บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



พระสุตตันตปิฎก

พระสุตตันต
ปิฎกเล่ม ๑๒
หมวดนี้มี

๑.ทีฆนิกาย
๒.มัชฌิมนิกาย
๓.สังยุตตนิกาย
๔.อังคุตตรนิกาย
๕.ขุททกนิกาย
..เอกนิบาต ชุมนุม
ธรรมะที่มี ๑ ข้อ

๑. เอกธัมมาทิปาลิ
๒. เอกปุคคปาลิ
๓. เอตทัคคปาลิ
๔. อัฏฐานปาลิ
๕. อปรา เอกธัมมาทิปาลิ
๖. ปสาทกรธัมมาทิปาลิ
ทุกนิบาต ชุมนุม
ธรรมะที่มี ๒ ข้อ

ติกนิบาต ชุมนุม
ธรรมะที่มี ๓ ข้อ

เอกนิบาต ชุมนุม
ธรรมะที่มี ๑ ข้อ

๑. เอกธัมมาทิปาลิ
๒. เอกปุคคลปาลิ
๓. เอตทัคคปาลิ
๔. อัฏฐานปาลิ
๕. อปรา เอกธัมมาทิปาลิ
๖. ปสาทกรธัมมามาทิปาลิ ทุกนิบาต
..ปฐมปัณณาสก์
หรือหมวดที่ ๕๐
สูตรที่ ๓

วรรคที่๑ ชื่อกัมมกรณ
วรรคที่ ๒ ชื่ออธิกรณ
วรรคที่๓ ชื่อพาล
วรรคที่๔ชื่อสมจิตต
วรรคที่๕ ชื่อปริส
ทุติยปัณณาสก์
หมวด๕๐ สูตรที่๒
ตติยปัณณาสก์
หมวด๕๐ สูตรที่๓ ติกนิบาต
..ปฐมปัณณาสก์
หรือหมวดที่ ๕๐

วรรคที่๑ ชื่อพาล
วรรคที่๒ ชื่อรถการ
วรรคที่๓ ชื่อปุคคล
วรรคที่๔ ชื่อเทวทูต
วรรคที่๕ ชื่อจูฬ
ทุติปัณณาสก์
หมวดที่๕๐ ที่ ๒
ทุติปัณณาสก์
หมวดที่๕๐ ที่ ๓

 

หน้าที่ ๑ ๑.ทีฆนิกาย
๒.มัชฌิมนิกาย
๓.สังยุตตนิกาย
๔.อังคุตตรนิกาย
๕.ขุททกนิกาย
..เอกนิบาต ชุมนุม
ธรรมะที่มี ๑ ข้อ

๑. เอกธัมมาทิปาลิ
๒. เอกปุคคปาลิ
๓. เอตทัคคปาลิ
๔. อัฏฐานปาลิ
๕. อปรา เอกธัมมาทิปาลิ
๖. ปสาทกรธัมมาทิปาลิ
ทุกนิบาต ชุมนุม
ธรรมะที่มี ๒ ข้อ

ติกนิบาต ชุมนุม
ธรรมะที่มี ๓ ข้อ

..ขยายความ..

เอกนิบาต ชุมนุม
ธรรมะที่มี ๑ ข้อ

๑. เอกธัมมาทิปาลิ
๒. เอกปุคคลปาลิ
๓. เอตทัคคปาลิ
ฝ่ายภิกษุ
ฝ่ายภิกษุณี
ฝ่ายอุบาสก
ฝ่ายอุบาสิกา

๔. อัฏฐานปาลิ
๕. อปรา เอกธัมมาทิปาลิ
๖. ปสาทกรธัมมามาทิปาลิ

 

หน้าที่ ๒ ทุกนิบาต
..ปฐมปัณณาสก์
หรือหมวดที่ ๕๐
สูตรที่ ๓

วรรค ๑ ชื่อกัมมกรณ
วรรค ๒ ชื่ออธิกรณ
วรรค ๓ ชื่อพาล
วรรค๔ชื่อสมจิตต
วรรค๕ ชื่อปริส
ทุติยปัณณาสก์
หมวด๕๐ สูตรที่๒
ตติยปัณณาสก์
หมวด๕๐ สูตรที่๓
พระสูตรที่ไม่นับเข้าในหมวด ๕๐

 

หน้าที่ ๓ ติกนิบาต
..ปฐมปัณณาสก์
หรือหมวดที่ ๕๐

วรรคที่๑ ชื่อพาล
วรรคที่๒ ชื่อรถการ
วรรคที่๓ ชื่อปุคคล
วรรคที่๔ ชื่อเทวทูต

 

หน้าที่ ๔
วรรคที่๕ ชื่อจูฬ
ทุติปัณณาสก์
หมวดที่๕๐ ที่ ๒

๑.ตรัสสอนพราหมณ์ชรา
๒.ทรงแสดงติตถายตนะ
พระอานนท์โต้ตอบ
กับฉันทปริพพาชก
๔.ทรงแสดงถึงกรณี
กิจของสมณะ
๕.ตรัสถึงกิจรับด่วน

 

หน้าที่ ๕ ตติยปัณณาสก์
หมวด๕๐ สูตรที่๓

๑.เมื่อก่อนตรัสรู้ ฯลฯ
๒.ทรงแสดงบุคคล
๓.ทรงแสดงถึงภิกษุ
๔.ทรงแสดงนักรบ
๕.บุคคลด้วยธรรม
พระสูตรที่ไม่นับเข้าในหมวด ๕๐

 

เล่มที่ ๒๐ ชื่ออังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๑๒
หน้า ๓

๑. ติกนิบาต
ชุมนุมธรรมะที่มี ๓ ข้อ
ปฐมปัณณาสก์ หรือหมวด ๕๐ ที่ ๑
วรรคที่ ๑ ชื่อพาลวรรค ว่าด้วยคนพาล

    ทรงแสดงว่า ภัย ( สิ่งที่น่ากลัว )   อุปัทวะ ( สิ่งที่เบียดเบียนหรือเป็นอันตราย ) อุปสัค ( สิ่งที่ขัดข้อง ) ทั้งปวง ย่อมเกิดจากคนพาล ไม่เกิดจากบัณฑิต ;   ทั้งพาลทั้งบัณฑิตมีกรรม ( การกระทำ ) เป็นลักษณะ พึงทราบคนพาลด้วยธรรม ๓ ประการ คือทุจจริตทางกาย ,   ทางกาย ,   ทางใจ   ส่วนบัณฑิตพึงทราบโดยนัยตรงกันข้าม ;   ลักษณะ เครื่องหมายและความประพฤติของคนพาลมี   ๓ อย่าง คือ   คิดชั่ว   พูดชั่ว   ส่วนบัณฑิตพึงทราบโดยนัยตรงกันข้าม ;   นอกจากนั้นทรงแสดงว่า คนพาลประกอบด้วยธรรมะ   ๓ ประการ หลายประเภท เช่น ไม่เห็นโทษ ล่วงเกิน ( ที่ตนทำ ) ,   เห็นแล้วไม่ทำคืน,   เมื่อมีผู้อื่นแสดงโทษล่วงเกิด (ขอโทษ ) ไม่รับ ;   ตั้งปัญหาโดยไม่แยบคาย,   ตอบปัญหาไม่แยบคาย,   เมื่อคนอื่นตอบปัญหาโดยแยบคาย ไม่อนุโมทนา (ไม่รับรองว่าถูกต้อง ) ;   มีการกระทำทางกาย ,   ทางวาจา,   ทางใจ   อันเป็นอกุศล ;   อันเป็นโทษ ;   อันมีการเบียดเบียน ;   ส่วนบัณฑิตพึงทราบโดยนัยตรงกันข้าม;   ทรงแสดงทุจจริต ๓   ว่าเป็นเหตุบริหารตนอย่างขุดรากตัวเอง   กำจัดตัวเอง   มีโทษอันผู้รู้ตามว่ากล่าวได้ ทำให้ประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก ;   ทรงแสดงมลทิน คือความเป็นผู้ทุศล ,   ความริษยา ,   ความตระหนี่ว่า   ทำให้เหมือนนำตนไปตั้งไว้ในนรก กับตรงกันข้ามทำให้เหมือนตนไปตั้งไว้ในสวรรค์.

   

วรรคที่   ๒ ชื่อรถการวรรค   ว่าด้วยช่างทำรถ

   ทรงแสดงถึงการที่ภิกษุประกอบด้วยธรรม   ๓ อย่างว่า ปฏิบัติมิใช่เพื่อประโยชน์ความสุขแก่คนมาก คือผู้ชักชวนในการกระทำทางกาย,   ทางวาจา ,  ทางใจ   อันไม่ควร   แล้วทรงแสดงฝ่ายดีทางตรงกันข้าม ;   การที่ภิกษุบวช ,   รู้อริยสัจจ์ ๔ ตามเป็นจริง  ทำให้แจ้งเจโตวิมุติ และปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะอยู่ในปัจจุบัน นับเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกตลอดชีวิต ;   บุคคล   ๓ ประเภท คือผู้ไม่มีความหวัง ,   ผู้มีความหวัง ,   ผู้ปราศจากความหวัง ;   ผู้ไม่มีความหวัง คือผู้ตกต่ำ,   ผู้มีความหวัง คือราชบุตรผู้รอการกภิเภก ,   ผู้ปราศจากความหวังคือพระราชาผู้ได้รับอภิเษกแล้ว เทียบกับคดีธรรม ผู้ไม่มีความหวัง คือผู้ทุศีล,   ผู้มีความหวัง คือผู้มีศีล,   ผู้ปราศจากความหวัง คือผู้ทำให้แจ้งเจโตวิมุติ   ปัญญาวิมุติ   อันไม่มีอาสวะอยู่ในปัจจุบัน ( ผู้เป็นอรหันต์แล้ว) ;   พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นธรรมราชา   อาศัยธรรม   เคารพธรรม   ทรงให้การรักษาคุ้มครองการกระทำทางกาย   ทางวาจา   และทางใจ   ว่าอย่างนี้ควรเสพ   ไม่ควรเสพ   ย่อมทรงหมุนธรรมจักร   ซึ่งสมณพราหมณ์   เทวดา  มาร   พรหม   หรือใคร ๆ ก็ปฏิวัติไม่ได้ ( ทำให้ย้อนกลับไม่ได้) ในโลก เปรียบเหมือนพระเจ้าจักรพรรดิ์ ( ทางโลก )   ที่อาศัยธรรม   เคารพธรรม   ให้การรักษาคุ้มครองอันเป็นธรรมแก่มนุษย์และสัตว์ ย่อมหมุนล้อรถได้โดยธรรม ซึ่งข้าศึกจะปฏิวัติหรือหมุนกลับไม่ได้ด้วยมือ ;   ทรงเล่าเรื่องช่างทำรถที่ทำล้อรถข้างหนึ่งกินเวลา ๖ เดือน   ขาด ๖ คืน   แต่ล้อรถอีกข้างหนึ่งเสร็จภายใน ๖ วัน พระราชาตรัสถาม ก็ทดลองให้ดูล้อรถข้างหนึ่งที่ทำนานหมุนไปได้ เมื่อหยุดหมุนก็ไม่ล้ม แต่ข้างที่เสร็จไว เมื่อหยุดหมุนก็ล้ม เพราะมีความคด ทรงสอนให้ละความคดทางกาย   วาจา   ใจ   เมื่อเปรียบเทียบกับเรื่องนั้น . ทรงข้อปฏิบัติไม่ผิด   ๓ ประการ คือความสำรวมอินทรีย์ ( คือ  ตา   หู   จมูก   ลิ้น   กาย   ใจ ). รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร, ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่น ( ไม่เห็นแก่การนอนมากนัก ) ;   ทรงแสดงทุจจริตทางกาย  วาจา   ใจ   ว่าเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเบียดเบียนผู้อื่น เบียดเบียนทั้งสองฝ่าย ส่วนสุจริตกาย   วาจา   ใจ   ตรงกันข้าม;   ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลายเบื่อหน่ายด้วยอายุ,   วรรณะ ( ผิวพรรณ ),   สุข ,   ยศ   และความเป็นใหญ่อันเป็นทิพย์ แต่ก็พึงเบื่อหน่ายทุจจริตกาย   วาจา   ใจก่อน ;   พ่อค้าที่ประกอบด้วยองค์ ๓   คือไม่ตรวจตราการงานด้วยดีในเวลาเช้า,   เที่ยง,   เย็น   ก็ไม่ควรจะได้รับโภคทรัพย์ที่ยังไม่เกิดขึ้น หรือทำโภคทรัพย์ที่ได้มาแล้วให้เจริญขึ้น,   ทรงแสดงว่า ภิกษุผู้ไม่ตรวจสมาธินิมิต ( เครื่องหมายในสมธิ ) ด้วยดีในเวลาเช้า,   เที่ยง,   เย็น   ก็ไม่ควรได้บรรลุกุศลธรรมที่ยังมิได้บรรลุ หรือกุศลธณรมที่บรรลุแล้วให้เจริญขึ้นฉันนั้น ;   พ่อค้าที่ประกอบด้วยองค์ ๓   ย่อมถึงความเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ความไพบูลในโภคทรัพย์ในเวลาไม่นาน คือมีตาดี ,   ขยัน ,   ถึงพร้อมด้วยที่อาศัย ( รู้จักคนกว้างขวาง ),   ทรงแสดงว่า ภิกษุมีตาดี คือรู้อริยสัจจ์ ๔ ,   ขยัน   คือไม่ทอดธุระในกุศลธรรม,   ถึงพร้อมด้วยที่อาศัย คือเข้าไปหาท่านผู้รู้เป็นครั้งคราว เพื่อไต่ถามปัญหา ก็จะถึงความเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ความไพบูลในกุศลธรรมฉันนั้น.

   

วรรคที่ ๓   ชื่อปุคคลวรรค   ว่าด้วยบุคคล

   ๑. พระสวิฏฐะ กับพระมหาโกฏฐตะ ไปหาพระสารีบุตร พระสารีบุตรจึงถามพระสวิฏฐะว่า บุคคล  ๓ ประเภท คือ   กายสักขี   ( ผู้บรรลุฌานก่อนแล้วจึงทำนิพพานให้แจ้ง ได้แก่พระอริยบุคคล ๖ ประเภทที่ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล จนถึงตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค), ทิฏบิปัตตะ   ( ผู้ถึงที่สุดแห่งทิฏฐิ คือรู้แจ้งอริยสัจจ์ ๔   ได้แก่พระอริยบุคคล ๖ ประเภท เหมือนกายสักขี ),   สัทธาวิมุต   ( ผู้หลุดพ้นเพราะศรัทธา ได้แก่พระอริยบุคคล   ๖ ประเภทเช่นเดียวกัน ที่ต่างกันก็คือ ลักษณะเฉพาะก่อนที่จะได้บรรลุมรรคผล) ในบุคคล  ๓ ประเภทนี้ พระสวิฏฐะชอบว่าใครจะดีกว่า ประณีตกว่ากัน. พระสวิฏฐะตอบว่า ชอบ   สัทธาวิมุต   ว่าดีกว่า ประณีตกว่าเพราะมีอินทรีย์ คือศรัทธามีประมาณยิ่ง. แล้วพระสารีบุตรจึงย้อนถามพระมหาโกฏฐิตะว่า ชอบบุคคลประเภทไหน พระมหาโกฏฐิตะตอบว่า ชอบ   กายสังขี   เพราะมีอินทรีย์ คือสมาธิมีประมาณยิ่ง. พระมหาโกฏฐิตะถามพระสารีบุตรบ้างว่า ชอบบุคคลประเภทไหน พระสารีบุตรตอบว่า ชอบ   ทิฏฐิปัตตะ   เพราะมีอินทรีย์ คือปัญญาประมาณยิ่ง. แล้วทั้งสามท่านจึงพากันไไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลให้ทรงทราบ ตรัสตอบว่ายากที่จะชี้ลงไปโดยส่วนเดียวว่า ใครจะดีว่า ประณีตกว่ากัน เพราะต่างก็ปฏิบัติเพื่ออรหัตต ( ผล ) และเป็นพระสกทาคามีหรือพระอนาคามีด้วยกัน.

      (หมายเหตุ:  คำอธิบายในวงเล็บว่า บุคคลทั้งสามประเภท ได้แก่พระบริยบุคคล   ๖ ประเภท คือ ผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล จนถึงอรหัตตมรรคนั้น เป็นคำอธิบายตามอรรถกถาปุคคลบัญญัติ แต่สังเกตตามพระพุทธภาษิตในตอนท้ายคล้ายกับว่า ตั้งแต่สกทาคามีอนาคามีขึ้นไปถึงท่านผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค มิได้กล่าวถึงพระอริยบุคคลชั้นโสดาบุคคลชั้นโสดาบันเลย จึงน่าสังเกตเป็นหลักวิชาประกอบค้นคว้าต่อไป).

   ต่อจากนั้นทางแสดงถึงคนไข้ ๓ ประเภท คือ     ๑. ได้อาหาร,   ยา,   คนพยาบาล   ซึ่งเป็นที่สบายหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่หายจากอาพาธนั้น     ๒. ได้อาหาร,   ยา,   คนพยาบาล   ซึ่งเป็นที่สบายหรือไม่ก็ตาม ก็หายจากอาพาธนั้น.     ๓. ต่อเมื่อได้อาหาร,   ยา ,   คนพยาบาล   ซึ่งเป็นที่สบายจึงหายจากอาพาธนั้น. ทรงอาศัยบุคคลประเภทหลัง จึงทรงอนุญาตอาหาร ,   ยา ,   คนพยาบาล สำหรับผู้เป็นไข้ และอาศัยคนไข้ ( ประเภทหลัง) นี้ จึงพยาบาลคนไข้อื่น ๆ ( ๒ ประเภทแรก ) ด้วย ,   แล้วทรงแสดงธรรมเปรียบเทียบถึงบุคคล  ๓ ประเภท ( ในทางธรรม ) คือ    ๑. ได้เห็นพระตถาคตหรือไม่ก็ตาม,   ได้ฟังพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้วหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่ก้าวลงสู่ทำนองอันชอบในกุศลธรรม.     ๒. ได้เห็นพระตถาคตหรือไม่ก็ตาม,   ได้ฟังพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศหรือไม่ก็ตาม ก็ก้าวลงสู่ทำนองอันชอบในกุศลธรรมได้.     ๓. ต่อเมื่อได้เห็นพระตถาคต ได้ฟังพระธรรมวินัยอันพระตถาคตประกาศแล้ว จึงก้าวลงสู่ทำนองอันชอบในกุศลธรรมได้,   เพราะอาศัยบุคคล ( ประเภทหลัง) นี้ จึงทรงอนุญาตการแสดงธรรม และเพราะอาศัยบุคคล ( ประเภทหลัง ) นี้ จึงควรแสดงธรรมแก่คนอื่น ( ๒ ประเภทแรก ) ด้วย.

   ทรงแสดงบุคคล ๓ ประเภท คือผู้ปรุงกายสังขาร ( เจตนาทางกาย) ปรุงวจีสังขาร ( เจตนาทางวาจา) และปรุงมโนสังขาร ( เจตนาทางใจ ) อันมีการเบียดเบียน ย่อมเข้าสู่ (เกิดใน) โลกที่มีการเบียดเบียนถูต้องผัสสะ อันมาการเบียนดเบียน เสวยเวทนาอันมีการเบียดเบียน มีทุกข์โดยส่วนเดียว เช่น สัตรนรก ,   ส่วนที่ตรงกันข้าม คือไม่เกี่ยวกับการเบียดเบียนเลย ก็ได้รับผลตรงกันข้าม เช่น เทพสุภกิณหะ,   พวกที่ปรุงกายสังขาร เป็นต้น มีการเบียดเบียนบ้าง ไม่เบียดเบียนบ้าง ก็ได้รับผลผสมกัน ( ทุกข์บ้าง สุขบ้าง ) เช่น มนุษย์บางพวก เทพบางพวก วินิบาต ( เปรตที่อยู่วิมาน ) บางพวก.

   ทรงแสดงบุคคล ๓ ประเภทที่มีอุปการะมาก คือ ๑. ผู้ที่เป็นเหตุให้บุคคลถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะ     ๒. ผู้ที่เป็นเหตุให้บุคคลรู้อริยสัจจ์ ๔ ตามความเป็นจริง    ๓. ผู้ที่เป็นเหตุให้บุคคลทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ อันไม่มีอาสวะอยู่ในปัจจุบัน. ไม่มีบุคคลอื่นจะมีอุปการะยิ่งกว่าบุคคลทั้งสามประเภทนี้ และบุคคลทั้งสามประเภทนี้ มิใช่จะตอบแทนคุณได้โดยง่ายด้วยการแสดงความเคารพหรือให้ปัจจัย ๔.

   ทรงแสดงบุคคล ๓ ประเภท คือ     ๑. คนมีจิตเปรียบด้วยแผล คือคนขี้โกรธ ถูกว่ากล่าวเล็กน้อย ก็แสดงอาการโกรธเคือง เหมือนแผลถูกไม้หรือกระเบื้อง ก็มีเลือดหรือหนองไหล    ๒. คนมีจิตเปรียบด้วยสายฟ้า คือรู้อริยสัจจ์ ๔ ตามเป็นจริง เหมือนคนตาดีเห็นรูปในเวลากลางคืนอันมืดสนิทในระหว่างที่ฟ้าแลบ   ๓. คนมีจิตเปรียบด้วยเพชร คือทำให้แจ้งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะอยู่ในปัจจุบัน เหมือนเพชรทำลาย ( ตัด ) แก้วมณี หรือแผ่นหินได้.

   ทรงแสดงบุคคล ๓ ประเภท คือ     ๑. คนที่ไม่ควรคบ ได้แก่คนที่เสื่อมจากศีล   สมาธิ   ปัญญา    ๒. คนที่ควรคบ ได้แก่คนที่เสมอกันด้วยศีล   สมาธิ   ปัญญา    ๓. คนที่ควรคบอย่างสักการะเคารพ ได้แก่คนที่ยิ่งกว่าโดยศีล  สมาธิ  ปัญญา.

   ทรงแสดงบุคคล ๓ ประเภท คือ     ๑. คนที่ควรเกลียด ไม่ควรคบ ได้แก่คนทุศีล ไม่เป็นสมณะ แต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ เป็นคนเน่าใน    ๒. คนที่ควรวางเฉย ไม่ควรคบ ได้แก่คนขี้โกรธ ถูกว่ากล่าวเล็กน้อย ก็แสดงอาการโกรธเคือง    ๓. คนที่ควรคบ ได้แก่คนที่มีศีล มีกัลยาณธรรม. ( ตรัสเปรียบเทียบขำ ๆ สำหรับบุคคลประเภท ๑  และ ๒   คือประเภทที่ ๑   เปรียบเหมือนงูที่เลื้อยลงไปในอุจจาระ แม้ไม่กัดก็เปื้อน ประเภทที่ ๒ เหมือนเอาไม้หรือกระเบื้องไปเขี่ยหลุมอุจจาระ รังแต่จะเกิดกลิ่นเหม็นยิ่งขึ้น).

   ทรงแสดงบุคคล ๓ ประเภท คือ     ๑. คนพูดเหม็น ( พูดเป็นอุจจาระ ) ได้แก่ผู้พูดปดทั้ง ๆ รู้ เพื่อตน เพื่อผู้อื่นหรือเพราะเห็นแก่อามิส     ๒. คนพูดหอม ( พูดเป็นดอกไม้ ) ได้แก่ผู้ไม่พูดปดทั้ง ๆ ที่ รู้ เพื่อตน เพื่อผู้อื่น หรือเพราะเห็นแก่อามิส     ๓. คนพูดหวาน ( พูดเป็นน้ำผึ้ง ) ได้แก่ผู้ที่เว้นจากการพูดคำหยาบพูดแต่คำที่รื่นหู เป็นที่พอใจแห่งคนมาก.

   ทรงแสดงบุคคล ๓ ประเภท คือ     ๑. คนตาบอด ได้แก่ผู้ไม่มีตาที่จะทำโภคทรัพย์ให้เกิด ที่จะทำโภคทรัพย์ที่เกิดแล้วให้เจริญ กับไม่มีตาที่จะรู้ธรรมอันเป็นกุศลหรือกุศล     ๒. คนมีตาข้างเดียว ได้แก่ผู้มีตาที่จะทำโภคทรัพย์ให้เกิด ที่จะทำโภคทรัพย์ที่เกิดแล้วให้เจริญแต่อย่างเดียว แต่ไม่มีตาที่จะรู้กุศลธรรมหรืออกุศลธรรม     ๓. คนมีตาทั้สองข้าง ได้แก่คนที่มีตาทั้งสองประเภทนั้น ( ตาทางโลก,   ตาทางธรรม).

   ทรงแสดงบุคคล ๓ ประเภท คือ     ๑. ผู้มีปัญญาเหมือนหม้อคว่ำที่กรองน้ำไม่ลง ได้แก่คนที่ไม่สนใจฟังธรรมทั้งในขณะแสดงธรรมและขณะที่ตนลุกไปแล้ว    ๒. คนมีปัญญาเหมือนชายพกที่ใส่ของไว้เวลาลุกขึ้นก็หล่นเรี่ยราด ได้แก่คนที่สนใจฟังธรรมะขณะแสดง ลุกขึ้นแล้วไม่สนใจ    ๓. คนมีปัญญาหนาแน่น ( เหมือนหม้อน้ำหงายเปิดฝากรองน้ำลงไปได้ไม่หก ) ได้แก่คนที่สนใจฟังธรรม ลุกไปแล้วก็สนใจ ( พิจารณาเบื้องตน ท่ามกลางและที่สุด).

   

วรรคที่ ๔   ชื่อเทวทูตวรรค   ว่าด้วยทูตของเทวดา

   ทรงแสดงว่า ตระกูลที่บุตรบูชามารดาบิดาในเรือนของตน ชื่อว่าเป็นตระกูลที่มีพรหม,   มีบูรพาจารย์ ( อาจารย์คนแรก ),   มีผู้ควรแก่การของคำนับ. คำทั้งสามคำนี้เป็นชื่อของมารดาบิดา เพราะท่านเป็นผู้มีอุปการะมากเป็นผู้เลี้ยงดูแสดงโลกนี้แก่บุตร.

   ตรัสตอบคำถามของพระอานนท์ โดยทรงแสดงว่า มีภิกษุที่ได้สมาธิ โดยประการที่จะไม่มีการถือเรา ถือของเราและถือตัว ในร่างกายอันมีวิญญาณครองนี้,   จะไม่มีการถือเรา เป็นต้น ในนิมิต ( เครื่องหมาย ) ทั้งปวง ภายนอก ,   จะเข้าถึงเจโตวิมุติ   ปัญญาวิมุติอยู่.

   ตรัสกับพระสารีบุตรว่า ทรงแสดงธรรมโดยย่อบ้าง โดยพิสดารบ้าง ทั้งโดยย่อทั้งพิศดารบ้าง แต่ผู้รู้ธรรมะหาได้ยาก. เมื่อพระสารีบุตรกราบทูลขอร้องให้ทรงแสดง จึงทรงแสดงให้สำเนียกว่า จักมีคุณธรรมอย่างที่ตรัสตอบพระอานนท์ ( ข้างบนนี้ ) แล้วตรัสว่า ภิกษุผู้ทำได้อย่างนี้ ชื่อว่าตัดตัญหาได้ แก้เครื่องผูกมัดได้ ทำที่สุดได้ เพราะตรัสรู้ธรรมเป็นเหตุละมานะได้โดยชอบ.

    ทรงแสดงโลภะ   โทสะ   โมหะ   ว่าเป็นต้นเหตุให้เกิดกรรม ( การกระทำ ) ซึ่งจะเป็นเหตุให้ได้รับผลในชาติปัจจุบัน ชาติหน้า หรือชาติต่อ ๆ ไป และทรงแสดงอโลภะ   อโทสะ   อโมหะ   ว่าเป็นต้นเหตุให้เกิดกรรม ( การกระทำ ) เช่นเดียวกัน ( แต่เป็นไปในทางดี ).

   ตรัสตอบคำถามของหัตถกะ อาฬวกะ ( ชาวแคว้นอาฬวี ) ว่าทรงบรรทมเป็นสุขคนหนึ่งในโลก แม้ราตรีฤดูหนาวจะเย็น   หิมะจะตก   ดินจะแตกระแหง   เครื่องปูลาดจะน้อย   ใบไม้จะโปร่ง   ผ้ากาสายะจะเย็น   ลมจะพัด   เพราะทรงละราคะ   โทสะ  โมหะ   ( อันทำให้เกิดความเดือดร้อนทางกาย ทางจิต )   ได้เด็ดขาดแล้ว.

   ทรงแสดงเรื่องเทวทูต   ๓ คือคนแก่   คนเจ็บ   คนตาย   ซึ่งควรเป็นเครื่องเตือนใจคน ให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท แล้วแสดงการที่ผู้ทำกรรมชั่วจะถูกทรมานในนรกอย่างไร.

   ทรงแสดงการที่เทพชั้นดาวดึงส์ไม่พอใจ เมื่อทราบว่ามนุษย์ไม่ปฏิบัติต่อมารดาบิดา เป็นต้น ไม่รักษาอุโบสถ และพอใจเมื่อทราบว่ามนุษย์ปฏิบัติดี.

   ทรงแสดงว่า ท้าวสักกะสอนเทพชั้นดาวดึงส์ สรรเสริญการรักษาอุโบสถมีองค์ ๘   ในวันอุโบสถ .

   ทรงแสดงความที่พระองค์เป็น ( กษัตริย์ ) สุขุมาลชาติ แล้วทรงละความเมาในความเป็นหนุ่มสาว ความเมาในความไม่มีโรค ความเมาในชีวิตเสียได้.

   ทรงแสดงอาธิปไตย ( ความเป็นใหญ่ )   ๓ อย่าง คือ   อัตตาธิปไตย ( ถือตนเป็นใหญ่ )   โลกาธิปไตย ( ถือโลกเป็นใหญ่ )   และธัมมาธิปไตย ( ถือธรรมะเป็นใหญ่ ) แล้วทรงอธิบายถึงคนที่เว้นความชั่ว ประพฤติความดี เพราะปรารภตนบ้าง   ปรารภโลกบ้าง   ปรารภธรรมะบ้าง.


๑. อธิบายตามอรรถกถาปุคคลบัญญัติ อภิธัมมปิฎก หน้า ๕๕

๒. มีเงื่อนไขพิเศษสำหรับบุคคลประเภทนี้ ที่ว่าไม่ควรคบนั้น เว้นไว้แต่จะเอ็นดู จะอนุเคราะห์ คือคบเพื่อช่วยให้เขาดีขึ้นกว่าเดิม

 

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ