บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



หมวดพระวินัย

พระวินัยเล่ม ๗
1.ขุททกวัตถุขันธกะ
2.เสนาสนขันธกะ
3.สังฑเภทขันธกะ
4.วัตตขันธกะ
5.ปาฏิโมกขฐปนขันธกะ
6.ภิกขุณีขันธกะ
7.ปัญจสติขันธกะ
8.สัตตสติกขัธกะ

หน้า ๑
๑ ขุททกวัตถุขันธกะ
..เรื่องเกี่ยวกับการอาบน้ำ
..ห้ามใช้เครื่อง
ประดับแบบ
คฤหัสถ์
..ข้อห้ามเกี่ยวกับผม
..ข้อห้ามเกี่ยว
กับการส่อง
กระจกหรือแว่น
..ข้อห้ามทา
หน้าทาตัว
..ห้ามดูฟ้อนรำ
และห้ามขับด้วย
เสียงอันยาว
..ห้ามใช้ผ้าขนเเกะ
..ข้อห้ามและ
อนุญาตเกี่ยว
กับผลไม้
..ตรัสสอน
ให้แผ่เมตตา
..ห้ามตัดองคชาต
..ข้อห้ามและ
อนุญาตเกี่ยว
กับบาตร
..ทรงอนุญาต
มีดและเข็ม
..ทรงอนุญาต
และห้ามเกี่ยวกับ
ไม้แบบหรือสดึง
..ทรงอนุญาต
ถุงใส่ของ
สายคล้องบ่า
ผ้ากรองน้ำ และมุ้ง ทรงอนุญาตการ
จงกรมและ
เรือนไฟ เป็นต้น
..เรื่องที่นั่ง
ที่นอนและที่
ใส่อาหาร
..ห้ามฉันอาหาร
ดื่มน้ำในภาชนะ
เดียวกัน เป็นต้น
..การลงโทษ
คว่ำบาตรแก่
วัฑฒะลิจฉวี

หน้า ๒
เรื่องผ้าขาวที่
ไม่ให้เหยียบ
และเหยียบได้
..นางวิสาขา
ถวายของใช้
..ทรงอนุญาต
และห้ามใช้ร่ม
..ทรงห้ามและ
อนุญาตไม้คาน
สาแหรก
..เรื่องอาเจียน
และเมล็ดข้าว
..ทรงอนุญาต
มีดตัดเล็บ
เป็นต้น
..เรื่องผมและหนวดเครา
..เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด
..เครื่องใช้ที่เป็นผ้า
..เรื่องหาบหาม
..การเคี้ยวไม้สีฟัน
ทรงห้ามประ
พฤติอนาจาร
..ห้ามจุดป่าและขึ้นไม้
..ห้ามยกพุทธวจนะ
ขึ้นโดยฉันท์
..ห้องเรียนห้าม
สอนโลกายตะและ
ติรัจฉานวิชชา
..ห้ามถือโชคลาง
แต่ไม่ขัดใจคนอื่น
..ห้ามฉันกระเทียม
..ทรงอนุญาต
ที่ถ่ายปัสสาวะ
อุจจระ
..ทรงห้ามประ
พฤติอนาจาร
..ทรงอนุญาต
เครื่องใช้
๒. เสนาสนขันธกะ
..ทรงอนุญาต
ที่ถ่ายปัสสาวะ
อุจจระ
..ทรงห้ามประ
พฤติอนาจาร
..ทรงอนุญาต
เครื่องใช้
เครื่องนั่งเ
ครื่องนอน

หน้า ๓

..อนาถปิณฑิก
คฤหบดีนับถือ
พระพุทธศาสนา
..ตั้งภิกษุผู้ควบ
คุมการก่อสร้าง
..ลำดับอาวุโส
..บุคคลผู้ไม่ควร
ไหว้ ๑๐ ประเภท
..บุคคลผู้ควร
ไหว้ ๓ ประเภท
..มณฑปที่สร้าง
อุทิศสงฆ์
..ที่นั่งต่างชนิด
ของคฤหัสถ์
..การถวาย
เชตวนาราม
..ปัญหาลำดับ
อาวุโสเพิ่มเติม
..การจัดสรร
ที่อยู่อาศัย
..การนั่งต่ำนั่งสูง
..ปราสาทและ
เครื่องนั่งนอนต่าง ๆ
..สิ่งที่จะสละ
ไม่ได้ ๕ หมวด
..การควบคุม
การก่อสร้าง
..การขนย้าย
ของใช้และรักษา
ที่อยู่อาศัย
..เจ้าหน้าที่
ทำการสงฆ์อื่น ๆ
๓ สังฆเภทขันธกะ
..พระเทวทัต
คิดการใหญ่
..พระเทวทัต
ขอปกครอง
คณะสงฆ์
..ตรัสให้ขอ
อนุมัติสงฆ์
ประกาศ
เรื่องพระเทวทัต
..พระเทวทัต
ยุให้ขบท
..การประทุษร้าย
พระพุทธเจ้าครั้งแรก
..การประทุษ
ร้ายครั้งที่ ๒
..การประทุษ
ร้ายครั้งที่ ๓
..พระเทวทัต
เสนอข้อ
ปฏิบัติ ๕ ข้อ
ทำสงฆ์ให้แตกกัน
..พระเทวทัต
อาเจียน
เป็นโลหิต
..ความร้าวและ
ความแตกกัน
ของสงฆ์
..ใครทำให้สงฆ์
แตกกันได้และได้
..เหตุเป็นเครื่อง
ทำให้สงฆ์แตกกัน
และสามัคคีกัน
..การทำสงฆ์ให้
แตกกันที่ทำให้
ไปอบายและ
ไม่ไปอบาย

หน้า ๔ ๔.วัตตขันธกะ
๔. วัตตขันธกะ
..(๑) อาคันตุกวัตร
..(๒) อาวาสิกวัตร
..(๓) คมิกวัตร
..(๔) ภัตตัคควัตร
..(๕) ปิณฑจาริกวัตร
..(๖) อรัญญกวัตร
..(๗) เสนาสนวัตร
..(๘) ชั้นตาฆรวัตร
..(๙) วัจจกุฏิวัตร
..(๑๐) อุปัชฌาวัตร
..(๑๑) สัทธิวิหาริกวัตร
..(๑๒) อาจริยวัตร
..(๑๓) อันเตวาสิกวัตร
๕. ปาฏิโมกขฐปนขันธกะ
..ต่อจากนั้นไม่
ทรงแสดง
ปาฏิโมกข์อีก
..การโจทฟ้อง
๖. ภิกขุนีขันธกะ
..ทรงอนุญาต
การบวชภิกษุณี
..การศึกษา
สิกขาบท
..ลักษณะตัด
สินธรรมวินัย
๘ ประการ
..เรื่องเกี่ยวกับ
ปาฏิโมกข์
และสังฆกรรม
..การลงโทษ
ภิกษุด้วย
การไม่ไหว้
..การลงโทษ
นางภิกษุณี
..การให้โอวาท
นางภิกษุณี
..ข้อห้ามเบ็ดเตล็ด
๗. ปัญจสติกขัรธกะ
..การสังคาย
นาครั้งที่ ๑
..การถอนสิก
ขาบทเล็กน้อย
..พระอานนท์
ถูกปรับอาบัติ
..พระปุราณะ
ไม่ค้านแต่ถือ
ตามที่ฟังมาเอง
..ลงพรหม
ทัณฑ์พระฉันนะ
๘. สัตตสิกขันธกะ
การสังคายนาครั้งที่ ๒
..พระยสะ
กากัณฏกบุตร
คัดค้าน

 

เล่มที่ ๗ ชื่อจุลลวัคค์ ( เป็นพระวินัยปิฏก )
จบเล่ม

๔. วัตตขันธกะ
( หมวดว่าวัตรหรือข้อปฎิบัติ)
(๑) อาคันตุกวัตร ( ข้อปฎิบัติของผู้มา)

    ภิกษุอาคันตุกะ ( ผู้เป็นแขกมาสู่วัดอื่น) ปฏิบัติไม่ชอบด้วยมารยาทของอาคันตุกะ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติวัตรหรือข้อปฏิบัติไว้ ดัง ( จะย่อกล่าว ) ต่อไปนี้ :-

    ภิกษุผู้เป็นอาคันตุกะ เมื่อจะเข้าวัด ( ที่ตนขอพักอาศัย) พึงถอดรองเท้า เคาะ ( ฝุ่น) ในที่ต่ำลดร่ม เปิดศีรษะเอาจีวรที่คลุมศีรษะลดลงมาบนบ่า ค่อย ๆ เดินเข้าไปหาภิกษุผู้อยู่ในวัด วางบาตรจีวร นั่งในที่สมควร แล้วถามถึงน้ำดื่ม น้ำใช้ ถ้าต้องการน้ำดื่มก็พึงดื่ม ถ้าต้องการน้ำใช้ก็พึงใช้ล้างเท้า วิธีล้างเท้าพึงเอามือข้างหนึ่งรดน้ำ เอามืออีกข้างหนึ่งล้าง แล้วพึงถามถึงผ้าเช็ดรองเท้า วิธีเช็ดรองเท้า คือเอาผ้าแห้งเช็ดก่อน แล้วเอาผ้าเช็ดเท้าทีหลัง แล้วซักผ้าเช็ดรองเท้าบิดให้แห้งแล้วตากไว้ส่วนหนึ่ง ถ้าภิกษุผู้อยู่ในวัดแก่กว่า พึงกราบไหว้ ถ้าอ่อนกว่า ก็เปิดโอกาสให้เธอกราบไหว้ แล้วพึงถามถึงเสนาสนะ ( ที่อยู่อาศัย) ถามถึงที่ควรไปและไม่ควรไป ถามถึงสกุลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสขะ ถามถึงที่ถ่ายอุจจาระ, ปัสสวะ, น้ำดื่ม, น้ำบริโภค, ไม้เท้า, กติกาของสงฆ์, กาลที่ควรเข้าควรออกจากจากวัด. เมื่อที่อยู่ไม่มีผู้ครอบครอง พึงเคาะประตู รอครู่หนึ่งแล้วยกลิ้มสลักผลักขึ้นผลักบานประตู ยืนดูอยู่ภายนอก ถ้าสามารถก็พึงทำความสอาดที่อยู่ ( วิธีความสะอาดที่อยู่ แปลไว้แล้ว .ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก หมายเลข ๑๗๐)

(๒) อาวาสิกวัตร ( ข้อปฏิบัติของภิกษุเจ้าถิ่น )

    ภิกษุเจ้าถิ่น ( ผู้อยู่ประจำในวัด) ไม่ค่อยเอื้อเฟื้อในภิกษุอาคันตุกะ พระผู้มีพระภาคจึงบัญญัติวัตรไว้ ดัง ( จะย่อกล่าว) ต่อไปนี้:-

    เมื่อเห็นภิกษุผู้พรรษากว่า พึงปูอาสนะ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ลุกขึ้นต้อนรับ รับบาตรและจีวร ถามถึง ( ความต้องการ ) น้ำดื่ม น้ำใช้ ถ้าสามารถก็พึงเช็ดเท้ารองเท้าให้ แล้วกราบไหว้ และบอกให้ทราบเรื่องต่าง ๆ ที่ควรทราบ เช่น ที่ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ กติกาของสงฆ์ เป็นต้น.

    ถ้าภิกษุอาคันตุกะอ่อนพรรษากว่า พึงนั่งบอก ชี้ที่วางบาตรจีวร ชี้ที่นั่ง บอกน้ำดื่ม, น้ำใช้, บอกผ้าเช็ดรองเท้า เปิดโอกาสให้กราบไหว้ และบอกเรื่องต่าง ๆ ที่ควรทราบ.

(๓) คมิกวัตร ( ข้อปฏิบัติของภิกษุผู้จะเดินทางจากไป)
( เรื่องนี้แปลไว้ละเอียดแล้ว ..ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก หมายเลข ๑๖๙

(๔) ภัตตัคควัตร ( วัตรในโรงฉัน)

    ก่อนจะทรงบัญญัติเรื่องข้อปฏิบัติในโรงฉัน ได้ทรงอนุญาตให้กล่าวอนุโมทนาในโรงฉัน, และให้มีภิกษุผู้เป็นเถระ และพระผู้น้อย ( เถระนุเถระ) ๔- ๕ รูป อยู่เป็นเพื่อนพระเถระในการกล่าวอนุโมทนา ( สมัยก่อนพูดรูปเดียวเฉพาะหัวหน้า ), เมื่อมีธุระจำเป็น ให้พระเถระกลับก่อน ได้แล้วให้รูปรองลงมากล่าว อนุโมทนาแทน แล้วทรงปรารถภิกษุฉัพพัคคีย์ผู้ปฏิบัติไม่เรียบร้อย จึงทรงบัญญัติวัตรในโรงฉัน คือ:-

    เมื่อมีผู้บอกเวลาอาหารในวัดแล้ว ให้นุ่งห่มให้เป็นปริมณฑล คาดประคดเอว ถือบาตรเข้าบ้านด้วยดีไม่รีบด่วน ไม่พึงเดินออกหน้าพระเถระ และปฏิบัติตามเสขิยวัตร อันว่าด้วยการเข้าไป และการนั่งในบ้านทุกข้อ ไม่พึงนั่งเบียดเสียดพระเถระ ไม่ถึงนั่งกันที่นั่งของพระที่อ่อนพรรษากว่า ไม่พึงนั่งทับสังฑฏิในบ้าน เมื่อเขาถวายน้ำ พึงจับทั้งสองรับน้ำ แล้วล้างบาตร ถ้ามีที่รับน้ำสำหรับเท พึงเทที่ต่ำไมให้น้ำกระเซ็นเปียกภิกษุอื่นหรือเปียกสังฆฏิ. เมื่อเขาถวายข้าวก็จับบาตรด้วยมือทั้งสองรับข้าว. ถ้ามีเนยใส น้ำมัน หรือแกงอ่อม ให้พระเถระสั่งให้เขาใส่ให้สมส่วนกัน พึงปฏิบัติตามเสขิวัตร ว่าด้วยการรับบิณฑบาตและการฉันอาหารทุกข้อ. ถ้าพระเถระไม่พึงรับน้ำจนกว่าภิกษุทั้งปวงจะฉันเสร็จ เมื่อเข้าถวายน้ำ พึงเอามือทั้งสองจับบาตรรับน้ำ ถ้ามีที่รับน้ำสำหรับเท พึงเทต่ำ ๆ ไม่ให้น้ำกระเซ็นเปียกภิกษุอื่นหรือเปียกสังฆาฏิ ฯลฯ เมื่อกลับให้ภิกษุอ่อนพรรษากว่ากลับบ้านก่อน ด้วยอาการอันดีงามตามเสขิยวัตรที่เกี่ยวกันการเข้าบ้าน.

(๕) ปิณฑจาริกวัตร ( วัตรของภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต)

    ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต เมื่อจะเข้าบ้าน พึงนุ่งห่มให้เรียบร้อย และปฏิบัติขณะเข้าบ้าน ( เหมือนภิกษุผู้เข้าไปฉันในบ้าน) ตามเสขิยวัตร เมื่อจะเข้าสู่ที่อยู่ พึงสังเกตทางเข้าออก ไม่พึงเข้าออกโดยรีบด่วน ไม่พึงยืนไกลเกินไปหรือใกล้เกินไป ไม่พึงยืนนานเกินไปหรือเร็วเกินไป พึงสังเกตว่า เขาใคร่จะถวายอาหารหรือไม่ ถ้าเขาแสดงอาการจะถวาย พึงยืนอยู่ เมื่อเขาถวายอาหาร ( ใสบาตร) พึงยกสังฆาฏิด้วยมือข้างซ้าย ส่งบาตรออกด้วยมือขวา จับบาตรด้วยมือทั้งสองรับอาหาร. ไม่พึงมองหน้าของผู้ถวายอาหาร พึงสังเกตดูว่า เขาทำอาการจะถวายแกงหรือไม่ ถ้าเขาแสดงอาการ พึงยืน ( รอ) อยู่ เมื่อเขาถวายเสร็จแล้วพึงปิดบาตรด้วยสังฆาฏิ กลับไปด้วยดี ไม่รีบด่วน . ( ต่อจากนั้นทรงแสดงเสขิยวัตรเนื่องในการเข้าบ้านทุกข้อที่ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตจะพึงปฏิบัติ) เมื่อเสร็จการบิณฑบาตแล้ว รูปใดกลับก่อน พึงปูอาสนะ (ที่นั่ง) ตั้งน้ำ ล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ พึงล้างภาชนะใส่เศษอาหารตั้งไว้ พึงตั้งน้ำดื่ม น้ำใช้ ผู้ใดกลับจากบิณฑบาตในภายหลัง ถ้ามีของฉันเหลือ ถเาปรารถนาก็พึงฉัน ถ้าไม่ปรารถนาก็พึงเททิ้งเสียในที่ไม่มีของเขียวสด หรือเทลงในน้ำที่มีตัวสัตว์ พึงเก็บอาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ล้างภาชนะใส่เศษอาหารเก็บไว้ เก็บน้ำดื่ม น้ำใช้ กราดโรงฉัน ผู้ใดเห็นหม้อน้ำดื่ม น้ำใช้ หม้อน้ำชำระว่างเปล่า พึงตักน้ำใส ถ้าไม่สามารถ ก็พึงเรียกภิกษุรูปที่ ๒ มา ด้วยใช้มือแสดงให้ทราบว่าควรตักน้ำใส่ ไม่พึงเปล่งวาจาในเรื่องนั้น.

(๖) อรัญญกวัตร ( วัตรของภิกษุผู้อยู่ป่า)

    ภิกษุผู้อยู่ป่า พึงลุกขึ้นแต่เช้า เอาบาตรใส่ถุงแล้วคล้องบ่า เอาจีวรพาดที่คอ ใส่รองเท้า เก็บเครื่องใช้ที่ทำด้วยไม้และดินเผา ปิดประตูหน้าต่างแล้วลงจากที่อยู่อาศัย ( สนาสนะ) เมื่อจะเข้าบ้าน พึงถอดรองเท้าเคาะในที่ต่ำ

ใส่ไว้ในถุงแล้วคล้องบ่า นุ่งให้เรียบร้อย คาดประคดเอว ซ้อนผ้า ( จีวรกับสังฆาฏิ) แล้วห่มผ้าซ้อนนั้น ติดลูกดุม ล้างบาตรแล้วถือเข้าไปด้วยดี ไม่รีบด้วน ( ต่อจากนั้นพึงปฏิบัติตามเสขิยวัตรเนื้องในการเข้าบ้านทุกข้อ)        เมื่อเสร็จจากการรับบิณฑบาตออกจากบ้านแล้ว ใส่บาตรไว้ในถุงคล้องบ่า ม้วนจีวรวางไว้บนศีรษะ ใส่รองเท้าเดินไป. ภิกษุอยู่ป่าพึงตั้งน้ำดื่ม น้ำใช้ และจุดไฟไว้ วางไม้สีไฟไว้ ตั้งไม้เท้าไว้ เรียนนักษัตรบท ( ทางเดินของดาวฤกษ์) ทั้งหมด หรือบางส่วน และเป็นผู้ฉลาดในทิศ.

(๗) เสนาสนวัตร ( วัตรเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย)
( แปลไว้แล้ว .ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก หมายเลข ๑๗๐)

(๘) ชั้นตาฆรวัตร ( วัตรในเรือนไฟ)

    ภิกษุเข้าไปในเรือนไฟก่อน ถ้ามูลเถ้ามีมาก ก็พึงน้ำไปทิ้งเสีย. ถ้าเรือนไฟรกก็พึงกวาด. ถ้าชานภายนอกรก หรือบริเวณรก หรือซุ้มรก หรือโรงแห่งเรือนไฟ ( โรงโถงที่มีเรือนไฟตั้งอยู่) รก ก็พึงกวาดพึงนำผง ( สำหรับถูตัว) ไปไว้ให้พร้อม ทำดินเหนียวให้เปียก รดน้ำลงในรางน้ำเมื่อเข้าสู่เรือนไฟ พึงเอาดินเหนียวทาหน้า ปิดด้านหน้าปิดด้านหลัง ( คงหมายถึงปิดเรือนไฟ) แล้วพึงเข้าไป. ไม่พึงนั่งเบียดเสียดภิกษุผู้เป็นเถระ ไม่พึงนั่งกันที่ภิกษุผู้อ่อนพรรษากว่า ถ้าสามารถก็พึงถูหลังให้ภิกษุผู้เป็นเถระ. เมื่อจะออกจากเรือนไฟ พึงนำตั่งประจำเรือนไฟออกด้วย พึงปิดด้านหน้าด้านหลังแล้วออกจากเรือนไฟ. ถ้าสามารถก็พึงถูหลังให้ภิกษุผู้เป็นเถระ แม้ในน้ำ ไม่พึงอาบน้ำเบื้องหน้าภิกษุผู้เป็นเถระ ไม่พึงอาบน้ำในกระแสน้ำด้านเหนือพระเถระ

เมื่ออาบน้ำเสร็จแล้วจะขึ้น ก็พึงให้ทางแก่ภิกษุทั้งหลายผู้กำลังจะขึ้น ( จากน้ำ) . ส่วนภิกษุผู้ออกจากเรือนไฟทีหลัง ถ้าเรือนไฟลื่น พึงล้างเสีย พึงล้างรางใส่ดินเหนียวแล้วเก็บตั่งประจำเรือนไฟเสีย ดับไฟปิดประตูแล้วออกไป. ( แสดงว่าเมื่อเข้าไปอบในเรือนไฟให้เหงื่อออกแล้วก็อาบน้ำในที่ใกล้ ๆ กันนั้นเอง).

(๙) วัจจกุฏิวัตร ( วัตรเกี่ยวกับส้วม)

    ก่อนที่จะทรงบัญญัติข้อปฏิบัติเกี่ยวกับวัจจกุฏิ ทรงบัญญัติให้ภิกษุผู้ถ่ายอุจจาระเสร็จแล้วใช้น้ำชำระ ถ้าไม่ชำระ ต้องอาบัติทุกกฏ และทรงอนุญาตให้เข้าสู่วัจจกุฏิตามลำดับที่ไปก่อนหลัง ( ไม่ต้องคอยตามลำดับ พรรษา ซึ่งภิกษุผู้มีพรรษาอ่อนกว่าเดือดร้อน) และทรงปรารภความไม่เรียบร้อยในการเข้า การใช้วัจจกุฏิของภิกษุเบญจวัคคีย์ จึงทรงบัญญัติข้อปฏิบัติเกี่ยวกับวัจจกุฏิ ดังต่อไปนี้:-

    ภิกษุผู้ไปสู่วัจจกุฏิ พึงยืนอยู่ข้างนอก ทำเสียงกระแอม ถ้ามีภิกษุอยู่ข้างใน พึงกระแอมรับ จึงพาดจีวรไว้ที่ห่วงสำหรับแขวนหรือราวสำหรับพาด พึงเข้าไปด้วยดี ไม่รีบด่วน ไม่พึงเลิกผ้าเข้าไป ต่อเมื่อยืนบนเขียงรองเหยียบแล้วจึงเลิกผ้า, ไม่พึงเบ่งถ่าย , ไม่พึงเคี้ยวไม้สีฟันขณะถ่าย, ไม่พึงถ่ายนอกหลุมอุจจาระนอกรางปัสสาวะ ไม่พึงบ้วนน้ำลายลงในรางปัสสาวะ ไม่พึงใช้ไม้ชำระที่หยาบ ( คมแข็ง) ไม่พึงทิ้งไม้ชำระลงในหลุมถ่าย เมื่อยืนบนเขียงรองเหยียบแล้ว พึงปกปิด ( ดึงผ้านุ่งลงไปปกปิด) ไม่ถึงออกโดยรีบร้อน ไม่พึงเลิกผ้าออกมา

( เมื่อจะชำระ) ยืนอยู่บนเขียงรองเหยียบสำหรับชำระแล้วจึงเลิกผ้า ไม่พึงชำระให้มีเสียงดัง

ไม่พึงเหลือน้ำไว้ในขันชำระ เมื่อยืนบนเขียงสำหรับเหยียบแล้ว ถึงปกปิด.

( แสดงว่าที่ถ่ายกับที่ชำระอยู่แยกกันแต่ใกล้กัน). ถ้าวัจจกุฏิเปื้อน พึงล้างเสีย ถ้าไม่ทิ้งไม้ชำระเต็ม พึงนำไม้ชำระไปทิ้ง. ถ้าวัจจกุฏิรก พึงปัดกวาด ถ้าชานภายนอก, บริเวณ, ซุ้ม รก ก็พึงปัดกวาด ถ้าน้ำในหม้อชำระไม่มี ก็พึงตักน้ำใส่.

(๑๐) อุปัชฌาวัตร ( วัตรเกี่ยวกับอุปัชฌายะ)

    สัทธิวิหาริก ( ผู้ที่อุปัชฌายะบวชให้ ) พึงลุกขึ้นแต่เช้า ถอดรองเท้า ทำผ้าห่มเฉวียงบ่า ถวายไม้สีฟันน้ำล้างหน้า ปูอาสนะ ถ้ามีอาสนะ ถ้ามีข้าวยาคู พึงล้างภาชนะแล้วน้อมข้าวยาคูเข้าไปถวาย แล้วถวายน้ำ รับภาชนะมาล้างเก็บ เมื่ออุปัชฌายะลุกขึ้นให้ลุกขึ้นยกอาสนะขึ้น ถ้าสถานที่รก พึงปัดกวาด ถ้าอุปัชฌายะใคร่จะเข้าสู่หมู่บ้านพึงถวายผ้านุ่ง รับผ้าที่ท่านผลัด ถวายประคดเอว เอาผ้า ( จีวรกับสังฆาฏิ) ซ้อนกันแล้วถวาย ล้างบาตรแล้วถวายทั้งที่มีน้ำ ถ้าอุปัชฌายะต้องการพระไปด้วย พึงนุ่งให้เรียบร้อย ซ้อนผ้า ห่มผ้าซ้อนติดรังดุมตามท่านไป . ไม่พึงเดินไกลหรือใกล้เกินไป. พึงรับอาหารแต่พอเหมอะแก่บาตร. เมื่ออุปัชฌากำลังพูด ไม่พึงพูดซ้อน. นอกจากนั้นยังมีข้อปฏิบัติอีกมากมาย ซึ่งพอจะย่อกล่าวไว้คือ:-

    หวังความศึกษาในท่าน , ขวนขวายป้องกัน หรือระงับความเสื่อมเสียอันจักมี หรือได้มีแล้ว เช่น ระงับความกระสัน, ความเบื่อหน่าย ช่วยปลดเปลี้ยงความเห็นผิดของท่าน ขวนขวายเพื่อสงฆ์งดโทษที่จะลงแก่ท่าน หรือเพื่อผ่อนเบาลงมา, รักษาน้ำใจท่าน ไม่คบคนนอกให้เป็นเหตุแหนงใจ เช่น จะรับจะให้ เป็นต้น กับคนเช่นนั้น บอกท่านก่อน ไม่ทำตามลำพัง, ไม่เที่ยวแตร่ตามลำพัง จะไปข้างไหนลาท่านก่อน , เมื่อท่านอาพาธ เอาใจใส่พยาบาล ไม่ไปข้างไหนเสีย จนกว่าท่านจะหายเจ็บหรือมรณภาพ.

(๑๑) สัทธิวิหาริกวัตร ( ข้อปฏิบัติต่อสัทธิวิหาริก)

   ภิกษุผู้เป็นอุปัชฌายะ ( ผู้บวชให้) พึงปฏิบัติชอบในสัทธิวิหาริก ( ผู้ที่ตนบวชให้) ดังต่อไปนี้ :-

   เอาธุระในการศึกษาของสัทธิวิหาริก, สงเคราะห์ด้วยบาตรจีวร และบริขารอย่างอื่น ถ้าตนไม่มีก็ต้องขวนขวายหาให้, ขวนขวายป้องกัน หรือระงับความเสื่อมเสียอันจักมี หรือได้มีแล้วแก่สัทธิวิหาริก ( เช่นเดียวกับข้อปฏิบัติต่ออุปัชฌายะ), เมื่อสัทธิวิหาริกอาพาธ เอาใจใส่พยาบาล.

(๑๒) อาจริยวัตร ( ข้อปฏิบัติต่ออาจารย์)
(๑๓) อันเตวาสิกวัตร ( ข้อปฏิบัติต่ออันเตวาสิก)

   ทั้งสองอย่างนี้เหมือนกับข้อปฏิบัติ ระหว่าง อุปัชฌายะกับสัทธิวิหาริก.

๕. ปาฏิโมกขฐปนขันธกะ
( หมวดว่าด้วยการแสดงปาฏิโมกข์)

    ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ วันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ปราสาทที่นางวิสาขาสร้างถวาย ในบุพพาราม พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จนกระทั้งดึกล่วงปฐมยามแห่งราตรี พระอานนท์จึงกราบทูลขอให้แสดงปาฏิโมกข์ แต่พระผู้มีพระภาคก็ทรงนั่งนิ่ง. เมื่อมัชฌิมยามแห่งราตรีล่วงไป พระอานนท์ก็กราบทูลเตือนเป็นครั้งที่ ๒ แต่ก็ทรงนั่งนิ่ง ครั้นปัจฉิมยามแห่งราตรีล่วงแล้ว อรุณกำลังจะขึ้น พระอานนท์ก็กราบทูลเตือนอีกเป็นครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า บริษัท ( ผู้ที่ประชุมกันอยู่) ไม่บริสุทธิ์. พระโมคคัลลานะพิจจารณาก็รู้ว่ามีภิกษุที่ขาดจากความเป็นภิกษุ แต่ปฏิญญาตนว่าเป็นภิกษุ นั่งปนอยู่ในบริษัทนั้น จึงพูดกับภิกษุนั้นให้ออกไป แม้พูดถึง ๓ ครั้ง ภิกษุนั้นก็ยังนั่งนิ่ง ท่านจึงจับแขนพาออกไปนอกซุ้มประตู แล้วลงกลอนข้างในเสีย.

   พระผู้มีพระภาคจึงตรัสถึงความอัศจรรย์ ๘ ประการของมหาสมุทร เปรียบด้วยพระธรรมวินัยของพระองค์ และมีที่เกี่ยวกับเหตุการณ์นี้อยู่ข้อหนึ่ง คือมหาสมุทรย่อมซัดซากศพให้ขึ้นสู่ฝั่งหมด เปรียบเหมือนการที่สงฆ์ไม่ยอมคบหากับผู้ประพฤติผิด และยกเสียจากหมู่.

ต่อจากนั้นไม่ทรงแสดงปาฏิโมกข์อีก

    เนื่องจากด้วยเหตุการณ์นั้น จึงตรัสว่า ต่อไปจะไม่ทรงแสดงปาฏิโมกข์อีก ทรงมอบให้สงฆ์ทำอุโบสถสวดปาฏิโมกข์ ทรงอ้างเหตุผลว่า พระตถาคตไม่แสดงปาฏิโมกข์ในบริษัทที่ไม่บริสุทธิ์ แล้วทรงบัญญัติพระวินัย ห้ามภิกษุที่ยังมีอาบัติติดตัวอยู่ฟังปาฏิโมกข์ ถ้าขืนฟัง ต้องอาบัติทุกกฏ. ทรงอนุญาตให้งดสวดปาฏิโมกข์เพราะเหตุที่ภิกษุยังมีอาบัติฟังปาฏิโมกข์ได้. พร้อมทั้งทรงแสดงวิธีสวดประกาศระงับการสวดปาฏิโมกข์ด้วย. แต่ก็ทรงห้ามมิให้งดสวดปาฏิโมกข์แก่ภิกษุบริสุทธิ์ไม่มีอาบัติ โดยไม่มีเหตุผล แล้วทรงแสดงการระงับการสวดปาฏิโมกข์ที่ไม่เป็นธรรม และที่เป็นธรรมหลายประการ รวมทั้งอันตรายหรือเหตุที่ทรงอนุญาตให้หยุดสวดปาฏิโมกข์ได้ ๑๐ ประการ คือ ๑. พระราชาเสด็จมา, ๒. โจรปล้น, ๓. ไฟไหม้, ๔. น้ำท้วม, ๕. คนมามาก ( เลิกสวดเพื่อทราบเรื่องหรือเพื่อต้อนรับ), ๖. อมนุษย์เบียดเบียน, ๗. สัตว์ร้าย เช่น เสือเข้ามา, ๘ งูร้ายเลื้อยเข้ามา , ๙. ภิกษุเกิดอาพาธอันจะถึงแก่ชีวิต, ๑๐. มีอันตรายแก่พรหมจรรย์.

การโจทฟ้อง

   ทรงตอบคำถามของพระอุบาลีเกี่ยวกันการโจทฟ้อง ( ภิกษุผู้ไม่สมควรจะฟังปาฏิโมกข์) เริ่มตั้งแต่การตัดสินใจนำตนเข้าไปเกี่ยวข้อง เพื่อธรรม เพื่อวินัย และการโจทฟ้องกันเป็นธรรมและไม่เป็นธรรมซึ่งมีลักษณะต่าง ๆ หลายประการ.

   

๖. ภิกขุนีขันธกะ
( หมวดว่าด้วยนางภิกษุณี)

   เรื่องต้นคือประวัติความเป็นมาของนางภิกษุณี ได้แปลไว้แล้ว (ความน่ารู้พระไตรปิฎก ) หมายเลข ๘๓ พระนางมหาปชาบดีโคตมี ( ผู้เป็นพระน้านาง พระมารดาเลี้ยงของพระพุทธเจ้า) ทูลขอบวชในพระพุทธศาสนา. ในชั้นแรกซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงปฏิเสธ แต่ในที่สุดทรงอนุญาต โดยทรงวางเงื่อนไขไว้ถึง ๘ ประการ ที่เรียกว่าครุธรรมซึ่งพระนางมหาปชาบดี โคตมี ก็ทรงยอมรับ พระอานนท์จึงนำความไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค. พระองค์ตรัสว่า การที่มีสตรีมาบวชในพระพุทธศาสนา จะทำให้พระธรรมวินัยตั้งอยู่ไม่ได้นานนักเท่าที่ควร. ( แต่การทรงวางเงื่อนไขมิให้สตรีบวชได้ง่าย ๆ ก็ได้ผล คือภายหลังพุทธปรินิพพานแล้วไม่นานนัก ก็หมดเชื้อสายของนางภิกษุณี).

   

ทรงอนุญาตการบวชภิกษุณี

    ทรงอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายบวชให้ภิกษุณี ( และในภายหลังทรงอนุญาตให้ภิกษุณีบวชในสงฆ์ ๒ ฝ่าย คือบวชในภิกษุณีสงฆ์ก่อน แล้วจึงบวชในภิกษุสงฆ์ เมื่อมีเหตุเกิดขึ้น มีนักเลงคอยดักประทุษร้ายนางภิกษุณีที่บวชในภิกษุสงฆ์แล้ว จะเดินทางมาบวชในฝ่ายภิกษุสงฆ์ จึงทรงอนุญาตให้บวชโดยทูตได้ คือเมื่อบวชในภิกษุณีสงฆ์เสร็จ ให้นางภิกษุณีผู้ฉลาดรูปหนึ่งเข้าไปหาภิกษุสงฆ์สวดขออนุมัติสงฆ์ เพื่อให้อุปสมบทแก่นางภิกษุณีที่มาไม่ได้ รวม ๓ ครั้ง แล้วให้ภิกษุผู้ฉลาดสามารถสวดประกาศการอุปสมบท ในที่ประชุมสงฆ์ด้วยญัตติจตุถกรรม คือเสนอญัตติ ๑ ครั้ง สวดประกาศ ๓ ครั้ง). อนึ่ง ทรงชี้แจงด้วยว่า พระนางมหาปชาบดี โคตมี เป็นอันบวชแล้วดี ด้วยการรับครุธรรม ๘ ประการ.

การศึกษาสิกขาบท

    ทรงอนุญาตให้นางภิกษุณีศึกษาในสิกขาบทที่เป็นสาธารณะ คือใช้ได้ด้วยกันระหว่างภิกษุกับนางภิกษุณี. ส่วนสิกขาบทที่เป็นอสาธารณะ คือบัญญัติไว้เฉพาะแก่นางภิกษุณี ก็ทรงอนุญาตให่ศึกษา.

ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘ ประการ

    ทรงแสดงลักษณะตัดสินธรรมวินัย คือ ๑. ถ้าเป็นไปเพื่อความกำหนัดยินดี มิใช่เพื่อปราศจากความกำหนัดยินดี ๒. เป็นไปเพื่อผูกมัดไว้ในภพ มิใช่คลายการผูกมัด ๓. เป็นไปเพื่อสะสมกิเลสมิใช่เพื่อรื้อถอนกิเลส ๔. เป็นไปเพื่อความปรารถนาใหญ่ มิใช่เพื่อความปรารถนาน้อย ๕. เป็นไปเพื่อไม่ยินดีด้วยของตน มิใช่เพื่อยินดีด้วยของของตน ( สันโดษ) ๖. เป็นไปเพื่อคลุกคลีด้วยหมู่ มิใช่เพื่อสงัดจากหมู่ ๗. เป็นไปเพื่อความรังเกียจคร้าน มิใช่เพื่อปรารถนาความเพียร ๘. เป็นไปเพื่อเลี้ยงยาก มิใช่เพื่อเลี้ยงง่าย พึงทราบว่าธรรมเหล่านั้นมิใช่ธรรมมิใช่วินัย มิใช่สัตถุศาสนา ถ้าตรงกันข้ามจึงเป็นธรรมวินัย เป็นสัตถุศาสนา.

เรื่องเกี่ยวกับปาฏิโมกข์และสังฆกรรม

    ครั้งแรกทรงอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายสวดปาฏิโมกข์ให้นางภิกษุณีฟัง ต่อมาทรงห้ามและให้นางภิกษุณีสวดเอง โดยให้ภิกษุทั้งหลายสอนให้ ครั้งแรกทรงอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายรับการแสดงอาบัติของนางภิกษุณีได้ ภายหลังทรงห้าม และให้นางภิกษุณีรับการแสดงอาบัติของนางภิกษุณีด้วยกัน โดยให้ภิกษุทั้งหลายสอนวิธีการให้ ครั้งแรกอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายทำกรรมแก่นางภิกษุณีได้ ( สวดประกาศลงโทษ) ภายหลังทรงห้าม และให้นางภิกษุณีทำกรรมแก่นางภิกษุณีด้วยกัน โดยให้ภิกษุทั้งหลายสอนวิธีการให้. ทรงอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายระงับอธิกรณ์ของนางภิกษุณีได้ แต่เกี่ยวกับการทำกรรม ทรงอนุญาตให้ภิกษุยกกรรมยกอาบัติของภิกษุณีได้ แล้วให้มอบให้นางภิกษุณีด้วยกันทำกรรมและรับการแสดงอาบัติต่อไป. และทรงอนุญาตให้ภิกษุสอนวินัยแก่นางภิกษุณีได้.

การลงโทษภิกษุด้วยการไม่ไหว้

    ภิกษุฉัพพัคคีย์เอาน้ำโคลนรดนางภิกษุณีบ้าง แสดงอาการต่าง ๆ ที่ไม่ดีไม่งาม เพื่อจะให้นางภิกษุณีกำหนัดในตน ทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ผู้ทำเช่นนั้น และให้ลงโทษ ( ทัญฑกรรม) แก่ภิกษุนั้น โดยให้ภิกษุณีสงฆ์นัดกันไม่ไหว้ภิกษุนั้น.

การลงโทษนางภิกษุณี

   นางภิกษุณีฉัพพัคคีย์ ( พวก ๖ ) พระพฤติไม่ดีไม่งามเพื่อให้ภิกษุกำหนัดในตน ทรงปรับอาบัติทุกกฏและอนุญาตให้ลงโทษนางภิกษุณีนั้นโดยให้กักบริเวณ และถ้ายังไม่ละเลิกก็ให้งดให้โอวาท . นางภิกษุณีที่ถูกงดโอวาทจะทำอุโบสถร่วมกับภิกษุอื่น ๆ ไม่ได้ จนกว่าอธิกรณ์จะสงบ.

การให้โอวาทนางภิกษุณี

    ภิกษุณีให้โอวาทนางภิกษุณี จะงดเสียแล้วเที่ยวจาริกไปก็ตาม งดโอวาทเพราะเขลาก็ตาม งดโอวาทโดยไม่มีเหตุผลสมควรก็ตาม งดโอวาทแล้วไม่วินิจฉัย ( คือเมื่อลงโทษงดโอวาท ก็จะต้องมีการตัดสินให้เห็นผิด) ก็ตาม ต้องอาบัติทุกกฏ . ครั้งแรกทรงอนุญาตให้นางภิกษุณีไปฟังโอวาทของภิกษุ ภายหลังอนุญาตให้สมมติ คือแต่งตั้งภิกษุรูปใดรูปหนึ่งให้ไปสอนนางภิกษุณี เป็นต้น รวมทั้งระเบียบเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการให้โอวาท.

ข้อห้ามเบ็ดเตล็ด

    ต่อจากนั้นทรงบัญญัติพระวินัยเบ็ดเตล็ดเกี่ยวด้วยนางภิกษุณี เช่น ห้ามใช้ประคดเอวยาวเกินไป ให้รัดประคดรอบเดียว ห้ามใช้ผ้ารัดดัดซี่โครง ( เพื่อรัดรูป ดั่งสตรีผู้เป็นคฤหัสถ์) นอกจากนั้นยังห้ามทำการแบบสตรีผู้ครองเรือนอีกหลายอย่าง เช่น ผัดหน้า เจิมหน้า ย้อมหน้า ตลอดจนห้ามมีทาส ทาสี กรรมกร หญิงชาย เป็นต้น ไว้รับใช้ และห้ามใช้จีวรย้อมสีไม่ถูกต้องเช่นเดียวกับที่ห้ามสำหรับภิกษุ และห้ามใช้เสื้อใช้หมวก เป็นต้น. นางภิกษุณีถึงมรณภาพ ทรงบัญญัติให้เครื่องใช้ของเธอเป็นของภิกษุณีสงฆ์ ต่อจากนั้นมีข้อห้ามเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ รวมทั้งเรื่องการอุปสมบท การทำอุโบสถ และปวารณา.

   

๗. ปัญจสติกขัรธกะ
( หมวดว่าด้วยพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป
ในการทำสังคายนาครั้งที่ ๑) 

    เล่าเรื่องพระผู้มีพระภาคนิพพานแล้ว ภิกษุทั้งหลายเศร้าโศก แต่มีภิกษุผู้บวชเมื่อแก่รูปหนึ่งชื่อ สุภัททะ กล่าวห้ามไม่ให้เศร้าโศก ควรจะดีใจว่า ต่อไปจะได้ไม่มีใครคอยห้ามทำนั้นทำนี่ อยากทำอะไรก็ทำก็จะทำได้ พระมหากัสสปปรารภถ้อยคำนั้น จึงเสนอให้ทำสังคายนา คือร้อยกรองหรือจัดระเบียบพระธรรมวินัยและเลือกพระอรหันต์ ๔๙๙ รูป ( เว้นไว้ ๑ รูป สำหรับพระอานนท์ ซึ่งยังมิได้เป็นพระอรหันต์ ) แล้วเดินทางไปยังกรุงราชคฤห์ สวดประกาศมิให้สงฆ์อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการสังคายนาอยู่ในกรุงราชคฤห์ และใช้เวลา ๑ เดือนแรกในการปฏิสังขรณ์สิ่งปรักหักพัง. รุ่งขึ้นจะมีการประชุม พระอานนท์ก้ได้บรรลุอรหัตตผล.

การสังคายนาครั้งที่ ๑
พระมหากัสสปสวดขอให้สงฆ์สมมติ คือแต่งตั้งตัวแทนเองเป็นผู้ถามวินัย พระอุบาลีเป็นผู้ตอบวินัย เมื่อถามตอบเสร็จแล้ว จึงขอสมมติตัวท่านเองเป็นผู้ถามธรรมะ พระอานนท์เป็นผู้ตอบธรรมะ แล้วได้ถามตอบนิกาย ๕.

    ( หมายเหตุ : หลักฐานสั้น ๆ นี้แสดงว่า คำว่า ธรรม นั้น รวมทั้งพระสูตรและอภิธรรม ตามที่อรรถกถาอธิบายว่า อภิธรรมนั้นรวมอยู่ในขุททกนิกาย อันเป็นนิกายที่ ๕. ฝ่ายที่ค้านไม่เชื่อว่าอภิธรรมมีมาในสมัยพระพุทธเจ้า แต่มาแต่งขึ้นภายหลัง ก็อ้างเหตุผลตอนนี้ บอกว่าเป็นหลักฐานที่แสดงว่าไม่มีการสังคายนาอภิธรรมเลย เพราะนิกาย ๕ เป็นเรื่องของพระสูตรล้วน ๆ ).

การถอนสิกขาบทเล็กน้อย

    ต่อจากนั้นพระอานนท์ได้เสนอให้ที่ประชุมทราบถึงพระพุทธานุญาตที่ให้สงฆ์ ถ้าปรารถนา ก็ถอนสิกขาบทเล็กน้อยเสียได้ ที่ประชุมไม่ตกลงกันได้ว่า แค่ไหนเป็นสิกขาบทเล็กน้อย พระมหากัสสปจึงสวดเสนอญัตติให้สงฆ์งดถอนสิกขาบทเล็กน้อย เพื่อป้องกันมิให้มีผู้กล่าวได้ว่า สิกขาบทที่พระสมณโคดมทรงบัญญัตินั้น อยู่ได้ตราบเท่าที่ยังมีศาสดาเท่านั้น จึงมีระยะกาลเหมือนควันไฟ ( ซึ่งจางหายไปง่าย). ในที่สุดเมื่อไม่มีผู้ใดคัดค้าน ก็เป็นอันใช้อำนาจสงฆ์ห้ามถอนสิกขาบทเล็กน้อย.

พระอานนท์ถูกปรับอาบัติ

    พระเถระทั้งหลายได้ปรับอาบัติทุกกฏแก่พระอานนท์หลายข้อ คือ ๑. ไม่ถามให้ทรงแสดงว่าสิกขาบทเล็กน้อยคืออะไรบ้าง ๒. เมื่อเย็บผ้าอาบน้ำฝนถวายพระผู้มีพระภาคได้เหยียบผ้านั้น ๓. ตอนที่นำสตรีเข้าถวายบังคมพระศพ คนเหล่านั้นร้องไห้ น้ำตาเปื้อนพระสรีระของพระผู้มีพระภาค ๔. ไม่อาราธราให้พระผู้มีพระภาคทรงพระชนม์อยู่ ทั้งที่ทรงทำนิมิตโอภาสให้ปรากฏ ๕. ขวนขวายให้สตรีบวชในพระพุทธศาสนา. พระอานนท์มีข้อชี้แจงทุกข้อ แต่ยอมแสดงอาบัติด้วยศรัทธาในพระเถระเหล่านั้น.

พระปุราณะไม่ค้าน แต่ถือตามที่ฟังมาเอง

    พระปราณะพร้อมด้วยภิกษุประมาณ ๕๐๐ ท่องเที่ยวไปในทักษิณาคิรี ( ภูเขาแถบภาคใต้ของอินเดีย ) พอสมควรแล้ว ก็เดินทางไปพัก ณ เวฬวนาราม กรุงราชคฤห์ เมื่อเข้าไปหาพระเถระได้รับบอกเล่าว่าพระเถระทั้งหลายได้สังคายนาพระธรรมวินัยแล้ว และแนะให้รับรองข้อที่สังคายนาแล้วนั้น. พระปุราณะตอบว่า ธรรมและวินัยเป็นอันพระเถระทั้งหลายสังคายนาดีแล้ว แต่ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาในที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคอย่างไร ข้าพเจ้าจักทรงจำไว้อย่างนั้น. ( เรื่องนี้เป็นจุดหนึ่งในประวัติศาสตร์ ที่แสดงว่าความคิดเห็นไม่ตรงกันเริ่มขึ้นบ้างแล้ว).

ลงพรหมทัณฑ์พระฉันนะ

    พระอานนท์จึงแจ้งให้สงฆ์ทราบถึงพระพุทธดำรัสที่ให้ลงพรหมทัณฑ์ ( การลงโทษแบบผู้ใหญ่ หรือผู้ดี ) คือพระฉันนะอยากทำอะไรก็ปล่อยให้ทำตามชอบใจ ภิกษุทั้งหลายไม่พึงว่ากล่าวตักเตือนสั่งสอน. สงฆ์จึงมอบให้พระอานนท์เป็นผู้จัดการลงพรหมทัณฑ์ โดยให้นำภิกษุไปด้วยเป็นอันมากเดินทางไปกรุงโกสัมพีโดยทางเรือ ได้พบพระเจ้าอุเทน พระเจ้าอุเทนทรงเลื่อมใสในคำชี้แจงเรื่องการใช้ผ้าให้เป็นประโยชน์ แม้เมื่อเก่าแล้วก็ยังเอามาทำผ้าเช็ดเท้า ผ้าถูพื้น และนำมาขยำกับดินเหลวโบกชานภายนอกกุฏิ. ต่องจากนั้นพระอานนท์ก็เดินทางไปยังโฆสิตารามลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ ทำให้พระฉันนะเสียใจถึงสลบ และพยายามบำเพ็ญเพียรจนได้บรรลุอรหัตตผล จึงมาขอให้ถอนพรหมทัณฑ์ แต่พระอานนท์ตอบว่า พรหมทัณฑ์เป็นอันระงับไปแล้ว ตั้งแต่พระฉันนะได้บรรลุอรหัตตผล.

   

๘. สัตตสิกขันธกะ
( หมวดว่าด้วยพระอรหันต์ ๗๐๐ รูป
ในการสังคายนาครั้งที่ ๒ )
วัตถุ ๑๐ ประการ

    เมื่อพุทธปรินิพพานล่วงแล้ว ๑๐๐ ปี ภิกษุพวกวัชชีบุตร ชาวเมืองไพศาลี แสดงวัตถุ ๑๐ ประการ ( ซึ่งผิดธรรมวินัย) ว่า เป็นของควรหรือถูกต้องตามธรรมวินัย คือ ๑ . เก็บเกลือในเขาสัตว์ ( เขนง) เอาไว้ฉันกับอาหารได้ ( ความจริง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะเมื่อเก็บค้างคืนแล้วนำมาบนกับอาหาร อาหารนั้นก็เหมือนค้างคืนด้วย). ๒. ตะวันชายไปแล้ว ๒ นิ้ว ฉันอาหารได้ ( ความจริง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันอาหารในเวลาวิกาล คือเที่ยงไปแล้ว) ๓. ภิกษุฉันอาหารในนิมนต์จนบอกพอ ไม่รับอาหารที่เขาเพิ่มเติมแล้วคิดว่าจะเข้าบ้าน ฉันอาหารที่ไม่เป็นเดนได้ ( ความจริงไม่ได้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ดูหน้าพระวินัยปิฎก เล่ม ๒ ) ๔. ภิกษุอยู่ในสีมาเดียวกัน ทำอุโบสถแยกกันได้ ( ความจริงไม่ได้ ต้องอาบัติทุกกฏ) ๕. สงฆ์ยังมาประชุมไม่พร้อมกันแต่ครบจำนวนพอจะทำกรรมได้ ก็ควรทำไปก่อนได้ แล้วขออนุมัติหรือความเห็นชอบจากภิกษุผู้มามาทีหลัง ( ความจริงไม่ควร) ๖. เรื่องที่อุปัชฌายะอาจารย์เคยประพฤติมาแล้วใช้ได้ ( ความจริงถ้าถูกก็ใช้ได้ ถ้าผิดก็ใช้ไม่ได้ ) ๗. นมสดที่แปรแล้ว แต่ยังไม่เป็นนมส้ม ภิกษุฉันในที่นิมนต์ จนบอกไม่รับอาหารที่เขาถวายเพิ่มให้แล้วคงดื่มนมนั้นได้ ( ความจริงไม่ได้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะยังไม่เข้าลักษณะเภสัช ๕) ๘. น้ำเมาอย่างอ่อนที่มีรสเมาเจืออยู่น้อย ไม่ถึงกับจะทำให้เมา ควรดื่มได้ ( ความจริงไม่ควร) ๙. ผ้าปูนั่งที่ไม่มีชาย ควรใช้ได้ ( ความจริงไม่ควร) ๑๐. ทองเงิน ควรรับได้ ( ความจริงไม่ควร ถ้ารับ ต้องอาบัติปาจิตตีย์).

พระยสะ กากัณฏกบุตร คัดค้าน

    ภิกษุพวกวัชชีบุตรเอาถาดใส่น้ำ เที่ยวเรี่ยไรเงินพวกอุบาสกที่มาในวันอุโบสถ เพื่อเป็นค่าบริขารของพระสงฆ์. พระยสะ กากัณฏกบุตร ( ซึ่งเป็นพระมาจากที่อื่น) กล่าวห้ามอุบาสกเหล่านั้นว่าไม่ควรให้แต่เพราะไม่รู้วินัย เขาจึงให้ไปตามที่เคยให้มา. ตกลางคืนภิกษุเหล่านั้นแบ่งเงินกันแล้วเฉลี่ยมาให้ พระยสะกากัณฏกบุตร ท่านปฏิเสธ ก็โกรธเคือง หาว่าท่านด่าอุบาสกเหล่านั้น จึงประชุมกันลงปฏิสารณียกรรม ( ให้ไปขอขมาชาวบ้าน). พระยสะ กากัณฏกบุตร จึงอ้างวินัยว่า จะต้องมีพระเป็นทูตไปด้วย ๑ รูป. เมื่อภิกษุวัชชีบุตรสวดประกาศแต่งตั้งภิกษุรูปหนึ่งมอบหน้าให้ไปด้วยแล้ว พระยสะก็เข้าไปหาอุบาสกเหล่านั้น ชี้แจงข้อที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้หลายแห่ง ห้ามรับทองเงิน. อุบาสกเหล่านั้น ได้ทราบข้อวินัยก็เลื่อมใสพระยสะและกล่าวประณามภิกษุวัชชีบุตร. เมื่อกลับจากที่นั้น ภิกษุที่เป็นทูตร่วมไปด้วยก็ชี้แจงให้ภิกษุวัชชีบุตรทราบต่างพากันโกรธเคืองพระยสะ อ้างว่า การที่พระยสะไปพูดกับคนเหล่านั้นเป็นการไปแจ้งความแก่คฤหัสถ์โดยมิได้รับแต่งตั้งจากสงฆ์ จึงควรอุกเขปนียกรรม ( ยกเสียจากหมู่ ไม่ให้ใครคบด้วย).

   

การสังคายนาครั้งที่ ๒

    พระยสะ กากัณฏกบุตร จึงหนีไป ชวนพระเถระที่เห็นแก่ธรรมวินัยหลายรูป ซึ่งเป็นประมุขสงฆ์อยู่ในที่ต่าง ๆ เช่น พระสัพพกามี , พระสาฬหะ , พระอุชชโสภิตะ ( บางแห่งว่า ขุชชโสภิตะ) พระวาสภะคามิกะ ๔ รูปนี้ เป็นผู้แทนคณะสงฆ์ฝ่ายตะวันออก พระเรวต. พระสัมภูตะ สาณวสี, พระยสะ กากัณฏกบุตร, พระสุมนะ ๔ รูปนี้เป็นผู้แทนคณะสงฆ์ฝ่ายตะวันตก ( ชาวเมืองปาฐา) รวมทั้งพระอรหันต์ทั้งหลายเป็นอันมาก ถึง ๗๐๐ รูป ประชุมกัน ณ วาลิการาม โดยมีพระอชิตะผู้มีพรรษา ๑๐ เป็นผู้ปูอาสนะ วินิจฉัยวัตถุ ๑๐ ประการ แสดงที่มาที่ทรงห้ามไว้ ปรับอาบัติไว้อย่างชัดเจน ชี้ขาดด้วยมติของสงฆ์ ให้วัตถุ ๑๐ นั้นผิดธรรมผิดวินัย มิใช่สัตถุศาสนา.

   ( ประวัติการทำสังคายนาทั้งสองคราว คือครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒ นี้ มีมาในพระไตรปิฎกด้วยเห็นได้ว่าเป็นการเพิ่มไว้เมื่อสังคายนาครั้งที่ ๓ เพื่อให้เป็นหลักฐานความเป็นมาแห่งพระธรรมวินัย).


    ๑. มีแปลไว้แล้วในข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก หมายเลข ๑


บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ