บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



พระสุตตันตปิฎก

พระสุตตันตปิฎก
ปิฎกเล่ม ๖
หมวดนี้มี

๑.เทวทหสูตร
๒.ปัญจัตตยสูตร
๓.กินติสูตร
๔.สามคามสูตร
๕. สุนักขัตตสูตร
๖.อาเนญช
สัปปายสูตร
๗.คณก
โมคคัลลานสูตร
๘.โคปก
โมคคัลลานสูตร
๙.มหาปุณณมสูตร
๑๐.จูฬปุณณมสูตร
๑๑.อนุปทสูตร
๑๒.ฉวีโสธน
๑๓.สัปปุริสธัมมสูตร
๑๔.เสวิตัพพา
เสวิตัพพสูตร
๑๕.พหุธาตุสูตร
๑๖.อิสิคิลิสูตร
๑๗.มหา
จัตตาฬีสกสูตร
๑๘. อานา
ปานสติสูตร
๑๙.กายคตาสติสูตร
๒๐.สังขารูปปัตติสูตร
๒๑. จูฬสุญญตสูตร
๒๒.อัคคิวัจฉ
มหาสุญญตสูตร
๒๓.อัจฉริยัพ
ภูตธัมมสูตร
๒๔.พักกุลัตเถรัจ
ฉริยัพภูตธัมมสูตร
๒๕.ทันตภูมิสูตร
๒๖.ภูมิชสูตร
๒๗.อนุรุทธสูตร
๒๘.อุปักกิเลสสูตร
๒๙.พาลบัณฑิตสูตร
๓๐. เทวทูตสูตร
๓๑.ภัทเทกรัตตสูตร
๓๒.อานันทภัท
เทกรัตตสูตร
๓๓.มหากัจจาน
ภัทเทกรัตตสูตร
๓๔.โลมสกังคิยสูตร
๓๕.จูฬกัมม
วิภังคสูตร
๓๖.มหากัมมวิภังคสูตร
๓๗.สฬตนวิภังคสูตร
๓๘.อุทเทสวิภังคสูตร
๓๙.อรณวิภังคสูตร
๔๐.ธาตุภังคสูตร
๔๑. สัจจวิภังคสูตร
๔๒.ทักขิณา
วิภังคสูตร
๔๓.อนาถปิณฑิโกวาทสูตร
๔๔.ฉันโนวาทสูตร
๔๕.ปุณโณวาทสูตร
๔๖.นันท
โกวาทสูตร
๔๗.จูฬราหุ
โลวาทสูตร
๔๘.ฉฉักกสูตร
๔๙.สฬายตนวิภังคสูตร
๕๐.นครวินเทยยสูตร
๕๑.ปิณฑ
ปาตปาริสุทธิ
๕๒.อินทริยภาวนา

 

หน้าที่ ๑ ๑.เทวทหสูตร
๒.ปัญจัตตยสูตร
๓.กินติสูตร
๔.สามคามสูตร
๕. สุนักขัตตสูตร
๖.อาเนญช
สัปปายสูตร
๗.คณก
โมคคัลลานสูตร
๘.โคปก
โมคคัลลานสูตร
๙.มหาปุณณมสูตร

 

หน้าที่ ๒
๑๐.จูฬปุณณมสูตร
๑๑.อนุปทสูตร
๑๒.ฉวีโสธน
๑๓.สัปปุริสธัมมสูตร
๑๔.เสวิตัพพา
เสวิตัพพสูตร
๑๕.พหุธาตุสูตร
๑๖.อิสิคิลิสูตร
๑๗.มหาจัต
ตาฬีสกสูตร
๑๘.อานา
ปานสติสูตร
๑๙.กายคตาสติสูตร
๒๐.สังขารูป
ปัตติสูตร
๒๑. จูฬสุญญตสูตร
๒๒.อัคคิวัจฉ
มหาสุญญตสูตร
๒๓.อัจฉริยัพ
ภูตธัมมสูตร
๒๔.พักกุลัตเถรัจ
ฉริยัพ
ภูตธัมมสูตร
๒๕.ทันตภูมิสูตร
๒๖.ภูมิชสูตร
๒๗.อนุรุทธสูตร
๒๘.อุปักกิเลสสูตร
๒๙.พาลบัณฑิตสูตร

 

หน้าที่ ๓ ๓๐. เทวทูตสูตร
๓๑.ภัทเทกรัตตสูตร
๓๒.อานันทภัท
เทกรัตตสูตร
๓๓.มหากัจจาน
ภัทเทกรัตตสูตร
๓๔.โลมสกังคิยสูตร
๓๕.จูฬกัมมวิภังคสูตร
๓๖.มหากัมมวิภังคสูตร
๓๗.สฬตนวิภังคสูตร
๓๘.อุทเทสวิภังคสูตร
๓๙.อรณวิภังคสูตร

 

หน้าที่ ๔ ๔๐.ธาตุภังคสูตร
๔๑. สัจจวิภังคสูตร
๔๒.ทักขิณาวิภังคสูตร
๔๓.อนาถปิณฑิโกวาทสูตร
๔๔.ฉันโนวาทสูตร
๔๕.ปุณโณวาทสูตร
๔๖.นันทโกวาทสูตร
๔๗.จูฬราหุโลวาทสูตร
๔๘.ฉฉักกสูตร
๔๙.สฬายตนวิภังคสูตร
๕๐.นครวินเทยยสูตร
๕๑.ปิณฑปาตปาริสุทธิ
๕๒.อินทริยภาวนา

 

เล่มที่ ๑๔ ชื่อมัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
เป็นสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖
หน้า ๓
๓๐. เทวทูตสูตร
สูตรว่าด้วยเทวทูต

    ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม. ตรัสแสดงธรรมว่า ผู้มีทิพย์จักษุ ย่อมเห็นสัตว์ทั้งหลายตาย,   เกิด,   เลว,   ประณีต,   ผิวพรรณดี,   มีคติดี,   มีคติชั่ว   เข้าถึงฐานะต่าง ๆ ตามกรรม   เปรียบเหมือนคนมีตาดียืนอยู่ตรงกลาง   ( ระหว่างเรือน ๒ หลัง)   ย่อมมองเห็นคนข้างนอก เดินไปเดินมาสู่เรือนฉะนั้น.

   ๒. ทรงแสดงถึงนายนิรยบาล ( ผู้รักษานรก ) หลายคน จับคนที่ไม่ดีไปแสดงแก่พญายมขอให้ลงโทษ พญายมถามถึงเทวทูต ๕   คือ   เด็ก,   คนแก่,   คนเจ็บไข้,   คนถูกลงโทษเพราะทำความผิดและคนตาย แล้วชี้แจงให้เห็นว่าจะต้องได้รับผลแห่งการกระทำ   ( ที่ชั่ว )   นั้น ๆ   แล้วทรงแสดงการลงโทษต่าง ๆ ที่นายนิรยบาลเป็นผู้ทำ รวมทั้งแสดงถึงมหานรก,   นรกคูถ,   ( อุจจาระ )   และนรกชื่อกุกกุละ   ซึ่งมีการลงโทษทรมานอย่างน่าสยดสยอง.

   

๓๑. ภัทเทกรัตตสูตร
สูตรว่าด้วยราตรีเดียวกันที่ดี

    ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม. ตรัสแสดงบทตั้ง ( อุทเทส ) และคำอธิบายหรือการแจกแจง ( วิภังค์ ) เกี่ยวกับบุคคลผู้มีราตรีเดียวอันดี โดยใจความคือไม่ให้ติดตามเรื่องล่วงมาแล้ว ไม่ให้หวังเฉพาะเรื่องที่ยังมาไม่ถึง ให้เห็นแจ้งปัจจุบัน ให้รีบเร่งทำความเพียรเสียในวันนี้ ใครจะรู้ว่าความตายจะมีในวันพรุ่ง เพราะจะผัดเพี้ยนต่อมฤตยูผู้มีเสนาใหญ่ ย่อมไม่ได้. คนที่มีความเพียรอย่างนี้ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันกลางคืน เรียกว่ามีราตรีเดียวอันดี ( อันเจริญ ). การไม่ติดตามอดีต การไม่หวังเฉพาะอนาคต ตรัสอธิบายว่า ไม่ให้มีความยินดีเพลิดเพลินในอดีตและอนาคตนั้น.

   

๓๒. อานันทภัทเทกรัตตสูตร
สูตรว่าด้วยพระอานนท์อธิบายภัทเทกรัตต

    ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม สมัยนั้นพระอานนท์กล่าวธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายในโรงฉัน ( อุปฐานศาลา ) โดยอธิบายททั้งบทตั้ง และคำอธิบายแห่งภัทเทกรัตตสูร. พระผู้มีพระภาคเสด็จมาตรัสถามทราบความ ทรงรับรองคำอธิบายนั้น.

   

๓๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
สูตรว่าด้วยพระมหากัจจานะอธิบายภัทเทกรัตต

    ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม. มีเรื่องเล่าถึงพระมหากัจจานะแสดงธรรมอธิบายขยายความ แห่งภัทเทกรัตตสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสย่อ ๆ ให้พิศดาร เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทราบ ก็ตรัสชมเชยและว่า ถ้าถามให้ทรงอธิบาย ก็จะทรงอธิบายในทำนองเดียวกันนี้.

   

๓๔. โลมสกังคิยสูตร
สูตรว่าด้วยพระโลมสกังคิยะ

    ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม. เรื่องเล่าว่า เทพบุตรถามพระโลมกังคิยะ เรื่องภัทเทกรัตตสูตร ทั้งบทตั้งทั้งคำอธิบาย ท่านตอบไม่ได้ . จึงไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลถามให้ทรงแสดงทั้งบทตั้งและคำอธิบาย ใจความก็อย่างเดียวกับสูตรที่ ๓๑.

   

๓๕. จูฬกัมมวิภังคสูตร
สูตรว่าด้วยการจำแนกกรรม สูตรเล็ก

    ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม. ทรงตอบคำถามของสุภมาณพบุตรแห่งโตเทยยพราหมณ์ เกี่ยวกับผลร้ายผลดีต่าง ๆ   ๗ คู่ว่า   เนื่องมาจากกรรมคือการกระทำของสัตว์ คือ :-

   ๑. มีอายุน้อย   เพราะฆ่าสัตว์   มีอายุยืน   เพราะไม่ฆ่าสัตว์

   ๒. มีโรคมาก   เพราะเบียดเบียนสัตว์   มีโรคน้อย   เพราะไม่เบียดเบียนสัตว์

   ๓. มีผิวพรรณทราม   เพราะขี้โกรธ   มีผิวพรรณดี   เพราะไม่ขี้โกรธ

   ๔. มีศักดาน้อย   เพราะมักริษยา   มีศักดามาก   เพราะไม่มักริษยา

   ๕. มีโภคทรัพย์น้อย   เพราะไม่ให้ทาน   มีโภคทรัพย์มาก   เพราะให้ทาน

   ๖. เกิดในตระกูลต่ำ   เพราะกระด้างถือตัวไม่อ่อนน้อม   เกิดในตระกูลสูง   เพราะไม่กระด้างถือตัว   แต่รู้จักอ่อนน้อม.

   ๗. มีปัญญาทราม   เพราะไม่เข้าไปหาสมณพราหมณ์   ไต่ถามเรื่อง  การกุศล   อกุศล   เป็นต้น มีปัญญาดีเพราะเข้าไปหาสมณพราหมณ์   ไต่ถามเรื่องกุศล   อกุศล  เป็นต้น.

   สุภมาณพบุตโตเทยยพราหมณ์กราบทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนา แสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต.

   

๓๖. มหากัมมวิภังคสูตร
สูตรว่าด้วยการจำแนกกรรม สูตรใหญ่

    ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ใกล้กรุงราชคฤห์. ตรัสแสดงธรรมแก่พระอานนท์ ภายหลังที่ตรัสปรารภเรื่องพระสมิทธิตอบคำถามของปริพพาชก โปตลิบุตรแง่เดียว แทนที่จะตอบแบ่งตามเหตุผล เมื่อพระอานนท์กราบทูลขอร้อง จึงทรงแสดงเรื่องการจำแนกกรรมเรื่องใหญ่ โดยแสดงถึงบุคคล ๔ ประเภท   คือ     ๑. ทำชั่วแล้วไปเกิดในอบาย  ทุคคติ   วินิบาต   นรก    ๒. ทำชั่วแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์    ๓. ทำดีแล้วได้เกิดในสุคติโลกสวรรค์    ๔. ทำดีแล้วไปเกิดในอบาย   ทุคคติ   วินิบาต   นรก   ซึ่งทำให้สมณพราหมณ์ บางพวกผู้เห็นไม่ตลอดสายเข้าใจผิด ทรงรับรองเฉพาะคำกล่าวที่ถูกต้อง ที่ไม่ถูกก็ไม่ตรัสรับรอง นอกจากนั้น ทรงแสดงเหตุผล คือกรรมดีกรรมชั่วที่ทำก่อนทำหลัง และการมีความเห็นถูกเห็นผิดก่อนตายว่า อาจแทรกส่งผลให้คนเข้าใจผิดได้ แต่ความจริงกรรมทุกอย่างจะส่งผลทั้งสิ้น ( เพียงแต่เข้าใจให้ตลอดสายและไม่สับเหตุผล )

   

๓๗. สฬายตนวิภังคสูตร
สูตรว่าด้วยการแจกอายตนะ ๖

    ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม. ตรัสแสดงธรรมเรื่องการแจกอายตนะ ๖   โดยตั้งบทตั้ง   ( อุทเทส) ว่า

   ควรทราบอายตนะภายใน ๖ ,   อายตนะภายนอก ๖,   หมวดวิญญาณ ๖,   หมวดผัสสะ ๖,   มโนปวิจาร ( ความท่องเที่ยวไปแห่งใจ ) ๑๘,   ทางไปของสัตว์ (สัตตบท ) ๓๖   เป็นต้น   ครั้นแล้วทรงแจกอายตนะภายใน ๖ ว่ามีตา เป็นต้น,   อายตนะภายนอก ๖ ว่ามีรูป   เป็นต้น,   วิญญาณกาย ๖ มีจักขุวิญญาณ เป็นต้น,   ผัสสกาย ๖ มีจักขุสัมผัส เป็นต้น,   มโนปวิจาร ๑๘ คือเห็นรูป ,   ฟังเสียง เป็นต้นแล้ว   ใจก็ท่องเที่ยวไปสู่รูปที่เป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส   โทมนัส   และอุเบกขา   ( เวทนาทางใจ ) ๓ × อายตนะ ๖ = ๑๘ ),   ส่วนสัตตบทหรือทางไปของสัตว์ ๓๖ ทรงแสดงโสมนัส ( ความดีใจ ) ที่อาศัยเรือน ๖ ,   อาศัยเนกขัมมะ ( การออกจากกาม ) ๖ ,   โทมนัส ( ความเสียใจ ) ที่อาศัยเรือน ๖ ;   อาศัยเนกขัมมะ ๖ ;   อุเบกขาที่อาศัยเรือน ๖ ;   อาศัยเนกขัมมะ ๖   ( เวทนาทางใจ ๓ × ๒ คือ เรือนกับเนกขัมมะ ×   อายตนะ ๖ = ๓ × ๒ × ๖ = ๓๖ )

   ครั้นแล้วทรงแสดงธรรมให้อาศัยส่วนที่อาศัยเนกขัมมะ ให้ละส่วนที่อาศัยเรือน แล้วทรงแสดงคุณลักษณะของศาสดา.

   

๓๘. อุทเทสวิภังคสูตร
สูตรว่าด้วยบทตั้งและคำอธิบาย ๖

    ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม. ตรัสแสดงอุทเทสวิภังค์ คือบทตั้ง   พร้อมทั้งคำอธิบายที่ว่า   ภิกษุพึงพิจารณาโดยประการที่วิญญานของเธอจะไม่ซัดส่วยไปภายนอก   ไม่ตั้งอยู่ในภายใน     ไม่ยึดมั่นถือมั่น   ไม่สะดุ้ง   เมื่อเป็นเช่นนี้   ก็จะไม่มีความเกิดขึ้นแห่งชาติ   ชรา   มรณะ   และเหตุให้เกิดทุกข์เกิดอีกต่อไป.   ตรัสเพียงย่อ ๆ   เท่านั้นแล้วก็เสด็จลุกขึ้นเข้าสู่พระวิหาร.

   ๒. ภิกษุทั้งหลายจึงไปหาพระมหากัจจานเถระ ขอให้อธิบายความโดยพิสดาร ซึ่งท่านก็ได้อธิบายชี้แจงเป็นข้อ ๆ ไป ( แต่มีข้อน่าสังเกตว่า ในประโยคว่า วิญญาณไม่ตั้งอยู่ในภายใน ท่านใช้คำว่า   จิต  แทนคำว่า   วิญญาณ   ว่าไม่ติดอยู่ในองค์ฌาน ). เมื่อภิกษุทั้งหลายไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค ก็ตรัสชมเชย พระมหากัจจานเถระ และตรัสสอนให้ทรงไว้อย่างที่ได้แสดงไว้แล้ว.

   

๓๙. อรณวิภังคสูตร
สูตรว่าด้วยการแจกธรรมที่ไม่มีข้าศึก

    พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม. ตรัสแสดงอรณวิภังค์ คือการแจกธรรมที่ไม่เป็นข้าศึก . มีใจความสำคัญ คือ :-

   ไม่พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งกามสุข   และการทรมานตัวให้ลำบาก   พระตถาคตตรัสรู้ทางสายกลาง   ที่ไม่อาศัยส่วนสุดทั้งสอง   อันทำให้เกิดดวงตา   เกิดญาณ  เพื่อตรัสรู้นิพพาน. พึงรู้การยกย่อง   การรุกราน   แล้วไม่พึงแสดงธรรมยกย่องหรือรุกรานบุคคล,   ไม่พึงกล่าววาจาในที่ลับ ( ไม่พูดส่อเสียด ),   ไม่พึงกล่าววาจาเลอะเทอะในที่พร้อมหน้า,   พึงพูดโดยไม่รีบด่วน,  ไม่พึงยึดถือถ้อยคำในพื้นชนบท   ไม่พึงข้ามบัญญัติทางโลก   ( คือไม่ยึดมั่นถือมั่นโวหารทางโลก   แต่ในขณะเดียวกัน   ก็ไม่ขวางโลก   โดยไม่ยอมพูดรู้เรื่องกับชาวโลก. พร้อมทั้งตรัสอธิบายโดยละเอียดว่า   ข้อปฏิบัติหรือธรรมะที่กล่าวมานี้เป็นธรรมะที่ไม่มีข้าศึก.

   ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายให้รู้จักธรรมที่มีข้าศึกและไม่มีข้าศึก และให้ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่ไม่มีข้าศึก. แล้วตรัสสรรเสริญว่า กุลบุตรชื่อสุภูติเป็นผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่ไม่มีข้าศึก.

 

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ