บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



พระสุตตันตปิฎก

พระสุตตันตะ เล่ม 16

หน้า ๑
ทสกนิบาต
ชุมนุมธรรมะ
ที่มี ๑๐ ข้อ

ปฐมปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๑
๑. อานิสงส์แห่งศีล
๒. เสนาสนะ
ด้วยองค์ ๕
๓.ตรัสแสดง
กำลัง ๑๐
๔. อำนาจ
ประโยชน์ ๑๐
๕. เหตุปัจจัยที่
ให้เกิดการทะเลาะ
วิวาทในสงฆ์

หน้า ๒
ทสกนิบาต
ชุมนุมธรรมะ
ที่มี ๑๐ ข้อ

ปฐมปัณณาสก์
หมวด ๕๐ ที่ ๒

๑. ควรฉลาด
ในเรื่องจิตของตน
๒.ที่สุดเบื้องต้น
ของอวิชชาไม่ปรากฏ
๓.สมบูรณ์ด้วยศีล ฯลฯ
๔. พระตถาคต
พ้นจากธรรม ๑๐
๕. ผู้บริโภคกาม ๑๐

หน้า ๓ ทสกนิบาต
ชุมนุมธรรมะ
ที่มี ๑๐ ข้อ

ตติยปัณณาสก์
หมวด ๕๐ ที่ ๓

๑. เจริญสมณสัญญา
๒. มิจฉาทิฏฐิ
๓. ๓ - ๕. ในวรรค
ทั้งสามวรรคนี้
ตรัสเรื่องเห็นผิดชอบ

จตุตถปัณณาสถ์
หมวด ๕๐ ที่ ๔

๑. ตรัสแสดงธรรม
๒.ชาณุส
โสณิพราหมณ์
๓ - ๕. แม้ใน ๓ วรรคนี้
ก็เป็นการแสดง
เรื่องอกุศลกรรมบถ
และกุศลกรรมบถ

ปัญจมปัณณาสถ์
หมวด ๕๐ ที่ ๔

หน้า ๔ เอกาทสกนิบาต
ชุมนุมธรรมะที่มี ๑๑ ข้อ
๑. ตรัสแสดง
อานิสงส์ของศีล
๒. ตรัสแสดงธรรม
แก่มหานามศากยะ

พระสูตรนอกหมวด ๕๐

 

เล่มที่ ๒๔ ชื่ออังคุตตรนิกาย
(เป็นสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๖ )
หน้า ๒

ทสกนิบาต ชุมนุมธรรมะที่มี ๑๐ ข้อ

ทุติยปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๒

       ( หมวดนี้มี ๕ วรรค ๆ ที่ ๑. ชื่อสจิตตวรรค ว่าด้วยจิตของตน, วรรคที่ ๒ ชื่อยมกวรรก ว่าด้วยธรรม ที่เป็นคู่, วรรคที่ ๓ ชื่ออากังขวรรค ว่าด้วยความหวัง, วรรคที่ ๔ ชื่อเถรวรรค ว่าด้วยพระเถระต่าง ๆ, วรรคที่ ๕ ชื่ออุปาสกวรรค ว่าด้วย อุบาสก ).

      ๑. ตรัสว่า ถ้าภิกษุไม่ฉลาดในเรื่องจิตของคนอื่น ก็ควรฉลาดในเรื่องจิตของตน

( ดูที่แปลไว้แล้วในข้อความน่ารู้จากไตรปิฎก ) หมายเลข ๗๗-๗๘

และตรัสว่า ไม่ทรงสรรเสริญความหยุดอยู่ในกุศลธรรม ( ดูหน้า ข้อความน่ารู้จากไตรปิฎก หมายเลข ๗๖. พระพุทธเจ้าไม่ทรงสรรเสริญความหยุดอยู่ในกุศลธรรม

และตรัสเรื่องควรฉลาดในเรื่องจิตของตนอีกนัยหนึ่ง ( ดูหน้าข้อความน่ารู้จาก ไตรปิฎก ) หมายเลข ๗๘. ฉลาดในเรื่องจิตของตนอีกอย่างหนึ่ง

ตรัสถึง ปัจจัย ๔, คามนิคม, ชนบท, ประเทศ, บุคคลว่า มี ๒ อย่าง คือที่ควรเสพ และไม่ควรเสพ โดยมีเหตุผลว่า ถ้าเสพเข้า อกุศลธรรมเจริญ กุศลธรรมเสื่อม ก็ไม่ควรเสพ ถ้าอกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญ ก็ควรเสพ.

พระสาริบุตรแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ถึงเรื่องบุคคลผู้มีธรรมอันเสื่อมและ ไม่เสื่อม และเรื่องควรฉลาดในเรื่องจิตของตน.

ตรัสแสดงสัญญา ( ความกำหนดหมาย ) ๑๐ ประการ คือความกำหนดหมาย ว่าไม่งาม, ความกำหนดหมายในความตาย, ความกำหนดหมายว่าน่าเกลียดในอาหาร, ว่าไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง, ว่าไม่เที่ยง, ว่าเป็นทุกข์ใน สิ่งที่ไม่เที่ยง, ว่าไม่ใช่ตนในสิ่งที่เป็นทุกข์, ความกำหนดหมายในการละ, ในการคลายความกำหนัด, ในการดับ.

และตรัสความกำหนดหมาย ๑๐ ประการอื่นอีก คือความกำหนดหมายว่าไม่ เที่ยง, ว่าไม่ใช่ตน, ความกำหนดหมายในความตาย, ความกำหนดหมายว่าน่าเกลียดในอาหาร, ว่าไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง, ความกำหนดหมาย ในกระดูก, ในซากศพที่มีหนอนไต่, ในซากศพที่มีสีเขียว, ในซากศพที่ขาดเป็นท่อน, ในซากศพที่ขึ้นพอง.

ตรัสว่า ธรรมทั้งปวงมีฉันทะ ( ความพอใจ ) เป็นมูล เป็นต้น ( ดูที่แปล ไว้แล้วในข้อความน่ารู้จากไตรปิฎก หมายเลข ๗๙. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นอะไร ? แล้วได้ตรัสสรูปสอนให้ สำเหนียกว่า จิตของเรา ๑. จักได้รับอบรมโดยควรแก่การบวช ๒. จักไม่ถูกอกุศลบาปธรรมครอบงำ ๓. จักได้รับอบรมด้วยความกำหนด หมายว่าไม่เที่ยง ๔. จักได้รับอบรมด้วยความกำหนดหมายว่าไม่ใช่ตัวตน ๕. จักได้รับอบรมด้วยความกำหนดหมายว่าไม่งาม ๖. จักได้รับ อบรมด้วยความกำหนดหมายถึงโทษ ๗. จักได้รับอบรมด้วยความกำหนดหมายที่รู้ถึงความเสมอไม่เสมอแห่งโลก ๘. จักได้รับอบรมด้วยความ กำหนดหมายที่รู้ถึงความมีความเป็น ความไม่มีไม่เป็นแห่งโลก ๙. จักได้รับอบรมด้วยความกำหนดหมายที่รู้ถึงความเกิดขึ้น ความดับไปแห่ง โลก ๑๐. จักได้รับอบรมด้วยความกำหนดหมายถึงการละ ๑๑. จักได้รับอบรมด้วยความกำหนดหมายถึงความคลายกำหนัด ๑๒. จักได้รับ อบรมด้วยความกำหนดหมายถึงความดับ. เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็หวังผลได้ ๒ อย่าง, อย่างใดอย่างหนึ่ง คืออรหัตตผลในปัจจุบัน หรือถ้ายังมีกิเลส เหลือก็คือ ความเป็นพระอนาคามี.

ตรัสแสดงธรรมแก่พระคิริมานนท์ ผู้เป็นไข้ โดยสอนให้พระอานนท์จำไปบอก เรื่องสัญญา ๑๐ ประการ คือ ๑. อนิจจสัญญา ( ความกำหนดหมายว่าไม่เที่ยง ) ๒. อนัตตสัญญา ( ความกำหนดหมายว่าไม่ใช่ตัวตน ) ๓. อสุภสัญญา ( ความกำหนดหมายว่าไม่งาม ) ๔. อาทีนวสัญญา ( ความกำหนดหมายถึงโทษของกาย ) ๕. ปหานสัญญา ( ความกำหนดหมาย ถึงการละอกุศลวิตก ). ๖. วิราคสัญญา ( ความกำหนดหมายถึงความคลายกำหนัด ) ๗. นิโรธสัญญา ( ความกำหนดหมายถึงความดับสังขาร และกิเลสทั้งปวง ) ๘. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา ( ความกำหนดหมายว่าไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง ) ๙. สัพพสังขาเรสุ อนิจจสัญญา ( ความ กำหนดหมายว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง ) ๑๐. อานาปานสติ ( สติกำหนดลมหายใจเข้าออก ).

      ๒. ตรัสว่า ที่สุดเบื้องต้นของอวิชชาไม่ปรากฏ

ว่า ก่อนหน้านี้ไม่มีอวิชชา อวิชชามามีขึ้นในภายหลัง แต่ก็ปรากฏขึ้นเพราะมีปัจจัย เรากล่าวว่า อวิชชามีอาหาร นีวรณ์ ๕ เป็นอาหาร ของอวิชชา. ครั้นแล้วได้ตรัสแสดงธรรมะอื่น ๆ ที่เป็นอาหารของนีวรณ์ และของสิ่งที่เป็นอาหารของนีวรณ์ต่อ ๆ ไปอีกเป็นลูกโซ่ คือทุจจริต ๓, การไม่สำรวมอินทรีย์, การไม่มีสติสัมปชัญญะ, การไม่ใส่ใจโดยแยบคาย, ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา, การไม่ฟังธรรม, การไม่คบสัตบุรุษ, ฝ่ายดีคือวิชชาวิมุติ มีโพชฌงค์ ๗ เป็นอาหาร, โพชฌงค์ ๗ มีสติปัฏฐาน ๔ เป็นอาหาร โดยนัยนี้ได้แสดงสุจริต ๓. อินทรียสังวร, โยนิโสมน- สิการ จนถึงการคบสัตบุรุษว่า เป็นอาหารของธรรมะที่มาข้างหน้าตนโดยลำดับ.

ตรัสเรื่องที่สุดเบื้องต้นของภวตัณหา ( ความทะยานอยากในความมีความเป็น ) ในทำนองเดียวกับอวิชชา. ฝ่ายดีเริ่มต้นด้วยวิชชาวิมุติเช่นเดิม.

ตรัสว่า ผู้ถึงความตกลงใจ ( หมดความสงสัย ) ในพระองค์ ชื่อว่าผู้สมบูรณ์ด้วย ทิฏฐิ มี ๕ พวกที่ปรินิพพานในโลกนี้ คือพระโสดาบันพวกเกิด ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่ง, พวกเกิดจากสกุลสู่สกุล ( เกิด ๒-๓ ชาติ ), พวกเกิด ชาติเดียว, พระสกทาคามี, ท่านผู้เป็นพระอรหันต์ในปัจจุบัน, มี ๕ พวก ละโลกนี้ไปแล้วจึงนิพพาน คือพระอนาคามี ๕ ประเภท    ( ดูหน้า พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ หน้า ๔ )     ทุติยปัณณสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๒.ในหมายเลข ๔

ตรัสแสดงผู้เลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระองค์ว่า เป็นโสดาบัน และแบ่งเป็น ๕ พวก ๒ ประเภทเช่นข้างต้น.

พระสาริบุตร ตอบคำถามของสามัณฑกานิปริพพาชกบุตร ว่า ความเกิดเป็น ทุกข์ ความไม่เกิดเป็นสุข ที่ว่าเป็นทุกข์เพราะ หวังได้ถึงทุกข์ อื่น ๆ คือ เย็น, ร้อน, หิว, ระหาย, ปวดอุจจาระ ปัสสาวะ เป็นต้น. และได้ แสดงถึงความไม่ยินดี ( อนภิรตี ) ว่า เป็นทุกข์ในพระธรรมวินัยนี้ ส่วนความยินดี ( พอใจตามมีตามได้ ) เป็นสุขในพระธรรมวินัยนี้.

พระผู้มีพระภาคตรัสสั่งให้พระสาริบุตรแสดงธรรมแทน พระองค์ทรงพักผ่อน พระสาริบุตรได้แสดงถึงว่า ถ้าไม่มีศรัทธาในกุศลธรรม ก็จะไม่มีหิริและธรรมะข้อต่อ ๆ ไปโดยลำดับ คือโอตตัปปะ, วิริยะ, ปัญญา, ทำให้มีความเสื่อมในกุศลธรรม : ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา, ไม่ละอาย, ไม่เกรงกลัวต่อบาป, เกรียจคร้าน, มีปัญญาทราม, มักโกรธ, ผูกโกรธ, มีความปรารถนาลามก, คบคนชั่วเป็นมิตร, มีความเห็นผิด ฝ่ายดีคือตรงกันข้าม. พระผู้มีพระภาคตรัสรับรองและชมเชย.

พระสาริบุตรสอนภิกษุทั้งหลาย คล้ายกับที่กล่าวไว้แล้ว เป็นแต่ยักย้ายใน เล็กน้อย.

ตรัสสอนให้พูดอิงอาศัยกถาวัตถุ ( เรื่องที่ควรพูด ) ๑๐ ประการ คือ ถ้อยคำเรื่องมักน้อย, สันโดษ, สงัด, ไม่คลุกคลี, ปรารภความเพียร, ศีล, สมาธิ, ปัญญา, วิมุตติ, วิมุตติญาณทัสสนะ.

      ๓. ตรัสสอนให้สมบูรณ์ด้วยศีล สมบูรณ์ด้วยปาฏิโมกข์

ถ้าเธอหวังดังต่อไปนี้ ก็พึงทำให้บริบูรณ์ในศีล. ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความสงบแห่งจิต ( เจโตสมถะ ) ในภายใน ไม่ว่างเว้นจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา เจริญการอยู่เรือนว่าง คือ ๑. หวังให้เป็นที่รักที่พอใจของเพื่อนพรหมจารี ๒. หวังได้ปัจจัย ๔ ๓. หวังให้มีผลมาก มีอานิสงส์มากแก่ผู้ถวายปัจจัย ๔ ๔.หวังให้มีผลมาก มีอานิสงส์มากแก่ญาติสายโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้ว มีจิตเลื่อมใสระลึกถึง ๕. หวังสันโดษ ด้วยปัจจัย ๔ ตามมีตามได้ ๖. หวังอดทนต่อเย็น ร้อน หิว ระหาย สัมผัสเหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์เสือกคลาน ถ้อยคำที่ไม่เป็นที่พอใจและ ทุกขเวทนากล้า ๗. หวังอดทนต่อความไม่ยินดีและความยินดีมิให้มาครอบงำได้ ๘. หวังอดทนต่อความหวาดกลัว ๙. หวังได้ฌาน ๔ โดย ไม่ยาก ๑๐. หวังทำให้แจ้งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะอยู่ในปัจจุบัน. ( หมายเหตุ : ถอดความว่า ถ้าหวังอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมด ๑๐ ข้อนี้ ก็พึงทำให้บริบูรณ์ในศีล เจริญสมาธิ บำเพ็ญวิปัสสนา คือทำปัญญาให้เกิด ).

ตรัสแสดงสิ่งที่เป็นเสี้ยนหนาม ๑๐ ประการ คือ ๑.ความคลุกคลีด้วยหมู่เป็น เสี้ยนหนามของผู้ยินดีความสงัด ๒. การประกอบเนือง ๆ ซึ่งนิมิตว่างามเป็นเสี้ยนหนามของผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งนิมิตว่าไม่งาม ๓. การดู การเล่นเป็นเสี้ยนหนามของผู้สำรวมอินทรีย์ ๔. การเที่ยวไปใกล้มาตุคามเป็นเสี้ยนหนามของพรหมจรรย์ ๕. เสียงเป็นเสี้ยนหนามฌานที่ ๑ ๖. วิตก วิจาร ( ความตรึก ความตรอง ) เป็นเสี้ยนหนามของฌานที่ ๒ ๗. ปีติ ( ความอิ่มใจ ) เป็นเสี้ยนหนามของฌานที่ ๓ ๘. ลมหายใจ เข้าออกเป็นเสี้ยนหนามของฌานที่ ๔ ๙. สัญญา และเวทนา ( ความกำหนดหมาย และความรู้สึกอารมณ์ว่าสุขทุกข์ เป็นต้น ) เป็นเสี้ยนหนาม แห่งการเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ๑๐. ราคะ โทสะ ( ความกำหนัดยินดี ความคิดประทุษร้าย ) เป็นเสี้ยนหนาม ( ทั่ว ๆ ไป ).

ตรัสว่า ธรรม ๑๐ ประการที่น่าปรารถนาน่าใคร่น่าพอใจ แต่หาได้ยากในโลก คือ ๑. ทรัพย์ ๒. ผิวพรรณ ๓. ความไม่มีโรค ๔. ศีล ๕. พรหมจรรย์ ( การประพฤติเหมือนพรหม คือเว้นจากกาม ) ๖. มิตร ๗. การสดับตรับฟังมาก ๘. ปัญญา ๙. ธรรมะ ๑๐. สัตว์ ( น่าจะหมายถึงคนที่ถูกใจ ).

ตรัสอันตราย ๑๐ ประการ แห่งสิ่งที่น่าปรารถนาน่าใคร่น่าพอใจ คือ ๑. ความ เกียจคร้าน เป็นอันตรายแห่งทรัพย์ ๒. การไม่ประดับตกแต่งเป็นอันตรายแห่งผิวพรรณ ๓. การทำสิ่งที่แสลงเป็นอันตรายแห่งความไม่มีโรค ๔. คบคนชั่วเป็นมิตรเป็นอันตรายแห่งศีล ๕. การไม่สำรวมอินทรีย์เป็นอันตรายของพรหมจรรย์ ๖. การพูดขัดเป็นอันตรายของมิตร ๗. การไม่ ท่องบ่นเป็นอันตรายแห่งการสดับตรับฟังมาก ๘. การไม่ตั้งใจฟัง ไม่ไต่ถามเป็นอันตรายแห่งปัญญา ๙. การไม่ประกอบเนือง ๆ การไม่พิจารณา เป็นอันตรายแห่งธรรม ๑๐. การปฏิบัติผิดเป็นอันตรายแห่งสัตว์. ส่วนอาหาร ( เครื่องสืบต่อหล่อเลี้ยง ) แห่งธรรม ๑๐ ประการ พึงทราบโดย นัยตรงกันข้าม. ( หมายเหตุ : ในข้อที่ว่าด้วยอันตราย พระไตรปิฎกฉบับไทยพิมพ์ตกตั้งแต่ข้อ ๒ ถึงข้อ ๖ รวม ๕ ข้อ. ส่วนในข้อว่า ด้วยอาหารไม่ตกหล่น ).

ตรัสแสดงความเจริญ ๑๐ ประการ ที่ทำให้อริยสาวกชื่อว่าเจริญด้วยความเจริญอัน ประเสริฐ คือ ๑. นา, สวน ๒. ทรัพย์, ข้าวเปลือก ๓. บุตร, ภริยา ๔. ทาส, กรรมกร ๕. สัตว์ ๔ เท้า ๖. ศรัทธา ๗. ศีล ๘. การสดับตรับฟัง ๙. การสละ ๑๐. ปัญญา.

ตรัสแสดงบุคคล ๑๐ ประเภท คือ ๑๐. ทุศีล ปฏิบัติมีแต่เสื่อม ๒. ทุศีล แต่กลับ ตัวได้ ( ละทุศีลได้ ) ปฏิบัติก้าวหน้า ๓. มีศีล ปฏิบัติมีแต่เสื่อม ๔. มีศีล ปฏิบัติก้าวหน้า ๕. มีราคะกล้า ปฏิบัติมีแต่เสื่อม ๖. มีราคะกล้า ราคะดับไม่เหลือ ปฏิบัติก้าวหน้า ๗. มักโกรธ ปฏิบัติมีแต่เสื่อม ๘. มักโกรธ ความโกรธดับไม่เหลือ ปฏิบัติก้าวหน้า ๙. ฟุ้งสร้าน ปฏิบัติ มีแต่เสื่อม ๑๐. ฟุ้งสร้าน ความฟุ้งสร้านดับไม่เหลือ ปฏิบัติก้าวหน้า    ( ตรัสแสดงแก่พระอานนท์เพื่อแก้ข้อข้องใจของมิคสาลาอุบาสิกาอย่างเดียว กับที่ปรากฏหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ หน้า ๕ ) ปัญจมปัณณสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๕ ในหมายเลข ๕    เป็นแต่ในที่นี้เพิ่มข้อธรรม มากขึ้น .
   ๑. ตรัสว่า ถ้าไม่มีธรรม ๓ อย่างในโลก คือความเกิด ความแก่ ความตาย ก็จะไม่เกิดพระตถาตคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในโลก และพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศดีแล้ว ก็จะไม่รุ่งเรืองใน โลก.
   ๒. ตรัสว่า ละธรรม ๓ อย่างไม่ได้ คือราคะ, โทสะ, โมหะ ก็ไม่ควรที่จะละความเกิด, ความแก่, ความตายได้.
   ๓. ตรัสว่า ละธรรม ๓ อย่างไม่ได้ คือสักกายทิฏฐิ, วิจิกิจฉา, สีลัพพตปรามาส ก็ไม่ควรที่จะละ ราคะ, โทสะ, โมหะได้.
   ๔. ตรัสว่า ละธรรม ๓ อย่างไปไม่ได้ คือการไม่ใส่ใจโดย แยบคาย, การเสพทางผิด, การที่จิตหดหู่ ก็ไม่ควรจะละสักกายทิฏฐิ, วิจิกิจฉา, สีลัพพตปรามาสได้.
   ๕. ตรัสว่า ละธรรม ๓ อย่างไม่ได้ คือความเป็นผู้หลงลืม สติ, ความไม่มีสัมปชัญญะ, ความฟุ้งสร้านแห่งจิต ก็ไม่ควรจะละการไม่ใส่ใจโดยแยบคาย, การเสพทางผิด, การที่จิตหดหู่ได้.
   ๖. ตรัสว่า ละธรรม ๓ อย่างไม่ได้ คือความเป็นผู้ไม่ใคร่ จะเห็นพระอริยะ, ความเป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ, ความเป็นผู้มีจิตคิดจับผิด ก็ไม่ควรจะละความเป็นผู้หลงลืมสติ, ความไม่มีสติสัมปชัญญะ, ความฟุ้งสร้านแห่งจิตได้.
   ๗. ตรัสว่า ละธรรม ๓ อย่างไม่ได้ คือความฟุ้งสร้าน, ความไม่สำรวม, ความทุศีล ก็ไม่ควรละความเป็นผู้ไม่ใคร่จะเห็นพระอริยะ, ความเป็นผู้ไม่ใคร่จะฟังธรรมะของพระอริยะ, ความเป็นผู้มีจิต คิดจับผิดได้.
   ๘. ตรัสว่า ละธรรม ๓ อย่างไม่ได้ คือความไม่ศรัทธา, ความไม่รู้คำที่คนอื่นพูด, ความเกียจคร้าน ก็ไม่ควรจะละความฟุ้งสร้าน, ความไม่สำรวม, ความทุศีลได้.
   ๙. ตรัสว่า ละธรรม ๓ อย่างไม่ได้ คือความไม่เอื้อเฟื้อ, ความว่ายาก, การคบคนชั่วเป็นมิตร ก็ไม่ควรจะละความไม่มีศรัทธา, ความไม่รู้คำที่คนอื่นพูด, ความเกียจคร้านได้.
   ๑๐. ตรัสว่า ละธรรม ๓ อย่างไม่ได้ คือความไม่ละอาย, ความไม่เกรงกลัวต่อบาป, ความประมาท ก็ไม่ควรจะละความไม่เอื้อเฟื้อ, ความว่ายาก, การคบคนชั่วเป็นมิตรได้.

ตรัสว่า ภิกษุประกอบด้วยอสัทธรรม ๑๐ อย่าง เป็นผู้เช่นเดียวกับกา คือ ทำลายความดีของผู้อื่น, คะนอง, ทะยานอยาก, กินมาก, ละโมภ, ไม่กรุณา, ไม่มีกำลัง, ส่งเสียงเอ็ดอึง, หลงลืมสติ, ทำการสะสม.

ตรัสแสดงอสัทธรรมของพวกนิครนถ์ และเรื่องเกี่ยวกับความอาฆาต ( เรื่อง เกี่ยวกับความอาฆาต โปรดดูที่แปลไว้แล้ว หน้าข้อความน่ารู้จากไตรปิฎก หมายเลข ๗๔. ที่ตั้งแห่งความอาฆาต ๑๐ อย่าง

      ๔. ตรัสว่า พระตถาคตพ้นจากธรรม ๑๐ อย่าง

คือขันธ์ ๕, ชาติ, ชรา, มรณะ, ทุกข์, กิเลส เปรียบเหมือนดอกบัวเกิดในน้ำ โผล่พ้นน้ำ ไม่เปียกน้ำ.

ตรัสกะพรพอานนท์ ว่า เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลต่อไปนี้จะถึงความเจริญไพบูรณ์ ในพระธรรมวินัยนี้ คือไม่มีศรัทธา, ทุศีล, สดับน้อย, ว่ายาก, คบคนชั่วเป็นมิตร, เกียจคร้าน, หลงลืมสติ, ไม่สันโดษ, มีความปรารถนาลามก, เห็นผิด แต่ถ้าตรงกันข้ามก็เป็นไปได้. ตรัสแสดงเหตุที่พระธรรมเมศนาของพระตถาคตบางครั้งก็แจ่มแจ้ง บางครั้งก็ไม่แจ่มแจ้ง ( แก่คนบาง คน ) เพราะมีศรัทธา, แต่ไม่เข้าไปหา, ไม่เข้าไปนั่งใกล้, ไม่ไต่ถาม, ไม่เงี่ยโสตฟังธรรม, ไม่ทรงจำธรรม, ไม่พิจารณาอรรถแห่งธรรม, ไม่รู้ อรรถรู้ธรรม แล้วปฏิบัติธรรมดาตามความสมควรแก่ธรรม, ไม่มีวาจาไพเราะ, ไม่แนะนำชักชวนปลุกใจปลอบใจเพื่อนพรหมจารี ( เพียงข้อใด ข้อหนึ่งก็ทำให้พระธรรมเทศนาไม่แจ่มแจ้ง ) ฝ่ายดีคือที่ตรงกันข้าม.

พระมหาโมคคัลลานะแสดงธรรม ๑๐ อย่าง ว่า เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่ พระตถาคตประกาศแล้ว คือมักโกรธ, ผูกโกรธ, หลบหลู่บุญคุณท่าน, ตีเสมอ, ริษยา, ตรัหนี่, โอ้อวด, มีมายา, ปรารถนาลามก, หลงลืมสติ.

พระมหาจุนทะแสดงธรรม ๑๐ อย่าง ( มีความเป็นผู้ทุศีล ไม่มีศรัทธา เป็นต้น ) ว่า เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว.

พระมหากัสสปะแสดงธรรม ๑๐ อย่าง ( นีวรณ์ ๕, ยินดีในการงาน, ในการพูด มาก, ในการหลับ, ในการคลุกคลีด้วยหมู่, หลงลืมสติ ) ว่า เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว.

ตรัสแสดงธรรมที่เป็นไปเพื่อไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เคารพ ไม่เป็นที่สรรเสริญ ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน คือก่ออธิกรณ์, ไม่ใคร่การศึกษา, ปรารถนาลามก, มักโกรธ, ลบหลู่บุญคุณท่าน, โอ้อวด, มีมายา, ไม่พิจารณา, ไม่หลีกเร้น, ไม่ต้อนรับเพื่อนพรหมจารี. ฝ่ายดีคือที่ตรงกันข้าม. ตรัสว่า ผู้ด่าผู้บริภาษเพื่อนพรหมจารี ผู้ว่าร้ายพระอริยะ ย่อมถึง ความพินาศ ๑๐ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือไม่บรรลุคุณที่ยังมิได้บรรลุ, เสื่อมจากคุณที่บรรลุแล้ว, พระสัทธรรมไม่ผ่องแผ้ว, เข้าใจผิดว่าได้ บรรลุในพระสัทธรรม, ไม่มีความยินดีประพฤติพรหมจรรย์, ต้องอาบัติชั่วหยาบอย่างใดอย่างหนึ่ง, ถูกต้องโรคาพาธอันหนัก, จิตฟุ้งสร้าน เป็นบ้า, หลงตาย, ตายแล้วเข้าถึงอบาย ทุคคติ วินิบาต นรก.

มีเรื่องเล่าว่า พระโกกาสิกะ กล่าวว่าพระสาริบุตร และพระโมคคัลลานะว่ามีความปรารถนาลามก พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามปรามถึง ๓ ครั้ง ก็ไม่ฟัง ต่อมาไม่ช้าก็เป็น โรคพุพอง มีแผลใหญ่ขึ้นทุกที่ จนถึงต้องนอนบนใบตอง มีน้ำเหลืองและโลหิตไหลคล้ายปลาที่ถูกขอดเกล็ด ในที่สุดก็ทำกาละด้วยอาพาธนั้น และไปเกิดในปทุมนรก.

พระสาริบุตรกราบทูลเรื่องกำลังของ พระขีณาสพ ๑๐ ประการ    ( ดูกำลัง ๘ หน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ หน้า ๒ )    ในข้อที่ ๓. อุคคคฤหบดีชาวกรุงเวสาลี    เพิ่มเจริญสัมมัปปธาน ( ความเพียรชอบ ) ๔ และเจริญพละ ( กำลัง ) ๕    อีก     ๒ ข้อ ).

      ๕. ตรัสแสดงถึงผู้บริโภคกาม ๑๐ ประการ

๑. แสวงหาทรัพย์มาได้โดยผิดธรรม ไม่ทำตัวเองให้เป็นสุข ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ       ๒. ทำตัวเองให้เป็นสุข แต่ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ        ๓.ทำตัวเองให้เป็นสุข แจกจ่าย ทำบุญ       ๔. แสวงหาทรัพย์มาได้โดยชอบธรรมบ้าง ผิดธรรมบ้าง ไม่ทำตัวให้เป็นสุข ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ       ๕.ทำตัวเองให้เป็นสุข แต่ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ        ๖. ทำตัวเองให้เป็นสุข แจกจ่าย ทำบุญ       ๗. แสวงหาทรัพย์มาได้โดยชอบธรรม ไม่ทำตัวเองให้ เป็นสุข ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ       ๘. ทำตัวเองให้เป็นสุข แต่ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ       ๙. ทำตัวเองให้เป็นสุข แจกจ่าย ทำบุญ และติดไม่เห็นโทษ ในทรัพย์นั้น        ๑๐. ทำตัวเองให้เป็นสุข แจกจ่าย ทำบุญ แต่ไม่ติดและเห็นโทษในทรัพย์นั้น แล้วตรัสชี้ถึงบุคคลแต่ละประเภทเหล่านั้นว่า ประเภทไหนถูกติเตียนกี่ทาง ควรสรรเสริญกี่ทาง.

ตรัสแสดงธรรมแก่อนาถปิณฑิกคฤหบดี ว่า อริยสาวกที่สงบเวร ๕    ได้ ประกอบด้วยองค์แห่งพระโสดาบัน ๔    ได้เห็นญายธรรม ( ธรรมที่ถุกต้อง ) ด้วยดี ด้วยปัญญา     เมื่อปรารถนาก็พึงพยากรณ์ตนเองได้ สิ้นนรก เป็นต้น จนถึงพระโสดาบัน เที่ยงที่จะได้ตรัสรู้ต่อไป.

อนาถปิณฑิกคฤหบดีโต้ตอบกับพวกปริพพาชกถึงทิฏฐิ ๑๐ ประการที่พวกเขา ยืนยัน เช่น โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยงว่า ความเห็นนั้น ๆ ก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ( คือทนอยู่ไม่ได้ ).

วัชชิยมาหิตคฤหบดีโต้ตอบกับพวกปริพพาชก ถึงเรื่องการบำเพ็ญตบะ     ว่า พระผู้มีพระภาคทรงติสิ่งที่ควรติ สรรเสริญสิ่งที่ควรสรรเสริญ ทรงเป็นผู้ตรัสจำแนก ( ตามเหตุผล ) ไม่ตรัสแง่เดียว.

อุตติยปริพพาชก เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ทูลถามถึงเรื่องทิฏฐิ ๑๐ มีเรื่องโลกเที่ยง เป็นต้น ตรัสตอบว่า พระองค์ไม่ทรงพยากรณ์ทิฏฐิแต่ละข้อเหล่านั้น พระอานนท์จึงชี้แจงเหตุผลที่ไม่ทรงพยากรณ์ให้ฟัง.

พระอานนท์โต้ตอบกับโกกนุทปริพพาชก    ถึงเรื่องทิฏฐิ ๑๐ ประการในทำนอง คล้ายคลึงกัน.

ตรัสว่า ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ    เป็นผู้ควรของคำนับ จนถึงเป็น เนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก คือมีศีล, สดับมาก, คบเพื่อนที่ดี, มีความเห็นชอบ, ได้อภิญญา ๖ ( มีแสดงฤทธิ์ได้ เป็นต้น ).

ตรัสว่า ภิกษุผู้เป็นเถระ ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ    อยู่ในทิศใด ๆ ก็มี ความผาสุกในทิศนั้น ๆ คือเป็นพระเถระรู้ราตรีนาน, มีศีล, สดับมาก, ฉลาดในการระงับอธิกรณ์, ใคร่ธรรม, สันโดษด้วยปัจจัย ๔ ตามมีตาม ได้, น่าเลื่อมใสในการก้าวไปถอยกลับ, สำรวมด้วยดีเมื่อนั่งในบ้าน, ได้ฌาน ๔ ตามปรารถนา, ทำให้แจ้งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะ อยู่ในปัจจุบัน.

ตรัสแสดงธรรมแก่พระอุบาลี ถึงเรื่องเสนาสนะป่าอันสงัด ยากที่จะมีผู้ยินดี แล้ว ตรัสแสดงถึงการที่กุลบุตรค่อยเลื่อนชั้นการปฏิบัติ จนถึงได้สัญญาเวทยิตนิโรธ ( เค้าความเดียวกับสามัญญผลสูตร หน้าพระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ) ความเห็นปรารภเบื้องปลาย ๔๔

และตรัสเองยังละธรรม ๑๐ อย่างไม่ได้ ไม่ควรทำให้แจ้งอรหัตตผล ( ดูหน้าข้อความน่ารู้จากไตรปิฎก ) หมายเลข ๘๐. ละธรรม ๑๐ อย่างไม่ได้ยังไม่ควรเป็นพระอรหันต์


    '๑' . พ้องกับข้อ ๑ น่าจะเป็น อนิจฉสัญญา ความกำหนดหมายว่าไม่น่าปรารถนาในสังขารทั้งปวง เพราะพระพุทธ ภาษิตนี้อธิบายก็ว่า เบื่อหน่าย, รำคาญ, เกลียดชัง

    '๒' . อรรถกถาแก้ว่า โลกุตตรธรรม ๙    คือ   มรรค ๔   ผล ๔   นิพพาน ๑

    '๓' . ดูคำอธิบายในเชิงอรรถ หน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒     หน้า ๔  ( ซึ่งได้กล่าวอธิบายไว้ว่า     สัญโญชน์ ๓    คือ สักกายทิฏฐิ ความเห็นเป็นเหตุถือตัวถือตน วิจิกิจฉา ความสงสัยในพระรัตนตรัยและสีลัพพตปรามาส การลูบคลำศีลและพรต คือถือโชคลาง หรือติดในลัทธิพิธี

    '๔' . โอรวี, โอรวิตา อรรถกถาแก้ไว้ไม่ชัด

    '๕' . พระโกกาลิกะ เป็นพระพวกเดียวกับพระเทวทัต

    '๖' . ในภาคอธิบายตรัสแสดงการตรัสรู้ปฏิจจสมุปบาท คือความเกิดขึ้นหรือความดับไปโดยอาศัยเหตุต่อ ๆ กันไป


บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ