พระวิสุทธิมรรค


 หน้าแรก
 สารบาญ เล่ม ๑
 สารบาญ เล่ม ๒
 สารบาญ เล่ม ๓

อารัมภกถา-พุทธโฆสุปัตติ
วิจารณ์
ศีลนิเทศ
ธุดงคนิเทศ
สมาธินิเทศ
กสิณ ๑๐
อสุภ ๑๐
อนุสสติ ๑๐
อัปปมัญญาพรหมวิหาร ๔
อรูปกัมมัฏฐาน ๔
อาหาเรปฏิกูลสัญญา
จตุธาตุววัตถาน



แผนที่วิสุทธิมรรค


 พระไตรปิฎก
 ฉบับประชาชน
 ฉบับปฏิบัติ
 ลานพุทธศาสนา
 เสียงธรรม
 พจนานุกรมฉบับประมวลศัพท์
 ไทย-อังกฤษ
 อังกฤษ-ไทย
 ฉบับประมวลธรรม


  แวะเซ็นติชมหน่อยนะค่ะ



 
   เล่ม ๓ หน้า ๑๒

   ปัญญาพิจารณาเห็นว่า กิริยาที่รูปธรรมแลอรูปธรรม แต่บรรดาที่บังเกิดแล้วแลประพฤติเป็นไปในภพเสวยทุกขเวทนามีประการต่าง ๆ ไม่รู้หมดรู้สิ้นนั้น ก็เป็นภัยอันใหญ่หลวง เป็นภัยอันพิลึกควรจะขนพองสยองเศียร ควรจะตระหนกตกใจกลัวเป็นกำลัง เห็นภัยดังนี้ ก็จัดเป็นอาทีนวญาณประการ ๑

   ปัญญาอันพิจารณาเห็นนิมิต คือเห็นสังขารธรรมว่าเป็นภัยอยู่เองโดยปกติธรรมดา ถึงภัยอื่น ๆ ไม่มีมา หาภัยอื่นจะเบียดเบียนบ่มิได้ สังขารนั้นก็จะเบียดเบียนตนเองอยู่เป็นภัยอยู่เองโดยสภาวะปกติ ปัญญาพิจารณาเห็นสังขารธรรมว่าเป็นภัยอย่างนี้ ก็จัดเป็นอาทีนวญาณประการ ๑

   “อายุหนาภยํ” ปัญญาที่พิจารณาเห็นกุสลกุสลากรรม ซึ่งเป็นเหตุเป็นปัจจัยตกแต่งปฏิสนธิในเบื้องหน้า ๆ ว่าเป็นภัยย่ำยีบีฑาสรรพสัตว์ทั้งปวงนี้ ก็จัดเป็นอาทีนวญาณประการ ๑

   “ปฏิสนฺธิภยํ” ปัญญาที่พิจารณาเห็นปฏิสนธิวิญญาณว่าเป็นภัยนั้น ก็จัดเป็นอาทีนวญาณประการ ๑

   “คติภยํ” ปัญญาที่พิจารณาเห็นปฏิสนธิคติทั้ง ๕ คือ นิรยคติ เปตคติ ติรัจฉานคติ มนุสสคติ เทวคติ ว่าเป็นภัยเบียดเบียนบีฑานั้นก็จัดเป็นอาทีนวญานประการ ๑

   “นิพฺพตฺติภยํ” ปัญญาที่พิจารณาเห็นว่ากิริยาที่บังเกิดในกำเนิดแลวิญญาณฐิติ แลสัตตาวาสนั้นเป็นภัยแท้ั ๆ ถึงจะบังเกิดขึ้นไม่มีนามธรรมเลย คงบังเกิดแต่รูปธรรมเหมือนอย่างสัตว์ในอสัญีภพนั้นก็คงเป็นภัยอยู่ เที่ยงแท้

   อนึ่งไม่มีรูปธรรมเลย คงบังเกิดแต่นามธรรมเหมือนอย่างสัตว์อรูปภพนั้น ก็คงเป็นภัยอยู่โดยปกติธรรมดา จะปราศจากภัยนั้นหาบ่มิได้ขึ้นชื่อว่าบังเกิดขึ้นแล้ว ก็มีแต่ภัยนั้นแลเป็นเบื้องหน้าปัญญาที่พิจารณาเห็นกิริยาที่ขันธ์บังเกิด ในกำเนิดแลวิญญาณฐิติแลสัตตาวาสว่าเป็นภัยอย่างนี้ก็จัดเป็นอาทีนวญาณประการ ๑

   “อุปฺปตฺติภยํ” ปัญญาพิจารณาเห็นวิบากปวัตติ คือเห็นว่ากิริยาที่วิบากจิตให้สำเร็จผลในปวัตติกาลโดยสมควรแก่กรรมนั้น เป็นภัยอันพิลึกย่ำยีบีฑาสรรพสัตว์สิ้นทั้งปวงเห็นอย่างนี้ก็จัดเป็นอาทีนวญาณประการ ๑

   “ชาติภยํ” ปัญญาที่พิจารณาเห็นชาติอันบังเกิดเป็นปัจจัยแก่ชราเป็นอาทิว่า เป็นภัยอันพิลึกนั้น ก็จัดเป็นอาทีนวญาณประการ ๑

   “ชราภยํ”ปัญญาที่พิจารณาเห็นความขราว่าเป็นภัยนั้น ก็จัดเป็นอาทีนวญาณประการ ๑

   “พฺยาธิภยํ” ปัญญาที่พิจารณาเห็นพยาธิทุกข์ อันเบียดเบียนบีฑาสัตว์ทั้งปวงว่าเป็นอาทีนวญาณประการ ๑

   “มรณภยํ” ปัญญาที่พิจารณาเห็นมรณะอันสังหารผลาญชีวิตสัตว์ว่าเป็นภัยอันพิลึกนั้น ก็จัดเป็นอาทีนวญาณประการ ๑

   เห็นโศกทุกข์ว่าเป็นภัย เห็นปริเทวทุึกขโทมนัสว่าเป็นภัยเห็นอุปายาสทุกข์เป็นภัยนั้น ก็จัดเป็นอาทีนวญาณประการ ๑

   มีพระพุทธฎีกาโปรดประทานพระสัทธรรมเทศนา ยกเอาปัญญาที่เห็นภัยนั้น มาสำแดงเป็นอาทีนวญาณด้วยประการฉะนี้ เพราะเหตุัว่ากิริยาที่เห็นภัยกับเห็นโทษนี้จะได้ไกลกันหาบ่มิได้ เมื่อเห็นภัยแล้วก็เห็นโทษ ๆ แล้วก็เห็นภัย ภัยกับโทษนั้นอรรถอันเดียวกันต่างกันแต่พยัญชนะ พึงรู้เถิดว่า ภยตูปัฏฐานกับอาทีนวญาณนี้ ต่างกันแต่ชื่อต่างกันแต่พยัญชนะ มีอัตถาธิบายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

   มีพระพุทธฎีกาตรัสเทศนาอาทีนวญาณ ด้วยประการฉะนี้แล้วลำดับนั้นจึงตรัสเทศนาสำแดงสันติปทญาณ อันมีอารมณ์เป็นปฏิปักษ์กับอารมณ์แห่งอาทีนวญาณนั้นสืบไปว่า

   “อนุปฺปาโท เขมนฺติ สนฺติปเท ญาณํ อปฺปวติตํ ฯ เป ฯ อนุปฺปายาโส เขมนฺติ สนฺติปเท ญาณํ”

   อธิบายว่า ปัญญาอันพิจารณาเห็นว่ากิริรยาที่ไม่บังเกิดอีกนั้นแล เป็นเกษมปราศจากภัย พิจารณาเห็นอย่างนี้ ได้ชื่อว่าสันติปทญาณประการ ๑

   อธิบายว่า ปัญญานั้นน้อมไปสู่พระนิพพาน อันเป็นที่ระงับสังขารธรรมทั้งปวง เหตุดังนี้ จึงเรียกว่าสันติปทญาณ

   ใช่แต่เท่านั้น ปัญญาที่พิจารณาเห็นว่ากิริยาที่รูปธรรมแลอรูปธรรม บ่ิมิได้ประพฤติเป็นไปในภพนี้ แลเป็นที่เกษมปราศจากภัยพิจารณาเห็นอย่างนี้ ก็ได้ชื่อว่าสันติปทญาณเหมือนกัน

   ใช่แต่เท่านั้น ปัญญาอันพิจารณาเห็นว่ากิริยาที่นิมิต คือหาสังขารธรรมบ่มิได้ สังขารธรรมสิ้นสูญไปไม่มีสืบต่อไปอีกนั้น ได้ชื่อว่าเกษมปราศจากภัยด้วยแท้

   ถ้ายังมีสังขารธรรมอยู่ตราบใด ก็ได้ชื่อว่ามีภัยอยู่ตราบนั้น ถ้าไม่มีสังขารธรรม ขาดจากสังขารธรรมแล้วกาลใด ก็ได้ชื่อว่าถึงที่เกษมปราศจากภัยในกาลนั้น

   ปัญญาอันพิจารณาเห็นว่ากิริยาที่หาสังขารธรรมบ่มิไเด้นั้น ได้ชื่อว่าถึงที่อันเกษมปราศจากภัย เห็นอย่างนี้ ก็ได้ชื่อว่าสันติปทญาณประการ ๑

   อนึ่ง ปัญญาอันพิจารณาเห็นว่ากุสลากุสลกรรม ซึ่งเป็นเหตุเป็นปัจจัยตกแต่งปฏิสนธิในภพเบื้องหน้านั้น ถ้าไม่มีในสันดานแห่งสัตว์จำพวกใด สัตว์จำพวกนั้น ก็ได้ชื่อว่าถึงที่เกษมปราศจากภัยเป็นแท้ ปัญญาพิจารณาเห็นฉะนี้ ก็ได้ชื่อว่าสันติปทญาณประการ ๑

   ปัญญาที่พิจารณาเห็นว่า ถ้าหาปฏิสนธิวิญญาณบ่มิได้ สิ้นปฏิสนธิวิญญาณแล้วก็ได้ชื่อว่าเกษมปราศจากภัยเป็นแท้ ปัญญาพิจารณาเห็นอย่างนี้ก็จัดเป็นสันติปทญาณประการ ๑

   ปัญญาพิจารณาเห็นว่าชาติบ่มิได้ ไม่เวียนเอาชาติสิ้นชาติแล้วก็ได้ชื่อว่าเกษมปราศจากภัย เห็นอย่างนี้ ก็จัดเป็นสันติปทญาณประการ ๑

   ปัญญาพิจารณาเห็นว่าหาชราบ่มิได้ สิ้นแก่สิ้นชรานั้นก็ได้ชื่อว่าเกษมปราศจากภัย เห็นอย่างนี้ ก็ได้ชื่อว่าสันติปทญาณประการ ๑

   ปัญญาพิจารณาเห็นว่าถ้าหากโรคาพยาธิบ่มิได้พ้นจากโรคาพยาธิ สิ้นจากพยาธิแล้ว ก็ได้ชื่อว่าเกษมปราศจากภัย เห็นอย่างนี้ก็ได้ชื่อว่า สันติปทญาณประการ ๑

   ปัญญาพิจารณาเห็นว่า ถ้าหามรณะบ่มิได้ไม่เวียนตายต่อไปแล้วก็ได้ชื่อว่าเกษมปราศจากภัย เห็นอย่างนี้ ก็ได้ชื่อว่าสันติปทญาณประการ ๑

   ปัญญาพิจารณาเห็นว่า สิ้นความโศกเศร้าแล้ว ก็ได้ชื่อว่าเกษมนิราศภัย เห็นอย่างนี้ ก็จัดเป็นสันติปทญาณประการ ๑

   ปัญญาพิจารณาเห็นว่า ถ้าหาปริเทวนาการบ่มิได้ ตัดความร้องไห้ร่ำไรขาดแล้ว ไม่รู้ร้องไห้ต่อไปอีกแล้วกาลใด ก็ได้ชื่อว่าเกษมนิราศภัย ในกาลนั้น ปัญญาเห็นอย่างนี้ ก็ได้ชื่อว่าสันติปทญาณประการ ๑

   ปัญญาพิจารณาเห็นว่า ถ้าปราศจากสะอื้นอาลัยสิ้นสุดแล้ว ตัดสะอื้นอาลัยขาดแล้ว ก็ได้ชื่อว่าถึงที่เกษมนิราศภัย เห็นอย่างนี้ก็ได้ชื่อว่าสันติปทญาณประำการ ๑

   นักปราชญ์พึงสันนิษฐานว่า สันติปทญาณนี้น้อมไปสู่พระนิพพานพิจารณาเอาคุณพระนิพพาน ที่ปราศจากทุกข์ ปราศจากภัยนั้นเป็นอารมณ์ฝ่ายว่าอาทีนวญาณนั้น พิจารณาเอาทุกข์เอาภัยเป็นอารมณ์ ตกว่าปัญญาทั้งสองนี้มีอารมณ์นั้นผิดกันอยู่ฉะนี้ เหตุดังนั้นพระผู้เป็นเจ้าพุทธโฆษาจารย์ จึงสำแดงอรรถาธิบายว่า สันติปทญาณนี้มีอารมณ์เป็นปฏิปักษ์กันกับอารมณ์แห่งอาทีนวญาณ ถ้าจะนับโดยพิสดารนั้นอาทีนวญาณที่พิจารณาเห็นภัยนี้นับได้ ๑๕ ประำการ ด้วยสามารถบท ๑๕ แต่ทว่าบททั้ง ๒ คือ นิพฺพตฺติกยํ ๑ ชาติภยํ ๑ ทั้ง ๒ บทนี้เป็นคำเปลี่ยนแห่งบทเบื้องต้น คือ “อุปฺปาโท ภยํ”

   บททั้ง ๒ คือ คติภยํ ๑ อุปตฺติภยํ ๑ ทั้งสองบทนี้เป็นคำเปลี่ยนแห่งบท คือ “ปวตฺติภยํ” บท ๖ บท คือ ชราภยํ ๑ พยาธิภยํ ๑ มรณภยํ ๑ โสโกภยํ ๑ ปริเทวภยํ ๑ อุปายาโสภยํ ๑ ทั้ง ๖ บทนี้เป็นคำเปรียบแห่งบท คือ “นิมิตฺตภยํ”

   อาศัยเหตุที่เป็นคำเปลี่ยนเสีย ๑๐ บทแล้ว ยังคงอยู่ ๕ บท คือ อุปฺปาโทภยํ ๑ ปวตฺติภยํ ๑ นิมิตฺตภยํ ๑ อายุหนาภยํ ๑ ปฏิสนฺธิภยํ ๑ ทั้ง ๕ บทนี้เป็นวัตถุอาทีนวญาณ

   นักปราชญ์ผู้จะนับอาทีนวญาณ ที่พิจารณาเห็นเป็นภัยนั้นพึงนับเอาแต่ ๕ ประการ นับเอาตามบทที่จัดเป็นวัตถุ แห่งอาทีนวญาณนั้น บทที่เป็นคำเปลี่ยน ๑๐ บทนั้น อย่านับเอาเลยเพราะย่อเข้าเสียในบท ๕ บท นั้นแล้ว

   ถึงในสันติปทญาณนั้นก็ย่อเสีย ๑๐ บท นับเอาแต่ ๕ บท นับสันติปทญาณแต่ ๕ ประการ พึงถือเอาอาทีนวญาณนั้นเป็นเยี่ยงอย่างเถิด

   สมเด็จพระมหากรุณาเมื่อตรัสเทศนาสันติปทญาณ โดยนัยดังวิสัชนามาฉะนี้แล้ว ลำดับนั้นจึงตรัสเทศนาอาทีนวญาณซ้ำอีกเล่า อาทีนวญาณที่ตรัสเทศนาซ้ำอีกเล่านี้ มีอารมณ์ต่างกันกับอาทีนวญาณที่ตรัสวิสัชนาในที่เดิม ๆ นั้น พิจารณาโดยนัยอาทีนวญาณ ที่ตรัสเทศนาอีกเล่านี้ พิจารณาโดยทุกขังว่า

   “อุปฺปาโท ทุกฺขนฺติ ภยตูปฎฺเน ปญฺญา อาทีนเว ญาณํ ปวตฺตํ ฯลฯ อุปายาโส ทุกขนฺติภยตูปฎฺาเน ปญฺญา อาทีนเว ญาณํ”

   อธิบายว่า ปัญญาที่พิจารณาเห็นว่า “อุปฺปาโท ทุกฺข” กิริยาที่บังเกิดแล้ว ๆ เล่า ๆ ไม่สิ้นไม่สุดไม่หยุดไม่ยั้งนี้ เป็นทุกข์อันใหญ่แห่งสรรพสัตว์ทั้งปวง พิจารณาเห็นอย่างนี้ จัดเป็นอาทีนวญาณประการ ๑

   ปัญญาพิจารณาเห็นว่า “ปวตฺติทุกฺขํ” กิริยาที่รูปธรรมแลอรูปธรรม แต่บรรดาที่บังเกิดแล้ว แลประพฤติเป็นไปในไตรภพนี้ประกอบไปด้วยทุกข์เป็นอันมากยิ่งนัก ไม่รู้หมดไม่รู้สิ้น เห็นอย่างนี้ก็จัดเป็นอาทีนวญาณประการ ๑

   ปัญญาที่พิจารณาเห็นว่า สังขารธรรมมากไปด้วยทุกข์นั้นก็ดี พิจารณาเห็นว่ากุสลากุสลกรรม ที่เป็นปัจจัยตกแต่งปฏิสนธิในเบื้องหน้านั้นเป็นกองทุกข์ก็ดี พิจารณาเห็นว่าปฏิสนธิเป็นกองทุกข์ก็ดี พิจารณาเห็นว่าเป็นกองทุกข์ก็ดี เห็นว่าบังเกิดกในกำเนิด ๔ วิญญาณฐิติ ๗ สัตตาวาส ๙ เป็นกองทุกข์นั้นก็ดี พิจารณาเห็นว่ากิริยาที่วิบากจิตให้สำเร็จผลเป็นกองทุกข์ก็ดี เห็นว่ากิริยาที่เวียนเอาชาติกำเนิดเป็นกองทุกข์ สภาวะโศกเศร้าเป็นกองทุกข์ กิริยาที่ร้องไห้ร่ำไรเป็นกองทุกข์กิริยาที่สะอื้นไห้เป็นกองทุกข์สิ้น ทั้งปวงนี่แต่ล้วนจัดเป็นอาทีนวญาณและอัน ๆ นับอาทีนวญาณที่พิจารณาเห็นทุกข์โดยนัยพิสดารได้ถึง ๑๕ ประการ ตามบท ๑๕ บทนั้น แต่ทว่าให้นับเอาแต่ ๕ ย่อบท ๑๐ บทที่เป็นคำเปลี่ยนเข้าเสียตามนัยหนหลัง

   เมื่อสำแดงอาทีนวญาณ อันพิจารณาเห็นกองทุกข์โดยสังเขป คือ รวมเข้าเสียสำแดงแต่ ๕ ประการเสร็จแล้ว ลำดับนั้นจึงสำแดงสันติปทญาณสืบต่อไปตามนัยไปยาลว่า   “อนุปฺปาโท สุขนฺติ ขนฺติ ปเท ญาณํ อปฺปวตฺตํ ฯ เป ฯ อนุปฺปายาโส สุขนฺติ สนฺปเทติ ญาณํ”  

   อธิบายว่า ปัญญาอันพิจารณาเห็นว่า กิริยาที่สิ้นภพสิ้นชาติบ่มิได้บังเกิดสืบไปนี้เเลเป็นสุขแท้ ปัญญาเห็นฉะนี้ จัดเป็นสันติปทญาณประการ ๑

   ปัญญาพิจารณาเห็นว่า ถ้ารูปธรรมแลอรูปธรรมบ่มิได้ประพฤติเป็นไปในไตรโลกแล้วก็จัดเป็นสุขโดยแท้ เห็นฉะนี้จัดเป็นสันติปทญาณประการ ๑

   ปัญญาพิจารณาเห็นว่า หาสังขารธรรมมิได้สิ้นสูญขาดจากสังขารธรรมแล้วก็เป็นสุขแท้ เห็นฉะนี้จัดเป็นสันติปทญาณประการ ๑

   ปัญญาพิจารณาเห็นว่า ถ้ากุสลากุสลกรรมจะตกแต่งปฏิสนธิบ่มิได้แล้วก็เป็นสุขแท้ เหตุฉะนี้ จัดเป็นสันติปทญาณประการ ๑

   ปัญญาพิจารณาเห็นว่าหาปฏิสนธิคติบ่มิได้เป็นสุขแท้นั้นก็ดี

   เห็นว่าถ้าไม่บังเกิดในกำเนิด ๔ ไม่บังเกิดในวิญญาณฐิติ ๗ แลสัตตาวาส ๙ แล้วก็เป็นสุขแท้ เห็นอย่างนั้นก็ดี

  เห็นว่าถ้าวิบากจิตบ่มิอาจให้สำเร็จผลได้ ตัดวิบากขาดนี้แลเป็นสุขแท้เห็นอย่างนี้ก็ดี

   เห็นว่าถ้าไม่เวียนเอาชาติสืบต่อไปแล้วก็เป็นสุขแท้ เห็นอย่างนั้นก็ดี

   เห็นว่าหาชราบ่มิได้เป็นสุขแท้ก็ดี เห็นว่าหาพยาธิบ่ได้ เป็นสุขแท้ก็ดี เห็นว่าหามรณะบ่มิได้เป็นสุขแท้ก็ดี เห็นว่าหาความโศกบ่มิได้เป็นสุขแท้ก็ดี เห็นว่าหาปริเทวทุกข์บ่มิได้เป็นสุขแท้ก็ดี เห็นขาดจากสะอื้นอาลัยเป็นสุขแท้ก็ดี ปัญญาพิจารณาเห็นต่าง ๆ อย่างสำแดงมาฉะนี้ แต่ล้วนจัดเป็นสันติปทญาณแต่ละอัน ๆ นับโดยพิสดารได้ ๑๕ ประการ แต่ทว่ารวบเข้าเสียคงยกขึ้นสำแดงแต่ ๕ ประการเหมือนด้วยสันติปทญาณที่สำแดงแล้วแต่หลัง

   ลำดับนั้น จึงมีพระพุทธฏีกาตรัสเทศนาสำแดงอาทีนวญาณซ้ำอีกเล่ามีลำดับแห่งบทนั้นหมือนนัยหนหลัง แปลกกันแต่วิธีที่พิจารณา

   ในวารเป็นปฐมนั้น อาทีนวญาณ พิจารณาเห็นว่าอาการมีความบังเกิดเป็นต้น แต่ล้วนเป็นภัยสิ้นทั้งปวง

   ในวารเป็นคำรบ ๒ นั้น อาทีนนวญาณพิจารณาเห็นว่าอาการมีบังเกิดเป็นต้นแน่ แต่ล้วนเป็นทุกข์สิ้นทั้งปวง

   ในวารเป็นคำรบ ๓ ที่สำแดงบัดนี้ อาทีนวญาณพิจารณาเห็นว่าอาการทั้งปวง มีบังเกิดสืบต่อไปเป็นต้นนั้น แต่ล้วนประกอบไปด้วยอามิสทั้งปวง

   อามิสนั้นประสงค์เอาธรรม ๓ ประการ คือ

   กิริยาที่เวียนไปในสงสาร ก็จัดเป็นอามิสประการ ๑

   ขันธาทิโลก ก็จัดเป็นอามิสประการ ๑

   กิเลสธรรมทั้งปวง ก็จัดเป็นอามิสประการ ๑

   เป็นใจความว่า ปัญญาพิจารณาเห็นอาการทั้งปวงมีบังเกิดสืบต่อไปเป็นต้น มีสะอื้นอาลัยเป็นที่สุดว่าประกอบด้วยอามิสนั้นจัดเป็นอาทีนวญาณแต่ละอัน ๆ นับโดยบท ๑๕ มี  “อุปฺปาโท สามิสํ”  เป็นต้นมี  “อุปฺปายาโส สามิสํ”  เป็นที่สุดนั้นได้อาทีนวญาณถึง ๓๕ แต่ทว่ารวบเข้าเสีย ๑๐ บท นับเอาแต่ ๕ บทในเบื้องหน้าตกว่านับเอาอาทีนวญาณแต่ ๔ ประการโดยนัยหนหลัง

   เมื่อสำแดงอาทีนวญาณ ด้วยประการอันประกอบด้วยอามิสจบลงแล้วลำดับนั้นจึงสำแดงสันติปทญาณ อันเป็นไปด้วยอาการอันพิจารณาเห็นว่ากิริยาที่ไม่บังเกิดสืบไปเป็นต้น ตราบเท่าจนถึงกิริยาที่ขาดจากสะอื้นอาลัยเป็นที่สุดนั้น แต่ล้วนปราศจากอามิสทั้ง ๓ ประกอรคือ ปราศจากกิริยาที่เวียนไปในสงสารประการ ๑ ปราศจากขันธาทิโลกประการ ๑ ปราศจากกิเลสประการ ๑

   เมื่อสำแดงสันติปทญาณ อันพิจารณาซึ่งอาการอันปราศจากอามิสโดยบท ๑๕ มี  “อนุปฺปาโท นิรามิสํ”  เป็นอาทิ มี  “มีอนุปฺปายาโส นิรามิสํ”  เป็นที่สุด รวบเข้าเสีย ๑๐ บทนับเอาแต่ ๕ บทในเบื้องต้น คงนับสันติปทญาณแต่ ๕ ประการเสร็จแล้ว ลำดับนั้นจึงสำแดงอาทีนวญาณด้วยบท ๑๕ บทอีกเล่า มี  “อุปฺปายาโส สงฺขารา”  เป็นต้น มี  “อุปฺปาโท สงฺขารา”  เป็นที่สุด

   อธิบายว่าอาทีนวญาณนั้น พิจารณาเห็นว่ากิริยาที่บังเกิดสืบต่อไปไม่สิ้นไม่สุด เกิดแล้วเกิดเล่านั้นมิใช่อื่น คือสังขารธรรม

   วัตถุที่บังเกิดแล้วแลประพฤติเป็นไปในภพ เสวยทุกขเวทนามีประการต่าง ๆ นั้น ก็มิใช่อื่นคือสังขารธรรมตลอดไปจนถึงอุปายาสทุกข์อันมีลักษณะให้อาลัยนั้นแต่ล้วนเป็นสังขารธรรมสิ้นทั้งนั้น จะได้เป็นอื่นหาบ่มิได้

   ในวาระอันนี้ ก็รวบบท ๑๐ บทเข้าเสีย นับเอาแต่ ๕ บทในเบื้องต้น คงนับเอาทีนวญาณแต่ ๕ ประการโดยนัยหนหลัง

   เมื่อสำแดงอาทีนวญาณด้วยอาการอันพิจารณา ซึ่งกิริยาที่บังเกิดเป็นต้นว่าเป็นสังขารธรรมจบลงแล้ว ลำดับนั้นจึงสำแดงสันติปทญาณอันเป็นไปด้วยอาการอันพิจารณาเห็นว่า กิริยาที่ไม่บังเกิดสืบไปเป็นต้นตราบเท่าจนถึงกิริยาที่ขาดจากสะอื้นอาลัยเป็นที่สุดนั้น แต่ล้วนเป็นนิพพานอื่นด้วยกัน จะเป็นสิ่งอื่นหาบ่มิได้

   ในวาระอันนี้ก็รวบบท ๑๐ บทเข้าเสีย นับเอาแต่ ๕ บท ในเบื้องต้น คงนับสันติปทญาณแต่ ๕ ประการเหมือนนัยหนหลัง

   เมื่อสำแดงสันติปทญาณโดยสทุธิกนัยจบลงแล้ว ลำดับนั้นจึงสำแดงสันติปทญาณโดยมิสกนัยว่า

   “อุปฺปาโท สงฺขารา อนุปฺปาโท นิพฺพานนฺติ สนฺติปเท ญาณํ ปวตฺตํ ฯ เป ฯ อุปฺปายาโส สงฺขารา อนุปฺปายาโส นิพฺพานนฺติ สนฺติปเท ญาณํ”  

   อธิบายว่า ปัญญาที่พิจารณาเห็นว่า กิริยาที่บังเกิดสืบต่อไปนั้นเป็นสังขารธรรม กิริยาที่ไม่บังเกิดสืบต่อไปนั้นเป็นนิพพาน ปัญญาพิจารณาเห็นดังนั้น ตลอดไปตราบเท่าถึงปัญญา อันพิจารณาเห็นว่าสะอื้นอาลัยเป็นสังขารธรรม ปราศจากสะอื้นอาลัยเป็นนิพพานตลอดถึงบทที่จัดเป็นสันติปทญาณแต่ละอัน ๆ แต่ทว่าควรจะรวบเสีย ๑๐ บท เพราะเหตุเป็นคำเปลี่ยน ควรจะนับเป็นสันติปทญาณแต่ ๕ บทในเบื้องต้น ประดุจนัยที่สำแดงแล้วแต่หลัง

   สิริอาทีนวญาณ จำเดิมแต่บทวาระเป็นปฐมนั้นมา เป็นอาทีนวญาณ ๒๐ ทัศ ฝ่ายสันติปทญาณนั้น สิริแต่ต้นมาเป็นสันติปทญาณ ๒๕ แต่ทว่าภัยแลทุกข์แลอามิสแลสังขารนั้น เป็นเววจนะแห่งกัน ต่างกันแต่พยัญชนะอรรถาธิบายบ่มิได้ต่างกัน เหตุฉะนี้ ถึงทีเมื่อจะสำแดงสังเขปนั้น ท่านย่อมย่นเข้าเสียนับเอาอาทีนวญาณคงอยู่ด้วยแต่ ๕ สันติปทญาณก็คงอยู่แต่ ๕ ประการ ประสมเข้าเป็นปัญญา ๑๐ สมด้วยบทพระคาถาว่า

   อุปฺปทญฺจ ปวตฺตญฺจ  นิมิตฺตํ ทุกฺขนฺติ ปสฺสติ 

   อายุหนํ ปฏิสนฺธึ   ญาณํ อาทีนเว อิทํ 

   อานุปฺปาทํ อปฺปาวตฺตํ   อนิมิตฺตํ สุขนฺติ จ 

   อานายุหนา ปฏิสนฺธิ   ญาณํ สนฺติปเท อิทํ 

   อาทีนเว ญาณญฺจ   ปญฺจฏาเนสุ ชายติ 

   ปญฺจฏฺาเน สนฺติปเท   ทสญฺญาเณ ปชานาติ 

   ทฺวินฺนํ ญาณานํ กุสลาตา  นานาทิฏฺีสุ น กมฺปตีติ  

   อธิบายในบาทพระคาถานี้ ก็เหมือนอรรถาธิบายอันกล่าวแล้วแต่หลังมีวิเศษแต่ที่สำแดงอานิสงส์ในเบื้องปลาย

   ข้อสำแดงอานิสงส์นั้นว่า พระโยคาพจรเจ้าทั้งหลายผู้ได้ซึ่งปัญญา ๑๐ คือฝ่ายอาทีนวญาณ ๕ ฝ่ายสันติปทญาณ ๕ แล้วแลฉลาดรวบปัญญาทั้ง ๑๐ นี้เข้าไว้ให้เป็นแต่สอง คืออาทีนวญาณ ๕ นั้นรวบเข้าเป็น ๑ สันติปทญาณนั้นรวบเข้าเป็น ๑ รู้สันทัดชัดเจนในปัญญา ๒ ประการนี้แล้ว กาลใดพระโยคาพจรนั้นก็จะมิได้กัมปนาทหวั่นไหวด้วย มิจฉาลัทธิทิฏฐิธรรมนิพพานวาททิฏฐิเป็นต้นเป็นประธานในกาลนั้น

   ข้อซึ่งสำแดงสันติปทญาณ ประดับไว้ในห้องแห่งอาทีนวญาณนี้ ด้วยมีประโยชน์จะสำแดงอานิสงส์แห่งอาทีนวญาณ ที่สำเร็จด้วยอำนาจแห่งภยตูปัฏฐานญาณนั้นประการ ๑

   จะให้บังเกิดชื่นชมโสมนัส แก่พระโยคาพจรนั้นประการ ๑

   เพราะเหตุว่าพิจารณาเห็นภัยเห็นโทษแล้ว จิตก็จะน้อมไปในพระนิพพานธรรม อันเป็นปฏิปักษ์แห่งภัยแลโทษนั้น

   “อาทีนวานุปสฺสนาญาณํ นิฏฺิตํ”  จบอาทีนวญาณแต่เท่านี้

   แต่นี้จะสำแดงนิพพิทาญาณสืบต่อไป

   “เอวํ สพฺพสงฺขารา อาทีนวโต ปสฺสนฺโต”  เมื่อพระโยคาพจรเจ้าพิจารณาเห็นสังขารธรรมทั้งปวงประกอบด้วยโทษ โดยนัยดังพรรณนามาฉะนี้ จิตนั้นก็จะมีความกระสันเหนื่อยหน่ายจากภพ เหนื่อยหน่ายจากกำเนิดแลคติ เหนื่อยหน่ายจากวิญญาณฐิติ แลสัตตาวาสบ่มิได้รักใคร่อาลัยอาวรณ์อยู่ในโลกสันนิวาส เปรียบประดุจดังพระยาสุวรรณราชหงส์อันมิได้ยินดีที่จะลงในหลุมอันโสโครกแทบประตูบ้านจัณฑาล พระยาสุวรรณราชหงส์นั้นย่อมยินดีที่จะลงในเชิงเขาจิตรกูฏ แลมหาสระทั้ง ๘ อันนี้แลมีฉันใด พระยาราชหงส์คือ พระโยคาพจรเจ้านั้น เมื่อพิจารณาเห็นโทษแห่งสังขารธรรมทั้งปวงโดยนัยที่สำแดงมาแล้วแต่หนหลังนั้น ก็บังเกิดความกระสันเหนื่อยหน่ายบ่มิได้ยินดีในสังขารธรรม ยินดีอยู่แต่ในกิริยาที่จะจำเริญอนุปัสสนาทั้ง ๗ คือ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา นิโรธานุปัสสนา โดยนัยที่สำแดงมาแล้วแต่หลัง   “เอวํ ตถา”  มีอุปมาดังพระยาสุวรรณราชหงส์ อันมิได้ยินดีในหลุมแทบประตูบ้านจัณฑาล ยินดีแต่จะลงในเชิงเขาจิตรกูฏแลมหาสระทั้ง ๗ นั้น

   ถ้ามิฉะนั้นเปรียบประดุจราชสีห์ อันมิได้ยินดีที่จะอยู่กรงทอง ราชสีห์นั้นย่อมยินดีอยู่ในป่าพระหิมวันต์ อันกว้างขวางได้ ๓ พันโยชน์ แลมีฉันใด ราชสีห์คือพระโยคาพจรนั้น ก็บ่มิได้ยินดีในสุคติภพทั้ง ๓ คือ กามสุคติภพแลรูปภพแลอรูปภพ ยินดีอยู่แต่ในอนุปัสสนาทั้ง ๓ คือ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา มีอุปไมยดังนั้น

   มิฉะนั้นเปรียบประดุจพระยาคชสารตัวประเสริฐ เชื่อชาติฉัททันต์มีพรรณเผือกผู้ผ่อง มีหางแลงวงนิมิตประถึงพื้น มีอิทธิฤทธิ์ดำเนินได้ในเวหา อันมิได้ยินดีที่จะอยู่ในท่ามกลางพระนคร พระยาฉัททันต์นั้นย่อมยินดีที่จะอยู่ในฉัททันตสระในป่าหิมวันต์แลมีฉันใด พระยาคชสารคือพระโยคาพจรนี้มิได้ยินดีในสังขารธรรมทั้ง ยินดีในพระอมตะมหานิพพาน อันเป็นที่ระงับสังขาร มีจิตน้อมไปสู่พระนิพพานโอนไปสู่พระนิพพานเงื้อมไปสู่พระนิพพาน มีอุปไมยดังนั้น

   นักปราชญ์พึงสันนิษฐานว่า นิพพิทาญาณกับภยตูปัฏฐานญาณแลอาทีนวญาณทั้ง ๓ ประการนี้ ต่างกันแต่ชื่อเรียก ต่างแต่พยัญชนะอรรถอันเดียวกัน อรรถจะได้ต่างกันหาบ่มิได้ เหตุดังนั้นพระโบราณาจารย์จึงกล่าวสระบาลีสำแดงข้ออันนี้ว่า   “ภยตูปฏฺานํ เอกเมว ตินินามานิ ลภติ”  ว่า ภยตูปัฏฐานญาณอันเดียวนี้แลได้ชื่อ ๓ ชื่อ เมื่อพิจารณาสังขารโดยภัยก็ได้ชื่อว่าภยตูปัฏฐานญาณเมื่อพิจารณาสังขารโดยโทษ ก็ได้ชื่อว่าอาทีนวญาณ เมื่อเห็นภัยเห็นโทษแห่งสังขารแล้วแลเหนื่อยหน่าย ก็ได้ชื่อว่านิพพิทาญาณ

   “นิพฺพิทานุปสฺสนาญาณํ นิฏฺิตํ”  สำแดงนิพพิทาญาณจบแต่เท่านี้

   แต่นี้จะสำแดงมุญจิตุกามยตาญาณต่อไป

   “อิมินา นิพฺพินทาญาเณน อิมสฺส กุลปุตฺตสฺส นิพฺพินทนฺตสฺส อุกฺกณฺนฺตสฺส”

   เมื่อพระโยคาพจรกุลบุตรผู้จำเริญนิพพิทาญาณนี้ มีความกระสันเหนื่อยหน่ายจากสังขารธรรม บ่มิได้ยินดีปรีดาในสังขารธรรมแล้วนั้นกาลใด จิตแห่งพระโยคาพจรนั้นก็มิได้เกี่ยวมิได้ข้อง บ่มิได้ติดพันอยู่ในสังขารธรรมอันใดอันหนึ่งเลย จิตนั้นปรารถนาแต่ที่จะไปให้พ้นจากแห แลปรารถนาจะใคร่พ้นจากแห

   มิฉะนั้นเปรียบประดุจดังกบอันอยู่ในปากงู แลปรารถนาจะใคร่พ้นจากปากงู

   มิฉะนั้นเปรียบประดุจไก่ป่าอันบุคคลผู้ขังไว้ในกรง แลปรารถนาจะไปให้พ้นจากกรง

   มิฉะนั้นเปรียบประดุจเนื้ออันติดบ่วงมั่น แลดิ้นรนปรารถนาจะไปให้พ้นจากบ่วง

   มิฉะนั้นเปรียบประดุจงู อันอยู่ในเงื้อมมือแห่งหมองู แลปรารถนาจะหนีไปให้พ้นจากเงื้อมมือแห่งหมองู

   มิฉะนั้นเปรียบประดุจช้างสาร อันจมอยู่ในเปือกตม แลปรารถนาจะรื้อตนให้พ้นจากเปือกตม

   มิฉะนั้นเปรียบประดุจพระยานาค อันอยู่ในปากแห่งพระยาครุฑ แลปรารถนาแต่ที่จะไปให้พ้นจากปากครุฑ

   มิฉะนั้นเปรียบประดุจพระจันทร์ อันอยู่ในปากแห่งราหู แลปรารถนาจะออกไปให้พ้นจากปากราหู

   มิฉะนั้นเปรียบประดุจบุรุษ อันศัตรูแวดล้อมอยู่โดยรอบ แลปรารถนาจะไปให้พ้นจากปากศัตรู

   ปลาอันข้องอยู่ในแหเป็นอาทินั้น ดิ้นรนขวนขวายที่จะไปให้พ้นแลมีฉันใด

   พระโยคาพจรกุลบุตรผู้ได้สำเร็จมุญจิตุกามยตาญาณ ก็มีความปรารถนาแต่จะไปให้พ้นจากสังขารธรรม มีอุปไมยดังนั้น

   “มุญฺจิตุกามยตาญาณํ นิฏฺิตํ”  สำแดงมุญจิตุกามยตาญาณจบแต่เพียงเท่านี้

  แต่นี้จะสำแดงปฏิสังขาญาณสืบต่อไป   “โส เอวํ สพฺพภวโย นิคติิติวาสตเตหิ สเภทเกหิ สงฺขาเรหิ มุญฺจิตุกาโม”  

  เมื่อพระโยคาพจรกุลบุตรปรารถนาจะไปให้พ้นจากสังขารธรรมอันประกอบด้วยประเภทอันต่างด้วยสามารถท่องเที่ยวไปในพิภพทั้งปวง แลกำเนิด ๔ แลคติ ๕ วิญญาณฐิติ ๗ สัตตาวาส ๙ ประการฉะนี้แล้ว

   “ติลกฺขณํ อาโรเปตฺวา”  พระโยคาพจรเจ้านั้นพึงยกปัญญาขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ พิจารณาสังขารธรรมทั้งหลายด้วยปฏิสังขานุปัสสนาญาณกำหนดกฏหมายโดยอาการเป็นอันมากในพิธีพิจารณา อนิจจังลักษณะนั้น พิจารณาโดยอาการเป็นอาทิคือ   “อนิจฺจนฺติกโต”   พิจารณาโดยอาการอันบ่มิได้เที่ยงนั้นประการ ๑

   “ตาวกาลิกโต”  พิจารณาโดยอาการเหมือนด้วยของยืมเขามาประการ ๑

   “อุปปาทฺวยปริจฺฉินฺนโต”  พิจารณาโดยกำหนด ซึ่งกิริยาอันบังเกิดแล้วแลฉิบหายประการ ๑

   “ปโลกโต”  พิจารณาให้เห็นสังขารธรรมนั้น มีสภาวะขาดเด็ดกระเด็นออกด้วยอำนาจพยาธิทุกข์แลมรณาประการ ๑

   “จลโต”  พิจารณาให้เห็นว่าสังขารธรรมนั้น ไหวอยู่ด้วยพยาธิแลชราแลมรณะธรรมนั้นประการ ๑

   “ปภงฺโต”  พิจารณาให้เห็นว่าสังขารธรรมนั้น บางคาบมีสภาวะทำลายเอง บางคาบทำลายด้วยความเพียรแห่งผู้อื่นอีกประการ ๑

   “อธุวโต”  พิจารณาให้เห็นสังขารธรรมบ่มิได้ตั้งอยู่เป็นนิตย์ย่อมทอดทิ้งกลิ้งอยู่ในสถานประเทศต่าง ๆ ไม่มีกำหนดประการ ๑

   “วิปริณามธมฺมโต”  พิจารณาให้เห็นว่าสังขารธรรมมีสภาวะวิปริตแปรปรวนประการ ๑

   “อสารกโต”  พิจารณาให้เห็นว่าสังขารธรรมหาแก่นสารบ่มิได้

   “วิถวโต”  พิจารณาให้เห็นว่าสังขารธรรม มีแต่ความฉิบหายเป็นเบื้องหน้า บ่มิได้พ้นจากความฉิบหายประการ ๑

   “สงฺขตโต”  พิจารณาให้เห็นว่าสังขารธรรมแล้วด้วยกุสลากุศลประชุมแต่งประการ ๑

   “มรณธมฺมโต”  พิจารณาให้เห็นว่าสังขารธรรม มีแต่ความตายเป็นที่สุดประการ ๑

  ให้พระโยคาพจรเจ้ายกปัญญาขึ้นสู่อนิจจลักษณะ พิจารณาด้วยอาการเป็นต้นดังนี้

  ในพิธีพิจารณาทุกขลักษณะนั้น ให้พระโยคาพระจรเจ้าพิจารณาด้วยอาการเป็นอาทิ คือ

   “อภิณฺหปฏิปิฬนโต”  พิจารณาโดยอาการอันทุกข์เบียดเบียนสังขารธรรมเนือง ๆ บ่มิรู้แล้วประการ ๑

   “ทุกฺขขมโต”  พิจารณาให้เห็นว่ากองทุกข์ทั้งปวงมีชาติทุกข์เป็นต้นซึ่งครอบงำย่ำยีสังขารธรรมนั้น ยากนักที่จะอดกลั้นทนทานได้ประการ ๑

   “รุวตฺถุโต”  พิจารณาให้เห็นว่าสังขารธรรม เป็นวัตถุอันชั่วเป็นของชั่วยิ่งกว่าของทั้งปวงประการ ๑

   “โรคโต”  พิจารณาให้เห็นว่าสังขารธรรม เป็นโรคอยู่เป็นนิตย์เป็นไข้อยู่เป็นนิตย์ประการ ๑

   “คฌฺฆโต”  พิจารณาให้เห็นว่าสังขารธรรมเป็นที่ไหลออกแห่งกิเลสแลอสุจิโสโครกต่าง ๆ เหมือนด้วยฝีปางเน่าที่แตกเป็นบุพโพโลหิตหวะเปื่อยออกไปนั้นประการ ๑

   “สลฺลโต”  พิจารณาให้เห็นสังขารธรรม เหมือนด้วยลูกปืนอันยกเสียดเสียบแทง ยากนักที่จะถอนได้ประการ ๑

   “อฆโต”  พิจารณาให้เห็นว่าสังขารธรรมนั้น ประกอบด้วยสิ่งอันลามกกว่ามากพ้นวิสัยเป็นที่ติฉินนินทาแห่งพระอริยเจ้า ๆ เกลียด อาย เบื่อหน่ายประการ ๑

   “อาพาธโต”  พิจารณาให้เห็นสังขารธรรม ประการด้วยอาพาธเป็นนิตย์นิรันดร์ สิ่งใดที่ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ปรารถนานั้น สังขารธรรมชักนำเอาสิ่งนั้นมาให้สิ่งนั้นบังเกิดขึ้นจนได้พิจารณาดังนี้ประการ ๑

   “อีติโต”  พิจารณาให้เห็นว่าสังขารธรรมนั้นเป็นตัวจัญไร นำมาซึ่งความร้ายความฉิบหายเป็นอันมากประการ ๑

   “อุปทฺทวโต”  พิจารณาให้เห็นว่าสังขารธรรมเป็นตัวอุบาทว์สิ่งที่ชั่วไม่เคยพบ สังขารธรรมขืนเอามาสะสมลงประการ ๑

   “ภยโต  พิจารณาให้เห็นว่าสังขารธรรมเป็นบ่อเกิดแห่งภัยทั้งปวงประการ ๑

   “อุปสคฺคโต”  พิจารณาให้เห็นว่าสังขารธรรมนี้ คือตัวอันตรายติดตามย่ำยีบีฑาประการ ๑

   “อตาณโต”  พิจารณาให้เห็นว่าสังขารธรรมทั้งปวงนี้ บ่มิอาจคุ้มครองรักษาสัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งได้ประการ ๑

   “อเลณโต”  พิจารณาให้เห็นว่าสังขารธรรมปราศจากที่เร้นซ่อนถึงคราวจะป่วยไข้ถึงคราวจะแก่ตาย จะหาที่เร้นซ่อนให้พ้นป่วยพ้นไข้ให้พ้นตายนั้นหาไม่ได้เลยเป็นอันขาด พิจารณาดังนี้ประการ ๑

   “อสรณโต”   พิจารณาให้เห็นว่าสังขารธรรม บ่มิอาจเป็นที่พึ่งคุ้มครองป้องกันชาติ แลชราพยาธิ แลมรณะได้นั้นประการ ๑

   “อาทีนวโต”   พิจารณาให้เห็นว่า สังขารธรรมมากไปด้วยโทษประการ ๑

   “อฆมูลโต”   พิจารณาให้เห็นว่า สังขารธรรมเป็นเค้าเป็นมูลแห่งทุกข์ประการ ๑

   “วธกโต”   พิจารณาให้เห็นว่า สังขารธรรมมีปกติเบียดเบียนบีฑาเหมือนดังนายเพชฌฆาตประการ ๑

   “สาสวโต”   พิจารณาให้เห็นว่า สังขารธรรมประกอบด้วยอาสวะกิเลสประการ ๑

   “มารามิสฺสโต”   พิจารณาให้เห็นว่า สังขารธรรมเป็นเหยื่อแห่งมารประการ ๑

   “ชาติธมฺมโต”   พิจารณาให้เห็นว่า สังขารธรรมอากูลมูลมองไปด้วยชาติทุกข์ประการ ๑

   “ชราธมฺมโต”   พิจารณาให้เห็นว่า สังขารธรรมเอาเกียรณ์ไปด้วยชราทุกข์ติดตามรัดรึงประการ ๑

   “พยาธิธมฺมโต”   พิจารณาให้เห็นว่า สังขารธรรมมากไปด้วยพยาธิทุกข์ครอบงำย่ำยีประการ ๑

   “มรณธมฺมโต”   พิจารณาให้เห็นว่า สังขารธรรมมีความมรณะอันแตกทำลายเป็นที่สุดประการ ๑

   “โสกธมฺมโต”   พิจารณาให้เห็นว่า สังขารธรรมประกอบไปด้วยโศกทุกข์ คือมากไปด้วยความเดือดร้อนระส่ำระสายประการ ๑

   “ปริเทวธมฺมโต”   พิจารณาให้เห็นว่า สังขารธรรมมากไปด้วยปริเทวทุกข์ คือร้องไห้ร่ำไรน้ำตาไหนนั้นประการ ๑

   “อุปายาสธมฺมโต”  พิจารณาให้เห็นว่า สังขารธรรมมากไปด้วยอุปายาสทุกข์ คือสะอื้นอาลัยประการ ๑

   “สงฺกิเลสิกธมฺมโต”   พิจารณาให้เห็นว่า สังขารธรรมมากไปด้วยเศร้าหมองภายในและภายนอกประการ ๑

  ให้พระโยคาพจรเจ้า ยกปัญญาขึ้นสู่ทุกขลักษณะพิจารณาด้วยอาการเป็นต้นดังนี้

  นัยหนึ่งให้พระโยคาพจรพิจารณาโดยอสุภลักษณะ อันบังเกิดเป็นบริวารแห่งทุกขลักษณะนั้นด้วยอาการเป็นอาทิ

   “อชญฺญโต”  คือพิจารณาให้เห็นว่า สังขารธรรมนี้จักได้เป็นที่ชอบเนื้อชอบเจริญใจแห่งนักปราชญ์ ผู้เห็นโทษด้วยปัญญาจักษุนั้นหาบ่มิได้ประการ ๑

   “ทุคฺคนฺธโต”  พิจารณาให้เห็นว่า สังขารธรรมเนื้ออากูลไปด้วยกลิ่นเหม็นกลิ่นเน่าประการ ๑

   “เชคุจฺฉโต”   พิจารณาให้เห็นว่า สังขารธรรมนี้เป็นของพึงเกลียดอยู่เองเป็นปกติธรรมดาประการ ๑

   “ปฏิกุลโต”   พิจารณาให้เห็นว่า สังขารธรรมโสโครกอยู่เองแล้วมิหนำซ้ำเอาสิ่งของอื่น ๆ โสโครกไปด้วยประการ ๑

   “อมณฺฑนหตโต”   พิจารณาให้เห็นว่า สังขารธรรมนี้ ถ้าไม่ประดับแล้วก็ปราศจากงามมีงามอันขะจัดจาก เพราะเหตุที่ไม่ประดับเมื่อไม่ตกแต่งขัดเกลา ไม่ประดับเครื่องประดับแล้ว อย่าว่าถึงจะงามแก่ปัญญาจักษุแห่งนักปราชญ์เลย แต่จะงามแก่ตาอันธพาลปุถุชนก็หางามไม่พิจารณาให้เห็นชัดดังนี้ประการ ๑

   “วิรูปโต”  พิจารณาให้เห็นว่า สังขารธรรมนี้ไม่ดีเลยแต่สักสิ่งสักอัน พิจารณาให้เห็นแต่ล้วนไม่ดีอย่างนี้ประการ ๑

   “วิกจฺฉโต”   พิจารณาให้เห็นว่า สังขารธรรมนี้พึงเกลียดตลอดภายในภายนอก พึงเกลียดทั้งพื้นต่ำและพื้นบน พึงเกลียดแก่ตน พึงเกลียดบุคคลผู้อื่น พิจารณาอย่างนี้ประการ ๑

  ให้พระโยคาพจร ยกปัญญาขึ้นพิจารณาขึ้นพิจารณาอสุภลักษณะ อันเป็นบริวารแห่งทุกขลักษณะด้วยประการฉะนี้

  ในพิธีพิจารณาอนัตตลักษณะนั้น ให้พระโยคาพจรเจ้าพิจารณาด้วยอาการเป็นอาทิ คือ

   “ปรโต”  พิจารณาให้เห็นว่า สังขารธรรมมีสภาวะแปรปรวนเป็นอื่น ไม่ยั่งยืนไม่มั่นไม่คงประการ ๑

   “รตฺตโต”  พิจารณาให้เห็นว่าสังขารธรรมเป็นริตตธรรม เพราะเหตุเปล่าจากสภาวะเที่ยงแท้และงาม เปล่าจากสภาวะเป็นสุขและเป็นอาตมาบ่มิได้เหมือนดังใจที่จะกำหนดกฏหมายประการ ๑

   “ตุจฺฉโต”   พิจารณาให้เห็นว่า สังขารธรรมนั้นควรจะร้องเรียกชื่อว่าตุจฉธรรม เพราะเหตุว่าสังขารธรรมนี้ ที่จะงามจะดีเป็นสุขอยู่นั้นน้อยนักน้อยหนา ให้พิจารณาดังนี้ประการ ๑

   “สุญฺญโต”   พิจารณาให้เห็นว่า สังขารธรรมนี้เป็นเครื่องดับเครื่องสูญประการ ๑

   “อสามิกโต”   พิจารณาให้เห็นว่าสังขารธรรมนี้หาเจ้าของบ่มิได้เพราะเหตุมาประพฤติตามวิสัยแห่งตน ตามถนัดแห่งตน หาผู้จะบังคับบัญชาว่ากล่าวบ่มิได้ประการ ๑

   “อนิสฺสรโต”  พิจารณาให้เห็นว่า สังขารธรรมนี้หาผู้จะเป็นใหญ่ขู่เข็ญข่มขู่บ่มิได้เลยเป็นอันขาด ถึงท่านที่มีอาชญานุภาพปราบปรามปัจจามิตรได้ทั่วไปในพื้นปฐพีมณฑลนั้นก็ดี ก็มิอาจปราบปรามสังขารธรรมได้ สังขารธรรมนี้เป็นอิสระอยู่แก่ตน ประพฤติตามวิสัยแห่งตนถึงที่จะเจ็บก็เจ็บ ถึงที่จะปวดก็ปวด ถึงที่จะเมื่อยก็เหมื่อย ถึงที่จะมึนก็มึน ถึงที่จะแก่ก็แก่ ถึงที่จะตายก็ตาย ใครจะห้ามก็ไม่ฟัง เพราะเหตุฉะนี้จึงหาว่าผู้ใดจะเป็นใหญ่ขู่เข็ญข่มขู่บ่มิได้ พิจารณาให้เห็นชัดดังนี้ประการ ๑

   “อสวตฺติโต”   พิจารณาให้เห็นว่า สังขารธรรมบ่มิใช่ตนบ่มิใช่ของแห่งตน เพราะเหตุไม่ประพฤติตามอำนาจแห่งตนนั้นประการ ๑

  ให้พระโยคาพจรเจ้ายกปัญญาขึ้นสู่อนัตตลักษณะ พิจารณาให้เห็นด้วยอาการเป็นต้นดังนี้

  มีคำปุจฉาว่า เหตุไฉนจึงให้พิจารณาดังนี้

  วิสัชนาว่า ให้พิจารณาฉะนี้เพราะเหตุจะให้สำเร็จอุบายที่จะให้เปลื้องตนออกพ้นจากสังขารธรรม เปรียบเหมือนบุรุษผู้หนึ่งสุ่มปลาครอบงูเห่าตัวหนึ่งลง บุรุษนั้นสำคัญว่าปลา ยื่นมือลงไปตามช่องสุ่มคว้าเอาต้นคอแห่งงูเห่านั้นได้ ก็ดีใจว่าทีนี้เราจับปลาได้สำเร็จความปรารถนาแห่งเราแล้ว

   “อุกฺขิปิตฺวา”   ครั้นยกขึ้นมาพ้นน้ำแล้วแลเห็นแสกศีรษะทั้งสามรู้ว่างูมีพิษ ความสดุ้งตกใจเห็นโทษ ก็มีจิตหน่ายจากอาลัยในที่จะถือเอา บุรุษนั้นมีความปรารถนาจะสละงูให้พ้นจากมือมิให้ทำร้ายอาตมาได้ จึงจับหางงูคลายขนดจากแขนตัวแล้ว ยกขึ้นแกว่งเบื้องบนศีรษะสองสามรอบกระทำให้งูทุพพลภาพถอยกำลังลง สลัดพ้นจากมืออาตมาแล้วก็รีบเร็วขึ้นจากน้ำยืนยังขอบฝั่งสระ แล้วกลับหน้ามาดูหนทางอันขึ้นมาไม่เห็นอสรพิษติดตามมาแล้วก็ดำริว่า อาตมาพ้นจากอสรพิษอันใหญ่อุปไมยด้วยตัวพระโยคาพจรกุลบุตร เมื่อได้อาตมาภาพก็ยินดีถือว่าเป็นของอาตมา ดุจบุรุษจับคองูภายในสำคัญว่าปลาแล้วยินดีนั้น เมื่อพระโยคาพจรเจ้าจำเร็ญพระวิปัสสนาหยั่งลง เห็นสังขารธรรมโดยพระไตรลักษณะทั้ง ๓ คือ พระอนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ อนัตตลักษณะแล้ว และมีความสะดุ้งภยตูปัฏฐานญาณ ปานดังบุรุษยกมือขึ้นจากช่องสุ่มเห็นแสกศีรษะทั้งสามแห่งงูแล้วสะดุ้งตกใจนั้น เมื่อพระโยคาพจรเล็งเห็นโทษในสังขารด้วยอาทีวานุปัสสนาญาณแล้ว และเหนื่อยหน่ายด้วยนิพพิทานุปัสสนาญาณนั้น ปานดังบบุรุษเห็นแสกศีรษะทั้งสามรู้ว่า ว่างูมีความสะดุ้งตกใจ เล็งเห็นโทษแล้วก็หน่าย ปรารถนาเพื่อจะสละให้พ้นจากอาตมา เมื่อพระโยคาพจรยกสังขารธรรมขึ้สู่พระไตรลักษณะอีกเล่าเมื่อจะตกแต่งแสวงหาอุบายอันจะพ้นจากสังขารธรรมด้วยปฏิสังขานุปัสสนาแสวงหาอุบายอันสละงูให้พ้นจากอาตมานั้น แท้จริงขณะเมื่อบุรุษคลายงูจากแขนอาตมาแล้วแกว่งเวียนเหนือเศียรสิ้นสามรอบ กระทำให้ทุพพลภาพบ่มิอาจเพื่อจะเลี้ยวขบอาตมาได้ ก็สละให้พ้นอาตมาได้เป็นอันดี จะมีอุปมาฉันใด และพระโยคาพจรพิจารณาสังขารยกขึ้นสู่พระไตรลักษณะ กระทำให้ทุพพลภาพให้ถึงซึ่งสภาวะบ่มิอาจเพื่อจะปรากฏด้วยอาการอันเล็งเห็นว่าเป็นสุขว่าตัวตนแล้ว ก็สละให้พ้นเป็นอันดี ก็อุปไมยดังนั้น

  ปัญญาแสวงหาอุบายอันละสังขารธรรมดังนี้ ได้ชื่อว่าปฏิสังขานุปัสสนาญาณบังเกิดในสันดานแห่งพระโยคาพจรนั้น

   “ปฏิสงฺขานุปสฺสนาญาณํ นิฏฐิตํ”   สำแดงปฏิสังขานุปัสสนาญาณจบเท่านี้

  แต่นี้จักสำแดงสังขารุเบกขาญาณสืบต่อไป

   “โส เอวํ ปฏิสงฺขานุปสฺสนาญาเณน สพฺเพ สงฺขารา สญฺญาติ ปริคฺคหิโต”   พระโยคาพจรกุลบุตรนั้น เมื่อกำหนดกฏหมายพินิจพิจารณาเห็นว่าสังขารธรรมเป็นเครื่องสูญ ด้วยปฏิสังขานุปัสสนาญาณโดยนัยดังพรรณนามาฉะนี้แล้วลำดับนั้นพระโยคาพจรจึงกำหนดอาการที่สูญ ประกอบด้วยเงื่องเป็นสองเงื่อนแล้ว จึงพิจารณาที่สูญด้วยอาการ ๑ แล้วกระจายออกอีกเล่า พิจารณาที่สูญอาการ ๘ ครั้นแล้วขยายออกอีกพิจารณาที่สูญด้วยอาการ ๑๐ แล้วไม่หยุดแต่เพียงนั้นขยายออกอีกพิจารณาที่สูญด้วยอาการ ๑๒ แล้วไม่หยุดแต่เพียงนั้นแผ่ขยายออกพิจารณาที่สูญด้วยอาการ ๔๒ โดยนัยพิสดาร

  แลข้อซึ่งกำหนดอาการที่สูญ ประกอบด้วยเงื่อนเป็นสองเงื่อนนั้น คือพระโยคาพจรกำหนดว่า   “สุญฺญมิทํ อตฺเถ”  สังขารธรรมนี้เปล่าจากอาตมา บ่มิได้เป็นอาตมาประการ ๑ กำหนดว่า  “สญฺญมิทํ อตฺตนิเยน”  สังขารธรรมนี้เปล่าจากของอาตมา บ่มิได้เป็นของอาตมาประการ ๑ เป็น ๒ เงื่อนฉะนี้

  และข้อซึ่งพิจารณาให้กระจายขยายออกเป็น ๔ เงื่อนนั้น

  คือพระโยคาพจรพิจารณาว่า   “นาหํ กฺวจินิ”  ตัวตนแห่งเรานี้จะได้มีในที่ใดที่หนึ่งในกาลอันหนึ่งหามิได้ เป็นเงื่อนอัน ๑

  พิจารณาว่า  “น กสฺสจิ กิญฺจนตสฺมึ”  ตัวแทนแห่งเราที่เราควรจะสำคัญว่าเป็นของตน ควรจะนำไปให้เป็นธุระกังวลแก่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งนั้นจะได้หาบ่มิได้ พิจารณาดังนี้เป็นเงื่อนอัน ๑

  พิจารณานาว่า   “น จ กฺวจินิ”  ตัวตนแห่งผู้อื่นนั้นเล่า จะได้มีในที่ใดที่หนึ่งในกาลอันใดอันหนึ่งหาบ่มิได้ พิจารณาเห็นดังนี้เป็นเงื่อนอัน ๑

  พิจารณาว่า  “น จ มม กวฺจินิ กสฺมิญฺจิ กิญฺจนตฺถิ”  ตัวตนแห่งผู้อื่น ที่ผู้อื่นควรจะสำคัญว่าเป็นของตน ควรจะนำมาให้เป็นธุระกังวลสิ่งใดสิ่งหนึ่งแก่เรานี้ จะได้มีหาบ่มิได้ พิจารณาดังนี้เป็นอัน ๑

  สิริเป็นอาการเห็นว่าใช่อาตมา ใช่ของแห่งอาตมาทั้งภายในและภายนอก ตนเองก็เห็นว่าของแห่งตน ข้อซึ่งโลกสังเกตกำหนดว่าสัตว์ว่าบุคคล ว่าหญิงว่าชายว่ามิตรว่าชายว่ามิตรว่าสหายว่าพี่ว่าน้องนั้นเมื่อพิจารณาให้ละเอียดไปจะได้คงอยู่ตามสังเกตกำหนดนั้นหาบ่มิได้ แต่ล้วนใช่ตนใช่ของตน เป็นสูญภาพเปล่าไปสิ้นทั้งนั้น

  และข้อซึ่งกระจายออกพิจาณาที่สูญด้วยอาการทั้ง ๖ นั้นเล่า คือพระโยคาพจรพิจารณาว่า

   “จกฺขุสุญฺญํ อตฺเตน วา”   จักขุประสาทนี้เปล่าจากอาตมา บ่มิเป็นของอาตมาประการ ๑

   “จกฺขุสุญฺญํ อตฺตนิเยน วา”   พิจารณาว่าจักขุประสาทเปล่าจากอาตมา บ่มิเป็นของอาตมาประการ ๑

   “จกฺขุสุญฺญํ นิจฺเจน วา”   พิจารณาว่าจักษุประสาทเปล่าจากสภาวะเที่ยง บ่มิได้เที่ยงแท้ประการ ๑

   “จกฺขุสุญฺญํ ทุเวน วา”  พิจารณาว่าจักษุประสาทเปล่าจากสภาวะยั่งยืนมั่นคง บ่มิมั่นมิคงประการ ๑

   “จกฺขุสุญฺญํ สสฺสเตน วา”  พิจารณาว่าจักษุนี้เปล่าจากชื่อว่าเที่ยง ตามลัทธิดิรัตถีย์ที่ถือว่าจักษุเที่ยงนั้น เปล่าเเท้ไม่มีสัตย์ ไม่มีจริง พิจารณาดังนี้ประการ ๑

   “จกฺขุสูญฺญํ อปริณามธมฺเมน วา”  พิจารณาว่าจักษุประสาทนี้เปล่าจากอวิปริณามธรรม ที่จะไม่แปรปรวนนั้นหาบ่มิได้ มีแต่แปรปรวนเป็นเบื้องหน้า พิจารณาดังนี้ประการ ๑

  สิริเป็นลักษณะพิจารณาที่สูญแห่งจักษุประสาทด้วยการ ๖ ดังนี้

  แลพิธีอันพิจารณาที่สูญ แห่งโสตประสาท ฆานประสาท ชิวหาประสาท กายประสาท และหทยวัตถุนั้น แต่ละสิ่ง ๆ ก็ประกอบด้วยอาการละหก ๆ เหมือนกันกับพิจาณาที่สูญแห่งจักษุประสาท

  แลรูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ธัมมารมณ์ นั้นก็ดี

  จักษุวิญญาณ และโสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณนั้นก็ดี

  จักขุสัมผัส แลโสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัสนั้นก็ดี

  ตลอดตราบเท่าถึงชราและมรณะนั้นแต่ละสิ่ง ๆ แต่ล้วนประกอบด้วยพิธีพิจารณาที่สูญ บริบูรณ์ด้วยอาการหก ๆ เหมือนกันกับพิธีพิจารณาที่สูญแห่งจักษุประสาท มีนัยดังสำแดงมาแล้วนั้น

ต่อ  

  
:: กลับด้านบน :: :: ย้อนกลับ ::       :: หน้าต่อไป ::


webmaster@larnbuddhism.com
23 June 2005 by 3 nang ©copyright 2005©larnbuddhism.com