พระวิสุทธิมรรค


 หน้าแรก
 สารบาญ เล่ม ๑
 สารบาญ เล่ม ๒
 สารบาญ เล่ม ๓

อารัมภกถา-พุทธโฆสุปัตติ
วิจารณ์
ศีลนิเทศ
ธุดงคนิเทศ
สมาธินิเทศ
กสิณ ๑๐
อสุภ ๑๐
อนุสสติ ๑๐
อัปปมัญญาพรหมวิหาร ๔
อรูปกัมมัฏฐาน ๔
อาหาเรปฏิกูลสัญญา
จตุธาตุววัตถาน



แผนที่วิสุทธิมรรค


 พระไตรปิฎก
 ฉบับประชาชน
 ฉบับปฏิบัติ
 ลานพุทธศาสนา
 เสียงธรรม
 พจนานุกรมฉบับประมวลศัพท์
 ไทย-อังกฤษ
 อังกฤษ-ไทย
 ฉบับประมวลธรรม


  แวะเซ็นติชมหน่อยนะคะ



 
   เล่ม ๑ หน้า ๔

  มีคำปุจฉาถามว่า ธรรมทั้งหลายมีสิกขาทั้ง ๓ เป็นอาทินั้น องค์สมเด็จพระบรมศาสดาทรงแสดงด้วยเทศนามีประมาณเท่านี้ คือทรงแสดงด้วยพระคาถา มีคำกล่าวว่า “สีเล ปติฏาย นโร สปญฺ โญ” เป็นอาทิฉะนี้ ด้วยประการดังฤๅ

   มีคำวิสัชนาว่า องค์พระบรมศาสดาตรัสเทศนาพระวิสุทธิมรรคหนทางพระนิพพานด้วยศีลนั้น คือพระองค์ทรงแสดงด้วยอธิศีลสิกขา

   พระบรมศาสดา ตรัสเทศนาพระวิสุทธิมรรคหนทางพระนิพพานด้วยสมาธินั้น คือพระพุทธองค์ทรงแสดงด้วยอธิจิตตสิกขา

  พระบรมศาสดาตรัสเทศนาพระวิสุทธิมรรค หนทางพระินิพพานด้วยปัญญานั้น คือพระพุทธองค์ทรงแสดงด้วยอธิปัญญาสิกขา

   แท้จริง “สาสนสฺส อาทิกลฺยาณตา” ศาสโนวาทคำสั่งสอนแห่งพระบรมศาสดา ไพเราะในเบื้องต้นนั้น องค์พระผู้ทรงพระภาคทรงแสดงศีล ศีลนั้นชื่อว่าเป็นเบื้องต้นพระศาสนา เพราะเหตุว่า พระผู้ทรงพระภาคตรัสเทศนาเป็ฯปุจฉาว่า “โก จาทิ กุสลานํ ธมฺมานํ” ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดังฤๅ เป็นเบื้องต้นแห่งธรรมทั้งหลายอันเป็นกุศล

  แลทรงวิสัชนาว่า “สีลญฺจ วิสุทธํ” ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศีลที่บุคคลรักษาไว้ให้บริสุทธิ์นั้นนั่นแล เป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรมคำสั่งสอนแห่งเรา

   อนึ่งศีลนั้นชื่อว่าเป็นเบื้องต้นพระศาสนา เพราะเหตุว่าพระผู้ทรงพระภาค ตรัสเทศนาไว้โดยนัยเป็นอาทิว่า

  “สพฺพปาปสฺส อกรณํ” ภิกษุในศาสนานี้ อย่าพึงกระทำกรรมอันลามกด้วยตน แลอย่าพึงยังบุคคลอื่นให้กระทำกรรมอันลามกด้วยวาจา

  แท้จริงศีลนั้นชื่อว่ากัลยาณะ แปลว่ามีคุณอันปราชญ์พึงนับเพราะเหตุว่า ศีลนั้นจะนำมาซึ่งคุณ มีคุณคือมิได้เดือดร้อนกินแหนงเป็นอาทิ

   “สมาธินา มชฺเฌ กลฺยาณตา” อนึ่งพระศาสนาคือคำสั่งสอนของพระบรมศาสดามีคุณอันนักปราชญ์พึงนับในท่ามกลางนั้น องค์พระผู้ทรงพระภาค ทรงแสดงด้วยสมาธิ

  แท้จริงสมาธินั้น เป็นคำสั่งสอนแห่งองค์พระบรมศาสดาอันเป็นท่ามกลาง เพราะเหตุว่าพระพุทธองค์ตรัสเทศนาไว้ โดยนัยเป็นอาทิว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระภิกษุในพระศาสนานี้ พึงยังกุศลธรรมให้สำเร็จ

  แท้จริงสมาธินั้น ชื่อว่ามีคุณอันนักปราชญ์พึ่งนับ เพราะเหตุว่าสมาธินั้นจะนำมาซึ่งคุณมีอิทธิฤทธิ์เป็นอาทิ

  อนึ่ง “ปริโยสานกลฺยาณตา” พระศาสนาคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา มีคุณอันนักปราชญ์พึงนับในที่สุดนั้น องค์สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคตรัสเทศนาด้วยปัญญา

   แท้จริงปัญญานั้น ชื่อว่าเป็นที่สุดพระพุทธศาสนา เพราะเหตุว่า พระผู้ทรงพระภาคตรัสเทศนาไว้ว่า “สจิตฺตปริโยทปนํ” ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระภิกษุในศาสนานี้ พึงยังจิตให้ผ่องใสชำระใจให้บริสุทธิ์ตัดเสียซึ่งกิเลสโดยอาการทั้งปวงด้วยปัญญา

   “เอตํ พุทฺธานสาสนํ” พระภิกษุในศาสนา ปฏิบัติดังนี้ชื่อว่าตั้งอยู่ในโอวาท รักษาพระศาสนาคำสั่งสอนแห่งองค์สมเด็จพระสรรเพชญ์พุทธเจ้า ปัญญานี้เป็นที่สุดแห่งพระศาสนา

   แท้จริงปัญญานั้น ชื่อว่ามีคุณอันปราชญ์จะพึงนับ เพราะเหตุว่าจะนำมาซึ่งตาทิคุณมิให้หวั่นไหว ในอิฏฐารมณ์คือลาภแลอนิฏฐารมณ์คือ หาลาภไม่ได้เป็นอาทิ เพราะเหตุนั้น องค์สมเด็๗พระผู้ทรงพระภาค จึงโปรดประทานพระสัทธรรมเทศนาไว้ว่า

   “เสโล ยถา เอกฆโน, วาเตน น สมิรติ” ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภูเขาอันแล้วด้วยศิลาแท่งเดียว ย่อมมิได้หวั่นไหวด้วยกำลัง “ยถา” อันนี้มีอุปมาฉันใด ก็มีอุปไมยเหมือนพระอริยเจ้า อันดำเนินด้วยญาณคติ กล่าวคือปัญญาอันเป็นปริโยสานที่สุดพระพุทธศาสนา ย่อมมีจิตมิได้หวั่นไหวในโลก ๘ ประการ มีนินทาแลสรรเสริญเป็นอาทิ

  “ตถา สีเลน เตวิฺชฺชตาย” อนึ่งธรรมเป็นอุปนิสัย ที่จะให้พระภิกษุได้สำเร็จแก่ไตรวิชชา มีทิพพจักษุญาณเป็นประธานองค์พระบรมศาสดาก็ตรัสเทศนาแสดงด้วยศีล

   แท้จริง พระโยคาวจรภิกษุจะบรรลุถึงวิชชาทั้ง ๓ ก็อาศัยที่รักษาศีลของตนไว้ให้บริบูรณ์

  “่น ตโต ปรํ” พระภิกษุนั้นก็ไม่อาจสามารถจะบรรลุถึงธรรมอันอื่นยิ่งกว่านั้น คือพระอภิญญาทั้ง ๖ ประการ

   ธรรมอันเป็นอุปนิสัยที่จะให้พระโยคาวจรภิกษุ บรรลุถึงฉฬภิญญาทั้ง ๖ นั้น องค์พระบรมศาสดาตรัสเทศนาด้วยพระสมาธิ

   แท้จริงพระโยคาวจรภิกษุในพระศาสนา จะบรรลุถึงอภิญญาทั้ง ๖ ก็อาศัยแก่สมาธิมีบริบูรณ์อยู่ในสันดานแห่งตน

  “น ตโต ปรํ” พระภิกษุนั้นก็อาจจะบรรลุถึงธรรมอันอื่น อันยิ่งกว่านั้น คือพระปฏิสัมภิทาญาณ

   “ปญฺญาย ปฏิสมฺภิทาย เภทสสฺส” ธรรมอันเป็นอุปนิสัยที่จะให้พระโยคาวจรภิกษุแตกฉานในปฏิสัมภิทานั้น องค์สมเด็จพระมหากรุณาตรัสแสดงด้วยปัญญา

  แท้จริง พระภิกษุจะบรรลุถึงพระปฏิสัมภิทาญาณทั้ง ๔ ก็อาศัยแก่ปัญญาบริบูรณ์อยู่ในจิตสันดาน มิได้บรรลุถึงด้วยเหตุอันอื่น

  อนึ่ง “สีเล กามสุขลฺลิกานุโยคสงฺขาตสฺส” การที่จะละเสียเว้นเสียซึ่งธรรมอันลามก กล่าวคือประกอบเนือง ๆ ด้วยสามารถยินดีในกามสุข องค์พระบรมศาสดาตรัสเทศนาด้วยศีล

  การที่เว้นเสียซึ่งธรรมอันลามก กล่าวคือประกอบเนือง ๆ ที่จะยังตนให้ได้ความลำบากนั้น องค์พระผู้ทรงพระภาคตรัสเทศนาแสดงด้วยสมาธิ

   การที่จะเว้นส้องเสพมัชฌิมปฏิบัีติ เป็นส่วนอันมีในท่ามกลางองค์สมเด็จพระบรมศาสดา ตรัสเทศนาแสดงด้วยปัญญา

  “สีเลน อปายสมติกฺกมนุปาโย” อนึ่งอุบายที่จะล่วงเสียซึ่งจตุราบายทั้ง ๔ มีนรกเป็นอาทิ องค์สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสเทศนาแสดงด้วยศีล กิริยาที่ล่วงเสียซึ่งกามธาตุ คือมิได้บังเกิดในกามาวจรภพ องค์พระบรมศาสดาตรัสเทศนาแสดงด้วยสมาธิ

  “สพฺพภวสมุติกฺกมนุปาโย” อุบายที่ล่วงเสียซึ่งภพทั้งปวง องค์สมเด็จพระบรมศาสดาแสดงด้วยปัญญา

   อนึ่งกิริยาที่จะละกิเลสด้วยสามารถตทังคปหาน คือการที่จะละเสียซึ่งองค์แห่งอกุศลนัน ๆ ด้วยองค์แห่งกุศลนั้น ๆ คือบุญกิริยาวัตถุเหมือนหนึ่งกำจัดซึ่งมืด ด้วยแสงแห่งประทีป องค์สมเด็จพระบมศาสดาตรัสเทศนาด้วยศีล

   กิริยาจะสละละกิเลสด้วยวิกขัมภนปหาน ข่มขี่ธรรมทั้งปวงมีนิวรณธรรมเป็นอาทิ องค์สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสเทศนาแสดงด้วยสมาธิ

   กิริยาที่จะสละละกิเลส ด้วยสามารถสมุจเฉทปหาน ละกิเลสแล้วกิเลสไม่กลับมา องค์สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสเทศนาแสดงด้วยปัญญาอันเกิดกับด้วยพระอริยมรรค

  “ตถา สีเลน กิเลสานํ” อนึ่งธรรมอันเป็นข้าศึกแก่การที่จะล่วงเสียซึ่งกิเลส องค์สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสเทศนาแสดงด้วยศีล

  ธรรมอันเป็นข้าศึกแก่กล้า ที่จะล่วงเสียซึ่งกิเลส องค์สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคตรัสเทศนาแสดงด้วยสมาธิ

   “อนุสยปฏิปกฺโข” ธรรมอันเป็นปฏิปักษ์แก่อนุสัยมีตัณหานุสัยเป็นอาทิ องค์พระผู้ทรงพระภาคตรัสแสดงด้วยปัญญา

   อนึ่งกิริยาที่จะชำระเสียซึ่งธรรมอันเศร้าหมองคือทุจริต องค์สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสแสดงเทศนาด้วยศีล

   การที่จะสละละสังกิเลสคือทิฏฐิ ๖๒ ประการ องค์สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ตรัสเทศนาแสดงด้วยปัญญา

  “สีเลน โสตาปนฺนสกิทาคามิภาวสฺส” อนึ่งเหตุที่จะให้ได้เป็นพระโสดาบันบุคคล และเป็นพระสกิทาคามิบุคคลนั้น องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคตรัสเทศนาแสดงด้วยศีล

   เหตุที่จะให้ได้เป็นพระอนาคามีอริยบุคคลนั้น องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคตรัสเทศนาแสดงด้วยสมาธิ

  เหตุที่จะให้พระอรหัตต์เป็นองค์พระอรหันต์นั้น องค์สมเด็จพระผู้ทรงสวัสดิภาคตรัสเทศนาแสดงด้วยปัญญา

   “เอวํ เอตฺตาวตา ติสฺโส สิกฺขา” พระคุณทีละสาม ๆ ถึงเก้าครั้ง คือสิกขาทั้ง ๓ คืออธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑ เป็นสิกขาทั้ง ๓ ประการนับเป็น ๑

  “ติวิธกลฺยาณสาสนํ” คือคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา มีไพเราะ ๓ ประการดังกล่าวแล้ว ๑

  คือ ธรรมอันเป็นอุปนิสัยแก่พระคุณทั้ง ๓ มีไตรวิชชาคุณเป็นอาทิ ๑

   กิริยาที่จะเว้นจากธรรมทั้ง ๒ แลเสพมัชฌิมปฏิบัติ ๑ เข้ากันเป็น ๓ ประการ ๑

  คืออุบายที่ล่วงจตุรา่บายภูมิเป็นอาทิ ๑ สละกิเลสด้วยอาการ ๓ ประการ ๑

   คือธรรมอันเป็นข้าศึกที่จะล่วงกิเลสเป็นอาทิ ๑ จะชำระสังกิเลสทั้ง ๓ ประการ ๑ เหตุที่จะให้ได้เป็นพระโสดาบันเป็นอาทิ ๑

   นับพระคุณทีละ ๓ ๆ ถึง ๕ ครั้งนี้ แลประมาณ ๓ แห่งพระคุณอันอื่น องค์สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคตรัสเทศนาแสดงด้วยศีลแลสมาธิแลปัญญา มีประมาณเท่านี้


  
:: กลับด้านบน :: :: ย้อนกลับ ::     :: หน้าต่อไป ::


webmaster@larnbuddhism.com
23 June 2005 by 3 nang ©copyright 2005©larnbuddhism.com