พระวิสุทธิมรรค


 หน้าแรก
 สารบาญ เล่ม ๑
 สารบาญ เล่ม ๒
 สารบาญ เล่ม ๓

อารัมภกถา-พุทธโฆสุปัตติ
วิจารณ์
ศีลนิเทศ
ธุดงคนิเทศ
สมาธินิเทศ
กสิณ ๑๐
อสุภ ๑๐
อนุสสติ ๑๐
อัปปมัญญาพรหมวิหาร ๔
อรูปกัมมัฏฐาน ๔
อาหาเรปฏิกูลสัญญา
จตุธาตุววัตถาน



แผนที่วิสุทธิมรรค


 พระไตรปิฎก
 ฉบับประชาชน
 ฉบับปฏิบัติ
 ลานพุทธศาสนา
 เสียงธรรม
 พจนานุกรมฉบับประมวลศัพท์
 ไทย-อังกฤษ
 อังกฤษ-ไทย
 ฉบับประมวลธรรม


  แวะเซ็นติชมหน่อยนะคะ



 
   เล่ม ๑ หน้า ๒๐

   อนึ่ง ปัตตปิณฑิกธุดงค์นั้น เมื่อพระภิกษุจะสมาทาน ให้สมาทานด้วยพระบาลีทั้งสอง

   คือ “ทุติยภาชนํ ปฏิกฺขิปามิ” แปลว่า ข้าพระองค์จะห้ามเสียซึ่งภาชนะเป็นคำรบ ๒

   แลสมาทานด้วยพระบาลีว่า “ปตฺตปิฑิณฺกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า ข้าพระองค์จะสมาทานปัตตปิณฑิกธุดงค์ อันใดอันหนึ่งก็ได้ชื่อว่าเป็นสมาทานแล้ว

   “เตน ปน ปตฺตบฺฑิเกน” พระภิกษุที่มีปัตตปิณฑิกธุดงค์เป็นปกตินั้น พึงตั้งใจไว้ซึ่งข้าวยาคูในภาชนะ ในกาลเมื่อดื่่มกินซึ่งข้าวยาคูแลพยัญชนะที่ตนได้แล้ว พึงกัดกินเคี้ยวกินเสียก่อน จึงจะดื่มกินข้าวยาคู

   อนึ่ง ถ้าแลพระภิกษุนั้น จะใส่ลงซึ่งพยัญชนะปนในข้าวยาคู เมื่อพยัญชนะปนมัจฉะอันบูดเป็นต้น ลงไปแปดเปื้อนในข้าวยาคู ข้าวยาคูก็เป็นปฏิกูล พระภิกษุนั้นจะกระทำให้เป็นปฏิกูลแล้ว แลบริโภคก็ควรเหตุใดเหตุดังนั้น คำที่ว่าควรนี้ องค์สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคตรัสเทศนาหมายเอาซึ่งพยัญชนะเห็นปานดังนั้น

   “ยํ ปน มธุสกฺกราทิกํ” อนึ่งวัตถุอันใดมีน้ำผึ้งแลน้ำตาลกรวดเป็นอาทิ เป็นของมิได้เป็นปฏิกูล พระภิกษุก็พึงใส่วัตถุนั้นในข้าวยาคู

   เมื่อพระภิกษุจะรับซึ่งน้ำผึ้งแลน้ำตาลกรวดนั้น พึงรับควรแก่ประมาณ

   พระภิกษุจะถือเอาผักดองแลมูลมันด้วยหัตถ์ แล้วแลจะกัดกินก็ควร

   อนึ่ง ถ้าไม่กระทำอย่างนั้น พึงใส่ในบาตร จะใส่ไปในที่อื่นไม่ควร เพราะเหตุห้ามภาชนะเป็นคำรบสอง

   วิธานในปัตตปิณฑิกธุดงค์ บัณฑิตพึงรู้ด้งนี้

   อนึ่ง ถ้าจะว่าโดยประเภท พระภิกษุมีปัตตปิณฑิกธุดงค์เป็นปกตินี้ มีประเภท ๓ ประการ คืออุกฤษฎ์ แลมัชฌิมะ แลมุทุกะ

   พระอุกฤษฎ์นั้น จะทิ้งกากหยากเยื่อแห่งวัตถุที่ตนจะพึงเคี้ยวกินนั้นไม่ควร เว้นไว้แต่กาลที่จะกัดกินซึ่งอ้อย

   อนึ่ง อุกฤษฎ์ภิกษุ จะทำลายซึ่งก้อนข้าว แลปลาแลเนื้อแลขนมออกกัดกินนั้นไม่ควร

   พระมัชฌิมภิกษุ จะทำลายก้อนข้าวแลปลาแลเนื้อแลขนมออกด้วยมือข้างหนึ่ง แล้วแลกัดกินก็ควร

   พระมัชฌิมภิกษุนี้ ชื่อว่าหัตถาโยคี แปลว่ามีประกอบซึ่งอาหารอันตนทำลายด้วยมือ แลใส่ในมุขประเทศเป็นปกติ

   อนึ่ง มุทุกภิกษุนั้น อาจเพื่อจะใส่เข้าซึ่งวัตถุอันใดในบาตร ก็ควรเมื่อจะทำลายวัตถุทั้งปวงนั้น ด้วยหัตถ์ก็ดี ด้วยทันต์ก็ดี แลแลกัดกิน

   อนึ่ง ธุดงค์ของภิกษุ ๓ จำพวกนี้ เมื่อจะทำลายก็ทำลายในขณะซึ่งยินดีที่ภาชนะเป็นคำรบสอง

   การทำลายในปัตตปิณฑิกธุดงค์ บัณฑิตพึงรู้ดังนี้

   อนึ่งโสด อานิสงส์ของพระภิกษุที่มีปัตตปิณฑิกธุดงค์นี้เป็นปกติเห็นซึ่งประมาณในประโยชน์ในอาหารอันสมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ทรงอนุญาต แลปราศจากความกำหนัดที่จะนำไปซึ่งภาชนะทั้งหลายมีโอกาสเป็นอาทิ แลปราศจากขวนขวายที่จะถือเอาซึ่งพยัญชนะอันตั้งอยู่ในภาชนะต่าง ๆ แลประพฤติเป็นไปตามแก่คุณทั้งหลายอัปปิจฉตาคุณ คือมีความปรารถนาน้อยเป็นอาทิ

   เพราะเหตุการณ์นั้น พระพุทธโฆษาจารย์เจ้าจึงนิพนธ์คาถาสรรเสริญพระภิกษุที่มีปัตตปิณฑิกธุดงค์เป็นปกติว่า “นานาภาชนวิกฺเขปํ หิตฺวา โอกฺขิตฺตโลจโน” พระยัติโยคาวจรภิกษุมีปัตตปิณฑิกธุดงค์เป็นปกตินั้น ละเสียแล้วซึ่งกำเริบแห่งภาชนะต่าง ๆ มีจักษุอันทอดลงในเบื้องต่ำกระทำสัญญาควรแก่ประมาณ เมื่อเป็นประดุจดังว่าจะขุดเสียถอนเสียซึ่งมูลแห่งรสตัณหา หรือความปรารถนาในรส มีวัตรอันดีมีจิตอันงาม ทรงไว้ซึ่งสันตุฏฐีดุจดังรูปแห่งตนแล้วแลอาจเพื่อจะบริโภคอาหาร “โกอญฺโญ ปตฺตปิณฺฑิโก” พระภิกษุองค์อื่น ดังฤๅจะมิได้ปัตตปิณฑิกธุดงค์เป็นปกติ บริโภคซึ่งอาหารดังนี้

   สังวรรณนามาในสมาทานแลวิธาน แลประเภทแลเภทะ แลอานิสงส์ในปัตตปิณฑิกธุดงค์ ก็ยุติแต่เพียงนี้

   ในขลุปัจฉาภัตติกธุดงค์นั้น พระภิกษุพึงสมาทานด้วยพระบาลีคือ “อนติริตฺตโภชนํ ปฏิกฺขิปามิ” แปลว่า ข้าพระองค์ห้ามอนติริตตโภชนะ

   แลพระบาลีว่า “ขลุปจฺฉาภตฺติกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า ข้าพระองค์สมาทานบัดนี้ ซึ่งขลุปัจฉาภัตติกธุดงค์ แต่อันใดอันหนึ่้งก็ได้ ชื่อว่าสมาทานแล้ว

   “เตน ปน ขลุปจฺฉาภตฺติเกน” อนึ่งพระภิกษุที่มีขลุปัจฉาภัติติกธุดงค์ เป็นปกตินั้น ห้ามข้าวแล้วแลยังบุคคลให้กระทำโภชภะให้เป็นกับปิยะใหม่เล่า แล้วจะพึงบริโภคนั้นไม่ควร

   วิธานแห่งขลุปัจฉาภัตติกธุดงค์ บัณฑิตพึงรู้ดังนี้

   อนึ่ง ถ้าจะว่าโดยประเภทนั้น ขลุปัจฉาภัตติกธุดงค์ภิกษุนี้มีประเภท ๓ ประการ คืออุกฤษฏ์แลมัชฌิมะแลมุทุกะ

   กิริยาที่จะห้ามข้าวในก้อนอามิสเป็นปฐม มิได้มีแก่อุกฤษฏ์ภิกษุเหตุใดเหตุดังนั้น อุกฤษฏ์ภิกษุห้ามข้าวแล้วด้วยประการดังนี้ อย่าบริโภคก้อนอามิสเป็นคำรบสอง

   อนึ่ง เมื่ออุกฤษฏ์ภิกษุจะกลืนกินก้อนอามิสเป็นปฐมนั้น ย่อมจะห้ามเสียซึ่งก้อนอามิสอื่น เพราะเหตุการณ์นั้น อุกฤษฏ์ภิกษุห้ามข้าวแล้วด้วยประการดังนี้ กลืนกินก้อนอามิสเป็นปฐมแล้วก็มิได้บริโภคก้่อนอามิสเป็นคำรบสอง

   มัชฌิมภิกษุนั้นห้ามข้าวแล้ว โภชนะอันใดตั้งอยู่แล้วในบาตรก็ย่อมจะบริโภคซึ่งโภชนะนั้น อันตั้งอยู่แล้วในบาตรแท้จริง

   มุทุกภิกษุนั้น ไม่ลุกจากอาสนะตราบใด ย่อมจะบริโภคได้ตราบนั้น

   อนึ่ง ธุดงค์แห่งพระภิกษุ ๓ จำพวกนี้ ย่อมจะทำลายในขณะที่ตนห้ามข้าวแล้ว แลจะยังชนให้กระทำเป็นกัปปิยะแล้ิวแลบริโภค

   “อยเมตตฺถ เกโท” กิริยาที่ทำลายในขลุปัจฉาภัตติกธุดงค์นี้ บัณฑิตพึงรู้ดังนี้

   “อยํ ปนานิสํโส” อนึ่ง อานิสงส์แห่งขลุปัจฉาภัตติกธุดงค์นั้นว่า

   “อนติริตฺตโภชนาปตฺติยา” พระภิกษุผู้ประพฤติความเพียรในขลุปัจฉาภัตติกธุดงค์นี้ จะตั้งอยู่ในที่ไกลจากอาบัติอันบังเกิดแก่ปัจจัย คือ บริโภคแลกัดกินแลเคี้ยวกินซึ่งอาหาร มีอนติริตตวินัยกรรมอันตนมิได้กระทำแล้ว แลภาวะหามิได้ที่กระทำให้เต็มท้องแลจะปราศจากสันนิธิสั่งสมอามิสไว้เพื่อจะบริโภคใหม่เล่า ในตนที่ตนห้ามข้ามแล้วแลสภาวะหามิได้แห่งแสวงหาใหม่เล่า แลจะประพฤติเป็นไปตามแก่คุณทั้งหลาย มีอัปปิจฉตาคุณ คือปรารถนาน้อยเป็นอาทิ พระโยคาวจรภิกษุอันดำเนินด้วยญาณคติ มีขลุปัจฉาภัตติกธุดงค์เป็นปกติมิได้ถึงซึ่งความกำหนัด ในการที่จะแสวงหาไม่กระทำสันนิธิสั่งสม ละเสียซึ่งกิริยาที่กระทำอาการให้เต็มท้อง มีขลุปัจฉาภัตติกธุดงค์เป็นปกติ เหตุใดเหตุดังนั้น พระภิกษุในพระพุทธศาสนานี้ มีความปรารถนาเพื่อจะกำจัดเสียซึ่งความปรารถนาทั้งปวง มีเสพซึ่งขลุปจฉาภัตติกธุดงค์ อันองค์สมเด็จพระสุคตสรรเสริญ เป็นที่ยังความเจริญแห่งคุณทั้งหลาย มีสันโดษยินดีในปัจจัยเป็นของแห่งตนให้บังเกิด

   สังวรรณนาในสมาทานแลวิธาน แลประเภทแลเภททำลายแลอานิสงส์ในขลุปัจฉาภัตติกธุดงค์ ก็ตั้งอยู่ด้วยอาการอันสำเร็จดังนี้

   ในอารัญญิกธุดงค์นั้น เมื่อพระภิกษุจะสมาทาน ก็พึงสมาทานพระบาลีทั้งสอง อย่างใดอย่างหนึ่ง

   “คามนฺตเสนาสนํ ปฏิกฺขิปามิ” แปลว่า ข้าพระองค์จะห้ามเสียซึ่งเสนาสนะใกล้บ้าน

   แลสมาทานว่า “อารญฺญิกงฺคํ สมาทิยามิ” ข้าพระองค์จะถือเอาซึ่งอารัญญิกธุดงค์ มีอยู่ในประเทศอันบุคคลไม่พึงยินดีเป็นปกติ

   “เตน ปน อารญฺญิเกน” อนึ่งอารัญญิกภิกษุนั้น ละเสียซึ่งเสนาสนะอันใกล้บ้าน แล้วแลพึงยังอรุณให้ตั้งขึ้นในอรัญประเทศบ้านอันเป็นไปกับด้วยอุปจารบ้าน ชื่อว่าคามันตเสนาสนะ

   อนึ่งโสด ประเทศอันใดอันหนึ่ง มีกุฎีพันหนึ่งก็ดี มีกุฎีมากก็ดี มีรั้วล้อมก็ดี ไม่มีรั้วล้อมก็ดี มีมนุษย์อยู่ก็ดี ไม่มีมนุษย์ก็ดี ประเทศนั้นชื่อว่า คาโม แปลว่าบ้าน กำหนดที่สุดนั้นพวกพาณิชย์มาตั้งทับอยู่ในประเทศที่ใดมากกว่า ๔ เดือน ในประเทศนั้นชื่อว่าบ้าน

   ถ้าแลว่าธรณีทั้งสองแห่งบ้านอันแวดล้อมอยู่ ดุจดังว่าธรณีทั้งสองแห่งเมืองอนุราธ มัชฌิมบุรุษที่มีกำลังยืนอยู่เห็นธรณีอันมีอยู่ภายในทิ้งก้อนดินออกไปให้ตกลงในที่ใด ประเทศที่นั้นชื่อว่าคามูปจารแปลว่าอุปจารแห่งบ้าน

   พระเถระทั้งหลายอันทรงซึ่งวินัย กล่าวลักษณะกำหนดเลฑฑุบาตนั้นว่า

   “ตรุณมนุสฺสา อตฺตโน พลํ ทสฺเสนฺตา” มนุษย์ทั้งหลายที่เป็นหนุ่ม เมื่อจะแสดงซึ่งกำหนดแห่งตน เหยียดออกซึ่งแขนแล้วแลทิ้งไปซึ่งก้อนดินฉันใด ภายในแห่งที่อันเป็นที่ตกแห่งก้อนดินอันตรุณมนุษย์ทิ้งไปฉันนั้น ชื่อว่าอุปจารแห่งบ้าน

   อนึ่ง พระเถระทั้งหลายอันเล่าเรียนพระสูตรกล่าวว่า “กากวา รณนิยเมน ขิตฺตสฺส” ภายในแห่งที่อันเป็นที่ตกแห่งก้อนดิน อันชนทิ้งไปแล้วโโยกำหนดที่จะห้ามเสียซึ่งกา ชื่อว่าคามูปจาร

   ถ้าจะว่าโดยบ้านมิได้มีรั้วล้อมนั้น มาตุคามยืนอยู่แทบประตูแห่งเรือน อันมีในที่สุดแห่งเรือนทั้งปวง แล้วแลสาดไปซึ่งน้ำอันใดด้วยภาชนะที่อันเป็นที่ตกแห่งน้ำนั้น ชื่่อว่าอุปจารแห่งเรือน

   “เอโก เลทฺฑุปาโต” กิริยาที่ตกแห่งก้อนดินอันมัชฌิมบุรุษทิ้งออกไปแต่อุปจารแห่งเรือนนั้น โดยนัยอันกล่าวมาแล้ว ชื่อว่าบ้านหนึ่ง

   เลฑฑุบาต คือตกแห่งก้อนดิน ที่มัชฌิมบุรุษทิ้งไปเป็นคำรบสองนั้น ชื่อว่าอุปจารแห่งบ้าน

   อนึ่ง คำกล่าวว่า “สพฺพเมตํ อรญฺญํ” แปลว่าประเทศทั้งปวงนี้ ชื่อว่าอรัญราวป่า พระอาจารย์เว้นไว้ซึ่งบ้านแลอุปจารแห่งบ้านแล้ว แลกล่าวโดยวินัยปริยายนั้นก่อน แลคำกล่าวว่าประเทศทั้งปวงออกไปภายนอกแห่งธรณีชื่อว่าอรัญราวป่าอาจารย์กล่าวไว้โดยอธิธรรมปริยาย

   อนึ่ง ในสุตตันตปริยายนี้ อาจารย์ซึ่งลักษณะกำหนดว่าที่สุด ๕๐๐ ชั่วธนูชื่อว่าอรัญญิกเสนาสนะ

   มีคำพระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ในอรรกถา พระวินัยว่านักปราชญ์พึงกำหนดจำเดิมแต่ธรณีแห่งบ้านมีรั้วล้อม ด้วยธนูแห่งอาจารย์ยันโก่งไว้ ตราบเท่าถึงที่ล้อมแห่งวิหาร ไม่ฉะนั้นบัณฑิตพึงนับกำหนดจำเดิมแต่เลฑฑุบาตเป็นปฐมแห่งบ้าน มิได้มีรั้วล้อมตราบเท่าถึงที่ล้อมแห่งวิหาร ด้วยธนูแห่งอาจารย์อันโก่งแล้วให้ได้ ๕๐๐ ชั่วธนูจึงได้ชื่อว่า อรัญญิกเสนาสนะ

   อนึ่ง ถ้าแลว่าวิหารไม่มีที่ล้อมเสนาสนะ แลภัตตศาลา แลที่ประชุมสิ้นกาลเป็นนิจ แลไม้พระมหาโพธิ แลพระเจดีย์อันใดก่อนกว่าสิ่งทั้งปวง ผิวแลว่ามีในที่ใกล้แต่เสนาสนะ บัณฑิตพึงกระทำกำหนดซึ่งเสนาสนะเป็นอาทิแล้วนับได้ ๕๐๐ ชั่ว ด้วยธนูของอาจารย์ที่โก่งไว้แล้ว

   อนึ่ง พระอรรถกถาจารย์ กล่าวในอรรถกถามัชฌิมนิกายว่า “วิหานสฺสปิ คามสฺเสว” นักปราชญ์พึงนำออกซึ่งที่อุปจารแห่งวิหารดุจดังว่าอุปจารแห่งบ้าน แล้วแลพึงนับในระหว่างแห่งเลฑุบาตกล่าวประมาณในอารัญญิกธุดงค์ บัณฑิตพึงรู้ดังนี้ เอวํ ก็มีด้วยประการดังนี้

   “สเจปิ อาสนฺเน คาโม โหติ วิหาเร ิเตหิ มนุสฺสการ สทฺโถ สุยฺยติ ปพฺพตนทีอาทีหิ ปน อนฺตริตตฺตา น สกฺกา อุชุ ํคนฺตฺุํ ํ โย ตสฺส ปกติมกฺโค โหติ สเจปิ นาวาย สยฺจริตพฺโพเตน มคฺเคน ปญฺจธนุสติกํ คเหตุพฺพํ โย ปน อาสนฺนคามสฺส องฺคสมฺปาทนตฺถํ ตโต ตโต มคฺคํ ปิทหติ อยํปิ ธุตงฺกโจโร โหติ สเจ ปน อารยฺญิกสฺส ภิกฺขุโน อุปชฺฌาโย วา อาจริโย วา คิลาโน โหติ”

   วาระนี้ได้รับพระราชทานถวายวิสัชนา ในอารัญญิกธุดงค์สืบอนุสนธิตามกระแสวาระพระบาลี มีเนื้อความว่า “สเจปิ อาสนฺเน คาโม” ถ้าแลบ้านมีอยู่ในที่ใกล้ พระภิกษุทั้งหลายอยู่ในวิหารได้ยินเสียงมนุษย์ ชาวบ้านเจรจากัน ชนทั้งหลายไม่อาจเดินตรงไปได้เพราะเหตุภูเขาแลแม่น้ำเป็นอาทิกั้นอยู่ หนทางอันใดเป็นหนทางอันปกติที่จะไปบ้านนั้น บัณฑิตพึงวัดทวนออกไปให้ได้ ๕๐๐ ชั่วธนูโดยหนทางนั้น

   อนึ่งหนทางที่จะไปบ้านนั้น บุคคลจะเข้าไปด้วยนาวา บัณฑิตพึงถือเอาให้ได้ ๕๐๐ ชั่วธนู โดยหนทางเรือนั้น

   อนึ่ง อรัญญิกภิกษุรูปใดปิดหนทางที่จะไปมาโดยอากาศนั้น ๆ เพื่อจะยังองค์แห่งบ้านอันตั้งอยู่ในที่ใกล้ให้สำเร็จ อารัญญิกภิกษุนี้ชื่อว่า ธุดงค์โคจร

   อนึ่ง ถ้าแลว่าพระเถระอันเป็นพระอุปัชฌาย์ แลพระเถระอันเป็นพระอาจารย์ของพระอารัญญิกภิกษุนั้นเป็นไข้ อารัญญิกภิกษุนั้นไม่ได้ที่สบายจะรักษาไข้ ก็พึงรับอุปัชฌาย์เป็นอาทิไปสู่เสนาสนะอันใกล้บ้าน แล้วพึงกระทำอุปัฏฐาก

   อนึ่ง อารัญญิกภิกษุ พึงออกจากคามันตเสนาสนะในเพลาเช้ามืดยังอรุณให้ตั้งขึ้นในที่อันประกอบด้วยองค์แห่งอารัญญิกธุดงค์ ถ้าแลว่าอาพาธแห่งพระอุปัชฌาย์แลอาจารย์ เจริญเจ็บป่วยมากในเวลาที่จะยังอรุณให้ตั้งขึ้น อารัญญิกภิกษุนั้นพึงกระทำซึ่งกิจของพระเถระอันเป็นพระอุปัชฌาย์แลอาจารย์นั้น ภิกษุนั้นก็มีธุดงค์มิได้บริสุทธิ์

   “อิทมสฺส วิธานํ” วิธานแห่งอารัญญิกธุดงค์ บัณฑิตพึงรู้ดังนี้

   อนึ่ง ถ้าว่าโดยประเภทนั้น อารัญญิกภิกษุธุดงค์นี้มีประเภท ๓ ประการ คืออุกฤษฏ์แลมัชฌิมะแลมุทุกะ เป็นประเภท ๓ ประการดังนี้

   พระอุกฤษฏ์ภิกษุนั้น พึงยังอรุณให้ตั้งขึ้นในอรัญประเทศสิ้นกาลทั้งปวง

   มัชฌิมภิกษุได้เพื่อจะอยู่ในคามันตะเสนาสนะ ในฤดูฝน ๔ เดือน

   มุกทุกภิกษุนั้น ได้เพื่อจะอยู่ในคามันตเสนาสนะ ในเหมันตฤดูหนาวด้วย

   อนึ่ง อารัญญิกภิกษุทั้ง ๓ นี้ ออกจากอรัญประเทศมาฟังธรรมเทศนาในคามันตเสนาสนะในกาลควรแก่อาจารย์กำหนด ผิวว่าอรุณจะตั้งขึ้นธุดงค์ก็มิได้ทำลาย

   อนึ่ง ฟังธรรมเทศนา กลับไปไม่ทันถึงธรณี อรุณตั้งขึ้นในมรรคาธุดงค์ก็มิได้ทำลาย

   อนึ่ง พระธรรมกถึกเถระผู้แสดงธรรมลุกขึ้นจากอาสนะแล้ว ถ้าแลว่าอารัญญิกภิกษุนั้นคิดว่าอาตมาจะนอนเสียสักครู่หนึ่จึงจะไป เมื่อหลับอรุณตั้งขึ้น ธุดงค์แห่งพระภิกษุนั้นก็ทำลาย

   อนึ่ง พระภิกษุทั้ง ๓ จำพวกนี้ ยังอรุณให้ตั้งขึ้นในคามันตเสนาโดยชอบใจตน ธุดงค์ของพระภิกษุทั้งหลายนั่นก็ทำลาย

   “อยเมตฺถ เภโท” การทำลายในอารัญญิกธุดงค์ บัณฑิตพึงรู้ดังนี้

   อนึ่ง อานิสงส์แห่งพระอารัญญิกธุดงค์นั้น องค์สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคตรัสสรรเสริญไว้ว่า “อารญฺญิโก ภิกฺขุ” พระภิกษุที่มีอารัญญิกธุดงค์เป็นปกตินั้น กระทำอารัญญสัญญาไว้ในจิต ควรที่เพื่อจะได้สมาธิที่ตนยังไม่ได้ แลควรเพื่อจะรักษาไว้ซึ่งสมาธิที่ตนได้แล้ว

   “สตฺถาปิสฺส อตฺตมโน” อนึ่งพระบรมศาสดาย่อมมีพระหฤทัยชื่ื่นชม แก่พระภิกษุที่มีอรัญญิกธุดงค์เป็นปกติ องค์สมเด็จพระผู้ทรงพระภาค “เตนหํ นาคิตสฺส ภิกฺขุโน” ดูกรพระภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตมีพระหฤทัยชื่นชมแก่พระนาคิตภิกษุ เพราะเหตุว่านาคิตภิกษุนั้นทรงธุดงค์ คือมีอยู่ในอรัญราวป่าเป็นปกติ “อสปฺปายรูปาทโย” รูปแลเสียงแลกลิ่นแลรสแลโผฏฐัพพารมณ์ทั้งปวง มิอาจสามารถที่จะยังจิตแห่งพระภิกษุอันอยู่ในเสนาสนะอันสงัดให้ฟุ้งซ่านได้ พระภิกษุที่อยู่ในอรัญเสนาสนะนั้นปราศจากสะดุ้งจิตแล้ว ย่อมจะละเสียซึ่งอาลัยในชีวิต ยินดีซึ่งรถแห่งความสุขอันบังเกิดแต่วิเวก นัยหนึ่งสภาวะที่ทรงไว้ซึ่งธุดงค์มีบังสุกุลธุดงค์เป็นอาทิ ก็สมควรแก่พระภิกษุที่ทรงอารัญญิกธุดงค์นี้

   เพราะเหตุดังนั้น พระพุทธโฆษาจารย์เจ้าจึงนิพนธ์พระคาถาว่า “ปวิวิตฺโต อสํสฏโ” พระยัติโควาจรเจ้ามีอรัญญิกธุดงค์เป็นปกตินี้ ย่อมยินดีในที่สงัดมิได้ระคนด้วยคฤหัสถ์แลบรรพชิต แลยินดีในอารัญญิกเสนาสนะ ยังพระหฤทัยแห่งพระองค์พระบรมโลกนาถให้ยินดีด้วยกิริยาที่อยู่ป่าเป็นปกติ “เอโก อรญฺเญ นิวาสํ” ใช่แต่เท่านั้นพระโยคาวจรเจ้านี้ เมื่ออยู่ในอรัญประเทศ ย่อมจะได้ซึ่งรสอันบังเกิดแต่ความสุข คือเป็นองค์พระอรหันต์อันใด เทพยดาทั้งหลายมีองค์อมรินทราธิราชเป็นใหญ่เป็นประธาน ก็มิได้ซึ่งความสุขนั้น “ปํสุกุลญฺจ เอ โสว” พระโยคาวจรเจ้านี้เมื่อทรงไว้ซึ่งบังสุกุลธุดงค์ เปรียบประดุจดังว่ากษัตริย์อันทรงเกราะ ตั้งอยู่ในแผ่นดินอันเป็นที่กระทำซึ่งสงคราม กล่าวคืออยู่ในอรัญประเทศราวป่า หัตถ์ซ้ายขวาทรงซึ่งอาวุธจะยุทนาการ กล่าวคือทรงธุดงค์อันวิเศษสามารถเพื่อจะผจญเสียซึ่งมารอันเป็นไปกับด้วยพาหนะ ในกาลมิได้นาน

   เหตุใดเหตุดังนั้น พระภิกษุในพระพุทธศาสนาผู้ดำเนินด้วยญาณคติพึงกระทำความยินดีในอรัญวาส อยู่รักษาทรงไว้ซึ่งอารัญญิกธุดงค์ดังนี้

   สังวรรณนามาในสมาทานแลวิธานแลประเภทะ แลอาินิสงส์ในอารัญญิกธุดงค์ ก็ตั้งอยู่แล้วด้วยอาการอันสำเร็จดังกล่าวมานี้


  
:: กลับด้านบน :: :: ย้อนกลับ ::     :: หน้าต่อไป ::


webmaster@larnbuddhism.com
23 June 2005 by 3 nang ©copyright 2005©larnbuddhism.com