บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



๑. หมวดใหญ่
...ตั้งแต่ตรัสรู้
...ปฐมเทศนา
...อาทิตตปริยายสูตร
...สารีบุตร-โมคคัลลานะ
...อาจริยวัตร
...ห้ามบวช
...สามเณร
...ลักษณะที่ไม่ให้บวช

๒.อุโบสถ

๓.วันเข้าพรรษา

๔.หมวดปวารณา

 

เล่มที่ ๔ ชื่อมหาวรรค (เป็นวินัยปิฎก)

              คำว่า มหาวรรค แปลว่า วรรคใหญ่ บรรจุข้อความมากถึง ๒ เล่มพระไตรปิฎก คือเล่ม ๔ และ เล่ม ๕. เฉพาะในเล่ม ๔ นี้แบ่งเป็นหมวดหรือตอนที่สำคัญ ซึ่งเรียกว่า "ขันธกะ" รวม ๔ ขันธกะ หรือ ๔ ตอน คือ

              ๑. มหาขันธกะ (หมวดใหญ่หรือตอนใหญ่) ว่าด้วยเหตุการณ์ตั้งแต่ตรัสรู้ จนถึงแสดงปฐมเทศนา, แสดงอนัตตลักขณสูตร, แสดงธรรมโปรดสกุลบุตร พร้อมทั้งครอบครัวและมิตรสหาย, แสดงธรรมโปรดภัททวัคคียกุมาร ๓๐ คน, แสดงอาทิตตปริยายสูตรโปรดชฏิลพันรูป, แสดงธรรมโปรดพระเจ้าพิมพิสาร, พระสาริบุตร พระโมคคัลลานะออกบวช อุปัชฌายวัตร (ข้อปฏิบัติต่อท่านผู้บวชให้), สัทธิวิหาริกวัตร (ข้อปฏิบัติต่อศิษย์ที่ตนบวชให้), การประณาม (ขับไล่), กรขอขมา, การบวชด้วยญัตติจตุตถกรรม, การบอกนิสสัย ๔, อาจริยวัตร (ข้อปฏิบัติต่ออาจารย์), อันเตวาสิกวัตร (ข้อปฏิบัติต่อภิกษุที่เป็นศิษย์ผู้อยู่ในปกครอง), นิสสัยระงับ, ผู้ควรให้บวช, การอบรมผู้เคยเป็นเดียรถีย์ก่อนให้บวช, ภัณฑุกรรม, การขาดคุณสมบัติในการบวช, การบวชสามเณร, สิกขาบท และการลงโทษสามเณร, ผู้ที่ห้ามบวช, วิธีการในการอุปสมบท, และเรื่องของภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงโทษ เพราะไม่เห็นความผิด (อาบัติ).

              ๒. อุโบสถขันธกะ (หมวดหรือตอนว่าด้วยอุโบสถ) กล่าวถึงการฟังธรรม, การสวดปาฏิโมกข์ในวันอุโบสถ, การสมมติสีมา, การสมมติโรงทำอุโบสถ, ปัญหาเรื่องสีมา, การสวดปาฏิโมกข์ย่อ, การอนุญาตให้เรียนปักขณนา, ส่วนประกอบอื่น ๆ ในกรปฏิบัติก่อนสวดปาฏิโมกข์ การนับวันอุโบสถและบุคคลที่ไม่อนุญาตให้ทำอุโบสถ.

              ๓. วัสสูปนายิกาขันธกะ (หมวดหรือตอนว่าด้วยวันเข้าพรรษา) การจำพรรษา, วันเข้าพรรษา ๒ อย่าง, การเลื่อนวันเข้าพรรษาให้เร็วเข้า, การเดินทางกลับภายใน ๗ วัน, อันตรายของภิกษุผู้จำพรรษา, การจำพรรษาในที่ต่าง ๆ และอาบัติทุกกฏเพราะรับคำแล้วไม่ทำตามถ้อยคำเกี่ยวกับการจำพรรษา.

              ๔. ปวารณาขันธกะ (หมวดหรือตอนว่าด้วยการปวารณา คือการอนุญาตให้ภิกษุอื่นว่ากล่าวตักเตือนได้) ว่าด้วยรายละเอียดต่าง ๆ ที่พึงทราบและพึงปฏิบัติเกี่ยวกับการปวารณา.

              นี้เป็นใจความย่อแห่งพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค วินัยปิฎก.

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ