บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



พระสุตตันตปิฎก

พระสุตตันตะ เล่ม 16

หน้า ๑
ทสกนิบาต
ชุมนุมธรรมะ
ที่มี ๑๐ ข้อ

ปฐมปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๑
๑. อานิสงส์แห่งศีล
๒. เสนาสนะ
ด้วยองค์ ๕
๓.ตรัสแสดง
กำลัง ๑๐
๔. อำนาจ
ประโยชน์ ๑๐
๕. เหตุปัจจัยที่
ให้เกิดการทะเลาะ
วิวาทในสงฆ์

หน้า ๒
ทสกนิบาต
ชุมนุมธรรมะ
ที่มี ๑๐ ข้อ

ปฐมปัณณาสก์
หมวด ๕๐ ที่ ๒

๑. ควรฉลาด
ในเรื่องจิตของตน
๒.ที่สุดเบื้องต้น
ของอวิชชาไม่ปรากฏ
๓.สมบูรณ์ด้วยศีล ฯลฯ
๔. พระตถาคต
พ้นจากธรรม ๑๐
๕. ผู้บริโภคกาม ๑๐

หน้า ๓ ทสกนิบาต
ชุมนุมธรรมะ
ที่มี ๑๐ ข้อ

ตติยปัณณาสก์
หมวด ๕๐ ที่ ๓

๑. เจริญสมณสัญญา
๒. มิจฉาทิฏฐิ
๓. ๓ - ๕. ในวรรค
ทั้งสามวรรคนี้
ตรัสเรื่องเห็นผิดชอบ

จตุตถปัณณาสถ์
หมวด ๕๐ ที่ ๔

๑. ตรัสแสดงธรรม
๒.ชาณุส
โสณิพราหมณ์
๓ - ๕. แม้ใน ๓ วรรคนี้
ก็เป็นการแสดง
เรื่องอกุศลกรรมบถ
และกุศลกรรมบถ

ปัญจมปัณณาสถ์
หมวด ๕๐ ที่ ๔

หน้า ๔ เอกาทสกนิบาต
ชุมนุมธรรมะที่มี ๑๑ ข้อ
๑. ตรัสแสดง
อานิสงส์ของศีล
๒. ตรัสแสดงธรรม
แก่มหานามศากยะ

พระสูตรนอกหมวด ๕๐

 

เล่มที่ ๒๔ ชื่ออังคุตตรนิกาย
(เป็นสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๖ )
หน้า ๓

ทสกนิบาต ชุมนุมธรรมะที่มี ๑๐ ข้อ

ตติยปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๓

       ( มี ๕ วรรค คือวรรคที่ ๑ ชื่อสมณสัญญาวรรค ว่าด้วยความกำหนดหมายถึงความเป็นสมณะ, วรรคที่ ๒ ชื่อปัจโจโรหณิวรรค ว่าด้วยการก้าวลงจากบาป, วรรคที่ ๓ ชื่อปาริสุทธวรรค ว่าด้วยความบริสุทธิ์, วรรคที่ ๔ ชื่อสาธุวรรค ว่าด้วยสิ่งที่ดี, วรรคที่ ๕ ชื่ออริยมัคควรรค ว่าด้วยอริยมรรค ).

      ๑. ตรัสว่า เจริญสมณสัญญา ๓ ประการแล้ว

ย่อมทำธรรมะ ๗ อย่างให้บริบูรณ์ สมณสัญญา ๓ ประการ คือเรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว, ชีวิตเราเนื่องด้วยผู้อื่น, ยังมีกริยาอาการที่ดี งามพึงที่จะทำอีก. ธรรมะ ๗ อย่าง คือทำติดต่อ ประพฤติติดในศีล, ไม่โลภ, ไม่พยาบาท. ไม่ดูหมิ่นท่าน, ใคร่การศึกษา, พิจารณาเห็น ประโยชน์ในบริขารแห่งชีวิต ( พิจารณาเห็นประโยชน์ของปัจจัย ๔ ไม่ใช่เพื่อฟุ่มเฟือยอื่น ๆ ), ปรารภความเพียร.

ตรัสว่า เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ง   ย่อมทำวิชชา ๓ ( ระลึกชาติได้, ทิพยจักษุ, ทำ อาสวะให้สิ้น ).

ตรัสแสดงมิจฉันตะ ( ความเป็นผิด ) ๑๐ ประการ   คือความเห็นผิด เป็นต้น ว่า เป็นเหตุให้เกิดความผิดพลาด

และตรัสสัมมัตตะ ( ความเป็นถูก ) ๑๐ ประการ   ว่า เป็นเหตุให้เกิดความ สมบูรณ์. ตรัสเทียบทิฏฐิชั่วว่าเหมือนพืชที่ขม ทิฏฐิที่ดีเหมือนพืชที่หวาน.

ตรัสว่า อวิชชาเป็นหัวหน้าที่ให้เข้าสู่อกุศลธรรม   ความไม่ละอาย ไม่เกรงกลัว ต่อบาป เป็นของตามหลังมา. เมื่อมีวิชชา ก็มีความเห็นผิด จนถึงความหลุดพ้นผิด. ฝ่ายดีทรงแสดงวิชชาในทางตรงกันข้าม.

ตรัสแสดงถึงสิ่งที่ขจัดความผิด ( นิชชรวัตถุ ) ๑๐ ประการ   คือสัมมัตตะ ( ฝ่ายถูก ) ขจัดมิจฉันตตะ ( ฝ่ายผิด ) ๑๐ ประการ.

ตรัสว่า ในทักษิณชนบท ( ชนบทภายใต้ )   มีประเพณีชื่อโธวนะ ( การชำระล้าง โดยวิธีเอาศพฝังแล้วทำพิธีล้างกระดูก บูชาด้วยเครื่องหอม ร้องไห้คร่ำครวญ เล่นนักษัตร-อรรถกถา ) แต่การชะระล้างแบบนั้น ไม่ทำให้พ้น จากการความเกิดแก่ตายได้. ตรัสถึงการชำระล้างความเห็นผิด เป็นต้น จนถึงความหลุดพ้นผิดว่า เป็นไปเพื่อนิพพาน.

ตรัสถึงการถ่ายยาของหมอ   ว่า เพื่อบำบัดอาพาธมีดีบ้างเสมหะบ้าง ลมบ้าง เป็น สมุฏฐาน

แล้วตรัสถึงการถ่ายยาแบบอริยะ   คือถ่ายความเห็นผิด จนถึงความหลุดพ้นผิด ออกไป.

ตรัสแสดงการใช้ยาให้อาเจียน   ของหมอทำนองเดียวกับเรื่องถ่ายยา.

ตรัสถึงธรรมที่ควรสูบออก ๑๐ ประการ   มีความเห็นผิด เป็นต้น.

ตรัสเรื่องอเสขะ ( ผู้ไม่ต้องศึกษา ) และอเสขิยธรรม ( ธรรมของผู้ไม่ต้องศึกษา )   โดยแสดงความเห็นชอบอันเป็นอเสขะ เป็นต้น.

      ๒. ตรัสแสดงมิจฉาทิฏฐิ เป็นต้นว่า เป็นอธรรม เป็นอนัตถะ

( มิใช่ประโยชน์ ) และตรัสถึงสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น ตรงกันข้าม.แล้วตรัสต่อไปว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นปัจจัยให้เกิดอกุศลธรรม และกุศลธรรม อื่น ๆ.

พระอานนท์อธิบายเรื่องอธรรมและธรรม อนัตถะและอรรถะ   แก่ภิกษุทั้ง หลายในทำนองที่พระผู้มีพระภาคตรัสอธิบายแล้ว และพระผู้มีพระภาคได้ตรัสแสดงธรรมฝ่ายดี ๑๐  ฝ่ายชั่ว ๑๐   ( สัมมัตตะ, มิจฉัตตะ ) ยักย้าย นัยอีกหลายประการ.

      ๓-๕. ในวรรคทั้งสามวรรคนี้ ก็ตรัสแสดงเรื่องเห็นผิดชอบ เป็นต้น เช่นเดียวกัน

อนึ่ง เพื่อช่วยความจำ ขอกล่าวถึงรายละเอียดของฝ่ายผิด ๑๐ ข้อไว้ในที่นี้อีกครั้งหนึ่ง คือเห็นผิด,   ดำริผิด,  เจรจาผิด,  กระทำผิด,   เลี้ยงชีวิตผิด,   พยายามผิด,  ระลึกผิด,  ตั้งใจมั่นผิด,  รู้ผิด,  พ้นผิด.  ฝ่ายดีหรือฝ่ายชอบคือที่ตรงกันข้าม.

จตุตถปัณณาสถ์ หมวด ๕๐ ที่ ๔

       ( มี ๕ วรรค ๆ แรก ชื่อปุคคลวรรค ว่าด้วยบุคคล,    วรรคที่ ๒   ชื่อชาณุสโสณิวรรค ว่าด้วยชาณุส - โสณิพราหมณ์, วรรคที่ ๓ ชื่อสุนทรวรรค ว่าด้วยสิ่งที่ดี, วรรคที่ ๔ ชื่อเสฏฐวรรค ว่าด้วยสิ่งที่ประเสริฐ, วรรคที่ ๕ ชื่อเสวิตัพพา เสวิตัพพวรรค ว่าด้วยบุคคลที่ควรส้องเสพและไม่ควรส้องเสพ ).

      ๑. ตรัสแสดงบุคคลที่ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ

มีความเห็นผิด เป็นต้น ว่าไม่ควรส้องเสพ ต่อประกอบด้วยความเห็นชอบ เป็นต้น จึงควรส้องเสพ.

      ๒. ตรัสแสดงธรรมแก่ชาณุสโสณิพราหมณ์

ถึงเรื่องปัจโจโรหณี ( การข้ามลง หรือก้าวลงจากบาป ) ตามคติแห่งพระพุทธศาสนา คือชาณุสโสณิพราหมณ์เล่าถึงพิธีปัจโจโรหณีของ พราหมณ์ เมื่อถึงวันอุโบสถพราหมณ์จะสนานศรีษะ นุ่มห่มผ้าเปลือกไม้ใหม่ ฉาบแผ่นดินด้วยมูลโคสด ปูลาดด้วยหญ้าคาสด แล้วนอน ระหว่างกองทรายกับโรงบูชาไฟ และลุกขึ้นทำอัญชลีไฟ ๓ ครั้งในราตรีนั้น กล่าวว่า ปัจโจโรหาม ภวันตัง   ( ๒ ครั้ง ) แปลว่า ข้าพเจ้าข้ามลงหรือก้าวลงสู่ท่านผู้เจริญ.   เอาเนยใส น้ำมัน เนยข้นมากมายใส่ลงในกองไฟ นี่แหละเป็นพิธีปัจโจโรหณีของพราหมณ์.    พระผู้มี พระภาคตรัสว่า พิธีปัจโจโรหณีในอริยวินัยเป็นอีกอย่างหนึ่ง คือเป็นการก้าวลงจากอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ มีฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เป็นต้น มีความเห็นผิดเป็นที่สุด.    ชาณุสโสพราหมณ์ก็เลื่อมใส แสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต.    อนึ่งในวรรคนี้ตรัสแสดงการ เว้นจากอกุศลกรรมบถ ๑๐ โดยนัยต่าง ๆ กันตลอดเรื่อง มีภาษิตของพระมหากัจจานเถระแทรกอยู่แห่งเดียว แต่ก็เป็นการขยายความแห่ง พระพุทธภาษิต โดยอาศัยหลักอกุศลกรรมบถ.   และมีพระพุทธภาษิต ตรัสแก่นายจุนทะ กัมมารบุตร เรื่องความไม่สะอาดทางกาย   วาจา   ใจ  โดยแสดงอกุศลกรรมบถและกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ.    ถ้าประพฤติชั่วแล้ว จะลุกขึ้นจากที่นอน ลูบคลำแผ่นดินหรือไม่ จะลูบคลำมูลโคสด หรือไม่ จะลูบคลำหญ้าสดหรือไม่ จะบำเรอไฟหรือไม่ จะทำอัญชลีดวงอาทิตย์หรือไม่ จะลงอาบน้ำวันละ ๓ เวลา   ( มีเวลาเย็นเป็นครั้งที่ ๓ ) หรือไม่ ก็ไม่สะอาดทั้งนั้น ถ้าประพฤติดีแล้ว จะทำอย่างนั้นหรือไม่ ก็ชื่อว่าสะอาดทั้งนั้น ( เป็นการค้านลัทธิพราหมณ์ โดยชี้ความสำคัญไปที่ ความประพฤติ ไม่ใช่สะอาดหรือไม่สะอาดเพราะทำเคล็ดต่าง ๆ ).

      ๓ - ๕. แม้ใน ๓ วรรคนี้ ก็เป็นการแสดงเรื่องอกุศลกรรมบถ และกุศลกรรมบถ

ยักย้ายนัยสลับกันไป.   และเพื่อช่วยทบทวนความจำ ข้อกล่าวซ้ำถึงอกุศลกรรมบถ คือฆ่าสัตว์,  ลักทรัพย์,   ประพฤติผิดในกาม,    ๓ นี้เป็นกายทุจจริต ;   พูดปด,  พูดส่อเสียด คือยุให้แตกร้าวกัน,  พูดคำหยาบ,   พูดเพ้อเจ้อ,    ๔ นี้เป็นวจีทุจจริต ;  โลภอยากได้ของเขา, พยายามปอง ร้ายเขา, เห็นผิดจากคลองธรรม,  ๓ นี้เป็นมโนทุจจริต รวมเป็นฝ่ายชั่ว ๑๐   ส่วนฝ่ายดีคือกุศลธรรมบถ หรือทางแห่งกรรมอันเป็นกุศล พึงทราบ โดยนัยตรงกันข้าม.

ปัญจมปัณณาสถ์ หมวด ๕๐ ที่ ๔

       ( มี ๕ ไม่มีชื่อพิเศษ เรียกว่าวรรคที่ ๑ ถึงที่ ๕ ทีเดียว ).

       ตั้งแต่วรรคที่ ๑   ถึงวรรคที่ ๕  ส่วนใหญ่กล่าวถึงเรื่องอกุศลกรรมบถ และกุศลกรรมบถ, มิจฉัตตะ และ สัมมัตตะ ( ความเป็นผิด, ความเป็นถูก มีเห็นผิด เห็นชอบ เป็นต้น ) และสัญญา ( ความกำหนดหมาย ) ๑๐ ประการ เป็นต้น.    มีข้อน่า สังเกต คือในวรรคที่ ๒  แสดงถึงบุคคลว่าจะตกนรกเหมือนถูกนำไปวางไว้ เมื่อประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ มีฆ่าสัตว์ เป็นต้น,  ประกอบ ด้วยธรรม ๒๐ ประการ คือทำด้วยตนเองและชักชวนผู้อื่นเพื่อฆ่าสัตว์ เป็นต้น ( ๑๐ × ๒ = ๒๐ ), ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ คือทำด้วยตัวเอง,  ชักชวนผู้อื่น,  มีความยินดีในอกุศลกรรมบถ ๑๐ นั้น   ( ๑๐ × ๓ = ๓๐ ),  ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ   คือ ทำนอง,  ชักชวนผู้อื่น,  ยินดี,   กล่าวสรรเสริญอกุศลกรรมบถ ๑๐ นั้น ( ๑๐ × ๔ = ๔๐ ), ฝ่ายดีคือที่ตรงกันข้าม.


บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ