บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



พระสุตตันตปิฎก

พระสุตตันตะ เล่ม 13

หน้า ๑ ปฐมปัณณาสกะ หมวด ๕๐ ที่ ๑

๑. ตรัสเรื่องเวียนว่ายฯลฯ
๒. ภิกษุเดิน, ยืน, นั่ง, นอน
๓. ทรงพิจราณาไม่เห็น
ใครยิ่งกว่าพระองค์
๔. ทรงแสดงจักร ๔
๕. เจริญสมาธิ ๔ อย่าง

หน้า ๒ ทุติยปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๒ ๑. ทรงแสดงความ
ไหลมาแห่งบุญ,
แห่งกุศล
๒. ตรัสแก่อนาถ
ปิณฑิกคฤหบดี
๓.ข้อปฏิบัติ
ทำอาสวะให้สิ้น ๔.
๔. ความชั่ว
ความดีฝ่ายละ ๔
๕. อสูร ๔ ประเภท

หน้า ๓ ตติยปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๓ ๑. เรื่องฝน ๔ อย่าง
๒. ตรัสถามสารถีฝึกม้า
๓. เรื่องภัย ๔ อย่าง
๔. บุคคล ๔ประเภท
๙. แสงสว่าง ๔ อย่าง

หน้า ๔ จตุตถปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๔ ๑. ทรงแสดงอินทรีย์ ๔
๒. ปฏิปทา ๔ อย่าง
๓. กาย วาจา ใจ
๔. นักรบประ
กอบด้วยองค์ ๔
๕. อานิสงส์ ๔ ประการ

หน้า ๕ หมวดนอกจาก ๕๐ ๑. ทรงแสดง คนชั่ว และคนดี
๒. คนที่ประ
ทุษร้ายบริษัท
๓. วจีทุจจริต ๔
๔. กรรม ๔ อย่าง
๕. ตรัสกะพระอานนท์ว่า
๖. ธรรม ๔ อย่าง
๗. ผู้ประกอบ

หมวดพระสูตรนอก ๕๐

 

เล่มที่ ๒๑ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
(เป็นสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๓)
หน้า ๑

      พระไตรปิฎกเล่มนี้ ตลอดเล่มว่าด้วยธรรมะจำนวน ๔ พิจารณาดูจากหมวดใหญ่ที่แบ่งแยกออกเป็นส่วน ๆ แล้ว พอประมาณได้ว่า มีพระสูตรราว ๓๐๐ สูตร กล่าวคือในเล่มนี้ แบ่งออกเป็นหมวด ๕๐(ปัณณาสก์) ๔ หมวด, หมวดนอก ๕๐ (ขนาดยาวมี ๗ วรรค ประมาณ ๗๐) ๑ หมวด, หมวดนอก ๕๐(ขนาดสั้น) ๑หมวด. คำว่า นอก ๕๐ คือไม่สงเคราะห์เข้าในหมวด ๕๐ ( ปัณณาสกาสังคหิตะ).

ปฐมปัณณาสกะ หมวด ๕๐ ที่ ๑


      (ในหมวดนี้มี ๕ วรรค วรรคละประมาณ ๑๐ สูตร คือ ๑. ภัณฑคามวรรค ว่าด้วยเหตุการณ์ในภัณฑคาม หรือหมู่บ้านชื่อภัณฑะ ๒. จรวรรค ว่าด้วยอิริยาบทเดิน ๓. อุรุเวลวรรค ว่าด้วย เหตุการณ์ในตำบลอุรุเวลา ๔. จักกวรรค ว่าด้วยล้อรถ ล้อธรรม ๕.โรหิตัสสวรรค ว่าด้วยโรหิตตัสสเทพบุตร).

       ๑. ตรัสว่า ที่เราและท่านทั้งหลาย เวียนว่ายท่องเที่ยวอยู่ตลอดกาลนาน

ก็เพราะไม่ตรัสรู้ศีล สมาธิ ปัญญาวิมุติ (ความหลุดพ้น ) อันเป็นอริยะต่อเมื่อได้ตรัสรู้แล้ว จึงถอนตัณหาเสียได้ ไม่มีการเกิดอีก.

ตรัสว่า ถ้าไม่ประกอบด้วยธรรมะ ๔ อย่าง ข้างต้น ชื่อว่าตกจากพระธรรมวินัยนี้ต่อประกอบด้วยธรรมะ ๔ อย่างนั้น จึงชื่อว่าไม่ตกจากพระธรรมวินัยนี้.

ตรัสว่า คนพาลประกอบด้วยธรรมะ ๔ อย่าง ชื่อว่า บริหารตนให้ถูกขุด มีโทษควรติเตียน ประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมากคือไม่พิจารณาสอบสวน ๑. ชมผู้ที่ควรติ ๒. ติผู้ที่ควรชม ๓. แสดงความเลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส ๔. แสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อม ใส. ส่วนบัณฑิตตรงกันข้าม.

ทรงแสดงว่า คนพาลปฏิบัติผิด ในบุคคล ๔ ประเภท คือมารดา, บิดา,พระตถาคต, สาวกของพระตถาคต. ส่วนบัณฑิตตรงกันข้าม.

ทรงแสดงบุคคล ๔ ประเภท คือ ๑. ผู้ไปตามกระแส ได้แก่ผู้เสพกาม ทำบาป ๒. ผู้ทวนกระแส ได้แก่ผู้ไม่เสพกาม ไม่ทำบาปแต่ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความทุกข์ โทมนัสร้องให้ ๓. ผู้มีตนให้ตั้งอยู่ได้ ( ลอยน้ำ) ได้แก่พระอนาคามี ๔. ผู้ข้ามฝั่งได้ ยืนอยู่บนบกได้แก่พระ อรหันต์.

ทรงแสดงบุคคล ๔ประเภท คือ ๑. ผู้สดับน้อย ทั้งไม่ เข้าถึงด้วยการสดับ ได้แก่ผู้สดับน้อย ทั้งไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๓. ผู้สดับมาก แต่ไม่เข้าถึงด้วยการสดับ ได้แก่ผู้สดับมาก แต่ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๔. ผู้สดับมาก ทั้งเข้าถึงด้วยการสดับ ได้แก่ผู้สดับมาก ทั้ง ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.

ทรงแสดงคนฉลาด ที่ได้รับการแนะนำ เป็นผู้กล้าหาญ สดับฟังมาก ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ชื่อว่าทำหมู่ให้งาม ๔ ประเภท คือ ภิกษุ, ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา.

ทรงแสดงความเป็นผู้แกล้วกล้า ๔ อย่างของพระตถาคต ที่ทรงบรรลือสีหนาทหมุนล้อธรรมอันประเสริฐ คือ ๑. ทรงปฏิญญาว่าตรัสรู้แล้ว ไม่มีใครคัดค้านได้ว่า ไม่ได้ ตรัสรู้ ๒. ทรงปฏิญญาว่าสิ้นอาสวะแล้ว ไม่มีใครคัดค้านได้ว่า ยังไม่สิ้นอาสวะ ๓. ตรัสว่าธรรมเหล่าใดเป็น อันตราย ไม่มีใครคัดค้านได้ว่า ธรรมเหล่านั้นไม่ควรเป็นอันตรายแก่ผู้เสพ ๔. ตรัสแสดงธรรมเพื่อประโยชน์ แก่ผู้ใด ไม่มีใครคัดค้านได้ว่า ธรรมนั้นไม่นำผู้ทำตามให้สิ้นทุกข์โดยชอบได้จริง.

ทรงแสดงความเกิดแห่งตัณหา ๔ ประการ คือตัณหาเกิด เพราะเหตุแห่งเครื่องนุ่งห่ม, อาหาร, ที่อยู่อาศัย, ความเป็นหรือความไม่เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ( อรรถกถาแก้ว่า เพราะเหตุแห่งสิ่งที่ประณีตและสิ่งที่ประณีตขึ้นไปกว่า ).

ทรงแสดงเครื่องประกอบสัตว์ ( ผูกมัด ) สัตว์ไว้ในภพ ๔ ประการ คือกาม ( ความใคร่และสิ่งที่น่าใคร่ ), ภพ ( ความมีความเป็น ), ทิฏฐิ (ความเห็น ) อวิชชา ( ความ ไม่รู้อายตนะ ๖ ตามเป็นจริง ๑ . ) แล้วทรงแสดงธรรมอีก ๔ อย่าง ที่ตรงกันข้ามชื่อวิสังโยคะ ( เครื่องคลายหัด ).

      ๒. ตรัสว่า เมื่อภิกษุเดิน, ยืน, นั่ง, นอน ถ้าความตรึกในกาม, ในการ พยาบาท,ในการเบียดเบียนเกิดขึ้น เธอรับไว้ไม่ละเสีย เธอก็ชื่อว่าไม่มีความเพียร เป็นผู้เกียจคร้าน แต่ถ้าไม่รับไว้ ละเสีย เธอก็จะชื่อว่ามีความเพียรไม่เกียจคร้าน.

ทรงชักชวนภิกษุทั้งหลาย ให้มีศิลสมบูรณ์ มีปาฏิโมกข์ สมบูรณ์ ให้สำรวมด้วยดีในพระปาฏิโมกข์ ( ศีลอันเป็นใหญ่เป็นประธานของภิกษุที่สวดทุกกึ่งเดือน ) ให้ สมบูรณ์ด้วยมารยาทและโคจร ( การรู้จักไปในที่ควร ) ให้เป็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบททั้งหลาย แล้วแสดงอิริยาบท ๔ ที่มีนีวรณ์ ๕ เกิดขึ้น ถ้าไม่ละนีวรณ์ก็ชื่อว่าเกียจคร้าน ถ้าละก็ชื่อว่า ไม่เกียจคร้านดั่งข้างต้น..

ทรงแสดงการตั้งความเพียรชอบ ( สัมมัปปธาน ) และการตั้ง ความเพียร ( ปธาน ) อย่างละ ๔ ประการ คือเพียรระวังบาปมิให้เกิดขึ้น, เพียรละบาปที่เกิดขึ้น แล้ว, เพียรทำความดีให้เกิดขึ้น, เพียรรักษาความดีที่เกิดขึ้นแล้ว..

เป็นแต่ในถาคอธิบายของปธาน ทรงอธิบายว่า ๑. ได้แก่การสำรวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู เป็นต้น ๒. ได้แก่การละอกุศลวิตก ๓. ได้แก่การเจริญโพชฌงค์ ๗ มีสติ เป็นต้น ๔. ได้แก่การรักษาสมาธินิมิต ( เครื่องหมายในใจที่ทำให้เกิดสมาธิ) มีความกำหนดหมายใน กระดูก ( อัฏฐิกสัญญา ) เป็นต้น..

ทรงแสดงการบัญญัติสิ่งที่เลิศ ๔ ประการ คือ ๑. บรรดาผู้มีอัตตภาพ อสุรินทราหูเป็นเลิศ ๒. บรรดาผู้บริโภคกามพระเจ้ามันธาตุราชเป็นเลิศ ๓. บรรดาผู้มี ความเป็นเป็นใหญ่ พญามารเป็นเลิศ ๔. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้เลิศในโลก พร้อมทั้ง เทวโลก ทั้งมาร ทั้งพรหม..

ทรงแสดงถึงญาณที่รู้ลักษณะอันสุขุม ( ละเอียดอ่อน ) ๔ ประการ คือความสุขุมแห่งรูป, เวทนา,สัญญา, สังขาร ซึ่งภิกษุผู้มีสิ่งเหล่านี้แล้ว ย่อมไม่เห็นสิ่งอื่นยิ่งกว่า ประณีตกว่าไม่ปรารถนาสิ่งอื่น ( รูป, เวทนา, สัญญา, สังขารอันสุขุม ) ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่า.

ทรงแสดงการลุอำนาจแก่ความลำเอียง ๔ ( อคติมานะ ) คือลำเอียงเพราะรัก, ลำเอียงเพราะชัง, ลำเอียงเพราะหลง, ลำเอียงเพราะกลัว..

แล้วทรงแสดงในทางตรงกันข้าม คือการไม่ลุอำนาจแก่ความ ลำเอียง ๔. ทรงแสดงถึงถิกษุผู้แจกอาหาร ( ภัตตุทเทสกะ ) ผู้ตกนรกหรือขึ้นสวรรค์ เพราะ ตั้งอยู่ในความลำเอียง หรือไม่ตั้งอยู่ในความลำเอียงทั้งสี่นี้.

      ๓. ทรงแสดงว่า ทรงพิจราณาแล้วไม่เห็นใครยิ่งกว่าพระองค์ โดยกองศีล, สมาธิ, ปัญญา, วิมุติ, จึงทรงตกลงเคารพธรรมที่ทรงตรัสรู้. ทันใดนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมก็มากราบทูลว่า พระ พุทธเจ้าในอดีตอนาคต และพระองค์เองในปัจจุบันก็เคารพธรรมทั้งสิ้น. ตรัสบอกภิกษุทั้งหลายต่อไปว่า.

ทรงเคารพธรรมแล้วเมื่อสงฆ์ถึงความเป็นใหญ่ ๒. ก็ทรงเคารพ ในสงฆ์ด้วย. ทรงเล่าเรื่องพราหมณ์ผู้เฒ่าสูงอายุหลายคน ผู้พากันกล่าวหาพระองค์ เมื่อ ตรัสรู้ใหม่ ๆ ณ ริมฝั่งน้ำเนรัญชราว่า ไม่กราบไหว้ ต้อนรับพราหมณ์ผู้เฒ่า ผู้สูงอายุ. พระองค์ทรงดำริว่า แม้ จะเจริญโดยชาติ มีอายุสูง ถ้าไม่มีคุณธรรมก็นับว่าเป็นผู้ใหญ่ ( เถระ ) ที่เป็นพาลต่อมีคุณธรรม แม้จะอยู่ในปฐมวัยก็นับได้ว่าผู้ใหญ่ ( เถระ ) ผู้เป็นบัณฑิต แล้วทรงแสดงธรรมที่ทำให้เป็นผู้ใหญ่ ๔ ประเภท คือ ๑. มีศีล ๒. สดับตรับรับฟังมาก ๓. ได้ฌานตามปรารภนาโดยง่าย ๔. บรรลุเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อัน ไม่มีอาสวะ.

ทรงแสดงว่า พระตถาคต ตรัสรู้โลก, เหตุเกิดแห่ง โลก, ความดับโลก, ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับโลก. แล้วแสดงคุณธรรมของพระตถาคต.

ทรงแสดงว่า พระตถาคตเป็นผู้คงที่ ในสิ่งที่เห็นได้, ฟังได้, ทราบได้, รู้ได้ (คำว่า ทราบได้ หมายความถึงดมกลิ่น, ลิ้มรส, ถูกต้องสัมผัส ส่วนรู้ได้ หมายถึงรู้ได้ ด้วยใจ ).

ทรงแสดงว่า ทรงประพฤติพรหมจรรย์ มิใช่เพื่อ หลอกลวงคน. มิใช่เพื่อเรียกร้องคนให้มานับถือ, มิใช่เพื่อประโยชน์แก่ลาภ, สักการะและชื่อเสียง, ที่แท้เพื่อ สำรวม,เพื่อละกิเลส, เพื่อคลายกำหนัดยินดี, เพื่อดับทุกข์.

ทรงแสดงว่า ภิกษุผู้พูดปด, กระด้าง, พูดพล่าม, มี กิเลสหลายทาง เหมือนทางสี่แพร่ง, ถือตัว, มีจิตไม่ตั้งมั่นชื่อว่าไม่นับถือพระองค์, เป็นผู้ห่างจากพระธรรมวิ นัยนี้,ไม่เจริญงอกงามในพระธรรมวินัยนี้.

ทรงแสดงถึงของน้อยที่หาได้ง่ายและไม่มีโทษ คือ ๑. ผ้าบังสุกุล ( ผ้าเปื้อนฝุ่น คือเศษผ้าที่เขาทิ้งในที่ต่าง ๆ ) ๒. อาหารที่เดินหาด้วยลำแข้ง ( บิณฑบาต ) ๓. ที่นอนที่นั่งคือโคนไม้๔. ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า.

ทรงแสดงวงศ์ของพระอริยะ ที่เป็นของเก่า ไม่เป็นที่ รังเกียจใน ๓ กาล คือ ๑. สัญโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ ๒. สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ ๓. สันโดษ ด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ ไม่ทำการแสวงหาอันไม่สมควร เพราะสิ่งทั้งสามนั้นไม่ได้ก็ไม่เดือดร้อน ได้ก็ไม่ติด ไม่ยกตนข่มผู้อื่น เพราะความสันโดษทั้งสามข้อนั้น ๔. ยินดีในการเจริญกุศลธรรม ในการละอกุศลธรรม.เธอก็ จะครอบงำความไม่ยินดีเสียได้.

ทรงแสดงบทธรรม ๔ ประการ คือ ความไม่โลภ, ความไม่พยาบาท, ความระลึกชอบ, ความตั้งใจมั่นชอบ ว่าเป็นของเก่า ไม่มีใครรังเกียจทั้งสามกาล.

ทรงแสดงธรรมแก่ปริพพาชกที่มีชื่อเสียง หลายคน ณ ฝั่งแม่น้ำสัปปินี ถึงบทแห่งธรรม ๔ ดังกล่าวแล้วเป็นแต่มีคำอธิบายละเอียดมากขึ้น โดยทำนองว่า ถ้าใคร คัดค้าน ก็จะถูกกล่าวหาว่าเป็นคนโลภ, คนพยาบาท, คนหลงลืมสติ, คนมีจิตไม่ตั้งมั่น .

      ๔. ทรงแสดงจักร ๔ ( ธรรมเปรียบเหมือนล้อรถ ) คือ ๑. การอยู่ในสถานที่อันสมควร ๒. การพึ่ง ( คบ ) สัตบุรุษ ( คนดี) ๓. การตั้งตนไว้ชอบ ๔. ความเป็นผู้มีบุญอันทำไว้ในกาลก่อน.

ทรงแสดงสังคหวัตถุ ๔ ( เรื่องของการสงเคราะห์ ) คือ๑. การให้ ๒. การเจรจาอ่อนหวาน ๓. การบำเพ็ญประโยชน์ ๔. การวางตนสม่ำเสมอหรือเหมาะสม.

ทรงแสดงว่า พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมให้รู้จักกายของตน (สักกายะ ), ความเกิดแห่งกายของตน, ความดับแห่งกายของตน, ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับกายของตนเหมือนราชสีห์บรรลือสีหนาท.

ทรงแสดงความเลื่อมใส ๔ ประการ คือ ๑. พระ ตถาคตเป็นเลิศสัตว์ทั้งหลาย ๒. อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นเลิศแห่งธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่ง ๓. วิราคธรรม ( ความ คลายกำหนัดยินดี ) อันได้แก่นิพพานเป็นเลิศแห่งธรรมที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ๔. พระอริยสงฆ์ ๔ คู่ ๘ บุคคล เป็นเลิศแห่งหมู่ทั้งหลาย. ผู้ใดเลื่อมใสใน ๔ อย่างนี้ ชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศอันจะมีผลเลิศ.

วัสสการพราหมณ์ กราบทูลแสดงความคิดเห็นเรื่อง มหาบุรุษผู้มีปัญญามากกว่า ได้แก่ผู้สดับตรับฟังมาก, ผู้รู้เนื้อความของภาษิต, ผู้มีสติทรงจำดี, ผู้ขยันในการ งาน. พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า มหาบุรุษผู้มีปัญญามาก คือผู้ที่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์สุขแก่คนเป็นอันมาก ทำชนหมู่ใหญ่ให้ตั้งอยู่ในธรรมที่ถูกอันเป็นกุศล, เป็นผู้มีความชำนาญในเรื่องของการตรึกคือคิดหรือไม่คิดเรื่อง ใด ๆ ได้ตามปรารถนา, ได้ฌาน ๔ ตามต้องการ, ทำให้แจ้งเจโตวิมุติอันไม่มีอาสวะ ( เป็นพระอรหันต์ ).

โทณพราหมณ์เห็นพระผู้มีพระภาค ประทับ ณ โคนไม้ ต้นหนึ่งน่าเลื่อมใส จึงเข้าไปเฝ้าทูลถามว่า พระองค์เป็นเทพ, คนธรรพ์, ยักษ์, มนุษย์หรือ ทีละข้อ พระองค์ ปฏิเสธทุกข้อ แล้วทรงอธิบายว่าถ้ายังอาสวะไม่ได้ ก็จะเป็นตามที่ถามนั้น พระองค์ละอาสวะได้เด็จขาดแล้ว จึงเป็นพุทธะ เปรียบเหมือนดอกบัวเกิดในน้ำ โผล่พ้นน้ำ ไม่เปียกน้ำ.

ทรงแสดงว่า ภิกษุ ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ อย่าง ไม่ควรจะเสื่อมชื่อว่าอยู่ใกล้พระนิพพาน คือ ๑. มีศิล ๒. สำรวมอินทรีย์ ( มีตา หู เป็นต้น ) ๓. รู้ประมาณ ในอาหาร ๔. ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่น ( ไม่เห็นแก่นอน ).

ทรงแสดงว่า ภิกษุผู้ละความยึดถือว่าเป็นจริงในเรื่อง เฉพาะเรื่อง ( เช่น ไม่เห็นว่าโลกเที่ยง ) ชื่อว่าเป็นผู้มีการแสวงหาอันประเสริฐ ไม่บกพร่อง, มีกายสังขารอันสงบระงับ (ได้ฌานที่ ๔ ลมหายใจซึ่งมีกายสังขารเครื่องปรุงกายดับ ), เป็นผู้หลีกเร้นแล้ว (ละอัสมิมานะ ความ ถือตัวได้ ).

ตรัสตอบอุชชยพราหมณ์ ผู้กล่าวว่า พระสมณโคดม ไม่ทรงสรรเสริญยัญ โดยทรงชี้แจงว่า พระองค์มิได้สรรเสริญยัญทุกชนิด แต่ก็มิได้ติยัญทุกชนิด คือไม่สรรเสริญ ยัญที่มีการฆ่าสัตว์ เพราะพระอรหันต์หรือผู้บรรลุอรหัตตมรรค ย่อมไม่เข้าไปสู่ยัญเช่นนั้น แต่สรรเสริญยัญที่ ไม่มีการฆ่าสัตว์ เช่น นิจจทาน ( ทานที่ให้เป็นประจำ ) อนุกุลยัญ (ยัญที่เป็นไปตามลำดับสกุล คือการให้ทาน ตามจารีตของสกุลสืบ ๆมา ) เพราะพระอรหันต์ หรือผู้บรรลุอรหัตตมรรคย่อมเข้าไปสู่ยัญเช่นนั้น .

ตรัสตอบอุทายิพราหมณ์ ในทำนองเดียวกับอุชชย พราหมณ์ ( เป็นแต่นิคมคาถาคือบทกวีสรูปข้อธรรมท้านสูตรต่างกัน ).

      ๕. ตรัสแสดงการเจริญสมาธิ ( สมาธิภาวนา ) ๔ อย่าง ที่เป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ได้แก่เจริญฌาน ๔, ที่เป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ ( การเห็นด้วยญาณ) ได้แก่การใส่ใจในความกำหนดหมายแสงสว่างตั้งความกำหนดหมายว่าเป็นกลางวัน คืออบรมจิตให้มีแสงสว่าง ด้วยจิตสงัดไม่ถูกรึงรัด ว่าเหมือนกันทั้งกลางวันกลางคืน, ที่เป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ ได้แก่รู้แจ้งเวทนา, สัญญา, วิตก ( ความตรึก ) ที่เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป, ที่เป็นไปเพื่อสิ้นอาสวะ ได้แก่เห็นความเกิดขึ้น ดับไปแห่ง ขันธ์ ๕.

ทรงแสดงการตอบปัญหา ๔ อย่าง คือปัญหาที่ควร ตอบโดย ๑. แง่เดียว ๒. แยกตอบ ( ตามเหตุผล ) ๓. ย้อนถาม ๔. หยุดไว้ ( ไม่ตอบ ) .

ทรงแสดงบุคคล ๔ ประเภท คือผู้หนักในความ โกรธ, ในการลบหลู่บุญคุณท่าน, ในลาภ, ในสักการะ ไม่หนักในสัทธรรมส่วนฝ่ายดีอีก ๔ ประเภท คือผู้ หนักในสัทธรรม ไม่หนักใน ๔ ข้อฝ่ายชั่วนั้น .

ทรงแสดงอสัทธรรม ๔ คือความเป็นผู้หนักใน ความโกรธ เป็นต้นดังกล่าวแล้ว และทรงแสดงสัทธรรม ๔ ในทางตรงกันข้าม .

โรหิตัสสเทพบุตรกราบทูลถามว่า ในที่ใดไม่มีผู้ เกิด, แก่, ตาย, เคลื่อน ( จุติ ), เข้าถึง ( อุปปัติ ) อาจหรือไม่ที่จะรู้จะเห็นจะบรรรลุที่สุดแห่งโลกนั้นด้วยการ ไป ตรัสตอบว่า ไม่อาจ . โรหิตัสสเทพบุตรกราบทูลแสดงความอัศจรรย์ใจและเล่าความว่า ในสมัยหนึ่งตน เคยเป็นฤษีชื่อโรหิตัสสะ มีฤทธิ์เหาะไปในอากาศได้รวดเร็ว ขนาดก้าวเดียวข้ามมหาสมุทรตลอดเวลา ๑๐๐ ปี ยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลก ๓. ก็ถึงแก่กรรมเสียในระหว่าง . พระผู้มีพระภาคตรัสว่าพระองค์ไม่ตรัสว่า ที่สุดแห่ง โลก ที่ไม่มีผู้เกิด, แก่, ตาย, เคลื่อน, เข้าถึง, ที่พึงรู้, พึงเห็น พึงบรรลุด้วยการไปจะมีได้ และไม่ตรัสว่า บุคคล ไม่บรรลุที่สุดแห่งโลกแล้วจะทำทุกข์ให้สิ้นไปได้ ( ทำที่สุดทุกข์ ) .

ก็แต่ว่าพระองค์ทรงบัญญัติโลก, เหตุเกิดแห่งโลก, ความดับ โลก, ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับโลก ในร่างกายนี้แหละ อันมีประมาณวาหนึ่ง มีสัญญา ( ความจำได้ หมายรู้ ) มีใจครอง  ๔. ครั้นวันรุ่งขึ้นพระผู้มีพระภาคจึงตรัสเล่าให้ภิกษุทั้งหลายทราบถึงการ โต้ตอบนั้น .

พระผู้มีพระภาคตรัสถึงสิ่งทีไกลกันยิ่ง ๔ อย่าง คือท้องฟ้ากับแผ่นดิน, ฝั่งนี้กับฝั่งโน้นของมหาสมุทร, ทางที่ดวงอาทิตย์ขึ้นและอัสดงค์, ธรรมะของคนดีกับ คนชั่ว.

ตรัสชมเชยพระวิสาขะ ปัญจาสิบุตร ผู้แสดงธรรม ในโรงฉันด้วยถ้อยคำอันสมบูรณ์, สละสลวย, ไม่มีโทษ, เข้าใจง่าย, เนื่องด้วยความไม่เวียนว่ายตายเกิด, ไม่อาศัยความเวียนว่ายตายเกิด .

ทรงแสดงความวิปลาส ( ความผิดพลาด, ความ คลาดเคลื่อน ๔ อย่าง คือ สัญญาวิปลาส, จิตตวิปลาส, ทิฏฐิวิปลาส ( ความวิปลาสแห่งความกำหนดหมาย, แห่งจิต, แห่งความเห็น) ๑.ในสิ่งไม่เที่ยงว่าเที่ยง, ๒. ในทุกข์ว่าสุข, ๓. ในสิ่งมิใช่ตนว่าตน, ๔. ในสิ่งไม่ งามว่างาม .

ตรัสแสดงเครื่องเศร้าหมองของสมพราหมณ์ ๔ อย่าง คือ ๑. ดื่มสุราเมรัย ๒. เสพเมถุนธรรม ( ธรรมของคนคู่ ) ๓. ยินดีรับเงินทอน ไม่เว้นจากการรับ ทองเงิน ๔. เลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ เปรียบเหมือนหมอก, หิมะ, ธุลีควัน, อสุรินทราหู, เป็นเครื่องเศร้าหมอง แห่งพระจันทร์พระอาทิตย์ฉะนั้น .


    '๑' . นับเป็นหลักฐานที่อธิบายอวิชชาต่างออกไปจากที่อื่น ซึ่งโดยมากแก้ว่า อวิชชา คือไม่รู้อริยสัจจ์ ๔ ตามเป็นจริง

    '๒' . อรรถกถาแก้ว่า ความเป็นใหญ่มี ๔ อย่าง คือเป็นใหญ่โดยรู้ราตรีนานคือเก่า แก่ ๒. เป็นใหญ่โดยไพบูล ๓. เป็นใหญ่โดยพรหมจรรย์ ๔. เป็นใหญ่โดยเลิศด้วยลาภ

    '๓' . อรรถกถาแก้ว่า จักกวาฬโลก โลกคือจักรวาล ( อันเวิ้งวางไม่มีที่สิ้นสุด )

    '๔' . พระสูตรนี้ให้ข้อคิดที่สำคัญยิ่งหลายประการ เช่น แสดงว่า แม้มีฤทธิ์มากเหาะไปได้ ไว ก็ไม่สามารถค้นหาที่สุดแห่งโลกจักรวาลได้ เทียบทฤษฎีวิทยาศาสตร์ ที่ว่าแสงซึ่งเดินทางวินาทีละ ๑๘๖, ๒๗๒ ไมล์ แสงของดาวบางดวงต้องใช้เวลาเดินทางถึง ๖๕๐ ปี จึงมาถึงโลกเรา หลักวิชาดั่งกล่าวจึงรับรอง ภาษิตของโรหิตัสสเทพบุตร แต่พระผู้มีพระภาคก็ทรงแสดงโลกอีกชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่าสังขารโลก โดยชี้มาที่ ร่างกายมนุษย์นี้เองว่า ถ้ารู้แล้วก็ทำทุกข์ให้สิ้นไปได้


บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ