอันใดที่เสนาสนคาหาปกภิกษุ ยังภิกษุที่รักษายถาสันถติกธุดงค์ ให้ถือเอาด้วยวาจารว่าเสนาสนะนี้ถึงแก่ท่าน ภิกษุที่รักษายถาสันถติกธุดงค์พึงยินดีเสนาสนะนั้น ภิกษุที่รักษายถาสันถติกธุดงค์อย่าให้ภิกษุอื่นเข้าไปอยู่

   วิธานแห่งยถาสันถติกังคธุดงค์นี้ บัณฑิตพึงรู้ด้วยประการดังนี้

   “ปเภทโต ปน อยํปิ ติวิโธ” อนึ่งถ้าจะว่าโดยประเภทภิกษุ ผู้รักษายถาสันถติกธุดงค์นี้ มีประเภท ๓ ประการ คือ อุกัฏฐภิกษุ ๑ มัชฌิมภิกษุ ๑ มุทุกภิกษุ ๑

   อุกัฏฐิภิกษุที่รักษาเป็นอุกฤษฏ์ ไม่ได้เพื่อจะถามเสนาสนะที่ถึงแก่่ตนว่า เสนาสนะนี้มีในที่ไกลแลฤๅ เสนาสนะนี้มีในที่ใกล้แลฤๅ เสนาสนะนี้อมุษย์และทีฆชาติเป็นอาทิเบียดเบียนแลฤๅ เสนาสนะนี้ร้อนแลฤๅ เสนาสนะนี้เย็นแลฤๅ

   มัชฌิมภิกษุทีปฏิบัติอย่างกลางนั้น ได้เพื่อจะถามแต่ทว่าไม่ได้เพื่อจะไปแลดูด้วยสามารถแห่งความปรารถนา

   มุทุกภิกษุที่ปฏิบัติอย่างต่ำนั้น ได้เพื่อจะไปแลดู ถ้าแลว่าไม่ชอบใจเสนาสนะนั้นก็ถือเอาเสนาสนะอื่น

   “อิเมสํ ปน ติณฺณํปิ” อนึ่ง ถ้าจะว่าโดยทำลายนั้น โลภในเสนาสนะนั้นมาตรว่าเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ๓ พวกนี้ ธุดงค์ของพระภิกษุ ๓ จำพวกนั้นก็ทำลาย

   “อยํ ปนานิสํโส” อนึ่ง อานิสงส์ยถาสักถติกธุดงค์นี้ คือจะให้พระภิิกษุกระทำตามโอวาท ที่องค์สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคกล่าวสอนไว้ว่า “ยํ ลทฺธํ เตน ตุฏฺฐพฺพํ” พระภิกษุผู้รักษายถาสันถติกธุดงค์ในเสนาสนะอย่างไรก็พึงยินดีเสนาสนะนั้น แลพระภิกษุนั้นจะได้อานิสงส์คือแสวงหาซึ่งประโยชน์แก่พรหมจรรย์ทั้งหลาย และจะละเสียซึ่งกำหนดเสนาสนะว่าชั่วว่าดี และจะละเสียซึ่งยินดีและไม่ยินดีในเสนาสนะ และจะปิดเสียซึ่งช่องแห่งตัณหามักมาก และจะประพฤติเป็นไปสมควรแก่คุณทั้งหลาย มีอัปปิจฉาตาคุณ เป็นอาทิ

   “ยํ ยํ กทฺธํ สนฺตุฏโฐ” พระพุทธโฆษาจารย์พึงนิพนธ์ผูกพระคาถาสรรเสริญไว้ว่า พระยัติโยคาวจรเจ้าผู้รักษายถาสันถติกธุดงค์ได้เสนาสนะอันใดก็ยินดีด้วยเสนาสนะอันนั้น และปราศจากวิิกัปป์กำหนดตามเสนาสนะว่าชั่วว่าดี นอนเป็นสุขเหนือที่ลาดอันเรียบด้วยหญ้า พระโยคาวจรภิกษุนั้นไม่ยินดีในเสนาสนะอันประเสริฐวิเศษ “หีนํ ลทฺธํ น กุปฺปติ” เมื่อได้เสนาสนะอันชั่วก็มิได้โกรธ ย่อมสงเคราห์สพรหมจารี อันเป็นพวกบวชใหม่ด้วยเสนาสนะ “ตสฺมา อริยตาจิณฺณํ” เหตุใดเหตุดังนั้น พระภิกษุผู้ประกอบด้วยธัมโมชปัญญาที่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งสภาวะยินดีในยถาสันถติกธุดงค์อันองค์พระอริยเจ้าซ้องเสพ เป็นที่สรรเสริญแห่งพระพุทธเจ้าอันประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลาย

   สังวรรณนาในสมาทานและวิธาน และประเภท และทำลาย และอานิสงส์ในยถาสันถติกังคธุดงค์นี้ ก็ตั้งอยู่ด้วยอาการอันสำเร็จ

   ในเนสัชชิกังคธุดงค์เป็นคำรบ ๑๓ นั้น พระภิกษุจะสมาทานเนสัชชิกธุดงค์ด้วยพระบาลี “เสยฺยํ ปฏกฺขิปามิ” แปลว่าข้าพระองค์จะห้ามเสียซึ่งอิริยาบถนอน

   และจะสมาทานด้วยพระบาลีว่า “เนสชฺชิกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่าข้าพระองค์จะสมาทานเนสัชชิกธุดงค์อย่างนี้ก็ได้ชื่อว่าสมาทานแล้ว “เตน ปน เนสชฺชิเกน” อนึ่ี่งพระภิกษุผู้รักษาเนสัชชิกธุดงค์นั้น ราตรีหนึ่ง ๓ ยาม คือปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม พึงลุกขึ้นจงกรมยามหนึ่งแท้จริงล้ำอิริยาบททั้ง ๔ อิริยาบถคือนอนนี้มิได้ควรแก่ภิกษุที่จะรักษาเนสัชชิกธุดงค์

   วิธานแห่งเนสัชชิกธุดงค์นี้ บัณฑิตพึงรู้ด้วยประการดังนี้

   “ปเภทโต ปน อยํปิ ติวิโธ” อนึ่งถ้าจะว่าโดยประเภทเนสัชชิกธุดงค์นี้มีประเภท ๓ ประำการ คืออุกฤษฏฺ์ และมัชฌิมะ และมุทุกะ

   อนึ่ง พนักพิงและอาโยค อันบุคคลกระทำด้วยผ้าแผ่นนั้นมิได้ควรแก่พระภิกษุผู้รักษาเนสัชชิกธุดงค์อันเป็นอุกฤษฏ์

   ของทั้ง ๓ สิ่ง คือพนักพิงและอาโยคผ้า วัตถุสิ่งของอันใดอันหนึ่ง ควรแก่ภิกษุอันรักษาเนสัชชิกธุดงค์เป็นมัชฌิมะท่ามกลาง

   พนักและอาโยคผ้า แลแผ่นอาโยค และหมอน และเตียง อันประกอบด้วยองค์ ๙ และองค์ ๗ ก็ควรแก่ภิกษุอันรักษาเนสัชชิกธุดงค์อันเป็นมุทุกะอย่างต่ำ

   เตียงอันบุคคลกระทำด้วยพนักพิงหลัง และกระทำกับด้วยพนักพิงข้างทั้ง ๒ นั้น ชื่อว่าเตียงประกอบด้วย ๗

   “กิร” ดังได้สดับมา มนุษย์ทั้งหลายกระทำเตียงอย่างนั้นถวายแก่พระติปิฎกจุฬาภยเถระ พระผู้เป็นเจ้ากระทำความเพียรได้พระอนาคามีมรรคแล้ว ได้พระอรหัตต์เข้าสู่พระปรินิพพาน

   อนึ่ง ธุงดค์ของภิกษุ ๓ จำพวกนี้ ย่อมทำลายในกาลเมื่อถึงซึ่งสำเร็จอิริยบถนอน

   การที่จะทำลายในเนสัชชิกธุดงค์ว่า “วินิพนฺธสฺส อุปจฺเฉทนํ” พระภิกษุรักษาธุดงค์นี้ จะตัดเสียซึ่งอกุศลอันผูกไว้ซึ่งจิต ที่องค์พระผู้ทรงพระภาคตรัสเทศนาไว้ว่า “เมยุยสุขํ อนุยุตฺโต” พระภิกษุประกอบไว้เนือง ๆ ซึ่งความสุขคือนอน แลลงไปในข้าง ๆ นี้ แลข้าง ๆ โน้น แลประกอบเนือง ๆ ซึ่งมิทธะ คือเงียบเหงาง่วงนอนแล้วแลยับยั้งอยู่ แลจะมีอานิสงส์คือสภาวะจะให้ภิกษุนั้นประกอบเนือง ๆ ซึ่งกรรมฐานทั้งปวง แลจะให้มีอริยาบถนำมาซึ่งความเลื่อมใส แลจะให้เป็นไปตามความปรารถนาจะกระทำเพียร แลจะประกอบอยู่เนือง ๆ ซึ่งสัมมาปฏิบัติ

   “อาภุชิตฺวาน ปลฺลงฺกํ” พระยัติโยคาวจรภิกษุคู้เข้าแล้วซึ่งบัลลังก์ นั่งตั้งกายไว้ให้ตรง อาจสามารถจะยังหทัยแห่งมารให้ไหว

   “เสยฺยสุขมิทฺธขํสุ หิตฺวา” พระโยคาวจรเจ้าสละเสียซึ่งนอนเป็นสุขแลง่วงเหงาเป็นสุข มีความเพียรอันปรารภแล้ว ยินดีในอิริยาบถนั่งงาม อยู่ในท่าที่จะประพฤติตน ย่อมจะได้ปิติสุขอันปราศจากอามิสเหตุใดเหตุดังนั้น พระภิกษุที่มีเพียรพึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งเนสัชชิกธุดงค์วัตร

   สังวรรณนามาในสมาทาน แลวิธาน แลประเภท แลทำลาย แลอานิสงส์ในเนสัชชิกธุดงค์นี้ บัณฑิตพึงรู้ด้วยประการดังนี้

   ในกาลบัดนี้จะสังวรรณนาด้วยสามารถแห่งพระคาถานี้คือ “กุสลติกฺกโตเจว” จะวินิจฉัยตัดสินโดยประมาณ ๑ แห่งกุศล แลจำแนกซึ่งคุณมีธุดงคคุณเป็นอาทิโดยย่อแลพิสดาร บัณฑิตพึงรู้โดยนัยที่เราแสดงมานี้

   มีอรรถสังวรรณนาในบทคือ “กุสลติกฺกโต” นั้นว่า แท้จริง “สพฺพาเนว ธุตงฺคานิ” ธุดงค์ทั้งปวงนี้ คือมีประเภท ๑๓ ประการ บางทีก็เป็นกุศล บางทีก็เป็นอพยากตธรรม ด้วยสามารถแห่งปุถุชนแลพระเสขอริยบุคคล และพระขีณาสวเจ้า

   “นตฺถิ ธุตงฺคํ อกฺสลํ” ธุดงค์จะเป็นอกุศลนั้นมิได้

   อนึ่ง อาจารย์องค์ใดจะพึงกล่าวว่า ธุดงค์เป็นอกุศลมี “ปาปิจฺโฒ อจฺฉาปกโต” พระภิกษุมีความปรารถนาลามก แลมีอิจฉาความปรารถนาครอบงำย่ำยีย่อมจะรักษาอารัญญิกธุดงค์มิอยู่ในป่าเป็นปกติ

   เมื่ออาจารย์กล่าวคำอย่างนี้แล้ว บัณฑิตพึงกล่าวคำตอบอาจารย์นั้นว่า เราทั้งหลายมิได้กล่าวว่า ภิกษุย่อมจะอยู่ในอรัญราวป่าด้วยอกุศลจิตแท้จริง การที่อยู่ในอรัญราวป่ามีพระภิกษุรูปใด พระภิกษุรูปนั้น ก็ชื่อว่า อรัญญิกภิกษุ แปลว่าภิกษุมีอยู่ป่าเป็นปกติ อนึ่งพระภิกษูมีปรารถนาลามกบ้าง มีปรารถนาน้อยเป็นอัปปิจฉบุคคลก็จะพึงมี

   อนึ่ง “อิมานิ ธุตงฺคานิ” ธุดงค์ทั้ง ๑๓ ประการนี้ชื่อว่าองค์แห่งพระภิกษุชื่อธุตะ เพราะเหตุว่าภิกษุนั้นมีกิเลสอันกำจัดเสียแล้วด้วยสามารถสมาทานถือเอาด้วยดีซึ่งธุดงค์ “กิเลสธุนฺนโตวา” นัยหนึ่งญาณคือปัญญาได้คำเรียกว่าธุตะ เพราะเหตุกำจัดบำบัดเสียซึ่งกิเลสเป็นองค์แห่งธุดงค์ทั้งหลายนี้ เพราะเหตุดังนั้นจึงได้ชื่อว่าธุดงค์

   มีเนื้อความในอปรนัยว่า “ตาทิสํ วจนํ” คำเหมือนคำนั้นว่าธรรมทั้งหลายชื่อธุตะ เพราะเหตุว่ากำจัดเสียซึ่งข้าศึก ชื่อว่าเป็นองค์แห่งปฏิบัติ เพราะเหตุดังนี้ ธรรมทั้งหลายนั้นจึงชื่อว่าธุตังคานิ คำอันนี้อาจารย์กล่าวแล้วในวินิจฉัยอรรถแห่งศัพท์ในหนหลัง

   การที่จะสมาทานนี้ ชื่อว่าเป็นองค์แห่งพระภิกษุใด “น จ อกุสเลน” พระภิกษุรูปนั้นจะได้ชื่อว่าธุตะ ด้วยอกุศลนั้นมิได้มีแท้จริงอกุศลนั้นมิไ้ด้ชำระธรรมอันลามกอันใดอันหนึ่ง การที่จะสมาทานนั้นอาจารย์พึงร้องเรียกว่า “ธุตงฺคานิ” เพราะเหตุอรรถวิคคหะว่า “เยสํ ตํ องฺคํ” กุศลนั้นชื่อว่าเป็นองค์แห่งสมาทานทั้งหลายใด สมาทานทั้งหลายนั้นชื่อว่า ธุตังคานิ

   “นาปิ อกุสลํ” อกุศลไม่ชำระโลภทั้งปวงมีโลภในจีวรเป็นอาทิได้ กุศลนั้นได้ชื่อว่าเป็นองค์แห่งปฏิบัติหามิได้ เหตุใดเหตุดังนั้นคำที่อาจารย์กล่าวว่า “นตฺถิ อกุสลํ ธุตงฺกํ” อกุศลจะได้ชื่อว่าธุดงค์หามิได้ คำอันนี้อาจารย์กล่าวดีแล้ว

   อนึ่ง ธุดงค์พ้นแล้วจากประมาณ ๓ แห่งกุศล เป็นอธิบายแห่งอาจารย์ทั้งหลายในธุดงค์ก็มิได้มี โดยอรรถแห่งอาจารย์ทั้งหลายนั้นธรรมชาติชื่อว่าธุดงค์มักบังเกิดมี เพราะเหตุธรรมชาตินั้นจะชำระเสียกิเลสอันมิได้มี

   อนึ่ง “วจนวิโรโธ” ผิดจากคำกล่าวว่า ภิกษุสมาทานซึ่งคุณทั้งหลายชื่อว่าธุดงค์ แล้วแลประพฤติเป็นไปก็จะถึงแก่อาจารย์ทั้งหลายนั้น “ตสฺมา ตํ น คเหตพฺพํ” เหตุใดเหตุดังนั้น คำที่กล่าวว่าอกุศลชื่อว่าธุดงค์นั้น นักปราชญ์อย่าพึงถือเอา การที่สังวรรณนาซึ่งบทโดยกุศลติกกะ บัณฑิตพึงรู้ดังนี้ก่อน ในบทคือ “ธุตาทีนํ วิภาคโต” นั้นมีอรรถสังวรรณนาว่า “ธุโต เวทิตพฺโพ” สภาวะชื่อว่าธุตะ บัณฑิตพึงรู้ในบทคือ “ธุตาทีนํ วิภาคโต” บุคคลชื่อว่าธุตวาท กล่าวซึ่งธุตะ บัณฑิตพึงรู้ในบทคือ “ธุตาทีนํ วิภาคโต” ธรรมทั้งหลายชื่อว่าธุตะ บัณฑิตพึงรู้ในบทต้นนั้น ธุดงค์ทั้งหลายบัณฑิตพึงรู้ในบทต้นนั้น “กสฺส ธุตงฺคเสวนา” การที่จะเสพซึ่งธุดงค์ฺชื่อว่าเป็นที่สบายแก่บุคคลดังฤๅ บัณฑิตพึงรู้ในบทคือ “ธุตาทีนํ วิภาคโต” นั้นในบทคือ “ธุโต” นั้นมีอรรถสังวรรณนาว่า บุคคลมีกิเลสอันกำจัดเสียแล้วก็ดี ธรรมอันกำจัดเสียซึ่งกิเลสก็ดี ชื่อว่า “ธุโต” เป็นต้นนั้น “ธุตวาโทปิ เอตถ ปน” อนึ่งวินิจฉัยในบทคือ “ธุตาวาโท” ที่แปลว่าบุคคลกล่าวธุตะนั้นว่า “อตฺถิ ธุโต น ธุตวาโท” บุึคคลมีกิเลสอันขจัดแล้วมิได้กล่าวซึ่งการที่ขจัดเสียซึ่งกิเลสมีจำพวก ๑ “อตฺถิ น ธุวาโท” บุคคลมิได้ขจัดกิเลส มิได้กล่าวซึ่งการที่ขจัดเสียซึ่งกิเลสมีจำพวก ๑ “อตฺถิ เนว ธุโต น ธุตาโท” บุคคลมิได้ขจัดกิเลส มิได้กล่าวซึ่งธรรมที่จะขจัดกิเลสมีจำพวก ๑ “อตฺถิ ธุโต เจว ธุตวาโท” บุคคลมิได้ขจัดกิเลสแล้ว กล่าวซึ่งธรรมอันขจัดกิเลสมีจำพวก ๑ เป็น ๔ จำพวกด้วยกันดังนี้

   บุคคลผู้ใดขจัดเสียซึ่งกิเลสแห่งตน ด้วยธุดงคคุณมิได้ให้โอวาท แลอนุศาสน์สั่งสอนบุคคลผู้อื่นด้วยธุดงค์ ดุจดังพระพักกุลเถรเจ้าบุคคลผู้นี้ชื่อว่า “ธุโต ธุตวาโท” คือขจัดกิเลสด้วยตนไม่กล่าวธรรมอันขจัดเสียซึ่งกิเลส “ยถาห ตยิทํ อายสฺมา พกฺกุโล” เหตุใดเหตุนั้นอาจารย์พึงกล่าวว่า “อติทํ อายสฺมา พกฺกุโล” พระพักกุลเถรเจ้าผู้มีอายุ “ธุโต น ธุตวาโท” ท่านเป็นผู้กำจัดเสียซึ่งกิเลส แต่ไม่กล่าวธรรมอันขจัดเสียซึ่งกิเลสแก่บุคคลอื่น

   “โย ปน น ธุตงฺเคน” อนึ่งบุคคลผู้ใดไม่รักษาซึ่งธุดงค์ มิได้ขจัดเสียซึ่งกิเลสทั้งหลายแห่งตน กล่าวคำโอวาทสั่งสอนบุคคลผู้อื่นด้วยธุดงค์ ดุจดังว่าพระอุปนันทเถระ “อยํ น ธุโต ธุตวาโท” บุคคลผู้นี้ชื่อว่า “น ธุโต ธุึตวาโท” คือตนไม่รักษาธุดงค์มีแต่จะกล่าวธุดงค์ให้บุคคลอื่นรักษาอย่างเดียว เหตุใดเหตุดังนั้น อาจารย์กล่าวว่า “ตยิทํ อายสฺมา อุปนนฺโท” พระอุปนันทเถรเจ้าผู้มีอายุอันเป็นบุตรแห่งศากยราชนั้นชื่อว่า “น ธุโต ธุตวาโท”

   “โย ปน อุภยวิปฺปนฺโน” อนึ่งบุคคลผู้ใดวิบัติจากธรรมทั้งสองคือตนก็มิได้รักษาธุดงค์ แลมิได้กล่าวโอวาทอนุศาสน์สั่งสอนบุคคลผู้อื่นให้รักษาธุดงค์ ดุจดังพระเถระชื่อว่าโลฬุทายี “อยํ เนว ธุโต นธุตวาโท” บุคคลนี้ชื่อว่า “เนว ธุโต น ธุตวาโท” แปลว่าตนไม่รักษาธุดงค์ แลไม่กล่าวธุดงค์ให้โอวาทสั่งสอนบุคคลอื่น เหตุใดเหตุดังนั้น อาจารย์จึงกล่าวว่า “ตยิทํ อายสฺมา โลฬุทายี” พระโลฬุทายีเถรเจ้าผู้มีอายุนั้นชื่อว่า “เนว ธุโต น ธุตวาโท” แปลว่าวิบัติจากธรรมทั้ง ๒ ประการดังกล่าวมาแล้ว

   “โย ปน อุภยสมฺปนฺโน” อนึ่งบุคคลผู้ใดถึงพร้อมด้วยธรรมทั้ง ๒ ประการ คือตนก็รักษาธุดงค์แลกล่าวโดยโอวาทสั่งสอนบุคคลผู้อื่นให้รักษาธุดงค์ด้วย ดังพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถรเจ้า “อยํ ธุโต เจว ธุตวาโท จ” บุคคลนี้ชื่อว่าธุตะธุตวาท แปลว่าตนก็รักษาธุดงค์ผู้กำจัดกิเลส ทั้งได้สั่งสอนผู้อื่นให้รักษาธุดงค์ด้วย เหตุใดเหตุดังนั้น อาจารย์จึงกล่าวว่า “ตยิทํ อายสฺมา สารีปุตฺโต” พระผู้เป็นเจ้าสารีบุตร ทั้งได้ชื่อว่า ธุโต ทั้งได้ชื่อว่า ธุตวา่โท ด้วยประการดังนี้ เอวํ ก็มีด้วยประการดังนี้


  
:: กลับด้านบน :: :: ย้อนกลับ ::     :: หน้าต่อไป ::


webmaster@larnbuddhism.com
23 June 2005 by 3 nang ©copyright 2005©larnbuddhism.com