บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



พระสุตตันตปิฎก

พระสุตตันตปิฎก
ปิฎกเล่ม ๖
หมวดนี้มี

๑.เทวทหสูตร
๒.ปัญจัตตยสูตร
๓.กินติสูตร
๔.สามคามสูตร
๕. สุนักขัตตสูตร
๖.อาเนญช
สัปปายสูตร
๗.คณก
โมคคัลลานสูตร
๘.โคปก
โมคคัลลานสูตร
๙.มหาปุณณมสูตร
๑๐.จูฬปุณณมสูตร
๑๑.อนุปทสูตร
๑๒.ฉวีโสธน
๑๓.สัปปุริสธัมมสูตร
๑๔.เสวิตัพพา
เสวิตัพพสูตร
๑๕.พหุธาตุสูตร
๑๖.อิสิคิลิสูตร
๑๗.มหา
จัตตาฬีสกสูตร
๑๘. อานา
ปานสติสูตร
๑๙.กายคตาสติสูตร
๒๐.สังขารูปปัตติสูตร
๒๑. จูฬสุญญตสูตร
๒๒.อัคคิวัจฉ
มหาสุญญตสูตร
๒๓.อัจฉริยัพ
ภูตธัมมสูตร
๒๔.พักกุลัตเถรัจ
ฉริยัพภูตธัมมสูตร
๒๕.ทันตภูมิสูตร
๒๖.ภูมิชสูตร
๒๗.อนุรุทธสูตร
๒๘.อุปักกิเลสสูตร
๒๙.พาลบัณฑิตสูตร
๓๐. เทวทูตสูตร
๓๑.ภัทเทกรัตตสูตร
๓๒.อานันทภัท
เทกรัตตสูตร
๓๓.มหากัจจาน
ภัทเทกรัตตสูตร
๓๔.โลมสกังคิยสูตร
๓๕.จูฬกัมม
วิภังคสูตร
๓๖.มหากัมมวิภังคสูตร
๓๗.สฬตนวิภังคสูตร
๓๘.อุทเทสวิภังคสูตร
๓๙.อรณวิภังคสูตร
๔๐.ธาตุภังคสูตร
๔๑. สัจจวิภังคสูตร
๔๒.ทักขิณา
วิภังคสูตร
๔๓.อนาถปิณฑิโกวาทสูตร
๔๔.ฉันโนวาทสูตร
๔๕.ปุณโณวาทสูตร
๔๖.นันท
โกวาทสูตร
๔๗.จูฬราหุ
โลวาทสูตร
๔๘.ฉฉักกสูตร
๔๙.สฬายตนวิภังคสูตร
๕๐.นครวินเทยยสูตร
๕๑.ปิณฑ
ปาตปาริสุทธิ
๕๒.อินทริยภาวนา

 

หน้าที่ ๑ ๑.เทวทหสูตร
๒.ปัญจัตตยสูตร
๓.กินติสูตร
๔.สามคามสูตร
๕. สุนักขัตตสูตร
๖.อาเนญช
สัปปายสูตร
๗.คณก
โมคคัลลานสูตร
๘.โคปก
โมคคัลลานสูตร
๙.มหาปุณณมสูตร

 

หน้าที่ ๒
๑๐.จูฬปุณณมสูตร
๑๑.อนุปทสูตร
๑๒.ฉวีโสธน
๑๓.สัปปุริสธัมมสูตร
๑๔.เสวิตัพพา
เสวิตัพพสูตร
๑๕.พหุธาตุสูตร
๑๖.อิสิคิลิสูตร
๑๗.มหาจัต
ตาฬีสกสูตร
๑๘.อานา
ปานสติสูตร
๑๙.กายคตาสติสูตร
๒๐.สังขารูป
ปัตติสูตร
๒๑. จูฬสุญญตสูตร
๒๒.อัคคิวัจฉ
มหาสุญญตสูตร
๒๓.อัจฉริยัพ
ภูตธัมมสูตร
๒๔.พักกุลัตเถรัจ
ฉริยัพ
ภูตธัมมสูตร
๒๕.ทันตภูมิสูตร
๒๖.ภูมิชสูตร
๒๗.อนุรุทธสูตร
๒๘.อุปักกิเลสสูตร
๒๙.พาลบัณฑิตสูตร

 

หน้าที่ ๓ ๓๐. เทวทูตสูตร
๓๑.ภัทเทกรัตตสูตร
๓๒.อานันทภัท
เทกรัตตสูตร
๓๓.มหากัจจาน
ภัทเทกรัตตสูตร
๓๔.โลมสกังคิยสูตร
๓๕.จูฬกัมมวิภังคสูตร
๓๖.มหากัมมวิภังคสูตร
๓๗.สฬตนวิภังคสูตร
๓๘.อุทเทสวิภังคสูตร
๓๙.อรณวิภังคสูตร

 

หน้าที่ ๔ ๔๐.ธาตุภังคสูตร
๔๑. สัจจวิภังคสูตร
๔๒.ทักขิณาวิภังคสูตร
๔๓.อนาถปิณฑิโกวาทสูตร
๔๔.ฉันโนวาทสูตร
๔๕.ปุณโณวาทสูตร
๔๖.นันทโกวาทสูตร
๔๗.จูฬราหุโลวาทสูตร
๔๘.ฉฉักกสูตร
๔๙.สฬายตนวิภังคสูตร
๕๐.นครวินเทยยสูตร
๕๑.ปิณฑปาตปาริสุทธิ
๕๒.อินทริยภาวนา

 

เล่มที่ ๑๔ ชื่อมัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
เป็นสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖
หน้า ๑

   พระไตรปิฎกเล่มนี้ เป็นเล่มที่ ๓ หรือ เล่มสุดท้ายของมัชฌิมนิกาย หรือนัยหนึ่งสูตรขนาดกลาง เมื่อเริ่มลำดับมัชฌิมนิกายจากเล่มแรกเป็นโคน ( มูล ) เล่มต่อมาเป็นท่อนกลาง ( มัชฌิมะ ) เล่มนี้ซึ่งเป็นเล่มสุดท้าย จึงชื่อว่ามัชฌิมนิกาย อุปริปันณณาสก์ ( ๕๐ สูตรเบื้องบน อันเทียบได้กับส่วนปลายของต้นไม้ ) ในเล่มนี้มี ๕ วรรค วรรคละ ๑๐ สูตร คงพิเศษอยู่วรรคเดียว คือ วิภังควรรค ซึ่งมีถึง ๑๓ สูตร เมื่อรวมจำนวนสูตรในมัชฌิมนิกายทั้งสาม เล่มเข้าด้วยกัน เล่มที่ ๑๓ มี ๔๐ สูตร และเล่มนี้ คือเล่มที่ ๑๔ มี ๕๒ สูตร จึงเป็น ๑๕๒ สูตร.

ขึ้นวรรคที่ ๑ ชื่อเทวทหวรรค ( วรรคมีเทวทหสูตรเป็นสูตรแรก)

   

๑. เทวทหสูตร
สูตรว่าด้วยเหตุการณ์ในเทวทหนิคม

    ๑. พระผู้มีพระภาคประทับในนิคมเทวทหะ แคว้นสักกะ ณ ที่นั้นได้ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายว่า มีสมณพราหมณ์บางพวกมีความเห็นว่า   สุข   ทุกข์  หรือไม่ทุกข์ไม่สุขที่บุคคลเสวยทั้งปวง   เนื่องมาจากเหตุที่ทำไว้ในกาลก่อน   เมื่อกรรมเก่าหมดไป   ไม่ทำกรรมใหม่   ไม่มีกิเลสต่อไปอีก   ก็สิ้นกรรม   เพราะสิ้นกรรม   ก็สิ้นทุกข์   เพราะสิ้นทุกข์ก็สิ้นเวทนา   เพราะสิ้นเวทนา   ทุกข์ทั้งปวงก็ทำลายไปหมด.   ผู้มีวาทะอย่างนี้เป็นพวกนิครนถ์ ( นักบวชพวกหนึ่ง มีนิครนถนาฏบุตรเป็นหัวหน้า )

   ๒. ตรัสเล่าว่า พระองค์เสด็จเข้าไปหาพวกนิครนถ์เหล่านั้น ถามว่า พวกท่านมีความเห็นอย่างนั้นจริงหรือ ถ้าพวกนั้นรับว่าจริง ก็จะตรัสถามว่า รู้หรือไม่ว่าได้เคยเป็นอะไร หรือไม่เคยเป็นอะไร ในกาลก่อนเคยทำบาปกรรมหรือไม่เคยทำในกาลก่อน รู้หรือไม่ว่าทุกข์ที่หมดไปแล้วมีเท่านี้ ทุกข์ที่จะพึงทำให้หมดไปมีเท่านี้ เมื่อทุกข์หมดไปเท่านี้แล้ว ทุกข์ทั้งปวงจึงจักหมดไป รู้หรือไม่ว่าการละอกุศลธรรม การทำกุศลธรรม ให้พร้อมย่อมมีได้ในปัจจุบัน ก็ตอบว่า ไม่รู้ทุกคำถาม. พระองค์จึงตรัสต่อไปว่า เมื่อไม่รู้ก็ไม่ควรจะยืนยันว่า   สุข   ทุกข์  หรือไม่ทุกข์ไม่สุขทั้งปวง เนื่องมาจากเหตุที่ทำไว้ในกาลก่อน. เปรียบเหมือนคนที่ถูกยิงด้วยลูกศร เมื่อหมอผ่าตัดถอนลูกศรออก เอาไฟย่างปากแผล เมื่อหายแล้วก็ยังนึกออกถึงเวทนาที่เคยได้รับในการถูกยิงในการผ่าตัดและในการย่างปากแผล แต่พวกนิครนถ์ไม่รู้เรื่องอะไรเลย เกี่ยวกับการเกิดหรือกระทำในกาลก่อนจะกล่าวยืนยันว่า เวทนาที่ได้รับ เนื่องมาจากเหตุที่ทำไว้ในกาลก่อนอย่างไร.

   ๓. พวกนิครนถ์แย้งว่า นิครนถ์นาฏบุตรเป็นสัพพัญญู รู้เเจ้งเห็นจริงสิ่งทั้งปวง กล่าวไว้อย่างนี้ และพวกเราก็พอใจเห็นด้วย. จึงตรัสตอบนิครนถ์พวกนั้นว่า   ธรรม ๕ ประการ   คือ ความเชื่อ,   ควาวมพอใจ,   การฟังสืบ ๆ มา ,   การตรึกตามอาการ ,   ความชอบใจตรงตามความเห็นของตน   มีผลเป็น   ๒ ทาง   ( คือผิดก็ได้ถูกก็ได้ เป็นการเตือนไม่ให้ติดความเชื่อ ความพอใจ เป็นต้น ).

   ๔. ครั้นแล้วตรัสถามว่า ในสมัยใดมีความพยายาม ความเพียรกล้า ในสมัยกล้า ในสมัยนั้นย่อมได้เสวยทุกข์เวทนากล้า แต่สมัยใดความพยายาม ความเพียรไม้กล้า ในสมัยนั้นก็มิได้เสวยเวทนาทุกขเวทนากล้าใช่หรือไม่ เมื่อพวกนิครนถ์ยอมรับว่าเป็นเช่นนั้น ( อันเป็นการยอมรับว่าตนสร้างทุกขเวทนาขึ้นเองในปัจจุบัน ขัดกันกับหลักการที่ว่า เวทนาเกิดมาจากการกระทำในกาลก่อน ). พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นก็ไม่ควรกล่าวว่า เวทนาทุกชนิด เนื่องมาจากเหตุที่กระทำไว้ในกาลก่อน .

   ๕. ตรัสถามว่าพวกนิครนถ์ว่า ด้วยความพยายามและความเพียร จะสามารถเปลี่ยนกรรมที่จะให้ผลในปัจจุบันหรือให้ผลในชาติหน้า หรือให้ผลเป็นทุกข์ กลายเป็นตรงกันข้ามจะได้หรือไม่ ตอบว่า ไม่ได้ จึงตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นความพยายามความเพียรของพวกนิครนถ์ก็ชื่อว่าไร้ผล.

   ๖. ตรัสกับภิกษุทั้งหลายต่อไปว่า พวกนิครนถ์ที่มีความเห็นอย่างนี้ ย่อมถูกติเตียนโดยฐานะ ๑๐ คือติเตียนโดยฐานะ ๑๐ คือ   ๑. ถ้าสัตว์เสวยสุขทุกข์ เพราะเหตุที่ทำไว้ในกาลก่อน พวกนิครนถ์ ( ที่ได้รับทุกข์หนักเพราะทรมานตัว ) ก็คงทำกรรมชั่วไว้     ๒. ถ้าสัตว์เสวยสุขทุกข์ เพราะท่านผู้เป็นใหญ่สร้าง ( หรือบันดาล ) ท่านผู้เป็นใหญ่ก็คงจะชั่วชาติ จึงสร้างให้พวกนิครนถ์ได้รับทุกข์    ๓. ถ้าสัตว์เสวยสุขทุกข์ เพราะเหตุบังเอิญ พวกนิครนถ์ก็ประสบเหตุบังเอิญที่ชั่ว เพราะได้รับทุกขเวทนาอย่างหนัก    ๔. ถ้าสัตว์เสวยสุขทุกข์ เพราะชาติกำเนิด ชาติกำเนิดของนิครนถ์ก็คงจะชั่ว จึงทำให้เสวยทุกขเวทนาหนัก.    ๕. ถ้าสัตว์เสวยสุขทุกข์ เพราะความพยายามในความปัจจุบัน ความพยายามในปัจจุบันของพวกนิครนถ์ก็คงจะชั่ว จึงทำให้เสวยทุกข์เวทนาหนัก    ๖. ถ้าสัตว์เสวยสุขทุกข์   เพราะเหตุที่ทำไว้ในกาลก่อน หรือมิใช่เพราะเหตุที่ทำไว้ในกาลก่อน พวกนิครนถ์ก็ถูกติเตียน    ๗. ถ้าสัตว์เสวยสุขทุกข์   เพราะท่านผู้เป็นใหญ่สร้างหรือไม่ก็ตาม พวกนิครน์ก็ถูกติเตียน     ๘. ถ้าสัตว์เสวยสุขทุกข์   เพราะเหตุบังเอิญหรือไม่ก็ตาม   พวกนิครนถ์ก็ถูกติเตียน    ๙. ถ้าสัตว์เสวยสุขทุกข์   เพราะชาติกำเนิดหรือไม่ก็ตาม พวกนิครนถ์ก็ถูกติเตียน    ๑๐. ถ้าสัตว์เสวยสุขทุกข์   เพราะความพยายามในปัจจุบันหรือไม่ก็ตาม พวกนิครนถ์ก็ถูกติเตียน ( เพราะลัทธิของพวกนี้คือทรมานตัวให้ได้รับความลำบาก).

   ๗. ครั้นแล้วทรงแสดงวิธีที่ความพยายาม ความเพียรจะมีผล คือไม่ปล่อยตัวให้ทุกข์ครอบงำไม่สละสุขที่ถูกธรรม   ไม่ติดอยู่ในสุขนั้น   มีปัญญารู้เห็นตามเป็นจริง   ก็จะคลายความกำหนัดยินดีเสียได้ ความทุกข์ก็จะหมดไปได้.   ความพยายาม   ความเพียร   จึงชื่อว่ามีผล. ( ตอนนี้เป็นการแสดงหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ).

   ๘. ทรงแสดงต่อไปว่า ภิกษุพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ถ้าอยู่สบาย อกุศลธรรมจะเจริญ กุศลธรรมจะเสื่อม ถ้าตนไว้ในทุกข์ อกุศลธรรมจะเสื่อม กุศลธรรมจะเจริญ ก็จะตั้งตนไว้ในทุกข์ เพื่อให้อกุศลธรรมเสื่อม และเพื่อให้กุศลธรรมเจริญ. แต่ในสมัยอื่นจะไม่ทำเช่นนั้น เพราะสำเร็จประโยนช์แล้วจึงไม่ต้องทำเช่นนั้นอีก เปรียบเหมือนช่างศรอย่างลูกศร ดัดลูกศรที่ง่ามไม้ ทำให้ตรงใช้การได้ ภายหลังก็ไม่ต้องย่าง หรือดัดซ้ำอีกอย่างนี้ก็เป็นอีกประการหนึ่งที่ความพยายามความเพียรชื่อว่ามีผล.

   ๙. ครั้นแล้วทรงแสดงถึงการมีบุคคลออกบวช   เว้นความชั่ว   มีศีล   สำรวมอินทรีย์   เจริญสมาธิละนีวรณ์ ๕   บำเพ็ญฌาณทั้งสี่   ได้วิชชา ๓   มีอาสวักขยฌาณ (ความรู้อันทำให้สิ้นอาสวะ ) เป็นที่สุด   ความพยายาม   ความเพียร   ก็ชื่อว่ามีผลเป็นข้อ ๆ มา.

   ๑๐. ทรงแสดงในที่สุดว่า พระคถาคตได้เสวยสุขเวทนาอันไม่มีอาสวะ (ตรงกันข้ามกับนิครนถ์ที่เสวยทุกขเวทนาอันหนัก ) จึงได้รับการสรรเสริญทั้งสิบ   ฐานะ   ( ตรงกันข้ามกับการที่พวกนิครนถ์ถูกติเตียนทั้งสิบฐานะดั่งกล่าวแล้ว ตามข้อ ๖).

   

๒. ปัญจัตตยสูตร
สูตรว่าด้วยความเห็น   ๕ ประการที่จัดเป็นประเภทได้ ๓

    ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม . ตรัสแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายถึงสมณพราหมณ์บางพวกที่มีความเห็นปรารภส่วนสุดเบื้องปลาย ( เมื่อตาย ) คือ    ๑. อัตตาที่มีความจำได้หมายรู้ ย่อมไม่มีโรคหลังจากตายแล้ว    ๒. อัตตาที่ไม่มีความจำได้หมายรู้ ย่อมไม่มีโรคหลังจากตายแล้ว   ๓. อัตตาที่มีความจำได้หมายรู้ก็ไม่ใช่ ไม่มีความจำได้หมายรู้ก็ไม่ใช่ ย่อมไม่มีโรคหลังจากตายแล้ว   ๔. บางพวกบัญญัติความขาดสูญของสัตว์ที่เป็นอยู่    ๕. บางพวกบัญญัตินิพพานในปัจจุบัน.  ความเห็นทั้งห้าประการนี้จัดได้เป็น ๓ ประเภท คือ    ๑. บัญญัติตนว่าไม่มีโรคหลังจากตาย   ๒. บัญญัติความขาดสูญของสัตว์    ๓. บัญญัตินิพพานในปัจจุบัน.

   ๒. ครั้นแล้วทรงแจกรายละเอียดแห่งความเห็น ๕ ประการนั้น และตรัสรูปในตอนท้ายว่า ตถาคตรู้เท่า เห็นความถอนตัวจากความเห็นนั้น ๆ ได้ จึงก้าวล่วงความเห็นนั้น. แล้วได้ทรงแสดงถึงความเห็นปรารภเบื้องปลาย และความเห็นปรารภเบื้องต้น แล้วชี้ให้เห็นว่าตถาคตมีความไม่ยึดมั่นถือมั่น หลัดพ้น ( อนุปาทาวิโมกข์).

   

๓. กินติสูตร
สูตรว่าด้วยความคิดว่า   “ เป็นอย่างไร ”

    ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ราวป่า อันเป็นที่นำพลีกรรมไปทำพิธี ใกล้กรุงกุสินารา ณ ที่นั้นได้ตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ความคิดเห็นในพระองค์เป็นอย่างไร คือเห็นว่าพระองค์ทรงแสดงธรรม เพราะเหตุแห่งจีวร ,   บิณฑบาต ,   เสนาสนะ ,  ความเป็นนั้นเป็นนี่   หรือไม่เป็นนั้นเป็นนี่อย่างนั้นหรือ. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า มิได้คิดเช่นนั้น.

   ๒. ตรัสต่อไปว่า เมื่อไม่คิดเช่นนั้น เธอคิดอย่างไรเล่า กราบทูลว่า คิดว่าพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมด้วยความอนุเคราะห์. จึงตรัสว่า ถ้าเป็นเช่นนั้น ท่านทั้งหลายทั้งปวงก็พึงพร้อมเพียงไม่วิวาทกัน ศึกษาในสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น จนถึงอริยมรรคมีองค์ ๘ ( โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ) เมื่อศึกษาอย่างนี้ ถ้าภิกษุ   ๒ รูป มีวาทะต่างกันในอภิธรรม ก็พึงเข้าไปหาภิกษุที่ว่าง่ายกว่า พูดให้รู้ถึงความต่างกันโดยอรรถะพยัญชนะ เตือนว่าอย่าให้วิวาทกัน อันไหนถือมาผิด ( หรือเรียนมาผิด ) ก็พึงทรงจำไว้แล้วกล่าวแต่ที่เป็นธรรมเป็นวินัย.

   ๓. ต่อจากนั้นทรงแสดงเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ภิกษุผู้มีวาทะต่างกันโดยอรรถะ เสมอกันโดยพยัญชนะบ้าง ,   เสมอกันโดยอรรถะ ต่างกันโดยพยัญชนะบ้าง,   เสมอกันทั้งโดยอรรถะทั้งพยัญชนะบ้าง ควรเข้าไปหาฝ่ายที่ว่าง่าย แล้วชี้แจงและทรงจำไว้ให้ดี กล่าวแต่ที่เป็นธรรมเป็นวินัย.

   ๔. ต่อจากนั้นทรงแสดงว่า เมื่อภิกษุพร้อมเพรียงกันศึกษาอยู่ มีภิกษุรูปใดรูปหนึ่งต้องอาบัติ   ก็ยังไม่พึงโจทท้วง   พึงพิจารณาตัวบุคคลก่อน   ถ้าพอว่ากล่าวได้ไม่ยุ่งยาก ก็พึงว่ากล่าว ถ้าจะยุ่งยาก เกิดการเบียดเบียน ก็พึงวางเฉย.

   ๕. ถ้ามีปากเสียงกัน มีความไม่พอใจเกิดขึ้น ก็พึงกล่าวกะภิกษุผู้ว่าง่าย ให้เห็นโทษว่าสมณะพึงติเตียน ,   ไม่ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน,   เมื่อภิกษุอื่นถามว่า อาจจะทำให้ภิกษุเหล่านั้นออกจากอกุศล ตั้งอยู่ในกุศลได้หรือไม่ ถ้าจะตอบให้ดี ก็พึงตอบว่า เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค สดับธรรมที่ทรงแสดงแล้ว กล่าวธรรมนั้น แก่ภิกษุเหล่านั้น พวกเธอก็ออกจากอกุศล ตั้งอยู่ในอกุศลได้. ตอบอย่างนี้ไม่เป็นการยกตน ( ว่าสามารถ ) ไม่เป็นการข่มผู้อื่น ( ว่าไม่สามารถ ) และก็จะไม่ถูกตำหนิ.

   

๔. สามคามสูตร
สูตรว่าด้วยเหตุการณ์ที่เกิดในหมู่บ้านชื่อสามะ

    ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ สามคาน แคว้นสักกะ ครั้งนั้นนิครนถนาฏบุตรถึงแก่กรรมในกรุงปาวาแล้วไม่นาน สาวกก็แตกกัน ทะเลาะกัน พระจุนทะเข้าไปหาพระอานนท์เล่าความให้ฟัง พระอานนท์จึงนำเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคกราบทูลเรื่องราว และแสดงความปรารถนาที่จะเห็นว่าไม่มีการวิวาทเกิดขึ้นในสงฆ์ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นความสุขแก่ชนเป็นอันมาก.

   ๒. พระผู้มีพระภาคจึงตรัสแก่พระอานนท์ ทรงแสดงโพธิปักขิยธรรม   ๓๗ ประการ ,   มูลเหตุแห่งการทะเลาะวิวาท ๖ ประการ,   อธิกรณ์ ๗ อย่าง,   และในที่สุดได้ทรงแสดงธรรมสำหรับอยู่รวมกัน ๖ ประการที่เรียกว่าสาราณิยธรรม อันเป็นไปเพื่อสงเคราะห์อนุเคราะห์และมีเมตตาต่อกัน เพื่อสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน.

   

๕. สุนักขัตตสูตร
สูตรว่าด้วยสุนักขัตตลิจฉวี

    ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ศาลาเรือนยอด ในป่าใหญ่ใกล้กรุงเวสาลี สมัยนั้นภิกษุหลายรูปพยากรณ์อรหัตตผลในสำนักพระผู้มีพระภาค ( คือพูดว่าตนเป็นพระอรหันต์ ) สุนักขัตตลิจฉวีได้ทราบ จึงเข้าไปกราบทูลถามว่า ภิกษุพวกนั้นพยากรณ์โดยชอบ ( ได้บรรลุจริง ๆ ) หรือสำคัญผิดว่าได้บรรลุ . ตรัสตอบว่ามีทั้งสองประเภท แต่ประเภทที่สำคัญผิดว่าได้บรรลุ ตถาคตก็คิดว่าจักแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น ส่วนผู้ที่แต่งปัญหาเข้ามาถามตถาคต ( เพื่อลองดี ) แม้ตถาคตคิดว่าจักแสดงธรรมแก่เขา ความคิดนั้นก็เป็นอย่างอื่น ( คือรู้สึกว่าฝ่ายหนึ่งเข้าใจผิด อีกฝ่ายหนึ่งตั้งอยู่ในอิจฉาจาร คือความอยาก ความปรารถนาเป็นตัวนำ).

   ๒. เมื่อสุนักขัตตลิจฉวีกราบทูลขอให้ทรงแสดงธรรมเพื่อภิกษุทั้งหลายจักได้ทรงจำไว้ พระผู้มีพระภาคจึงทรงแสดงเรื่องกาม ๕ คือ   รูป   เสียง   เป็นต้น   ที่น่าปรารถนารักใคร่ชอบใจ แล้วทรงแสดงถึงฐานะที่อาจเป็นไปได้ที่บุคคลผู้น้อมไปในโลกามิส ( เหยื่อล่อของโลกมีรูป   เสียง   เป็นต้น) ย่อมพูดย่อมตรึกตรองแต่เรื่องประเภทนั้น คบบุคคลที่น้อมจิตไปในโลกามิสด้วยกัน ไม่สนใจฟังถ้อยคำที่เนื่องด้วย ( ฌานสมาบัติที่เป็น )   อาเนญชะ  ( คือไม่หวั่นไหว ) ไม่คบบุคคลที่มีใจน้อมไปในอาเนญชะนั้น จึงพึงทราบว่าได้ว่าเป็นผู้น้อมไปในโลกามิส.

   ๓. ครั้นแล้วได้ทรงแสดงต่อไปถึงฐานะที่อาจเป็นไปได้   ที่ผู้น้อมจิตไปในอาเนญชะ ,   ในอากิญจัญญายตนะ ( อรูปสมาบัติที่ ๓ ),   ในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ( อรูปสมาบัติที่ ๔ )   และในสัมมานิพพาน ( สภาพที่ดับกิเลสและความทุกข์โดยชอบ ) แต่ละข้อ   ย่อมพูด   ย่อมตรึกตรองแต่เรื่องที่ตนสนใจ   ไม่สนใจฟังในเรื่องที่ต่ำกว่า ( ระบุชื่อเป็นชั้น ๆ จนถึงสัมมานิพพานซึ่งถือว่าสูงสุด )   จึงพึงทราบได้ว่าเป็นผู้น้อมไปในอาเนญชะ.   ในอากิญจัญญายตนะ   เป็นต้น จนถึงสัมมานิพพาน.

   ๔. แล้วทรงแสดงถึงฐานะที่อาจเป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปรู้ว่า ลูกศรคือตัณหาอันพระสมณะ ( พระพุทธเจ้า ) ได้ตรัสไว้ พิษร้ายคืออวิชชา ย่อมกำเริมเพราะฉันทราคะ ( ความกำหนัดเพราะพอใจ ) และพยาบาท ( ความคิดปองร้าย ) ถ้าละลูกศรคือตัณหาได้ นำพิษร้ายคืออวิชชาออกได้ ตนก็จะน้อมไปในสัมมานิพพาน แต่ก็ประกอบเนือง ๆ ในทางที่แสลงต่อสัมนิพพาน จึงถูกราคะครอบงำจิตถึงความตาย ( จากศาสนา ) หรือทุกข์ปางตาย ( ต้องอาบัติเศร้าหมองอื่น ๆ ) และทรงแสดงภิกษุที่ตรงกันข้าม คือรู้แล้วไม่ประกอบเนือง ๆ ในทางที่แสลงต่อสัมมานิพพานจึงไม่เป็นเช่นนั้น .   ทรงเปรียบเหมือนคนถูกลูกศรไปให้หมอผ่าตัดถอนเอาลูกศรออกแล้ว   แต่กินของแสลง   และไม่รักษาปากแผลให้ดี แผลก็อาจกำเริมทำให้ถึงตาย  หรือทุกข์ปางตายได้   และเหมือนบุคคลที่ไม่กินของแสลง   รักษาปากแผลดี   แผลก็ไม่กำเริบ.

   ๕. ตรัสต่อไปว่า ภิกษุผู้สำรวมในอายตนะ ๖   ( มี ตา,   หู   เป็นต้น ) รู้ว่ากิเลสเป็นรากของความทุกข์   เป็นผู้ไม่มีกิเลส   หลุดพ้นเพราะสิ้นกิเลสแล้ว   ก็มิใช่ฐานะที่จะนำกายเข้าไปเกลือกกลั้วในสิ่งที่ตั้งแห่งกิเลสและคิดในทางที่เป็นกิเลส เปรียบเหมือนคนรู้ผู้รักชีวิตย่อมไม่ดื่มยาพิษ   ไม่ยื่นมือ   หรือหัวแม่มือ   หัวแม่เท้า   เข้าหางูพิษ.

   

๖. อาเนญชสัปปายสูตร
สูตรว่าด้วยปฏิปทาเป็นที่สบายแก่อาเนญชะ

    ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ นิคมชื่อกัมมาสธัมมะ แคว้นกุรุ ณ ที่นั้น ได้ตรัสชี้ให้เห็นโทษของกามและกามสัญญา ( ความกำหนดหมายเกี่ยวกับกาม ) ว่า ทั้งสองอย่างนี้เป็นบ่วงมาร ,   เป็นวิสัยของมาร,   เป็นเหยื่อล่อของมาร ,   เป็นที่โคจรของมาร.

   ๒. ทรงแสดงว่าอริยสาวกพิจารณาเห็นอย่างนี้ อยู่ด้วยจิตอันเป็นมหัคคตะ ( เป็นฌาน ) เมื่อตายไปก็มีฐานะที่วิญญาพึงเข้าถึงอาเนญชะ   ( ความเป็นสภาพที่ไม่หวั่นไหว ) นี้จัดเป็นข้อปฏิบัติที่ ๑   อันเป็นที่สบายแก่ ( เข้ากันได้กับ ) อาเนญชะ.

   ๓. ทรงแสดงข้อปฏิบัติที่ ๒   อันเป็นที่สบายแก่อาเนญชะ เช่นข้อแรก แต่เพิ่มการพิจารณารูป   ทั้งมหาภูตรูป ( รูปใหญ่ได้แก่ธาตุทั้งสี่ ) และอุปาทายรูป ( รูปที่ปรากฏเพราะอาศัยธาตุทั้งสี่ ).

   ๔. ทรงแสดงข้อปฏิบัติที่ ๓   อันเป็นที่สบายแก่อาเนญชะ แต่เพิ่มการพิจารณารูปและรูปสัญญา   ( ความกำหนดหมายรูป )   ให้เห็นไม่เที่ยง   ไม่ควรยินดี .

   ๕. ทรงแสดงข้อปฏิบัติที่ ๑   ที่ ๒   ที่ ๓   อันเป็นที่สบายแก่อากิญจัญญายตนะ ( อรูปสมาบัติที่ ๓ ) ว่า ได้แก่    ๑. การที่อริยสาวกพิจารณาเห็นว่า   กาม,   กามสัญญา ,   รูป,   รูปสัญญา ,   อาเนญชสัญญา   ดับไม่มีเหลือ   ในอากิญจัญญายตนะ   ( สมาบัติหรือฌานที่มีความไม่มีอะไรเป็นอารมณ์ ).   พิจารณาเห็นว่าอากิญจัญญายตนะ ว่างจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน และ    ๓. พิจารณาเห็นว่า   เราไม่มีในที่ไหน ๆ ,   เราไม่เกี่ยวข้องกับใคร ๆ   ไม่เกี่ยวข้องกับเราในที่ไหน ๆ ,   เราไม่มีเกี่ยวข้องอะไรเลย   ( พิจารณาความไม่มีอะไร ๔ แง่ ).

   ๖. ทรงแสดงข้อปฏิบัติที่เป็นที่สบายแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ   ( อรูปสมาบัติที่ ๔ ) ว่า ได้แก่การที่อริยสาวกพิจารณาเห็นว่า กาม ,   กามสัญญา ,   รูป ,  รูปสัญญา,   อาเนญชสัญญา   ดับไม่มีเหลือในเนวสัญญานาสัญญายตนะ   (สมบัติที่มีสัญญาก็ไม่ใช่   ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่).

   ๗. พระอานนท์กราบทูลถามว่า   ภิกษุผู้ปฏิบัติอย่างนี้วางเฉยได้   จะพึงปรินิพพานหรือไม่ปรินิพพาน . ตรัสตอบว่า   ปรินิพพานก็มี   ไม่ปรินิพพานก็มี .   ที่ไม่ปรินิพพานก็เพราะยังมีอุปาทาน   คือยืดมั่นเนวสัญญานาสัญญายตนะ   ที่ปรินิพพานก็เพราะไม่มีอุปาทาน.

   ๘. พระอานนท์กราบทูลถามว่า   ความหลุดพ้นอันเป็นอริยะ   ( อริยวิโมกข์ )   เป็นอย่างไร   ตรัสตอบว่า ได้แก่อมตะ   คือความหลุดพ้นแห่งจิต   เพราะไม่ยืดมั่นสิ่งต่าง ๆ   ที่รวมเรียกว่าสักกะ ( กายของตน )   คือ  กาม,  กามสัญญา,  รูป,   รูปสัญญา,  อาเนญชสัญญา,   อากิญจัญญายตนสัญญาและเนวสัญญานาสัญญาตนสัญญา.

   ๙. ครั้นแล้วตรัสชี้แจงว่า   นั่นโคนไม้,   นั่นเรือนไม้,  นั่นเรือนว่าง,  ท่านทั้งหลายจงเพ่ง,  จงอย่าประมาท,  จงอย่าเดือดร้อนในภายหลัง.   นี้แลคืออนุสาสนีของเรา.

   

๗. คณกโมคคัลลานสูตร
สูตรว่าด้วยพราหมณ์ชื่อคณกโมคคัลลานะ

    ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ปราสาทของนางวิสาขาในบุพพาราม ใกล้กรุงสาวัตถี ตรัสตอบเรื่องอนุปพพสิกขา ( ข้อศึกษาโดยลำดับ ) อนุปพพปฏิปทา ( ข้อปฏิบัติโดยลำดับ ) ในพระธรรมวินัยนี้ แก่คณกโมคคัลลานพราหมณ์ผู้ทูลถาม โดยชี้ไปที่:-
   ๑. การมีศีลสำรวมในปฏิโมกข์   ( ศีลที่เป็นประธาน )
   ๒. การสำรวมอินทรีย์ คือ   ตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ
   ๓. ความเป็นผู้รู้ประมาณในอาหาร
   ๔. การประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่น ( ไม่เห็นแก่นอนมากนัก )
   ๕. การมีสติสัมปชัญญะ        ๖. การบำเพ็ญสมาธิชำระจิตจากนีวรณ์ ๕
   ๗. การสงบจากกาม   จากอกุศลธรรม   บำเพ็ญฌานที่ ๑   ถึงฌานที่ ๔

   ๒. พราหมณ์ถามว่า พระนิพพานมีอยู่ ทางไปสู่พระนิพพานมีอยู่ พระสมณโคดมผู้ทรงชักชวนให้ไปก็มีอยู่ เหตุไฉนบางคนที่ได้รับคำสั่งสอนแล้วจึงได้บรรลุ บางคนจึงมิได้บรรลุ. ตรัสตอบว่า เหมือนชี้ทางให้คนไปกรุงราชคฤห์ แต่ไปทางอื่นเสียก็ไปไม่ถึง ถ้าไปถูกทางตามที่ชี้ก็ถึงได้. คนกโมคคัลลานพราหมณ์ กราบทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนา แสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต.

   

๘. โคปกโมคคัลลานสูตร
สูตรว่าด้วยพราหมณ์ชื่อโมคคัลลานะ

    ๑. พระผู้มีพระภาคปรินิพพานแล้วไม่นาน พระอานนท์อยู่ในเวฬวนาราม ใกล้กรุงราชคฤห์ พระเจ้าอชาตศัตรูกำลังให้ซ่อมแซมกรุงราชคฤห์ เพื่อทรงต้อนรับพระเจ้า ( จัณฑ ) ปัชโชต ( ผู้เป็นสหายของพระเจ้าพิมพิสารพระราชบิดา ) พระอานนท์แวะไปสนทนากับโคปโมคคัลลานพราหมณ์ ( ซึ่งกำลังอยู่ที่โรงงาน). พราหมณ์ถามถึงภิกษุผู้มีคุณธรรมเท่าพระพุทธเจ้าว่า   มีหรือไม่   ตอบว่า   ไม่มี   แล้วชี้ว่า   พระพุทธเจ้าทรงชี้ทางพระสาวกเป็นผู้ดำเนินตามทาง.

   ๒. วัสสการพราหมณ์ตรวจงานมาพบ   จึงถามว่า   พระศาสดาทรงตั้งใครเป็นที่พึ่งที่ระลึกแทนพระองค์ .   ตอบว่า   ไม่ได้ทรงตั้งใคร.   ถามว่า   มีใครที่สงฆ์แต่งตั้งให้เเทนหรือไม่   ตอบว่า   ไม่มี.   ถามว่าถ้าอย่างนั้น   ก็ไม่มีที่พึ่งที่ระลึก.   ตอบว่า   มี   คือมีพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก.   พราหมณ์ขอให้อธิบาย จึงอธิบายถึงการที่ภิกษุประชุมกันสวดปาฏิโมกข์ จัดการกับภิกษุที่ต้องอาบัติ   ไม่ใช่ถือว่าบุคคลจัดการ   แต่พระธรรมจัดการ.   เมื่อถามว่า มีภิกษุสักรูปหนึ่งไหมที่ท่านเคารพนับถืออยู่อาศัย   ตอบว่า   มี.   ถามว่า เมื่อตอบปฏิเสธว่า   ไม่มีใครแทนพระพุทธเจ้า   แล้วกลับตอบรับว่า   มีผู้ที่ท่านเคารพนับถืออยู่อาศัย   จะหมายความอย่างไร.

   ๓. พระอานนท์จึงตอบว่า พระผู้มีพระภาคตรัสธรรมะที่น่าเลื่อมใส   ๑๐ ประการไว้ ธรรมเหล่านี้ มีในผู้ใด เราย่อมเคารพนับถืออยู่อาศัยผู้นั้น. ธรรมะ ๑๐ ประการ คือ    ๑. มีศีล   ๒. มีการสดับมาก   ๓. ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ( สันโดษ )    ๔. ได้ฌาน ๔ ตามต้องการ    ๕. แสดงฤทธิ์ได้   ๖. มีหูทิพย์   ๗. กำหนดรู้จิตใจของผู้อื่น   ๘. ระลึกชาติได้   ๙. มีตาทิพย์   ๑๐. ทำอาสวะให้สิ้น.

   ๔. วัสสการพราหมณ์ถามอุปนนทเสนาบดีว่า ท่านเหล่านี้ ชื่อว่าเคารพบูชาผู้ควรเคารพบูชาหรือไม่. เสนาบดียอมรับว่า เคารพบูชาผู้สมควร . วัสสการพราหมณ์จึงถามพระอานนท์ถึงที่อยู่ เมื่อทราบว่าอยู่ ณ เวฬุวนาราม ก็พูดเท้าความถึงพระผู้มีพระภาคเรื่องการบำเพ็ญฌาน โดยถามว่า พระโคดมทรงสรรเสริญฌาน ทุกชนิดหรือไม่. ตอบว่า มิได้ทรงสรรเสริญฌานทุกชนิด แต่จะไม่สรรเสริญฌานเสียทั้งหมดก็หาไม่. พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสสรรเสริญผู้บำเพ็ญฌานอย่างไม่รู้ความจริงเกี่ยวกับนีวรณ์ ๕   ( กิเลสอันกั้นจิตมิให้บรรลุความดี ) ปล่อยให้นีวรณ์ครอบงำ. ตรัสสรรเสริญภิกษุผู้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม   บำเพ็ญฌานที่ ๑   ถึงฌานที่ ๔.

   ๕. วัสสการพราหมณ์ยอมรับว่า พระโคดมทรงฒิฌานที่ควรติ ทรงสรรเสริญฌานที่ควรสรรเสริญแล้วลาไป. โคปกโมคคัลลานพราหมณ์พูดกับพระอานนท์ว่า ยังไม่ตอบคำของตน ( ในข้อ ๑ ) พระอานนท์ว่าตอบแล้ว คือไม่มีภิกษุที่มีคุณธรรมเท่าพระพุทธเจ้า . พระองค์เป็นผู้ชี้ทาง พระสาวกเป็นผู้ดำเนินตามทาง.

   

๙. มหาปุณณมสูตร
สูตรว่าด้วยคืนพระจันทร์เต็มดวง สูตรใหญ่

    ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ปราสาทของนางวิสาขาในบุพพาราม ใกล้กรุงสาวัตถี ประทับนั่งในที่แจ้ง แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์ในคืนพระจันทร์เต็มดวง   ๑๕ ค่ำ ภิกษุรูปหนึ่งกราบทูลถามเรื่องอุปาทานขันธ์ (ขันธ์ที่ยึดถือ )   ๕ อย่าง พระผู้มีพระภาคตรัสตอบโดยใจความ คือ:-

   ๑. ขันธ์ ๕   มีความพอใจเป็นมูล    ๒. อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ๕   เป็นอันเดียวกัน   อุปาทานไม่อื่น   จากอุปาทานขันธ์ ๕   คือความกำหนัดเพราะพอใจในอุปาทานขันธ์ ๕   จัดเป็นอุปาทาน    ๓. มีความต่างกันแห่งความกำหนัดเพราะพอใจในอุปาทานขันธ์ ๕   เช่น ความคิดปรารถนาให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ในอนาคต   ๔. คำว่า ขันธ์   หมายถึงขันธ์ ๕   ทั้งสามกาล   ทั้งภายใน,   ภายนอก,  หยาบ,  ละเอียด,  เลว,   ประณีต,  ไกล,  ใกล้   ๕. เหตุปัจจัยที่ให้บัญญัติขันธ์ ๕   คือธาตุ ๔   เป็นเหตุปัจจัยให้บัญญัติรูปขันธ์ (กองรูป )   ผัสสะ   เป็นเหตุปัจจัยให้บัญญัติเวทนาขันธ์ ,   สัญญาขันธ์,และสังขารขันธ์ นามรูปเป็นปัจจัยให้บัญญัติวิญญาณ    ๖. สักกายทิฏฐิ  คือความเห็นรูปเป็นต้น ( ดูที่พระสุตตันตะเล่ม ๔ หน้า ๕) ในหัวข้อ๔๔ . จูฬเวทัลลสูตรหมายเลข ๒    ๗. สักกายทิฏฐิ   จะไม่มีได้   ด้วยไม่เห็นว่ารูปเป็นตน   เป็นต้น.   ๘. ความสุขกาย   สุขใจ  เป็นอัสสาทะ   ( ความพอใจ ) ในขันธ์ ๕,   ความไม่เที่ยง   เป็นทุกข์แปรปรวน   เป็นโทษในขันธ์ ๕,   การละความกำหนัดเพราะพอใจ   เป็นการหลุดพ้น   หรือการถอนตัวในขันธ์ ๕ .    ๙. ภิกษุรู้เห็นขันธ์ ๕   ตามเป็นจริง   ไม่ยึดถือ   ก็จะไม่มีอหังการ   ( ความถือว่าเป็นเรา )   มมังการ   ( ความถือว่าเป็นของเรา )   และมานะ   ( ความถือตัว )   เป็นกิเลสแฝงตัว.

   ๒. ภิกษุรูปหนึ่งเกิดสงสัยว่า   ขันธ์ ๕   เป็นอนัตตา ( ไม่ใช่ตัวตน )   กรรมที่อนัตตาเป็นผู้ทำ   จะถูกต้องอัตตาอะไร   จึงตรัสถามให้เธอเห็นทีละข้อว่า ขันธ์ ๕  ไม่เที่ยง   เป็นทุกข์   ไม่ใช่ตัวตน   ไม่ควรยึดมั่นถืออย่างไร.

   เมื่อจบพระธรรมเทสนา   ภิกษุประมาณ   ๖๐ รูป   มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ   ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน   ( เป็นพระอรหันต์).


๑. คำว่า   นิพพาน   ในปัจจุบันพระพุทธศาสนาก็แสดงถึงเหมือนกัน แต่ในที่นี้ หมายถึงเข้าใจผิดว่า   ความสุข   บางชั้น   เช่น   สุขในกาม   สุขในฌาน   ว่าเป็นพระนิพพานในปัจจุบน

๒ คำว่า   อภิธรรม   ในที่นี้ อรรถกถาแก้ว่า   ธรรมอันวิเศษยิ่ง   คือโพธิปักขิยธรรม   ๓๗ ประการ ( ดูที่พระสุตตันตะเล่ม ๒ หน้า ๒ ในหัวข้อเสด็จป่ามหาวัน ) มีสติปัฏฐาน ๔ ( ดูที่พระสุตตันตะ เล่ม ๒ หน้า ๔ ) ในหัวข้อ๙. มหาสติปัฏฐานสูตร เป็นต้น

๔. ความสำคัญแห่งสูตรนี้ ได้กล่าวไว้แล้ว ( ดูที่ความน่ารู้เรื่องพระไตรปิฎกเรื่องพระจุนนเถระผู้ปรารถนาดี

๕. อรรถกถาแก้ว่า  สมาบัติ ๖   เบื้องต่ำ ( รูปฌาน ๔   อรูปฌานที่ ๑   ที่ ๒   รวมเป็น ๖)

๖. ความหมายของอรูปสมาบัติทั้งสองข้อนี้ (ดูที่ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก) หมายเลข ๘ - ๙

๗. คำว่า อาเนญชะนี้ได้แก่อะไร เป็นปัญหาสำคัญยิ่งทางวิชาการ . ในสุนักขัตตสูตรที่ ๕   แสดงว่าฌานหรือสมาบัติ   ๖ เป็นอาเนญชะ ( รูปฌาน ๔   อรูปฌานที่ ๑   ที่ ๒ ) แต่เวลาอธิบายอเนญชาภิสังขาร พระอรรถกถาจารย์ได้อธิบายว่า เจตนาในอรูปฌาน ๔  เป็นอเนญชาภิสังขาร   ไม่พูดถึงรูปฌานเลย   คงเอารูปฌานไปไว้ใน  ปุญญาภิสังขาร   แต่ลีลาพระพุทธภาษิตที่แสดงในสูตรนี้และในสุนักขัตตสูตร   ก่อนถึงสูตรนี้   อาเนญชะ   มีความหมายคลุมทั้งรูปฌาน ๔   และอรูปฌานที่ ๑   ที่ ๒   ดังกล่าวแล้ว.   อนึ่ง คำว่า   อาเนญชะ   แปลว่า   ความเป็นสภาพไม่หวั่นไหว.   แต่ในเล่ม ๒๑   จตุกกนิบาติ   อังคุตตรนิกาย   ทรงอธิบายอาเนญชะว่า   ได้แก่รูปฌาน ๔

๘. ความเห็นเป็นเหตุยึดกายของตน

 

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ