บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



พระสุตตันตปิฎก

พระสุตตันตะ เล่ม 13

หน้า ๑ ปฐมปัณณาสกะ หมวด ๕๐ ที่ ๑

๑. ตรัสเรื่องเวียนว่าย ฯลฯ
๒. ภิกษุเดิน, ยืน, นั่ง, นอน
๓. ทรงพิจราณาไม่เห็น
ใครยิ่งกว่าพระองค์
๔. ทรงแสดงจักร ๔
๕. เจริญสมาธิ ๔ อย่าง

หน้า ๒ ทุติยปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๒ ๑. ทรงแสดงความ
ไหลมาแห่งบุญ,
แห่งกุศล
๒. ตรัสแก่อนาถ
ปิณฑิกคฤหบดี
๓.ข้อปฏิบัติ
ทำอาสวะให้สิ้น ๔.
๔. ความชั่ว
ความดีฝ่ายละ ๔
๕. อสูร ๔ ประเภท

หน้า ๓ ตติยปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๓ ๑. เรื่องฝน ๔ อย่าง
๒. ตรัสถามสารถีฝึกม้า
๓. เรื่องภัย ๔ อย่าง
๔. บุคคล ๔ประเภท
๙. แสงสว่าง ๔ อย่าง

หน้า ๔ จตุตถปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๔ ๑. ทรงแสดงอินทรีย์ ๔
๒. ปฏิปทา ๔ อย่าง
๓. กาย วาจา ใจ
๔. นักรบประ
กอบด้วยองค์ ๔
๕. อานิสงส์ ๔ ประการ

หน้า ๕ หมวดนอกจาก ๕๐ ๑. ทรงแสดง คนชั่ว และคนดี
๒. คนที่ประ
ทุษร้ายบริษัท
๓. วจีทุจจริต ๔
๔. กรรม ๔ อย่าง
๕. ตรัสกะพระอานนท์ว่า
๖. ธรรม ๔ อย่าง
๗. ผู้ประกอบ

หมวดพระสูตรนอก ๕๐

 

เล่มที่ ๒๑ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
(เป็นสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๓)
หน้า ๒

ทุติยปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๒

      (ในหมวดใหญ่นี้ แบ่งออกเป็น ๕ วรรค ๆ ละประมาณ ๑๐ สูตรเช่นเคย วรรคที่ ๑ ซื่อปุญญาภิสัณฑวรรค ว่าด้วยความไหลมาแห่งบุญ, วรรคที่ ๒ ชื่อปัตตกัมมวรรค ว่าด้วยกรรม หรือ การกระทำอันสมควร . วรรคที่ ๓ ชื่ออปัณณกวรรค ว่าด้วยข้อปฏิบัติไม่ผิด. วรรคที่ ๔ ชื่อมจลวรรค ว่าด้วย สมณะผู้ไม่หวั่นไหว . วรรคที่ ๕ ชื่ออสุรวรรค ว่าด้วยอสูร . โปรดทราบว่าตัวเลขหน้าข้อความที่จะย่อต่อไปนี้ เป็นเครื่องบอกวรรคไปในตัวด้วย ).

      ๑. ทรงแสดงความไหลมาแห่งบุญ, แห่งกุศล

มีความสุขเป็นอาหาร ซึ่งเป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์และความสุข ๔ อย่าง คือภิกษุผู้ บริโภคปัจจัย ๔ ของผู้ใด แล้วเข้าสู่เจโตสมาธิอันไม่มีประมาณอยู่ ความไหลมาแห่งบุญของผู้นั้น ย่อมไม่มี ประมาณ ( ลำดับปัจจัย ๔ แต่ละข้อนับเป็น ๑ ข้อ ).

ทรงแสดงความไหลมาแห่งบุญ, แห่งกุศล อีก ๔ อย่าง คืออริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธ, พระธรรม, พระสงฆ์, ประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้าใคร่ คือศีลที่ไม่ขาด, ไม่ทะลุ, ไม่ด่าง, ไม่พร้อย, เป็นไท เป็นไปเพื่อสมาธิ.

ตรัสแสดงธรรมแก่คฤหบดี คฤหปตานี ผู้เดินทาง ระหว่างเมืองมธุรา กับเมืองเวรัญชา เรื่องการอยู่ร่วมกัน ๔ อย่าง คือ ๑. ศพอยู่ร่วมศพ ได้แก่สามีและภริยาทุศีล มีธรรมอันเลวด้วยกัน ๒. ศพอยู่ร่วมกับเทพี ได้แก่สามีทุศีล แต่ภริยามีศีลธรรม ๓. เทพอยู่ร่วมกับศพ ได้แก่สามี มีศีลธรรม แต่ภริยาทุศีล ๔. เทพอยู่ร่วมกับเทพี ได้แก่สามีภริยามีศีลธรรมด้วยกัน.

ตรัสแสดงเรื่องการอยู่ร่วมกัน ๔ อย่าง เช่นเดียว กับข้างต้น เป็นแต่อธิบายต่างออกไปกำหนดทุจจริต สุจริตกาย วาจา ใจ ( รวมฝ่ายละ ๑๐ ที่เรียกว่าอกุศลกรรม บถ และกุศลกรรมบถ ) เป็นฝ่ายชั่วและฝ่ายดี.

ตรัสแสดงธรรมแก่บิดาและมารดาของนกุลมาณพ ผู้มีความปรารถนาจะเห็นกันทั้งในปัจจุบันและอนาคตว่า ถ้าสองฝ่ายมีศรัทธา, ศีล, การบริจาคและปัญญาเสมอ กัน ก็จะเห็นกันทั้งในปัจจุบันและอนาคต ( ได้อยู่ร่วมกันอีก ) .

ครั้งเสด็จประทับ ณ นิคมชื่อปัชชเนละแห่งโกลิยกษัตริย์ ตรัสแสดงธรรมแก่นางสุปปวาสา ธิดาโกลิยกษัตริย์ เรื่องอริยสาวิกาถวายอาหารแก่ปฏิคาหก ( ผู้รับ ) ชื่อ ว่าให้อายุ, ผิวพรรณ, ความสุขและกำลัง ; ครั้นให้แล้วก็จะเป็นผู้มีส่วนได้สิ่งทั้งสี่อย่างนั้นที่เป็นทิพย์.

ตรัสแสดงธรรมแก่อนาถปิณฑิกคฤหบดี ทำนอง เดียวกับนางสุปปวาสา

และแสดงเรื่องข้อปฏิบัติชอบ ของคฤหัสถ์ผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๔ ประการ อันทำให้ได้ยศ เป็นไปเพื่อสวรรค์ คืออุปฐากภิกษุสงฆ์ด้วยปัจจัย ๔ .

      ๒. ตรัสแก่อนาถปิณฑิกคฤหบดี

ถึงธรรมะที่ปรารถนา รักใคร่ชอบใจ อันหาได้ยาก ( ยากจะสมหวัง ) ๔ ประการ คือ ๑. ขอให้มีทรัพย์ ๒. ขอให้มียศ ๓. ขอให้อายุยืน ๔. ขอให้ตายแล้วไปสู่สุคติโลกสวรรค์.

แล้วทรงแสดงข้อปฏิบัติที่ให้สำเร็จประสงค์ ๔ ประ การคือ ๑. ถึงพร้อมด้วยความเชื่อ ๒. ถึงพร้อมด้วยศีล ๓. ถึงพร้อมด้วยการบริจาค ๔. ถึงพร้อมด้วยปัญญา โดย เฉพาะข้อปัญญา ตรัสอธิบายว่า ได้แก่รู้เท่าทันนีวรณ์ ๕ ว่าเป็น เครื่องเศร้าหมองแห่งจิตแล้วละได้.

ผู้เช่นนั้นย่อมทำกรรมที่ควร ๔ อย่าง คือเมื่อได้ทรัพย์ มาด้วยความเพียรอันชอบธรรมแล้ว ๑. ย่อมทำตัวเอง, มารดา, บิดา, บุตร, ภริยา, ทาส, กรรมกร, มิตรสหายให้ เป็นสุข. ๒. เมื่อมีอันตรายเกิดขึ้น ใช้ทรัพย์นั้นป้องกัน ทำตนให้มีความสวัสดี ๓. ทำพลี ๕ คือ ญาติพลีสง เคราะห์ญาติ, อติถิพลี ต้อนรับแขก, ปุพเพตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย, ราชพลี เสียภาษีอากรแก่หลวง, เทวตาพลี ทำบุญอุทิศให้เทวดา ( หรือเสียสละเพื่อบูชาคุณความดีที่ทำมนุษย์ให้เป็นเทวดา ). ๔. ถวายทานแด่สมณพราหมณ์ ผู้ประพฤติชอบ. ถ้าทรัพย์หมดไป เพราะใช้จ่ายนอกจากกรรมอันควร ๔ อย่างนี้ ชื่อว่าหมดไปอย่างไม่สมควร, ต่อ หมดไปตามหลักนี้ จึงชื่อว่าหมดไปอย่างสมควร.

ตรัสแสดงความสุขที่คฤหัสถ์ผูบริโภคกามจะพึงได้รับตามกาล อันสมควร ( สุขของผู้ครองเรือน ) ๔ ประการ คือ ๑. สุขเกิดจากการมีทรัพย์, ๒. สุขจากการใช้ จ่ายทรัพย์, ๓. สุขจากการไม่เป็นหนี้, ๔. สุขจากการงานที่ไม่มีโทษ.

ตรัสว่า สกุลที่บูชามารดาบิดาในเรือนของตน ชื่อว่า มีพรหม, มีบูรพาจารย์, มีบูรพเทพ ( เทวดาผู้เป็นต้นเดิม ), มีผู้ควรของคำนับ. คำเหล่านี้เป็นชื่อของมารดาบิดา เพราะท่านเป็นผู้มีอุปการะมาก เป็นผู้เลี้ยงดู แสดงโลกนี้แก่บุตร.

ตรัสว่า ผู้ฆ่าสัตว์, ลักทรัพย์, ประพฤติผิดในกาม, พูดปด เป็นผู้เหมือนถูกนำไปตั้งไว้ในนรก.

ทรงแสดงบุคคล ๔ ประเภท คือ ๑. ถือรูปเป็นประ มาณ เลื่อมใสในรูป ๒. ถือเสียงเป็นประมาณ เลื่อมใสในเสียง, ๓. ถือความปอน คือ ความเศร้าหมองเป็นประ มาณ เลื่อมใสในความปอน ๔. ถือธรรมะเป็นประมาณ เลื่อมใสในธรรมะ.

ทรงแสดงบุคคล ๔ ประเภท คือผู้มีราคะ, โทสะ, โมหะ, มานะ ( ความถือตัว ). งูกัดภิกษุรูปหนึ่งตาย

ตรัสสอนให้แผ่เมตตาจิต ในสกุลพญางูทั้งสี่ แต่ในบท กวีท้ายสูตรสอนให้แผ่เมตตาในสัตว์ทุกประเภท.

ทรงปรารภพระเทวทัต ตรัสว่า ลาภ สักการะ ชื่อ เสียงเกิดขึ้นแก่พระเทวทัตเพื่อฆ่าตน เพื่อความเสื่อม เปรียบเหมือนต้นกล้วยตกเครือ, ต้นไผ่ตกขุย, ต้นอ้อตกขุย, ม้าอัสดรตกลูกเพื่อฆ่าตน เพื่อความเสื่อมฉะนั้น.

ตรัสแสดงความเพียร ๔ อย่าง คือเพียรระงับบาปมิให้ เกิดขึ้น, เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว, เพียรทำความดีให้เกิดขึ้น, เพียรรักษาความดีที่เกิดแล้ว,

ตรัสแสดงว่า ในสมัยใดพระราชาไม่ตั้งอยู่ในธรรม ในสมัยนั้นข้าราชการ, พราหมณ์คฤหบดี, ชาวนิคมชนบท ก็พลอยไม่ตั้งอยู่ในธรรมด้วย พระจันทร์, พระอาทิตย์, ดาวฤกษ์, กลางคืน กลางวัน ฤดู เป็นต้น ก็แปรปรวนได้ด้วย. แต่ถ้าพระราชาตั้งอยู่ในธรรม ผู้อื่นก็พลอยตั้งอยู่ ในธรรมด้วย ฤดู เดือน ปี เป็นต้น ก็ไม่ปรวนแปรแล้วตรัสสรุปในท้ายพระสูตรว่า ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดได้รับยกย่อง ว่าประเสริฐ ถ้าไม่ประพฤติธรรม ประชาชนก็พลอยไม่ประพฤติตามด้วย แว่นแคว้นทั้งปวงก็อยู่เป็นทุกข์ ถ้าตรง กันข้าม ก็อยู่เป็นสุข เปรียบเหมือนโคหัวหน้าฝูง เมื่อข้ามน้ำว่ายไปคดเคี้ยว โคทั้งปวงก็ว่ายน้ำคดไปตาม ถ้าไป ตรง โคทั้งปวงก็ว่ายน้ำไปตรง.

      ๓. ทรงแสดงข้อปฏิบัติไม่ผิดของผู้ริเริ่มเพื่อทำอาสวะให้สิ้น ๔ ประการ

คือ ๑. มีศีล. ๒. สดับตรับฟังมาก ๓. ปรารภความเพียร ๔. มีปัญญา. และอีก ๔ ประการ คือประกอบด้วยความตรึกในการออกจากกาม, ในการไม่พยาบาท, ในการไม่เบียดเบียน, ความเห็นชอบ.

ตรัสว่า อสัตบุรุษ ( คนชั่ว ) ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ คือ ๑. ไม่ต้องถามก็เปิดเผยความชั่วของคนอื่น ยิ่งถูกถามก็ยิ่งกล่าวความชั่วของคนอื่นอย่างบริบูรณ์ พิศดาร. ๒. แม้ถูกถามก็ไม่เปิดเผยคุณความดีของคนอื่น หรือเปิดเผยก็ไม่บริบูรณ์ไม่พิสดาร ๓. แม้ถูกถามก็ไม่ เปิดเผยความชั่วของตน หรือเปิดเผยก็ไม่บริบูรณ์ไม่พิสดาร ๔. ไม่ต้องถามก็เปิดเผยคุณความดีของตน ยิ่งถูกถาม ก็ยิ่งกล่าวความดีของตนอย่างบริบูรณ์พิสดาร.

ส่วนสัตบุรุษ ( คนดี ) ทรงแสดงโดยนัยตรงกันข้าม. ตรัสสอน ให้ภิกษุทั้งหลาย ทำตนเหมือนหญิงสาวที่นำมา ( สู่สกุลสามี ) ใหม่ ๆซึ่งมีความละอาย ความเกรง กลัวมากในแม่ผัว, พ่อผัว, ในสามี โดยที่สุดแม้ในทาสและกรรมกร แต่เมื่ออยู่ร่วมกันนานเข้าก็พูดรุกรานเอา ภิกษุ บวชใหม่ก็ฉันนั้น ย่อมมีความละอาย ความเกรงกลัวมากในภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา โดยที่สุดแม้ในคนทำ งานวัดและสามเณร แต่เมื่ออยู่ร่วมกันนานเข้าก็รุกรานเอา.

ทรงแสดงสิ่งที่เลิศ ๔ อย่าง คือ ศีล, สมาธิ, ปัญญา, วิมุติ (ความ หลุดพ้น ). และอีก ๔ อย่าง คือรูป, เวทนา ( ความรู้สึกอารมณ์ ). สัญญา ( ความจำได้หมายรู้ ) และภพ ( ความมีความเป็น ).

เมื่อใกล้จะปรินิพพาน ตรัสเปิดโอกาสให้ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีความสงสัยในพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในมรรค ในข้อปฏิบัติ กราบทูลถามได้ อย่าเดือดร้อนภายหลังว่าอยู่ ต่อหน้าพระศาสดา แต่มิได้ถาม. แม้ตรัสถึง ๓ ครั้งก็ไม่มีผู้ถาม จึงตรัสว่า ถ้าไม่ถามเพราะความเคารพในพระ ศาสดา ก็ให้บอกแก่สหาย ( ถามแทนได้ ) แต่ก็ไม่มีใครถาม. พระอานนท์แสดงความอัศจรรย์ใจ พระผู้มีพระภาค เจ้าจึงตรัสว่า ภิกษุที่ประชุมอยู่นี้อย่างต่ำเป็นพระโสดาบัน เที่ยงที่จะได้ตรัสรู้ในภายหน้า.

ตรัสเรื่องที่ไม่ควรคิด ( อจินไตย ) ๔ อย่าง คือวิสัย ของพระพุทธเจ้า, วิสัยของฌาน ( การทำจิตให้เป็นสมาธิแน่วแน่ ). ผลของกรรม, ความคิดเรื่องโลก ( เช่น ใคร สร้างโลก เป็นต้น ).

ตรัสเรื่องความบริสุทธิ์ของทักขิณา ( ของถวาย ) ๔ อย่าง คือ ๑. บริสุทธิ์ฝ่ายผู้ให้ ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายผู้รับ ๒. บริสุทธิ์ฝ่ายผู้รับ ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายผู้ให้ ๓. ไม่บริสุทธิ์ทั้ง ฝ่ายผู้ให้ ผู้รับ ๔. บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายผู้ให้ ผู้รับ ( ทรงอธิบายความบริสุทธิ์ด้วยการมีศีลและกัลยาณธรรม ).

ตรัสตอบพระสาริบุตร แสดงการกระทำในชาติก่อน ของบุคคล ๔ ประเภทที่ปวารณาสมณพราหมณ์ ( อนุญาตให้ขอ ) แล้ว ไม่ให้ตามที่ขอ, ไม่ให้ตามที่ต้องการ, ให้ ตามต้องการ, ให้ยิ่งกว่าความต้องการ ( ขอน้อยให้มาก ) เป็นเหตุให้เป็นพ่อค้าที่ขาดทุน, ไม่ได้ผลตามที่ต้องการ ได้ผลตามต้องการ, ได้ผลดียิ่งกว่าที่ต้องการโดยลำดับ.

ตรัสตอบคำถามของพระอานนท์ เรื่องความชั่ว คือ ความโกรธ, ความริษยา, ความตะหนี่, ความมีปัญญาทรามว่าเป็นเหตุให้มาตุคามไม่ได้นั่งในสภา, ไม่ได้ทำการ งาน, ไม่ได้ถึงกัมโมชะ คือโอชะแห่งการงาน ( อรรถกถา อธิบายว่า ไม่ได้เดินทางไกลไปแคว้นกัมโพชะหรือไป นอกแว่นแคว้น ).

      ๔. ทรงแสดงความชั่วความดีฝ่ายละ ๔

ที่เป็นเหตุให้ บุคคลตกนรกขึ้นสวรรค์เหมือนถูกนำไปตั้งไว้ ( เช่น เกี่ยวกับศีล, ทุศีล, สุจริต, ทุจริต, หนักในความชั่ว, ไม่ หนักในความดี ). ทรงแสดงบุคคล ๔ ประเภท คือผู้มืดมามืดไป, มืดมาสว่างไป, สว่างมามืดไป, สว่างมาสว่าง ไป โดยทรงแสดงว่า เกิดมาไม่ดี แล้วทำความชั่ว, เกิดมาไม่ดี แต่ทำความดี, เกิดมาดีแต่ทำความชั่ว, เกิดมาดี และทำความดี ( ดีชั่วกำหนดด้วยสุจริต ทุจริต ).

ทรงแสดงบุคคล ๔ ประเภท คือพร่องมาพร่องไป, พร่องมาเต็มไป, เต็มมาพร่องไป, เต็มมาเต็มไป โดยอธิบายเช่นเดียวกับพวกมืดและสว่างข้างต้น.

ตรัสเรื่องบุคคล ๔ ประเภท คือ ๑. สมณะผู้ไม่หวั่น ไหวได้แก่พระเสขะ ( พระอริยบุคคลผู้ยังต้องศึกษา ) ผู้ปรารถนาความปลอดโปร่งจากกิเลสอย่างยอดเยี่ยม ๒. สมณะดอกบัวขาว ได้แก่ภิกษุผู้ทำให้แจ้งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะ ( เป็นพระอรหันต์ ) แต่มิได้ถูก ต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกาย ๓. สมณะดอกปทุม ( บัวหลวง ) ได้แก่ภิกษุผู้ทำให้แจ้งวิมุติทั้งสองนั้น แล้วได้ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกาย ๔. สมณะผู้ละเอียด ( สุขุมาล ) ในสมณะทั้งหลาย ได้แก่ภิกษุผู้ไม่มักมากในปัจจัย ๔ ต่อเมื่อมีผู้ขอร้องจึงใช้สอยมาก ไม่มีผู้ขอร้องก็ใช้สอยน้อย, มีโรคน้อย, ได้ฌาน ๔ ตามต้องการ,ทำให้แจ้งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะ

แล้วทรงแสดงสมณะ ๔ ประเภท ตามชื่อเดิมอีก ต่าง แต่คำอธิบายตามลำดับข้อ คือพระโสดาบัน, พระสกทาคามี, พระอนาคามี, พระอรหันต์.

อีกปริยายหนึ่ง ได้แก่ภิกษุผู้มีมรรค ๘, ผู้มีสัมมัตตะ, ๑๐ ( เพิ่มสัมมาญาณะ, สัมมาวิมุติ ) แต่ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกาย, ผู้มีสัมมัตตะ ๑๐ ทั้งได้ถูกต้อง วิโมกข์ ๘ ด้วยนามกาย, ผู้ไม่มีความมักมากในปัจจัย ๔

และอีกนัยหนึ่งทรงแสดงสมณะ ๔ ประเภท ตาม ชื่อเดิมดังกล่าวข้างต้นว่า ได้แก่ภิกษุผู้เป็นพระเสขะ, ผู้เห็นความเกิดความดับในขันธ์๕ แต่ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกาย, ผู้เห็นความเกิดความดับขันธ์ ๕ ทั้งได้ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกาย, ผู้ไม่มักมากในปัจจัย ๔.

      ๕. ตรัสแสดงอสูร ๔ ประเภท

คือ ๑. อสูรที่มีอสูร เป็นบริวาร ได้แก่บุคคลผู้ทุศีล มีบาปธรรมมีบริษัทเป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม ๒. อสูรที่มีเทพเป็นบริวาร ได้แก่ บุคคลผู้ทุศีล มีบาปธรรม แต่มีบริษัทเป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม ๓. เทพที่มีอสูรเป็นบริวาร ได้แก่บุคคลผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม แต่มีบริษัทเป็นผู้ทุศีลมีบาปธรรม ๔. เทพที่มีเทพเป็นบริวาร ได้แก่บุคคลผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม ทั้งมีบริษัทเป็นเช่นนั้นด้วย. ( พระสูตรนี้แสดงความเป็นยักษ์เป็นเทวดาด้วยคุณธรรม อันนับเป็นพระธรรมเทศนา ที่ทันสมัยอยู่ตลอดกาล ).

ทรงแสดงบุคคล ๔ ประเภท คือ ๑. ผู้ได้เจโตสมถะ ( ความสงบแห่งจิต ) ภายใน แต่ไม่ได้อธิปัญญา ธัมมวิปัสสนา ( ความเห็นแจ้งธรรมะ อันเป็นอธิปัญญา ). ๒. ผู้ได้อธิปัญญา ธัมมวิปัสสนา แต่ไม่ได้เจโตสมถะในภายใน ๓. ผู้ไม่ได้ทั้งสองอย่าง ๔. ผู้ได้ทั้งสองอย่าง.

ตรัสอธิบายขยายความ บุคคล ๔ ประเภทข้างต้น อีก หลายนัย

ตรัสแสดงบุคคล ๔ ประเภท คือ ๑. ผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อ ประโยชน์ตนประโยชน์ผู้อื่น เปรียบเหมือนดุ้นฟืนถูกไฟไหม้สองข้าง ตรงกลางก็เปื้อนอุจจาระ ใช้ประโยชน์ของ ไม้ในบ้านก็ไม่ได้ ในป่าก็ไม่ได้ ๒. ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่นไม่เพื่อประโยชน์ตน ยังดีกว่าข้อแรก ๓. ผู้ปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ตน ไม่เพื่อประโยชน์ผู้อื่น ยังดีกว่า ๒ ข้อข้างต้น ๔. ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น นับว่าดีกว่าทุกข้อ. ( พึงสังเกตว่า ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนหมายความว่า ทำตนให้บรรลุมรรคผล จึงยกย่องว่าสูง กว่าประโยชน์ผู้อื่น เพราะถ้าตนเองได้บรรลุ ก็อาจบำเพ็ญประโยชน์ผู้อื่นได้ดียิ่งขึ้น. ยกตัวอย่าง ถ้าพระพุทธเจ้า ไม่ได้ตรัสรู้ ตั้งแต่ศาสนาขึ้นเพื่อสอนให้ผู้อื่นตรัสรู้ ย่อมไม่ได้ผลจริงจังเหมือนตรัสรู้ด้วยพระองค์เองก่อน ).

แล้วตรัสอธิบายบุคคล ๔ ประเภทในชื่อเดิมอีกหลายนัย เช่น ปฏิบัติเพื่อนำออกซึ่งราคะ, โทสะ, โมหะ ; ชักชวนผู้อื่นเพื่อการนั้นในหนึ่ง,

อีกนัยหนึ่ง พิจารณาได้เร็วในกุศลธรรม, ทรงจำธรรมะ ที่สดับแล้วได้ดี, พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมะที่ทรงจำไว้แล้ว, ปฏิบัติเพื่อรู้อรรถรู้ธรรม นี้เป็นฝ่ายประโยชน์ตน ส่วนประโยชน์ผู้อื่น คือชักชวนแนะนำเพื่อเป็นเช่นนั้น.

อีกนัยหนึ่ง ประโยชน์ตน คือเว้นจากการล่วงละเมิดศีล ๕ ประโยชน์ผู้อื่น คือชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากการล่วงละเมิดศีล ๕ ( แม้ในนัยหลังนี้ การที่ตนอยู่ในศีลธรรมก่อนผู้ อื่น ก็ยังนับว่าสูงกว่าการดีแต่ชวนให้ผู้อื่นอยู่ในศีลธรรม แต่ตนเองล่วงละเมิด ).

ตรัสแสดงบุคคล ๔ ประเภท แก่โปตลิยปริพพาชก คือ ๑. ผู้ติคนที่ควรติ แต่ไม่ชมคนที่ควรชม ๒. ชมคนที่ควรชม แต่ไม่ติคนที่ควรติ. ๓. ไม่ติคนที่ควรติ ไม่ชม คนที่ควรชม ๔. ติคนที่ควรติ ชมคนที่ควรชม ทั้งสี่ประเภทนี้ มีข้อแม้อยู่ว่า เป็นไปโดยกาละและติชมตามความ จริง ปริพพาชกทูลว่า ตนชอบพอใจบุคคลประเภทที่ ๓ เพราะวางเฉย. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พระองค์ชอบ บุคคลประเภทที่ ๔ เพราะรู้กาลนัยที่นั้น ๆ.


    '๑' . นีวรณ์คือกิเลสอันกั้นจิตให้บรรลุความดี โดยปกติแสดงว่ากามฉันท์ความพอใจเป็น ข้อแรก บางแห่งก็ใช้คำว่าอภิชฌา ( ความเพ่งเล็งหรือโลภ ) ในที่นี้ใช้อภิชฌาวิสมโลภ ( โลภขนาดรุนแรง ) เป็น ข้อแรก

    '๒' . วิโมกข์ ๘ มีอะไรบ้าง เรื่องทำนองนี้เคยมีรายละเอียดมาแล้ว ให้ย้อนกลับไปดูพระ ไตรปิฎก เล่ม ๑๐ ชื่อทีฆนิกาย มหาวัคค์ (สุตตันตปิฎก )ตรง วิโมกข์ ( ความหลุดพ้น ) ๑. ถึง ๘


บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ