บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



พระสุตตันตปิฎก

พระสุตตันตปิฎก
ปิฎกเล่ม ๓
หมวดนี้มี

๑. ปาฏิกสูตร
๒. อุทุมพริกสูตร
๓. จักกวัตติสูตร
๔. อังคัญญสูตร
๕. สัมปสาทนียสูตร
๖. ปาสาทิกสูตร
๗. ลักขณสูตร
๘. สิงคาลกสูตร
๙. อาฏานาฏิยสูตร
๑. สังคีติสูตร
๑๑. ทสุตตรสูตร

หน้าที่ ๑

๑. ปาฏิกสูตร
๒. อุทุมพริกสูตร
๓. จักกวัตติสูตร
๔. อังคัญญสูตร
๕. สัมปสาทนียสูตร
๖. ปาสาทิกสูตร
๗. ลักขณสูตร
๘. สิงคาลกสูตร
๙. อาฏานาฏิยสูตร
๑๐. สังคีติสูตร
๑๑. ทสุตตรสูตร

๑. ปาฏิกสูตร

เรื่องชีเปลือยชื่อ
กฬารมัชฌกะ
เรื่องชีเปลือย
ชื่อปาฏิกบุตร
เรื่องของสิ่งที่
เลิศหรือต้นเดิม
๒. อุทุมพริกสูตร




หน้าที่ ๒ ๓. จักกวัติสูตร
ความผิดพลาดใน
พระราชาองค์ที่ ๘
เหลืออายุ ๑๐ ปี เกิดมิคสัญญี
กลับเจริญขึ้นอีก
พระเจ้าจักรพรรดิ์
อีกพระองค์หนึ่ง
พระเมตไตรพุทธจ้า
๔. อัคคัญญสูตร
อาหารชั้นแรก
เพศหญิงเพศชาย
การสะสมอาหาร
อกุศลธรรมเกิดขึ้น
กษัตริย์เกิดขึ้น
เกิดพราหมณ์, แพศย์, ศูทร
สมณมณฑล
การได้รับผลเสมอกัน

หน้าที่ ๓ ๕. สัมปสาทนียสูตร
พระสารีบุตร
แสดงความแน่ใจ
ข้อน่าเลื่อมใส
๑๕ ข้อ
คำของพระอุทายี
๖. ปาสาทิกสูตร
ศาสดา,หลักธรรม,สาวก
พรหมจรรย์
บริบูรณ์หรือไม่
ตรัสแนะนำให้จัด
ระเบียบหรือ
สังคยนาพระธรรม
ตรัสแนะนำลักษณะ
สอบสวนพระธรรม
อาสวะปัจจุบัน
กับอนาคต
ตรัสแนะข้อโต้
ตอบกับเจ้าลัทธิอื่น

หน้าที่ ๔
๗. ลักขณสูตร

๘. สิงคาลกสูตร

กรรมกิเลส ๔
ไม่ทำชั่วโดย
ฐานะ ๔
อบายมุข ๖
มิตรเทียม
๔ ประเภท
มิตรแท้
๔ ประเภท
ทิศ ๖ คือ
บุคคล ๖ ประเภท
๙. อาฏานาฏิยสูตร

๑๐. สังคีติสูตร

หมวด ๑ - ๑๐
๑๑. ทสุตตรสูตร

หมวด ๑ - ๑๐

 

เล่มที่ ๑๑ ชื่อทีฆนิกาย ปาฏิวัคค์
เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๓
จบเล่ม

๗. ลักขณสูตร
สูตรว่าด้วยมหาปุริสลักขณ   ๓๒ ประการ

   พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนารามของอนาถบิณฑิกคฤหบดี ใกล้กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นตรัสแสดงมหาปุริสลักขณะ ๓๒ ประการ ที่ทำให้มหาบุรษมีคติ ๒ คือถ้าอยู่ครองเรือน จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ ถ้าออกบวช จะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.

   มหาปุริสลักขณะ   ๓๒ ประการ มีพระบาทตั้งลงด้วยดี ( มีพื้นพระบาทเสมอ ไม่แหว่งเว้า ) เป็นข้อต้น มีพระเศียรประดับด้วยอุณหิส ( กรอบพระพักตร์ ) เป็นข้อสุดท้าย แล้วทรงแสดงลักษณะแต่ละอย่างที่เกิดขึ้นนั้น เกิดขึ้นเพราะกระทำกรรมดีต่าง ๆ ไว้.

    เช่นข้อแรก เพราะเคยสมาทานมั่นในกุศลธรรม สมาทานมั่นในกุศลธรรมอันยิ่งข้อใดข้อหนึ่ง เช่น กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ในการจำแนกทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ เกื้อกูลมารดา บิดา สมณพราหมณ์ และอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล.

   ข้อสุดท้าย เพราะเคยเป็นหัวหน้าในการบำเพ็ญกุศลธรรม มีกายสุจริต เป็นต้น.

    (หมายเหตุ :   การเเสดงเหตุผลที่ได้มหาปุริสลักษณะแต่ละข้อ ในพระสูตรนี้มิได้เป็นตามลำดับข้อและในที่นี้ได้นำมากล่าวอย่างย่นย่อที่สุด เพื่อสามารถย่อพระไตรปิฎกเล่มอื่น ๆ ได้อีก มิฉะนั้นจะต้องขยายอีกหลายเล่ม แต่ข้อเสนอว่า ถ้าท่านผู้ใดสนใจจะอ่านเรื่องนี้ละเอียด อาจหาอ่านหนังสือปฐมสมโพธิกถาฉบับที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงชำระ ซึ่งพิมพ์แพร่หลายพอสมควร.  อ่านได้จุดสำคัญของพระสูตรนี้ แสดงว่าการได้ดีไม่ใช่เกิดขึ้นลอย ๆ ต้องประกอบเหตุจึงได้รับผล).

๘. สิงคลากสูตร
สูตรว่าด้วยสิงคาลกมาณพ

   พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เวฬุวัน ( ป่าไผ่ ) ใกล้กรุงราชคฤห์. เช้าวันหนึ่งเสด็จกรุงราชคฤห์เพื่อบิฑบาต ได้ทอดพระเนตรเห็นสิงคลกมาณพมีผ้าเปียก มีผมเปียก ไหว้ทิศทั้งหกอยู่ ตรัสถาม ทราบว่าเป็นการทำตามคำสั่งของบิดา จึงตรัสว่า ในอริยวินัยไม่พึงไหว้ทิศแบบนี้. เมื่อมาณพกราบทูลถามว่า พึงไหว้อย่างไร จึงตรัสแสดงธรรมเป็นลำดับว่า เพราะเหตุที่อริยสาวก ( สาวกของพระอริยะ ) ละกรรมกิเลส   ๔ ได้ ; ไม่ทำกรรมชั่วโดยฐานะ   ๔ ; ไม่เสพปากทางแห่งความเสื่อมทรัพย์ (โภคานํ อปายมุขานิ )   ๖ ประการ ; เขาปราศจากความชั่ว   ๑๔ ดังกล่าวได้แล้ว เป็นผู้ปกปิดทิศ   ๖ ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อชัยชนะในโลกทั้งสอง คือโลกนี้และโลกหน้า, เมื่อตายไปก็จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.

กรรมกิเลส ๔

   กรรมกิเลส คือการกระทำที่เศร้าหมอง มี   ๔ อย่างที่อริยสาวกละได้ คือ   ๑. ฆ่าสัตว์  ๒. ลักทรัพย์   ๓. ประพฤติผิดในกาม   ๔. พูดปด.

ไม่ทำความชั่วโดยฐานะ ๔

   อริยสาวกไม่ทำกรรมชั่วโดยฐานะ  ๔ คือความลำเอียง เพราะรัก , เพราะชัง , เพราะหลง , เพราะกลัว ทำกรรมชั่ว.

อบายมุข ๖

   อริยะสาวกไม่เสพปากทางแห่งความเสื่อมทรัพย์   ๖ อย่าง คือ   ๑. เป็นนักเลงสุรา   ๒. เที่ยวกลางคืน  ๓. เที่ยวการเล่น  ๔. เล่นการพนัน   ๕. คบคนชั่วเป็นมิตร  ๖. เกียจคร้าน . ครั้นแล้วทรงแสดงโทษของอบายมุขแต่ละข้อ ข้อละ  ๖ อย่าง.

มิตรเทียม  ๔ ประเภท

   ทรงแสดงมิตรเทียม ( มิตตปฏิรูปกะ)  ๔ ประเภท คือ   ๑. มิตรปอกลอก   ๒. มิตรดีแต่พูด   ๓. มิตรหัวประจบ  ๔. มิตรชวนในทางเสียหาย พร้อมทั้งแสดงลักษณะของมิตรเทียมทั้งสี่ประเภทนั้น ประเภทละ   ๔ ประการ.

มิตรแท้ ๔ ประเภท

   ทรงแสดงมิตรแท้  ๔ ประเภท คือ   ๑. มิตรมีอุปการะ   ๒. มิตรร่วมทุกข์ร่วมสุข   ๓. มิตรแนะประโยชน์  ๔. มิตรอนุเคราะห์ ( อนุกัมปกะ ) .  พร้อมทั้งแสดงลักษณะของมิตรแท้ทั้งสี่ประเภทนั้น  ประเภทละ ๔ ประการ.

ทิศ   ๖ คือบุคคล  ๖ ประเภท

   อริยสาวกเป็นผู้ปกปิด ( ปฏิบัติชอบ ) ทิศทั้งหก คือ ควรทราบว่า   ๑. ทิศเบื้องหน้า ได้แก่มารดาบิดา ๒. ทิศเบื้องขวา ได้แก่อาจารย์ ๓. ทิศเบื้องหลัง ได้แก่บุตรภรรยา ๔. ทิศเบื้องซ้าย ได้แก่มิตรอำมาตย์ ( คำว่า อำมาตย์ เป็นสำนวนบาลี หมายถึงมิตรอย่างเดียว ) ๕. ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ทาส กรรมกร ๖. ทิศเบื้องบน ได้แก่สมณพราหมณ์ ( คำว่า พราหมณ์ ก็เหมือนกัน เป็นสำนวนแฝดกับคำว่า สมณะ คงหมายเฉพาะสมณะ).

   ครั้นแล้วแสดงการปฏิบัติต่อบุคคลทั้งหกประเภท ที่เปรียบเหมือนทิศ  ๖ เหล่านี้ ฝ่ายละ ๕ ประการ เป็นการถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกันทุกฝ่าย เช่น มารดาบิดากับบุตรธิดา; อาจารย์กับศิษย์; สามีกับภรรยา; มิตรกับมิตร; นายจ้างกับลูกจ้าง; สมณะกับประชาชน.

   สิงคลมาณะก็เลื่อมใสพระธรรมเทศนา แสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต.

    (หมายเหตุ:   พระสูตรนี้ชาวยุโรปเลื่อมใสกันมากว่าจะแก้ปัญหาสังคมได้ เพราะเสนอหลักทิศ ๖ อันแสดงว่าบุคคลทุกประเภทในสังคมควรปฏิบัติต่อกันในทางที่ดีงาม ไม่มีการกดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งลงไป. อนึ่ง ในที่นี้ไม่ได้แปลรายละเอียดทั้งหมด เพื่อรวบรัด ผู้ต้องการทราบรายละเอียดโปรดอ่านหนังสือนวโกวาท ซึ่งพิมพ์แพร่หลายแล้วนับจำนวนล้านฉบับ).

   

๙. อาฏานาฏิยสุรา
สูตรว่าด้วยการรักษาในอาฏานาฏานคร

   พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์ ในราตรีหนึ่งท้าวมหาราชทั้งสี่.  พร้อมด้วยเสนารักษ์ คนธรรพ์ รุกขเทวดา ) , กุมภัณฑ์และนาค มาเฝ้าพระผู้มีพระภาค.

    เมื่อท้าวมหาราชทั้งสี่ถวายบังคมแล้ว ท้าวเวสสวัณ ( มีนามอย่างหนึ่งว่าท้าวกุเวร ) กราบทูลว่า มียักษ์ชั้นผู้ใหญ่ชั้นกลางชั้นต่ำ ที่เลื่อมใสพระผู้มีพระภาคก็มี ไม่เลื่อมใสก็มี แต่ที่ไม่เลื่อมใสมีมาก เพราะพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรม เพื่อเว้นจากฆ่าสัตว์ , ลักทรัพย์ , ประพฤติผิดในกาม , พูดปด, ดิ่มสุราเมรัย. พวกยักษ์เหล่านั้นไม่เว้นจากสิ่งเหล่านี้โดยมากจึงไม่ชอบ. มีสาวกของพระสาวกของพระผู้มีพระภาคเสพเสนาสนะอันสงัดในป่า ซึ่งพวกยักษ์ชั้นผู้ใหญ่ที่ไม่เลื่อมใสในพระธรรมวินัยของพระผู้มีพระภาคอาศัยอยู่ เพื่อคุ้มครองรักษารักษาเพื่อไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงเรียนการรักษา ชื่ออาฏานาฏิยา เพื่อทำยักษ์เหล่านั้นให้เลื่อมใส . พระผู้มีพรพภาคทรงรับโดยดุษณีภาพ. ท้าวเวสสวัณจึงกล่าวการรักษา.  ชื่ออาฏานาฏิยา.

   ใจความแห่ง “ รักขา ” นั้น เป็นถ้อยคำนมัสการพระพุทธเจ้า   ๗ พระองค์ มีพระวิปัสสี เป็นต้น พระโคดมพุทธเจ้าพุทธเจ้าเป็นองค์ที่สุด พร้อมทั้งพรรณนาถึงคุณลักษณะของพระองค์. มีการกล่าวพรรณนาถึงท้าวมหาราชทั้งสี่องค์ ประจำทิศต่าง ๆ พร้อมด้วยบุตร ซึ่งเคารพ นมัสการพระพุทธเจ้า. เมื่อภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เรียน “ รักขา ” นี้ ท่องบ่นดีแล้ว อมนุษย์ใด ๆ จะเป็นยักษ์ คนธรรมพ์ กุมภันฑ์ นาค ตลอกจนพวกพ้อง ถ้ามีจิตประทุษร้าย เข้าไปใกล้ ผู้เรียน “ รักขา” นี้ จะเข้าพวกไม่ได้ จะชื่อว่าประพฤติผิดเหมือนโจร จะถูกลงโทษ . พวกยักษ์ มหายักษ์ เสนาบดี มหาเสนาบดีจะคอยชี้ความผิดของอมนุษย์เหล่านั้น.

   พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเล่าให้ภิกษุทั้งหลายฟัง และทรงพระอนุญาตให้เรียน “ รักขา ” นี้ได้.

    (หมายเหตุ:   พระสูตรนี้ เมื่อพิจารณาอย่างกว้าง ๆ ย่อมแสดงถึงความแข้มแข็งของพระพุทธศาสนาเป็นการเสนอหลักการให้ถอนความกลัวต่อภูตผีปีศาจ ซึ่งคนสมัยนั้นยังเชื่อกันอยู่ทั่วไป เพราะเมื่อนายของพวกยักษ์ คนธรรพ์ กุมภัณฑ์ และนาคเองยังมาอ่อนน้อมกราบไหว้คุณความดีของพระพุทธเจ้า พวกบริวารก็แกะกะไม่ถนัดนัก เป็นการนำความดีชั้นสูงมาช่วยให้ผู้หวาดกลัวมีความอุ่นใจในคุณความดีที่เหนือกว่า เท่ากับเอาชนะความชั่วด้วยความดี).

   

๑๐. สังคีติสูตร
สูตรว่าด้วยการร้อยกรองหรือสังคายนาคำสอน

    พระผู้มีพระภาค พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จจาริกในแคว้นมัลละ ทรงแวะ ณ นครปาวา ประทับอยู่ในป่ามะม่วงของนายจุนทะบุตรช่างทอง.

    ครั้งนั้น มัลลกษัตริย์สร้างสัณฐาคาร.  ขึ้นใหม่ ยังไม่มีใครใช้ เมื่อทราบว่าพระผู้มีพระภาคเสด็จมาจึงนิมนต์ให้ทรงใช้ก่อน มัลลกษัตริย์จะใช้ภายหลัง พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว เสด็จไปพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์. พระองค์เองประทับนั่งพิงเสากลาง ภิกษุสงฆ์นั่งพิงฝาด้านตะวันออก มัลลกษัตริย์นั่งพิงฝาด้านตะวันตก พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมจนดึก จึงตรัสให้มัลลกษัตริย์กลับได้. ครั้นเห็นภิกษุสงฆ์ยังไม่ง่วง จึงตรัสสั่งพระสารีบุตรให้แสดงธรรมแทน. พระองค์เองทรงปูผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้น ทรงพักผ่อนสำเร็จสีหไสยา ( บรรทมแบบราชสีห์ คือตะแคงขวา ).

   พระสารีบุตรปรารภความที่นครถนาฏบุตรถึงแก่กรรม สาวกแตกกันเป็นสองฝ่าย โต้เถียงกันด้วยเรื่องธรรมวินัย จึงสอนแนะให้ภิกษุทั้งหลายสังคายนาพระธรรมไม่วิวาทกัน เพื่อให้พรหมจรรย์ตั้งอยู่ยั่งยืน. ครั้นแล้วท่านได้แสดงตัวอย่างการสังคายนาธรรมเป็นหมวด ๆ ( ซึ่งจะนำมากล่าวในที่นี้พอเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้:-

    หมวด ๑.   ธรรมอย่างหนึ่ง คือสัตว์เป็นอยู่ได้ด้วยอาหาร.

    หมวด ๒.  ธรรม ๒   อย่าง คือ   ๑. นาม   ๒. รูป;  ๑. อวิชชา ( ความหลงไม่รู้จริง)   ๒. ภวตัณหา ( ความทะยานอยากมีอยากเป็น ) ;  ๑. ภวทิฏฐิ ( ความเห็นที่ติดในความมีความเป็น )   ๒. วิภวทิฏฐิ ( ความเห็นที่ติดในความไม่มีไม่เป็น ) ฯลฯ.

    หมวด ๓.  รากเหง้าแห่งอกุศล   ๓ อย่าง คือ   ๑ . โลภะ (อยากได้ )   ๒. โทสะ ( คิดประทุษร้าย )   ๓ . โมหะ ( หลง ). รากเหง้าแห่งกุศล   ๓ อย่างคือ  ๑ . ไม่โลภ   ๒. ไม่คิดประทุษร้าย  ๓ ไม่หลง ฯลฯ.

    หมวด ๔.  การตังสติ (สติปัฏฐาน ดูมหาสติปัฏฐานสูตร ) พระสุตตันตะเล่ม ๒ หน้า ๔   ๔; ความเพียรชอบ (สัมมัปปธาน )   ๔ คือ  ๑ . เพียงระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น  ๒ . เพียงละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว  ๓. เพียรทำกุศลให้เกิด   ๔ . เพียงทำกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญยิ่งขึ้น ) ฯลฯ.

    หมวด ๕.  ขันธ์   ๕ คือ  ๑. รูปขันธ์ ( กองรูป )  ๒. เวทนาขันธ์ (กองเวทนา ความรู้สึกอารมณ์ )   ๓. สัญญาขันธ์ กองสัญญา ความจำได้หมายรู้)   ๔. สังขารขันธ์ ( กองสังขาร หรือความคิด หรือเจตนาที่ดีชั่ว )  ๕. วิญญาณขันธ์ ( กองวิญญาณ คือความรู้แจ้งอารมณ์ทางตา   หู เป็นต้น )   ฯลฯ.

    หมวด ๖.  อายตนะภายใน   ๖ คือ  ๑. ตา ,   ๒. หู,   ๓. จมูก,  ๔. ลิ่น,  ๕. กาย,  ๖. ใจ  ฯลฯ.

    หมวด ๗.  อริยทรัพย์ (ทรัพย์อันประเสริฐ )   ๗ คือ   ๑. ศรัทธา (เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ )   ๒. ศีล ( รักษากายวาจาให้เรียบร้อย )  ๓. หิริ (ละอายต่อบาป )  ๔. โอตปปะ ( เกรงกลัวต่อบาป )  ๕. สุตะ ( ศึกษาหรือสดับตรับฟัง )   ๖. จาคะ ( เสียสละ )  ๗. ปัญญา ( รอบรู้สิ่งที่ควรรู้ )  ฯลฯ.

    หมวด ๘.  ความผิด   ๘ คือ   ๑. มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด )  ๒. มิจฉาสังกัปปะ ( ความดำริผิด )  ๓. มิจฉาวาจา ( วาจาผิด )  ๔. มิจฉากัมมันตะ ( การกระทำผิด )  ๕. มิจฉาอาชีวะ ( เลี้ยงชีพผิด )  ๖. มิจฉาวายามะ ( เพียรพยายามผิด)  ๗. มิจฉาสติ ( ระลึกผิด )  ๘. มิจฉามสมาธิ ( ตั้งใจมั่นผิด )  ฯลฯ.

    หมวด ๙.  ที่ตั้งแห่งความอาฆาต ๙ คือ ๑. เขาได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ( เสียหาย) ต่อเรา ๒. เขากำลังประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อเรา ๓. เขาจักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อเรา ๔. เขาได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อคนที่รักที่ชอบใจของเรา ๕. เขากำลังทำอย่างนั้น ๖. เขาจักทำอย่างนั้น ๗. เขาได้ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อคนที่เราไม่รักไม่ชอบใจ ๘. เขากำลังทำอย่างนั้น ๙. เขาจักทำอย่างนั้น ฯลฯ.

    หมวด ๑๐.  ธรรมะที่ทำที่พึ่ง ( นาถกรณธรรม ) ๑๐ คือ ๑. มีศีล สำรวมปาฏิโมกข์ ( ศีลที่เป็นประธาน ) ๒. สดับตรับฟังมาก ทรงจำได้ดี ๓. คบเพื่อนที่ดี ๔. ว่าง่าย ๕. ขยันช่วยทำกิจธุระของเพื่อน ๖. ใคร่ในธรรม ๗. สันโดษ ( ยินดีตามมีตามได้ ) ๘. ลงมือทำความเพียร ๙. มีสติ ๑๐. มีปัญญา ฯลฯ.

   เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จลุกขึ้นจากบรรทม ก็ตรัสชมเชยว่า พระสารีบุตรได้กล่าวสังคีติปริยาย ( บรรยายเรื่องสังคายนา ) แก่ภิกษุทั้งหลายเป็นอย่างดี .

   

๑๑. ทสุตตรสูตร
สูตรว่าด้วยหมวดธรรมอันยิ่งขึ้นไปจนถึงสิบ

   พระผู้มีพระภาค พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประทับ ณ ฝั่งสระน้ำชื่อคัคครา ใกล้กรุงจัมปา ( ราชธานีแห่งแคว้นอังคะ ).

   พระสารีบุตรแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ( ทำนองเดียวกับสังคีติสูตร ส่วนด้วนบน ซึ่งในที่นี้จะนำมากล่าวตั้งแต่หมวด   ๑ ถึงหมวด   ๑๐ พอเป็นตัวอย่าง ) ดังต่อไปนี้:-

    หมวด ๑.  ธรรมอย่างหนึ่ง มีอุปการะมาก คือความไม่ประมาทในกุศลธรรม   ฯลฯ.

    หมวด ๒.  ธรรม  ๒ อย่าง มีอุปการะมาก คือ   ๑. สติ ความระลึกได้   ๒. สัมปชัญญะ ความรู้ตัว  ฯลฯ.

    หมวด ๓.  ธรรม  ๓ อย่าง มีอุปการะมาก คือ   ๑. คบสัตบุรุษ ( คนดี )   ๒. ฟังธรรม (ของท่าน )   ๓. ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม   ฯลฯ.

    หมวด ๔.  ธรรม   ๔ อย่าง มีอุปการะมาก คือจักร   ๔ อันได้แก่  ๑. อยู่ในประเทศหรือที่อยู่อันสมควร  ๒. คบ ( หรือเข้าใกล้ ) สัตบุรุษ   ๓. ตั้งตนไว้ชอบ   ๔. ความเป็นผู้มีบุญอันได้ทำไว้ในกาลก่อน  ฯลฯ.

    หมวด ๕.  ธรรม  ๕ อย่าง มีอุปการะมาก คือองค์   ๕ ที่ควรตั้งไว้เป็นประธาน อันได้แก่  ๑. มีศรัทธาเชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า   ๒. มีโรคน้อย   ๓. ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา   ๔. ลงมือทำความเพียร   ๕. มีปัญญาเห็นความเกิดความดับ   ฯลฯ.

    หมวด ๖.  ธรรม   ๖ อย่าง มีอุปการะมาก คือสาราณิยธรรม ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งการทำกันแลกันให้ระลึกถึง อันได้แก่   ๑. ตั้งกายกรรมอันประกอบด้วยเมตตา  ๒. ตั้งวจีกรรมอันประกอบด้วยเมตตา   ๓. ตั้งมโนกรรมอันประกอบด้วยเมตตา   ๔. แบ่งบันลาภ   ๕. มีศีลอันดีเสมอกัน   ๖. มีทิฏฐิ ( ความเห็น ) อันดีเสมอกัน   ฯลฯ.

    หมวด ๗.  ธรรม   ๗ อย่าง มีอุปการะมาก คืออริยทรัพย์   ๗ อย่าง ( กล่าวไว้แล้วในสังคีติสูตร ส่วนด้านบน ) ; ธรรม   ๗ อย่าง ควรเจริญ คือโพชฌงค์ ( องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ )   ๗ อันได้แก่   ๑. สติ  ๒. ธัมมวิจยะ เลือกเฟ้นธรรม    ๓. วิริยะ ความเพียร   ๔. ปีติ ความอิ่มใจ   ๕. ปัสสัทธิ ความสงบความอิ่มใจ   ๖. สมาธิ ความตั้งใจมั่น  ๗. อุเบกขา ความวางเฉยอย่างมีสติกำกับ.

    หมวด ๘.  ธรรม  ๘ อย่าง มีอุปการะมาก คือเหตุ  ๘ ปัจจัย  ๘ อันเป็นไปเพื่อได้ปัญญาซึ่งเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ , ทำปัญญาที่ได้แล้วให้เจริญบริบูรณ์ยิ่งขึ้น อันได้แก่   ๑. ตั้งความละอายใจ ความเกรงกลัว ความรัก ความเคารพในศาสดา เเละเพื่อนพรหมจารี  ๒. เข้าไปหาไต่ถามเป็นครั้งคราว  ๓ ฟังธรรมแล้ว ก็ทำความสงบกาย สงบใจ .  ให้ถึงพร้อมทั้งสองอย่าง  ๔. สำรวมในปาฏิโมกข์ ( ศีลที่เป็นประธาน ) สมบูรณ์ด้วยอาจาระ ( มารยาท ) และโคจร ( รู้จักที่ควรไปไม่ควรไป )  ๕. สดับตรับฟังมาก  ๖. ลงมือทำความเพียร  ๗. มีสติ   ๘. เห็นความเกิดความดับในขันธ์  ๕   ฯลฯ.

    หมวด ๙.  ธรรม   ๙ อย่าง มีอุปการะมาก คือองค์แห่งความบริสุทธื์ที่ควรตั้งไว้เป็นประธาน ( ปาริสุทธิปาธานิยังคะ ) อันได้แก่  ๑. สีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีล  ๒. จิตตวิสุทธิ ความหมดจดแห่งจิต  ๓. ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งความเห็น  ๔. กังขาวิตณวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเหตุข้ามความสงสัยเสียได้  ๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งการเห็นด้วยญาณซึ่งทางและมิใช่ทาง  ๖. ปฏิปทายาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งการเห็นด้วยญาณซึ่งข้อปฏิบัติ   ๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งการเห็นด้วยญาณ  ๘. ปัญญาวิสุทธิ ความหมดจดแห่งปัญญา  ๙. วิมุตติวิสุทธิ ความหมดจดแห่งความหลดพ้น  ฯลฯ.

    หมวด ๑๐.  ธรรม   ๑๐ อย่าง มีอุปการะมาก คือธรรมะที่เป็นที่พึ่ง (นาถกรณธรรม )   ๑๐ ( ซึ่งกล่าวไว้ในสังคีติสูตร ส่วนด้านบน )  ฯลฯ.

   เมื่อแสดงธรรมจบ ภิกษุทั้งหลายก็ชื่นชมภาษิตของพระสารีบุตร.

    (หมายเหตุ :  ข้อธรรมในทสุตตรสูตรนี้ ตั้งแต่หมวด  ๑ ถึง  ๑๐ ยืนตัวอยู่   ๑๐ หัวข้อ คือ  ๑. ธรรมมีอุปการะมาก  ๒. ธรรมที่ควรเจริญ  ๓. ธรรมที่ควรกำหนดรู้  ๔. ธรรมที่ควรละ  ๕. ธรรมที่มีส่วนแห่งความเสื่อม   ๖. ธรรมที่มีส่วนแห่งความเจริญ   ๗. ธรรมที่เข้าใจได้ยาก   ๘. ธรรมที่ควรทำให้เกิดขึ้น   ๙. ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง  ๑๐. ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง แล้วแจกรายละเอียดออกไปตามหมวดว่า หมวด  ๑ ได้แก่อะไร หมวด  ๒ ได้แก่อะไร จนถึงหมวด  ๑๐ ได้แก่อะไร ในที่นี้แสดงพอเป็นตัวอย่าง ).

   

จบความย่อแห่งพระไตรปิฎก เล่ม ๑๑

๑. พิมพ์ พ.ศ. ๒๔๗๘ จำนวน ๒,๐๐๐ ฉบับ โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร

๒. ในนวโกวาทใช้ว่า มิตรมีความรักใคร่ คือ ทุกข์ ๆ ด้วย สุข ๆ ด้วย โต้เถียงคนที่ติเตียนเพื่อน รับรองคนที่พูดสรรเสริญเพื่อน ส่วนมิตรมีอุปการะประเภทแรก คือป้องกันเพื่อนผู้ประมาท ป้องกันทรัพย์ของเพื่อนผู้ประมาท เมื่อมีภัยเอาเป็นที่พึ่งได้ เมื่อมีธุระออกทรัพย์ช่วยเหลือเกินกว่าที่ออกปาก. ในที่นี้ได้เทียบให้ดูมิตรมีอุปการะ กับมิตรอนุเคราะห์ ซึ่งมีชื่อคล้ายกันว่ามีลักษณะต่างกันอย่างไร

๓. ท้าวมหาราชทั้งสี่ คือ ท้าวธตรฐ มีคนธรรพ์เป็นบริวารครองทิศบูรพา ; ท้าววิรุฬหก มีกุมภัณฑ์เป็นบริวาร ครองทิศทักษิณ; ท้าววิรูปักข์ มีนาคเป็นบริวาร ครองทิศประจิม ; ท้าวกุเวรหรือเวสสุวัณ มียักษ์เป็นบริวาร ครองทิศอุดร

๔. คำว่า “ รักขา” มีลักษณะเดียวกับ “ปริตร” คือสวดสำหรับคุ้มครองป้องกันภัย

๕. โรงโถงหรือหอประชุม

๖. กายวูปกาเสน จิตฺตวูปกาเสน เป็นคำนาม เมื่อเทียบกับคุณศัพท์ วูปกฏฺฐ

 

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ