บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



หมวดพระ
อภิธัมมปิฎก

พระอภิธัมมปิฎก
เล่ม ๑


..อภิธรรม ๗ คัมภีร์
๑.ธัมมสังตณี
๒.วิภังค์
๓.ธาตุกถา
๔.ปุคคลบัญญัติ
๕.กถาวัตถุ
๖.ยมก
๗.ปัฏฐาน
๑.แม่บท (มาติกา)
๒.จิตตุปปาทกัณฑ์
๓.รูปกัณฑ์
๔.นิกเขปกัณฑ์
๕.อัตถุทธารกัณฑ์

 

หน้าที่ ๑ ..อภิธรรม ๗ คัมภีร์
๑.ธัมมสังตณี
๒.วิภังค์
๓.ธาตุกถา
๔.ปุคคลบัญญัติ
๕.กถาวัตถุ
๖.ยมก
๗.ปัฏฐาน
๑.แม่บท (มาติกา)
๒.จิตตุปปาทกัณฑ์
๓.รูปกัณฑ์
๔.นิกเขปกัณฑ์
๕.อัตถุทธารกัณฑ์

..ขยายความเล่ม ๓๔
ธัมสังคณี
(รวมกลุ่มธรรมะ)
๑.แม่บทหรือมาติกา
ก.แม่บทหรือบท
ตั้งฝ่ายอภิธรรม
(อธิธัมมมาติกา)

 

หน้าที่ ๒ ..ข.แม่บทหรือ
บทตั้งฝ่ายพระสูตร
(สุตตันตมาติกา)

๒.จิตตุปปาทกัณฑ์
(คำอธิบายเรื่องจิต)

..จิตทั้วไป
..จิตฝ่ายกุศล
..จิตฝ่ายอกุศล
..จิตที่เป็นกลาง ๆ
..การแสดงแผนผัง
ที่ ๑ - ๑๐

 

หน้าที่ ๓
..การนับจำนวนจิต
..คำอธิบายใน
จิตตุปปาทกัณฑ์
ธรรมะประกอบจิต
แสดงจิตจาก
ลำดับที่ ๑ - ๘๙
กุศลจิต ๒๑
๓.รูปกัณฑ์
(คำอธิบายเรื่องรูป)
หมวด ๑ - ๑๑
๔.นิกเขปกัณฑ์
๕.อัตถุทธารกัณฑ์

 

หน้าที่ ๔
..อกุศลจิต ๑๒
..อัพยากตจิต ๕๖
..วิบากจิตฝ่ายอกุศล
..กิริยาจิต ๒๐
(คำอธิบายบทตั้ง
อย่างย่อ)
..คำอธิบาย
อกุศลธรรม
ในนิกเขปกัณฑ์
..คำอธิบาย
อกุศลธรรมใ
นอัตถุทธารกัณฑ์
..คำอธิบาย
อัพพยากตธรรม
ในนอกเขปกัณฑ์
..คำอธิบาย
อัพยากตธรรม
ในอัตถุธารกัณฑ์
..จบเล่ม ๓๔
ธัมมสังคณี

 

อกุศลจิต ๑๒

เกิดจากความโลภเป็นมูล ๘

   ๒๒. จิตอันเป็นอกุศล ประกอบด้วยโสมนัส, ประกอบด้วยทิฏฐิ ( ความเห็นผิด ), เป็นอสังขาริก ( ไม่มีสิ่ง ชักจูงก็เกิดขึ้น )

   ๒๓. จิตเหมือนข้อ ๒๒ แต่เป็นสสังขาริก ( มีสิ่งชักจูงจึงเกิดขึ้น )

   ๒๔. จิตอันเป็นอกุศล ประกอบด้วยโสมนัส, ไม่ประกอบด้วยทิฏฐิ เป็นอสังขาริก

   ๒๕. จิตเหมือนข้อ ๒๔ แต่เป็นสสังขาริก

   ๒๖. จิตอันเป็นอกุศล ประกอบด้วยอุเบกขา ( ความรู้สึกเฉย ๆ ), ประกอบด้วยทิฏฐิ, เป็นอสังขาริก

   ๒๗. จิตเหมือนข้อ ๒๖ แต่เป็นสสังขาริก

   ๒๘. จิตอันเป็นอกุศล ประกอบด้วยอุเบกขา, ไม่ประกอบด้วยทิฏฐิ เป็นอสังขาริก

   ๒๙. จิตเหมือนข้อ ๒๘ แต่เป็นสสังขาริก.

เกิดจากโทสะเป็นมูล ๒

   ๓๐. จิตประกอบด้วยโทมนัส ( ความไม่สบายใจ ) ประกอบด้วยปฏิฆะ ( ความขัดใจ ), เป็นอสังขาริก ( ไม่ มีสิ่งชักจูงก็เกิดขึ้น )

   ๓๑. จิตเหมือนข้อ ๓๐ แต่เป็นสสังขาริก ( มีสิ่งชักจูงจึงเกิดขึ้น ).

เกิดจากโมหะเป็นมูล ๒

   ๓๐. จิตประกอบด้วยอุเบกขา ( ความรู้สึกเฉย ๆ ), ประกอบด้วยความสงสัย

   ๓๑. จิตประกอบด้วยอุเบกขา ประกอบด้วยอุทธัจจะ ( ความฟุ้งสร้าน ).

อัพยากตจิต ๕๖

( วิบากจิต ๓๖ กิริยา ๒๐ )

วิบากจิต ๓๖

๑. จิตที่เป็นวิบาก คือเป็นผลของกุศลฝ่ายกามาวจร ๑๖

   ๓๔. จักขุวิญญาณ ( ความรู้อารมณ์ทางตา ) ประกอบด้วยอุเบกขา ( ความรู้สึกเฉย ๆ ) มีรูปเป็นอารมณ์

   ๓๕. โสตวิญญาณ ( ความรู้อารมณ์ทางหู ) ประกอบด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์

   ๓๖. ฆานวิญญาณ ( ความรู้อารมณ์ทางจมูก ) ประกอบด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์

   ๓๗. ชิวหาวิญญาณ ( ความรู้อารมณ์ทางลิ้น ) ประกอบด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์

   ๓๘. กายวิญญาณ ( ความรู้อารมณ์ทางกาย ) ประกอบด้วยสุข มีโผฏฐัพพะ ( สิ่งที่ถูกต้องได้ด้วยกาย ) เป็นอารมณ์

   ( หมายเหตุ : จากข้อ ๓๔ ถึงข้อ ๓๘ รวม ๕ ข้อนี้ เรียกว่าวิญญาณ ๕ อันเป็นวิบาก คือเป็นผล ของกุศล ).

   ๓๙. มโนธาตุ ( ธาตุคือใจ ) ประกอบด้วยอุเบกขา มีรูป, เสียง, กลิ่น, รส, และโผฏฐัพพะ เป็นอารมณ์

   ๔๐. มโนวิญญาณธาตุ ( ธาตุรู้ทางใจ ) ประกอบด้วยโสมนัส ( ความดีใจหรือสบายใจ ) มีรูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ, และธรรม ( สิ่งที่รู้ได้ด้วยใจ ) เป็นอารมณ์

   ๔๑. มโนวิญญาณธาตุ ( ธาตุรู้ทางใจ ) ประกอบด้วยอุเบกขา มีรูป จนถึงธรรมเป็นอารมณ์ ( มีอารมณ์ ครบ ๖ )

   ( หมายเหตุ : ตั้งแต่ข้อ ๓๔ ถึง ๔๑ รวม ๘ ข้อนี้ เป็นวิบากจิตธรรมดา ส่วนอีก ๘ ข้อต่อไปนี้ เรียกว่ามหาวิบาก ).

   ๔๒. มโนวิญญาณธาตุ ประกอบด้วยโสมนัส, ประกอบด้วยญาณ, เป็นสังขาริก ( ไม่มีสิ่งชักจูงก็เกิดขึ้น )

   ๔๓. เหมือนข้อ ๔๒ ต่างแต่เป็นสสังขาริก ( มีสิ่งชักจูงจึงเกิดขึ้น )

   ๔๔. มโนวิญญาณธาตุ ประกอบด้วยโสมนัส, ไม่ประกอบด้วยญาณ, เป็นอสังขาริก

   ๔๕. เหมือนข้อ ๔๔ ต่างแต่เป็นสสังขาริก

   ๔๖. มโนวิญญาณธาตุ ประกอบด้วยอุเบกขา, ประกอบด้วยญาณ, เป็นอสังขาริก

   ๔๗. เหมือนข้อ ๔๖ ต่างแต่เป็นสสังขาริก

   ๔๘. มโนวิญญาณธาตุ ประกอบด้วยอุเบกขา, ไม่ประกอบด้วยญาณ, เป็นอสังขาริก

   ๔๙. เหมือนข้อ ๔๘ ต่างแต่เป็นสสังขาริก

๒. จิตที่เป็นวิบาก คือเป็นผลของกุศล ฝ่ายรูปาวจร ๕

   ๕๐. วิบากจิตในฌานที่ ๑ ๕๑. วิบากจิตในฌานที่ ๒

   ๕๒. วิบากจิตในฌานที่ ๓ ๕๓. วิบากจิตในฌานที่ ๔

   ๕๔. วิบากจิตในฌานที่ ๕

   ( หมายเหตุ : ตั้งแต่ข้อ ๕๐ ถึง ๕๔ รวม ๕ ข้อนี้ เป็นการย่ออย่างรวบรัด ถ้าจะแจกอย่างพิสดาร ก็จะต้องแยกเป็นฌาน ๔ นัยหนึ่ง ฌาน ๕ อีกนัยหนึ่ง แล้วแจกไปตามกสิณ ตามอย่างที่หมายเหตุไว้ท้ายจิตข้อ ๑๓ ).

๓. จิตที่เป็นวิบาก คือเป็นผลของกุศลฝ่ายอรูปาวจร ๔

   ๕๕. วิบากจิตที่ประกอบด้วยอากาสานัญจายตนสัญญา

   ๕๖. วิบากจิตที่ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนสัญญา

   ๕๗. วิบากจิตที่ประกอบด้วยอากิญจัญญายตนสัญญา

   ๕๘. วิบากจิตที่ประกอบด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา

๔. จิตที่เป็นวิบาก คือเป็นผลของกุศลฝ่ายโลกุตตระ ๔

   ๕๙. โสดาปัตติผลจิต ๖๐. สกทาคามิผลจิต

   ๖๑. อนาคามิผลจิต ๖๒. อรหัตตผลจิต

   ( หมายเหตุ : วิบากจิตที่เป็นโลกุตตระนี้ก็เช่นกัน ย่อแบบสั้นที่สุดจะได้เพียง ๔ แต่ถ้ากล่าวอย่าง พิสดารตามตัวหนังสือจะได้ประมาณ ๒๐๐ ตามแบบที่หมายเหตุไว้ในข้อที่ ๒๑ ).

วิบากจิตฝ่ายอกุศล

๑. จิตที่เป็นวิบาก คือเป็นผลของอกุศล ๗

   ๖๓. จักขุวิญญาณ ( ความรู้อารมณ์ทางตา ) ประกอบด้วยอุเบกขา ( ความรู้สึกเฉย ๆ ) มีรูปเป็นอารมณ์

   ๖๔. โสตวิญญาณ ( ความรู้อารมณ์ทางหู ) ประกอบด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์

   ๖๕. ฆานวิญญาณ ( ความรู้อารมณ์ทางจมูก ) ประกอบด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์

   ๖๖. ชิวหาวิญญาณ ( ความรู้อารมณ์ทางลิ้น ) ประกอบด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์

   ๖๗. กายวิญญาณ ( ความรู้อารมณ์ทางกาย ) ประกอบด้วยทุกข์ มีโผฏฐัพพะ ( สิ่งที่ถูกต้องได้ด้วยกาย ) เป็นอารมณ์

   ๖๘. มโนธาตุ ( ธาตุคือใจ ) ประกอบด้วยอุเบกขา มีรูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะเป็นอารมณ์

   ๖๙. มโนวิญญาณธาตุ ( ธาตุรู้ทางใจ ) ประกอบด้วยอุเบกขา มีรูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ, และ ธรรม ( สิ่งที่รู้ได้ด้วยใจ ) เป็นอารมณ์ ( คือมีอารมณ์ครบ ๖ )

   ( หมายเหตุ : วิบากจิตฝ่ายอกุศล ๗ ข้อ ตั้งแต่ข้อ ๖๓ ถึง ๖๙ นี้ พึงเทียบดูกับวิบากจิตฝ่ายกุศล ตั้งแต่ข้อ ๓๔ ถึงข้อ ๔๑ ดูด้วยว่า ในที่นี้ขาดไป ๑ ข้อ คือมโนวิญญาณธาตุ อันประกอบด้วยโสมนัส. นอกจากนั้นหนังสือ อภิธัมมัตถสังคะ เรียกชื่อจิตดวงที่ ๖๘ ว่า สัมปฏิจฉันนะ อันประกอบด้วยอุเบกขา จิตดวงที่ ๖๙ว่า สันตีรณะ อันประกอบ ด้วยอุเบกขา ).

กิริยาจิต ๒๐

๑. จิตที่เป็นกิริยาฝ่ายกามาวจร ๑๑

   ๗๐. มโนธาตุที่เป็นกิริยา, ประกอบด้วยอุเบกขา ( ความรู้สึกเฉย ๆ ) มีรูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ เป็นอารมณ์

   ๗๑. มโนวิญญาณธาตุ ที่เป็นกิริยา, ประกอบด้วยโสมนัส มีอารมณ์ครบ ๖

   ๗๒. มโนวิญญาณธาตุ ที่เป็นกิริยา, ประกอบด้วยอุเบกขา มีอารมณ์ครบ ๖

   ( หมายเหตุ : ตั้งแต่ข้อ ๗๐ ถึง ๗๒ นี้ อภิธัมมัตถสังคหะเรียกอเหตุกกิริยาจิต แต่เรียกชื่อต่างไป ตามลำดับดังนี้ ปัญจทวาราวัชชนะ อันประกอบด้วยอุเบกขา มโนทวาราวัชชนะ อันประกอบด้วยอุเบกขา และหสิตุปบาทจิต คือจิตคิดยิ้มแย้ม อันประกอบด้วยโสมนัส ).

   ๗๓. มโนวิญญาณธาตุ ที่เป็นกิริยา, ประกอบด้วยโสมนัส, ประกอบด้วยญาณ เป็นอสังขาริก

   ๗๔. เหมือนข้อ ๗๓ ต่างแต่เป็นสสังขาริก

   ๗๕. มโนวิญญาณธาตุ ที่เป็นกิริยา, ประกอบด้วยโสมนัส, ไม่ประกอบด้วยญาณ, เป็นอสังขาริก

   ๗๖. เหมือนข้อ ๗๕ ต่างแต่เป็นสสังขาริก

   ๗๗. มโนวิญญาณธาตุ ที่เป็นกิริยา, ประกอบด้วยอุเบกขา, ประกอบด้วยญาณ, เป็นอสังขาริก

   ๗๘. เหมือนข้อ ๗๗ ต่างแต่เป็นสสังขาริก

   ๗๙. มโนวิญญาณธาตุ ที่เป็นกิริยา, ประกอบด้วยอุเบกขา, ไม่ประกอบด้วยญาณ, เป็นอสังขาริก

   ๘๐. เหมือนข้อ ๗๙ ต่างแต่เป็นสสังขาริก

๒. จิตที่เป็นกิริยาฝ่ายรูปาวจร ๕

   ๘๑. จิตที่เป็นกิริยาในฌานที่ ๑ ๘๒. จิตที่เป็นกิริยาในฌานที่ ๒

   ๘๓. จิตที่เป็นกิริยาในฌานที่ ๓ ๘๔. จิตที่เป็นกิริยาในฌานที่ ๔

   ๘๕. จิตที่เป็นกิริยาในฌานที่ ๕

๓. จิตที่เป็นกิริยาฝ่ายอรูปาวจร ๔

   ๘๖. จิตที่เป็นกิริยา ประกอบด้วยอากาสานัญจายตนสัญญา

   ๘๗. จิตที่เป็นกิริยา ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนสัญญา

   ๘๘. จิตที่เป็นกิริยา ประกอบด้วยอากิญจัญญายตนสัญญา

   ๘๙. จิตที่เป็นกิริยา ประกอบด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา.

   ( หมายเหตุ : เป็นอันสรูปว่า ลำดับจิตตามที่แสดงในอภิธัมมปิฎก เล่มที่ ๓๔ นี้ จัดลำดับโดยชาติ คือกุศล อกุศล และอัพยากฤต ( เฉพาะอัพยากฤต แยกเป็นวิบากจิต และ กิริยาจิต ) จึงมีลำดับไม่เหมือนกับหนังสืออภิธัมมัตถ- สังคหะ นอกจากนั้นในจิตที่เป็นรูปาวจร และโลกุตตระ ยังแสดงจิตพิสดารมากมาย จึงควรกำหนดง่าย ๆ ดังนี้ อย่างย่อธรรมดา จิตมี ๘๙ ชนิด อย่างพิสดารธรรมดา มี ๑๒๑ ชนิด อย่างพิสดารเต็มรูป มีนับจำนวนพัน ).

๓. คำอธิบายเรื่องรูป ( รูปกัณฑ์ )

   คำอธิบายเรื่องรูป หรือรูปกัณฑ์นี้ เป็นส่วนที่ ๓ คือส่วนที่ ๑ เป็นมาติกา หรือบทตั้ง ส่วนที่ ๒ เป็นคำ อธิบายเรื่องจิตเกิด ( จิตตุปปาทกัณฑ์ ) ส่วนที่ ๓ จึงถึงลำดับที่จะอธิบายเรื่องรูป.

   ในการอธิบายคำว่า รูป นี้ ท่านตั้งคำถามขึ้นก่อนว่า ธรรมที่เป็นกลาง ๆ ( อัพยากฤต ) เป็นไฉน แล้วแก้ว่า ธรรมที่เป็นกลาง ๆ ( โดยใจความ ) ได้แก่ธรรม ๔ อย่าง คือ วิบาก, กิริยา, รูป, และอสังขตธาตุ ( นิพพาน ).

   ( หมายเหตุ : คำว่า วิบาก, กิริยา โดยตรง ได้แก่จิตหรือวิญญาณขันธ์ที่เป็นผล และเป็นกิริยาโดย อ้อมย่อมหมายคลุมถึงเจตสิกหรือเวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์ และสังขารขัน์ ซึ่งเกิดขึ้นผสมกับจิตที่เป็นวิบากหรือกิริยานั้นด้วย ).

   ครั้นแล้วได้ตั้งปัญหาเฉพาะคำว่า รูป ว่าได้แก่อะไร แล้วแก้ว่า ได้แก่มหาภูตรูป ( รูปใหญ่ คือธาตุทั้งสี่ ) และอุปาทายรูป ( รูปอาศัย คือจะปรากฏได้ก็ต้องอาศัยธาตุทั้งสี่ )

   ครั้นแล้วได้แสดงบทตั้ง ( มาติกา ) เกี่ยวกับรูป ตั้งแต่หมวดที่ ๑ ถึงหมวดที่ ๑๑ ต่อจากนั้น จึงอธิบายบท ตั้งนั้นทุกหมวด. ต่อไปนี้จะแสดงตัวอย่างรูปในหมวดที่ ๑ ถึงหมวดที่ ๑๑.

หมวดที่ ๑ ( เอกกะ )

   รูปทุกชนิด มิใช่เหตุ ( มิใช่เหตุฝ่ายดี เพราะมิใช่อโลภะ อโทสะ อโมหะ มิใช่เหตุฝ่ายชั่ว เพราะมิใช่ โลภะ โทสะ โมหะ ) ไม่มีเหตุ ( ไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ หรือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เป็นมูล เหมือนอกุศล หรือ กุศล เพราะเป็นกลางๆ ) นอกจากนี้ยังแสดงคำอธิบายรูป ๔๒ บท รวมเป็น ๔๔ บท.

หมวดที่ ๒ ( ทุกะ )

   รูป ที่อาศัย มีอยู่ รูป ที่มิได้อาศัย มีอยู่ ( รูปที่อาศัย คืออุปาทารูป รูปที่มิได้อาศัย คือมหา ภูตรูป ) นอกจากนั้นอธิบายถึงรูปที่แบ่งออกเป็น ๒ อย่างต่าง ๆ กันอีก ๑๐๓ คู่ รวมทั้งสิ้นจึงเป็น ๑๐๔ คู่.

หมวดที่ ๓ ( ติกะ )

   รูปใดเป็นไปในภายใน รูปนั้นเป็นอุปาทารูป, รูปใดเป็นไปในภายนอก รูปนั้นเป็นอุปาทารูป ( รูปอาศัย ) ก็มีเป็นโนอุปาทารูป ( มิใช่รูปอาศัย ) ก็มี. นอกจากนั้นอธิบายถึงรูปที่แบ่งออกเป็น ๓ อย่างต่าง ๆกันอีก ๓๐๒ หมวด ๒ รวมทั้ง สิ้นจึงเป็น ๓๐๓ หมวด ๓ ( คำว่า อุปาทารูป และอุปาทายรูป ใช้ได้ทั้งสองอย่าง ความหมายอย่างเดียวกัน ).

หมวดที่ ๔ ( จตุกกะ )

   รูปใดเป็นรูปอาศัย รูปนั้นถูกยึดถือก็มี ไม่ถูกยึดถือก็มี, รูปใดไม่เป็นรูปอาศัย รูปนั้นถูกยึดถือก็มี ไม่ถูกยึดถือ ก็มี. นอกจากนั้นอธิบายถึงรูปที่แบ่งออกเป็น ๔ อย่างต่าง ๆ กันอีก ๒๒ หมวด ๔ รวมทั้งสิ้นจึงเป็น ๒๒ หมวด ๔.

หมวดที่ ๕ ( ปัญจกะ )

   ธาตุดิน, ธาตุน้ำ, ธาตุไฟ, ธาตุลม, และรูปอาศัย ( รวมเป็น ๕ ).

หมวดที่ ๖ ( ฉักกะ )

   รูปที่พึงรู้ด้วยตา, ด้วยหู, ด้วยจมูก, ด้วยลิ้น, ด้วยกาย, และด้วยใจ ( รวมเป็น ๖ ).

หมวดที่ ๗ ( สัตตกะ )

   รูปที่พึงรู้ด้วยตา, ด้วยหู, ด้วยจมูก, ด้วยลิ้น, ด้วยกาย, ด้วยมโนธาตุ ( ธาตุคือใจ ) และด้วยมโนวิญญาณธาตุ ( ธาตุรู้ทางใจ ) ( รวมเป็น ๗ ).

หมวดที่ ๘ (อัฏฐกะ )

   รูปที่พึงรู้ด้วยตา, ด้วยหู, ด้วยจมูก, ด้วยลิ้น, ด้วยกาย มีสัมผัสเป็นสุขก็มี มีสัมผัสเป็นทุกข์ก็มี, ด้วยมโนธาตุ, และด้วยมโนวิญญาณธาตุ ( รวมเป็น ๘ โดยแยกรูปที่พึงรู้ด้วยกายออกเป็น ๒ ).

หมวดที่ ๙ ( นวกะ )

   อินทรีย์ ( ธรรมชาติอันเป็นใหญ่ ) คือ ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, หญิง ( อิตถินทรีย์ ), ชาย ( บุริสินทรีย์ ), ชีวิต ( ชีวิตินทรีย์ ), และธรรมชาติ ซึ่งมิใช่อินทรีย์. ( รวมเป็น ๙ เฉพาะข้อหลังที่ปฏิเสธว่าธรรมชาติซึ่งมิใช่อินทรีย์นั้น หมายถึงรูป อื่น ๆ ที่นอกจากอินทรีย์ ).

หมวดที่ ๑๐ ( ทสกะ )

   อินทรีย์ คือ ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, หญิง, ชาย, ชีวิต, และธรรมชาติ ซึ่งมิใช่อินทรีย์ อันถูกต้องได้ ( สัปปฏิฆะ ) ก็มี, อันถูกต้องไม่ได้ ( อัปปฏิฆะ) ก็มี ( รวมเป็น ๑๐ โดยแยกข้อสุดท้ายออกเป็น ๒ ).

หมวดที่ ๑๑ ( เอกาทสกะ )

   อายตนะ ( ที่ต่อหรือบ่อเกิด ) คือ ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ ( สิ่งที่ถูก ต้องได้ด้วยกาย ) และรูปที่เห็นไม่ได้ ( อนิทัสสนะ ) และถูกต้องไม่ได้ ( อัปปฏิฆะ) เป็นของเนื่องด้วย ธัมมายตนะ (รู้ได้ด้วยใจ ) ( รวมเป็น ๑๑ ).

๔. นิกเขปกัณฑ์ ( คำอธิบายบทตั้งทุกข้อ )

๕. อัตถุทธารกัณฑ์

( คำอธิบายบทตั้งอย่างย่อ )

   หมวดใหญ่ทั้งสองได้นำมาตั้งไว้รวมกัน เพราะถือว่าเป็นคำอธิบายบทตั้งหรือมาติกา เป็นแต่แบบแรก ยาว กว่า แบบหลังสั้นกว่า ในที่นี้จะแสดงตัวอย่างคำอธิบาย กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม ทั้งสองแบบพอให้เห็น ตัวอย่าง.

คำอธิบายกุศลธรรมในนิกเขปกัณฑ์

   รากเหง้าแห่งกุศล ๓ คือความไม่โลภ ความไม่โกรธ ความไม่หลง, เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์, วิญญาณขันธ์ อันประกอบด้วยความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลงนั้น, กายกรรม, วจีกรรม, มโนกรรม ( การกระทำทางกาย, วาจา, ใจ ) อันมีความไม่โลภไม่โกรธไม่หลงนั้นเป็นสมุฏฐาน ธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากุศล ( พึงสังเกตว่า ในจิตตุปปาทกัณฑ์แสดง กุศลธรรมเพียงแค่จิตกับเจตสิก แต่ในที่นี้ อธิบายกว้างออกมาถึงการกระทำทางกาย วาจา ใจ ด้วย ).

คำอธิบายกุศลธรรมในอัตถุทธารกัณฑ์

   กุศลในภูมิ ๔ ( กามาวจรภูมิ, รูปาวจรภูมิ, อรูปาวจรภูมิ และโลกุตตรภูมิ ) ธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากุศล

คำอธิบายอกุศลธรรมในนิกเขปกัณฑ์

   รากเหง้าแห่งกุศล ๓ คือความโลภ ความไม่โกรธ ความหลง, กิเลสที่มีเนื้อความอันเดียวกับความโลภ ความ โกรธ ความหลงนั้น, เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์, วิญญาณขันธ์ อันประกอบด้วยความโลภ ความโกรธ ความหลง นั้น, กายกรรม, วจีกรรม, มโนกรรม อันมีความโลภ ความโกรธ ความหลงนั้นเป็นสมุฏฐาน ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอกุศล.

คำอธิบายอกุศลธรรมในอัตถุทธารกัณฑ์

   ความเกิดขึ้นแห่งจิตอันเป็นอกุศล ๑๒ ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอกุศล.

คำอธิบายอัพยากตธรรมในนิกเขปกัณฑ์

   วิบาก ( ผล ) ของธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลที่เป็นกามาวจร, รูปาวจร, อรูปาวจร, โลกุตตระ ( อปริยาปันนะ), ที่เป็นเวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์, วิญญาณขันธ์ ธรรมที่เป็นกิริยา มิใช่กุศล มิใช่ผลของกรรม, รูปทั้งปวง, อสังขต- ธาตุ ( นิพพาน ). ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัพยากฤต ( เป็นกลาง ๆ ).

คำอธิบายอัพยากตธรรมในอัตถุทธารกัณฑ์

   วิบากในภูมิทั้งสี่, กิริยาในภูมิทั้งสาม ( โลกุตตรภูมิไม่มีกิริยา ), รูป, นิพพาน ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อัพยากฤต.

จบพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ ธัมมสังคณี

   ( หมายเหตุ : ผู้เขียนมีความเสียดายอย่างยิ่งที่ไม่สามารถแสดงคำอธิบายในบทตั้งในเล่มที่ ๓๔ ได้ หมดทุกข้อ แต่ก็ขอให้ท่านผู้อ่าน ซึ่งเคยผ่านหนังสือเรื่อง GUIDE THROUGH ABHIDHAMMAPITAKA (นำทางอภิธัมมปิฎก) ของพระนยายติโลกเถระ ชาวเยอรมันมาแล้ว โปรดเทียบเคียงดู จะเห็นได้ว่า ผู้เขียนย่อในที่นี้ พิสดารกว่ามาก ส่วนที่พระเถระ เยอรมันย่อนั้น บางตอนหนักไปในทางถอดข้อความในหนังสือ อภิธัมมัตถสังคหะ ซึ่งมิใช่พระอภิธัมมปิฎกมากกว่า ส่วนเล่มนี้ ถือแนวตามอภิธัมมปิฎก แต่เทียบให้เห็นบางส่วนของอภิธัมมัตถสังคหะ ความจำเป็นในการย่อแต่พอได้สาระสำคัญ และหน้า กระดาษจำกัด ทำให้ต้องจบข้อความในเล่มที่ ๓๔ ทั้งที่ยังมีข้อความบางตอนที่น่าสนใจอีกมาก แต่อย่างไรก็ตาม ท่านผู้อ่านก็ได้ ผ่านสาระสำคัญเกือบจะเรียกว่าสมบูรณ์ ).


    '๑' . มโนธาตุ มีอารมณ์เพียง ๕ คืออารมณ์ในใจ

    '๒' . มโนวิญญาณธาตุ มีอารมณ์ครบ ๖ พึงสังเกตทั้งมโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุไว้ในเรื่องจำนวน อารมณ์ด้วย

    '๓' . พึงสังเกตว่า วิบากจิตที่เป็นผลของอกุศลฝ่ายกามาวจร ยังไม่กล่าวถึงในที่นี้ ด้วยต้องการแสดงฝ่าย กุศลให้หมดก่อน แล้วจึงแสดงวิบากจิตที่เป็นผลของอกุศลภายหลัง

    '๔' . ความหมายของศัพท์ทั้งสี่ในอรูปาวจรนี้ มีกล่าวไว้แล้วในหน้าข้อความน่ารู้จากไตรปิฎก หมายเลข ๒๐๐

    '๕' . คำว่าวิบาก และกิริยา ได้แสดงมาแล้วในจิตตุปปาทกัณฑ์ ทั้งสองนี้ เป็นอัพยากตจิต จึงยังคงเหลืออีก ๒ อย่างที่ยังมิได้อธิบาย คือรูป กับนิพพาน ในที่นี้จะอธิบายเรื่องรูป เพราะฉะนั้น จึงควรทราบว่า รูป และนิพพาน ก็เป็น อัพยากฤตด้วย

    '๖' . อุปาทายรูป คือรูปที่จะปรากฏได้ ต้องอาศัยธาตุทั้งสี่ เช่น ความเป็นหญิง ความเป็นชาย ถ้าไม่มีธาตุ ทั้งสี่ ก็ไม่ปรากฏ ส่วนมหาภูตรูปไม่ต้องอาศัยสิ่งอื่น เป็นของปรากฏได้ในตัวเอง


บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ