พระวิสุทธิมรรค


 หน้าแรก
 สารบาญ เล่ม ๑
 สารบาญ เล่ม ๒
 สารบาญ เล่ม ๓

อารัมภกถา-พุทธโฆสุปัตติ
วิจารณ์
ศีลนิเทศ
ธุดงคนิเทศ
สมาธินิเทศ
กสิณ ๑๐
อสุภ ๑๐
อนุสสติ ๑๐
อัปปมัญญาพรหมวิหาร ๔
อรูปกัมมัฏฐาน ๔
อาหาเรปฏิกูลสัญญา
จตุธาตุววัตถาน



แผนที่วิสุทธิมรรค


 พระไตรปิฎก
 ฉบับประชาชน
 ฉบับปฏิบัติ
 ลานพุทธศาสนา
 เสียงธรรม
 พจนานุกรมฉบับประมวลศัพท์
 ไทย-อังกฤษ
 อังกฤษ-ไทย
 ฉบับประมวลธรรม


  แวะเซ็นติชมหน่อยนะคะ



 
   เล่ม ๑ หน้า ๘

   พระภิกษุโคจรเที่ยวไปดังนี้ ชื่อว่าอโคจร เอวํ ก็มีด้วยประการดังนี้

   “ตตฺถ กตโม โคจโร อิเธกจฺโจ น เสวิยโคจโร โหติ ฯลฯ น ปานาคารโคจโร โหติ อสํสฏโ วิหรติ ราชูหิ ฯลฯ ติตฺถิยสาวเกหิ อนนุโลมิเกน สํสคฺเคน ยานิ วาปน ตานิ กุลานิ สทฺธาปสนฺนานิ โอปานภูตานิ กาสาปปโชตานิ อวาตปฏิวาตานิ อตฺถกามานิ ฯลฯ โยคกฺเขมกามานิ ภิกฺขูนํ ภิกขูนีนํ อุปาสกานํ อุปาสิกานํ ตถารูปานิ กุลานิ เสวติ ภชติ ปยิรุปาสติ อยํ วุจฺจติโคจโรติ”

   วาระนี้ จะได้รับพระราชทานถวายวิสัชนาในโคจร สืบอนุสนธิตามกระแสวาระพระบาลี มีเนื้อความในโคจรนั้น พระพุทธโฆษาจารย์เจ้ากล่าวคำปุจฉาว่า “ตตฺถ กตโม โคจโร” ถ้าธรรมทั้ง ๒ ประการคือ โคจร และอโคจรนั้น โคจรนั้นเป็นดังฤๅ

   “อิเธกจฺโจ น เสวิยโคจโร” พระภิกษุบางจำพวกในพระพุทธศาสนานี้ มิได้มีสุกลหญิงแพศยาเป็นที่โคจร มิได้มีหญิงหม้ายเป็นที่โคจร มิได้มีสกุลหญิงสาวใหญ่และสกุลหญิงกุมารี และบัณฑกะและพระภิกษุณี และโรงเป็นที่ดื่มกินสุราเป็นที่โคจร “อสํสฏโฐ วิหรติ ราชูหิ” ไม่ระคนกับพระยามหาอำมาตย์ของพระยา ไม่ระคนกับด้วยติตถีย์ และสาวกของติตถีย์ ไม่ระคนด้วยกายและวาจาอันเป็นข้าศึกแก่สิกขาทั้ง ๓ มีอธิศีลสิกขาเป็นอาทิ

   “ยานิ วาปน กุลานิ” อนึ่ง สกุลทั้งหลายใด ไม่ศรัทธา ไม่เลื่อมใส ย่อมด่าปริภาสนาการพระภิกษุและพระภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา และปรารถนาจะไม่ให้ประโยชน์ จะไม่ให้เป็นคุณ จะไม่ให้สบายจะไม่ให้เกษมจากกามาทิโยคแก่พระภิกษุ และพระภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระภิกษุก็บ่มิได้เสพ มิได้เข้าไปสู่มหาสกุลทั้งหลายนั้น “ยานิ วาปน ตานิ กุลานิ” อนึ่ง สกุลทั้งหลายนั้นมิได้มีศรัทธาเลื่อมใส ปรากฏดุจดังว่าสระโบกขรณีอันมีบัวที่บุคคลขุดไว้ในที่ประชุมใหญ่ทั้งสี่ และสกุลนั้นรุ่งเรืองเป็นอันหนึ่งอันเดียว ด้วยรัศมีกาสาวพัตร์ผ้านุ่งผ้าห่มแห่งพระภิกษุและพระภิกษุณี และฟุ้งตลบไปด้วยลมสรีระ พระภิกษุและพระภิกษุณี อันเป็นอิสีแสวงหาสีลักขันธาทิคุณและกุศลทั้งหลายปรารถนาจะให้เป็นประโยชน์ ปรารถนาจะให้อยู่เป็นผาสุก จะให้เกษมจากโยคะแก่ภิกษุและพระภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระภิกษุก็เสวนะคบค้าเข้าไปสู่หาสกุลทังหลายนั้น พระภิกษุประพฤติเป็นดังนี้ ชื่อว่าโคจร

   พระภิกษุในพระศาสนานี้ ประกอบและประกอบดี ถึงพร้อมมาพร้อมด้วยอาจารและโคจรดังนี้ จึงได้ชื่อว่าอาจารโคจรสัมปันโน

   อนึ่ง อาจาระและโคจรในปาฏิโมกข์สังวรศีลนี้ นักปราชญ์พึงรู้โดยนัยอันเราจะแสดงดังนี้

   “ทุวิโธ หิ อนาจาโร” แท้จริงอนาจารมี ๒ ประเภท คืออนาจารประกอบในกาย ๑ คืออนาจารประกอบในวาจา ๑ เป็น ๒ ประการ ดังนี้

   อนาจารอันยุติในกายนั้นเป็นดังฤๅ

   “อิเธกจฺโจ สงฺฆคโตปิ”พระภิกษุจำพวกหนึ่ง ในพระพุทธศาสนานี้ อยู่ในที่ประชุมสงฆ์ ไม่เคารพแก่สงฆ์ ยืนเสียดสีพระภิกษุทั้งหลายที่เป็นพระเถระด้วยสรีระ และจีวร นั่งเสียดสีพระภิกษุที่เป็นพระเถระด้วยสรีระและจีวร ยืนในเบื้่้องหน้านั่งในเบื้องหน้าพระภิกษุที่เป็นพระเถระนั่งอยู่ในอาสนะอันสูง คลุมศีรษะ ยืนเจรจา ไกวแขน เจรจา พระภิกษุทั้งหลายเป็นพระเถระิมิได้ขึ้นสู่รองเท้า เดินเท้าเปล่าตนก็ขึ้นสู่รองเท้าเดิน พระภิกษุที่เป็นเถระจงกรมในที่จงกรมต่ำ ตนก็จงกรมในที่จงกรมอันสูง พระภิกษุเถระจงกรมในแผ่นดิน ตนก็จงกรมในที่จงกรมยืนแทรกนั่งแทรกพระภิกษุทั้งหลายที่เป็นเถระในที่คับแคบ ห้ามพระภิกษุบวชใหม่ด้วยที่นั่งมิได้บอกกล่าวพระภิกษุเป็นเถระเสียให้รู้ก่อน ใส่ฟืนเข้าในกองไฟในโรงไฟ มิได้บอกพระภิกษุเป็นเถระก่อน เปิดประตูโรงไฟพระทบกระทั่งพระภิกษุเป็นเถระ แล้วลงสู่ท่าน้ำล่วงลงไปในเบื้องหน้าพระเถระอาบน้ำ กระทบกระทั่งพระเถระ อาบน้ำในเบื้องหน้าพระภิกษุอันเป็นเถระ เมื่อขึ้นจากน้ำมีกระทบกระทั่งพระภิกษุเป็นเถระขึ้นในเบื้องหน้า “อนุตร”รํ ปวิสนฺโตปิ” เมื่อจะเข้าไปสู่โคจรคาม ก็ครึดครือเสียดสีพระภิกษุที่เป็นเถระเดินไปในหนทาง แทรกไปโดยต่าง ๆ แล้วก็เดินล่วงขึ้นไปในเบื้องหน้าพระภิกษุทั้งหลายอันเป็นเถระ

   อนึ่ง ห้องทั้งหลายในเรือนสกุลเป็นห้องอันลับ เป็นห้องอันกำบัง หญิงสกุลกุมาริกาแห่งสกุลนั่งอยู่ในห้อง พระภิกษุที่ประพฤติอนาจารก็เข้าในห้องนั้นโดยเร็วโดยพลัน ปรามาสเข้าไปลูบคลำศีรษะลูกเล็กเด็กทารก พระภิกษุประพฤติอนาจารดังนี้ชื่อว่าประพฤติอนาจารด้วยกาย

   “ตตฺถ กตโม วาจสิโก” พระภิกษุพระพฤติอนาจารด้วยวาจานั้นเป็นดังฤๅ

   พระภิกษุจำพวกหนึ่งในพระศาสนานี้ ตนตั้งอยู่ในที่ประชุมสงฆ์ ไ่ม่กระทำเคารพสงฆ์ มิได้บอกกล่าวพระภิกษุเป็นเถระก่อน ก็กล่าวพระธรรมวิสัชนาอรรถปัญหา แสดงพระปาฏิโมกข์ ยืนเจรจาไกวแขนเจรจา

   อนึ่ง “อนุตรฆรํ ปวิฎโปิ” พระภิกษุนั้นเข้าไปสู่โคจรคาม แล้วก็กล่าววาจาแก่หญิง และหญิงกุมารีว่า ดูก่อนหญิงชื่อนี้ โคตรนี้ ข้าวยาคูมีอยู่หรือ ข้าวสวย และขาทนียะ และโภชนียะ ของเคี้ยว ของบริโภคมีอยู่หรือ เราจักกินหรือจักกัดกินหรือจะบริโภค ท่านจะให้แก่เราหรือ

   “อยํ วุจฺจติ วาจสิโก อนาจาโร” พระภิกษุประพฤติดังนี้ ชื่อว่าอนาจารอันประกอบในวาจา เป็นอนาจาร ๒ ประการดังนี้

   พระภิกษุประพฤติอนาจารนั้น บัณฑิตพึงรู้ด้วยสามารถแห่งพระบาลี อันเป็นปฏิปักษ์แก่คำที่กล่าวมานี้

   อนึ่ง พระภิกษุในพระศาสนานี้ ประกอบด้วยยำเยงมาพร้อม ถึงพร้อมด้วยหิริและโอตตัปปะ “สุนิวตฺโถ สุปาริโต” นุ่งผ้าเป็นปริมณฑลงาม ห่มผ้าเป็นปริมณฑลงาม จะย่างก้าวเข้าไปและก้าวถอยออกไป และจะเดินไปเบื้องหน้า และจะแลไปข้างโน้นข้างนี้ และจะคู้แขนเข้าและจะเหยียดแขนออก ก็ย่อมจะนำมาซึ่งความเลื่อมใส มีจักษุทอดลงไปในเบื้องต่ำ ถึงพร้อมด้วยอริยาบถ รักษาอินทรีย์สำรวมทวาร รู้ประมาณในโภชนะประกอบเนือง ๆ ในชาคริยธรรม ตื่นอยู่ในกุศลสิ้นกาลเป็นนิจพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ มีความปรารถนาน้อย ยินดีด้วยปัจจัยแห่งตน ไม่ระคนด้วยคฤหัสถ์และบรรพชิต กระทำเคารพในอภิสมาจาริกวัตร มากไปด้วยเคารพคารวะในบุคคลจะเคารรพพระภิกษุประพฤติดังนี้ ชื่อว่าประพฤติอาจาระ

   ว่าด้วยอนาจาร บัณฑิตพึงรู้ดังนี้ก่อน

   แต่นี้จะว่าด้วยโคจรต่อไป

   โคจรนั้นมี ๓ ประการ คืออุปนิสยโคจร ๑ อารักขโคจร ๑ อุปนิพันธโคจร ๑ เป็น ๓ ประการ ดังนี้

   “ตตฺถ กตโม อุปนิสสยโคจโร” ล้ำโคจรทั้ง ๓ นั้น อุปนิสยโคจรนั้นเป็นดังฤๅ

   วิสัชนาว่า พระภิกษุอาศัยกัลยาณมิตร ซึ่งประกอบด้วยคุณ คือ ได้เล่าเรียนและทรงไว้ซึ่งกถาวัตถุ ๑๐ ประการ ก็ย่อมจะได้ฟังนวังคสัตถุศาสนา อันประกอบด้วยองค์ ๙ มีสุตตะและเคยยะเป็นอาทิ จะได้สั่งสมไว้ซึ่งสูตร ล่วงข้ามซึ่งความสงสัย กระทำปัญญาให้เห็นตรงยังจิตให้เลื่อมใสในพระรัตนตรัย ศึกษาตามภิกษุที่เป็นกัลยาณมิตรตน ก็เจริญด้วยศรัทธาและศีลและสดับและบริจาคและปัญญา พระภิกษุประพฤติโคจรดังนี้ ชื่อว่า อุปนิสยโคจรที่ ๑

   “กตโม อคคกฺขโคจโร” อารักขโจรที่ ๒ นั้นเป็นดังฤๅ

   อารักขโคจรนั้นว่า พระภิกษุในพระศาสนานี้เข้าไปในโคจรคามเดินไปตาสกุลก็มีจักษุทอดลงในเบื้องต่ำ เล็งแลดูไปชั่วแอกหนึ่งเป็นประมาณ สำรวมเป็นอันดี “น หตฺถึ โอโลเกนโต” ไม่แลดูช้าง ไ่ม่แลดูม้า ไม่แลดูรถ ไ่ม่แลดูพลเดินเท้า ไม่แลดูสตรี ไม่แลดูบุรุษ ไม่แลดูในเบื้องบน ไม่แลดูในเบื้องต่ำ ไม่แลดูสระใหญ่ และที่สระน้อย พระภิกษุประพฤติดังนี้ชื่อว่าอารักขโคจรที่ ๒

   อุปนิพันธโคจรนั้น เป็นดังฤๅ

   อุปนิพันธโคจรนั้นว่า พระภิกษุในพระศาสนานี้ ผูกจิตไว้ในพระสติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้สมด้วยวาระพระบาลีที่องค์สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคตรัสเทศนาว่า “โก จ ภิกฺขเว ภิกฺขุโน โคจโร” ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดังฤๅ ในสติปัฏฐานทั้ง ๔ ชื่ือว่าโคจร คือเป็นอารมณ์แห่งพระภิกษุเป็นอารมณ์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นพระบิดา

   พระสติปัฏฐานทั้ง ๔ มีกายานุปัสสนาสติปัฏฐานเป็นอาทินี้ ชื่อว่าเป็นโคจรแห่งพระภิกษุ พระภิกษุประพฤติดังนี้ชื่อว่าอุปนิพันธโคจรที่ ๒

   พระภิกษุประกอบแล้ว และประกอบด้วยดี ด้วยอาจาระนี้ก็ดีด้วยโคจรนี้ก็ดี ชื่อว่าอาจารโคจรสัมปันโน

   ในบทคือ “อนุมตฺเตสุ วชฺเชสฺ ภยทสฺเสวี” นั้นว่า พระภิกษุถึงพร้อมด้วยโคจรและอาจาระแล้ว ก็เห็นภัยในโทษมีประประมาณน้อย คือตนไม่แกล้งแล้วและต้องอาบัติ และบังเกิดแห่งอกุสศลจิต ในธรรมอันชื่อเสขิยะ เป็นอาทิ สิกขาบทอันใดที่ตนจะพึงศึกษา ก็สมาทานสิกขาบทนั้น ศึกษาสำเหนียกในสิกขาบทที่ตนสมาทาน องค์สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคตรัสเทศนาพระปาฏิโมกขสังวรศีลด้วยปุคลาธิษฐาน มีบุคคลคือพระภิกษุเป็นที่ตั้ง

   ในบทคือปาฏิโมกขสังวรสังวุโต มีประมาณเท่านี้

   อนึ่ง บทพระบาลีว่า “อาจารโคจรสมฺปนโน” แปลว่าภิกษุถึงพร้อมด้วยวาจาและโคจรเป็นต้นนั้น องค์พระผู้ทรงพระภาคตรัสเทศนาปฏิบัติทั้งปวงที่พระภิกษุยังศีลให้สมบูรณ์ บัณฑิตพึงรู้ดังนี้

   “ยมฺปเนตํ ตทนนฺตรํ” ในลำดับพระปาฏิโมกขสังวรศีลนี้องค์พระผู้ทรงพระภาคตรัสเทศนาอินทรียสังวรศีล โดยพระบาลีีคำกล่าวว่า “โส จกขุนา รูปํทิสวา” เป็นอาทิ ดังนี้

   วินิจฉัยในอินทรียสังวรนั้นว่า พระภิกษุที่ตั้งอยู่แล้วในพระปาฏิโมกขสังวรศีลนั้น เห็นซึ่งรูปด้วยจักษุวิญญาณ อันสามารถจะเห็นรูปเรียกชื่อว่า จักขุ ด้วยเหตุกล่าวคือจักขุประสาท

   อนึ่ง โบราณจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า “จกฺขุ รูปํ น ปสฺสติ” จักษุไ่ม่เห็นรูป เพราะเหตุจักษุนั้นใช่จิต “จิตฺตํปิ ปูปํ น ปสฺสติ” อนึ่ง จิตก็มิได้เห็นรูป เพราะเหตุว่าใช่จักษุ เมื่ออารมณ์กระทบจักษุทวารแล้ว บุคคลก็เห็นรูปด้วยรูปด้วยจิตตวิญญาณอาศัยจักขุประสาท

   การที่จะกล่าวซึ่งสัมภารเหตุ คือจะเห็นรูปจักขุวิญญาณนั้นมีอุปมาเหมือนนายพรานยิงเนื้อด้วยธนู ต้องประกอบกันทั้ง ๓ อย่างเหตุการณ์นั้นนั้น พระอาจารย์เจ้าจึงสัวรรณนาอรรถว่า พระภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุวิญญาณแน่แล้ว ก็ิมิได้ถือเอาซึ่งนิมิต ว่าเป็นสตรีบุรุษ และมิได้ถือเอาซึ่งนิมิตบังเกิดเป็นเหตุแ่ก่กิเลสว่าเกศางามโลมางามเป็นอาทิ เพราะภิกษุนั้นก็กำหนดไว้ว่าเห็นเป็นประมาณ แลมิได้ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ คือกระทำให้ปรากฏแก่กิเลสทั้งหลายไ่ม่ถือเอาซึ่งอาการ มีมือแลเท้าแลยิ้มแย้มแลกล่าวเล็งแลไปแต่ข้าง ๆ นี้ เป็นอาทิ ส่วนอันใดมีเกศาแลโลมาเป็นอาทิมีในสรีระ ก็ถือเอาโกฏฐาสนั้นว่าเป็นปฏิกูลเหมือนพระมหาติสสเถระเจ้าอันอยู่ในเจติยบรรพตวิหาร

   ดังได้สดับมา หญิงสะใภ้แห่งสกุลอันหนึ่ง ทะเลาะกันกับสามี แล้วตกแต่งสรีรกาย งามดุจดังเทวกัญญา ออกจากเมืองอนุราธแต่เพลาเช้าจะไปเรือนญาตคิ ได้เห็นมหาติสสเถรเจ้า อันออกเจติยบรรพตวิหารจะเข้าไปบิณฑบาตในอนุราธนคร ณ ท่ามกลางมรรค มีจิตอันวิปลาสหัวเราะดัง พระมหาติสสเถรเจ้าจึงแลด้วยนสิการกระทำไว้ในใจว่า เสียงนี้เป็นเสียงดังฤๅ จึงแลเห็นกระดูกคือฟันของหญิงนั้น พระผู้เป็นเจ้าก็ได้อสุภสัญญาในอัฏฐิคือฟันของหญิงนั้นบรรลุถึงพระอรหัตต์ เพราะเหตุการณ์นั้น พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลาย จึงนิพนธ์พระคาถาว่า “ตสฺสา ทนตฏฺิกํ ทิสวา ปพฺพสญฺญํ อนุสฺสริ” แปลเนื้อความว่า พระมหาเถรเจ้าเห็นอัฏฐิ คือฟันของหญิงนั้น ก็ระลึกถึงบุพพสัญญายืนอยู่ในประเทศที่นั้นบรรลุถึงพระอรหันต์

   “สามิโกปิ โข มนุสฺโส” ฝ่ายบุรุษสามีของหญิงติดตาภรรยาไปพบพระมหาเถรเจ้า ถามว่าพระผู้เป็นเจ้าเดินมา ได้เห็นหญิงคนหนึ่งเดินไปทางนี้บ้างหรือว่าหามิได้

   พระมหาเถรเจ้าจึงบอกว่า รูปไม่รู้ว่าหญิงว่าชายเดินไปทางนี้เห็นแต่ร่างกระดูกเดินไปในหนทางอันใหญ่

   ในบทคือ “ญตฺวาธิกรณเมนํ” นั้นมีอรรถว่า พระภิกษุไม่สำรวมจักษุอินทรีย์ ไม่ปิดจักษุทวยารด้วยใบบานคือสติแล้วแลดูอยู่บาปธรรมทั้งหลาย มีอภิชฌาเป็นอาทิ ก็ติดตามพระภิกษุนั้น เพราะเหตุไม่สำรวมอินทรีย์ พระภิกษุรู้ดังนี้แล้วเร่งปฏิบัติปิดจักษุอินทรีย์ไว้ด้วยใบบานคือสติ “เอวํ ปฏิปชฺชนฺโต” เมื่อพระภิกษุปฏิบัติดังนี้องค์สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคก็ตรัสว่า พระภิกษุนั้นรักษาจักขุนทรีย์ถึงซึ่งสังวรในจักขุนทรีย์ไว้ การที่ได้สังวรแลมิได้สังวร มิได้มีในจักขุนทรีย์โดยแท้ สติตั้งมั่นแลหลงลืมสติจะอาศัยจักขุประสาทแล้วแลบังเกิดขึ้นนั้นก็หามิได้

   นัยหนึ่ง อารมณ์คือรูปมาสู่โยคประเทศคลองจักขุในกาลใด กาลนั้นภวังจิตก็บังเกิดขึ้นสองขณะแล้วก็ดับไป กิริยามโนธาตุก็ยังอาวัชชนะกิจคืพิจารณาให้สำเร็จ บังเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปในลำดับนั้นจักขุวิญญาณก็ยังทัสสนกิจ คือกระทำให้เห็นให้สำเร็จบังเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป

   ในลำดับนั้น วิปากมโนธาตุก็ยังสัมปฏิจฉันนกิจ คือการทำรับรองไว้ให้สำเร็จบังเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป

   ในลำดับนั้น วิปากเหตุกมโนวิญญาณธาตุ ยังสันติรณกิจคือกระทำให้ล่วงเสียซึ่งความสงสัย ให้สำเร็จบังเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป

   ในลำดับนั้น กิริยาเหตุมโนวิญญาณธาตุ ก็ยังโผฏฐัพพนกิจคือ กระทำให้กำหนดไว้ได้ ให้สำเร็จบังเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป

   ในลำดับนั้น ชวนจิตก็เสวยอารมณ์ สำรวมแลไม่ได้สำรวมก็มิได้มีในภวังค์ทั้งปวง และมิได้มีในสมัยแห่งวิถีจิต อาวัชชนจิตเป็นอาทิต

   เมื่อขณะชวนจิตเสวยอารมณ์นั้น ถ้าว่าทุศีลคือหาศีลมิได้แลมีสติอันหลง แลอญาณคืออวิชชาและขันติคือไม่อดใจ แลสภาวะเกียจคร้านบังเกิดมีในจิตสันดานแล้ว องค์สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคก็ตรัสพระสัทธรรมเทศนาว่า พระภิกษุนั้นไม่สำรวมในจักขุนทรีย์

   มีคำปุจฉาถามว่า “กสฺมา การณา” เหตุดังฤๅ องค์สมเด็จพระผู้ทรงพระภาค จึงตรัสเรียกพระภิกษุนั้นว่า ไม่สังวรในจักขุนทรีย์

   มีคำอาจารย์วิสัชนาว่า “ตสฺมึ สติ ทฺวารมฺปิ อคุตฺตํ” ในเมื่อเหตุทั้งปวง มีสภาวทุศีลเป็นอาทิ บังเกิดแก่พระภิกษุนั้นแล้วภิกษุนั้นก็มิได้รักษาทวาร มิได้รักษาภวังค์ มิได้รักษาวิถีจิตทั้งหลายมีอาวัชชนวิถีจิตเป็นอาทิ เหตุใดเหตุดังนั้น องค์พระผู้ทรงพระภาคจึงตรัสเรียกพระภิกษุนั้นชื่อว่า ไม่สังวรในจักขุนทรีย์

   มีอุปมาเปรียบเทียบในอธิการนี้ว่า “นคเร จตูสุ อสํวฺเตสุ” ประตูเมืองทั้ง ๔ ประตู ผู้รักษาทวารหาได้ปิดไม่ มนุษย์ทั้งหลายที่อยู่ในพระนครต่างคนต่างรักษาแต่บ้านเรือนของตน ปิดประตูเรือนปิดประตูซุ้มปิดประตูห้องไว้ให้ดีโดยแท้ ในเมื่อประการฉะนั้นแลมีห้องเรือนอันเป็นที่อยู่ของมนุษย์ทั้งปวงที่ปิดนั้น ก็เหมือนมิได้ปิดมิได้รักษา แท้จริงโจรทั้งหลายเข้าไปโดยประตูเมืองทั้ง ๔ ที่มิได้ปิดปรารถนาจะกระทำกิจอันใด ก็กระทำกิจอันนั้นได้ดังความปรารถนา “เสยฺยถา” อันนี้แลมีอุปมาฉันใดก็มีอุปไมยเหมือนทุศีลกรรมเป็นอาทิบังเกิดขึ้นแล้วภิกษุนั้นก็ตั้งอยู่ในอสังวร เมื่ออสังวรมีแล้วก็ได้ชื่อว่า ไม่รักษาทวาร ไม่รักษาภวังค์ ไม่รักษาวิถีจิตทั้งปวงมีอาวชชวิถีจิตเป็นประธาน ก็มีอุปไมยเหมือนดังนั้น

   อนึ่งในเมื่อธรรมทั้งหลายมีศีลเป็นต้น มีบริบูรณ์บังเกิดพร้อมอยู่แล้ว พระภิกษุนั้นก็ได้ชื่อว่ารักษาทวารรักษาภวังค์ รักษาวิถีจิตทั้งปวง มีอาชชนวิถีเป็นอาทิ มีคำอุปมาว่า ประตูนครทั้ง ๔ ประตูปิดไว้ดีแล้ว แท้จริงเมื่อประตูเมืองปิดแล้ว โจรทั้งหลายก็ไม่มีอโกาสที่จะเข้าไปประทุษร้ายได้ “ยถา” อันนี้แลมีอุปมาฉันใดก็มีอุปไมยเหมือนธรรมทั้งหลาย คือศีล แลสติ แลปัญญา แลขันติแลความเพียรบังเกิดในชวนวิถีจิตแล้วทวารแลภวังค์แลวิถีจิตทั้งหลาย มีอาวัชชวิถีจิตเป็นอาทิก็ได้ชื่อว่ารักษาไว้แล้ว เหตุใดเหตุดังนั้น ครั้นธรรมทั้งปวงมีทุศีลธรรมเป็นอาทิบังเกิดในขณะชวนะแล้ว องค์สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคก็ตรัสเรียกชื่อว่าสังวรในจักขุนทรีย์ สังวรในโสตินทรีย์ แลฆานินทรีย์เป็นอาทินั้น อันมีในบทบาลีมึคำกล่าวว่า “โสเตน สทฺทํ สุตฺวา” เป็นประธาน ก็มีนัยดุจเดียวกัน ดังวิสัชนาในจักขุนทรีย์สังวรนี้


  
:: กลับด้านบน :: :: ย้อนกลับ ::     :: หน้าต่อไป ::


webmaster@larnbuddhism.com
23 June 2005 by 3 nang ©copyright 2005©larnbuddhism.com