บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



พระสุตตันตปิฎก

พระสุตตันต
ปิฎกเล่ม ๑๒
หมวดนี้มี

๑.ทีฆนิกาย
๒.มัชฌิมนิกาย
๓.สังยุตตนิกาย
๔.อังคุตตรนิกาย
๕.ขุททกนิกาย
..เอกนิบาต ชุมนุม
ธรรมะที่มี ๑ ข้อ

๑. เอกธัมมาทิปาลิ
๒. เอกปุคคปาลิ
๓. เอตทัคคปาลิ
๔. อัฏฐานปาลิ
๕. อปรา เอกธัมมาทิปาลิ
๖. ปสาทกรธัมมาทิปาลิ
ทุกนิบาต ชุมนุม
ธรรมะที่มี ๒ ข้อ

ติกนิบาต ชุมนุม
ธรรมะที่มี ๓ ข้อ

เอกนิบาต ชุมนุม
ธรรมะที่มี ๑ ข้อ

๑. เอกธัมมาทิปาลิ
๒. เอกปุคคลปาลิ
๓. เอตทัคคปาลิ
๔. อัฏฐานปาลิ
๕. อปรา เอกธัมมาทิปาลิ
๖. ปสาทกรธัมมามาทิปาลิ ทุกนิบาต
..ปฐมปัณณาสก์
หรือหมวดที่ ๕๐
สูตรที่ ๓

วรรคที่๑ ชื่อกัมมกรณ
วรรคที่ ๒ ชื่ออธิกรณ
วรรคที่๓ ชื่อพาล
วรรคที่๔ชื่อสมจิตต
วรรคที่๕ ชื่อปริส
ทุติยปัณณาสก์
หมวด๕๐ สูตรที่๒
ตติยปัณณาสก์
หมวด๕๐ สูตรที่๓ ติกนิบาต
..ปฐมปัณณาสก์
หรือหมวดที่ ๕๐

วรรคที่๑ ชื่อพาล
วรรคที่๒ ชื่อรถการ
วรรคที่๓ ชื่อปุคคล
วรรคที่๔ ชื่อเทวทูต
วรรคที่๕ ชื่อจูฬ
ทุติปัณณาสก์
หมวดที่๕๐ ที่ ๒
ทุติปัณณาสก์
หมวดที่๕๐ ที่ ๓

 

หน้าที่ ๑ ๑.ทีฆนิกาย
๒.มัชฌิมนิกาย
๓.สังยุตตนิกาย
๔.อังคุตตรนิกาย
๕.ขุททกนิกาย
..เอกนิบาต ชุมนุม
ธรรมะที่มี ๑ ข้อ

๑. เอกธัมมาทิปาลิ
๒. เอกปุคคปาลิ
๓. เอตทัคคปาลิ
๔. อัฏฐานปาลิ
๕. อปรา เอกธัมมาทิปาลิ
๖. ปสาทกรธัมมาทิปาลิ
ทุกนิบาต ชุมนุม
ธรรมะที่มี ๒ ข้อ

ติกนิบาต ชุมนุม
ธรรมะที่มี ๓ ข้อ

..ขยายความ..

เอกนิบาต ชุมนุม
ธรรมะที่มี ๑ ข้อ

๑. เอกธัมมาทิปาลิ
๒. เอกปุคคลปาลิ
๓. เอตทัคคปาลิ
ฝ่ายภิกษุ
ฝ่ายภิกษุณี
ฝ่ายอุบาสก
ฝ่ายอุบาสิกา

๔. อัฏฐานปาลิ
๕. อปรา เอกธัมมาทิปาลิ
๖. ปสาทกรธัมมามาทิปาลิ

 

หน้าที่ ๒ ทุกนิบาต
..ปฐมปัณณาสก์
หรือหมวดที่ ๕๐
สูตรที่ ๓

วรรค ๑ ชื่อกัมมกรณ
วรรค ๒ ชื่ออธิกรณ
วรรค ๓ ชื่อพาล
วรรค๔ชื่อสมจิตต
วรรค๕ ชื่อปริส
ทุติยปัณณาสก์
หมวด๕๐ สูตรที่๒
ตติยปัณณาสก์
หมวด๕๐ สูตรที่๓
พระสูตรที่ไม่นับเข้าในหมวด ๕๐

 

หน้าที่ ๓ ติกนิบาต
..ปฐมปัณณาสก์
หรือหมวดที่ ๕๐

วรรคที่๑ ชื่อพาล
วรรคที่๒ ชื่อรถการ
วรรคที่๓ ชื่อปุคคล
วรรคที่๔ ชื่อเทวทูต

 

หน้าที่ ๔
วรรคที่๕ ชื่อจูฬ
ทุติปัณณาสก์
หมวดที่๕๐ ที่ ๒

๑.ตรัสสอนพราหมณ์ชรา
๒.ทรงแสดงติตถายตนะ
พระอานนท์โต้ตอบ
กับฉันทปริพพาชก
๔.ทรงแสดงถึงกรณี
กิจของสมณะ
๕.ตรัสถึงกิจรับด่วน

 

หน้าที่ ๕ ตติยปัณณาสก์
หมวด๕๐ สูตรที่๓

๑.เมื่อก่อนตรัสรู้ ฯลฯ
๒.ทรงแสดงบุคคล
๓.ทรงแสดงถึงภิกษุ
๔.ทรงแสดงนักรบ
๕.บุคคลด้วยธรรม
พระสูตรที่ไม่นับเข้าในหมวด ๕๐

 

เล่มที่ ๒๐ ชื่ออังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๑๒
หน้า ๒

๑. ทุกนิบาต
ชุมนุมธรรมะที่มี ๒ ข้อ
ปฐมปัณณาสก์ หรือหมวด ๕๐ สูตร ๑
วรรคที่ ๑ ชื่อกัมมกรณวรรค ว่าด้วยเครื่องลงโทษ

    ๑ . พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม. ตรัสแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายถึงโทษ  ๒ อย่าง คือโทษในปัจจุบันและโทษในภพหน้า . โทษในปัจจุบัน เช่น การจับโจรได้แล้วลงโทษ   โดยด้วยแส้  โบยด้วยหวาย   ตัดมือ   ตัดเท้า   ตัดศีรษะ   เป็นต้น.  ส่วนในโทษภพหน้า ได้แก่ผลของทุจจริตทางกาย   วาจา   ใจ   ซึ่งจะทำให้เข้าถึงอบาย   ทุคคติ   วินิบาต   นรกเมื่อตายไปแล้ว. ตรัสสอนให้กลัวโทษ เห็นภัยในโทษก็จะพ้นจากโทษทั้งปวงได้.

   ๒. ทรงแสดงถึงความเพียร   ๒ อย่าง คือความเพียรในการทำปัจจัย ๔  ให้เกิดขึ้นของคฤหสถ์ กับความเพียรเพื่อสละกิเลสทั้งปวงของบรรพชิต ทรงยกย่องความเพียรของบรรพชิตว่าเป็นเลิศ ( ในทางศาสนา ) แล้วสอนให้ภิกษุตั้งความเพียรเพื่อสละกิเลสทั้งปวง.

   ๓. ทรงแสดงธรรมะ   ๒ อย่างที่ทำให้เดือดร้อน คือเมื่อทำทุจริตทางกาย   วาจา   ใจ   ไม่ทำสุจริต   ทางกาย  วาจา  ใจ ก็เดือดร้อนว่าได้ทำทุจจริต   เดือดร้อนว่าไม่ได้ทำสุจจริต   ส่วนธรรมะ  ๒ อย่างที่ทำไม่ให้เดือดร้อน พึงพราบโดยนัยตรงกันข้าม

    ๔. ทรงแสดงว่า ทรงเห็นคุณของธรรมะ   ๒ อย่าง คือความไม่สันโดษในกุศลธรรม ( คือไม่หยุดยั้งยินดีเพียงคุณความดีอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่พยายามก้าวหน้าเรื่อยไปจนถึงที่สุดคืออรหัตตผล ) กับความเป็นผู้ไม่ถอยหลังในความเพียร แล้วทรงแสดงผลดีที่ทรงได้รับมาจากคุณธรรมที่กล่าวนี้ แล้วตรัสสอนภิกษุทั้งหลายเน้นให้ไม่ถอยหลังในความเพียร.

   ๕. ทรงแสดงธรรม   ๒ อย่าง คือการพิจารณาเห็นด้วยความพอใจในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งกิเลสที่ผูกมัด กับการพิจารณาเห็นด้วยความเบื่อหน่ายในธรรมเช่นนั้น ทรงแสดงโทษของการพิจารณาเห็นด้วยความพอใจ คือการละกิเลสและหลุดพ้นจากทุกข์ไม่ได้ ส่วนการพิจารณาเห็นด้วยความเบื่อหน่าย ทำให้ละความพอใจ คือการละกิเลสและหลูดพ้นจากทุกข์ไม่ได้ ส่วนการพิจารณาเห็นด้วยความเบื่อหน่าย ทำให้ละกิเลสและหลุดพ้นจากทุกข์ได้.

   ๖. ทรงแสดงธรรมฝ่ายดำ   ๒ อย่าง คือความไม่ละอาย และความไม่เกรงกลัว ( ต่อบาป) และทรงแสดงธรรมฝ่ายขาว คือความละอาย และความเกรงกลัว ( ต่อบาป).

   ๗. ทรงแสดงธรรมฝ่ายขาวที่คุ้มครองโลก คือความละอาย และความเกรงกลัวต่อบาป ถ้าธรรมทั้งสองนี้ไม่คุ้มครองโลก ก็จะไม่รู้ว่าใครเป็นมารดา   น้า   ป้า   ภริยาของอาจารย์  ของครู   โลกจะปนเปกันเหมือน   แพะ   ไก่   สุกร   สนัขบ้าน   สนุขป่า.

   ๘. ทรงแสดงการเข้าพรรษา   ๒ อย่าง คือการเข้าพรรษาแรก กับการเข้าพรรษาหลัง ( ดูที่ พระวินัย เล่มที่ ๔) ในข้อ ๓. วัสสูปนายิกาขันธกะ (หมวดวันเข้าพรรษา)

วรรคที่ ๒ ชื่ออธิกรณณวรรค ว่าด้วยอธิกรณ์

    ๑ . ทรงแสดงกำลังกล้า   ๒ อย่าง คือ กำลังคือการพิจารณา ( ปฏิสังขานพละ ) กับกำลังคือการอบรม ( ภาวนาพละ) แล้วตรัสอธบายกำลังคือการพิจารณาว่า ได้แก่การพิจารณาเห็นโทษของทุจจริต  แล้วละทุจจริต   เจริญสุจริตบริหารให้บริสุทธิ์ได้ . ส่วนกำลังคือการอบรม ได้แก่กำลังของพระเสขะ ( พระอริยบุคคลผู้ยังศึกษา) ซึ่งเป็นเหตุให้ละราคะ   โทสะ   โมหะ   ไม่ทำอกุศล   ไม่เสพบาป. ครั้นแล้วทรงอธิบายกำลังทั้งสองอย่างนี้ ยักย้ายนัยต่อไปอีก   ๒ แนว โดยอธิบายถึงกำลังการพิจารณาตามแนวเดิม ส่วนกำลังคือการอบรมได้แก่การเจริญโพชฌงค์ ( องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้  ๗ อย่าง)   มีสติ เป็นต้น แนวหนึ่ง กับอีกแนวหนึ่งได้แก่การเจริญฌาน ( การเพ่งอารมณ์ ) ทั้งสี่.

   ๒. ทรงแสดงธรรมเทศนาของพระตถาคตว่า มี   ๒ อย่าง คืออย่างย่อ กับอย่างพิศดาร.

   ๓. ทรงแสดงถึงภิกษุที่ถูกกล่าวหาในอธิกรณ์ กับภิกษุผู้โจทฟ้องว่า ถ้าไม่พิจารณาตนให้ดี เรื่องก็จะยืดเยื้อแรงร้ายขึ้น และภิกษุทั้งหลายก็จะอยู่ไม่ผาสุก แล้วทรงแสดงรายละเอียดในการพิจาณาตนของภิกษุทั้งสองฝ่ายนั้น.

   ๔. ทรงแสดงธรรมแก่พาหมณ์ผู้หนึ่งถึงเหตุคือการประพฤติธรรม ประพฤติไม่เรียบร้อย ว่าเป็นเหตุให้เข้าถึงอบาย   ทุคคติ   วินาต   นรกเมื่อตายแล้ว. ส่วนการประพฤติเรียบร้อย เป็นเหตุให้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เมื่อตายแล้ว.

   ๕. ทรงแสดงธรรมชาณุสโสณิพราหมณ์เรื่องการเข้าถึงนรก   สวรรค์ โดยชี้ไปที่การกระทำทุจจริตและการกระทำสุทจริตโดยลำดับ.

   ๖. ทรงแสดงธรรมแก่พระอานนท์ว่า ทุจจริตไม่ควรทำโดยเด็ดขาด ( ไม่มีทางผ่อนให้) เพราะเมื่อทำเข้าตนก็ติติดได้ ผู้รู้พิจารณาแล้วก็ติได้,   กิตติศัพท์ชั่วย่อมฟุ่งไป,   เป็นผู้หลงเมื่อตาย,   ตายแล้วก็เข้าถึงอบาย  ทุคคติ   วินิบาต   นรก.   ส่วนสุจริตทรงแสดงโดยประการตรงกันข้าม.

   ๗. ทรงสอนให้ละอกุศล   เพราะอาจจะละได้   ถ้าละไม่ได้ หรือถ้าละแล้วไม่เป็นประโยชน์   เป็นทุกข์   ก็จะไม่ทรงสอนให้ละ   แล้วทรงสอนให้เจริญกุศล   เพราะอาจจะเจริญได้   ถ้าเจริญไม่ได้  หรือเจริญแล้ว   ไม่เป็นประโยชน์   เป็นทุกข์   ก็จะไม่ทรงทรงสอนให้เจริญ.

   ๘. ทรงแสดงถึงธรรมะ   ๒ อย่าง ที่ทำให้พระสัทธรรมเลอะเลือนอันตรธาน คือการบกบทพยัญชนะผิด กับการแนะนำความหมายผิด . ส่วนธรรม   ๒ อย่างที่ไม่ทำให้พระสัทธรรมเลอะเลือนอันตรธาน คือการบกบทพยัญชนะถูก กับการแนะนำความหมายถูก.

วรรคที่ ๓ ชื่อพาลวรรค ว่าด้วยคนพาล

    ๑ . ทรงแสดงคนพาล   ๒ ประเภท คือไม่เห็นโทษ ( ของตน ) กับเมื่อผู้อื่นแสดงคืนโทษ ( ผู้อื่นขอโทษ) ไม่ยอมรับแล้ว ทรงแสดงบัณฑิต   ๒ ประเภทในทางตรงกันข้าม.

   ๒.ทรงแสดงบุคคลที่กล่าวตู่พระตถาคต   ๒ ประเภท คือ   ๑ . ผู้คิดประทุษร้าย ตกอยู่ในอำนาจความคิดประทุษร้าย   ๒. ผู้มีศรัทธาถือเอาผิด ( จำผิด, เข้าใจผิด).

   ๓. ทรงแสดงบุคคลที่กล่าวตู่พระตถาคต   ๒ ประเภทอีก   ๒ ข้อ คือข้อแรก ผู้ที่แสดงถ้อยคำที่พระตถาคตมิได้กล่าว   มิได้พูดว่า   พระตถาคตกล่าวไว้   พูดไว้   กับผู้ที่แสดงถ้อยคำที่พระตถาคตกล่าวไว้   พูดไว้ว่า   ตถาคตมิได้กล่าวไว้   มิได้พูดไว้   กับอีกข้อหนึ่ง   ผู้แสดงพระสูตร ที่มีอรรถอันควรแนะนำว่า มีอรรถอันแนะนำแล้ว แสดงพระสูตรที่มีอรรถอันแนะนำแล้ว มีอรรถอันควรแนะนำ ( แสดงสับสนไปจากหลักธรรม).

   ๔. ทรงแสดงคติของตนที่ทำกรรมซึ่งต้องปกปิด   ( กรรมชั่ว ) ว่า ได้แก่นรก   หรือกำเนิดดิรัจฉาน ส่วนผู้ทำกรรมไม่ต้องปกปิด   ( กรรมดี) มีคติเป็น   ๒ คือเทพ หรือมนุษย์.

   ๕. ทรงแสดงว่า ผู้เห็นผิด และผู้ทุศีล มีคติเป็น   ๒ ในทางชั่ว ส่วนผู้เห็นชอบและผู้มีศีลก็มีคติ เป็น   ๒ ในทางดี เช่นเดียวกับข้อ ๔.

   ๖. ทรงแสดงธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งวิชชา ( ความรู้ )   ๒ อย่าง คือ สมถะ   ( การทำจิตให้สงบ) และวิปัสสนา ( การทำปัญญาให้เห็นแจ้ง ) แล้วทรงแสดงผลว่า อบรมสมถะ ชื่อว่าอบรมจิต อบรมจิต ( สมาธิ) แล้วทำให้ละราคะ ) ความกำหนัดยินดี ) ไ ด้ อบรมวิปัสสนาแล้ว ชื่อว่าอบรมปัญญา อบรมปัญญาแล้ว ทำให้ละอวิชชา ( ความไม่รู้จริง) ได้.

   ๗. ทรงแสดงว่า จิตที่เศร้าหมองเพราะราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น ปัญญาที่เศร้าหมองเพราะอวิชชา ย่อมชื่อว่าไม่ได้รับการอบรม ด้วยเหตุนี้ เพราะคลายราคะ จึงชื่อว่าเจโตวิมุต ( ความหลุดพ้นเพราะสมาธิ ) เพราะคลายอวิชชา จึงชื่อว่าปัญญาวิมุต ( ความหลุดพ้นเพราะปัญญา).

วรรคที่ ๔ ชื่อสมจิตตวรรค ว่าด้วยจิตสม่ำเสมอ

    ๑ . ทรงแสดงภูมิของอสัตบุรุษ ( คนชั่ว) และภูมิของสัตบุรุษ ( คนดี ) โดยชี้ไปที่ความเป็นผู้ไม่กตัญญูกตเวที หรือความเป็นผู้กตัญญูกตเวที ( รู้คุณที่ผู้อื่นทำแล้ว   ชื่อกตัญญู ตอบแทนหรือประกาศคุณที่ผู้อื่นทำแล้ว ชื่อกตเวที .)

    ๒. ทรงแสดงว่า บุคคล   ๒ ท่าน คือมารดาบิดาเป็นผู้ที่จะสนองคุณโดยมาก แม้บุตรจะแบกมารดาบิดาไว้บนบ่าคนละข้างตั้ง   ๑๐๐ ปี ปฏิบัติบำรุงด้วยประการต่าง ๆ ให้มารดาบิดาถ่ายอุจจาระปัสสาวะบนบ่านั้น หรือทำให้มารดาบิดาเสวยราชสมบัติ ก็ยังไม่ชื่อว่าตอบแทนคุณได้ เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก เป็นผู้เลี้ยงดู แสดงโลกนี้แก่บุตร แล้วทรงแสดงการแทนคุณ คือทำมารดาบิดาที่ไม่มีศรัทธา ที่ทุศีลที่ตระหนี่ ที่มีปัญญาทราม ให้มีศรัทธา ให้มาศีล ให้รู้จักเสียสละ ให้มีปัญญา ( ให้ตั้งอยู่ในศีลธรรม).

   ๓. ตรัสแสดงธรรมแก่พราหมณ์ผู้หนึ่งว่า พระองค์เป็นทั้งกิริยวาที ( ผู้พูดว่าทำ ) และอกิริยวาที ( ผู้พูดว่าไม่ทำ ) คือให้ทำสุจริต แต่ไม่ทำทุจจริต.

   ๔. ทรงแสดงธรรมแก่อนาถปิณฑิกคฤหบดีว่า ทักขิเณยยบุคคล ( บุคคลลผู้ควรแก่ทักษิณาหรือของถวาย ) คือพระเสขะ ( พระอริยบุคคลที่ยังศึกษา คือตั้งแต่ผู้อยู่ในโสดาปัตติมรรคขึ้นไปถึงอรหัตตมรรค ) กับพระอเสขะ ( พระอรหันต์ ผู้ไม่ต้องศึกษา เพราะบรรลุถึงฐานะอันสูงสุดแล้ว ) ควรถวายทานในท่านเหล่านี้.

   ๕. พระสารีบุตรแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายถึงบุคคล ๒ ประเภท คือ ผู้มีสัญโญชน์ภายใน ( มีกิเลสเครื่องร้อยรัดภายใน ) มีศีลสมบูรณ์ เมื่อตายแล้วก็เกิดใหม่ในหมู่พวกเทพพวกใดพวกหนึ่ง และจะกลับมาสู่โลกนี้อีก ส่วนผู้มีสัญโญชน์ภายนอก มี   ๒ ปนะเภท คือผู้มีศีลสมบูรณ์ เข้าสู่เจโตวิมุต ( ฌานหรือสมาบัติ ) อันใดอันหนึ่ง เกิดในหมู่เทพพวกใดพวกหนึ่งแล้วไม่กลับมาสู่โลกนี้อีก กับอีกประเภทหนึ่งคือมีศีลสมบูรณ์ ปฏิบัติเพื่อดับกาม ( ความใคร่ ) เพื่อดับภพ ( ความเป็นนั้นเป็นนี่ ) เพื่อสิ้นตัญหา เพื่อสิ้นความโลภ เมื่อตายไปแล้ว เกิดในหมู่เทพพวกใดพวกหนึ่งแล้วไม่กลับมาสู่โลกนี้อีก.

   ๖. พราหมณ์ชื่ออารามทัณฑะถามพระมหากัจจานะถึงเหตุให้กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดีทะเลาะกันเองกับพวกของตน พระเถระตอบชี้ไปที่ความยึดในกามราคะ ( ความกำหนัดหรือความติดในกาม ) เมื่อถามถึง สมณะทะเลาะกันเองกับสมณะเพราะเหตุไร ก็ตอบว่า เพราะติดทิฏฐิราคะ ( ความติดในทิฏฐิความเห็น ). เมื่อถามว่า มีท่านผู้ก้าวล่วงความยึดในกามราคะและทิฏฐิราคะหรือไม่ ก็ตอบว่า มี และชี้ให้ทราบว่าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี พราหมณ์เลื่อมใส แสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ.

   ๗. พระมหากัจจานะแสดงธรรมแก่กัณฑรายนพราหมณ์ ชี้ให้เห็นว่า คนมีอายุแม้มาก แต่ยังบริโภคกาม ก็ยังไม่ชื่อว่าเป็นเถระ ( ผู้เฒ่าผู้ใหญ่) ส่วนคนหนุ่มตั้งอยู่ในปฐมวัย ถ้าไม่บริโภคกาม ก็ชื่อว่าเป็นเถระได้.

    ๘. พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมเปรียบภิกษุชั่วด้วยโจร เปรียบภิกษุผู้รักษาศีลว่าเหมือนพระราชา ที่ทำให้ชนบทไม่มีความผาสุกหรือมีความผาสุกได้ สุดแต่ฝ่ายไหนจะมีกำลังกว่ากัน.

   ๙. ตรัสว่า ไม่ทรงสรรเสริญการปฏิบัติของคฤหัสถ์ หรือบรรพชิต ( นักบวช ). คฤหัสถ์ก็ตาม บรรพชิตก็ตาม ปฏิบัติผิดแล้ว ก็ไม่ได้บรรลุกุศลธรรมที่ถูก. ทรงสรรเสริญการปฏิบัติชอบของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต. คฤหัสถ์ก็ตาม บรรพชิตก็ตาม ปฏิบัติชอบแล้ว ย่อมได้บรรลุกุศลธรรมที่ถูก.

   ๑๐. ตรัสว่า ภิกษุที่คัดค้านอรรถะธรรมะด้วยพระสูตรที่จำมาผิด มีพยัญชนะวิจิตร ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อไม่เป็นประโยชน์และความสุข และประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก ทั้งทำให้พระสัทธรรมอันตรธาน. แล้วทรงแสดงถึงภิกษุที่รับรองอรรถะธรรมะด้วยพระสูตรที่ทรงจำไว้ดี มีพยัญชนะวิจิตร ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์และความสุขะ และประสบบุญเป็นอันมาก ทั้งดำรงพระสัทธรรมไว้.

วรรคที่ ๕. ชื่อปริสวรรค ว่าด้วยบริษัท

    ๑ . ทรงแสดงถึงบริษัท   ๒ อย่าง   คือตื้นอย่างหนึ่ง   ลึกอย่างหนึ่ง   ที่ชื่อว่าตื้นเพราะขาดคุณธรรม .  ที่ชื่อว่าลึกเพราะมีคุณธรรม ;  บริษัท   ๒ อย่าง   คือที่   ( แตก )   เป็นพวก   กับที่พร้อมเพรียงกัน ;   บริษัท   ๒ อย่าง   ที่มีคนเลิศ  กับไม่มีคนเลิศ   ที่ไม่มีคนเลิศ   คือมักมาก   ย่อหย่อน   เห็นแก่นอน  ทอดธุระในความสงัด   เป็นต้น  ที่มีคนเลิศ   คือที่ตรงกันข้าม;  บริษัท ๒ อย่าง   คือที่ไม่ประเสริญ กับประเสริฐ   เพราะไม่รู้หรือเพราะรู้   อริยสัจจ์ ๔   ตามเป็นจริง ;   บริษัท   ๒ อย่าง   คือบริษัทขยะ   กับบริษัทที่มีแก่นสาร  บริษัทขยะ   คือที่ลำเอียงเพราะรัก   เพราะชัง   เพราะหลง   เพราะกลัว   บริษัทที่มีแก่นสาร   คือที่ไม่ลำเอียงเพราะรัก   เป็นต้น ;   บริษัทที่แนะนำยาก. กับบริษัทที่แนะนำง่าย; บริษัท   ๒ อย่าง   คือที่หนักในอามิส   ( เห็นแก่ลาภ )   ไม่หนักในสัทธรรม   กับที่หนักในสัทธรรม   ไม่หนักในอามิส;   บริษัท   ๒ อย่าง   คือที่ไม่สม่ำเสมอ   กับที่สม่ำเสมอ ( กำหนดด้วยภิกษุที่มีการกระทำไม่ถูกธรรมวินัยถูกธรรมวินัย ) บริษัท;   ๒ อย่าง คือที่ไม่ประกอบด้วยคุณธรรมกับที่ประกอบด้วยคุณธรรม ; บริษัท   ๒ อย่าง คือที่กล่าวเป็นอธรรม กับที่กล่าวเป็นธรรม.

    (หมายเหตุ:  ในหมวด ๕๐   ที่ ๑   ซึ่งมี ๕ วรรค   มี ๕๐ สูตรนี้ ได้โดยย่อมากล่าวให้เห็นทุกสูตร ส่วน  หมวด ๕๐   ต่อ ๆ ไป จะย่อพอเห็นความที่สำคัญ).

ทุติยปัณณาสก์ หมวด ๕๐ สูตรที่ ๒

    ( แบ่งออกเป็น   ๕ วรรค ๆ ละ   ๑๐ สูตร เช่นเดียวกับวรรคที่ ๑   ว่าด้วยบุคคล   วรรคที่ ๒ ว่าด้วยความสุข   วรรคที่ ๓   ว่าด้วยสิ่งที่มีเครื่องหมาย   วรรคที่ ๔   ว่าด้วยธรรม  และวรรคที่ ๕  ว่าด้วยพาล ).

    ๑ . ทรงแสดงบุคคล   ๒ ประเภท ในลักษณะต่าง ๆ เช่น พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า กับพระเจ้าจักรพรรดิ์ เป็นผู้เกิดเพื่อประโยชน์และความสุขแก่โลก,   เป็นอัจฉริยมนุษย์,   สิ้นชีวิตก็ทำให้คนส่วนมากเดือดร้อนถึง,   เป็นผู้ควรแก่สตูป ( ก่อเจดีย์ไว้ใส่อัฏฐิธาตุหรือกระดูกเมื่อสิ้นชีวิตแล้ว) เป็นต้น.

   ๒. ทรงแสดงความสุข   ๒ อย่าง หลายประเภท ความสุขของคฤหัสถ์ กับความสุขในการบรรพชา,   ความสุขในกาม กับความสุขในการออกจากกาม,   ความสุขที่มีกิเลส กับความสุขที่ไม่มีกิเลส,   ความสุขที่มีอาสวะ ( กิเลสที่ดองอยู่ในสันดาน ) กับความสุขที่ไม่มีอาสวะ ,   ความสุขที่มีอามิส กับความสุขที่ไม่มีอามิส,   ความสุขที่ประเสริฐ ( อริยะ) กับความสุขที่ไม่มีประเสริฐ,   ความสุขทางกาย กับความสุขทางใจ,   ความสุขที่มีปีติ ( ความอิ่มใจ ) กับความสุขที่ไม่มีปีติ ,   ความสุขที่มีความสำราญ กับความสุขที่มีความวางเฉย ,   ความสุขที่เนื่องด้วยสมาธิ กับความสุขที่ไม่เนื่องด้วยสมาธิ เป็นต้น.

    ๓. ทรงแสดงว่า อกุศลบาปธรรมย่อมเกิดขึ้นเพราะมีนิมิต ( เครื่องหมายในจิตใจ ) มิใช่เกิดขึ้นโดยไม่มีนิมิต. เพราะละนิมิตได้ อกุศลบาปธรรมก็จะไม่มี. แล้วทรงแสดงหลักการโดยทำนองเดียวกันว่า อกุศลบาปธรรมย่อมเกิดขึ้นเพราะมีต้นเหตุ ( นิทาน ) ,   มีเหตุ,   มีเครื่องปรุง,   มีปัจจัย,   ในรูป,   มีเวทนา,   มีสัญญา,   ( ความจำได้หมายรู้ ),   มีวิญญาน ( ความรู้แจ้งอารมณ์ ),   มีอารมณ์ที่ปัจจัยปรุงแต่ง.

   ๔. ทรงแสดงธรรมที่เป็นคู่กัน   ๒ อย่าง หลายประเภท คือเจโตวิมุต ( ความหลุดพ้นเพราะสมาธิ ) กับปัญญาวิมุติ ( ความหลุดพ้นเพราะปัญญา ),   ความเพียร กับความที่จิตอมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ,   นาม กับรูป,   วิชชา ( ความรู้) กับวิมุติ ( ความหลุดพ้น ),   ภวทิฏฐิ ( ความเห็นว่าเที่ยง ) กับวิภวทิฏฐิ ( ความเห็นว่าขาดสูญ ),   ความไม่มีหิริ กับความไม่มีโอตตัปปะ,   หิริ ( ความละอายต่อปาป ) กับการโอตตัปปะ ( ความเกรงกลัวต่อบาป ),   ความเป็นผู้ว่ายาก กับการคบคนชั่วเป็นมิตร,   ความเป็นผู้ว่าง่าย กับการคบคนดีเป็นมิตร,   ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ กับความเป็นผู้ฉลาดในมนสิการ ( ความใสใจหรือทำในใจ ),   ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ กับความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากอาบัติ.

   ๕. ทรงแสดงคนพาลกับบัณฑิต   ๒ ประเภท หลายอย่าง โดยแบ่งไปตามลักษณะ คือผู้เอาภาระที่ยังไม่มาถึง กับไม่เอาภาระที่มาถึง เป็นพาล ที่ตรงกันข้ามเป็นบัณฑิต ,   ผู้สำคัญว่าควรในของที่ไม่ควรกับสำคัญว่าไม่ควรในของที่ควร เป็นพาล ที่ตรงกันข้ามเป็นบัณฑิต,   ผู้สำคัญผิดในเรื่องต่าง ๆ เช่น อาบัติ,   ธรรมะ,   วินัย,   ว่าไม่เป็นอาบัติ   ไม่เป็นธรรมะ   ไม่เป็นวินัย   เป็นคนพาล   ที่ตรงกันข้ามเป็นบัณฑิต แล้วทรงแสดงว่าอาสวะ ( กิเลสที่ดองในสันดาน ) ย่อมเจริญและไม่เจริญแก่บุคคล   ๒ ประเภท ที่สำคัญผิดต่าง ๆ กับที่ไม่สำคัญผิดต่าง ๆ ในเรื่องที่ควรรังเกียจเรื่องอาบัติ,   ธรรมะและวินัย.

ตติยปัณณาสก์ หมวด ๕๐ สูตรที่ ๓

   ( มี   ๕๐ สูตร และ   ๕ วรรค   เช่นเดียวกัน   วรรคที่ ๑   ว่าด้วยความหวัง,   วรรคที่ ๒   ว่าด้วยการขอร้อง , วรรคที่ ๓   ว่าด้วยทานการให้,   วรรคที่ ๔   ว่าด้วยการต้อนรับ,   วรรคที่ ๕   ว่าด้วยสมาบัติ).

    ๑. ทรงแสดงความหวังที่ละได้ยาก คือความหวังในลาภ กับความหวังในชีวิต,   บุคคลที่หาได้ยาก คือบุพพการี ( ผู้ทำคุณก่อน ) กตัญญูกตเวที ( ผู้รู้คุณและตอบแทน),   บุคคลที่หาได้ยาก คือผู้อิ่ม กับผู้ทำให้คนอื่นอิ่ม,   บุคคลที่ทำให้อิ่มได้ยาก คือผู้เก็บไว้ ( ไม่ใช้เอง ไม่ให้ใคร ) กับผู้สละสิ่งที่ได้มาแล้ว,   ส่วนบุคคลที่ทำให้อิ่มได้ง่าย คือที่ตรงกันข้าม,   ปัจจัยให้เกิดราคะ ( ความกำหนัดยินดี ) คือความกำหนดเครื่องหมายสิ่งที่งาม ( สุภนิมิต ) กับการไม่ใส่ใจโดยแยบคาย,     ปัจจัยให้เกิดโทสะ คือความกำหนดเครื่องหมายสิ่งที่ขัดใจ ( ปฏิฆนิมิต )   กับการไม่ใส่ใจโดยแยบคาย,   ปัจจัยให้เกิดความเห็นผิด คือเสียงโฆษณาจากคนอื่น กับการไม่ใส่ใจโดยแยบคาย,   อาบัติ   ๒ อย่าง   ๓ ประเภท คืออาบัติเบา  กับอาบัติหนัก,   อาบัติชั่วหยาบ กับอาบัติไม่ชั่วหยาบ,   อาบัติมีส่วนเหลือ ( ต้องเข้าแล้วยังไม่ขาดจากความเป็นภิกษุ ) กับอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ( ต้องเข้าแล้วขาดจากความเป็นภิกษุ).

   ๒. ทรงแสดงว่า ภิกษุผู้มีศรัทธาขอร้องโดยชอบ พึงขอร้องให้ ( ตนเอง ) เป็นเช่นพระสารีบุตรกับพระโมคคัลลานะ เพราะทั้งสองท่านนั้นเป็นเครื่องชั่ง เป็นเครื่องประมาณ ( เป็นมาตรฐาน ) แห่งภิกษุทั้งหลายที่เป็นสาวกของพระองค์,   ส่วนภิกษุณีผู้มีศรัทธา   พึงขอร้องให้เป็นเช่นนางเขมา กับนางอุปปลวัณณา;   อุบาสกผู้มีศรัทธา  พึงขอร้องให้เป็นเช่นจิตตฤหบดี   กับหัตถกะ   อาฬวกะ;   อุบาสิกาผู้มีศรัทธา   พึงขอร้องให้เป็นให้เป็นเช่นขุชชุตตรา อุบาสิกา   กับนางเวฬกัณฏกิยา   ผู้เป็นมารดาของนันทมาณพ    ดูที่พระสุตตันตะเล่ม   ๑๒  หน้า ๑  ( ฝ่ายอุบาสิกา (สาวิกาที่มิได้บวช) (หมายเลข ๕)   จะเห็นว่า ในที่นั้นชื่ออุตตรา   ผู้เป็นมารดาของนันทมาณพ ถ้าเป็นคนเดียวกันก็น่าจะมีชื่อนำหน้าหลายอย่าง อรรถกถาแก้ว่า นางขุชชุตรา   เป็นผู้เลิศทางปัญญา   นันทมาตา ( มารดาของนันทมาณพ ) เป็นผู้เลิศในทางฤทธิ์ )   ต่อจากนั้นทรงแสดงว่า   คนพาลกับบัณฑิตต่างประกอบด้วยธรรม   ๒ อย่าง ในทางที่ตรงกันข้าม   เช่น   คนพาลไม่พิจารณาสอบสวน   ชมผู้ไม่ควรชม ติผู้ไม่ควรติ  ส่วนบัณฑิตตรงกันข้าม เป็นต้น.

   ๓. ทรงแสดงถึงการให้   การบูชา   การสละ   เป็นต้น   ว่ามี   ๒ อย่าง   คือการให้อามิส ( สิ่งของ ) กับการให้ธรรม.

   ๔. ทรงแสดงถึงการต้อนรับ   การแสวงหา   เป็นต้น   ว่ามี   ๒ อย่าง   คือการต้อนรับด้วยอามิส   ( สิ่งของ )   กับการต้อนรับด้วยธรรม.

   ๕. ทรงแสดงถึงความเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ   ( เข้าฌาน) กับความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาบัติ และธรรมฝ่ายดี   ฝ่ายชั่ว   เป็นคู่ ๆ   กันไป.

พระสูตรที่ไม่นับเข้าในหมวด หมวด ๕๐

   (หมายความว่า หมวดนี้ประมวลพระสูตรที่เป็นพระสูตรที่เป็นเศษของ   ๕๐ อันเหลือมาจากที่ประมวลไว้ในหมวด   ๕๐ หมวดที่แล้วมา   หรือเท่ากับเป็นหมวดรวบรวมพระสูตรที่เป็นเศษของ   ๑๕๐ สูตร).

   ใจความในหมวดนี้ คงกล่าวถึงธรรมที่มีจำนวน   ๒ ข้อ ฝ่ายชั่วฝ่ายดีคู่กัน เช่น ความโกรธกับความผูกโกรธ,   ความลบหลู่บุญคุณท่าน กับการตีเสมอ,   ความริษยา กับความตระหนี,   มายา กับความโอ้อวด,   ความไม่ละอาย กับความไม่เกรงกลัว .   ในฝ่ายดีพึงทราบโดยนัยตรงกันข้าม.


๑. ที่แสดงไว้ในบาลีมีถึง ๒๖ อย่าง

๒. คำว่า ขาดคุณธรรม หมายความรวม ในบาลีแสดงว่า ที่ฟุ้งสร้าน ถือตัว พูดเพ้อ ปากกล้า พูดไม่สำรวม หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด ไม่สำรวมอินทรีย์

๓. คำว่า แนะนำยาก แนะนำง่าย เป็นคำแปลหักให้เข้าใจง่าย

 

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ