บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



พระสุตตันตปิฎก

พระสุตตันตปิฎก
ปิฎกเล่ม ๓
หมวดนี้มี

๑. ปาฏิกสูตร
๒. อุทุมพริกสูตร
๓. จักกวัตติสูตร
๔. อังคัญญสูตร
๕. สัมปสาทนียสูตร
๖. ปาสาทิกสูตร
๗. ลักขณสูตร
๘. สิงคาลกสูตร
๙. อาฏานาฏิยสูตร
๑. สังคีติสูตร
๑๑. ทสุตตรสูตร

หน้าที่ ๑

๑. ปาฏิกสูตร
๒. อุทุมพริกสูตร
๓. จักกวัตติสูตร
๔. อังคัญญสูตร
๕. สัมปสาทนียสูตร
๖. ปาสาทิกสูตร
๗. ลักขณสูตร
๘. สิงคาลกสูตร
๙. อาฏานาฏิยสูตร
๑๐. สังคีติสูตร
๑๑. ทสุตตรสูตร

๑. ปาฏิกสูตร

เรื่องชีเปลือยชื่อ
กฬารมัชฌกะ
เรื่องชีเปลือย
ชื่อปาฏิกบุตร
เรื่องของสิ่งที่
เลิศหรือต้นเดิม
๒. อุทุมพริกสูตร




หน้าที่ ๒ ๓. จักกวัติสูตร
ความผิดพลาดใน
พระราชาองค์ที่ ๘
เหลืออายุ ๑๐ ปี เกิดมิคสัญญี
กลับเจริญขึ้นอีก
พระเจ้าจักรพรรดิ์
อีกพระองค์หนึ่ง
พระเมตไตรพุทธจ้า
๔. อัคคัญญสูตร
อาหารชั้นแรก
เพศหญิงเพศชาย
การสะสมอาหาร
อกุศลธรรมเกิดขึ้น
กษัตริย์เกิดขึ้น
เกิดพราหมณ์, แพศย์, ศูทร
สมณมณฑล
การได้รับผลเสมอกัน

หน้าที่ ๓ ๕. สัมปสาทนียสูตร
พระสารีบุตร
แสดงความแน่ใจ
ข้อน่าเลื่อมใส
๑๕ ข้อ
คำของพระอุทายี
๖. ปาสาทิกสูตร
ศาสดา,หลักธรรม,สาวก
พรหมจรรย์
บริบูรณ์หรือไม่
ตรัสแนะนำให้จัด
ระเบียบหรือ
สังคยนาพระธรรม
ตรัสแนะนำลักษณะ
สอบสวนพระธรรม
อาสวะปัจจุบัน
กับอนาคต
ตรัสแนะข้อโต้
ตอบกับเจ้าลัทธิอื่น

หน้าที่ ๔
๗. ลักขณสูตร

๘. สิงคาลกสูตร

กรรมกิเลส ๔
ไม่ทำชั่วโดย
ฐานะ ๔
อบายมุข ๖
มิตรเทียม
๔ ประเภท
มิตรแท้
๔ ประเภท
ทิศ ๖ คือ
บุคคล ๖ ประเภท
๙. อาฏานาฏิยสูตร

๑๐. สังคีติสูตร

หมวด ๑ - ๑๐
๑๑. ทสุตตรสูตร

หมวด ๑ - ๑๐

 

เล่มที่ ๑๑ ชื่อทีฆนิกาย ปาฏิวัคค์
เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๓
หน้า ๓

๕. สัมปสาทนียสูร
ว่าด้วยคุณธรรมที่น่าเลื่อมใสของพระพุทธเจ้า

    พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ป่ามะม่วงซึ่งเศรษฐีขายผ้าเป็นผู้ถวาย ( ปาวาริกัมพวัน ). พระสารีบุตรเข้าไปเฝ้ากราบทูลว่า ท่านเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคว่า ไม่มีสมณพราหมณ์ใดในอดีต อนาคต ปัจจุบัน ยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาคในทางตรัสรู้. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ท่านเปล่งวาจาอย่างอาจหาญ บรรลือสีหนาทยืนยันแน่ลงไปโดยส่วนเดียว ท่านกำหนดรู้จิตของพระผู้มีพระภาคในอดีต อนาคต ปัจจุบัน หรือว่ามีศีล มีธรรม มีปัญญา มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ และหลุดพ้นแล้วอย่างนี้ ๆ . พระสารีบุตรตอบว่า เปล่า พระเจ้าข้า. จึงตรัสถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไฉนจึงเปล่งวาจาอย่างอาจหาญ บรรลือสีหนาท ยืนยันแน่ลงไปโดยส่วนเดียวอย่างนี้.

พระสารีบุตรแสดงความแน่ใจ

   พระสารีบุตรกราบทูลแสดงความแน่ใจของท่านว่า เปรียบเหมือนนายประตูผู้ฉลาดเฝ้าอยู่ทางประตูเข้าออก ไม่เห็นทางอื่น เช่น ที่ต่อกำแพง หรือช่องกำแพง แม้ที่แมวจะเข้าออกได้ เขาย่อมแน่ใจว่าสัตว์ตัวใหญ่ย่อมเข้าออกพระนครนี้ ทรงประตูเท่านั้น ตัวท่านเองก็เป็นเช่นนั้น รู้นัยแห่งธรรมว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งในอดีต อนาคต ปัจจุบัน ทรงละนีวรณ์ ๕ อันเป็นครื่องเศร้าหมองแห่งจิต อันทำปัญญาให้อ่อนกำลัง ทรงตั้งจิตไว้ด้วยดีในสติปัฏฐาน ๔ ทรงเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามเป็นจริงแล้ว จึงได้บรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ.  อันยอดเยี่ยม. ท่านได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเพื่อสดับธรรม เมื่อสดับธรรมธรรมแล้วก็รู้ยิ่งธรรมบางอย่างในธรรมนั้น ถึงความสำเร็จใน ( อริยสัจจ) ธรรม เลื่อมใสในพระศาสดาว่า พระผู้มีพระภาคเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคแสดงดีแล้ว พระสงฆ์ปฏิบัติดีแล้ว.

ข้อน่าเลื่อมใส ๑๕ ข้อ

   ครั้นแล้วท่านได้แสดงธรรมะอันยอดเยี่ยมที่พระผู้มีพระภาคแสดงแก่ท่าน ซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสรู้อย่างไม่มีส่วนเหลือ ไม่มีข้อที่ควรรู้ยิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งจะพึงมีสมณพราหมณ์อื่นยิ่งไปกว่า เป็นข้อ ๆ ดังต่อไปนี้:-

   ๑. กุศลธรรม (เเสดงโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการตามหัวข้อใหญ่ มีสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น จนถึงมรรคมีองค์ ๘ ย้อนดูพระสุตตันตะ เล่ม ๒ หน้า ๒
   ๒. ธรรมในการปฏิบัติอายตนะ ( ทั้งภายในและภายนอก คือตากับรูป, หูกับเสียง, จมูกกับกลิ่น, ลิ้นกับรส, กายกับโผฏฐัพพะ, และใจกับธรรมะ ).
   ๓. ธรรมในการก้าวลงสู่ครรภ์ ( มี ๔ ชนิด มีการก้าวลงสู่ครรภ์ การตั้งอยู่ การออกจากครรภ์ โดยไม่มีความรู้สึกตัว; รู้ตัวในข้อแรก ไม่รู้ตัวในข้อ ๒ หลัง; รู้ตัวในข้า ๒ แรก ไม่รู้ตัวในข้อหลัง; รู้ตัวทั้งสามข้อ).
   ๔. (ที่หนังสือไม่มีหัวข้อนี้)
   ๕. ธรรมในทัสสนสมาบัติ ( เข้าฌานที่มีการเห็นอารมณ์ต่าง ๆ รวม ๔ อย่าง คือเห็นอาการ ๓๒ มีผม ขน เป็นต้น ; พิจารณากระแสวิญญาณของบุรุษ อันตั้งอยู่ในโลกนี้และโลกโลกอื่น ; พิจารณาวิญญานของบุรุษอันไม่ตั้งอยู่ในโลกนี้และโลกอื่น. ความพิสดารโปรดย้อนกลับไปดูอรรถกถา ( ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก ). หมายเลข ๑๒๗-๑๓๒.
   ๖. ธรรมในการบัญญัติบุคคล ( มี ๗ อย่าง มีอุภโตภาควิมุต ผู้พ้นโดยส่วนทั้งสอง เป็นต้น จนถึง สัทธานุสารี ผู้แล่นไปตามศรัทธา ).
   ๗. ธรรมในกลุ่มที่เป็นประธาน ( คือโพชฌงค์องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ๗ อย่าง มีสติ เป็นต้น ).
    ๘. ธรรมในข้อปฏิบัติ ( มี ๔ อย่าง มีปฏิบัติลำบากและรู้ได้ช้า เป็นต้น ).
   ๙. ธรรมในความประพฤติเกี่ยวกับคำพูด ( มี ๔ อย่าง คือ ไม่พูดเท็จ ; ไม่พูดส่อเสียด คือไม่ยุให้แตกร้าวกัน ; ไม่พูดแข่งดีหวังจะได้ชัยชนะ เช่น เมื่อถูกว่า ท่านเป็นคนทุศีล ก็ตอบว่า ท่านนะสิทุศีล อาจารย์ของท่านก็ทุศีล ; พูดด้วยใช้ปัญญา มีข้ออ้างอิง ถูกต้องตามกาล).
   ๑๐. ธรรมในวิธีการสั่งสอน ( คือรู้วิธีสั่งสอนให้เป็นพระอริยบุคคล ๔ ชั้น มีพระโสดาบัน เป็นต้น ).
   ๑๑. ธรรมในการรู้ความหลุดพ้นของผู้อื่น ( รู้ความหลุดพ้นของพระอริยบุคคล ๔ ).
   ๑๒. ธรรมในสัสสตวาทะ คือลัทธิที่เห็นว่าเที่ยง ( มี ๓ อย่าง คือเห็นว่าตนและโลกเที่ยง เพราะระลึกชาติได้ ( ย้อนไปดูที่พระสุตันตะปิฎกเล่ม ๑ หน้า ๑ ) เห็นว่าเที่ยง ( สัสสตวาทะ ) ๔ ข้อ ๑ – ๓
   ๑๓. ธรรมในญาณหยั่งรู้ความจุติ ( เคลื่อนหรือตาย ) และอุปบัติ ( เกิดขึ้น ) ของสัตว์ทั้งหลาย ทิพย์จักษุ เห็นสัตว์ได้ชั่วได้ดีตามกรรมของตน ).
   ๑๔. ธรรมในการแสดงฤทธิ์ ( ทั้งฤทธิ์ทีมีอาสวะและกิเลส . และฤทธิ์ที่ไม่มีอาสวะและกิเลส ).
   ๑๕. พระผู้มีพระภาคทรงบรรลุธรรมที่บุรุษผู้มีศรัทธาพึงบรรลุด้วยความเพียร ด้วยเรี่ยวแรง ด้วยความบากบั่นของบุรุษ , ไม่ทรงประกอบพระองค์ให้ชุ่มด้วยกาม , ไม่ทรงประกอบการทรมานพระองค์ให้ลำบาก , ทรงได้ฌาน ๔ อันเป็นเครื่องของจิตใจชั้นสูง อันเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามพระประสงค์ โดยไม่ลำบาก.

    ครั้นแล้วท่านก็ย้ำความแน่ใจของท่านว่า เมื่อไม่มีใครถาม ท่านก็ยืนยันว่า ไม่มีสมณพราหมณ์ทั้งในอดีต อนาคต ปัจจุบันจะยิ่งไปกว่าพระผู้มีพระภาคในทางตรัสรู้. แต่ถามว่า มีสมณพราหมณ์ในอดีต ในอนาคต ที่เสมอด้วยพระผู้มีพระภาคในทางตรัสรู้หรือไม่ ก็ตอบว่า มี. แต่ถ้าถามถึงปัจจุบันก็ตอบว่าไม่มี. ถ้าถูกถามอีกว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ก็ตอบว่า เคยได้สดับมาในที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า มีพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในอดีต อนาคต ที่เสมอด้วยพระองค์ในทางตรัสรู้. และได้เคยสดับในที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค ( เช่นเดียวกัน ) ว่า มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่ในโลกธาตุเดียวกัน จะมีพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดขึ้นพร้อมกัน ๒ พระองค์. พระผู้มีพระภาคก็ตรัสรับรองภาษิตของพระสารีบุตร.

คำของพระอุทายี

   พระอุทายีก็กราบทูลสรรเสริญพระผู้มีพระภาคว่า เป็นที่น่าอัศจรรย์ที่ทรงความปรารถนาน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ทั้ง ๆ ที่ทรงฤทธิ์มาก มีอนุภาพมาก แต่ก็ไม่ทรงทำพระองค์ให้ปรากฏ ( โอ้อวด )

๖ ปาสาทิกสูตร
๖. สูตรว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่น่าเลื่อมใส

   พระผู้มีพระภาคประทับในปราสาท ในป่ามะม่วงของเจ้าศากยะผู้เชี่ยวชาญในวิชชาธนู ( เวธญฺฌา สกฺยา ). ครั้นนั้น นิครถนาฏบุตร ( เจ้าลัทธิคนหนึ่งของศาสนานิครนถ์ หรือศาสนาเชน ) ถึงแก่กรรมที่กรุงปาวา พวกนิครนถ์เกิดแตกกันเป็นสองฝ่าย ทะเลาะกันอย่างรุนแรง. พระจุนทะ.  ( น้อยชายพระสารีบุตร ) จำพรรษาใกล้กรุงปาวาจนตลอดพรรษาแล้ว ก็ไปหาพระอานนท์ ณ สามคาม ไหว้พระอานนท์แล้วเล่าความให้ฟัง พระอานนท์จึงชวนพระจุนทะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลให้ทรงทราบ .

๖ ศาสดา , หลักธรรม , สาวก

    พระผู้มีพระภาคจึงตรัสถึงศาสดา , หลักธรรมคำสอนและสาวก แบ่งออกเป็นประเภทดังนี้:-

    ๑. ศาสดาไม่ดี , หลักธรรมไม่ดี , สาวกไม่ดี , ก็เป็นที่ติเตียนทั้งสามฝ่าย ใครปฏิบัติตาม ก็ประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก.
   ๒. ศาสดาไม่ดี , หลักธรรมไม่ดี แม้สาวกจะดี คือปฏิบัติตาม ก็เป็นที่ติเตียนทั้งสามฝ่าย ใครทำความเพียรตาม ก็ประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก.
   ๓. ศาสดาดี , หลักธรรมดี , สาวกไม่ดี ศาสดาและหลักธรรมย่อมได้รับสรรเสริญ แต่สาวกถูกติเตียน. ใครปฏิบัติตาม ก็ได้ประสบบุญเป็นอันมาก.
   ๔. ศาสดาดี , หลักธรรมดี , สาวกดี ย่อมได้รับสรรเสริญทั้งสามฝ่าย ใครทำความเพียรตาม ก็ได้ประสบบุญเป็นอันมาก.
   ๕. ศาสดาดี , หลักธรรมดี , สาวกไม่เข้าใจเนื้อความ ( แห่งธรรม ) แจ่มแจ้ง. เมื่อศาสดาตายแล้ว สาวกก็เดือดร้อนภายหลัง.
   ๖. ศาสดาดี , หลักธรรมดี , สาวกเข้าใจเนื้อความ ( แห่งธรรม ) แจ่มแจ้ง . เมื่อศาสดาตายแล้ว สาวกก็ไม่เดือดร้อนภายหลัง.

พรหมจรรย์บริบูรณ์หรือไม่

   ตรัสต่อไปอีกว่า พรหมจรรย์ที่ประกอบด้วยองค์เหล่านี้แล้ว

    ๑. แต่ศาสดามิใช่เป็นเถระ ผู้รู้เห็นเหตุการณ์มานาน ก็ยังชื่อว่าบกพร่องในข้อนี้ ถ้าศาสดาเป็นเถระ เป็นต้น จึงชื่อว่าบริบูรณ์ในข้อนี้.
    ๒. ถ้าศาสดาเป็นเถระ เป็นต้น แต่ภิกษุเป็นสาวกชั้นเถระไม่ฉลาดอาจหาญ ไม่บรรลุธรรมอันเกษม ไม่สามารถจะบอกเล่าว่า สัทธรรมย่ำยีปรัปวาท ( ข้อกล่าวของผู้อื่น ) ก็ยังชื่อว่าบกพร่องในข้อนี้ ถ้าสาวกชั้นเถระเป็นผู้ฉลาดอาจหาญ เป็นต้น จึงชื่อว่าบริบูรณ์ในข้อนี้
    ๓ ถ้าศาสดาและสาวกชั้นเถระเข้าลักษณะที่ดี แต่ภิกษุผู้เป็นสาวกชั้นกลางยังไม่ดี ( เหมือนชั้นเถระ ) ก็ยังชื่อว่าบกพร่องในข้อนี้. โดยนัยนี้ กินความถึงภิกษุผู้เป็นสาวกที่บวชใหม่; นางภิกษุณีผู้เป็นสาวิกาชั้นเถระ; ชั้นกลาง; ผู้บวชใหม่; อุบาสกผู้ประพฤติพรหมจรรย์, ผู้บริโภคกาม; อุบาสิกาผู้ประพฤติพรหมจรรย์, ผู้บริโภคกาม.  ถ้ายังไม่ดีสมบูรณ์ พรหมจรรย์ก็ยังไม่สมบูรณ์. ต่อเมื่อดีสมบูรณ์ พรหมจรรย์จึงชื่อว่าสมบูรณ์
   ๔. ครั้นตรัสแล้วตรัสถึงพระองค์ พระธรรมคำสั่งสอน และพระสาวก ทั้งบรรพชิต และคฤหัสถ์ ว่ามีคุณลักษณะสมบูรณ์ พรหมจรรย์จึงชื่อว่าสมบูรณ์.
   ๕. ตรัสถึงพระองค์และพระสงฆ์ ว่าถึงความเป็นผู้เลิศด้วยลาภ ยศ แล้วตรัสถึงคำของอุทกทกดาบทรามบุตร ที่ว่าเห็นอยู่ แต่ไม่เห็น ซึ่งไขความว่า เห็นใบมีดโกนที่ลับดีแล้ว แต่ไม่เห็นคมมีดโกนดังนี้ ว่าเป็นภาษิตที่ไร้ประโยชน์. ที่ถูกควรจะหมายถึงไม่เห็นพรหมจรรย์ ที่สมบุณ์บริบูรณ์และประกาศดีแล้ว จึงจะชื่อว่ากล่าวชอบ.

ตรัสแนะนำให้จัดระเบียบหรือสังคายนาพระธรรม

   ตรัสแนะพระจุนทะให้เทียบเคียงธรรมที่ทรงแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง พึงสังคยนา พึงวิจารอรรถะกับอรรถะ พยัญชนะกับพยัญชนะ เพื่อให้พรหมจรรย์ตั้งอยู่ยั่งยืน เป็นไปเพื่อประโยชน์ และความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์ เพื่อประโยชน์เกื่อกูล และความสุขแก่เทวาและมนุษย์.  แล้วทรงชี้แจงว่า ธรรมทที่ทรบแสดงด้วยปัญญาอันยิ่ง มีสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น มีมรรคมีองค์ ๘ เป็นที่สุด ( ที่เรียกว่าโพธิปักขิยธรรม คือธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งปัญญาตรัสรู้ ๓๗ ประการ ย้อนไปดูที่พระสุตตันตะ เล่ม ๒ หน้า ๒ )

ตรัสแนะลักษณะสอบสวนพระธรรม

   ตรัสแนะให้ศึกษาพระธรรม ( ทั้งสามสิบเจ็ดประการเหล่านั้น ย้อนไปดูที่พระสุตตันตะ เล่ม ๒ หน้า ๒ ) โดยพร้อมเพียง ไม่วิวาทกันแล้วตรัสแนะวิธีสอบสวนพระธรรมเมื่อพระสงฆ์พรหมจารีกล่าวธรรม.

    ๑. ถ้ารู้สึกว่า ถือเอา อรรถะผิด ยกยัญชนะผิด ก็ไม่พึงเห็นด้วย ( อภินันท์ ) หรือคัดค้าน พึงกล่าวกะเธอว่า พยัญชนะนี้ กับพยัญชนะอีกอันหนึ่งของอรรถะนี้ และอรรถะนี้ เเละ อรรถะนี้ กับอรรถะอีกอันหนึ่งของพยัญชนะนี้ อย่างไหนจะชอบด้วยอุบายกว่ากัน. ถ้าผู้กล่าวธรรมกล่าวว่า พยัญชนะนี้ อรรถะนี้ ชอบด้วยอุบายกว่าก็ไม่พึงยกย่องหรือคัดค้าน พึงกำหนดหมายให้ดี เพื่อพิจารณาอรรถะและพยัญชนะนั้น ๆ . ( คำว่า พยัญชนะหมายถึงตัวอักษรหรือถ้อยคำ อรรถะ หมายถึงความหมายของตัวอักษรหรือถ้อยคำ).
   ๒. ถ้ารู้สึกว่า ถือเอาอรรถะผิด ยกพยัญชนะถูก ก็พึงสอบถาม อรรถะของพยัญชนะฝ่ายสองฝ่าย ว่าอันไหนจะชอบด้วยอุบายกว่ากัน แล้วพิจารณา ( เหมือนข้อ ๑ ).
   ๓. ถ้ารู้สึกว่า ถือเอาอรรถะถูก ยกพยัญชนะผิด ก็พึงสอบถาม พยัญชนะสองฝ่ายของอรรถะนี้ ว่าอันไหนจะชอบด้วยอุบายกว่ากัน แล้วพิจารณา ( เหมือนข้อ ๑ ).
   ๔. ถ้ารู้สึกว่า ถือเอาอรรถะถูก ยกพยัญชนะถูก ก็พึงอนุโมทนา.

อาสวะปัจจุบันกับอนาคต

   แล้วตรัสว่า มิได้ทรงแสดงธรรมเพื่อให้สำรวมอาสวะ ( กิเลสที่ดองสันดาน ) ที่เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้ทำลายอาสวะที่เป็นอนาคตอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น แต่เพื่อทั้งสองอย่าง.

   แล้วทรงแสดงการที่อนุญาตปัจจัย   ๔ ว่า เพื่อบำบัดร้อนหนาวและเพื่อพอยังชีวิตให้เป็นไป เป็นต้น.

ตรัสแนะข้อโต้ตอบกับเจ้าลัทธิอื่น

   ๑. ถ้านักบวชลัทธิอื่นกล่าวหาว่า สมณะศากยบุตรประกอบตนให้ชุ่มด้วยความสุข พึงถามว่าประกอบแบบไหน เพราะมีอยู่มากด้วยกัน คือบางคนฆ่าสัตว์ , ลักทรัพย์, พูดปด , บำเรอ ( ตน ) ด้วยกามคุณอย่างนี้ชื่อว่าประกอบตนใช้ชุ่มด้วยความสุขแบบชาวบ้าน ซึ่งไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน.

   ๒. ถ้านักบวชลัทธิอื่นกล่าวหาว่า สมณศากยบุตรประกอบตนให้ชุ้มด้วยความสุข   ๔ อย่าง ( ดังกล่าวในข้อ ๑ ) ก็พึงประเสธว่า ไม่เป็นจริง . แล้วทรงแสดงการประกอบตนให้ชุ่มด้วยความสุข ที่เป็นไปเพื่อนิพพานว่าได้แก่ความสุขในฌาน ๔. ถ้านักบวชลัทธิอื่นกล่าวว่า สมณะศากยบุตรประกอบตนให้ชุ่มด้วยความสุข   ๔ อย่างนี้ ก็พึงรับรองว่ากล่าวถูกต้อง.

    ๓. ถ้านักบวชลัทธิอื่นถามถึงผลและอานิสงส์ ( ผลดี ) ที่ผู้ประกอบให้ตนชุ่มด้วยความสุข ( ในฌาน ๔ ) จะพึงหวังได้ ก็พึงตอบว่า มี   ๔ อย่าง   คือ ๑. เป็นพระโสดาบัน จะได้ตรัสรู้ต่อไป เพราะสิ้นสัญโญชน์   ๓   ๒. เป็นพระสกิทาคามีผู้จะกลับมาเกิดเพียงครั้งเดียว เพราะสิ้นสัญโญชน์   ๓ และทำราคะ โทสะ โมหะ ให้น้อยลง   ๓. เป็นพระอนาคามีผู้ไม่กลับมาเกิดอีก เพราะสิ้นสัญโญชน์เบื้องต่ำทั้งห้า.   ๔ . ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันไม่มีอาสวะ เพราะสิ้นอาสวะอยู่ในปัจจุบัน ( เป็นพระอรหันต์ ) .

   ๔. นักบวชลัทธิอื่นกล่าวหาว่า สมณศากยบุตรมีธรรมอันไม่ตั้งมั่น พึงชี้แจงว่า ธรรมะที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแก่สาวก มิให้ก้าวล่วงจนตลอดชีวิต มีอยู่ คือภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์ สิ้นอาสวะแล้วย่อมไม่ควรกล้าวล่วงฐานะ   ๙ อย่างจนตลอดชีวิต   คือ ๑. ไม่ฆ่าสัตว์โดยจงใจ   ๒. ไม่ลักทรัพย์   ๓. ไม่เสพเมถุน   ๔. ไม่พูดปดทั้งที่รู้   ๕. ไม่สะสมอาหารบริโภคเหมือนคนที่เคยเป็นเจ้าหน้าที่เรือนคลัง   ๖. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ   ๗. ไม่ลำเอียงเพราะชัง  ๘. ไม่ลำเอียงเพราะหลง   ๙. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว.

   ๕. นักบวชลัทธิอื่นอาจกล่าวหาว่า พระสมณโคดมบัญญัติญาณทัสสนะ (ความเห็นด้วยญาณ) อันไม่มีขอบเขตปรารภระยะกาลนานไกลอันเป็นอดีต ไม่ปรารภระยะกาลนานไกลอันเป็นอนาคต เพราะเป็นผู้เขลา. ญาณหยั่งรู้ความเป็นไปในชาติก่อน ปรารภอดีตกาลนานไกลของพระตถาคต มีอยู่ ปรารถนาจะระลึกเท่าใด ก็ระลึกได้เท่านั้น ส่วนญาณที่เกิดจากปัญญาตรัสรู้ ที่ปราารภอนาคตกาลนานไกล ย่อมเกิดขึ้นแก่พระตถาคตว่า ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ไม่มีการเกิดอีก.

   ก. อดีต , อนาคต , ปัจจุบัน ที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่มีประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์.
   ข. อดีต , อนาคต , ปัจจุบัน ที่จริง แท้ แต่ไม่มีประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์.
   ค. อดีต , อนาคต , ปัจจุบัน ที่จริง , แท้ มีประโยชน์ ตถาคตย่อมรู้กาลที่จะตอบปัญหานั้นในเรื่องนั้น.
   ฆ. คถาคตเป็นผู้กล่าวให้เหมาะแก่กาล , กล่าวความจริง , กล่าวสิ่งที่เป็นจริง, กล่าวแต่สิ่งมีประโยชน์ , กล่าวเป็นธรรม , กล่าวเป็นวินัย ในธรรมที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน. ฉะนั้น จึงเรียกว่าตถาคต.
   ง. ตถาคตตรัสรู้โดยชอบสิ่งซึ่งโลก พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม สมณพราหมณ์ ได้รู้แจ้งด้วยอายตนะ , ได้บรรลุ , ได้แสดงหา , ได้ตรองถึงแล้ว. ฉะนั้น จึงเรียกว่าตถาคต.
   จ. ตถาคตตรัสแสดงถึงสิ่งใดในระหว่างที่ตรัสรู้ จนถึงปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ สิ่งนั้นย่อมเป็นอย่างนั้นทั้งหมด ไม่เป็นอย่างอื่น . ฉะนั้น จึงเรียกว่าตถาคต.
   ฉ. ตถาคตพูดได้อย่างใด ทำได้อย่างนั้น ทำได้อย่างใด พูดได้อย่างนั้น. ฉะนั้น จึงเรียกว่าตถาคต.
   ช. คถาคตเป็นใหญ่ , ไม่มีใครครอบงำได้ , รู้เห็นตามเป็นจริง , เป็นผู้มีอำนาจ ( โดยคุณธรรม ). ฉะนั้นจึงเรียกตถาคต.

   ๗. ถ้านักบวชลัทธิอื่นถามว่า สัตว์ตายแล้วเกิด หรือไม่เกิด หรือว่าเกิดทั้งไม่เกิด หรือว่าเกิดก็ไม่ใช่ ไม่เกิดก็ไม่ใช่. พึงตอบว่า ข้อนั้นพระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์.

   ๗. ถ้านักบวชลัทธิอื่นถามว่า เหตุไฉนพระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ข้อนั้น ( ที่กล่าวให้ข้อ ๖ ) พึงตอบว่า เพราะไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ประกอบด้วยธรรม ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน. ถ้าถามว่าอะไรเล่าที่ทรงพยากรณ์ พึงตอบว่า ทุกข์, เหตุให้ทุกข์เกิด , ความดับทุกข์ , และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ( อริยสัจจ์ ๔). ถ้าถามว่า เหตุไฉนาพระผู้มีพระภาคจึงพยากรณ์เรื่อง ( อริยสัจจ์ ๔ ) นั้น. พึงตอบว่า เพราะประกอบด้วยประโยชน์ ประกอบด้วยธรรม เป็นไปเพื่อนิพพาน.

ไม่ทรงอนุมัติทิฏฐิต่าง ๆ เพราะเหตุไร

   ทรงแสดงว่าเรื่องที่ควรพยากรณ์ ก็ทรงพยากรณ์ ไม่ควรพยากรณ์ จะทรงพยากรณ์ทำไม ทรงแสดงทั้งทิฏฐิที่ปรารภที่สุดเบื้องต้น ทั้งทิฏฐิที่ปรารภที่สุดเบื้องปลาย ( ดูพรหมชาลสูตร หน้า ๒๙๑ - ๒๙๓ ซึ่งในพระสูตรนี้นำมากล่าวเพียงบางส่วน ) แล้วตรัสว่า ไม่ทรงอนุมัติตามคำกล่าวของสมณพราหมณ์เหล่านั้น เพราะที่ยืนยันลงไปอย่างนั้น ยังมีสัตว์ประเภทอื่นอีก ที่เป็นอย่างอื่น.

   แล้วทรงแสดงสติปัฐาน ( การตั้งสติ )   ๔ อย่างว่า เพื่อละ เพื่อก้าวล่วงทิฏฐิทั้งสองประเภทนั้น.

   พระอุปทานะยืนถวายอยู่งานพัด ณ เบื้องพระปฤษฏางค์พระพุทธเจ้า กราบทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนาว่า น่าอัศจรรย์ น่าเลื่อมใส ( ปาสาทิกะ ) พระผู้มีพระภาคจึงตรัสให้เรียกชื่อธรรมปริยายนี้ว่า “ ปาสาทิกะ ”


๑. ในตอนนี้มีคำที่ชี้ความหมาย   ๔ คือ  ๑. นีวรณ์ กิเลสอันกั้นจิตมิให้บรรลุคุณความดี  ๒. สติปัฏฐานการตั้งสติ  ๓ . โพชฌงค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ และ  ๔. อนุตตรสัมมาสัมโพธิฐาณ ญาณคือการตรัสรู้เองโดยชอบอันยอดเยี่ยม

๒. ในสำนวนบาลี เรียกจุนทะ สมณุทเทส ( สามเณรจุนทะ)เป็นคำเรียกติดปากมาจากสมัยที่ท่านเป็นสามเณร)

๓ . มีข้อน่าสังเกตในที่นี้ คือคำว่า   อุบาสก   อุบาสิกา   หรือสาวกฝ่ายคฤหัสถ์นั้น มีทั้งสองประเภท คือประเภทถือพรหมจรรย์ และประเภทครองเรือนธรรมดา

๔. นี้เป็นที่มาสำคัญ ที่แสดงว่าพระพุทธเจ้าทรงแนะให้สังคายนาให้วิจารพระธรรมที่ทรงแสดงแล้ว ดั่งที่อ้างไว้ที่ ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก )

๕. พระโสดาบันละกิเลสที่เรียกว่า สัญโญชน์ ( เครื่องร้อยรัดหรือเครื่องผูก )   ๓ อย่างคือ   ๑ . สักกายทิฏฐิ ความเห็นเป็นเหตุถือตัวตน  ๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย  ๓. สีลัพพตปรามาส ความเชื่อถือโชคลางหรือพิธีกรรม. พระอนาคามีละเพิ่มได้อีก   ๒ คือ  ๔. กามราคะ ความกำหนัดด้วยอำนาจกิเลสกาม  ๕. ปฏิฆะ ความขัดใจ. พระอรหันต์ละสังโญชน์ได้ทั้งสิบ   คือ ๕ ข้อแรกที่กล่าวมาแล้ว  และ ๖. รูปราคะ ความติดใจในรูป หมายถึงติดรูปฌาน   ๗. อรูปราคะ ความติดใจในรูปสิ่งที่มิใช่รูป หมายถึงติดอรูปฌาน   ๘. มานะ ความถือตัว  ๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งสร้าน  ๑๐. อวิชชา ความไม่รู้อริยสัจจ์   ๔ ตามเป็นจริง   ๕ ข้อแรกเรียกสัญโญชน์เบื้องต่ำ   ๕ ข้อหลังเรียกสัญโญชน์เบื้องสูง

๖. ควรดูหน้า ซึ่งนำข้อความพระไตรปิฎกเล่ม ๒๕ มาแปลด้วย

๗. ย้อนดูที่พระสุตตันตะปิฎกเล่ม ๑ หน้า ๔ หมายเลข ๖ ด้วย

๘. ย้อนดูที่พระสุตตันตะปิฎกเล่ม ๒ หน้า ๔ ด้วย


 

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ