บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



พระสุตตันตปิฎก

พระสุตตันตะ เล่ม 16

หน้า ๑
ทสกนิบาต
ชุมนุมธรรมะ
ที่มี ๑๐ ข้อ

ปฐมปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๑
๑. อานิสงส์แห่งศีล
๒. เสนาสนะ
ด้วยองค์ ๕
๓.ตรัสแสดง
กำลัง ๑๐
๔. อำนาจ
ประโยชน์ ๑๐
๕. เหตุปัจจัยที่
ให้เกิดการทะเลาะ
วิวาทในสงฆ์

หน้า ๒
ทสกนิบาต
ชุมนุมธรรมะ
ที่มี ๑๐ ข้อ

ปฐมปัณณาสก์
หมวด ๕๐ ที่ ๒

๑. ควรฉลาด
ในเรื่องจิตของตน
๒.ที่สุดเบื้องต้น
ของอวิชชาไม่ปรากฏ
๓.สมบูรณ์ด้วยศีล ฯลฯ
๔. พระตถาคต
พ้นจากธรรม ๑๐
๕. ผู้บริโภคกาม ๑๐

หน้า ๓ ทสกนิบาต
ชุมนุมธรรมะ
ที่มี ๑๐ ข้อ

ตติยปัณณาสก์
หมวด ๕๐ ที่ ๓

๑. เจริญสมณสัญญา
๒. มิจฉาทิฏฐิ
๓. ๓ - ๕. ในวรรค
ทั้งสามวรรคนี้
ตรัสเรื่องเห็นผิดชอบ

จตุตถปัณณาสถ์
หมวด ๕๐ ที่ ๔

๑. ตรัสแสดงธรรม
๒.ชาณุส
โสณิพราหมณ์
๓ - ๕. แม้ใน ๓ วรรคนี้
ก็เป็นการแสดง
เรื่องอกุศลกรรมบถ
และกุศลกรรมบถ

ปัญจมปัณณาสถ์
หมวด ๕๐ ที่ ๔

หน้า ๔ เอกาทสกนิบาต
ชุมนุมธรรมะที่มี ๑๑ ข้อ
๑. ตรัสแสดง
อานิสงส์ของศีล
๒. ตรัสแสดงธรรม
แก่มหานามศากยะ

พระสูตรนอกหมวด ๕๐

 

เล่มที่ ๒๔ ชื่ออังคุตตรนิกาย
(เป็นสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๖ )
หน้า ๔ จบเล่ม

เอกาทสกนิบาต ชุมนุมธรรมะที่มี ๑๑ ข้อ

       ( ในหมวดนี้ไม่มีหมวด ๕๐ เริ่มต้นก็ขึ้นวรรคที่ ๑ ชื่อนิสสายวรรค ว่าด้วยสิ่งที่อาศัยกัน วรรคที่ ๒ ไม่มีชื่อ ต่อจากนั้นก็กล่าวถึงพระสูตรที่ไม่จัดเข้าในหมวด ๕๐ ).

      ๑. ตรัสแสดงอานิสงส์ของศีล

แก่พระอานนท์ว่า เป็นปัจจัยของกันและกันเป็นข้อ ๆ ต่อ ๆ กันไป รวม ๑๐ ข้อ ( ๑๑ ทั้งตัวศีลเอง ) คือความไม่เดือดร้อน, ความบันเทิง, ความอิ่มใจ, ความระงับ, ความสุข, สมาธิ, ความรู้ตามเป็นจริง, ความเบื่อหน่าย, ความคลายกำหนัด, ความเห็นด้วยญาณว่าหลุดพ้น.

พระสาริบุตร แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยนัยเดียวกัน. นอกนั้นแสดง ธรรมะทำนองเดียวกับหมวด ๑๐ หลายข้อเป็นแต่เพิ่มข้อปลีกย่อยขึ้นอีก ๑ จึงเป็น ๑๑ ข้อ.

ในข้อสุดท้ายตรัสแสดงการที่ภิกษุชื่อว่ามีความสำเร็จล่วงส่วน อยู่จบพรหมจรรย์ เพราะอาศัยธรรม ๓ ข้อ รวม ๓ ประการ อาศัยธรรม ๒ ข้อ ๑ ประการ ( รวมเป็น ๑๑ ) ธรรม ๓ ข้อ ประการที่ ๑ คือศีล, สมาธิ, ปัญญา ; ธรรม ๓ ข้อ ประการที่ ๒ คือแสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์, ทายใจได้เป็นอัศจรรย์, สั่งสอนได้เป็นอัศจรรย์ ; ธรรม ๓ ข้อ ประการที่ ๓ คือความเห็นชอบ, ความรู้ชอบ, ความพ้นชอบ ; ธรรม ๒ ข้อ คือวิชชาความรู้, จรณะความประพฤติ.

      ๒. ตรัสแสดงธรรมแก่มหานามศากยะ

เรื่องวิหารธรรม ( ธรรมอันควรเป็นที่อยู่แห่งจิต ) ๕ คือศรัทธา, ความเพียร, สติ, สมาธิ, ปัญญา และเจริญธรรมที่ยิ่งขึ้นไปอีก ๖ คือระลึก ถึงพระพุทธ, พระธรรม, พระสงฆ์, ศีล, จาคะ ( การสละ ), เทวดา ( เฉพาะข้อเทวดา หมายถึงคุณธรรมที่ทำให้เป็นเทวดา คือ ศรัทธา, ศีล, สุตะ, จาคะ, ปัญญา ).

ตรัสแสดงธรรมแก่นันทิยศากยะ ทำนองเดียวกับมหานามศากยะ เป็นแต่แสดง วิหารธรรม ๖ โดยเพิ่มศีลอีก ๑ ข้อ และแสดงธรรมที่ควรระลึก ๕ คือ พระพุทธ, พระธรรม, กัลยาณมิตร, จาคะ, เทวดา,

ตรัสแสดงธรรมแก่พระสุภูติ ถึง สัทธาปทาน ( ลักษณะของศรัทธา ) ของ กุลบุตรผู้ออกบวช ๑๑ อย่าง คือมีศีล, สดับมาก, คบเพื่อนดีงาม, ว่าง่าย, ช่วยทำธุระของเพื่อนพรหมจารี, ใคร่ธรรม, ปรารภความเพียร, ระลึกชาติได้, ได้ทิพยจักษุ, ทำให้แจ้งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะ ( ทำอาสวะให้สิ้น ).

ตรัสแสดงอานิสงส์ของเมตตาเจโตวิมุติ ( เมตตาที่เป็นฌาน ) ๑๑ ประการ คือหลับเป็นสุข, ตื่นเป็นสุข, ไม่ฝันร้าย, เป็นที่รักของมนุษย์, เป็นที่รักของอมนุษย์, เทวดาย่อมรักษา, ไฟ ยาพิษ ศัสตรา ไม่กล้ำกราย, จิคเป็นสมาธิได้เร็ว, ผิวหน้าผ่องใส, ไม่หลงตาย, ถ้ามิได้บรรลุธรรมอันยิ่งขึ้นไป ก็จะเข้าสู่พรหมโลก ( เมื่อตายไปแล้ว ).

ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะ ถามพระอานนท์ถึงธรรมข้อเดียวที่ภิกษุผู้บำเพ็ญ เพียรไม่ประมาทในธรรมนั้น แล้วจะสิ้นอาสวะได้ ท่านแสดงการเจริญฌานที่ ๑ ถึงฌานที่ ๔, การเจริญเมตตา, กรุณา, มุทิตา, อุเบกขาที่เป็น เจโตวิมุติ ( เป็นฌาน ), การเจริญอรูปฌานที่ ๑ ถึงที่ ๓ ( รวม ๑๑ ข้อ ) ว่า เพียงเจริญข้อใดข้อหนึ่ง แล้วรู้ว่า สิ่งนี้ไม่เที่ยง มีความดับไปเป็น ธรรมดา ก็อาจสิ้นอาสวะได้ หรือถ้าไม่สิ้นอาสวะ ก็จะเป็นพระอนาคามี. ( พึงสังเกตว่า บำเพ็ญฌานแล้ว กลับพิจารณาฌานทั้งสิบเอ็ดข้อนั้นว่า ไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา อันเป็นวิธีของวิปัสสนา ก็บรรลุความสิ้นอาสวะได้ ). ทสมคฤหบดีพอใจ กล่าวว่าเหมือนแสวงหาปากขุม ทรัพย์แห่งเดียว แต่ได้พบถึง ๑๑ แห่ง    ( ดูหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ หน้า ๑ )    ในหมวดเลขที่ ๒. อัฏฐกนาครสูตร เทียบดูด้วย

ตรัสแสดงการขาดและการประกอบด้วยคุณสมบัติของคนเลี้ยงโคฝ่ายละ ๑๑ ข้อ เทียบธรรมะ   ( ดูมหาโคปาลสูตร หน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ หน้า ๔ )    ๓๓. มหาโคปาลสูตร

ตรัสแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ถึงการได้สมาธิ ที่ไม่ต้องมีความกำหนดหมาย ในสิ่งต่าง ๑๑ ข้อว่าเป็นสิ่งนั้น แต่ก็ยังมีสัญญาอยู่ได้ คือ ๑ - ๔. ธาตุ ๔, ๕ - ๘. อรูปฌาน ๔, ๙. โลกนี้, ๑๐. โลกหน้า, ๑๑ สิ่งที่ได้เห็น, ได้ยิน, ได้ทราบ, ได้รู้.

พระสูตรนอกหมวด ๕๐

      ตรัสแสดงการขาดคุณสมบัติและการประกอบด้วย คุณสมบัติ ๑๑ ประการของคนเลี้ยงโค

       เทียบธรรมะ โดยตรัสย้ายนัยทางธรรม คือพิจารณาเห็นความเป็นของไม่เที่ยง, ทนอยู่ไม่ได้, ไม่ใช่ตัวตน, สิ้นไป, เสื่อมไป, ความคลายกำหนัด, ความดับ, ความสละ ในอายตนะภายใน, อายตนะภายนอก, วิญญาณ, สัมผัส, เวทนา, สัญญา, สัญเจตนา, ตัณหา, วิตก, วิจาร ซึ่งเป็นไปทางทวาร ๖ มีตา เป็นต้น.

      ตรัสว่า ควรเจริญธรรม ๑๑ อย่าง คือรูปฌาน ๔, พรหมวิหารที่เป็นเจโตวิมุติ ๔ ( มีเมตตา เป็นต้น ), อรูปฌานที่ ๑ ถึง ๓ ( รวมเป็น ๑๑ ) เพื่อละอุปกิเลส ๑๖ มีราคะ เป็นต้น ( ดูหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ หน้า ๑ ) ๗. วัตถูปมสูตร

จบพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔

อันว่าด้วยชุมนุมธรรมะที่มี ๑๐ ข้อ ๑๑ ข้อ


บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ