บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



หมวดพระวินัย

พระวินัยเล่ม ๗
1.ขุททกวัตถุขันธกะ
2.เสนาสนขันธกะ
3.สังฑเภทขันธกะ
4.วัตตขันธกะ
5.ปาฏิโมกขฐปนขันธกะ
6.ภิกขุณีขันธกะ
7.ปัญจสติขันธกะ
8.สัตตสติกขัธกะ

หน้า ๑
๑ ขุททกวัตถุขันธกะ
..เรื่องเกี่ยวกับการอาบน้ำ
..ห้ามใช้เครื่อง
ประดับแบบ
คฤหัสถ์
..ข้อห้ามเกี่ยวกับผม
..ข้อห้ามเกี่ยว
กับการส่อง
กระจกหรือแว่น
..ข้อห้ามทา
หน้าทาตัว
..ห้ามดูฟ้อนรำ
และห้ามขับด้วย
เสียงอันยาว
..ห้ามใช้ผ้าขนเเกะ
..ข้อห้ามและ
อนุญาตเกี่ยว
กับผลไม้
..ตรัสสอน
ให้แผ่เมตตา
..ห้ามตัดองคชาต
..ข้อห้ามและ
อนุญาตเกี่ยว
กับบาตร
..ทรงอนุญาต
มีดและเข็ม
..ทรงอนุญาต
และห้ามเกี่ยวกับ
ไม้แบบหรือสดึง
..ทรงอนุญาต
ถุงใส่ของ
สายคล้องบ่า
ผ้ากรองน้ำ และมุ้ง ทรงอนุญาตการ
จงกรมและ
เรือนไฟ เป็นต้น
..เรื่องที่นั่ง
ที่นอนและที่
ใส่อาหาร
..ห้ามฉันอาหาร
ดื่มน้ำในภาชนะ
เดียวกัน เป็นต้น
..การลงโทษ
คว่ำบาตรแก่
วัฑฒะลิจฉวี

หน้า ๒
เรื่องผ้าขาวที่
ไม่ให้เหยียบ
และเหยียบได้
..นางวิสาขา
ถวายของใช้
..ทรงอนุญาต
และห้ามใช้ร่ม
..ทรงห้ามและ
อนุญาตไม้คาน
สาแหรก
..เรื่องอาเจียน
และเมล็ดข้าว
..ทรงอนุญาต
มีดตัดเล็บ
เป็นต้น
..เรื่องผมและหนวดเครา
..เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด
..เครื่องใช้ที่เป็นผ้า
..เรื่องหาบหาม
..การเคี้ยวไม้สีฟัน
ทรงห้ามประ
พฤติอนาจาร
..ห้ามจุดป่าและขึ้นไม้
..ห้ามยกพุทธวจนะ
ขึ้นโดยฉันท์
..ห้องเรียนห้าม
สอนโลกายตะและ
ติรัจฉานวิชชา
..ห้ามถือโชคลาง
แต่ไม่ขัดใจคนอื่น
..ห้ามฉันกระเทียม
..ทรงอนุญาต
ที่ถ่ายปัสสาวะ
อุจจระ
..ทรงห้ามประ
พฤติอนาจาร
..ทรงอนุญาต
เครื่องใช้
๒. เสนาสนขันธกะ
..ทรงอนุญาต
ที่ถ่ายปัสสาวะ
อุจจระ
..ทรงห้ามประ
พฤติอนาจาร
..ทรงอนุญาต
เครื่องใช้
เครื่องนั่งเ
ครื่องนอน

หน้า ๓

..อนาถปิณฑิก
คฤหบดีนับถือ
พระพุทธศาสนา
..ตั้งภิกษุผู้ควบ
คุมการก่อสร้าง
..ลำดับอาวุโส
..บุคคลผู้ไม่ควร
ไหว้ ๑๐ ประเภท
..บุคคลผู้ควร
ไหว้ ๓ ประเภท
..มณฑปที่สร้าง
อุทิศสงฆ์
..ที่นั่งต่างชนิด
ของคฤหัสถ์
..การถวาย
เชตวนาราม
..ปัญหาลำดับ
อาวุโสเพิ่มเติม
..การจัดสรร
ที่อยู่อาศัย
..การนั่งต่ำนั่งสูง
..ปราสาทและ
เครื่องนั่งนอนต่าง ๆ
..สิ่งที่จะสละ
ไม่ได้ ๕ หมวด
..การควบคุม
การก่อสร้าง
..การขนย้าย
ของใช้และรักษา
ที่อยู่อาศัย
..เจ้าหน้าที่
ทำการสงฆ์อื่น ๆ
๓ สังฆเภทขันธกะ
..พระเทวทัต
คิดการใหญ่
..พระเทวทัต
ขอปกครอง
คณะสงฆ์
..ตรัสให้ขอ
อนุมัติสงฆ์
ประกาศ
เรื่องพระเทวทัต
..พระเทวทัต
ยุให้ขบท
..การประทุษร้าย
พระพุทธเจ้าครั้งแรก
..การประทุษ
ร้ายครั้งที่ ๒
..การประทุษ
ร้ายครั้งที่ ๓
..พระเทวทัต
เสนอข้อ
ปฏิบัติ ๕ ข้อ
ทำสงฆ์ให้แตกกัน
..พระเทวทัต
อาเจียน
เป็นโลหิต
..ความร้าวและ
ความแตกกัน
ของสงฆ์
..ใครทำให้สงฆ์
แตกกันได้และได้
..เหตุเป็นเครื่อง
ทำให้สงฆ์แตกกัน
และสามัคคีกัน
..การทำสงฆ์ให้
แตกกันที่ทำให้
ไปอบายและ
ไม่ไปอบาย

หน้า ๔ ๔.วัตตขันธกะ
๔. วัตตขันธกะ
..(๑) อาคันตุกวัตร
..(๒) อาวาสิกวัตร
..(๓) คมิกวัตร
..(๔) ภัตตัคควัตร
..(๕) ปิณฑจาริกวัตร
..(๖) อรัญญกวัตร
..(๗) เสนาสนวัตร
..(๘) ชั้นตาฆรวัตร
..(๙) วัจจกุฏิวัตร
..(๑๐) อุปัชฌาวัตร
..(๑๑) สัทธิวิหาริกวัตร
..(๑๒) อาจริยวัตร
..(๑๓) อันเตวาสิกวัตร
๕. ปาฏิโมกขฐปนขันธกะ
..ต่อจากนั้นไม่
ทรงแสดง
ปาฏิโมกข์อีก
..การโจทฟ้อง
๖. ภิกขุนีขันธกะ
..ทรงอนุญาต
การบวชภิกษุณี
..การศึกษา
สิกขาบท
..ลักษณะตัด
สินธรรมวินัย
๘ ประการ
..เรื่องเกี่ยวกับ
ปาฏิโมกข์
และสังฆกรรม
..การลงโทษ
ภิกษุด้วย
การไม่ไหว้
..การลงโทษ
นางภิกษุณี
..การให้โอวาท
นางภิกษุณี
..ข้อห้ามเบ็ดเตล็ด
๗. ปัญจสติกขัรธกะ
..การสังคาย
นาครั้งที่ ๑
..การถอนสิก
ขาบทเล็กน้อย
..พระอานนท์
ถูกปรับอาบัติ
..พระปุราณะ
ไม่ค้านแต่ถือ
ตามที่ฟังมาเอง
..ลงพรหม
ทัณฑ์พระฉันนะ
๘. สัตตสิกขันธกะ
การสังคายนาครั้งที่ ๒
..พระยสะ
กากัณฏกบุตร
คัดค้าน

 

เล่มที่ ๗ ชื่อจุลลวัคค์ ( เป็นพระวินัยปิฏก )
หน้า ๒

เรื่องผ้าขาวที่ไม่ให้เหยียบและเหยียบได้

    โพธิราชกุมารฉลองปราสาท นิมนต์พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ไปฉัน ทรงให้ปูผ้าขาวไว้ตลอดจนถึงชานบันได พระผู้มีพระภาคไม่ทรงเหยียบ ( มีเกล็ดเล่าว่า โพธิราชกุมารอธิษฐานว่า ถ้าจะได้บุตรขอให้ทรงเหยียบ ) ต่อมาทรงปรารภเรื่องนั้น จึงตรัสห้ามมิให้เหยียบผ้าขาว ถ้าเหยียบ ต้องอาบัติทุกกฏ .

    ถ้าเจ้าของงานขอให้เหยียบเพื่อเป็นมงคล ทรงอนุญาตให้เหยียบได้ แม้ผ้าเช็ดเท้า ก็ทรงอนุญาตให้เหยียบได้ .

นางวิสาขาถวายของใช้

    นางวิสาขานำหม้อน้ำ , ที่เช็ดเท้าทำเป็นรูปฝักบัว , ไม้กวาดไปถวาย พระผู้มีพระภาคทรงรับหม้อน้ำและไม้กวาด และตรัสสอนให้ภิกษุใช้ได้ ตรัสห้ามใช้ที่เช็ดเท้าที่ทำเป็นรูปฝักบัว . ส่วนเครื่องเช็ดเท้าที่ทำด้วยหินกระเบื้อง และหินฟองน้ำ ทรงอนุญาตให้ใช้ได้ .

    นางวิสาขานำพัด และพัดใบตาลไปถวาย ทรงรับและทรงอนุญาตให้ภิกษุใช้ได้. ทรงอนุญาตให้ใช้พัดสำหรับไล่ตัวแมลง, แต่ไม่ทรงอนุญาตพัดที่ทำด้วยขนจามรี , ทรงอนุญาตพัด ๓ อย่าง คือที่ทำด้วยเปลือกไม้ , ทำด้วยใบเป้ง และที่ทำด้วยขนปีกนกยูง .

ทรงอนุญาตและห้ามใช้ร่ม

    ครั้งแรกทรงอนุญาตให้ใช้ร่ม ภายหลังภิกษุฉัพพัคคีย์กางร่มเที่ยวไปในที่ต่าง ๆ มีผู้ติเตียนว่าทำอย่างมหาอำมาตย์ จึงทรงห้ามใช้ร่ม แต่ทรงผ่อนผันให้ใช้ร่มได้เมื่อไม่สบาย เมื่อใช้ภายในวัด หรือบริเวณวัด ( ถือเอาความว่า ถ้าใช้ร่มเพื่อป้องกันแดดฝนธรรมดา ก็อนุญาตให้ใช้ได้ ในข้อว่า ถ้าไม่ใช้ไม่สบาย . แต่ถ้าใช้ร่มเพื่อแสดงเกียรติ เช่น มหาอำมาตย์ หรือพระราชา ทรงห้าม ).

ทรงห้ามและอนุญาตไม้คาน สาแหรก

    ครั้งแรกทรงห้ามภิกษุมิให้ใช้ไม้คาน สาแหรก นำของไปในที่ต่าง ๆ ต่อมามีภิกษุป่วยไข้ ต้องการใช้ไม้คานคอนของไป ก็ทรงอนุญาต โดยให้สงฆ์สวดประกาศสมมติให้เป็นพิเศษ ต่อมามีความจำเป็นที่ภิกษุป่วยไข้จะใช้ทั้งไม้คานทั้งสาแหรก ก็ทรงอนุญาต และให้สงฆ์สวดสมมติเช่นเคย.

เรื่องอาเจียนและเมล็ดข้าว

    ภิกษุรูปหนึ่งเป็นโรคอาเจียน อาเจียนออกมาแล้วก็กลืนเข้าไป ถูกกล่าวหาว่าฉันอาหารในเวลาวิกาล พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตพิเศษสำหรับภิกษุผู้เป็นโรคนี้ แต่ห้ามว่า ถ้าอาเจียนออกจากปากไปแล้วไม่ให้กลืนกินข้าวไปอีก.

    ในโรงฉันมีเมล็ดข้าวเกลื่อนกล่น มีผู้ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตว่า ของที่เขาถวายที่ตก ให้เก็บขึ้นฉันเองได้ เพราะทายกบริจากสิ่งของนั้นแล้ว ( ในข้อนี้เพ่งเล็งเฉพาะไม่เป็นอาบัติ เมื่อฉันของไม่ได้รับประเคน แต่ถ้าเพ่งว่าของนั้นจะสกปรกก็จะต้องพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป ในเรื่องนี้ไม่บังคับให้ฉันของตก แต่อนุญาตว่า ของตกเมื่อเขาถวายแล้ว ให้หยิบขึ้นมาฉันเองได้ จึงจะน่าเลือกดูว่า ในกรณีที่ของนั้นไม่สกปรก ก็ควรฉันได้. เรื่องนี้ผู้เขียนได้เคยแปลกใจมาแล้ว เมื่อเคยรับประทานร่วมกับชาวยุโรปบ่อย ๆ เศษขนมปัง เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ตกอยู่ข้างจาน เห็นเขาเอานิ้วจิ้มให้ติด แล้วเอาเข้าปาก).

ทรงอนุญาตมีดตัดเล็บ เป็นต้น

    ทรงห้ามไว้เล็บยาว ภิกษุผู้ไว้เล็บยาว ต้องอาบัติทุกกฏ และทรงอนุญาตมีดตัดเล็บ ให้ตัดพอเสมอเนื้อ ทรงห้ามขัดเล็บให้เกลี้ยงเกลาทั้ง ๒๐ นิ้ว ( เพื่อสวยงาม) ทรงปรับอาบัติทุกกฏ . การนำมูลเล็บออกทรงอนุญาต.

เรื่องผมและหนวดเครา

    ทรงถามว่า จะสามารถโกนศีรษะกันเองได้หรือไม่ เมื่อภิกษุทั้งหลายรับว่าได้ จึงทรงอนุญาตมีดโกน , หินลับมีด , ฝักมีดโกน, เครื่องสำบัดมีดโกน และเครื่องใช้เกี่ยวกับมีดทุกชนิด. ( เฉพาะภิกษุผู้เคยเป็นช่างตัดผม มีห้ามไว้ในที่อื่น มิให้มีเครื่องมีดโกนไว้ใช้ ด้วยเกรงจะอยากไปประกอบอาชีพนั้นอีก).

    ภิกษุฉัพพัคคีย์แต่งหนวดด้วยการไตร และไว้หนวดไว้เคราเป็นรูปร่างต่าง ๆ รวมทั้งให้นำขนในที่แคบออก ทรงห้ามและปรับอาบัติทุกกฏ. ในกรณีที่ป่วยไข้ ทรงอนุญาตให้นำขนในที่แคบออกได้ เช่นเมื่อเป็นเเผลหรือต้องการทายา.

    ทรงห้ามตัดผมด้วยกรรไตร ทรงอนุญาตให้ใช้มีดโกน แต่ถ้าป่วยไข้ ทรงอนุญาตให้ตัดผมด้วยกรรไตรได้.

    ทรงห้ามไว้ขนจมูกยาว เพราะมีผู้ติเตียน ทรงอนุญาตให้ถอนด้วยแหนบ ทรงห้ามถอนผมหงอกและปรับอาบัติทุกกฏเมื่อล่วงละเมิด.

เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด

    ทรงอนุญาตเครื่องแคะหู แต่ไม่อนุญาตที่ทำด้วยทอง เงิน ทรงอนุญาตเครื่องแคะหูที่ทำด้วยกระดูกงา เขาสัตว์ เป็นต้น.

    ทรงห้ามสะสมเครื่องใช้ที่ทำด้วยโลหะและสำริด และปรับอาบัติทุกกฏเมื่อล่วงละเมิด ทรงอนุญาตปลอกหรือฝักยาตา, ไม้ป้ายยาตา, ไม้แคะหู.

เครื่องใช้ที่เป็นผ้า

    ทรงห้ามรัดเข่าด้วยใช้ผ้าสังฆาฏิรัด และปรับอาบัติทุกกฏเมื่อล่วงละเมิด แต่ภิกษุบางรูปป่วยไข้ไม่มีเครืองรัดเข่าก็ไม่สบาย จึงทรงอนุญาตเครื่องรัดเข่า ทรงอนุญาตเครื่องมือของช่างหูกทุกชนิด เพื่อให้ทำเชือกรัดเข่า ( การรัดเข่าของคนในครั้งนั้น มี ๓ ชนิด คือรัดด้วยเครื่องวัด ( อาโยคปัลลัตถิกา), รัดด้วยมือ ( หัตถปัลลัตถิกา) และรัดด้วยผ้า ( ทุสสปัลลัตถิกา) เป็นความเคยชินที่ถ้าไม่ได้ทำก็ไม่สบาย โดยปกติเครื่องรัดนั้น ก็รัดโอบหลัง ตะโพกและเข่า เมื่อคล้องลงไปแล้วก็นั่งอย่างสบาย อนึ่ง ในเรื่องนี้ถึงกับทรงอนุญาตให้พระทอเครื่องรัดเข่าเองได้ แสดงว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่ต้องเสียเวลามากเหมือนทอผ้า เพราะไม่เช่นนั้นพระจะกังวลด้วยการงานชนิดนี้ จนไม่เป็นอันศึกษา หรืออบรมจิตใจ).

    ทรงห้ามเข้าบ้านโดยไม่มีประคดเอว ( เพราะปรากฏว่าภิกษุรูปหนึ่งผ้านุ่งหลุดในบ้าน ) ทรงห้ามประคดเอวที่ถักสวยงาม มีทีทรวดทรงต่าง ๆ ซึ่งคฤหัสถ์สมัยนั้นนิยมใช้กัน . ทรงอนุญาตประคดเอวที่ทอตามปกติ ที่เรียกว่าประคดแผ่น และชนิดไส้สุกร ทรงอนุมัติวิธีการต่าง ๆ ที่จะทำให้ประคดมั่นคง เช่น การทอและเย็บชายให้มั่นคง ในที่สุดทรงอนุญาต ลูกถวิน คือห่วงสำหรับร้อยประคดเอว ทรงห้ามใช้ ลูกถวินที่ทำด้วยทอง เงิน ทรงอนุญาตลูกถวินที่ทำด้วยกระดูก, งา, เขาสัตว์, ไม้อ้อ, ไม้ไผ่, ไม้แก่น, ยางไม้, ผลไม้ ( เช่น ) กะลามะพร้าว ), โลหะ , ขนดสังข์และด้ายถัก.

    ทรงอนุญาตลูกดุมและรังดุมสำหรับสังฆาฏิ ( เวลาห่มเข้าบ้านลมจะได้ไม่พัดให้สังฆาฏิเปิด) และทรงอนุญาตและทรงห้ามลูกดุมอย่างเดียวกับลูกถวิน.

    ทรงอนุญาตให้ติดแผ่นผ้าสำหรับติดลูกดุม และรังดุม ( เพื่อกันจีวรชำรุด) เมื่อติดแล้ว มุมจีวรยังเปิด ก็ทรงอนุญาตให้ติดลูกดุมที่ชายจีวร ส่วนรังดุมให้ติดลึกเข้าไป ๗ หรือ ๘ นิ้ว.

    ทรงห้ามนุ่งห่มแบบคฤหัสถ์ เช่น นุ่งแบบงวงช้าง , นุ่งแบบหางปลา , นุ่งแบบปล่อย ๔ ชาย , นุ่งแบบก้านตาล และนุ่งยกกลีบ. อนึ่ง ทรงห้ามห่มผ้าแบบคฤหัสถ์ และห้ามนุ่งผ้าหยักรั้ง แบบนักมวยปล่ำและกรรมกร.

เรื่องหาบหาม

    ทรงห้ามหาบของโดยมีของอยู่ ๒ ด้าน ( คนหาบอยู่กลาง) เพราะมีผู้กล่าวว่าทำเหมือนคนหาบของพระราชา. ทรงอนุญาตการคอน ( มีของด้านเดียว), การหาม ( ของอยู่กลาง คนอยู่ ๒ ข้าง), การแบกบนศีรษะ, การแบกบ่า, การแบกบนบ่า, การกระเดียด ( ที่สะเอว) และการสะพาย ( ห้อย หรือแขวน ).

การเคี้ยวไม้สีฟัน

    ทรงแสดงโทษในการไม่เคี้ยวไม้สีฟัน ๕ ประการ และแสดงอานิสงส์ ( ผลดี ) ในการเคี้ยวไม้สีฟัน ๕ ประการ มีแปลไว้ในข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก .. หมายเลข ๖๓ , ๖๔     ทรงห้ามเคี้ยวไม้สีฟัน ยาวเกิน ๘ นิ้ว และห้ามเอาไม้สีฟันตีสามเณร ทรงห้ามเคี้ยวไม้สีฟันสั้นเกิน ๔ นิ้ว และปรับอาบัติทุกกฏเมื่อล่วงละเมิด.

ห้ามจุดป่าและขึ้นไม้

    ทรงห้ามเผาป่าและปรับอาบัติทุกกฏ. เมื่อไฟไหม้ป่าลามมา ทรงอนุญาตให้จุดไฟรับได้. ทรงห้ามขึ้นต้นไม้ เมื่อมีเหตุจำเป็นอนุญาตให้ขึ้นได้แค่ตัวคน แต่ถ้ามีอันตราย ทรงอนุญาตให้ขึ้นสูงได้ตามต้องการ.

ห้ามยกพุทธวจนะขึ้นโดยฉันท์

    ทรงห้ามยกพุทธวจนะขึ้นโดยฉันท์ ทรงอนุญาตให้เรียนพุทธวจนะด้วยภาษาของตนได้ ( อรรถกถาแก้ว่า ห้ามยกพุทธวจนะขึ้นสู่ภาษาสันสกฤต ทำนองพระเวทของพราหมณ์ แต่มีสันนิษฐานว่า ห้ามแต่งถ้อยคำของพระพุทธเจ้าเป็นคำฉันท์ เพราะอาจทำให้ความหมายเดิมผิดเพี้ยน หรือบิดผันไปตามบังคับหนักเบาของคำฉันท์ ยิ่งถ้าผู้แต่งไม่แตกภาษาเพียงพอ ก็จะเป็นการทำร้ายพุทธวจนะ มำให้เนื้อความแปรปรวนไป แต่การแต่งห้ามทั้งนี้น่าจะหมายความว่า การแต่งเพื่อใช้เป็นตำรับตำรา ซึ่งจะต้องท่องจำเล่าเรียนศึกษาส่วนการแต่งสดุดีตามปกติอันเป็นของส่วนบุคคลไม่อยู่ในข้อนี้. ในเรื่องเดิมเล่าถึง ภิกษุผู้เกิดในสกุลพราหมณ์ ๒ รูป ไปขออาสาต่อพระผู้มีพระภาค เพื่อจะยกพุทธวจนะขึ้นโดยฉันท์ แต่ทรงปฏเสธและบัญญัติข้อห้ามไว้ด้วย. )

ห้องเรียนห้ามสอนโลกายตะและติรัจฉานวิชชา

    ทรงห้ามเรียนห้ามสอนโลกายตะ ( ได้แก่คติที่ถือว่า ควรความสูขไปวัน ๆ หนึ่งดีกว่า จะไปคำนึงถึงบุญปาบทำไม ควรร่าเริงกินเหล้า เป็นหนี้เป็นสินตามชอบใจ ซึ่งหนักไปทางวัตถุนิยม แต่ในอรรถกถาแก้ว่า เป็นคัมภีร์ หรือตำราของพวกนอกศาสนา เช่น ว่าด้วยกาเผือก นกยางดำ ในที่บางแห่งแก้ว่า เป็น วิตัณฑาศาสตร์ ซึ่งเป็นเเขนงหนึ่งในการศึกษาของพราหมณ์) รวมทั้งห้ามเรียน ห้ามสอนติรัจฉานวิชชา ( วิชาภายนอกที่ไม่มีประโยชน์ ) ทรงปรับอาบัติแก่ผู้ล่วงละเมิด.

ห้ามถือโชคลาง แต่ไม่ขัดใจคนอื่น

    ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคกำลังแสดงธรรม ทรงจามขึ้น. ภิกษุทั้งหลายก็ส่งเสียงร้องดังขึ้นว่า ขอพระผู้มีพระภาคจงเจริญพระชนม์ จนเป็นอุปสัคแก่การแสดงธรรม . พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า เมื่อพูดเช่นนั้น จะทำให้มีชีวิตหรือให้ตายไปได้จริง ๆ หรือ เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ไม่เป็นไปได้ จึงตรัสห้ามพูดแก้ลางแบบนั้นเมื่อมีการจาม และปรับอาบัติทุกกฏแก่ผู้ล่วงละเมิด.

    แต่เป็นธรรมเนียมของคนในครั้งนั้น ถ้าพระภิกษุจามและชาวบ้านพูดว่า ขอให้ท่านมีชีวิตอยู่ พระจะต้องกล่าวตอบ ( โดยอาศัยไมตรี) ว่า ขอให้ท่านมีชีวิตอยู่เช่นกัน. ภิกษุทั้งหลายไม่กล้ากล่าวตอบเกรงจะผิดพระพุทธบัญญัติ พระผู้มีพระภาคจึงทรงผ่อนผันให้กล่าวตอบเขาได้. ( แต่ไม่ให้ใช้กันเองในหมู่ภิกษุ ).

ห้ามฉันกระเทียม

    ภิกษุรูปหนึ่งฉันกระเทียม เกรงภิกษุอื่นจะเหม็นเวลานั่งฟังธรรม เลยนั่งห่างจากภิกษุอื่น ๆ ไม่เข้าใกล้ใคร. พระผู้มีพระภาคจึงทรงห้ามฉันกระเทียม และปรับอาบัติทุกกฏแก่ผู้ล่วงละเมิด ภายหลังทรงอนุญาตให้ภิกษุอาพาธฉันได้. ( คงหมายถึงฉันกระเทียมเปล่า ๆ ถ้าฉันปนกับของอื่น หรือเขาปรุงเสร็จแล้ว ไม่น่าจะอยู่ในข้อห้ามนี้. ถ้าจะพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ในการห้าม ก็จะเห็นได้ว่าเพื่อไม่ให้เข้าหมู่ไม่ได้ หรือทำความรำคราญแก่หมู่ หรือเป็นเหตุให้เสียการฟังธรรม เพราะฉะนั้น ปัญหาเรื่องกลิ่นแรงของกระเทียม จึงเป็นประเด็นสำคัญในที่นี้ ).

ทรงอนุญาตที่ถ่ายปัสสาวะอุจจระ

    ในเรื่องปัสสาวะ ทรงอนุญาตให้ถ่ายในที่จัดไว้ ทรงอนุญาตหม้อปัสสาวะ ที่รองเหยียบเวลานั่งถ่าย ฝาหรือกำแพงสำหรับกั้นที่ทำด้วยอิฐ, ศิลาหรือไม้ รวมทั้งฝาปิดหม้อปัสสาวะ ( เพื่อกันกลิ่นเหม็น)

    ในเรื่องอุจจาระทรงอนุญาตให้ถ่ายในที่ที่จัดไว้ ให้มีหลุมอุจจาระ และให้ก่อยกพื้นให้สูง เพื่อกันน้ำท้วม ให้มีบันไดและราวบันได    ให้ลาดพื้น     เจาะช่องตรงกลาง ให้มีเขียงรองเหยียบ ให้มีรางปัสสาวะให้ใช้ไม้ชำระ ที่ใส่ไม้ชำระ และฝาปิดหลุ่มอุจจาระ และให้มีโรงถ่ายโดยเฉพาะ ที่เรียกว่าวัจจกุฏิ มีฝาหรือกำแพง พร้อมทั้งเครื่องประกอบ เช่น     ดาล    กลอน    เชือกชัก     ราวพาดจีวร     เป็นต้น. อนึ่ง ได้ทรงอนุญาตให้มีซุ้มสำหรับชำระ เมื่อเสร็จจากอุจจาระแล้ว ให้มีรางระบายน้ำ ให้มีหม้อน้ำชำระ ขันตักน้ำชำระ และเขียงรองขณะชำระ ตลอดจนฝาหรือกำแพง.

ทรงห้ามประพฤติอนาจาร

    ภิกษุฉัพพัคคีย์ประพฤติอนาจารมีประการต่าง ๆ เช่น ประจบคฤหัสถ์ เกี่ยวข้องกับสตรีมากไป เล่นฟ้อนรำขับร้อง เล่นกีฬาสนุกต่าง ๆ ทรงห้ามทำเช่นนั้น และให้ปรับอาบัติตามควรแก่ความผิด.

ทรงอนุญาตเครื่องใช้

    พระอรุเวลกัสสปบวชแล้ว ก็มีผู้ถวายเครื่องใช้ทำด้วยโลหะ , ทำด้วยไม้, ทำด้วยดินเหนียว, ท่านสงสัยว่าทรงอนุญาตไว้หรือเปล่า พระผู้มีพระภาคจึงตรัสอนุญาตให้ใช้ได้.

   

๒ . เสนาสนขันธกะ
( หมวดว่าด้วยที่อยู่อาศัย) ทรงอนุญาตที่อยู่    ๕ ชนิด

    เศรษฐีกรุงราชคฤห์เลื่อมใสในภิกษุทั้งหลายที่อยู่กับพระพุทธเจ้า ณ เวฬุวนาราม ใคร่จะสร้างวิหารถวาย จึงขอให้ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลพระผู้มีพระภาค. พระองค์ทรงอนุญาตที่อยู่     ๕ ชนิด คือ     ๑. วิหาร ( กุฏิปกติ)     ๒. เพิง ( อัฑฒโยคะ)     ๓. เรื่อนเป็นชั้น ๆ ( ปราสาท)     ๔ . เรือนโล้น หรือหลังคาตัด ( หัมมิยะ) และ    ๕ ถ้ำ ( คูหา).

    ภายหลังเมื่อมีคนทราบว่าทรงอนุญาตวิหาร หรือที่อยู่แก่สงฆ์ จึงสร้างที่อยู่ถวายเป็นอันมาก พระผู้มีพระภาคก็ทรงอนุญาตแก้ไขเพิ่มเติม ให้ที่อยู่นั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เช่น     ประตู ,     กลอน,     ลิ่มสลัก,    หน้าต่าง, หน้าต่างมีลูกกรง เป็นต้น.

ทรงอนุญาตที่ถ่ายปัสสาวะอุจจระ

ในเรื่องปัสสาวะ ทรงอนุญาตให้ถ่ายในที่จัดไว้ ทรงอนุญาตหม้อปัสสาวะ ที่รองเหยียบเวลานั่งถ่าย ฝาหรือกำแพงสำหรับกั้นที่ทำด้วยอิฐ, ศิลาหรือไม้ รวมทั้งฝาปิดหม้อปัสสาวะ ( เพื่อกันกลิ่นเหม็น)

    ในเรื่องอุจจาระทรงอนุญาตให้ถ่ายในที่ที่จัดไว้ ให้มีหลุมอุจจาระ และให้ก่อยกพื้นให้สูง เพื่อกันน้ำท้วม ให้มีบันไดและราวบันได ให้ลาดพื้น เจาะช่องตรงกลาง ให้มีเขียงรองเหยียบ ให้มีรางปัสสาวะให้ใช้ไม้ชำระ ที่ใส่ไม้ชำระ และฝาปิดหลุ่มอุจจาระ และให้มีโรงถ่ายโดยเฉพาะ ที่เรียกว่าวัจจกุฏิ มีฝาหรือกำแพง พร้อมทั้งเครื่องประกอบ เช่น ดาล กลอน เชือกชัก ราวพาดจีวร เป็นต้น. อนึ่ง ได้ทรงอนุญาตให้มีซุ้มสำหรับชำระ เมื่อเสร็จจากอุจจาระแล้ว ให้มีรางระบายน้ำ ให้มีหม้อน้ำชำระ ขันตักน้ำชำระ และเขียงรองขณะชำระ ตลอดจนฝาหรือกำแพง.

ทรงห้ามประพฤติอนาจาร

    ภิกษุฉัพพัคคีย์ประพฤติอนาจารมีประการต่าง ๆ เช่น ประจบคฤหัสถ์ เกี่ยวข้องกับสตรีมากไป เล่นฟ้อนรำขับร้อง เล่นกีฬาสนุกต่าง ๆ ทรงห้ามทำเช่นนั้น และให้ปรับอาบัติตามควรแก่ความผิด.

ทรงอนุญาตเครื่องใช้

    พระอรุเวลกัสสปบวชแล้ว ก็มีผู้ถวายเครื่องใช้ทำด้วยโลหะ , ทำด้วยไม้, ทำด้วยดินเหนียว, ท่านสงสัยว่าทรงอนุญาตไว้หรือเปล่า พระผู้มีพระภาคจึงตรัสอนุญาตให้ใช้ได้.

    ๒ . เสนาสนขันธกะ ( หมวดว่าด้วยที่อยู่อาศัย) ทรงอนุญาตที่อยู่ ๕ ชนิด

    เศรษฐีกรุงราชคฤห์เลื่อมใสในภิกษุทั้งหลายที่อยู่กับพระพุทธเจ้า ณ เวฬุวนาราม ใคร่จะสร้างวิหารถวาย จึงขอให้ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลพระผู้มีพระภาค. พระองค์ทรงอนุญาตที่อยู่ ๕ ชนิด คือ ๑. วิหาร ( กุฏิปกติ) ๒. เพิง ( อัฑฒโยคะ) ๓. เรื่อนเป็นชั้น ๆ ( ปราสาท) ๔ . เรือนโล้น หรือหลังคาตัด ( หัมมิยะ) และ ๕ ถ้ำ ( คูหา).

    ภายหลังเมื่อมีคนทราบว่าทรงอนุญาตวิหาร หรือที่อยู่แก่สงฆ์ จึงสร้างที่อยู่ถวายเป็นอันมาก พระผู้มีพระภาคก็ทรงอนุญาตแก้ไขเพิ่มเติม ให้ที่อยู่นั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เช่น ประตู , กลอน, ลิ่มสลัก, หน้าต่าง, หน้าต่างมีลูกกรง เป็นต้น.

เครื่องนั่งเครื่องนอน

    ทรงอนุญาตเตียงนอน ( เพื่อไม่ต้องนอนบนพื้นดิน) และตั่งสำหรับนั่งหลายชนิด ทรงอนุญาตอาสันทิกะ ( ม้าสี่เหลี่ยม) ทั่งชนิดที่สูง และชนิดที่มีส่วน ๗ (ที่เท้าแขน ๒ ที่พิง ๑ และที่เท้า ๔ มีลักษณะตรงกับเก้าอี้เท้าแขนหรืออาร์มแชร์) และเตียงตั่งอีกหลายชนิด ทรงห้ามใช้เตียงสูง แต่ให้มีที่รองเตียงได้ ที่รองเตียงมิให้สูงเกิน ๘ นิ้ว และทรงอนุญาตส่วนประกอบอื่น ๆ . ทรงอนุญาตหมอนยัดนุ่น ๓ ชนิด คือนุ่นต้นไม้, ไม้เลื้อยและหญ้า ( โปฏกี). ทรงห้ามใช้หมอนยาวครึ่งตัว โดยใช้หมอนขนาดพอกันกับศีรษะ. ทรงอนุญาตฟูกยัดด้วยของ ๕ ชนิด คือ ขนสัตว์, เศษผ้า , เปลือกไม้, หญ้าและใบไม้.

    ต่อจากนั้นเป็นการอนุญาตการห้ามเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยเบ็ดเตล็ดอีกเป็นอันมาก เช่น ห้ามเขียนรูปผู้หญิง ชายในวิหาร ลงท้ายด้วยทรงอนุญาตหลังคา ๕ ชนิด คือที่ทำด้วยอิฐ, ศิลา, ปูนขาว, หญ้าใบไม้.


บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ