บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



พระสุตตันตปิฎก

พระสุตตันตปิฎก
ปิฎกเล่ม ๖
หมวดนี้มี

๑.เทวทหสูตร
๒.ปัญจัตตยสูตร
๓.กินติสูตร
๔.สามคามสูตร
๕. สุนักขัตตสูตร
๖.อาเนญช
สัปปายสูตร
๗.คณก
โมคคัลลานสูตร
๘.โคปก
โมคคัลลานสูตร
๙.มหาปุณณมสูตร
๑๐.จูฬปุณณมสูตร
๑๑.อนุปทสูตร
๑๒.ฉวีโสธน
๑๓.สัปปุริสธัมมสูตร
๑๔.เสวิตัพพา
เสวิตัพพสูตร
๑๕.พหุธาตุสูตร
๑๖.อิสิคิลิสูตร
๑๗.มหา
จัตตาฬีสกสูตร
๑๘. อานา
ปานสติสูตร
๑๙.กายคตาสติสูตร
๒๐.สังขารูปปัตติสูตร
๒๑. จูฬสุญญตสูตร
๒๒.อัคคิวัจฉ
มหาสุญญตสูตร
๒๓.อัจฉริยัพ
ภูตธัมมสูตร
๒๔.พักกุลัตเถรัจ
ฉริยัพภูตธัมมสูตร
๒๕.ทันตภูมิสูตร
๒๖.ภูมิชสูตร
๒๗.อนุรุทธสูตร
๒๘.อุปักกิเลสสูตร
๒๙.พาลบัณฑิตสูตร
๓๐. เทวทูตสูตร
๓๑.ภัทเทกรัตตสูตร
๓๒.อานันทภัท
เทกรัตตสูตร
๓๓.มหากัจจาน
ภัทเทกรัตตสูตร
๓๔.โลมสกังคิยสูตร
๓๕.จูฬกัมม
วิภังคสูตร
๓๖.มหากัมมวิภังคสูตร
๓๗.สฬตนวิภังคสูตร
๓๘.อุทเทสวิภังคสูตร
๓๙.อรณวิภังคสูตร
๔๐.ธาตุภังคสูตร
๔๑. สัจจวิภังคสูตร
๔๒.ทักขิณา
วิภังคสูตร
๔๓.อนาถปิณฑิโกวาทสูตร
๔๔.ฉันโนวาทสูตร
๔๕.ปุณโณวาทสูตร
๔๖.นันท
โกวาทสูตร
๔๗.จูฬราหุ
โลวาทสูตร
๔๘.ฉฉักกสูตร
๔๙.สฬายตนวิภังคสูตร
๕๐.นครวินเทยยสูตร
๕๑.ปิณฑ
ปาตปาริสุทธิ
๕๒.อินทริยภาวนา

 

หน้าที่ ๑ ๑.เทวทหสูตร
๒.ปัญจัตตยสูตร
๓.กินติสูตร
๔.สามคามสูตร
๕. สุนักขัตตสูตร
๖.อาเนญช
สัปปายสูตร
๗.คณก
โมคคัลลานสูตร
๘.โคปก
โมคคัลลานสูตร
๙.มหาปุณณมสูตร

 

หน้าที่ ๒
๑๐.จูฬปุณณมสูตร
๑๑.อนุปทสูตร
๑๒.ฉวีโสธน
๑๓.สัปปุริสธัมมสูตร
๑๔.เสวิตัพพา
เสวิตัพพสูตร
๑๕.พหุธาตุสูตร
๑๖.อิสิคิลิสูตร
๑๗.มหาจัต
ตาฬีสกสูตร
๑๘.อานา
ปานสติสูตร
๑๙.กายคตาสติสูตร
๒๐.สังขารูป
ปัตติสูตร
๒๑. จูฬสุญญตสูตร
๒๒.อัคคิวัจฉ
มหาสุญญตสูตร
๒๓.อัจฉริยัพ
ภูตธัมมสูตร
๒๔.พักกุลัตเถรัจ
ฉริยัพ
ภูตธัมมสูตร
๒๕.ทันตภูมิสูตร
๒๖.ภูมิชสูตร
๒๗.อนุรุทธสูตร
๒๘.อุปักกิเลสสูตร
๒๙.พาลบัณฑิตสูตร

 

หน้าที่ ๓ ๓๐. เทวทูตสูตร
๓๑.ภัทเทกรัตตสูตร
๓๒.อานันทภัท
เทกรัตตสูตร
๓๓.มหากัจจาน
ภัทเทกรัตตสูตร
๓๔.โลมสกังคิยสูตร
๓๕.จูฬกัมมวิภังคสูตร
๓๖.มหากัมมวิภังคสูตร
๓๗.สฬตนวิภังคสูตร
๓๘.อุทเทสวิภังคสูตร
๓๙.อรณวิภังคสูตร

 

หน้าที่ ๔ ๔๐.ธาตุภังคสูตร
๔๑. สัจจวิภังคสูตร
๔๒.ทักขิณาวิภังคสูตร
๔๓.อนาถปิณฑิโกวาทสูตร
๔๔.ฉันโนวาทสูตร
๔๕.ปุณโณวาทสูตร
๔๖.นันทโกวาทสูตร
๔๗.จูฬราหุโลวาทสูตร
๔๘.ฉฉักกสูตร
๔๙.สฬายตนวิภังคสูตร
๕๐.นครวินเทยยสูตร
๕๑.ปิณฑปาตปาริสุทธิ
๕๒.อินทริยภาวนา

 

เล่มที่ ๑๔ ชื่อมัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
เป็นสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖
หน้า ๔ จบเล่ม
   
๔๐. ธาตุวิภงคคสูตร
สูตรว่าด้วยการแจกธาตุ

    พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นมคธ เสด็จแวะพัก ณ กรุงราชคฤห์ ทรงอาศัยที่อยู่ของช่างหม้อชื่อภัคคะพักแรมคืน . ตรัสแสดงธรรมแก่กุลบุตรชื่อปุกกุสาติผู้บวชอุทิศพระองค์ แต่ไม่รู้จักพระองค์โดยใจความสำคัญ คือ:-

    บุรุษนี้มีธาตุ ๖ ,   มีอายตนะสำหรับถูกต้อง ๖,   มีความท่องเที่ยวไปแห่งใจ ๑๘ อโนปวิจาร ),   มีธรรมที่ควรตั้งใจไว้ในใจ ๔ ,   บุคคลตั้งอยู่ในธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจแล้ว กิเลสย่อมไม่เป็นไป เมื่อกิเลสไม่เป็นไป ก็เรียกได้ว่า มุนีผู้ระงับ,   ไม่ควรประมาทปัญญา ,   ควรตามรักษาสัจจะ ,   ควรเจริญการสละ,   ควรศึกษาความสงบ แล้วได้ตรัสอธิบายรายละเอียด.

    ๒. ในการแจกรายละเอียด   ทรงแสดงธาตุ ๖   ดิน ,  น้ำ ,  ไฟ,ลม ,  อากาศ ,  วิญญาณ ;  อายตนะ   สำหรับถูกต้อง ๖ คือ  ตา,  หู ,  จมูก ,   ลิ้น,   กาย ,   ใจ ;   มโนปวิจาร ๑๘   คือความท่องเที่ยวไปแห่งใจในโสมนัส ( ความดีใจ ) ๖   ในโทมนัส ( ความเสียใจ ) ๖   ในอุเบกขา ( ความรู้สึกเฉย ๆ )   รวมเป็น ๑๘ ;   ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔   คือ   ปัญญา ,  สัจจะ , จาคะ   ( การสละกิเลส ) ,   และอุปสมะ ( ความสงบระงับ ).   แล้วตรัสอธิบายแต่ละข้อโดยพิสดารต่อไปอีก โดยเฉพาะวิญญาณ   ตรัสอธิบายว่า   ได้แก่สิ่งที่รู้แจ้งสุข   ทุกข์  และไม่ทุกข์ไม่สุข   ( ดูมหาเวทัลลสูตรเทียบดูด้วย ในพระสุตตันตะ   เล่ม ๔   หน้า ๕ ) ในข้อ ๔๓ . มหาเวทัลลสูตร

    ๓. พระปุกกุสาติก็รู้ได้ทันทีว่าตนพบพระศาสดาแล้ว จึงก้มลงกราบขอประทานอภัยโทษ พระผู้มีพระภาคตรัสประทานอภัย.   พระปุกกุสาติ ( ซึ่งเดิมบวชเอาเอง )   จึงกราบทูลขอบวชบรรพชาอุปสมบท.   ตรัสสั่งให้หาบาตรจีวร   ในขณะที่หาบาตรจีวรนั้น   ก็ถูกแม่โคขวิดถึงแก่ชีวิต.   เมื่อมีผู้กราบทูลถามถึงคติในสัมปรายภพ ( ภพเบื้องหน้า )   ของปุกกุสาติ   ก็ตรัสตอบว่า เป็นอนาคามี   เพราะละสัญโญชน์เบื้องต่ำ   ๕ ประการได้.

   

๔๑. สัจจวิภังคสูตร
สูตรว่าด้วยการแจกอริยสัจจ์

    พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ป่าอิสิปตนนิคทายวัน แขวงกรุงพาราณสี. ตรัสเล่าเรื่องที่ทรงแสดงธรรมจักร ณ ป่าอิสิปตนมิคทายวัน   แล้วตรัสแนะให้คบพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ซึ่งเป็นบัณฑิต   เป็นผู้อนุเคราะห์เพื่อนพรหมจารี   ( คือเพื่อนผู้รวมประพฤติพรหมจารย์   หรือเพื่อนภิกษุด้วยกัน )   ตรัสเปรียบพระสารีบุตรด้วยผู้ให้ดำเนิด เปรียบพระโมคคัลลานะด้วยผู้เลี้ยงดู ( แม่นม ).   พระสารีบุตรแนะนำให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล   พระโมคคัลลานะก็แนะนำให้ตั้งอยู่ในมรรคผลที่สูง ๆ ขึ้นไป   และพระสารีบุตรเป็นผู้อาจอธิบายอริยสัจจ์ ๔   โดยพิสดาร.

   ๒. เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้แล้ว ก็เสด็จลุกขึ้นเข้าไปสู่พระวิหาร.   พระสารีบุตรก็แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย   อธิบายเรื่องอริยสัจจ์ ๔   โดยพิสดาร.

   

๔๒. ทักขิณาวิภังคสูตร
สูตรว่าด้วยการแจกทักษิณา ( ของทำทาน )

    พระผู้มีพระภาคประทับ ณ นิโครธาราม ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ. พระนางมหาปชาบดีโคตมี นำคู่ผ้าใหม่ซึ่งทรงกรอด้ายเองไปถวายพระผู้มีพระภาค   ขอให้ทรงรับเป็นเป็นการอนุเคราะห์. พระผู้มีพระภาคตรัสแนะให้ถวายในสงฆ์ อันจะชื่อว่าบูชาทั้งพระองค์และพระสงฆ์ .   พระนางมหาปชาบดีโคตมี   ทรงยืนยันขอถวายพระผู้มีพระภาคตามเดินเป็นครั้งที่ ๒   และครั้งที่ ๓   พระผู้มีพระภาคก็ทรงแนะนำตามเดิมแม้ครั้งที่ ๒   แม้ครั้งที่ ๓.

   ๒. พระอานนท์จึงกราบทูลขอให้พระองค์ทรงรับ โดยอ้างอุปการคุณ ซึ่งพระนางมหาปชาบดีโคตมี เคยมีต่อพระผู้มีพระภาคในการที่ทรงเลี้ยงดู   ทรงให้ดื่มถัญญ์ ( น้ำนม )   ภายหลังที่พระพุทธมารดาสวรรคต และอ้างอุปการคุณที่พระผู้มีพระภาคทรงมีต่อพระนางมหาปชาบดี โคตมี   เป็นเหตุให้พระนางถึงพระพุทธ   พระธรรม   พระสงฆ์เป็นสรณะ,   ทรงเว้นจากการฆ่าสัตว์   ลักทรัพย์   ประพฤติผิดในกาม   พูดปด   ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย,   ทรงประกอบด้วยความเลื้อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธ   พระธรรม   พระสงฆ์. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่ ,   ทรงหมดความสงสัยในอริยสัจจ์   ๔ ประการ.   พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า   บุคคลอาศัยผู้ใด   แล้วตั้งอยู่ในคุณธรรมตามที่พระอานนท์กล่าวมานั้น   พระองค์ไม่ตรัสการที่บุคคลนั้นกราบไว้   ลุกขึ้นต้อนรับ   ทำอัญชลีกรรม ( พนมมือไหว้ )   สามีจิกรรม   ( การแสดงอัธยาศัยไมตรีให้เหมาะสมแก่ฐานะ ) และการให้ปัจจัย ๔   มีผ้านุ่งห่ม   เป็นต้น   ว่าเป็นการตอบแทนอันดีต่อผู้ที่ตนอาศัยนั้น.

   ๓. แล้วทรงแสดงทักษิณา ( ของให้หรือของถวาย )   ที่เจาะจงบุคคล ๑๔   ประเภทเป็นข้อ ๆ ไป   คือ   การที่บุคคลถวายทานหรือให้ทาน    ๑. ในพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า    ๒. ในพระปัจเจกพุทธเจ้า    ๓. ในพระอรหันตสาวกของพระตถาคต    ๔. ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล    ๕. ในพระอนาคามี    ๖. ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล    ๗. ในพระสกทาคามี    ๘. ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล    ๙. ในพระโสดาบัน    ๑๐. ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล    ๑๑. ในท่านผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม ภายนอก ( พระพุทธศาสนา )    ๑๒. ในบุถุชน ( คนยังหนาด้วยกิเลส ) ผู้มีศีล    ๑๓. ในบุถุชนผู้ทุศีล    ๑๔. ในสัตว์ดิรัจฉาน.

   ๔. แล้วทรงแสดงว่า ทักษิณา   มีคุณอันพึงหวังได้   คือทานที่ให้ในสัตว์ดิรัจฉาน มีคุณถึงร้อย ,   ในบุถุชนผู้ทุศีล มีคุณถึงพัน ,   ในบุถุชนผู้มีศีล มีคุณถึงแสน ,   ในท่านผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม   ภายนอก ( พระพุทธศาสนา )   มีคุณถึงแสนโกฏิ ,   ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล   มีคุณเป็นอสงไขย ( นับไม่ได้ )   อัปไมย   ( ประมาณไม่ได้ )   จึงไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงทานที่ถวายในบุคคลที่สูงขึ้นไปกว่านี้.

   ๕. แล้วทรงแสดงทักษิณา ( ของถวาย )   ที่เป็นไปในสงฆ์   ๗ ประเภท   คือ    ๑. ในสงฆ์สองฝ่าย (ภิกษุสงฆ์ ,   ภิกษุณีสงฆ์ )   มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข    ๒. ในสงฆ์สองฝ่าย เมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว    ๓. ในภิกษุสงฆ์    ๔. ในภิกษุณีสงฆ์   ๕. ทักษิณาที่เจาะจงภิกษุ   หรือภิกษุณีจำนวนเท่านั้นเท่านี้จากสงฆ์   ๖. ทักษิณาที่เจาะจงภิกษุเท่านั้นเท่านี้จากสงฆ์   ๗. ทักษิณาที่เจาะจงภิกษุณีเท่านั้นเท่านี้จากสงฆ์.

   ๖. ตรัสว่า ในอนาคตกาลนานไกล   จักมีโคตรภู   (สงฆ์ ) ผู้มีผ้ากาสาวะที่คอ   เป็นผู้ทุศีล   มีบาปธรรมบุคคลจักถวายทานอุทิศสงฆ์ในโคตรภู (สงฆ์ )   ผู้ทุศีลเหล่านั้น   แม้ทักษิณาที่เป็นไปในสงฆ์นั้น   เราก็กล่าวว่านับไม่ได้ประมาณไม่ได้.   เราไม่กล่าวว่า   ทานที่เจาะจงบุคคลมีผลมากกว่าทักษิณาที่เป็นไปในสงฆ์โดยปริยายไร ๆ เลย.

   ๗. ตรัสแสดงความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา  ๔ อย่าง   คือทักษิณาที่    ๑. บิริสุทธิ์ฝ่ายทายก ( ผู้ให้ )   ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ( ผู้รับ )    ๒. บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก   ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก    ๓. ไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก   ทั้งฝ่ายปฏิคาหก    ๔. บริสุทธ์ทั้งฝ่ายทายก   ทั้งฝ่ายปฏิคาหก.   พร้อมทั้งทรงแสดงรายละเอียดกำหนดความบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์   ด้วยการที่บุคคลมีศีล   มีกัลยาณธรรม   และทุศีล   มีบาปธรรม.
   

จบวรรคที่   ๔   ขึ้นวรรคที่   ๕
 ชื่อสฬายตนวรรค   แปลว่า  วรรคกำหนดด้วยอายตนะ   ๖

   

๔๓. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร
สูตรว่าด้วยการให้โอวาทแก่อนาถปิณฑิกคฤหบดี

    พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม. สมัยนั้นอนาถปิณฑิกคฤหบดีไม่สบาย เป็นไข้หนัก จึงส่งคนไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ และให้ถวายบังคมแทนตน กับส่งคนไปอาราธนาพระสารีบุตรไปยังที่อยู่ของตน เพื่อเป็นการอนุเคราะห์ พระสารีบุตรรับนิมนต์แล้วก็ไปเยี่ยมไต่ถาม โดยมีพระอานนท์ตามไปด้วย เป็นปัจฉาสมณะ ( ภิกษุผู้ติดตาม ) คฤหบดีกล่าวตอบว่า มีทุกขเวทนากล้า จึงกล่าวธรรมสั่งสอน คือ :-

   ๑. ท่านพึงสำเนียกว่า   จักไม่ยึดถือรูป   หู   จมูก  ลิ้น   กาย   ใจ   และวิญญาณของท่านจักไม่อาศัยตา   หู  จมูก  ลิ้น   กาย  ใจ .

   ๒. ท่านพึงสำเนียกว่า   จักไม่ยึดถือรูป   กลิ่น   เสียง  รส   โผสฐัพพะ ( สิ่งที่พึงถูกต้องด้วยกาย )   ธรรมะ   ( สิ่งที่พึงรู้แจ้งได้ด้วยใจ )   และวิญญาณของท่านจักไม่อาศัยรูป   เสียง   กลิ่น   รส   โผฏฐัพพะ   ธรรมะ.

   ๓. ท่านพึงสำเนียกว่า   จักไม่ยึดถือวิญญาณ ( ๖ )   มีจักขุวิญญาณ ( ความรู้แจ้งอารมณ์ทางตา )   เป็นต้น   และวิญญาณของท่านจักไม่อาศัยวิญญาณ ( ๖ )   มีจักขุวิญญาณเป็นต้น.

   ๔. ท่านพึงสำเนียกว่า   จักไม่ยึดถือสัมผัส   ( ความถูกต้อง ๖ )   มีจักขุสัมผัส ( ความถูกต้องทางตา   เป็นต้น   และวิญญาณของท่านจักไม่อาศัยสัมผัส ( ๖ )   มีจักขุสัมผัส   เป็นต้น

   ๕. ท่านพึงสำเนียกว่า  จักไม่ยึดถือเวทนา   ( ความรู้สึกหรือเสวยอารมณ์ ๖ )  มีจักขุสัมผัสสชาเวทนา ( ความรู้สึกอารมณ์อันเกิดแต่สัมผัสทางตา )   เป็นต้น และวิญญาณของท่านจักไม่อาศัยเวทนา ( ๖ ) มีจักขุสัมผัสสชาเวทนา เป็นต้น.

   ๖. ท่านพึงสำเนียกว่า   จักไม่ยึดถือธาตุดิน  ธาตุน้ำ  ธาตุไฟ   ธาตุลม   ธาตุอากาศ  และธาตุรู้  ( วิญญาณธาตุ )  และวิญญาณของท่านจักไม่อาศัยธาตุดิน   เป็นต้น.

   ๗. ท่านพึงสำเนียกว่า จักไม่ยึดถือ ( ขันธ์ ๕ ) รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และวิญญาณของท่านจักไม่อาศัยรูป เป็นต้น.

   ๘. ท่านพึงสำเนียกว่า   จักไม่ยึดถือ   ( อรูปฌาน ๔ คือ )   อากาสานัญจายตนะ   วิญญาณัญจายตนะ   อากิญจัญญายตนะ  และเนวสัญญานาสัญญายตนะ  และวิญญาณของท่านจักไม่อาศัยอากาสานัญจายตนะ   เป็นต้น.

   ๙. ท่านพึงสำเนียกว่า  จักไม่ยึดถือโลกนี้โลกหน้า   และวิญญาณของท่านจักไม่อาศัยโลกนี้โลกหน้า.

   ๑๐. ท่านพึงสำเนียกว่า   จักไม่ยึดถือสิ่งที่ได้เห็น   ได้ฟัง   ได้ทราบ  ได้รู้แจ้ง   ได้แสวงหา   ได้ติดตามด้วยใจ   และวิญญาณของท่านจักไม่อาศัยสิ่งนั้น.

   อนาถปิณฑิกคฤหหบดีได้ฟัง   ก็ร้องไห้   พระอานนท์จึงถามว่า  ท่านยังติดยังอาลัยอยู่หรือ .    คฤหบดีตอบว่า   มิได้ติด   มิได้อาลัย   แต่ไม่เคยได้ฟังธรรมิกถาอย่างนี้ .     เมื่อทราบว่าธรรมิกถาเช่นนี้ ไม่ได้แสดงแก่คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาว   แต่แสดงแก่บรรพชิต   จึงขอร้องพระสารีบุตรให้แสดงแก่คฤหัสถ์บ้าง เพราะกุลบุตรที่มีกิเลสน้อยมีอยู่จะเป็นผู้รู้ธรรมะได้ ไม่ได้ฟังก็จะเสื่อมจากธรรมะไป. พอพระสารีบุตรและพระอานนท์กลับแล้วไม่นาน อนาถปิณฑิกคฤหบดีก็ถึงแก่กรรมไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต แล้วกลับมาปรากฏตนถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กล่าวสุภาษิตและชมเชยพระสารีบุตร.

   

๔๔. ฉันโนวาทสูตร
สูตรว่าด้วยการให้โอวาทพระฉันนะ

    ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เวฬวนาราม ใกล้กรุงราชคฤห์. พระสารีบุตร ,   พระมหาจุนทะ ,   และพระฉันนะ   อยู่ที่เขาคิชฌกูฏ .   พระฉันนะไม่สบาย   เป็นไข้หนัก. พระสารีบุตรจึงชวนพระมหาจุนทะไปเยี่ยมถามอาการ   พระฉันนะเล่าทุกขเวทนากล้าให้ฟังและแสดงความจำนงจะฆ่าตัวตาย พระสารีบุตรก็ห้ามไว้และแสดงธรรมให้ฟัง   มิให้ยึดถืออายตนะภายในมีตา   เป็นต้น   วิญญาณมีจักขุวิญญาณ   เป็นต้น   อายตนะภายนอกมีรูป ( ที่พึงรู้แจ้งได้ด้วยจักขุวิญญาณ ) เป็นต้น   ว่าเป็นของเรา   เราเป็นนั้น   นั่นเป็นตัวตนของเรา. เมื่อพระสารีบุตรกับพระมหาจุนทะกลับไปแล้ว   พระฉันนะก็ฆ่าตัวตาย   พระสารีบุตรไปกราบทูลถาม   พระผู้มีพระภาคก็ตรัสตอบโดยใจความว่า   ผู้ใดละทิ้งกายนี้   ยึดถือกายอื่น   เรากล่าวว่ามีโทษ แต่ภิกษุฉันนะเป็นผู้ไม่มีโทษ . อรรถกถาแก้ว่า สำเร็จเป็นพระอรหันต์พร้อมกับการสิ้นชีวิต ที่เรียกว่าสมสีสี ).

   

๔๕. ปูณโณวาทสูตร
สูตรว่าด้วยการประทานโอวาทแก่พระปุณณะ

   ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม .   พระปุณณะเข้าไปเฝ้ากราบทูลขอให้ประทานโอวาท จึงทรงแสดงธรรมสั่งสอนให้ไม่เพลิดเพลินยินดีในรูป   เสียง   กลิ่น  รส   โผโฐัพพะ   และธรรมะที่น่าปรารถนา   รักใคร่ชอบใจ   เมื่อดับความเพลิดเพลินได้ก็ดับทุกข์ได้.

   ๒. พระปุณณะกราบทูลว่า ท่านจักไปอยู่ในชนบทอื่นชื่อสุนาปรันตะ. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ชาวสุนาปรันตะดุร้าย ถ้าเขาด่าเธอ เธอจะทำอย่างไร กราบทูลว่า ข้าพระองค์จักคิดว่า ด่ายังดีกว่าทำร้ายด้วยมือ . ตรัสถามว่า ถ้าเขาทำร้ายด้วยมือ จะทำอย่างไร กราบทูลว่า ยังดีกว่าใช้ก้อนดินทำร้าย. ตรัสถามว่า ถ้าเขาใช้ก้อนดินทำร้าย จะทำอย่างไร กราบทูลว่า ยังดีกว่าใช้ท่อนไม้ทำร้าย . ตรัสถามว่า ถ้าเขาใช้ท่อนไม้ทำร้าย จะทำอย่างไร กราบทูลว่า ยังดีกว่าทำร้ายด้วยศัสตรา. ตรัสถามว่า ถ้าเขาทำร้ายด้วยศัสตรา จะทำอย่างไร กราบทูลตอบว่า ยังดีกว่าฆ่าด้วยศัสตราที่คม. ตรัสถามว่า ถ้าเขาฆ่าด้วยศัสตราที่คม จะทำอย่างไร กราบทูลว่า บุคคลบางคนยังต้องหาคนมาฆ่า แต่นี่ดีที่ไม่ต้องหา ได้คนที่มาฆ่าให้.

    ๓. พระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนา และตรัสอนุญาตให้ไปได้ ท่านไปอยู่ในที่นั้น ได้แสดงธรรมให้มีผู้ประกาศตนเป็นอุบาสก   ๕๐๐ คน  และท่านเองก็ได้บรรลุวิชชา ๓   ( ระลึกชาติได้ ,   ทิพยจักษุเห็นสัตว์ เกิดตาย ,   ทำอาสวะให้สิ้น ) ภายในพรรษานั้น และได้ปรินิพพานในกาลต่อมา.

   

๔๖. นันทโกวาทสูตร
สูตรว่าด้วยการให้โอวาทของพระนันทกะ

    พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม . พระนางมหาปชาบดี โคตมี พร้อมด้วยนางภิกษุณีทั้งหลายเข้าไปเฝ้ากราทูลขอให้ประทานโอวาท ,   จึงทรงมอบหมายให้พระนันทกะผู้ไม่ประสงค์จะให้โอวาทแก่นางภิกษุณี เป็นผู้ทำหน้าที่นี้ ท่านจึงไปสอน   ให้เห็นความไม่เที่ยง   เป็นทุกข์ ( ทนอยู่ไม่ได้ )   ไม่ใช่ตัวตน   ของอายตนะภายในมีตา เป็นต้น   อายตนะภายนอกมีรูป เป็นต้น   วิญญาณ ( ความรู้แจ้งอารมณ์ )   มีจักขุวิญญาณ ( ความรู้แจ้งทางตา ) เป็นต้น   พร้อมด้วยคำด้วยคำถามซักถามให้ตอบด้วยความเห็นจริงของผู้ฟังเอง และพร้อมด้วยคำเปรียบด้วยเปรียบเทียบหลายข้อ. พระผู้มีพระภาคตรัสชมเชยมาก.

   

๔๗. จูฬราหุโลวาทสูตร
สูตรว่าด้วยประทานโอวาทแก่พระราหุล สูตรเล็ก

    ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม.   ตรัสสอนพระราหุลให้เห็นความเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ( ทนอยู่ไม่ได้ )   และไม่ใช่ตัวตนของอายนตะภายในมีตา เป็นต้น   อายตนะภายนอกมีรูป เป็นต้น   วิญญาณมีจักขุวิญญาณ ( ความรู้แจ้งอารมณ์ด้วยตา ) เป็นต้น   สัมผัส (ความถูกต้อง ) มีจักขุสัมผัส เป็นต้น   เวทนา ( ความรู้สึกอารมณ์ )   มีเวทนาที่เกิดจากจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นต้น.   พระราหุลก็มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะไม่ถือมั่นด้วยอุปทาน.

   

๔๘. ฉฉักกสูตร
สูตรว่าด้วยธรรมะหมวด ๖  รวม ๖ ข้อ

    ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม. ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายถึงธรรมะหมวด ๖ รวม ๖ ข้อ คือ    ๑. อายตนะภายใน ๖ มีตา เป็นต้น    ๒. อายตนะภายนอก ๖ มีรูป เป็นต้น    ๓. วิญญาณกาย ( หมวดวิญญาณ ) ๖ มีจักขุวิญญาณ เป็นต้น   ๔. ผัสสกาย ( หมวดความถูกต้อง ) ๖ มีจักขุสัมผัส เป็นต้น    ๕. เวทนากาย ( หมวดเวทนาคือความรู้สึกอารมณ์ ) ๖ มีเวทนาที่เกิดเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นต้น     ๖. ตัญหากาย ( หมวดตัญหา ความทะยานอยาก ) ๖. มีตัญหาที่เกิดจากเวทนาอันเนื่องมาแต่จักขุสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นต้น. พร้อมทั้งตรัสสอนให้เห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของสิ่งเหล่านั้น. เมื่อจบพระธรรมเทศนา ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ( เป็นพระอรหันต์ ).

   

๔๙. สฬายตนวิภังคสูตร
สูตรว่าด้วยการแจกอายตนะ ๖

    ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม. ทรงแสดงธรรมชื่อว่า   “ มหาสฬายตนิกะ”   ( ธรรมที่เกี่ยวด้วยอายตนะ ๖ อย่างพิสดาร )   โดยทรงแสดงว่า เมื่อไม่รู้ไม่เห็นธรรม ๖ หมวด   ดั่งที่ทรงแสดงในฉฉักกสูตร ( ก่อนหน้าสูตรนี้สูตรเดียว )   ตามเป็นจริง   ความลำบาก   เดือดร้อนกระวนกระวาย   ทั้งทางกายและทางจิตก็จะเจริญขึ้น ผู้ไม่รู้นั้น ย่อมได้เสวยทั้งทุกข์กายทุกข์ใจ . แล้วทรงแสดงให้เห็นว่า   ถ้ารู้เห็นตามเป็นจริง   ไม่กำหนัดยินดี   ก็จะชื่อว่าทำมรรคมีองค์ ๘   ให้บริบูณ์   เมื่อทำได้อย่างนั้น   ก็จะชื่อว่าทำธรรมะอื่น ( ในโพธิปักขิยธรรม ดูที่พระสุตตันตะ เล่ม ๒   หน้า ๒ ) ในข้อเรื่องเสด็จป่ามหาวันให้บริบูรณ์ด้วย.

   ๒. ครั้นแล้วทรงแสดงธรรมะที่เทียมคู่   คือสมถะ ( การทำใจให้สงบ )   และวิปัสสนา ( การทำปัญญาให้เห็นแจ้ง )  และแสดงธรรมที่ควรกำหนดรู้ คือขันธ์ ๕ ;   ธรรมที่ควรละ คืออวิชชา ( ความไม่รู้อริยสัจจ์ ๔ )   และภวตัญหา ( ความอยากเป็นนั้นเป็นนี่ ) ;   ธรรมที่ควรเจริญ คือสมถะและวิปัสสนา ;   ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง คือวิชชา ( ความรู้อริยสัจจ์ ๔ )   และวิมุติ ( ความหลุดพ้น).

   

๕๐. นครวินเทยยสูตร
สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านนครวินทะ

    พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ . เสด็จแวะพัก ณ หมู่บ้านพราหมณ์แคว้นโกศลชื่อนครวินทะ ตรัสแสดงธรรมแก่พราหมคฤหบดีเหล่านั้น ผู้มาเฝ้าว่า ถ้านักบวชลัทธิอื่นถามท่านว่า   สมณพราหมณ์เช่นไร   ไม่ควรสักการะเคารพนับถือบูชา   ก็พึงตอบว่า ได้แก่สมณพราหมณ์พวกที่ยังไม่ปราศจากราคะ ( ความกำหนัดยินดี )   โทสะ ( ความคิดประทุษร้าย )  โมหะ ( ความหลง )   ในรูป   เสียง   กลิ่น   รส  โผฏฐัพพะ ( สิ่งที่ถูกต้องได้ด้วยกาย )   และธรรมะ ( สิ่งที่รู้ได้ด้วยใจ )   มีจิตยังไม่สงบระงับในภายใน   ยังประพฤติเสมอบ้าง   ไม่เสมอบ้าง   ( ลุ่ม ๆ ดอน ๆ )   ทางกาย   วาจา  ใจ   ทั้งนี้เพราะพวกเราเอง   ( ที่เป็นคฤหัสถ์ ) ก็มีความประพฤติเช่นนั้น   เมื่อไม่เห็นความประพฤติสม่ำเสมอ (เรียบร้อย )   หรือคุณธรรมที่ยิ่งขึ้นไปของสมณพราหมณ์เหล่านั้น   จึงไม่ควรสักการะบูชาสมณพราหมณ์เหล่านั้น .     ถ้านักบวชลัทธิอื่นจะพึงถามถึงสมณพราหม์ที่ควรสักการะเคารพนับถือบูชา   ก็พึงทราบโดยนัยตรงกันข้าม   ( คือที่ปราศจากราคะ  โทสะ  โมหะ ).

   ๒. ครั้นแล้วตรัสต่อไปถึงการที่นักบวชลัทธิอื่นจะพึงถามอาการและความเป็นไปของสมณพราหมณ์ ที่พวกท่านกล่าวว่า   เป็นผู้ปราศจากราคะ   ปฏิบัติเพื่อนำออกซึ่งราคะ   ปราศจากโทสะ   ปฏิบัติเพื่อนำออกซึ่ง  โทสะ   ปราศจากโมหะ   ปฏิบัติเพื่อนำออกซึ่งโมหะ     พวกท่านพึงตอบว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นเสพเสนาสนะป่าอันสงัด   ไม่มีรูป  เสียง   เป็นต้น   ที่เห็นแล้ว   ฟังแล้ว   เป็นต้น   จะทำให้ยินดียิ่ง.

   พราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านนครวินทะ กราบทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนา แสดงตนเป็นอุบาสก ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต.

   

๕๑. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร
สูตรว่าด้วยความบริสุทธิ์แห่งบิณฑบาต

    ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ใกล้กรุงราชคฤห์. เวลาเย็นพระสารีบุตรออกจากที่เร้นมาเฝ้าถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง จึงตรัสถามพระสารีบุตรว่า อินทรีย์ของท่านผ่องใส ฉวีวรรณของท่านบริสุทธิ์ ท่านอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อะไรมาก เมื่อพระสารีบุตรกราบทูลว่า อยู่ด้วยสุญญตาวิหาร ( ธรรมเป็นเครื่องอยู่มีความว่างเปล่าเป็นอารมณ์ ) จึงตรัสว่า ดีแล้วที่อยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่แห่งมหาบุรุษ.

   ๒. ครั้นแล้วตรัสถึงการที่ภิกษุผู้หวังจะมาอยู่มากด้วยสุญญตาวิหาร  พึงพิจารณาว่า เราเข้าสู่หมู่บ้าน   เพื่อบิณฑบาตโดยทางใด   เที่ยวไปในที่ใด   กลับจากบิณฑบาตโดยทางใด   ในทางนั้น   ที่นั้น   เรามีความพอใจ   มีความกำหนัดยินดี   มีความคิดประทุษร้าย   ความหลง   ความขัดข้องแห่งจิตในรูป   เสียง   เป็นต้น หรือไม่   เมื่อพิจารณารู้ว่าเรายังมีความพอใจในรูป เสียง   เป็นต้น   ก็พึงพยายามเพื่อละอกุศลบาปธรรมเหล่านั้น   ถ้าไม่พิจารณาเห็นว่าเราไม่มีความพอใจในรูป  เสียง   เป็นต้น   ก็พึงอยู่ด้วยปีติปราโมทย์นั้น  ศึกษาอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน.

   ๓. ต่อจากนั้นพึงพิจารณาว่า เราละกามคุณ ๕   ( รูป   เสียง  กลิ่น   รส   โผฏฐัพพะ   ที่น่าปรารถนา รักใคร่พอใจ )   และนีวรณ์ ๕   ( กิเลสอันกั้นจิตมิให้บรรลุความดี )   ได้แล้วหรือยัง   เมื่อพิจารณาเห็นว่ายังละไม่ได้   ก็พึงพยายามเพื่อละ   เมื่อพิจารณาเห็นว่าละได้แล้ว   ก็พึงอยู่ด้วยปีติปราโมทย์นั้น   ศึกษาอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน.

   ๔. ครั้นแล้วทรงพิจรณาแสดงการพิจรณาข้อธรรมอื่นอีก คือ   อุปาทานขันธ์ ๕   กำหนดรู้แล้วหรือยัง ;   สติปัฏฐาน ๔   เจริญแล้วหรือยัง ;   ความเพียรชอบ   ๔ เจริญแล้วหรือยัง ;   ธรรมะอันให้บรรลุความสำเร็จ ๔ อย่าง,   ธรรมอันเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน ๕ อย่าง ,   ธรรมอันเป็นกำลัง ๕ อย่าง ,   ธรรมะอันเป็นองค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ ๗ อย่าง ,  ทางมีองค์ ๘ อันประเสริฐ ,   สมถะ ( การทำจิตให้สงบ ) และวิปัสสนา ( การทำปัญญาให้เห็นแจ้ง ) เจริญแล้วหรือยัง ;   วิชชา ( ความรู้อริยสัจจ์ ๔ ) ,   วิมุติ ( ความหลุดพ้น ) ทำให้แจ้งแล้วหรือยัง .     เมื่อพิจารณาเห็นว่าอะไรยัง   ก็พึงพยายามเพื่อทำการนั้น ๆ เมื่อเห็นว่าทำสำเร็จแล้ว   ก็พึงอยู่ด้วยปีติปราโมทย์นั้น   ศึกษาอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน ( ดูที่ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก ) และที่ พระสุตตันตะ เล่ม ๒ หน้า ๔ ประกอบด้วย.

   ๕. ตรัสสรุปในที่สุดว่า สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตกาล   อนาคตกาลนานไกล หรือในบัดนี้ที่ทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์ก็พิจารณาแล้วอย่างนี้ ทำให้บิณฑบาตบริสุทธิ์อย่างนี้.

   

๕๒. อินทริยภาวนาสูตร
สูตรว่าด้วยการอบรมอินทรีย์

    ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ป่าไผ่   ใกล้นิคม ชื่อกัชชังคลา. ตรัสถามอุตตรมาณพผู้เป็นศิษย์ของปาราสิริยพราหมณ์ว่า พราหมณ์ผู้นั้นแสดงถึงการอบรมอินทรีย์   แก่สาวกอย่างไร   มาณพกราบทูลว่า   พราหมณ์สอนไม่ให้เห็นรูป   ไม่ให้ฟังเสียง   พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า   ถ้าอย่างนั้น   คนตาบอดหูหนวกก็จักชื่อว่าได้อบรมอินทรีย์ด้วย   มาณพก็เก้อเขิล   นิ่งก้มหน้า.

   ๒. จึงตรัสกะพระอานนท์ว่า ปาราสิริยพราหมณ์แสดงการอบรมอินทรีย์แก่สาวก ต่างจากการอบรมอินทรีย์ในอริยวินัย ( วินัยของพระอริยเจ้า )   เมื่อพระอานนท์กราบทูลขอให้ทรงอธิบาย   จึงตรัสแสดงถึงการอบรมอินทรีย์   เมื่อเห็นรูป   ฟังเสียง   ดมกลิ่น   ลิ้มรส   ถูกต้องโผฏฐัพพะ   และรู้ธรรมะว่า   ความพอใจ   ความไม่พอใจ   หรือทั้งพอใจและไม่พอใจเกิดขึ้น   ก็ให้รู้เท่าทันว่าเกิดขึ้นแล้ว   แต่เป็นของหยาบอันปัจจัยปรุงแต่ง   ส่วนความวางเฉยเป็นของสงบระงับและปราณีต ทรงสรุปว่า ทำอย่างนี้เป็นการอบรมอินทรีย์อันยอดเยี่ยมในอริยวินัย.

   ๓. แล้วทรงแสดงข้อปฏิบัติของเสขะ   ( พระอริยบุคคลที่ยังมิได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ยังศึกษาอยู่ ) ว่า   เมื่อเห็นรูป   เสียง   เป็นต้น   เกิดความพอใจ   ไม่พอใจ   หรือทั้งพอใจและไม่พอใจขึ้น   ก็เบื่อหน่ายเกลียดชัง   ความรู้สึกพอใจ   เป็นต้น   ที่เกิดขึ้นนั้น.

   ๔. ทรงแสดงการที่พระอริยเจ้าอบรมอินทรีย์แล้ว   คือเมื่อเห็นรูป   เสียง เป็นต้น   เกิดความพอใจ   เป็นต้น   ใคร่จะอยู่อย่างกำหนดหมายว่าไม่เป็นปฏิกูล ( น่าเกลียด ) ในสิ่งปฏิกูล ;   กำหนดหมายว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูล ;   กำหนดหมายว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูล ;   กำหนดหมายว่าปฏิกูลในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและปฏิกูล ;   หรือใคร่จะเพิกถอนทั้งสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูล   อยู่อย่างวางเฉย   มีสติสัมปชัญญะ   ก็ทำได้ทุกอย่าง.
   

จบวรรคที่ ๕ และจบพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔

๑. โคตรภูสงฆ์ หมายถึงสงฆ์โดยชื่อ แต่ความประพฤติย่อหย่อน อรรถกถาแสดงว่า ได้แก่ผู้มีผ้ากาสาวะพันที่มือหรือคอพอเป็นเครื่องหมาย แต่มีบุตรภริยา และประกอบอาชีพต่าง ๆ เช่น   กสิกรรม   พาณิชยกรรม   ตามปกติ.   อนึ่ง คำว่า โคตรภู นี้ ยังหมายถึงผู้อยู่กึ่งกลางระหว่างพระอริยเจ้า กับบุถุชน คือคนที่ยังหนาไปด้วยกิเลส

๒. โปรดดูคำอธิบายในข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก หมายเลข ๗

๓. คำว่า  อินทรีย์   ในที่นี้  หมายถึงสิ่งที่เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน   คือ   ตา   หู   จมูก   ลิ้น   กาย   ใจ

 

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ