บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



หมวดพระ
อภิธัมมปิฎก

พระอภิธัมมปิฎก
เล่ม ๑


..อภิธรรม ๗ คัมภีร์
๑.ธัมมสังตณี
๒.วิภังค์
๓.ธาตุกถา
๔.ปุคคลบัญญัติ
๕.กถาวัตถุ
๖.ยมก
๗.ปัฏฐาน
๑.แม่บท (มาติกา)
๒.จิตตุปปาทกัณฑ์
๓.รูปกัณฑ์
๔.นิกเขปกัณฑ์
๕.อัตถุทธารกัณฑ์

 

หน้าที่ ๑ ..อภิธรรม ๗ คัมภีร์
๑.ธัมมสังตณี
๒.วิภังค์
๓.ธาตุกถา
๔.ปุคคลบัญญัติ
๕.กถาวัตถุ
๖.ยมก
๗.ปัฏฐาน
๑.แม่บท (มาติกา)
๒.จิตตุปปาทกัณฑ์
๓.รูปกัณฑ์
๔.นิกเขปกัณฑ์
๕.อัตถุทธารกัณฑ์

..ขยายความเล่ม ๓๔
ธัมสังคณี
(รวมกลุ่มธรรมะ)
๑.แม่บทหรือมาติกา
ก.แม่บทหรือบท
ตั้งฝ่ายอภิธรรม
(อธิธัมมมาติกา)

 

หน้าที่ ๒ ..ข.แม่บทหรือ
บทตั้งฝ่ายพระสูตร
(สุตตันตมาติกา)

๒.จิตตุปปาทกัณฑ์
(คำอธิบายเรื่องจิต)

..จิตทั้วไป
..จิตฝ่ายกุศล
..จิตฝ่ายอกุศล
..จิตที่เป็นกลาง ๆ
..การแสดงแผนผัง
ที่ ๑ - ๑๐

 

หน้าที่ ๓
..การนับจำนวนจิต
..คำอธิบายใน
จิตตุปปาทกัณฑ์
ธรรมะประกอบจิต
แสดงจิตจาก
ลำดับที่ ๑ - ๘๙
กุศลจิต ๒๑
๓.รูปกัณฑ์
(คำอธิบายเรื่องรูป)
หมวด ๑ - ๑๑
๔.นิกเขปกัณฑ์
๕.อัตถุทธารกัณฑ์

 

หน้าที่ ๔
..อกุศลจิต ๑๒
..อัพยากตจิต ๕๖
..วิบากจิตฝ่ายอกุศล
..กิริยาจิต ๒๐
(คำอธิบายบทตั้ง
อย่างย่อ)
..คำอธิบาย
อกุศลธรรม
ในนิกเขปกัณฑ์
..คำอธิบาย
อกุศลธรรมใ
นอัตถุทธารกัณฑ์
..คำอธิบาย
อัพพยากตธรรม
ในนอกเขปกัณฑ์
..คำอธิบาย
อัพยากตธรรม
ในอัตถุธารกัณฑ์
..จบเล่ม ๓๔
ธัมมสังคณี

 

การนับจำนวนจิต

        ( ถ้าจะพูดอย่างรวบรัด จิตก็มีเพียงดวงเดียว เพราะไม่สามารถเกิดได้ขณะละหลายดวง แต่เพราะเหตุที่เกิดหลายขณะ และมีส่วนประกอบ คือความดีความชั่ว เป็นต้น ต่าง ๆ กัน จึงนับจำนวนได้มาก. ในพระ ไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ แสดงการนับจำนวนไว้บางตอน เช่น จิตที่เป็นมหากุศลฝ่ายกามาวจร ๘, ส่วนรูปาวจร, อรูปาวจร และ โลกุตตระไม่ได้นับให้, ครั้นถึงอกุศลจิต ได้นับจำนวนให้อีกว่า มี ๑๒, ถึงอัพยากตจิต นับจิตที่เป็นมหาวิบาก ๘ นอกนั้นเป็น แต่บอกชื่อไว้ข้างท้าย การนับจำนวนที่แสดงในที่นี้ จึงเป็นการนับย่อเพื่อให้เข้าใจง่าย แต่ตามที่มีในพระไตรปิฎกมีจำนวนพิสดาร มากกว่านี้. ได้เคยทำมาแล้วในพระสูตร คือ พระไตรปิฎกไม่ได้นับเป็นตัวเลขให้ แต่ผู้เขียนใส่ตัวเลขนับลงไปเพื่อเข้าใจง่าย กำหนดง่าย ).

คำอธิบายในจิตตุปปาทกัณฑ์

        ได้กล่าวแล้วโดยใจความว่า จิตตุปปาทกัณฑ์ เป็นภาคอธิบายถาคแรกของ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ นี้ ซึ่งมีภาคบทตั้ง ๑ ภาค ภาคอธิบาย ๔ ภาค. การตั้งเคร้าโครงอธิบายของภาคแรก เจาะจงอธิบาย เพียงคำ ๓ คำ คือ กสุลา ธมฺมา ( กุศลธรรม ) อกุสลา ธมฺมา ( อกุศลธรรม ) และ อพฺยาตกา ธมฺมา ( อัพยากตธรรม คือ ธรรมที่เป็นกลาง ๆ ) แล้วอธิบายเป็นเรื่องของจิต ส่วนการแบ่งเป็นกามาวจร, รูปาวจร, อรูปาวจร, โลกุตตระ ได้นำมาแบ่งภายใต้หัวข้อของกุศลธรรม, ภายใต้หัวข้อของอกุศลธรรมมีกามาวจรอยู่อย่างเดียว, ภายใต้หัวข้อของ อัพยากตธรรมหรือธรรมที่เป็นกลาง ๆ คงมีทั้งกามาวจร, รูปาวจร, อรูปาวจร, และโลกุตตระ. ธรรมที่เป็นกลาง ๆ นั้น ได้แก่จิต ที่เป็นวิบากและเป็นกิริยา. เป็นอันว่า จิตตุปปทกัณฑ์ อันเป็นคำอธิบายภาคแรก เจาะจงอธิบายเรื่องจิตที่ดี ที่ไม่ดี และที่เป็นกลาง ๆ แต่ในขณะเดียวกันก็ได้อธิบายเจตสิก คือธรรมที่เนื่องด้วยจิตพร้อมกันไปใน ตัวด้วย. ต่อไปนี้จะแสดงให้เห็นลีลาในการอธิบาย คำว่า ธรรมอันเป็นกุศล ในตอนแรกของจิตตุปปทกัณฑ์ :-

        " ธรรมอันเป็นกุศล เป็นไฉน ? "

        " ธรรมอันเป็นกุศล คือในสมัยใด จิตอันเป็นกุศลฝ่ายกามาวจร( ท่องเที่ยวไปในกาม ) ประกอบด้วยโสมนัส ( ความดีใจ ) ประกอบด้วยญาณ เกิดขึ้น ปรารภ อารมณ์ คือ รูป หรือเสียง หรือกลิ่น หรือรส หรือโผฏฐัพพะ ( สิ่งที่ถูกต้องได้ ) หรือธรรมะ ( สิ่งที่รู้ได้ด้วยใจ ), ในสมัยนั้นย่อม มี ( ธรรมะ ๕๖ อย่าง ) คือ :-

   " ๑. ผัสสะ ( ความถูกต้อง )

   ๒. เวทนา ( ความรู้สึกอารมณ์ว่า เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือไม่ทุกข์ไม่สุข )

   ๓. สัญญา ( ความจำได้หมายรู้ ) ๔. เจตนา ( ความจงใจ )

   ๕. จิตตะ ( จิต) ๖. วิตก ( ความตรึก)

   ๗. วิจาร ( ความตรอง ) ๘. ปีติ ( ความอิ่มใจ )

   ๙. สุข ( ความสบายใจ, ในที่นี้ไม่หมายเอาสุขกาย )

   ๑๐. จิตตัสส เอกัคคตา ( ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง )

   ๑๑. สัทธินทรีย์ ( ธรรมอันเป็นใหญ่คือความเชื่อ )

   ๑๒. วิริยินทรีย์ ( ธรรมอันเป็นใหญ่คือความเพียร ) ๑๓. สตินทรีย์ ( ธรรมอันเป็นใหญ่คือสติ )

   ๑๔. สมาธินทรีย์ ( ธรรมอันเป็นใหญ่คือสมาธิ ) ๑๕. ปัญญินทรีย์ ( ธรรมอันเป็นใหญ่คือปัญญา )

   ๑๖. มนินทรีย์ ( ธรรมอันเป็นใหญ่คือใจ )

   ๑๗. โสมนัสสินทรีย์ ( ธรรมอันเป็นใหญ่คือความสุขใจ )

   ๑๘. ชีวิตินทรีย์ ( ธรรมอันเป็นใหญ่คือชีวิตความเป็นอยู่ )

   ๑๙. สัมมาทิฏฐิ ( ความเห็นชอบ คือเห็นอริยสัจจ์ ๔ )

   ๒๐. สัมมาสังกัปปะ ( ความดำริชอบ ) ๒๑. สัมมาวายามะ ( ความพยายามชอบ )

   ๒๒. สัมมาสติ ( ความระลึกชอบ ) ๒๓. สัมมาสมาธิ ( ความตั้งใจมั่นชอบ )

   ๒๔. สัทธาพละ ( กำลังคือความเชื่อ ) ๒๕. วิริยพละ ( กำลังคือความเพียร )

   ๒๖. สติพละ ( กำลังคือสติ ) ๒๗. สมาธิพละ ( กำลังคือสมาธิ )

   ๒๘. ปัญญาพละ ( กำลังคือปัญญา ) ๒๙. หิรีพละ ( กำลังคือความละอายต่อบาป )

   ๓๐. โอตตัปปพละ ( กำลังคือความเกรงกลัวต่อบาป ) ๓๑. อโลภะ ( ความไม่โลภ )

   ๓๒. อโทสะ ( ความคิดประทุษร้าย ) ๓๓. อโมหะ ( ความไม่หลง )

   ๓๔. อนภิชฌา ( ความไม่โลภ ชนิดนึกน้อมมาเป็นของตน )

   ๓๕. อัพยาบาท ( ความไม่คิดปองร้าย ชนิดนึกให้ผู้อื่นพินาศ )

   ๓๖. สัมมาทิฏฐิ ( ความเห็นชอบแบบทั่ว ๆ ไป เช่น เห็นว่าทำดีได้ดี )

   ๓๗. หิริ ( ความละอายต่อบาป ) ๓๘. โอตตัปปะ ( ความเกรงกลัวต่อบาป )

   ๓๙. กายปัสสัทธิ ( ความสงบระงับแห่งกองเวทนา, สัญญา, สังขาร )

   ๔๐. จิตตปัสสัทธิ ( ความสงบระงับแห่งจิต )

   ๔๑. กายลหุตา ( ความเบาแห่งกองเวทนา, สัญญา, สังขาร )

   ๔๒. จิตตลหุตา ( ความเบาแห่งจิต )

   ๔๓. กายมุทุตา ( ความอ่อนสลวยแห่งกองเวทนา, สัญญา, สังขาร )

   ๔๔. จิตตมุทุตา ( ความอ่อนสลวยแห่งจิต )

   ๔๕. กายกัมมัญญตา ( ความควรแก่การงานแห่งกองเวทนา, สัญญา, สังขาร )

   ๔๖. จิตตกัมมัญญตา ( ความควรแก่การงานแห่งจิต )

   ๔๗. กายปาคุญญตา ( ความคล่องแคล่วแห่งกองเวทนา, สัญญา, สังขาร )

   ๔๘. จิตตปาคุญญตา ( ความคล่องแคล่วแห่งจิต )

   ๔๙. กายุชุกตา ( ความตรง ไม่คดโกงแห่งกองเวทนา, สัญญา, สังขาร )

   ๕๐. จิตตุชุกตา ( ความตรง ไม่คดโกงแห่งจิต ) ๕๑. สติ ( ความระลึกได้ )

   ๕๒. สัมปชัญญะ ( ความรู้ตัว ) ๕๓. สมถะ ( ความสงบแห่งจิต )

   ๕๔. วิปัสสนา ( ความเห็นแจ้ง ) ๕๕. ปัคคาหะ ( ความเพียรทางจิต )

   ๕๖. อวิกเขปะ ( ความไม่ซัดส่าย คือความตั้งมั่นแห่งจิต )

        " อนึ่ง ในสมัยนั้น ธรรมเหล่าใด แม้อื่น ที่ไม่มีรูปอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่. ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่ากุศล. "

        ( ต่อจากนั้นเป็นคำอธิบายศัพท์แต่ละข้อ นี้เป็นเพียงคำอธิบายจิตดวงแรกใน ๘๙ ดวง ซึ่งมีธรรมประกอบ ๕๖ อย่าง กับได้หมวดเงื่อนไขไว้ว่า แม้ธรรมเหล่าอื่นที่ไม่กล่าวไว้ แต่มิใช่รูปธรรม อิงอาศัยจิตดังกล่าว เกิดขึ้น ก็จัดเป็นกุศลจิตได้. ธรรมประกอบ ๕๖ อย่างนั้น ในภาคอธิบายต่อไป ได้ชี้ให้เห็นว่า จะย่อได้ อย่างไร หรือกำหนด หัวข้ออย่างไรบ้าง ดังต่อไปนี้

        " ก็ในสมัยนั้นแล ย่อมมีขันธ์ ๔, อายตนะ ๒, ธาตุ ๒, อาหาร ๓, อินทรีย์ ๘, ฌาน มีองค์ ๕, มรรคมีองค์ ๕, ธรรมะอันเป็นกำลัง ๗, เหตุ ๓, ผัสสะ ๑, เวทนา ๑, สัญญา ๑, เจตนา ๑, จิต ๑, เวทนาขันธ์ ๑, สัญญาขันธ์ ๑, สังขารขันธ์ ๑, วิญญาณขันธ์ ๑, มนายตนะ (อายตนะคือใจ ) ๑, มนินทรีย์ ( อินทรีย์คือใจ ) ๑, มโนวิญญาณ- ธาตุ ( ธาตุรู้คือใจ ) ๑, ธัมมายตนะ ( อายตนะคือธรรมที่รู้ได้ด้วยใจ ) ๑, ธัมมธาตุ ( ธาตุคือธรรมที่รู้ได้ด้วยใจ ) ๑, หรือแม้ธรรม เหล่าใด แม้อื่น ที่ไม่มีรูปอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่. ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นกุศล. "

        ( คำอธิบายตอนนี้เป็นการมองธรรม ๕๖ อย่าง ซึ่งประกอบกับจิตดวงแรกอันเป็นกุศล ฝ่ายกามาวจรนั้นว่าจะเรียกเป็นอย่างไรได้บ้าง มองในทัสสนะไหนได้บ้าง. ขอยกตัวอย่างพอให้เข้าใจ คือในธรรมประกอบ ๕๖ ข้อนั้น จัดเป็นขันธ์ ๔ ได้ดังนี้. ข้อ ๒ คือเวทนา, ข้อ ๙ คือสุข, ข้อ ๑๗ คือโสมนัสสินทรีย์ ธรรมอันเป็นใหญ่ คือความสบาย ใจหรือความดีใจ จัดเป็นเวทนาขันธ์ ( กองเวทนา ) ; ข้อ ๓ คือสัญญา ความจำได้หมายรู้ จัดเป็นสัญญาขันธ์ ( กองสัญญา ) ; ๕๐ ข้อ เว้นข้อที่ ๒, ๓, ๕, ๙, ๑๖, ๑๗, จัดเป็นสังขารขันธ์ ( กองสังขาร ) ; ข้อ ๕ คือจิต, ข้อ ๑๖ คือมนินทรีย์ ธรรมอันเป็นใหญ่คือใจ จัดเป็นวิญญาณขันธ์ ( กองวิญญาณ ). ในที่นี้ไม่จัดเป็นขันธ์ ๕ เพราะขาดรูป ไป ๑ เนื่องจากเป็นเรื่องของจิต แต่ก็สามารถจัดธรรมะถึง ๕๖ ข้อมารวมได้ ใน ๔ ข้อเท่านั้น. ตอนต่อไปแสดงอายตนะ ( บ่อ เกิดหรือที่ต่อ ) ๒ คือ ๑. มนายตนะ ( อายตนะคือใจ ) ๒. ธัมมายตนะ ( อายตนะคือธรรมที่รู้ได้ด้วยใจ ). ในธรรม ๕๖ ข้อนั้น ข้อที่ ๕ คือจิต ข้อที่๑๖ คือมนินทรีย์ ( ธรรมอันเป็นใหญ่คือใจ ) จัดเข้าในมนายตนะ นอกนั้นคืออีก ๕๔ ข้อ จัด เข้าในธัมมายตนะ. ตอนนี้ยิ่งรวบรัดกว่าตอนต้นอีก เพราะจัดธรรม ๕๖ อย่างมาลงใน ๒ อย่างได้. ข้อต่อไปจัดธรรม ๕๖ อย่างมาลงในธาตุ ๒ คือ ข้อที่ ๕ คือจิต ข้อที่ ๑๖ คือมนินทรีย์ จัดเข้าในมโนวิญญาณธาตุ ( ธาตุรู้ทางใจ ), อีก ๕๔ ข้อที่เหลือ จัดเข้าในธัมมธาตุ ( ธาตุคือธรรมที่รู้ได้ด้วยใจ ) หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งตามสำนวนอธิบายที่ปรากฏในนั้นอีก ๕๔ ข้อที่เหลือ อันเคยจัดมาแล้วว่า ได้แก่เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์นั้น จัดเป็นธัมมธาตุ ( ธาตุคือธรรมะที่รู้ได้ด้วย ใจ ) ดังนี้เป็นตัวอย่าง ต่อจากนั้น ได้แสดงเรื่องอาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ เป็นต้น เป็นการชี้ไปว่า อาหาร ๓ มีอยู่ในธรรม ๕๖ ข้อ นั้น อินทรีย์ ๘ มีอยู่ในธรรม ๕๖ ข้อนั้นอย่างไรบ้าง คล้ายกับเป็นการสำรวจเครื่องจักรเครื่องยนต์ว่า อันไหนเป็นประเภทไหน เกี่ยวโยงกันอย่างไร เป็นการบริหารความคิดและความจำ, นี้เป็นคำอธิบายตอนที่ ๒ คือคำอธิบายตอนที่ ๑ เริ่มด้วยแสดงจิตดวง แรกที่เป็นกุศลแล้วแสดงธรรม ๕๖ อย่าง ที่เนื่องด้วยจิตดวงนั้น, ตอนที่ ๒ อธิบายว่า ธรรม ๕๖ อย่างนั้น จะเรียกชื่อย่อ ๆ หรือกำหนดหัวข้อ เป็นจำนวนอย่างไรบ้าง, คำอธิบายตอนที่ ๓ ตัดจำนวนเลขออก เรียกแต่ชื่อดังต่อไปนี้ )

        " ก็ในสมัยนั้น ย่อมมีธรรม,) มีขันธ์, มี อายตนะ, มีธาตุ, มีอาหาร, มีอินทรีย์, มีฌาน, มีมรรค, มีพละ ( ธรรมอันเป็นกำลัง ), มีเหตุ, มีผัสสะ, มีเวทนา, มีสัญญา, มี เจตนา, มีจิต, มีเวทนาขันธ์, มีสัญญาขันธ์, มีสงขารขันธ์, มีวิญญาณขันธ์, มีมนายตนะ, มีมนินทรีย์, มีมโนวิญญาณธาตุ, มี ธัมมายตนะ, มีธัมมธาตุ. อนึ่ง ในสมัยนั้น มีธรรมะเหล่าใด แม้อื่น ที่ไม่มีรูป อิงอาศัยกันเกิดขึ้น. ธรรมเหล่านี้ ก็ชื่อว่าเป็นกุศล ธรรม. "

        ( คำอธิบายตอน ๓ นี้ ตัดตัวเลขออกให้เข้าใจแต่ชื่อธรรมะ แล้วอธิบายว่า ธรรมะชื่อ นั้นได้แก่อะไร ).

ธรรมะประกอบกับจิต

        ( ท่านผู้อ่านได้ทราบแล้วว่า ในจิตตุปปาทกัณฑ์ อันเป็นคำอธิบายภาคแรกของบทตั้ง นั้น อธิบายเพียง คำว่า กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม ( ธรรมที่เป็นกลาง ๆ ) โดยอธิบายจิตตาม ๓ หัวข้อนั้น และ ในขณะเดียวกันก็อธิบายธรรมะประกอบกับจิตทีละข้อด้วยว่า จิตชนิดไหนมีธรรมะประกอบอะไรบ้าง. เฉพาะจิตดวงแรกได้ แสดงให้เห็นแล้วว่ามีธรรมะประกอบ ๕๖ ข้อ และจิตดวงต่อ ๆ ไปก็มีเท่ากันบ้าง มากกว่าบ้าง น้อยลงบ้าง จะนำมากล่าวจน หมดทุกอย่าง ก็ไม่มีหน้ากระดาษพอ. แต่มีข้อสังเกตที่ใคร่ฝากไว้แด่ท่านผู้รักการค้นคว้า คือในปัจจุบันนี้เรามักไม่เรียนอภิธรรม จากอภิธัมมปิฎก แต่เรียนตำราย่อเนื้อความแห่งอภิธรรมที่ชื่อว่า อภิธัมมัตถสังคหะ ท่านผู้อ่านภาษาบาลีได้ควรจะได้ติดตามสอบ สวนดูด้วย โดยตั้งใจเป็นกลาง ๆ อย่างปลงว่า คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะของพระอนุรุทธาจารย์นั้นถูกต้องดีแล้วหรือยังบกพร่อง อะไรอยู่ โดยเฉพาะเรื่องเจตสิก ๕๒ นั้น ก็คือธรรมะประกอบกับจิต ๕๒ ประการนั่นเอง ในพระอภิธัมมปิฎก เล่มที่ ๓๔ นี้ จิตบางดวงมีธรรมประกอบถึง ๖๐ บางดวงก็มีไม่ถึง ควรจะได้สอบสวนเทียบเคียงดูว่า ที่ว่าเจตสิก ๕๒ นั้นสมบูรณ์ถูกต้องดี หรืออย่างไร หรือท่านรวมอะไรเข้ากับอะไร ตัดอะไรออก การด่วนลงความเห็นว่าอภิธัมมัตถสังคหะของพระอนุรุทธาจารย์มี บกพร่อง ยังไม่เป็นการชอบ ควรจะได้ตรวจสอบค้นคว้าให้ละเอียดลออถี่ถ้วน ที่เสนอไว้นี้เพื่อให้ท่านผู้รักการค้นคว้าได้ พยายามขบคิดและสอบสวนเรื่องนี้ทำเป็นตำราขึ้น เพื่อเป็นทางเรืองปัญญาของผู้ใคร่การศีกษาต่อไป. ข้าพเจ้าผู้ทำหนังสือนี้ ยัง ไม่พร้อมที่จะทำการวิจัยในเรื่องนี้ โดยเฉพาะในเล่มนี้ ขอเสนอชักชวนผู้ชอบงานค้นคว้าให้ช่วยกันทำอีกส่วนหนึ่ง. ต่อไปนี้จะ แสดงจิตดวงอื่น ๆ จนจบชนิดของจิต และจะละเรื่องธรรมะที่ประกอบกับจิต แต่ละดวงไว้ไม่กล่าวถึง เพราะจะทำให้พระ- ไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชนจบลงไม่ได้ใน ๑ เล่ม ตามที่ตั้งใจไว้ ).

แสดงจิตจากลำดับที่ ๑ ถึง ๘๙

        ( ต่อไปนี้จะแสดงจิต ๘๙ ชนิดโดยลำดับ จากที่ ๑ ถึง ๘๙ ความจริงโดยพิสดาร มีหลายร้อยหลายพัน และพึงทราบว่า จากลำดับที่ ๑ ถึง ๒๑ เป็นกุศลจิต ; จากลำดับที่ ๒๒ ถึง ๓๓ รวมเป็น ๑๒ เป็น อกุศลจิต ; จากลำดับที่ ๓๔ ถึง ๘๙ รวม ๕๖ เป็นอัพยากตจิต คือจิตที่เป็นกลาง ๆ อนึ่ง ในจิตที่เป็นกลาง ๕๖ นี้เป็นวิบาก จิต คือจิตที่เป็นผล ๓๖ เป็นกิริยาจิต คือจิตที่เป็นกิริยา ๒๐ ) ดังต่อไปนี้ :-

กุศลจิต ๒๑

๑. กามาวจร ( ท่องเที่ยวไปในกาม ) ๘

    ๑. จิตอันเป็นกุศลฝ่ายกามาวจร ประกอบด้วยโสมนัส ( ความดีใจ ) ประกอบด้วยญาณ ( ความรู้ ) เป็น อสังขาริก ( คือไม่ต้องมีสิ่งชักจูง จิตก็เกิดขึ้น ).

    ๒. จิตเหมือนข้อที่ ๑ แต่เป็นสสังขาริก ( คือต้องมีสิ่งชักจูง จิตจึงเกิดขึ้น ).

    ๓. จิตอันเป็นกุศลฝ่ายกามาวจร ประกอบด้วยโสมนัส แต่ ไม่ประกอบด้วยญาณ เป็นอสังขาริก.

    ๔. จิตเหมือนข้อที่ ๓ แต่เป็นสสังขาริก.

    ๕. จิตอันเป็นกุศลฝ่ายกามาวจร ประกอบด้วยอุเบกขา ( ความรู้สึกเฉย ๆ คือไม่ดีใจไม่เสียใจ ) ประกอบด้วยญาณ เป็นอสังขาริก.

    ๖. จิตเหมือนข้อที่ ๕ แต่เป็นสสังขาริก.

    ๗. จิตอันเป็นกุศลฝ่ายกามาวจร ประกอบด้วยอุเบกขา แต่ไม่ประกอบด้วยญาณ เป็นอสังขาริก.

    ๘. จิตเหมือนข้อที่ ๗ แต่เป็นสสังขาริก.

๒. รูปาวจร ( ท่องเที่ยวไปในรูป ) ๕

    ๙. จิตอันเป็นกุศล เนื่องด้วยฌานที่ ๑ ประกอบด้วยวิตก ( ความตรึก ), วิจาร ( ความตรอง ), ปีติ ( ความ อิ่มใจ ), สุข, เอกัคคตา ( ความมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ).

    ๑๐. จิตอันเป็นกุศล เนื่องด้วยฌานที่ ๒ ประกอบด้วยวิจาร, ปีติ, สุข, เอกัคคตา.

    ๑๑. จิตอันเป็นกุศล เนื่องด้วยฌานที่ ๓ ประกอบด้วยปีติ, สุข, เอกัคคตา.

    ๑๒. จิตอันเป็นกุศล เนื่องด้วยฌานที่ ๔ ประกอบด้วยสุข, เอกัคคตา.

    ๑๓. จิตอันเป็นกุศล เนื่องด้วยฌานที่ ๕ ประกอบด้วยอุเบกขา (ความวางเฉย) กับเอกัคคตา.

        ( หมายเหตุ : มีเรื่องแทรกที่ใคร่อธิบายไว้ในเรื่องจิตอันเป็นกุศลฝ่ายรูปาวจรไว้ ประกอบประกอบการพิจารณาของผู้ใคร่การศึกษา คือการนับจำนวนจิตในรูปาวจรกุศล ที่นับไว้เพียง ๕ ในที่นี้ เป็นการนับ อย่างรวบรัดตามแบบอถิธัมมัตถสังคหะ แต่ถ้าจะแจกตามบาลีอภิธัมมปิฎก เล่มที่ ๓๔ นี้จริง ๆ ก็หลายร้อยหลายพัน ผู้ศึกษา อภิธรรมที่ไม่เคยนับตามอภิธัมมปิฎกเลย ก็อาจเข้าใจว่า รูปาวจรกุศลจิตมี ๕ เท่านั้น แท้จริงที่นับว่ามีขันธ์ ๕ นับตามฌาน ๕ และย่นย่อ ถ้านับอย่างพิสดารจะเป็นดังนี้ :-

    ๑. ท่านแสดงฌาน ๔ เรียกจตุกกนัย ( นัยที่มี ๔ )

    ๒. แล้วแสดงฌาน ๕ เรียกปัญจกนัย ( นัยที่มี ๕ )

    ๓. แล้วแสดงปฏิปทา ๔ ( ดูปฏิปทา ๔ นัยแรกในหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ หน้า ๔ ) จตุตถปัณณาสถ์ หมวด ๕๐ ที่ ๑...หมายเลขที่ ๒.

    ๔. แล้วแสดงอารมณ์ ๔ ( ฌานเล็กน้อยมีอารมณ์น้อย, ฌานเล็กน้อยมีอารมณ์ไม่มีประมาณ, ฌานไม่มี ประมาณมีอารมณ์เล็กน้อย, ฌานไม่มีประมาณมีอารมณ์ไม่มีประมาณ )

    ๕. แล้วแสดงปฏิปทา ๔ กับอารมณ์ ๔ ผสมกัน เรียกว่าหมวด ๑๖ ( ๔×๔ = ๑๖ = โสฬสกะ )

    ๖. แล้วแสดงกสิณ ๘ ( ความจริงกสิณมี ๑๐ แต่ที่จะใช้เป็นอารมณ์ของรูปฌานได้ มีเพียง ๘ เว้นวิญญาณ กสิณและอากาสกสิณ )

    อรรถกถานับฌาน ๔ ฌาน ๕ เป็นหมวด ๙ ตั้งเกณฑ์เป็น ๑ ; คิดตามปฏิปทา ๔ตั้งเลข ๔ ; คิดตามอารมณ์ ๔ตั้งเลข ๔ ; คิดตามแบบผสมคือปฏิปทา ๔ กับอารมณ์ ๔ ตั้งเลข ๑๖ เมื่อนำเลขที่ตั้ง เป็นเกณฑ์ไว้มารวมกันจะได้ ๒๕, เลข ๒๕นี้ เมื่อนับตามฌาน ๔ จะได้ ๑๐๐ ( ๒๕×๔ = ๑๐๐ ), เมื่อนับตามฌาน ๕ จะได้ ๑๒๕ ( ๒๕×๕ = ๑๒๕ ) เพราะฉะนั้น เพียงนับธรรมดาทั้งฌาน ๔ และฌาน ๕ รวมกัน จะได้ฌานจิตถึง ๒๒๕ แต่ถือว่าฌาน ๔ รวมไว้ในฌาน ๕ จึงนับเพียง ๑๒๕ ก็ได้. คราวนี้เมื่อเอาอารมณ์ของฌานมาคูณ เช่น กสิณ ๘ ก็จะ ได้จิต ( ๑๒๕×๘ = ๑,๐๐๐ ) ดวง !

    แต่การแสดงอารมณ์ของฌานมิได้มีเพียงเท่านี้ ท่านยังแสดงอภิภายตนะ, วิโมกข์ ๓, พรหมวิหาร ๔, อสุภะ ๑๐. เมื่อเอาตัวเลขต่าง ๆ มาคูณเกณฑ์ ๑๒๕ ทุกประเภท แล้วนำมารวมกันจะได้ตัวเลขเป็นพัน ๆ ทีเดียว ทั้งตัวเลขเหล่านี้ อรรถกถาอัตถสาลินี ซึ่งแก้พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ ก็นับให้ดูเป็นตัวอย่างด้วย. จึงบันทึกไว้ในที่นี้ เพื่อให้เทียบเคียงคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะกับอภิธัมมปิฎกแท้ ๆว่า มี ต่างกันในรายละเอียดอยู่บ้างเหมือนกัน ).

๓. อรูปาวจร ( ท่องเที่ยวไปในอรูป ) ๔

   ๑๔. จิตอันเป็นกุศล ประกอบด้วยอากาสานัญจายตนสัญญา ( จิตในอรูปฌานที่ ๑ )

   ๑๕. จิตอันเป็นกุศล ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนสัญญา ( จิตในอรูปฌานที่ ๒ )

   ๑๖. จิตอันเป็นกุศล ประกอบด้วยอากิญจัญญายตนสัญญา ( จิตในอรูปฌานที่ ๓ )

   ๑๗. จิตอันเป็นกุศล ประกอบด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ( จิตในอรูปฌานที่ ๔ ),

๔. โลกุตตระ ( จิตพ้นจากโลก ) ๔

   ๑๘. จิตอันเป็นกุศลที่เนื่องด้วยโสดาปัตติมรรค ๑๙ จิตอันเป็นกุศลที่เนื่องด้วยสกทาคามิมรรค

   ๑๙. จิตอันเป็นกุศลที่เนื่องด้วยอนาคามิมรรค ๒๑ จิตอันเป็นกุศลที่เนื่องด้วยอรหัตตมรรค.

        ( หมายเหตุ : มีข้อที่น่าจะอธิบายแทรกไว้อีก คือเมื่อจบการแสดงอรูปาวจร- กุศลจิตแล้ว ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ ได้ตั้งอธิบายกามาวจร, รูปาวจร และอรูปาวจรซ้ำอีก โดยตั้งเกณฑ์อิทธิบาท คือธรรม อันให้บรรลุความสำเร็จ ๔ ประการ คือฉันทะ ความพอใจ, วิริยะ ความเพียร, จิตตะ ความฝักไฝ่, วิมังสา การพิจารณาสอบ สวน แล้วแบ่งออกเป็น ๓ ขั้น คืออย่างเลว, อย่างกลาง, และอย่างประณีต ( ๔×๓ = ๑๒ ) นำมาประกอบกับกุศลจิตที่ เป็นกามาวจร, รูปาวจร และอรูปาวจร จนจบ. ครั้นถึงคราวแสดงกุศลจิตที่เป็นโลกุตตรธรรม ก็ตั้งเกณฑ์ฌาน ๔ และ ฌาน ๕ อันเป็นโลกุตตระ ( พ้นจากโลก ), แล้วแสดงปฏิปทา ๔ ( ปฏิบัติลำบาก ตรัสรู้ได้ช้า, ปฏิบัติลำบาก ตรัสรู้ได้เร็ว, ปฏิบัติสะดวก ตรัสรู้ได้ช้า, ปฏิบัติสะดวก ตรัสรู้ได้เร็ว ), แล้วแสดงสุญญตะ ( ความว่างเปล่า ), แล้วแสดงปฏิปทา ๔ ผสมกับ สุญญตะ, แล้วแสดงอัปปณิหิตะ ( ความไม่มีที่ตั้ง ) แล้วแสดงปฏิปทา ๔ ผสมกับอัปปณิหิตะ, ครั้นแล้วตั้งเกณฑ์การเจริญธรรม ที่เป็นโลกุตตระอีก ๑๙ ข้อ)๑๐ รวมเป็น ๒๐ ข้อทั้งโลกุตตรฌาน. เมื่อตั้งเกณฑ์ ๒๐ ข้อ ตั้งเกณฑ์แจกรายละเอียดข้อละ ๑๐ จึงเป็นโลกุตตรจิตที่เป็นกุศล ๒๐๐ ดวง หรือ ๒๐๐ นัย ( ดูอรรถกถา หน้าพระ สุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ ซึ่งมีแสดงไว้ว่า กายวูปกาเสน จิตฺตวูปกาเสน เป็นคำนาม เมื่อเทียบกับ คุณศัพท์ วูปกฏฺฐ )๑๑ อนึ่ง การตั้งเกณฑ์ ๑๐ เพื่อนำมาคูณธรรมะ ๒๐ ข้อ คือ ๑. ปฏิปทา ๔ ล้วน ๆ ๒. สุญญตะล้วน ๆ ๓. สุญญตะกับปฏิปทาผสมกัน ๔. อัปปณิหิตะล้วน ๆ ๕. ปฏิปทา ๔ กับ อัปปณิหิตะผสมกัน รวม ๕ อย่าง คูณด้วยนัย ๒ คือฌาน ๔ นัยหนึ่ง ฌาน ๕ นัยหนึ่ง ๕×๒ = ๑๐ ดูอรรถกถาหน้า พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ หน้า ๒ เชิงอรรถหมายเลขที่ ๗ ต่อจากนั้นจึงแสดงมรรค ๔ ).


    '๑' . และหมายถึงรูปด้วย

    '๒' . แสดงจิตฝ่ายกุศล เพียงดวงแรกหรือชนิดแรกข้อเดียว ก็พ่วงเอาธรรมะอื่น ๆ มาถึง ๕๖ ข้อ

    '๓' . คำว่า กาย ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าร่างกาย หากหมายถึงกองหรือหมวดแห่งนามธรรม ๓ อย่าง คือ เวทนา, สัญญา, สังขาร หรือจะพูดแบบรวมก็คือ เจตสิก

    '๔' . เพิ่มขึ้นมากกว่าคำอธิบายตอนที่ ๒ เฉพาะคำว่า ธรรม แต่ก็อธิบายหมายความอย่างเดียวกันว่า ได้แก่ ขันธ์ ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

    '๕' . โดยปกติรูปฌานมี ๔ แต่ถ้าจัดอย่างพิสดารมี ๕ มีหลักฐาน มีทางพระสุตตันตปิฎก โปรดดูหน้า พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ หน้า ๓ ) ที่ ๒๘. อุปักกิเลสสูตร...หมายเลขที่ ๕.และเชิงอรรถในหน้า พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ หน้า ๒ ) ด้วย เชิงอรรถข้อที่ ๕.

    '๖' . ฌานเล็กน้อย คือไม่สามารถเป็นปัจจัยแห่งฌานสูงขึ้นไป มีอารมณ์น้อย คือมีอารมณ์ที่เพ่งในขนาดจำกัด พึงทราบคำอธิบายนี้อีก ๓ ข้อโดยอนุโลม

    '๗' . อภิภายตนะมี ๘ ดูหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ หน้า ๒ ) วรรคที่ไม่จัดเข้าในหมวด ๕๐..ตรงที่คำว่าหมายเหตุ ในที่นี้ อภิภายตนะ มิได้แสดงตัวเลขไว้ เพราะท่านนำมาแสดงเพียงบางข้อ

    '๘' . วิโมกข์มี ๘ แต่นำมากล่าวเพียง ๓ ข้อแรก ดูหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ ) สรูปเกี่ยวกับวิโมกข์ ๘

    '๙' . ดูคำอธิบายศัพท์ ในอรูปฌาน ๔ นี้ ในข้อความน่ารู้จากไตรปิฎก หมายเลข ๒๐๐ ด้วย

    '๑๐' . คือมรรค, สติปัฏฐาน, สัมมัปปธาน, อิทธิบาท, อินทรีย์, พละ, โพชฌงค์, สัจจะ, สมถะ, ธรรมะ, ขันธ์, อายตนะ, ธาตุ, อาหาร, ผัสสะ, เวทนา, สัญญา, เจตนา, จิต อันเป็นโลกุตตระ

    '๑๑' . การนับจิตเฉพาะโลกุตตรกุศลถึง ๒๐๐ ดวงนี้ ย่อเหลือเพียง ๔ เท่านั้น


บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ