บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



หมวดพระวินัย

พระวินัยเล่ม ๗
1.ขุททกวัตถุขันธกะ
2.เสนาสนขันธกะ
3.สังฑเภทขันธกะ
4.วัตตขันธกะ
5.ปาฏิโมกขฐปนขันธกะ
6.ภิกขุณีขันธกะ
7.ปัญจสติขันธกะ
8.สัตตสติกขัธกะ

หน้า ๑
๑ ขุททกวัตถุขันธกะ
..เรื่องเกี่ยวกับการอาบน้ำ
..ห้ามใช้เครื่อง
ประดับแบบ
คฤหัสถ์
..ข้อห้ามเกี่ยวกับผม
..ข้อห้ามเกี่ยว
กับการส่อง
กระจกหรือแว่น
..ข้อห้ามทา
หน้าทาตัว
..ห้ามดูฟ้อนรำ
และห้ามขับด้วย
เสียงอันยาว
..ห้ามใช้ผ้าขนเเกะ
..ข้อห้ามและ
อนุญาตเกี่ยว
กับผลไม้
..ตรัสสอน
ให้แผ่เมตตา
..ห้ามตัดองคชาต
..ข้อห้ามและ
อนุญาตเกี่ยว
กับบาตร
..ทรงอนุญาต
มีดและเข็ม
..ทรงอนุญาต
และห้ามเกี่ยวกับ
ไม้แบบหรือสดึง
..ทรงอนุญาต
ถุงใส่ของ
สายคล้องบ่า
ผ้ากรองน้ำ และมุ้ง ทรงอนุญาตการ
จงกรมและ
เรือนไฟ เป็นต้น
..เรื่องที่นั่ง
ที่นอนและที่
ใส่อาหาร
..ห้ามฉันอาหาร
ดื่มน้ำในภาชนะ
เดียวกัน เป็นต้น
..การลงโทษ
คว่ำบาตรแก่
วัฑฒะลิจฉวี

หน้า ๒
เรื่องผ้าขาวที่
ไม่ให้เหยียบ
และเหยียบได้
..นางวิสาขา
ถวายของใช้
..ทรงอนุญาต
และห้ามใช้ร่ม
..ทรงห้ามและ
อนุญาตไม้คาน
สาแหรก
..เรื่องอาเจียน
และเมล็ดข้าว
..ทรงอนุญาต
มีดตัดเล็บ
เป็นต้น
..เรื่องผมและหนวดเครา
..เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด
..เครื่องใช้ที่เป็นผ้า
..เรื่องหาบหาม
..การเคี้ยวไม้สีฟัน
ทรงห้ามประ
พฤติอนาจาร
..ห้ามจุดป่าและขึ้นไม้
..ห้ามยกพุทธวจนะ
ขึ้นโดยฉันท์
..ห้องเรียนห้าม
สอนโลกายตะและ
ติรัจฉานวิชชา
..ห้ามถือโชคลาง
แต่ไม่ขัดใจคนอื่น
..ห้ามฉันกระเทียม
..ทรงอนุญาต
ที่ถ่ายปัสสาวะ
อุจจระ
..ทรงห้ามประ
พฤติอนาจาร
..ทรงอนุญาต
เครื่องใช้
๒. เสนาสนขันธกะ
..ทรงอนุญาต
ที่ถ่ายปัสสาวะ
อุจจระ
..ทรงห้ามประ
พฤติอนาจาร
..ทรงอนุญาต
เครื่องใช้
เครื่องนั่งเ
ครื่องนอน

หน้า ๓

..อนาถปิณฑิก
คฤหบดีนับถือ
พระพุทธศาสนา
..ตั้งภิกษุผู้ควบ
คุมการก่อสร้าง
..ลำดับอาวุโส
..บุคคลผู้ไม่ควร
ไหว้ ๑๐ ประเภท
..บุคคลผู้ควร
ไหว้ ๓ ประเภท
..มณฑปที่สร้าง
อุทิศสงฆ์
..ที่นั่งต่างชนิด
ของคฤหัสถ์
..การถวาย
เชตวนาราม
..ปัญหาลำดับ
อาวุโสเพิ่มเติม
..การจัดสรร
ที่อยู่อาศัย
..การนั่งต่ำนั่งสูง
..ปราสาทและ
เครื่องนั่งนอนต่าง ๆ
..สิ่งที่จะสละ
ไม่ได้ ๕ หมวด
..การควบคุม
การก่อสร้าง
..การขนย้าย
ของใช้และรักษา
ที่อยู่อาศัย
..เจ้าหน้าที่
ทำการสงฆ์อื่น ๆ
๓ สังฆเภทขันธกะ
..พระเทวทัต
คิดการใหญ่
..พระเทวทัต
ขอปกครอง
คณะสงฆ์
..ตรัสให้ขอ
อนุมัติสงฆ์
ประกาศ
เรื่องพระเทวทัต
..พระเทวทัต
ยุให้ขบท
..การประทุษร้าย
พระพุทธเจ้าครั้งแรก
..การประทุษ
ร้ายครั้งที่ ๒
..การประทุษ
ร้ายครั้งที่ ๓
..พระเทวทัต
เสนอข้อ
ปฏิบัติ ๕ ข้อ
ทำสงฆ์ให้แตกกัน
..พระเทวทัต
อาเจียน
เป็นโลหิต
..ความร้าวและ
ความแตกกัน
ของสงฆ์
..ใครทำให้สงฆ์
แตกกันได้และได้
..เหตุเป็นเครื่อง
ทำให้สงฆ์แตกกัน
และสามัคคีกัน
..การทำสงฆ์ให้
แตกกันที่ทำให้
ไปอบายและ
ไม่ไปอบาย

หน้า ๔ ๔.วัตตขันธกะ
๔. วัตตขันธกะ
..(๑) อาคันตุกวัตร
..(๒) อาวาสิกวัตร
..(๓) คมิกวัตร
..(๔) ภัตตัคควัตร
..(๕) ปิณฑจาริกวัตร
..(๖) อรัญญกวัตร
..(๗) เสนาสนวัตร
..(๘) ชั้นตาฆรวัตร
..(๙) วัจจกุฏิวัตร
..(๑๐) อุปัชฌาวัตร
..(๑๑) สัทธิวิหาริกวัตร
..(๑๒) อาจริยวัตร
..(๑๓) อันเตวาสิกวัตร
๕. ปาฏิโมกขฐปนขันธกะ
..ต่อจากนั้นไม่
ทรงแสดง
ปาฏิโมกข์อีก
..การโจทฟ้อง
๖. ภิกขุนีขันธกะ
..ทรงอนุญาต
การบวชภิกษุณี
..การศึกษา
สิกขาบท
..ลักษณะตัด
สินธรรมวินัย
๘ ประการ
..เรื่องเกี่ยวกับ
ปาฏิโมกข์
และสังฆกรรม
..การลงโทษ
ภิกษุด้วย
การไม่ไหว้
..การลงโทษ
นางภิกษุณี
..การให้โอวาท
นางภิกษุณี
..ข้อห้ามเบ็ดเตล็ด
๗. ปัญจสติกขัรธกะ
..การสังคาย
นาครั้งที่ ๑
..การถอนสิก
ขาบทเล็กน้อย
..พระอานนท์
ถูกปรับอาบัติ
..พระปุราณะ
ไม่ค้านแต่ถือ
ตามที่ฟังมาเอง
..ลงพรหม
ทัณฑ์พระฉันนะ
๘. สัตตสิกขันธกะ
การสังคายนาครั้งที่ ๒
..พระยสะ
กากัณฏกบุตร
คัดค้าน

 

เล่มที่ ๗ ชื่อจุลลวัคค์ ( เป็นพระวินัยปิฏก )
หน้า ๑

    ได้กล่าวแล้วว่า จุลวัคค์มี ๒ เล่ม คือเล่ม ๖ กับเล่ม ๗ เล่ม ๖ ที่ย่อมาแล้วมี ๔ หมวด หรือ ๔ ขันธกะ ในเล่ม ๗ มี ๘ หมวด หรือ ๘ ขันธกะ ดังต่อไปนี้ :-

    ๑. ขุททกวัตถุขันธกะ (หมวดว่าด้วยเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ) เรื่องที่กล่าวในหมวดนี้เป็นเรื่องเบ็ดเตล็ด เช่น ข้อปฏิบัติในเวลาอาบน้ำ , การดูมหรสพ, ข้อห้ามและอนุญาตที่เกี่ยวกับบาตร เป็นต้น จนถึงเรื่องเครื่องใช้ที่ทำด้วยโลหะ, ทำด้วยไม้และทำด้วยดินเหนียว,

    ๒. เสนาสนขันธกะ ( หมวดว่าด้วยที่อยู่อาศัย ) ในหมวดนี้กล่าวถึงเรื่องสถานที่อยู่อาศัย, เครื่องใช้ เช่น เตียงตั่ง , ผ้าปูนั่งปูนอน, เครื่องใช้ประจำในที่อยู่ ตลอดจนการก่อสร้าง เป็นต้น.

    ๓. สังฑเภทขันธกะ (หมวดว่าด้วยสงฆ์แตกกัน) เล่าเรื่องพระเทวทัตคิดประทุษร้ายพระพุทธเจ้าแต่ไม่สำเร็จ จนถึงเหตุการณ์ที่ทำให้พระเทวทัตอาเจียนเป็นโลหิต และเรื่องการสงฆ์ให้แตกกัน พร้อมทั้งข้อกำหนดต่าง ๆ เกี่ยวกับการที่สงฆ์แตกกัน.

    ๔. วัตตขันธกะ (หมวดว่าด้วยวัตรหรือข้อปฏิบัติ) ว่าด้วยวัตรหรือข้อปฏิบัติต่าง ๆ ๑๓ เรื่องข้อปฏิบัติของภิกษุผู้เป็นอาคันตุกะ, ข้อปฏิบัตของภิกษุผู้เป็นเจ้าของถิ่น, ข้อปฏิบัติของภิกษุผู้จะเดินทางจากไป, ข้อปฏิบัติในโรงอาหาร, ข้อปฏิบัติของภิกษุผู้บิณฑบาต, ข้อปฏิบัติของภิกษุผู้อยู่ป่า, ข้อปฏิบัติเนื่องด้วยที่อยู่อาศัย, ข้อปฏิบัติในเรือนไฟ, ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับวัจจกุฏิ (ส้วม), ข้อปฏิบัติต่ออุปชฌายะ, ข้อปฏิบัติต่อสัทธิวิหาริก, ข้อปฏิบัติต่ออาจาย์ , ข้อปฏิบัติต่ออันเตวาสิก,

    ๕. ปาฏิโมกขฐปนขันธกะ (หมวดว่าด้วยการงดหรือหยุดสวดปาฏิโมกข์) กล่าวถึงการหยุดสวดปาฏิโมกข์ เพราะมีภิกษุผู้ไม่บริสุทธิ์ปนอยู่ด้วย พร้อมทั้งเงื่อนไขต่าง ๆ เป็นอันมาก.

    ๖ ภิกขุณีขันธกะ (หมวดว่าด้วยนางภิกษุณี) กล่าวถึงความเป็นมาของนางภิกษุณี และข้อปฏิบัติ ข้อห้าม ข้ออนุญาตต่าง ๆ เกี่ยวกับนางภิกษุณี

    ๗ ปัญจสติขันธกะ (หมวดว่าด้วยพระอรหันต์ ๕๐๐ ซึ่งทำสังคายนาครั้งที่ ๑) พรรณนาเหตุการณ์ภายหลังพุทธปรินิพพานถึงการทำสังคายนาครั้งที่ ๑

    ๘ สัตตสติกขัธกะ (หมวดว่าด้วยพระอรหันต์ ๗๐๐ ซึ่งทำสังคายนาครั้งที่ ๒) พรรณามูลเหตุและการดำเนินในการทำสังคายนาครั้งที่ ๒

   

ขยายความ

๑ ขุททกวัตถุขันธกะ
(หมวดว่าด้วยเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ)

เรื่องเกี่ยวกับการอาบน้ำ

    ทรงปรารภการกระทำของภิกษุฉัพพัคคีย์ ซึ่งมีผู้ติเตียน จึงตรัสห้ามมิให้ภิกษุเอากายสีกับต้นไม้, สีกับเสา , สีกับข้างฝา ในขณะอาบน้ำ ทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ผู้ล่วงละเมิด (เพราะชาวบ้านติว่าทำเหมือนนักมวยปล้ำ)

    ทรงห้ามอาบน้ำเอากายสีที่แผ่นกระดาน ( ที่เขาทำเป็นตาหมากรุก แล้วเอาจุณโรยไว้ใช้สีกาย). อนึ่ง ทรงห้ามใช้เครื่องสีกายด้วยของไม่ควร เช่น ไม้ทำเป็นรูปมือ หรือจักเป็นฟันมังกร และกลียวเชือกที่คมเอาหลังต่อหลังสีกันก็ห้าม ทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ผู้ล่วงละเมิด (เพราะมีผู้ติเตียนว่าทำเหมือนอย่างคฤหัสถ์ผู้ปริโภคกาม). ทรงอนุญาตไม้ไม่จักเป็นซี่และให้ใช้เกลียวผ้า หรือฝ่ามือถูตัวได้.

   

ห้ามใช้เครื่องประดับแบบคฤหัสถ์

    ทรงห้ามประดับกายด้วยตุ้มหู, สายสร้อย, สร้อยคอ, สร้อยเอว, เข็มขัด, บานพับ (สำหรับรัดแขน) , กำไลมือและแหวน. ทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ผู้ทำเช่นนั้น.

   

ข้อห้ามเกี่ยวกับผม

    ทรงห้ามไว้ผมเกิน ๒ เดือน หรือไว้ผมเกิน ๒ นิ้ว. อนึ่ง ทรงห้ามใช้แปรง, ใช้หวี, ใช้มือต่างหวี, ใช้น้ำมันเจือน้ำใส่ผม ซึ่งเป็นอย่างคฤหัสถ์ผู้ปริโภคกาม ทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ผู้ทำเช่นนั้น.

   

ข้อห้ามเกี่ยวกับการส่องกระจกหรือแว่น

    ทรงห้ามมองดูเงาหน้าในแว่น (โลหะขัดเงา) หรือในภาชนะน้ำ ( เพราะชาวบ้านติเตียนว่าทำเหมือนคฤหัสถ์ผู้ปริโภคกาม) มีเหตุสมควร เช่น เป็นแผลที่หน้า ทรงอนุญาตให้ดูได้.

   

ข้อห้ามทาหน้าทาตัว

    ทรงห้ามผัดหน้า, ไล้หน้า ( ใช้ฝุ่นละลายน้ำ ทาแห้งแล้วลูบให้เสมอ), ทาหน้า ( เช่น ทาแป้ง), เจิมหน้า, ย้อมตัว, ย้อมทั้งตัวทั้งหน้า, ทรงปรับอาบัติแก่กฏแก่ผู้ทำเช่นนั้น. ใช้ฝุ่นผัดหน้า เพื่อรักษาโรคได้. ( ในเรื่องกล่าวว่า รักษาโรคตา ฝุ่นนั้นคงผสมยาบางอย่าง).

   

ห้ามดูฟ้อนรำและห้ามขับด้วยเสียงอันยาว

    ทรงห้ามไปดูฟ้อนรำขับร้อง ทรงห้ามขับธรรมด้วยเสียงขับอันยาว ทรงแสดงโทษ ๕ ประการ ( ดูหน้า ๖๙ หมายเลข ๖๕ ) แต่ทรงอนุญาตให้สวดสรภัญญะ (สวดใช้เสียงที่ไม่เสียสมณสารูป).

   

ห้ามใช้ผ้าขนเเกะ

    ทรงห้ามใช้ผ้าขนแกะที่มีขนอยู่ภายนอก ซึ่งคฤหัสถ์ใช้กัน ทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ผู้ล่วงละเมิด.

   

ข้อห้ามและอนุญาตเกี่ยวกับผลไม้

    ทรงห้ามฉันมะม่วง เพราะภิกษุฉัพพัคคีย์ให้คนสอยมะม่วงในพระราชอุทยานของพระเจ้าพิมพิสาร ซึ่งอนุญาตให้ฉันผลไม้ได้ จนพระเจ้าพิมพิสารจะเสวยเองก็ไม่ได้เสวย. ฝานเปลือกมะม่วงใส่แกง อนุญาตให้ฉันได้. ในที่สุดทรงอนุญาตให้ฉันผลไม้ได้ทุกชนิด ถ้าเป็นของควรแก่สมณะ ๕ อย่าง คือเอาไฟจี้, เอามีดกรีด, เอาเล็บจิก (หมายถึงคนที่คนอื่นทำให้) , ผลไม้ที่ไม่มีเมล็ด, ผลไม้ที่ปล้อนเปลือกออกแล้ว ( การฉันผลไม้ในครั้งพุทธกาล คงใช้ขบเคี้ยว เพื่อรักษาประเพณีที่ว่า นักบวชไม่ควรทำลายพืชตามความนิยมของคนในครั้งนั้น จึงต้องมีข้อกำหนดให้ทำให้ควรก่อน).

   

ตรัสสอนให้แผ่เมตตา

    ภิกษุถูกงูกัด ถึงแก่มรณภาพ จึงตรัสสอนให้แผ่เมตตาในสกุลพญางูทั้งสี่ รวมทั้งหมู่สัตว์ทั้งหลายไม่เลือกว่า ๒ เท้า ๔ เท้า มีเท้ามากหรือไม่มีเท้า ขอให้สัตว์เหล่านั้นจงพบเห็นแต่สิ่งที่ดีงาม.

   

ห้ามตัดองคชาต

    ภิกษุรูปหนึ่งเกิดความกำหนัด จึงตัดองคชาตทิ้ง พระผู้มีพระภาคทรงติเตียน และทรงบัญญัติพระวินัย ห้ามตัดองคชาต ถ้าตัด ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

   

ข้อห้ามและอนุญาตเกี่ยวกับบาตร

    ทรงปรารภพระปิณโฑล ภารัทวาชะ ผู้ได้บาตรไม้จันทน์มา เพราะแสดงอำนาจจิต เหนือเจ้าลัทธิทั้งหก พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติพระวินัย ห้ามแสดงอิทธิปฏิหาริย์แก่คฤหัสถ์ ถ้าแสดงต้องอาบัติทุกกฏ. อนึ่ง ทรงสั่งให้ทำลายบาตรไม้จันทน์นั้น เพื่อใช้การอย่างอื่น เช่น บดเป็นยาหยอดตา แล้วตรัสห้ามใช้บาตรไม้ และปรับอาบัติทุกกฏแก่ผู้ใช้.

    อนึ่ง ทรงห้ามใช้บาตรที่ทำด้วยทอง, เงิน, แก้วมณี, แก้วไพฑูรย์, แก้วผลึก, สำริด, แก้วหุง, ดีบุก, สังกะสี, ทองแดง, รวมเป็น ๑๑ ทั้งบาตรไม้) ทรงอนุญาตบาตรสองชนิด คือบาตรเหล็กและบาตรดิน.

    ทรงอนุญาตให้ใช้เชิงบาตร (เพื่อกันก้นบาตรเสียดสี) แต่ไม่อนุญาตเชิงบาตร ที่ทำด้วยทอง เงิน หรือวิจิตรงดงาม ทรงอนุญาตที่ทำด้วยดีบุกหรือสังกะสี.

    ทรงห้ามเก็บบาตรทั้งที่ยังเปียกน้ำ ทรงอนุญาตให้ตากแดดหรือเช็ดให้หมดน้ำ ตากแล้วจึงเก็บบาตร ทรงห้ามเก็บบาตรไว้กลางแดด ทรงอนุญาตให้ตากไว้กลางแดดครู่หนึ่งแล้วจึงเก็บ.

    ทรงอนุญาตที่รองบาตร เพื่อกันบาตรถูกลมพัดกลิ้งไปแตก, ทรงห้ามเก็บบาตรบนพนัก บนพรึง ( ชานนอกพนัก) . ทรงอนุญาตเครื่องรองบาตรเวลาคว่ำบาตร (ไม่ให้ปากบาตรครูดกับพื้น) เป็นเครื่องรองหญ้าหรือผ้าก็ได้.

    ทรงอนุญาตชั้นเก็บบาตร (เพื่อกันปลวกขึ้นผ้าหรือเสื่อที่รองบาตร) , ทรงอนุญาตภาชนะปากกว้าง สำหรับวางบาตร ( เพื่อกันบาตรกลิ้งลงมาจากชั้น) , ทรงอนุญาตถุงบาตร ( เพื่อกันมิให้ก้นบาตรครูดกับภาชนะสำหรับเก็บ), ทรงห้ามแขวนบาตร ( ไว้กับสิ่งที่ยื่นออกมาจากข้างผา เช่น ลูกประสัก), ทรงห้ามเก็บบาตรไว้บนเตียง, บนตั่ง, บนตัก, บนร่ม ( เพื่อกันแตก), อนึ่ง ทรงห้ามผลักบานประตูเมื่อยังถือบาตรอยู่ และห้ามใช้กะทะดิน, กะโหลกน้ำเต้า, กะโหลกหัวผีต่างบาตร นอกจากนั้นยังทรงห้ามทิ้งเศษอาหาร, ก้างปลา, กระดูกเนื้อ และน้ำเป็นเดน เช่น น้ำบ้วนปากลงในบาตร.

   

ทรงอนุญาตมีดและเข็ม

    ต่อจากนั้น เล่าเรื่องทรงอนุญาตมีดสำหรับตัดผ้า พร้อมทั้งอนุญาตปลอกมีด และทรงอนุญาตด้ามมีดแต่ไม่อนุญาตด้ามที่ทำด้วยทอง เงิน วิจิตรงดงาม ทรงอนุญาตด้ามมีดที่ทำด้วยกระดูก, งา, เขาสัตว์, ไม้อ้อ, ไม้ไผ่, ไม้, ยางไม้, ผลไม้, โลหะและขนดสังข์.

    ภิกษุสมัยนั้นใช้ขนไก่บ้าง ซี่ไม้ไผ่บ้างเย็บจีวร ปรากฏว่าไม่เรียบร้อย จึงทรงอนุญาตเข็ม และเพื่อป้องกันเข็มเป็นสนิม ทรงอนุญาตกล่องเข็ม และผงที่ใส่ลงไปกับสนิม รวมทั้งอนุญาตให้สอดเข็มไว้ในขี้ผึ้ง.

   

ทรงอนุญาตและห้ามเกี่ยวกับไม้แบบหรือสดึง

    ทรงอนุญาตไม้แบบหรือไม้สดึง และเชือกขึงรัดจีวรเข้ากับไม้สะดึงแล้วเย็บ ตลอดจนวิธีการต่าง ๆ เพื่อเย็บให้การเย็บผ้าเป็นไปโดยเรียบร้อย.

    ทรงห้ามเหยียบไม้แบบ ทั้งที่ยังมิได้ล้างเท้า แม้เท้ายังเปียกอยู่ก็ห้ามเหยียบ รวมทั้งห้ามเหยียบไม้แบบทั้งที่ใส่รองเท้า.

    ทรงอนุญาตสนับนิ้ว (เพื่อกันเข็มตำนิ้วในขณะเย็บผ้า) แต่ไม่อนุญาตสนับนิ้วที่ทำด้วยทอง เงิน ทรงอนุญาตเช่นเดียวกับด้ามมีด คือที่ทำด้วยกระดูก เป็นต้น . ทรงอนุญาตที่ใส่เข็มขัด มีด และสนับนิ้ว และถุงใส่สนับนิ้ว ด้ายสำหรับคล้องบ่า ( เวลานำเครื่องใช้เหล่านั้นติดตัวไป).

    ทรงอนุญาตโรงไม้แบบ (กฐินศาลา) และมณฑปไม้แบบ และทรงอนุญาตให้ยกพื้นกันน้ำท้วม ทรงอนุญาตให้ก่อยกพื้นด้วยอิฐ, ศิลา หรือไม้ ทรงอนุญาตให้มีบันไดและราวบันได ( เพื่อขึ้นสู่ยกพื้น).

    ผงหญ้าในโรงไม้แบบตกลงมา (จากหลังคา) จึงทรงอนุญาตให้ใช้ไม้ระแนงถี่ และฉาบปูน และทาสีเป็นต้น ตลอดจนทรงอนุญาตให้มีห่วงแขวนจีวรและราวจีวร. อนึ่ง เมื่อเสร็จกฐินแล้ว ทรงอนุญาตให้เก็บไม้แบบให้ดี เช่น ให้มีไผ่หรือด้ามไม้ประกบข้างในเพื่อป้องกันไม้แบบแตก, ให้มีเชือกรัด , ให้แขวนไม้แบบไว้กับประสักหรือขอ ( เพื่อกันตก หรือดีกว่าพิงไว้ซึ่งอาจจะล้มลงมาแตก ).

   

ทรงอนุญาตถุงใส่ของ สายคล้องบ่า ผ้ากรองน้ำ และมุ้ง

    ทรงอุนญาตถุงใส่ยา ถุงใส่รองเท้า และสายสำหรับคล้องบ่า, ทรงอนุญาตให้ใช้ผ้ากรองน้ำ, ผ้ากรองมีด้ามและกระบอกกรองน้ำ เมื่อภิกษุอื่นขอใช้ผ้ากรองน้ำ ภิกษุที่ถูกขอไม่ให้ ต้องอาบัติทุกกฏ, ภิกษุเดินทางไกล ไม่มีผ้ากรองน้ำ ต้องอาบัติทุกกฏ ถ้าไม่มีผ้ากรองน้ำหรือกระบอกกรองน้ำ ให้อธิษฐานชายผ้าสังฆาฏิเป็นผ้ากรอง . ในการก่อสร้างทรงอนุญาตเครื่องกรองน้ำขนาดใหญ่ ๒ ชนิด, และทรงอนุญาตมุ้งสำหรับกันยุง.

   

ทรงอนุญาตการจงกรมและเรือนไฟ เป็นต้น

    ทรงปรารภคำแนะนำของหมอชีวก โกมารภัจจ์ จึงทรงอนุญาตการจงกรม (เดินไปมาอบรมจิตใจเป็นการออกกำลัง) และเรือนไฟสำหรับอบกาย ( ให้เหงื่อออกแบบอาบน้ำด้วยไอน้ำ) ต่อจากนั้นทรงอนุญาตให้ปรับปรุงที่จงกรมให้ดีขึ้น มีโรงจงกรมยกพื้นกันน้ำท้วม , บันได, รวมบันได. ส่วนเรื่อนไฟ ทรงอนุญาตส่วนประกอบและเครื่องปรับปรุงต่าง ๆ เช่น ปล่องไฟ , รางระบายน้ำเพื่อกันน้ำเฉอะแฉะ . ทรงห้ามภิกษุเปลือยกายไหว้กัน หรือถูหลังให้กัน ตลอดจนห้ามเปลือยกายให้ของ , รับของ, เคี้ยวอาหาร, ฉันอาหาร, ลิ้มรส, ดื่มน้ำ, ทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ทำเช่นนั้น.

    ทรงปรารภน้ำดื่ม จึงอนุญาตให้มีน้ำดื่ม และทรงเครืองประกอบต่าง ๆ ในการนั้น เช่น ขันน้ำทำด้วยโลหะ ทำด้วยไม้ หรือหนังสัตว์ รวมทั้งโรงเก็บน้ำดื่ม ฝาปิดที่เก็บน้ำ รางน้ำ ตุ่มน้ำ.

    ทรงอนุญาตที่อาบน้ำที่มีรางระบายน้ำ มีฝากั้น และทรงอนุญาตผ้าเช็ดตัว .    อนึ่ง ทรงอนุญาตสระน้ำและก่อขอบสระได้ด้วยอิฐ, ศิลา หรือไม้, ทรงอนุญาตให้มีบันได ราวบันได และทรงอนุญาตให้มี เหมืองน้ำท่อน้ำ (เพื่อระบายน้ำในสระ) ในที่สุด ทรงอนุญาตเรือนไฟมุงหลังคาเป็นรูปวงกลม.

   

เรื่องที่นั่ง ที่นอน และที่ใส่อาหาร

    ทรงห้ามอยู่ปราศจากผ้าปูนั่งตลอด ๔ เดือน ทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุล่วงละเมิด .    ทรงห้ามนอนบนที่นอนที่เกลี่ยด้วยดอกไม้ ทรงอนุญาตให้รับของหอมได้ โดยให้เจิม ๕ นิ้วไว้ที่บานประตู ทรงอนุญาตให้รับดอกไม้ได้ แต่ให้เก็บไว้ข้างในวิหาร. ทรงอนุญาตผ้าปูนั่งที่ทอด้วยขนสัตว์ และไม่ต้องอธิษฐาน (คือตั้งใจเอาไว้ใช้) หรือวิกัป ( ทำให้เป็นสองเจ้าของ).

    ทรงห้ามฉันอาหารในลุ้ง (ภาชนะใส่อาหาร ที่ทำด้วยทองแดง หรือเงิน ฝรั่งสันนิษฐานว่าเป็นเก้าอี้นวมที่ประดับงดงาม ซึ่งไกลไปจากคำอธิบายของอรรถกถา). ภิกษุเป็นไข้ ไม่สามารถถือบาตรไว้ในมือขณะฉันได้ จึงทรงอนุญาตที่รองที่ทำด้วยไม้.

   

ห้ามฉันอาหาร ดื่มน้ำในภาชนะเดียวกัน เป็นต้น

    ทรงห้ามฉันอาหารในภาชนะเดียวกัน, ห้ามดื่มน้ำในถ้วยเดียวกัน , ห้ามนอนร่วมกันบนเตียงเดียวกัน, บนผ้าปูนอนเดียวกัน. ในโปงเดียวกัน ( ใช้ผ้าห่มร่วมกัน ) เหมือนอย่างคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ผู้ล่วงละเมิด.

   

การลงโทษคว่ำบาตรแก่วัฑฒะลิจฉวี

    วัฑฒะลิจฉวี เป็นพวกของพระเมตติยะและภุมมชกะ รู้ว่าพระพวกนั้นไม่ชอบพระทัพพมัลลบุตร ( ผู้เป็นพระอรหันต์ ) จึงวางอุบายกำจัดพระทัพพมัลลบุตร โดยไปฟ้องพระพุทธเจ้าว่า พระทัพพลมัลลบุตรทำชู้ด้วยภริยาตน. พระผู้มีพระภาคทรงประชุมมสงฆ์ ไต่สวนได้ความเป็นสัตย์ว่า เป็นการแกล้งใส่ความกัน จึงทรงแนะสงฆ์ให้ลงโทษคว่ำบาตรแก่วัฑฒะลิจฉวี.

    ทรงกำหนดองค์    ๘. สำหรับอุบาสกที่ควรคว่ำบาตร คือ    ๑. ขวนขวายเพื่อเลื่อมลาภแก่ภิกษุ ๒. ขวนขวายเพื่อความเสียหายแก่ภิกษุ    ๓. ขวนขวายเพื่ออยู่ไม่ได้แก่ภิกษุ    ๔. ด่า หรือบริภาษภิกษุ    ๕. ทำภิกษุให้แตกกับภิกษุด้วยกัน    ๖. ติเตียนพระพุทธ    ๗ . ติเตียนพระธรรม และ    ๘. ติเตียนพระสงฆ์.

    ต่อจากนั้น ทรงแสดงวิธีสวดประกาศคว่ำบาตรโดยละเอียด . เมื่อพระอานนท์ไปแจ้งให้วัฑฒะลิจฉวีทราบว่า บัดนี้สงฆ์ได้คว่ำบาตร ไม่เกี่ยวข้องด้วยแล้ว วัฑฒะลัจฉวีเสียใจถึงสลบ .   มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต จึงแนะนำให้ไปกราบทูล ขอขมาพระผู้มีพระภาค ซึ่งวิฑฒะลิจฉวีได้ปฏิบัติตาม . เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงเห็นว่าวัฑฒะลิจฉวีสำนึกตนยอมรับผิด จึงตรัสแนะให้สงฆ์ประกาศหงายบาตร โดยให้วัฑฒะลิจฉวีเข้าไปกราบสงฆ์ขอให้หงายบาตร แล้วให้สงฆ์ประกาศหงายบาตร.


    ๑. อรรถกถาหมายถึงเมื่อขึ้นจากน้ำควรมีมี่รองเหยียบกันน้ำเลอะเทอะ ต่อไม่มีจึงให้ใช้ผ้า

    ๒.   นลฺลเลขํ   ชนฺตาฆรํ   ในโบราณแปลกันว่า เรือนไฟไม่มีรอยมุง

   ๓. จากข้อนี้แสดงว่าผ้าปูนั่งเป็นบริขารจำเป็นสำหรับพระ เวลานั่งบนพื้นจีวรจะได้ไม่สกปรก ยิ่งอยู่ป่ายิ่งจำเป็นมาก

    ๑. การคว่ำบาตร คือไม่ยอมรับอาหารจากผู้นั้น ไม่ติดต่อเกี่ยวข้องด้วย ดูไม่น่ากระทบกระเทือนอะไร แต่เหตุไฉนจึงเสียใจสลบ? เห็นได้ว่า เป็นการเสื่อมเสียทางสังคมอย่างร้ายแรง วัฑฒะลิจฉวีจึงรีบแก้ไขอย่างไม่มีทิฏธิมานะต่อไปอีก


บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ