บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



พระสุตตันตปิฎก

พระสุตตันต
ปิฎกเล่ม ๑๒
หมวดนี้มี

๑.ทีฆนิกาย
๒.มัชฌิมนิกาย
๓.สังยุตตนิกาย
๔.อังคุตตรนิกาย
๕.ขุททกนิกาย
..เอกนิบาต ชุมนุม
ธรรมะที่มี ๑ ข้อ

๑. เอกธัมมาทิปาลิ
๒. เอกปุคคปาลิ
๓. เอตทัคคปาลิ
๔. อัฏฐานปาลิ
๕. อปรา เอกธัมมาทิปาลิ
๖. ปสาทกรธัมมาทิปาลิ
ทุกนิบาต ชุมนุม
ธรรมะที่มี ๒ ข้อ

ติกนิบาต ชุมนุม
ธรรมะที่มี ๓ ข้อ

เอกนิบาต ชุมนุม
ธรรมะที่มี ๑ ข้อ

๑. เอกธัมมาทิปาลิ
๒. เอกปุคคลปาลิ
๓. เอตทัคคปาลิ
๔. อัฏฐานปาลิ
๕. อปรา เอกธัมมาทิปาลิ
๖. ปสาทกรธัมมามาทิปาลิ ทุกนิบาต
..ปฐมปัณณาสก์
หรือหมวดที่ ๕๐
สูตรที่ ๓

วรรคที่๑ ชื่อกัมมกรณ
วรรคที่ ๒ ชื่ออธิกรณ
วรรคที่๓ ชื่อพาล
วรรคที่๔ชื่อสมจิตต
วรรคที่๕ ชื่อปริส
ทุติยปัณณาสก์
หมวด๕๐ สูตรที่๒
ตติยปัณณาสก์
หมวด๕๐ สูตรที่๓ ติกนิบาต
..ปฐมปัณณาสก์
หรือหมวดที่ ๕๐

วรรคที่๑ ชื่อพาล
วรรคที่๒ ชื่อรถการ
วรรคที่๓ ชื่อปุคคล
วรรคที่๔ ชื่อเทวทูต
วรรคที่๕ ชื่อจูฬ
ทุติปัณณาสก์
หมวดที่๕๐ ที่ ๒
ทุติปัณณาสก์
หมวดที่๕๐ ที่ ๓

 

หน้าที่ ๑ ๑.ทีฆนิกาย
๒.มัชฌิมนิกาย
๓.สังยุตตนิกาย
๔.อังคุตตรนิกาย
๕.ขุททกนิกาย
..เอกนิบาต ชุมนุม
ธรรมะที่มี ๑ ข้อ

๑. เอกธัมมาทิปาลิ
๒. เอกปุคคปาลิ
๓. เอตทัคคปาลิ
๔. อัฏฐานปาลิ
๕. อปรา เอกธัมมาทิปาลิ
๖. ปสาทกรธัมมาทิปาลิ
ทุกนิบาต ชุมนุม
ธรรมะที่มี ๒ ข้อ

ติกนิบาต ชุมนุม
ธรรมะที่มี ๓ ข้อ

..ขยายความ..

เอกนิบาต ชุมนุม
ธรรมะที่มี ๑ ข้อ

๑. เอกธัมมาทิปาลิ
๒. เอกปุคคลปาลิ
๓. เอตทัคคปาลิ
ฝ่ายภิกษุ
ฝ่ายภิกษุณี
ฝ่ายอุบาสก
ฝ่ายอุบาสิกา

๔. อัฏฐานปาลิ
๕. อปรา เอกธัมมาทิปาลิ
๖. ปสาทกรธัมมามาทิปาลิ

 

หน้าที่ ๒ ทุกนิบาต
..ปฐมปัณณาสก์
หรือหมวดที่ ๕๐
สูตรที่ ๓

วรรค ๑ ชื่อกัมมกรณ
วรรค ๒ ชื่ออธิกรณ
วรรค ๓ ชื่อพาล
วรรค๔ชื่อสมจิตต
วรรค๕ ชื่อปริส
ทุติยปัณณาสก์
หมวด๕๐ สูตรที่๒
ตติยปัณณาสก์
หมวด๕๐ สูตรที่๓
พระสูตรที่ไม่นับเข้าในหมวด ๕๐

 

หน้าที่ ๓ ติกนิบาต
..ปฐมปัณณาสก์
หรือหมวดที่ ๕๐

วรรคที่๑ ชื่อพาล
วรรคที่๒ ชื่อรถการ
วรรคที่๓ ชื่อปุคคล
วรรคที่๔ ชื่อเทวทูต

 

หน้าที่ ๔
วรรคที่๕ ชื่อจูฬ
ทุติปัณณาสก์
หมวดที่๕๐ ที่ ๒

๑.ตรัสสอนพราหมณ์ชรา
๒.ทรงแสดงติตถายตนะ
พระอานนท์โต้ตอบ
กับฉันทปริพพาชก
๔.ทรงแสดงถึงกรณี
กิจของสมณะ
๕.ตรัสถึงกิจรับด่วน

 

หน้าที่ ๕ ตติยปัณณาสก์
หมวด๕๐ สูตรที่๓

๑.เมื่อก่อนตรัสรู้ ฯลฯ
๒.ทรงแสดงบุคคล
๓.ทรงแสดงถึงภิกษุ
๔.ทรงแสดงนักรบ
๕.บุคคลด้วยธรรม
พระสูตรที่ไม่นับเข้าในหมวด ๕๐

 

เล่มที่ ๒๐ ชื่ออังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๑๒
จบเล่ม

๕๐. ตติยปัณณาสก์   หมวด ๕๐   ที่ ๓

   ( ในหมวด ๕๐   ที่ ๓ นี้ คงแบ่งออกเป็น   ๕ วรรค   วรรคละประมาณ   ๑๐ สูตร เช่นเดียวกับหมวด ๕๐   ที่แล้ว ๆ มา. วรรคที่ ๑   ชื่อสัมโพธิวรรค ว่าด้วยการตรัสรู้ ,   วรรคที่ ๒   ชื่ออาปายิกวรรค ว่าด้วยผู้ที่เกิดในอบาย,   วรรคที่ ๓   ชื่อกุสินารวรรค ว่าด้วยมงคล .   หมายเลขหน้าข้อความพึงทราบว่าหมายถึงลำดับวรรคด้วยเช่นเคย ).

    ๑. ตรัสว่า เมื่อก่อนตรัสรู้ขณะที่พระองค์ยังทรงเป็นพระโพธิสัตว์  ทรงคิดว่าอะไรหนอเป็นความพอใจเป็นโทษ เป็นความพ้นไปในโลก แล้วทรงคิดว่า ความสุขกายสุขใจที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยโลก ชื่อว่าความพอใจในโลก,   ข้อที่โลกไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ชื่อว่าโทษในโลก,   การนำออก การละความกำหนัด เพราะความพอใจในโลกเสียได้ ชื่อว่าความพ้นไปในโลก แล้วตรัสว่า ตราบใดที่ยังไม่ทรงรู้เรื่องทั้งสามนี้ตามเป็นจริง ก็ไม่ทรงปฏิญญาพระองค์ว่าได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมพุทธโพธิญาณ.
ตรัสแสดงยักย้ายนัย  เรื่องทัสสาทะ ( ความพอใจ )   อาทีนวะ ( โทษ )   และนิสสรณะ ( ความพ้นไป ) ในโลกและของโลกอีก ๒ นัย.  ทรงแสดงว่า  การร้องเพลงเป็นการร้องไห้ในอริยวินัย ,   การฟ้อนรำเป็นการกระทำของคนบ้าในอริยวินัย,   การหัวเราะจนเห็นไรฟันเกินขอบเขต เป็นการกระทำของเด็กในอริยวินัย ( ในที่นี้มุ่งถึงการที่ภิกษุทำการเช่นนั้นเพราะฉะนั้น จึงไม่เป็นการกระทบกระเทือนต่อชาวโลก หรือคฤหถ์ทั่ว ๆ ไปผู้จะหัวเราะ   ร้องเพลง   หรือฟ้อนรำ )   ครั้นตรัสสอนให้ชักสะพาน ( เลิกเด็ดขาด ) ในการร้องเพลงและฟ้อนรำ เมื่อมีความบันเทิงในธรรมก็ควรทำแต่เพียงยิ้มแย้ม.
ตรัสแสดงว่า ไม่มีความอิ่ม   ในการเสพของ   ๓ อย่าง   คือในการเสพความหลับ ในการเสพสุราเมรัย   และในการเสพเมถุน.
ตรัสแสดงธรรมแก่อนาถปิณฑิกคฤหบดี  ว่าเมื่อมิได้รักษาจิตแล้ว  แม้การกระทำทางกาย,   ทางวาจา ,  ทางใจ   ก็เป็นอันไม่ได้รักษา ,   เมื่อไม่เป็นอันรักษาจึงเหมือนถูกฝนตกรดเป็นของเน่า และมีการตายอันไม่เจริญ ( ไม่ดีงาม )   เปรียบเหมือนเรือนยอดที่มุงไม่ดี ยอดเรือน ,   กลอนเรือน ( ไม้ที่รับสิ่งมุง ) ข้างฝา ,   จึงชื่อว่าไม่เป็นอันรักษา   ถูกฝนรั่วรด   เป็นของผุ .   เมื่อรักษาจิตแล้ว พึงทราบโดยนัย ตรงกันข้าม พร้อมทั้งข้ออุปมา.
ตรัสแสดงธรรมแก่อนาถปิณฑิกคฤหบดี  ว่าเมื่อจิตผิดปกติ ( พยาปันนะ   น่าจะแปลว่าพยาบาท   แต่อรรถกถาอธิบายว่า ละปกติภาพ   และผู้เขียนเห็นด้วย เพราะแปลว่าผิดปกติได้ทั้งโดยใจความและโดยพยัญชนะ )   แม้กระทำทางกาย ,   ทางวาจา,  ทางวาจา,  ทางใจ   ก็เป็นอันผิดปกติได้ด้วย เมื่อเป็นเช่นนั้น   ก็จะมีการตายที่ไม่เจริญ   แล้วทางอุปมาด้วยเรือนยอดที่มุงไม่ดีดังข้อแรก   พร้อมทั้งแสดงในทางตรงกันข้าม.
ทรงแสดงต้นเหตุที่ให้เกิดการกระทำ   (กัมมนิทาน ) ๓ ประการ   ( ฝ่ายชั่ว) คือความโลภ ,   ความคิดประทุษร้าย,   ความหลง   และทรงแสดงต้นเหตุที่ให้เกิดการกระทำ   ( ฝ่ายดี ) อีก   ๓ ประการ   คือความไม่โลภ ,   ความไม่คิดประทุษร้าย,   ความไม่หลง.
ทรงแสดงต้นเหตุที่ให้เกิดการกระทำนัยอื่น  อีก ๓ ประการ   ( ฝ่ายชั่ว )   คือฉันทะ   ความพอใจอันเกิดเพราะปรารภอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ด้วยอำนาจแห่งความพอใจที่เป็นอดีต ,   อนาคต,   ปัจจุบัน พร้อมทั้งทรงแสดงฝ่ายดีที่ตรงกันข้าม.

    ๒. ทรงแสดงบุคคล ๓ ประเภท ที่ถ้าไม่ละการกระทำดังจะกล่าวต่อไปว่า จะไปเกิดในอบาย ในนรก คือ    ๑. ไม่ประพฤติพรหมจรรย์   แต่ปฏิญญาว่าประพฤติพรหมจรรย์   ๒. โจทฟ้องผู้ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์   ด้วยข้อกล่าวหาว่าไม่ประะพฤติพรหมจรรย์   ( เสพกาม ) อันไม่มีมูล   ๓ มีวาทะ   มีทิฏฐิว่า   กามไม่มีโทษ   จึงเสพกาม.
ทรงแสดงว่า ความปรากฏแห่งบุคคล ๓ ประเภท หาได้ยากในโลก  คือพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า ,   บุคคลผู้แสดงธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ,   และบุคคลที่กตัญญูกตเวที.
ทรงแสดงบุคคล ๓ ประเภท  คือผู้ประมาณได้ง่าย ได้แก่ผู้ฟุ้งสร้าน เป็นต้น,   ผู้ประมาณยาก   ได้แก่ผู้ไม่ฟุ้งสร้าน เป็นต้น ( ตรงกันข้าม ),   ผู้ประมาณไม่ได้ ได้แก่พระอรหันต์ขีณาสพ ( ผู้หมดกิเลส )
ทรงแสดงบุคคล ๓ ประเภท  คือผู้เกิดในเทพชั้นอากาสานัญจายตนะ   มีอายุ ๒ หมื่นปีกัปป์ ,   ผู้เกิดในเทพชั้นวิญญาณัญจายตนะ   มีอายุ ๔ หมื่นกัปป์,   ผู้เกิดในเทพชั้นอากิญจัญญายตนะ   มีอายุ ๖ หมื่นกัปป์ ,   บุถุชนเกิดในเทพเหล่านั้นตั้งอยู่ตลอดอายุนั้น ๆ แล้ว ก็ไปสู่นรกบ้าง ,   กำเนิดดิรัจฉานบ้าง ,   เปรตวิสัยบ้าง ;   ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาคตั้งอยู่ตลอดอายุนั้นแล้ว ก็นิพพานในภพนั้น นี่คือความต่างกันระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับ กับบุถุชนผู้มิได้สดับ.   ทรงแสดงวิบัติ ๓   คือความวิบัติแห่งศีล,   ความวิบัติปห่งจิต ,   ความวิบัติแห่งทิฏฐิ ( ความเห็น ),   ความวิบัติแห่งศีล   ได้แก่การประพฤติกายทุจจริต ๓   วจีทุจจริต ๔,   ความวิบัติแห่งจิต   ได้แก่การมีความโลภ   กับการคิดปองร้าย   ส่วนความวิบัติแห่งทิฏฐิ   ได้แก่การเห็นผิดจากคลองธรรม ( เช่น เห็นว่า   ทานที่ให้ไม่มี ผลบุญญบาปไม่มี เป็นต้น ) แล้วทรงแสดงสัมปทา ( สมบัติตรงกันข้ามกับวิบัติ )   อีก ๓ อย่าง คือ   ศีลสัมปทา,   จิตตสัมปทา ,   ทิฏฐสัมปทา
ทรงแสดงวิบัติ ๓   และสัมปทา ๓  ตามชื่อเดิมตามคำอธิบายเดิม แต่เพิ่มว่า   วิบัติเป็นเหตุให้ไปสู่อบาย   ทุคคติ   วินิบาต   นรก   สัมปทาเป็นเหตุให้ไปสู่สุคคติโลกสวรรค์.
ทรงแสดงวิบัติ ๓   อีกนัยหนึ่ง  คือ   ๑. กัมมันตวิบัติ ( ความวิบัติแห่งการงาน )   ได้แก่กายทุจจริต   วจีทุจจริต  ๒. อาชีววิบัติ   ( ความวิบัติแห่งอาชีพ )   ได้แก่เลี้ยงชีพในทางที่ผิด,   ทิฏฐิวิบัติ   ( ความวิบัติแห่งความเห็น )   ได้แก่เห็นผิดจากคลองธรรมดังกล่าวแล้ว. แล้วทรงแสดงสัมปทาหรือสมบัติ   ๓ ในทางตรงกันข้าม.
ทรงแสดงความสะอาด   ( โสเจยยะ )   ๓ ประการ   คือความสอาดกาย ได้แก่กายสุจริต ,   สะอาดวาจา   ได้แก่วจีสุจจริต ,   สะอาดใจ   ได้แก่มโนสุจริต
แล้วทรงแสดงความสะอาด ๓  ตามชื่อเดิม แต่อธิบายในทางที่สูงกว่าเดิม   คือสะอาดกายที่ได้แก่กายสุจริตนั้น แต่เฉพาะข้อ ๓   ของกายสุจริต เป็นการเว้นจากประพฤติผิดพรหมจรรย์ ( เสพเมถุน ) สวยสะอาดใจ  ได้แก่รู้ว่านีวรณ์ ๕   ( กิเลสอันกั้นจิตมิให้บรรลุความดี   มีกามฉันท์ เป็นต้น )   มีอยู่ในภายในหรือไม่มี ,   รู้ว่าละนีวรณ์ ๕   ที่เกิดขึ้นแล้ว   และจะไม่เกิดอีกต่อไป .
ทรงแสดงความเป็นมุนี ๓ อย่าง   ( อรรถกถาแก้ว่า ความเป็นมุนี คือความเป็นคนดีหรือเป็นบัณฑิต ) คือความเป็นมุนีทางกาย ได้แก่เว้นจากฆ่าสัตว์   ลักทรัพย์   และประพฤติผิดพรหมจรรย์ ;   ความเป็นมุนีทางวาจา   ได้แก่เว้นจากพูดเท็จ   พูดส่อเสียด   พูดคำหยาบ ;   พูดเพ้อเจ้อ ;   ความเป็นมุนีทางใจ   คือทำให้แจ้งเจโตวิมุติ   ปัญญาวิมุติ   อันไม่มีอาสวะ.

    ๓. ทรงแสดงถึงภิกษุ ผู้เป็นบิณฑบาต ปรารถนาจะได้อย่างนั้นอย่างนี้ เกิดกุศลวิตก  ๓ ทานที่ให้แก่ภิกษุเช่นนี้ไม่มีผลมาก เพราะเป็นผู้อยู่อย่างประมาท , ส่วนภิกษุผู้ไม่ติดในบิณฑบาต ไม่ปรารถนาจะได้อย่างนั้นอย่างนี้ มีกุศลวิตก ๓   ทานที่ให้แก่ภิกษุเช่นนี้มีผลมาก เพราะเป็นผู้อยู่อย่างไม่ประมาท.
ทรงแสดงว่าเพียงแต่คิดไป  ในทิศที่มีภิกษุทะเลาะวิวาทกัน ก็ไม่ผาสุกเสียแล้ว จะกล่าวไปไยถึงการไปในทิศนั้น และทำให้ปลงใจว่า   ภิกษุเหล่านั้นละกุศลวิตก ทำให้มากซึ่งอกุศลวิตก ,   ส่วนภิกษุผู้สามัคคีกับพึงทราบโดยนัยตรงกันข้าม.
ทรงแสดงว่า พระองค์แสดงธรรม  เพื่อความรู้ยิ่ง ,   มีเหตุ ( สนิทาน ),   มีปาฏิหารย์.    ตรัสแก่มหานามศากยะ   ว่ามีศาสดา ๓ ประเภท คือ     ๑. บัญญัติให้กำหนดรู้กาม   แต่ไม่บัญญัติให้กำหนดรู้รูปเวทนา    ๒. บัญญัติให้กำหนดรู้กาม   และรูป   แต่ไม่บัญญัติให้รู้กำหนดเวทนา    ๓. บัญญัติให้กำหนดรู้ทั้งสามอย่าง แล้วตรัสถามว่าคติของศาสดาทั้งสามประเภทนี้ เหมือนกันหรือต่างกัน.   ภรัณฑุ กาลามโคตรพูดแนะมหานามศากยะให้ตอบว่ามีคติอย่างเดียว พระผู้มีพระภาคตรัสแนะให้ตอบว่า   มีคติต่างกัน   ต่างฝ่ายต่างแนะนำอย่างนั้นถึง   ๓ ครั้ง   ภรัณฑุ กาลามโคตรจึงหลีกไป ไม่กลับมาสู่กรุงกบิลพัสดิ์อีก.
หัตถกเทพบุตรกราบทูลพระผู้มีพระภาค  ว่าตนไม่อิ่มด้วยธรรม ๓ ประการ ( จน ) ถึงแก่กรรม ( ซึ่งเป็นคุณธรรมที่สืบเนื่องมาแต่อดีตชาติ และทำอยู่แม้ในปัจจุบัน ) คือไม่อิ่มด้วยการเฝ้าพระผู้มีพระภาค ,   ไม่อิ่มด้วยการฟังพระสัทธรรม ,   ไม่อิ่มด้วยการอุปฐากพระสงฆ์ .
ตรัสสอนภิกษุรูปหนึ่ง  มิให้ทำตนเป็นเดน ( อาหาร ) ที่เขาทิ้ง  ส่งกลิ่นคาว   มีแมลงวันตอม   โดยตรัสอธิบายแก่ที่ประชุมภิกษุทั้งหลายว่า ความโลภเปรียบเหมือนเดน ( อาหาร ) ความคิดปองร้ายเปรียบเหมือนกลิ่นคาว วิตกหรือความตรึกที่เป็นบาปอกุศลเปรียบด้วยแมลงวัน.
ตรัสตอบคำถามของพระอนุรุทธเถระ  ว่า มาตุคาม ( ผู้หญิง ) ประกอบด้วยธรรม ๓ อย่าง   เมื่อตายไปจะสู่คติที่ชั่ว คือเวลาเช้ามีจิตถูกรึงรัดด้วยมลทิล   คือความตระหนี   เวลากลางวันมีจิตถูกรึงรัดด้วยความริษยา   เวลาเย็นมีจิตถูกรึงรัดด้วยกามราคะ .
พระสารีบุตรแนะนำแก่พระอนถรุทธเถระ  ผู้กล่าวว่า ข้าพเจ้ามองดูโลกตั้งพันด้วยทิพยจักษุ ,   ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ,   ตั้งสติมั่นไม่หลงลืม,   มีกายสงบไม่กระสับกระส่าย,   มีจิตตั้งมั่น มีอารมณ์เป็นหนึ่ง   แต่จิตของข้าพเจ้ามิได้หลุดพ้นจากอาสวะ   ไม่ถือมั่น.
พระสารีบุตรชี้แจงว่า     การที่ท่านคิดว่าเรามองดูโลกตั้งพันด้วยทิพยจักษุนี้จัดเข้าในความถือตัวของท่าน ,   การที่ท่านคิดว่าเราปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ,   ตั้งสติมั่นไม่หลงลืม ,   มีกายสงบไม่กระสับกระส่าย ,   มีจิตตั้งมั่น   มีอารมณ์เป็นหนึ่ง   นี้จัดเข้าในความฟุ้งสร้านของท่าน ,   การที่ท่านคิดว่า   แต่จิตของเรามิได้หลุดพ้นจากอาสวะไม่ถือมั่น   นี้จัดเข้าในความสำคัญใจของท่าน  ท่านจงละธรรม ๓ ประการนี้เสีย   อย่าใส่ใจ   จงน้อมไปในอมตธาตุเถิด   พระอนุรุทธเถระทำตามก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์.
ตรัสแสดงสิ่ง ๓ ประการ  ที่คนนำไปอย่างปกปิด ไม่เปิดดเผย คือมาตุคาม ,   มนต์ของพราหมณ์ ,   ความเห็นผิด แล้วตรัสแสดงสิ่งที่เปิดเผยแล้วรุ่งโรจน์ คือมณฑลแห่งดวงจันทร์ มณฑลแห่งดวงอาทิตย์ และพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาสแล้ว.
ทรงแสดงบุคคล ๓ ประเภท  คือ    ๑. ผู้เหมือนรอยขีดบนหิน ได้แก่คนมักโกรธและมีความโกรธตั้งอยู่นาน.   ๒. ผู้เหมือนรอยขีดบนดิน ได้แก่คนมักโกรธ แต่มีความโกรธไม่ตั้งอยู่นาน.   ๓. ผู้เหมือนรอยขีดบนน้ำ ได้แก่คนที่ถูกว่ากล่าวด้วยคำหยาบช้าไม่น่าพอใจ ก็ยังเป็นไปได้ ( ทนได้ ) แช่มชื่นอยู่ได้.

    ๔. ทรงแสดงนักรบที่ประกอบด้วยองค์ ๓  ว่าควรแก่พระราชา คือ    ๑. ยิงไกล เทียบด้วยภิกษุผู้พิจารณาเห็นขันธ์ ๕ ตามเป็นจริงแล้วไม่ยึดถือ    ๒. ยิงไว เทียบด้วยภิกษุผู้รู้อริยสัจจ์ ๔ ตามเป็นจริง    ๓. ทำลายกายใหญ่ได้ เทียบด้วยภิกษุผู้ทำลายกองอวิชชาใหญ่ได้.
ทรงแสดงบริษัท ๓  คือที่แนะนำยาก,   แนะนำง่าย ,   ที่ต้องรู้อัธยาศัยแล้วแนะนำ.
ทรงแสดงถึงมิตรที่ประกอบด้วยองค์ ๓  ว่า ควรคบ คือ    ๑. ให้สิ่งที่ให้ได้ยาก   ๒.ทำสิ่งได้ยาก   ๓. อดทนสิ่งที่ทนได้ยาก.
ทรงแสดงว่า พระตถาคตจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม  ทำนองคลองธรรมก็คงมีอยู่แล้ว คือข้อที่สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง,  สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์,  ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา   ( ไม่ใช่ตัวตน )   เป็นแต่พระตถาคตเป็นผู้ตรัสรู้ บอกเล่า   แสดง   เปิดเผย   จำแนก  ทำให้เข้าใจง่าย.
ทรงแสดงว่า บรรดาวาทะของสมณะเป็นอันมาก  วาทะของมักขลิเลวที่สุด คือมีวาทะและความเห็นว่า   กรรม ( การกระทำ ) ไม่มี  กริยา (อาการที่ทำ ) ไม่มี   วิริยะ ( ความเพียร ) ไม่มี   เป็นการคัดค้านพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า   ทั้งอดีตอนาคต   และปัจจุบัน   ผู้กล่าวว่า   กรรม,   กิริยา ,   ความเพียรมี.
ทรงแสดงสัมปทา  ( ความถึงพร้อมหรือความสมบูรณ์ ) ๓ อย่าง   และวุฑติ   ( ความเจริญ ) ๓ อย่าง   คือความถึงพร้อม   และความเจริญด้วยศรัทธา ,   ศีลและปัญญา.
ทรงแสดงบุคคลประเภทด้อย กับประเภทดี  เทียบด้วยม้าด้อย   กับม้าดี   อย่างละ ๓ ประเภท   คือประเภทด้อย    ๑. สมบูรณ์ด้วยฝีเท้า แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยสีกาย ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูง และความสมส่วนได้แก่ภิกษุที่รู้อริยสัจจ์ ๔ ตามเป็นจริง   แต่เมื่อถูกถามปัญหาในอภิธรรม   อภิวินัย   ก็พูดตะกุกตะกักตอบไม่ได้และเป็นผู้ไม่มีลาภปัจจัย ๔    ๒. สมบูรณ์ด้วยฝีเท้า,   สมบูรณ์ด้วยสีกาย   แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูง   และความสมส่วน   ได้แก่ภิกษุที่รู้อริยสัจจ์ ๔   ตามเป็นจริง   เมื่อถูกถามปัญหาดังกล่าวก็ตอบได้   ไม่พูดตะกุกตะกัก,   แต่ไม่มีลาภปัจจัย ๔    ๓. สมบูรณ์ทั้งสามอย่าง   ได้แก่ภิกษุผู้รู้อริยสัจจ์ ๔ ตามเป็นจริง,   ตอบปัญหาได้,   ทั้งมีลาภปัจจัย     ๔.   ส่วนประเภทดี    ๑. สมบูรณ์ด้วยฝีเท้า   แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยฝีกาย   ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูง   และความสมส่วน   ได้แก่ภิกษุผู้เป็นพระอนาคามี   แต่ตอบปัญหาไม่ได้   ทั้งไม่มีลาภปัจจัย ๔ .    ๒. สมบูรณ์ด้วยฝีเท้า,   สมบูรณ์ด้วยสีกาย   แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูง  และความสมส่วน   ได้แก่ภิกษุผู้เป็นพระอนาคามีตอบปัญหาได้   แต่ไม่มีลาภปัจจัย ๔.    ๓. สมบูรณ์ทั้งสามอย่าง   ได้แก่ภิกษุผู้เป็นพระอนาคามีตอบปัญหาได้ และมีลาภปัจจัย ๔.

    (หมายเหตุ:  ในที่นี้แสดงคนเทียบด้วยม้าทั้งด้อยประเภทดี ม้าประเภทด้อยใช้คำว่า   อสฺสขํโก   ซึ่งเมืองไทยเราแปลกันว่า ม้ากระจอก ส่วนม้าประเภทดีใช้คำว่า   สทสฺโส ( สตฺ ดี = อสฺส = ม้า )   เวลากล่าวถึงคุณสมบัติของม้า กลับแสดงคุณสมบัติแบบเดียวกันทั้งสามประเภท พึงเห็นว่า ม้าประเภทด้อยนั้น แม้จะมีคุณสมบัติดีก็ดีอย่างม้าด้อยหรือม้ากระจอก   แต่เวลาเเสดงถึงคุณสมบัติของคนประเภทด้อยกับประเภทดี แม้จะกล่าวถึงคุณสมบัติเทียบด้วยม้าที่สมบูรณ์ด้วยฝีเท้า เป็นต้น อย่างเดียวกัน แต่ก็แบ่งประเภทด้อยว่ารู้อริยสัจจ์ ๔   ส่วนประเภทดีเป็นพระอนาคามี ).
ทรงแสดงบุคคลประเภทดีเลิศ  (บรุษอาชาไนย ) เทียบด้วยม้าอาชาไนย โดยคุณสมบัติของม้าอาชาไนยที่สมบูรณ์ทั้งสามประการ   แต่แสดงคุณสมบัติของบุคคลต่างออกไปในข้อสมบูรณ์ด้วยฝีเท้า   คือเป็นพระอรหันต์ ( ทำให้แจ้งเจโตวิมุติ   ปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะ )   ส่วนที่สามารถตอบปัญหา  กับมีลาภ   คงเหมือนกัน.
ทรงแสดงถึงภิกษุผู้ประกอบด้วย  ธรรม ๓ อย่าง   คือกองศีล,  สมาธิ,  ปัญญา  อันเป็นอเสขะ   ( ศีล   สมาธิ  ปัญญา   ของพระอรหันต์ )   ว่าเป็นผู้สำเร็จล่วงส่วน   อยู่จบพรหมจรรย์   ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
ทรงแสดงถึงภิกษุผู้ประกอบด้วย  ธรรม ๓ อย่างอีก   ๒ ประเภท   คืออิทธิปาฏิหารย์ ) ( แสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์ ),   อาเทสนาปฏิหาริย์ ( ทายใจได้เป็นอัศจารย์ ),   อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ( สั่งสอนได้เป็นอัศจรรย์ ),   กับอีกประเภทหนึ่งประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิ ( ความเห็นชอบ ),   สัมมาญาณะ ( ความรู้ชอบ),   สัมมาวิมุติ.  ( ความหลุดพ้นชอบ ) ว่าเป็นผู้สำเร็จล่วงส่วน   อยู่จบพรหมจรรย์   ประเสร็ฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

    ๕. ทรงแสดงว่า   บุคคลประกอบด้วยธรรม   ๓ อย่าง   ในทางชั่วทางดี จะเป็นเหมือนถูกนำไปตั้งไว้ในนรกหรือสวรรค์   ในฝ่ายชั่ว   คือประกอบด้วยการกระทำทางกาย ,   วาจา,   ใจ   อันเป็นอกุศล,   มีโทษ,   ไม่สม่ำเสมอ,   ไม่สะอาด   ในฝ่ายดี   พึงทราบโดยนัยตรงกันข้าม.
ทรงแสดงถึงคนพาลผู้ประกอบด้วยธรรม   ๓ อย่าง  แยกตามการกระทำทางกาย   วาจา   ใจ   ที่เป็นอกุศล,   มีโทษ,   ไม่สม่ำเสมอ,   ไม่สะอาด   ดังกล่าวข้างต้น ) ว่าเป็นผู้บริหารตนอย่างถูกขุด   มีโทษ   ถูกติเตียน   ประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก   ส่วนบัณฑิตตรงกันข้าม.   ทรงแสดงการไหว้   ๓ อย่าง   คือทางกาย   วาจา   ใจ   และ   สุจริต   ๓ อย่าง   คือทางกาย  วาจา  ใจ.

   

พระสูตรที่ไม่นับเข้าในหมวด ๕๐
( หมายความว่า   เป็นพระสูตรที่เป็นเศษจาก ๑๕๐ สูตรที่กล่าวมาแล้ว)

    พระผู้มีพระภาคทรงแสดงปฏิปทา ๓ อย่าง   คือ    ๑. หยาบช้า   ๒. เผาตน   ๓. สายกลาง   โดยทรงอธิบายว่า ปฏิปทาอย่างหยาบช้า   ได้แก่ที่เห็นว่า   กามไม่มีโทษ   จึงบริโภคกาม,     อย่างเผาตน   ได้แก่ทรมานตนมีเปลือยกาย   เป็นต้น,   อย่างสายกลาง   ได้แก่การเจริญสติปัฏฐาน   ( การตั้งสติ ) ๔ อย่าง.
ทรงแสดงปฏิปทา ๓   อย่างตามชื่อเดิมอีก  เป็นแต่อธิบายต่างออกไปว่า อย่างหยาบช้า,   อย่างเผาตนเหมือนอย่างข้างต้น   แต่อย่างสายกลาง   ได้แก่ความเพียรชอบ ๔ อย่าง.   โดยนัยนี้ได้ทรงแสดงปฏิปทา   ๓ อย่าง  เฉพาะข้อสุดท้าย โดยแสดงหมวดธรรมในโพธิปักขิยธรรม ( ดูที่พระสุตตันตะเล่ม ๒ หน้า ๒ ) ในข้อเสด็จป่ามหาวัน   ทีละหัวข้อจนจบถึงมรรคมีองค์ ๘ . อนึ่ง ทรงแสดงผู้ประกอบด้วยธรรมะฝ่ายชั่ว ๓ อย่าง   ฝ่ายดี ๓ อย่าง    คือตัวเองประกอบอกุศลกรรมบถ ๑๐ ( มีฆ่าสัตว์เป็นต้น ) แต่ละข้อด้วยตนเอง ,   ชักชวนผู้อื่นให้ทำ,   มีความยินดีในอกุศลกรรมบถแต่ละข้อว่าเป็นผู้เหมือนถูกนำไปตั้งไว้ในนรก  ในสวรรค์  สุดแต่เป็นฝ่ายดีหรือฝ่ายชั่ว .
ทรงแสดงสุญญตสมาธิ  
 สมาธิมีความไม่มีที่ตั้งเป็นอารมณ์)   เพื่อกำหนดรู้   เพื่อละราคะ   โทสะ  โมหะ   เป็นต้น   (คือละอุปกิเลส ๑๖ ดูที่พระสุตตันตะเล่ม ๔ หน้า ๑ ). ในหัวข้อ ๗ . วัตถูปมสูตร

   

จบเล่มที่ ๒๐   อังคุตตรนิกาย   เอก- ทุก- ติกนิบาต

๑. อกุศลวิตก ๓  คือตรึกในกาม ,   ตรึกในการปองร้าย ,   ตรึกในการเบียดเบียน .   กุศลวิตก ๓   คือการตรึกในการออกจากกาม ,   ตรึกในการไม่ปองร้าย ,   ตรึกในการไม่เบียดเบียน

๒. ข้อความที่เรียงด้วยตัวใหญ่เป็นพิเศษนี้ เพื่อชี้ว่า ตราบใดที่ยังละทิ่งคำว่า   “ เรา ”   “เขา ”   อันเป็นความยึดมั่นถือมั่นไม่ได้   ก็ยากที่จะตรัสรู้   ภาษิตเช่นนี้พุทธศาสนิกชนที่สนใจธรรมะชั้นสูงคงพอเข้าใจมาก

๓. พระอรรถกถาจารย์อิบายว่า   สัมมาทิฏฐิ   ได้แก่วิปัสสนา   สัมมาทิฏฐิ,   สัมมาญาณ   ได้แก่ผลญาณ,   สัมมาวิมุติ   ได้แก่ธรรม   คือผลสมาบัติที่เหลือ   อันเป็นเรื่องของคุณธรรมภายใน

 

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ