บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



๑. หมวดใหญ่
...ตั้งแต่ตรัสรู้
...ปฐมเทศนา
...อาทิตตปริยายสูตร
...สารีบุตร-โมคคัลลานะ
...อาจริยวัตร
...ห้ามบวช
...สามเณร
...ลักษณะที่ไม่ให้บวช

๒.อุโบสถ

๓.วันเข้าพรรษา

๔.หมวดปวารณา

 

๔.ปวารณาขันธกะ (หมวดปวารณา)

              เล่าเรื่องภิกษุที่จำพรรษาในแคว้นโกศล ตั้งกติกา ไม่พูดกัน ใช้วิธีบอกใบ้ หรือใช้มือแทนคำพูด เมื่อออกพรรษาแล้วไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ตรัสถาม ทราบความแล้ว ก็ทรงติเตียน และทรงอนุญาตการปวารณา (คือการอนุญาตให้ภิกษุอื่นว่ากล่าวตักเตือนได้) ในเมื่อจำพรรษาแล้ว โดยให้สวดประกาศตั้งญัตติ แล้วให้ภิกษุพรรษาแก่กว่าปวารณาก่อน ๓ ครั้ง ภิกษุพรรษาอ่อนปวารณาทีหลัง.

              ทรงห้ามไม่ให้นั่งลงกับพื้น (คงนั่งกระหย่ง) จนกว่าจะปวารณาเสร็จ คือให้ทุกรูปนั่งกระหย่ง รูปไหนเสร็จก่อนก็นั่งลงกับพื้นได้.

              ทรงแสดงวันปวารณาว่ามี ๒ คือ วัน ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ และทรงแสดงปวารณา ๔ อย่าง คือปวารณาแยกกันที่ไม่เป็นธรรม, ปวารณารวมกันที่ไม่เป็นธรรม, ปวารณาแยกกันที่เป็นธรรม, ปวารณารวมกันที่เป็นธรรม แล้วตรัสสอนให้ปวารณาเฉพาะรวมกันที่เป็นธรรม.

              แล้วทรงแสดงการบอกปวารณา (ใช้ให้ผู้อื่นปวารณาแทน) ของภิกษุผู้เป็นไข้ มีลักษณะคล้ายบอกบริสุทธิ์หรือฉันทะในเรื่องปาฏิโมกข์.

              และทรงอนุญาตให้ปวารณาเป็นการสงฆ์ต่อเมื่อมีภิกษุ ๕ รูปขึ้นไป ภิกษุ ๔ รูปลงมาถึง ๒ รูป ให้ปวารณากันเอง (เป็นส่วนบุคคล). ถ้ามีรูปเดียวให้อธิษฐาน คือตั้งใจว่าวันนี้เป็นวันปวารณา.

              ทรงแสดงการปวารณาไปโดยไม่รู้ว่ายังมีภิกษูอื่นมาไม่ครบ ๑๕ ประเภทที่ไม่ต้องอาบัติ และแสดงเงื่อนไขอื่น ๆ เหมือนเรื่องอุโบสถ.

              อนึ่ง ทรงห้ามภิกษุที่ยังมีอาบัติมิให้ปวารณา ถ้าขืนปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ. ทรงอนุญาตให้ขอโอกาสแล้วโจทอาบัติได้. ถ้าภิกษุผู้ต้องอาบัติ ไม่ยอมให้โอกาสเพื่อโจทอาบัติ ให้สงฆ์สวดประกาศหยุดการปวารณาไว้ อ้างเหตุว่า ผู้นั้นผู้นี้ยังมีอาบัติอยู่. แล้วทรงแสดงลักษณะที่หยุดการปวารณาไว้ หรือหยุดไม่ได้ (เพราะปวารณาไปแล้ว) เป็นต้น.

              มีภิกษุทื่อื่นประสงค์จะมาก่อการทะเลาะ หรือก่อให้เกิดอธิกรณ์ ทรงอนุญาตให้รีบปวารณาเสียให้เสร็จก่อนที่ภิกษูเหล่านั้นจะมา ถ้าทำอย่างนั้นไม่ได้ ให้สวดปาฏิโมกข์แทน โดยเลื่อนวันปวารณาออกไปอีกปักษ์หนึ่ง (๑๕ วัน) ถ้าภิกษุที่ก่อเรื่องยังพักอยู่จนถึงปวารณาที่เลื่อนไปนั้น ให้สวดประกาศเลื่อนการปวารณาออกไปได้อีกปักษ์หนึ่ง แล้วสวดปาฏโมกข์แทน. ถ้าภิกษุเหล่านั้นยังพักอยู่อีก แม้ไม่ประสงค์จะปวารณา ก็ต้องปวารณาหมดทุกรูป (เลื่อนอีกไม่ได้)

              สงฆ์อยู่ด้วยกันเป็นผาสุก ถ้าปวารณาแล้วจะแยกย้ายจากกันไป ทรงอนุญาตให้เลื่อนวันปวารณาไปได้อีก ๑ เดือน.

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ