บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



หมวดพระ
อภิธัมมปิฎก

พระอภิธัมมปิฎก
เล่ม ๑


..อภิธรรม ๗ คัมภีร์
๑.ธัมมสังตณี
๒.วิภังค์
๓.ธาตุกถา
๔.ปุคคลบัญญัติ
๕.กถาวัตถุ
๖.ยมก
๗.ปัฏฐาน
๑.แม่บท (มาติกา)
๒.จิตตุปปาทกัณฑ์
๓.รูปกัณฑ์
๔.นิกเขปกัณฑ์
๕.อัตถุทธารกัณฑ์

 

หน้าที่ ๑ ..อภิธรรม ๗ คัมภีร์
๑.ธัมมสังตณี
๒.วิภังค์
๓.ธาตุกถา
๔.ปุคคลบัญญัติ
๕.กถาวัตถุ
๖.ยมก
๗.ปัฏฐาน
๑.แม่บท (มาติกา)
๒.จิตตุปปาทกัณฑ์
๓.รูปกัณฑ์
๔.นิกเขปกัณฑ์
๕.อัตถุทธารกัณฑ์

..ขยายความเล่ม ๓๔
ธัมสังคณี
(รวมกลุ่มธรรมะ)
๑.แม่บทหรือมาติกา
ก.แม่บทหรือบท
ตั้งฝ่ายอภิธรรม
(อธิธัมมมาติกา)

 

หน้าที่ ๒ ..ข.แม่บทหรือ
บทตั้งฝ่ายพระสูตร
(สุตตันตมาติกา)

๒.จิตตุปปาทกัณฑ์
(คำอธิบายเรื่องจิต)

..จิตทั้วไป
..จิตฝ่ายกุศล
..จิตฝ่ายอกุศล
..จิตที่เป็นกลาง ๆ
..การแสดงแผนผัง
ที่ ๑ - ๑๐

 

หน้าที่ ๓
..การนับจำนวนจิต
..คำอธิบายใน
จิตตุปปาทกัณฑ์
ธรรมะประกอบจิต
แสดงจิตจาก
ลำดับที่ ๑ - ๘๙
กุศลจิต ๒๑
๓.รูปกัณฑ์
(คำอธิบายเรื่องรูป)
หมวด ๑ - ๑๑
๔.นิกเขปกัณฑ์
๕.อัตถุทธารกัณฑ์

 

หน้าที่ ๔
..อกุศลจิต ๑๒
..อัพยากตจิต ๕๖
..วิบากจิตฝ่ายอกุศล
..กิริยาจิต ๒๐
(คำอธิบายบทตั้ง
อย่างย่อ)
..คำอธิบาย
อกุศลธรรม
ในนิกเขปกัณฑ์
..คำอธิบาย
อกุศลธรรมใ
นอัตถุทธารกัณฑ์
..คำอธิบาย
อัพพยากตธรรม
ในนอกเขปกัณฑ์
..คำอธิบาย
อัพยากตธรรม
ในอัตถุธารกัณฑ์
..จบเล่ม ๓๔
ธัมมสังคณี

 

ข. แม่บทหรือบทตั้งฝ่ายพระสูตร

( สุตตันตมาติกา )

      ได้กล่าวไว้แล้วว่า ในแม่บทของเล่มที่ ๓๔ นี้ แบ่งหัวข้อหรือแม่บทใหญ่ออกเป็นฝ่ายอภิธรรม กับฝ่ายพระสูตร เพื่อให้เทียบเคียงกันดู. แม่บทฝ่ายอภิธรรมมี ๑๒๒ หัวข้อ ( หัวข้อละ ๓ ประเด็น มี ๒๒, หัวข้อละ ๒ ประเด็น มี ๑๐๐ ) ส่วนแม่บทฝ่ายพระสูตร มี ๔๒ หัวข้อ ( หัวข้อละ ๒ ประเด็น ) แต่ไม่มีคำอธิบายแม่บทฝ่ายพระสูตร คง นำมาตั้งไว้ให้ทราบเท่านั้น ดังจะนำมากล่าวสัก ๑๐ ข้อ คือ :-

      ๑. ธรรมอันเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา, ธรรมอันเป็นไปในส่วนแห่งอวิชชา ;

      ๒. ธรรมอันอุปมาด้วยสายฟ้า, ธรรมอันอุปมาด้วยเพชร ;

      ๓. ธรรมอันเป็นของคนพาล, ธรรมอันเป็นของบัณฑิต ;

      ๔. ธรรมดำ, ธรรมขาว ;

      ๕. ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน, ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน ;

      ๖. ธรรมคือคำร้องเรียก, ธรรมคือทางแห่งคำร้องเรียก ;

      ๗. ธรรมคือภาษาพูด, ธรรมคือทางแห่งภาษาพูด ;

      ๘. ธรรมคือบัญญัติ, ธรรมคือทางแห่งบัญญัติ ;

      ๙. นาม, รูป ;

      ๑๐. อวิชชา, ภวตัณหา ( ความทะยานอยากมี อยากเป็น ) เป็นต้น ฯลฯ.

      ( หมายเหตุ : ในบทตั้งหรือแม่บท ๑๖๔ หัวข้ออันแจกรายละเอียดออกไปเป็นฝ่ายพระ อภิธรรม ๒๖๖ ประเด็น, เป็นฝ่ายพระสูตร ๘๔ ประเด็น, รวมทั้งสิ้น ๓๕๐ ประเด็น แต่นำมาตั้งให้เห็นเพียง ๔๕ หัวข้อ หรือ ๑๓๘ ประเด็น ที่เหลือได้ละไว้ด้วยคำว่า เป็นต้น นั้น ด้วยเจตนาจะแสดงรายการหรือประเด็นที่สำคัญ ส่วนปลีกย่อยก็ผ่านไป. ความจริงเท่าที่พระท่านสวด ท่านสวดบทตั้งของคัมภีร์ " ธัมมสังคณี " คือพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ นี้ โดยทั่วไปนั้น คงสวด เพียง ๒๒ หัวข้อแรก ที่แบ่งออกเป็นหัวข้อละ ๓ ประเด็น รวมทั้งสิ้น ๖๖ ประเด็นเท่านั้น ในที่นี้แสดงไว้ถึง ๔๕ หัวข้ออัน แบ่งออกเป็น ๑๓๘ ประเด็น เพื่อให้เห็นหน้าตาชัดเจนยิ่งขึ้น แท้จริงในการอธิบายรายละเอียดเป็นร้อย ๆหน้าในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ เอง ก็อธิบายหนักไปในหัวข้อแรก ๓ ประเด็น คือ กุสลา ธมฺมา ( ธรรมอันเป็นกุศล ), อกุสลา ธมฺมา ( ธรรมอัน เป็นอกุศล ) อพฺยากตา ธมฺมา ( ธรรมอันเป็นอัพยากฤต คือเป็นกลาง ๆ ) เท่านั้น นอกจากนั้นก็เป็นคำอธิบายเรื่อง " รูป " กับ อธิบายบทตั้งอื่น ๆ อย่างสั้น ๆ ท่านผู้อ่านจึงชื่อว่ามิได้ผ่านสาระสำคัญไปในการย่อครั้งนี้ ).

๒. คำอธิบายเรื่องจิตเกิด ( จิตตุปปาทกัณฑ์ )

        ข้อความในกัณฑ์นี้ มี ๑๗๕ หน้า อธิบายเพียงหัวข้อแรก อันแบ่งเป็น ๓ ประเด็น คือธรรมอันเป็นกุศล, อกุศล, และอัพยากฤตหรือกลาง ๆ เท่านั้น. พึงทราบว่า ความมุ่งหมายยังแคบเข้ามาอีก คือธรรมทั้งสาม นั้น ท่านชี้ไปที่ จิต และสิ่งที่เนื่องด้วยจิต ที่เรียกว่า เจตสิก ดังหัวข้อย่อย ๆที่จะกล่าวต่อไปนี้ :-

จิตทั่วไป

         ๑. จิต แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ กุศลฝ่ายดี, อกุศลฝ่ายชั่ว, อัพยากฤต คือกลาง ๆ.

จิตฝ่ายกุศล

         ๒. จิตที่เป็นกุศลหรือกุศลจิต แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท ตามภูมิชั้นที่ ต่ำและสูง คือ :-

        ( ๑ ) กามาวจร คือจิตที่ท่องเที่ยวไปในกาม ที่เป็นฝ่ายกุศลมี ๘

        ( ๒ ) รูปาวจร คือจิตที่ท่องเที่ยวไปในรูปที่เป็นฝ่ายกุศล ( หมายถึงจิตที่ได้ ฌาน คือฌานที่เพ่งรูปเป็นอารมณ์ ) มี ๕

        ( ๓ ) อรูปาวจร คือจิตที่ท่องเที่ยวไปในอรูปที่เป็นฝ่ายกุศล ( หมายถึงจิตที่ ได้อรูปฌาน คือฌานที่เพ่งนาม หรือสิ่งที่ไม่มีรูปเป็นอารมณ์ ) มี ๔.

        ( ๔ ) โลกุตตระ คือจิตที่พ้นจากโลก ( หมายถึงจิตที่เป็นมรรค ๔ ) มี ๔.

        รวมเป็นจิตที่เป็นฝ่ายกุศล หรือฝ่ายดี ๔ ประเภทใหญ่ แบ่งเป็น ๒๑ ชนิด.

จิตฝ่ายอกุศล

         ๓. จิตที่เป็นอกุศลหรืออกุศลจิต มีประเภทเดียว คือกามาวจร คือจิตที่ ยังท่องเที่ยวอยู่ในกาม สูงขึ้นไปกว่านั้นไม่มีอกุศล. จิตที่เป็นอกุศลนี้ เป็นจิตประกอบด้วยความโลภ ๘, ความคิดประทุษร้าย หรือโทสะ ๒, ความหลงหรือโมหะ ๒ จึงรวมเป็น ๑๒ ชนิด.

จิตที่เป็นกลาง ๆ

         ๔. จิตที่เป็นอัพยากฤต คือที่พระพุทธเจ้าไม่ตรัสพยากรณ์ หรือชี้ลงไปว่า เป็นกุศล หรืออกุศล จึงหมายถึงจิตที่เป็นกลาง ๆ หรือเรียกว่า อัพยากตจิต แบ่งออกเป็น ๔ ประเภทใหญ่เหมือนกุศล คือ จิตที่เป็นกลาง ๆ นี้ มีได้ทั้ง ๔ ภูมิ เช่นเดียวกับกุศลจิต คือ :-

        ( ๑ ) กามาวจร คือจิตที่ท่องเที่ยวไปในกาม ที่เป็นอัพยากฤตหรือเป็นกลาง ๆ มี ๓๔ ชนิด แบ่งเป็นวิบากจิต ( จิตที่เป็นผล ) ๒๓, กิริยาจิต ( จิตที่เป็นเพียงกิริยา ) ๑๑.

        ( ๒ ) รูปาวจร คือจิตที่ท่องเที่ยวไปในรูป ที่เป็นอัพยากฤตหรือเป็นกลาง ๆ มี ๑๐ ชนิด คือเป็นวิบากจิต ( จิตที่เป็นผล ) ๕, กิริยาจิต ( จิตที่เป็นกิริยา ) ๕.

        ( ๓ ) อรูปาวจร คือจิตที่ท่องเที่ยวไปในอรูป ที่เป็นอัพยากฤตหรือเป็นกลาง ๆ มี ๘ ชนิด คือเป็นวิบากจิต ๔, กิริยาจิต ๔.

        ( ๔ ) โลกุตตระ คือจิตที่พ้นจากโลก ที่เป็นอัพยากฤตหรือเป็นกลาง ๆ มี ๔ ชนิด คือเป็นวิบากจิต ๔.

      รวมทั้ง ๔ ประเภท คือกามาวจร ๓๔, รูปาวจร ๑๐, อรูปาวจร ๘ และโลกุตตระ ๔ จึงมีอัพยากตจิตหรือจิตที่เป็นกลาง ๆ ทั้งสิ้น ๕๖ ชนิด และเมื่อรวมกุศลจิต ๒๑, อกุศลจิต ๑๒, อัพยากตจิต ๕๖ จึงเป็นจิต ๘๙ ชนิด, อนึ่ง เพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ขอแสดงโดยแผนผัง ดังต่อไปนี้ :-


    '๑' . ที่ใช้คำว่า เป็นฝ่ายกุศลกำกับเพื่อไม่ให้หลงหัวข้อ เพราะในที่นี้กล่าวเฉพาะกุศลหรือฝ่ายดีเท่านั้น ยังมี ฝ่ายที่เป็นกลาง ๆ หรืออัพยากฤตที่แบ่งออกเป็นกามาวจร, รูปาวจร, อรูปาวจร และโลกุตตระเช่นกัน

    '๒' . มีข้อที่ควรกล่าวไว้ด้วย คือคำว่า อัพยากตะ เขียนตามบาลี, อัพยากฤต เขียนตามสันสกฤต มีความ หมายอย่างเดียวกัน และจิต ๘๙ ชนิด ถ้าแจกโดยพิสดาร ก็จะเป็น ๑๒๑ ชนิด คือจิตที่เป็นโลกุตตระ ( เป็นกุศล ๔ เป็นกลาง ๆ ๔ ) ๘ ชนิดนั้น คูณด้วยรูปฌาน ๔ จะได้ ๔๐. แม้จิต ๘๙ หรือ ๑๒๑ ก็ยังนับว่าย่อ เพราะอ่านต่อไปจะเห็นพิสดารกว่านี้


บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ