บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



พระสุตตันตปิฎก

พระสุตตันตะ เล่ม 14

หน้า ๑ ปฐุมปัณณาสก์
หมวด ๕๐ ที่ ๑


๑. ตรัสเรื่อง
พระเสขะ ๕ อย่าง
๒. ตรัสแสดงกำลัง ๕
๓. ผู้ไม่มีความเคารพ ฯลฯ
๔. ตรัสตอบปุจฉา
๕. โภคทรัพย์ ๕ ประการ

หน้า ๒ ทุติยปัณณาสก์
หมวด ๕๐ ที่ ๒
๑. ทรงแสดงนีวรณ์ ๕
๒. สัญญา ๕ สองชุด
๓.ธรรม ๕ อย่างข้างต้น
๔.ธรรมฝ่ายชั่ว ๕ ประการ
๕. ทรงแสดงสัมปทา

หน้า ๓ ตติยปัณณาสก์
หมวด ๕๐ ที่ ๓
๑. ตรัสธรรมะที่ทำ
ให้แกล้วกล้า ๕
๒. ภิกษุผู้เข้าสกุล
๓. ตรัสสอนภิกษุ
ไข้ว่า มีธรรม ๕
๔. ทรงแสดงองค์ ๕ ว่า
จักรพรรดิ์ทรงหมุนจักรไปได้
๕. ทรงแสดงบุคคล ๕

หน้า ๔ จตุตถปัณณาสก์
หมวด ๕๐ ที่ ๔
๑. ตรัสแสดงผู้ฟังธรรมที่ไม่ดี-ที่ดี
๒. ความอาฆาต ๕ อย่าง
๓.ผู้ประกอบด้วยศีล ๕
๔. ผู้อยู่ป่า ๕ ประเภท
๕. ธรรมเก่าแก่
ของพราหมณ์ ๕

หน้า ๕ ปัญจมปัณณาสก์
หมวด ๕๐ ที่ ๕
๑. ตรัสแสดงธรรมะแก่พระกิมพิละ
๒. ผู้กล่าวร้ายพระอริยเจ้า ฯลฯ
๓. โทษของการจาริกไปนาน
๔. ธรรม ๕ อย่าง ผู้ไม่ควร สรรเสริญ
๕. โทษของทุจจริต ๕

พระสูตรที่
ไม่จัดเข้าวรรค
ผู้ประกอบชุมนุม
ธรรมะที่มี ๖ ข้อ
ปฐมปัณณาสก์
หมวด ๕๐ ที่ ๑
๑.ภิกษุประกอบ
ด้วยธรรม ๖

๒.ธรรมที่
ให้ระลึกถึงกัน
๓. ธรรม ๖ อย่าง
๔. ตรัสแสดงว่า
ธรรม ๖ อย่าง
๕. ตรัสกะพระอุทายี

ทุติยปัณณาสก์
หมวด ๕๐ ที่ ๒
๑. ตรัสสอนพระโสณะ
๒. ผู้ละธรรม ๖
๓. ภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยธรรม ๖
๔. ภิกษุ,,ไม่ควร
ทำให้แจ้ง ฯลฯ
๕.ความปรากฏขึ้น
แห่งสิ่ง ๖ สิ่ง หายาก-

หน้า ๖ หมวดนอกจาก ๕๐ ตรัสแสดงราคะ,
โทสะ, โมหะ
พระสูตรที่ไม่จัดเข้าวรรค

 

เล่มที่ ๒๒ ชื่ออังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
(เป็นสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๔)
หน้า ๓

      พระไตรปิฎกเล่มนี้ แบ่งออกเป็น ๒ ตอน คือตอนที่ ๑ ชื่อปัญจกนิบาต ว่าด้วย ธรรมะจำนวน ๕ ตอนที่ ๒ ชื่อฉักกนิบาต ว่าด้วยธรรมะจำนวน ๖.

ทุติยปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๓

      ( ในหมวดนี้มี มี ๕ วรรค วรรคที่ ๑ ชื่อผาสุวิหารวรรค ว่าด้วยความอยู่เป็นผาสุก. วรรคที่ ๒ ชื่ออันธกวินทวรรค ว่าด้วยเหตุการณ์ในเมืองอันธกวินทะ. วรรคที่ ๓ ชื่อคิลานวรรค ว่าด้วยคนใช้. วรรคที่ ๔ ชื่อราชวรรค ว่า ด้วยพระราชา. วรรคที่ ๕ ชื่อติกัณฑกีวรรค ว่าด้วยเหตุการณ์ในป่าติกัณฑกี ).

      ๑. ตรัสแสดงธรรมะที่ทำให้แกล้วกล้า ๕ อย่าง

คือการที่มีศรัทธา, มีศีล, มีการสดับตรับฟังมาก, ปรารภความเพียร, มีปัญญา.

ตรัสว่า ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ อย่าง ทำให้ถูกรังเกียจว่าเป็น ภิกษุชั่ว แม้จะเป็นพระอรหันต์ก็ไม่พ้นถูกรังเกียจ คือ ๑. เที่ยวไปในที่อยู่ของหญิงแพศยา ๒. เที่ยวไปในที่อยู่ของหญิงหม้าย ๓. เที่ยวไปในที่อยู่ของสาวใหญ่ ( โบราณเรียกว่าหญิงเทื้อ ) ๔. เที่ยวไปในที่อยู่ของกะเทย ๕. เที่ยวไปในที่อยู่ของนางภิกษุณี. ( อรรถกถาแก้ว่า ไปเสมอ ๆ อันแสดงว่า ถ้ามีธุระเป็นกิจจะลักษณะ และมีเหตุสมควรไปได้ ).

ตรัสว่า ภิกษุชั่วเปรียบเหมือนโจร อาศัยสิ่งต่าง ๆ ๕ อย่าง มีทาง อันไม่สม่ำเสมอ เป็นต้น ( ทางไม่สม่ำเสมอเทียบด้วยการกระทำทางกาย วาจา ใจ อันไม่สม่ำเสมอคล้ายกับที่ย่อไว้ในเล่มที่ ๒๒ ว่า ภิกษุชั่วก็ประกอบด้วยองค์ ๓ คืออาศัยทางอันไม่สม่ำเสมอ เทียบด้วยการกระทำทางกาย วาจา ใจ อันไม่ เรียบร้อย อาศัยป่าชัฏ เทียบด้วยมีความเห็นผิด อาศัยกำลัง เทียบด้วยอาศัยพระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชา ( สนับสนุน ).

ทรงแสดงว่า ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่าง เป็นสมณะละเอียดอ่อน คือ ๑. มีคนข้อร้องจึงบริโภคปัจจัย ๔ มาก ไม่มีคนขอร้องก็บริโภคน้อย ๒. เพื่อนพรหมจารีประพฤติต่อเธอด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันน่าพอใจ นำเข้าไปแต่สิ่งที่น่าพอใจโดยมาก ในทางไม่น่าพอใจน้อย ๓. มีโรคน้อย ๔. เข้าฌานที่ ๑ ถึง ๔ ได้ตามปรารถนา ๕. ทำให้แจ้งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะ. ทรงแสดงว่า เมื่อกล่าวโดยชอบก็อาจกล่าวถึงพระองค์ได้ว่า สมณะละเอียดอ่อน.

ทรงแสดงการอยู่เป็นสุข ๕ อย่าง คือตั้งกายกรรม, วจีกรรม, มโนกรรม อันประกอบด้วยเมตตา, มีศีลอันดีงามเสมอกันกับเพื่อนพรหมจารี, มีความเห็นอันดีเสมอกันกับเพื่อนพรหมจารี.

ตรัสกะพระอานนท์ว่า เพียงด้วยเหตุข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ ภิกษุสงฆ์ก็จะพึงอยู่ ผาสุกคือ ๑. ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีลด้วยตนเอง ไม่ทำผู้อื่นให้เป็นไป ( ตั้งอยู่ ) ในอธิศีล ๒. ภิกษุเพ่งเล็งตัวตนเอง ไม่เพ่งเล็งบุคคลอื่น ๓. ภิกษุไม่มีใครรู้จักมาก แต่ก็ ไม่สะดุ้งกลัวด้วยข้อนั้น ๔. ได้ฌานที่ ๑ ถึงที่ ๔ ตามปรารถนา ๕. ทำให้แจ้งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะ.

ทรงแสดง ศีล, สมาธิ, ปัญญา, วิมุตติ, วิมุตติญาณทัสสนะว่า ทำให้ภิกษุ เป็นผู้ควรของคำนับ ของต้อนรับ เป็นเนื้อนาบุญของโลก.

และตรัสว่า ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่างชื่อว่าเป็นผู้ไม่ติดขัดใน ๔ ทิศ คือมีศีล, มีการสดับตรับฟัง, ยินดีด้วยปัจจัย ๔ ตามมีตามได้, ได้ฌาน ๔ ตามปรารถนา ทำให้แจ้งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะ

และทรงแสดงว่า ภิกษุเช่นนั้นควรเสพเสนาสนป่าอันสงบ.

      ๒. ตรัสว่า ภิกษุผู้เข้าสกุล ( เข้าไปฉันเป็นประจำ ) ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่าง

ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจในสกุล คือสนิทสนมกับผู้ไม่คุ้นเคย, ไม่เป็นใหญ่ แต่ทำเป็นเจ้ากี้เจ้าการ, ชอบคนสกุล ที่แตกกัน, ชอบกระซิบที่หู, ขอมากเกินไป. แล้วทรงแสดงฝ่ายดีในทางตรงกันข้าม.

ตรัสว่า ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่าง ไม่ควรถือเอาเป็นปัจฉาสมณะ ( พระ เดินตามหลัง ) คือไปไกล หรืใกล้เกินไป, ไม่รับสิ่งที่มีอยู่ในบาตร, ไม่ห้ามเมื่อพูดใกล้จะเป็นอาบัติ, พูดขัดใน ระหว่างที่กำลังพูด, มีปัญญาทราม แล้วทรงแสดงฝ่ายดีในทางตรงกันข้าม.

ตรัสว่า ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่างไม่ควรเข้าสัมมาสมาธิ คือไม่อดทนต่อรูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ แล้วทรงแสดงฝ่ายดีในทางตรงกันข้าม.

ตรัสสอนพระอานนท์ให้ชักชวนภิกษุบวชใหม่ให้ตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการ คือให้มีศีล สำรวมในพระปาฏิโมกข์, ให้สำรวมอินทรีย์ ( มีตา หู เป็นต้น ), ให้พูดแต่น้อย, ให้เสพเสนาสนะอันสงัด,ให้มี ความเห็นชอบ.

ตรัสว่า นางภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมตกนรกหรือขึ้นสวรรค์ เหมือนถูกนำไปตั้งไว้ คือตระหนี่อาวาส, ตระหนี่สกุล ( ไม่อยากให้สกุลที่เกี่ยวข้องกับตนอุปการะผู้อื่น ), ตระหนี่ ลาภ, ตระหนี่ความดี ( ทนฟังเขาสรรเสริญผู้อื่นไม่ได้ ), ตระหนี่ธรรม ( ไม่สอนธรรมแก่ผู้อื่น ) หรือตรงกันข้าม.

ตรัสว่า ธรรม ๕ อย่างที่เจริญ ทำให้มากแล้ว เป็นไปเพื่อพระนิพพาน คือเห็นว่าไม่งามในกาย, กำหนดหมายว่าน่าเกลียดในอาหาร, ว่าไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง, ว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง, กำหนดหมาย ในความตาย.

กับแสดงความชั่วความดีของนางภิกษุณี ผู้จะชื่อว่าตกนรกหรือ ขึ้นสวรรค์อีกหลายนัย.

      ๓. ตรัสสอนภิกษุไข้ว่า ถ้ามีธรรม ๕ อย่างก็มีหวังว่าจะทำให้แจ้งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติไม่นาน

คือพิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม, กำหนดหมายว่าปฏิกูลในอาหาร, กำหนดหมายว่าไม่น่า ยินดีในโลกทั้งปวง, พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง, กำหนดหมายในความตาย.

ตรัสว่า ภิกษุหรือภิกษุณีผู้เจริญธรรมะ ๕ อย่าง ย่อมหวังผลได้ ๒ อย่าง คืออรหัตตผลในปัจจุบัน หรือถ้ายังมีกิเลสเหลือก็จะได้เป็นพระอนาคามี คือตั้งสติภายในเพื่อมีปัญญาเห็นความเกิดดับแห่ง ธรรม นอกนั้นเหมือนข้อธรรมของภิกษุไข้ข้อ ๑ ถึง ๔.

ตรัสถึงคนไข้ที่พยาบาลยากและพยาบาลง่าย คนพยาบาลไข้ที่ไม่ดีและดี (แปลไว้ละเอียดแล้วในข้อความน่ารู้จากไตรปิฎก ) หมายเลข ๔๕. คนไข้ที่พยาบาลยากและพยาบาลง่าย,และหมายเลข ๔๖.ด้วย

ทรงแสดงธรรมที่ตัดรอนอายุ ๕ ประการ คือทำสิ่งที่ไม่สบาย, ไม่รู้ประมาณในสิ่งที่สบาย, กินของที่ไม่ย่อย ( ย่อยยาก ), เที่ยวไปผิดเวลา, ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ แล้วทรงแสดงธรรมที่ให้อายุยืน ในทางตรงกันข้าม

กับทรงแสดงธรรมะที่ตัดรอนและทำให้อายุยืน อื่นอีก เปลี่ยนแต่ ตอนท้าย ๒ ข้อ คือ ๔. ทุศีล ๕. คบคนชั่วเป็นมิตรหรือตรงกันข้าม.

ทรงแสดงว่า ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่าง ไม่ควรอยู่ตามลำพังแยกจาก พระสงฆ์ คือไม่สันโดษ ด้วยปัจจัย ๔ และมากด้วยความตรึกในกาม กับทรงแสดงฝ่ายดีที่ตรงกันข้าม.

ทรงแสดงทุกข์ของสมณะ ๕ อย่าง คือไม่สันโดษด้วยปัจจัย ๔ กับ ประพฤติพรหมจรรย์อย่างไม่ยินดี ส่วนสุขของสมณะตรงกันข้าม.

ทรงแสดงบุคคล ๕ ประเภทที่จะต้องไปอบายนรกอย่างไม่มีทางแก้ คือผู้ฆ่ามารดา. ฆ่าบิดา, ฆ่าพระอรหันต์, ทำให้พระโลหิตของพระตถาคตให้ห้อด้วยจิตคิดประทุษร้าย, ทำสงฆ์ให้แตกกัน.

ทรงแสดงความเสื่อม ๕ อย่าง คือความเสื่อมญาติ, เสื่อมทรัพย์, เสื่อม เพราะโรค, เสื่อมศีล, เสื่อมเพราะทิฏฐิ แล้วตรัสว่า ๓ ข้อต้น ไม่ทำให้เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบําต นรก แต่ความเสื่อมศีล, เสื่อมเพราะ ทิฏฐิ ทำให้เขาถึงอบาย เป็นต้น แล้วทรงแสดงความถึงพร้อมในทางตรงกันข้าม และว่า ๒ ข้อหลังทำให้เข้าถึงโลกสวรรค์.

      ๔. ทรงแสดงองค์ ๕ ว่า ทำให้พระเจ้าจักรพรรดิ์ทรงหมุนจักรไปได้

โดยไม่มีใครหมุนกลับ และทำให้พระตถาคตหมุนธรรมจักรไปได้ ไม่มีใครหมุนกลับ คือความเป็นผู้รู้อรรถ, รู้ธรรม, รู้ประมาณ, รู้กาล, รู้บริษัท ( ประชุมชน ). และ

ทรงแสดงว่า องค์ ๕ นี้ ทำให้โอรสของพระเจ้าจักรพรรดิ์ทำได้เช่น เดียวกับพระราชบิดาและทำให้พระสาริบุตรทำได้เช่นพระตถาคต.

ต่อจากนั้นทรงแสดงคุณธรรม ของพระเจ้าจักรพรรดิ์เทียบกับของพระ ตถาคต คุณธรรมของพระราชา, คุณธรรมของเชฏฐโอรสแห่งพระราชา เทียบกับของภิกษุ .

ทรงแสดงถึงผู้หลับน้อยตื่นมาก ๕ ประการ (แปลไว้ละเอียดแล้วในข้อความน่ารู้จากไตรปิฎก ) หมายเลข ๔๙. ผู้หลับน้อยตื่นมากในยามราตรี

ทรงแสดงถึงช้างของพระราชา ที่อดทนต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เทียบด้วยภิกษุผู้มีคุณธรรมเช่นนั้น

และแสดงคุณสมบัติ อื่นอีก เช่น รู้จักฟัง, รู้จักฆ่า, รู้จักรักษา, รู้จักอดทน, รู้จักไป เทียบคุณธรรมของภิกษุ.

      ๕. ทรงแสดงบุคคล ๕ ประเภท

คือให้แล้วดูหมิ่น, อยู่ด้วยกันแล้วดูหมิ่น, มีหน้ารับเอา ( หูเบาเชื่อง่าย ), โลเล, โง่เง่า ( ไม่รู้ธรรมอันเป็นกุศล อกุศล ).

ตรัสแสดงบุคคล ๕ ประเภท คือ ผู้ริเริ่มด้วยเดือดร้อน, ผู้ริเริ่ม แต่ไม่ เดือดร้อน, ไม่ริเริ่ม และเดือดร้อน, ไม่ริเริ่ม ไม่เดือดร้อน ( อย่างแรก ), ไม่ริเริ่ม ไม่เดือดร้อน ( อย่างหลัง ). โดยอธิบายว่า ริเริ่มหรือ ไม่ริเริ่ม ได้แก่รู้หรือไม่รู้เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ ตามเป็นจริง, เดือดร้อนหรือไม่เดือดร้อน ได้แก่อกุศลบาปธรรมดับไปโดยไม่เหลือ หรือ ไม่ดับ มีคำอธิบายพิเศษเฉพาะข้อหลังที่ว่า ไม่ริเริ่ม และไม่เดือดร้อนนั้น คือทั้งรู้วิมุติตามเป็นจริง และอกุศลบาปธรรมดับไปโดยไม่เหลือ.

เจ้าลิจฉวีสนทนากันว่า ความปรากฏขึ้นแห่งรัตนะ ๕ คือ ช้างแก้ว, ม้าแก้ว, แก้งมณี, นางแก้ว, ขุนพลแก้ว หาได้ยากในโลก. ตรัสตอบว่า ความปรากฏขึ้นแห่งรัตนะ ๕ คือพระตถาคต, พระธรรมวินัยที่พระ ตถาคตประกาศแล้ว, ผู้แสดงพระธรรมวินัยนั้น, ผู้รู้ธรรมวินัยนั้น และผู้ที่รู้แล้วปฏิบัติตามพระธรรมวินัยนั้น หาได้ยากในโลก.

ตรัสสอนให้ภิกษุทั้งหลายพิจารณา ในเรื่องปฏิกูลและไม่ปฏิกูล ในสิ่งที่ ไม่ปฏิกูล และปฏิกูล เป็นต้น ยักย้ายหลายนัย เพื่อมิให้เกิดราคะ โทสะ โมหะ และให้มีสติสัมปชัญญะวางเฉยได้ในสิ่งเหล่านั้น.

ตรัสเรื่องผู้ละเมิดศีล ๕ เป็นผู้ตกนรก ผู้ปฏิบัติตามศีล ๕ เป็นผู้ขึ้นสวรรค์

และภิกษุผู้เป็นมิตรที่ไม่ควรคบและควรคบ ผู้ไม่ควรคบ คือให้ทำการงาน ( มีทำนา เป็นต้น ), ก่ออธิกรณ์, ประพฤติผิดในภิกษุผู้เป็นใหญ่เป็นประธาน, เดินทางนาน เดินทางโดยไม่มีจุดหมาย ( ใช้เวลาให้ล่วงไปในการเดินทาง ), ไม่สามารถชักชวนปลอบใจผู้อื่นด้วยธรรมิกถาตามกาลอันสมควร ฝ่ายดี คือที่ตรงข้าม.

ตรัสแสดงอสัปปุริสทาน และสัปปุริสทาน (ทานของคนชั่ว คนดี ) อย่างละ ๕ คือให้ทานด้วยไม่เคารพ, ให้ไม่ดีงาม, ไม่ให้ด้วยมือของตน, ให้สิ่งที่เป็นเดน ( หรือให้เหมือนอย่างทิ้งขว้าง ), ให้โดย ไม่เห็นอนาคต ( ปราศจากความเชื่อในผลของทาน ) ส่วนที่ดีคือตรงกันข้าม.

ตรัสแสดงสัปปุริสทาน พร้อมทั้งผลอีก ๕ อย่าง คือให้ทานด้วยศรัทธา ทำให้รูปงาม, ให้ทานด้วยความเคารพ ทำให้บุตร ภริยา บ่าวไพร่ เชื่อถ้อยฟังคำ, ให้ทานตามกาล ทำให้ความต้องการที่เกิดขึ้นตามกาล บริบูรณ์, ให้ทานด้วยจิตอนุเคราะห์ ทำให้มีจิตน้อมไปเพื่อบริโภคในกามคุณ ๕ อันโอฬาร ( มีทรัพย์แล้วได้ใช้ ไม่เหมือนบางคนที่มั่งมี แต่ไม่คิดใช้ ยอมอดอยาก ), ให้ทานไม่กระทบตน ไม่กระทบผู้อื่น ทำให้ทรัพย์ที่เกิดขึ้นไม่ถึงความวิบัติจากไฟ จากน้ำ จากพระราชา จากโจร จากผู้ไม่ชอบกัน จากทายาท. ( ก่อนที่จะตรัสแสดงผลพิเศษของแต่ละข้อ ได้แสดงผลเหมือน ๆกัน ทุกข้ออย่างหนึ่ง คือทำให้ มั่งคั่งทรัพย์มาก ).

ทรงแสดงว่า ธรรม ๕ อย่าง คือความยินดีในการงาน, ในการพูดมาก, ในการนอนหลับ, ในการคลุกคลีด้วยหมู่, การไม่พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว เป็นไปเพื่อความเสื่อมของภิกษุผู้หลุดพ้นเป็นครั้งคราว ( ยังไม่หลุดพ้นเด็ดขาด) ฝ่ายดีตรงกันข้าม.

และทรงแสดงธรรมะ ๕ ที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมเช่นนั้นอีก เป็นแต่ เปลี่ยนข้อ ๔ กับข้อ ๕ เป็นไม่สำรวมอินทรีย์ กับไม่รู้ประมาณในโภชนะ แล้วทรงแสดงฝ่ายดีตรงกันข้าม.


    '๑' . แม้ไม่ต้องชักชวนคนอื่นก็ดีพอแล้ว

    '๒' . แม้ไม่เพ่งเล็งคนอื่น เพียงแต่เพ่งเล็งตัวเองก็พอแล้ว

    '๓' . สันโดษ คือยินดีตามมีตามได้ หรือยินดีด้วยของของตน ไม่ยินดีของของคนอื่น

    '๔' . คุณธรรม ๕ ประการของภิกษุซ้ำกับที่เคยกล่าวมาแล้วในปธานิยังคะ ๕ (ธรรม ๕ อย่าง มีอุปการะ มาก คือองค์ ๕ ที่ควรตั้งไว้เป็นประธาน อันได้แก่ ๑. มีศรัทธาเชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ๒. มีโรคน้อย ๓. ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา ๔. ลงมือทำความเพียร ๕. มีปัญญาเห็นความเกิดความดับ ฯลฯ.) และมีศีล สดับมาก เป็นต้น

    '๕' . ทำเอง หรือคุมให้ทำ สั่งให้ทำ ก็จัดอยู่ในประเภทเดียวกัน


บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ