บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



พระสุตตันตปิฎก

พระสุตตันตะ เล่ม 14

หน้า ๑ ปฐุมปัณณาสก์
หมวด ๕๐ ที่ ๑


๑. ตรัสเรื่อง
พระเสขะ ๕ อย่าง
๒. ตรัสแสดงกำลัง ๕
๓. ผู้ไม่มีความเคารพ ฯลฯ
๔. ตรัสตอบปุจฉา
๕. โภคทรัพย์ ๕ ประการ

หน้า ๒ ทุติยปัณณาสก์
หมวด ๕๐ ที่ ๒
๑. ทรงแสดงนีวรณ์ ๕
๒. สัญญา ๕ สองชุด
๓.ธรรม ๕ อย่างข้างต้น
๔.ธรรมฝ่ายชั่ว ๕ ประการ
๕. ทรงแสดงสัมปทา

หน้า ๓ ตติยปัณณาสก์
หมวด ๕๐ ที่ ๓
๑. ตรัสธรรมะที่ทำ
ให้แกล้วกล้า ๕
๒. ภิกษุผู้เข้าสกุล
๓. ตรัสสอนภิกษุ
ไข้ว่า มีธรรม ๕
๔. ทรงแสดงองค์ ๕ ว่า
จักรพรรดิ์ทรงหมุนจักรไปได้
๕. ทรงแสดงบุคคล ๕

หน้า ๔ จตุตถปัณณาสก์
หมวด ๕๐ ที่ ๔
๑. ตรัสแสดงผู้ฟังธรรมที่ไม่ดี-ที่ดี
๒. ความอาฆาต ๕ อย่าง
๓.ผู้ประกอบด้วยศีล ๕
๔. ผู้อยู่ป่า ๕ ประเภท
๕. ธรรมเก่าแก่
ของพราหมณ์ ๕

หน้า ๕ ปัญจมปัณณาสก์
หมวด ๕๐ ที่ ๕
๑. ตรัสแสดงธรรมะแก่พระกิมพิละ
๒. ผู้กล่าวร้ายพระอริยเจ้า ฯลฯ
๓. โทษของการจาริกไปนาน
๔. ธรรม ๕ อย่าง ผู้ไม่ควร สรรเสริญ
๕. โทษของทุจจริต ๕

พระสูตรที่
ไม่จัดเข้าวรรค
ผู้ประกอบชุมนุม
ธรรมะที่มี ๖ ข้อ
ปฐมปัณณาสก์
หมวด ๕๐ ที่ ๑
๑.ภิกษุประกอบ
ด้วยธรรม ๖

๒.ธรรมที่
ให้ระลึกถึงกัน
๓. ธรรม ๖ อย่าง
๔. ตรัสแสดงว่า
ธรรม ๖ อย่าง
๕. ตรัสกะพระอุทายี

ทุติยปัณณาสก์
หมวด ๕๐ ที่ ๒
๑. ตรัสสอนพระโสณะ
๒. ผู้ละธรรม ๖
๓. ภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยธรรม ๖
๔. ภิกษุ,,ไม่ควร
ทำให้แจ้ง ฯลฯ
๕.ความปรากฏขึ้น
แห่งสิ่ง ๖ สิ่ง หายาก-

หน้า ๖ หมวดนอกจาก ๕๐ ตรัสแสดงราคะ,
โทสะ, โมหะ
พระสูตรที่ไม่จัดเข้าวรรค

 

เล่มที่ ๒๒ ชื่ออังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
(เป็นสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๔)
หน้า ๖ จบเล่ม

หมวดนอกจาก ๕๐

      (หมวดนี้มีข้อความสั้น ๆ พอจะจัดเป็นวรรคได้ วรรคหนึ่ง เรียกว่าติกวรรค คือวรรคที่ว่าด้วยธรรมะ จำนวน ๓ แต่เมื่อกล่าวถึงธรรมะจำนวน ๓ ในแต่ละสูตร ๒ จำนวนด้วยกัน จึงเท่ากับว่า แต่ละสูตร ก็กล่าวถึงธรรมจำนวน ๖ นั่นเอง).

ตรัสแสดงราคะ, โทสะ, โมหะ แล้วตรัสว่า ควรเจริญอสุภะ ( ความไม่งาม ) เพื่อละราคะ, ควรเจริญเมตตา ( ไมตรีจิตคิดจะให้เป็นสุข ) เพื่อละโทสะ, ควรเจริญปัญญา เพื่อละโมหะ.

ตรัสแสดงทุจจริต ๓ แล้วตรัสว่า ควรเจริญสุจริต ๓.

ตรัสแสดงวิตก ๓ คือความตรึกในกาม, ในการพยาบาท, ในการเบียดเบียน แล้วตรัสว่า ควรเจริญความตรึกในการออกจากกาม เพื่อละความตรึกในกาม, ควรเจริญความตรึกในการไม่พยาบาท เพื่อละความตรึกใน การพยาบาท, ความเจริญความตรึกในการไม่เบียดเบียน เพื่อละความตรึกในการเบียดเบียน.

ตรัสแสดงสัญญา ( ความกำหนดหมาย ) ทั้งฝ่ายชั่วฝ่ายดี และธาตุทั้งฝ่ายชั่วฝ่ายดี เหมือนความตรึกข้างต้น.

ตรัสแสดงธรรม ๓ อย่าง คือความเห็นเป็นเหตุพอใจ, ความเห็นเป็นเหตุยึด ตัวตน, ความเห็นผิด.

แล้วตรัสแสดงว่า ควรเจริญธรรมะ ๓ ประการ คือความกำหนดหมายว่าไม่ เที่ยง, ว่าไม่ใช่ตัวตน, ความเห็นชอบ ว่าเป็นคู่ปรับสำหรับละธรรมฝ่ายชั่ว ๓ ข้อต้น เป็นคู่กัน ตามลำดับข้อ.

ตรัสแสดงธรรมะ ๓ อย่าง คืออรติ ( ความริษยา ) วิหิงสา ( ความเบียดเบียน ) อธัมมจริยา ( การประพฤติอธรรม )

แล้วตรัสแสดงว่า ควรเจริญธรรม ๓ อย่าง คือความพลอยยินดี, ความไม่เบียด เบียน, การประพฤติธรรม เพื่อละธรรมฝ่ายชั่วแต่ละข้อโดยลำดับ.

ตรัสแสดงธรรมะ ๓ อย่าง คือความไม่สันโดษ ( ยินดีด้วยของของตน ), ความ ไม่รู้ตัว, ความปรารถนามาก,

แล้วตรัสว่า ควรเจริญธรรมะ ๓ อย่าง คือความสันโดษ, ความรู้ตัว, ความ ปรารถนาน้อย เพื่อละธรรมแต่ละข้อเหล่านั้น.

ตรัสแสดงธรรมะ ๓ อย่าง คือความว่ายาก, การคบคนชั่วเป็นมิตร, ความฟุ้ง สร้านแห่งจิต.

แล้วตรัสว่า ควรเจริญธรรมะ ๓ อย่าง คือความว่าง่าย, การคบคนดีเป็นมิตร, การตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก เพื่อละธรรม ๓ อย่างเหล่านั้น

ตรัสแสดงธรรมะ ๓ อย่าง คือความฟุ้งสร้าน, ความไม่สำรวม, ความประมาท.

แล้วตรัสแสดงว่า ควรเจริญธรรมะ ๓ อย่าง คือความสงบระงับ, ความสำรวม, ความไม่ประมาท เพื่อละธรรมะ ๓ อย่างเหล่านั้น.

พระสูตรที่ไม่จัดเข้าวรรค

ตรัสแสดงธรรม ๖ อย่าง คือความยินดีในการงาน, ยินดีในการพูดมาก, ยินดี ในการนอนหลับ, ยินดีในการคลุกคลี, ไม่สำรวมอินทรีย์, ไม่รู้ประมาณในโภชนะว่า ถ้าละธรรมะ ๖ อย่างนี้ไม่ได้ ก็ไม่ควรเจริญสติปัฏฐาน ๔ มีสติกำหนดพิจารณาภายในกาย เป็นต้น.

ตรัสว่า ตปุสสคฤหบดี ( ผู้ถวายข้าวสัตตุก้อนและสัตตุผง ) รวมทั้งคฤหบดี อื่น ๆ เช่น ภัทลิกะ, สุทัตตะ ผู้ให้ก้อนข้าวแก่คนยาก ( อนาถปิณฑิกะ ) เป็นต้น ประกอบด้วยธรรม ๖ อย่าง จึงเป็นผู้ถึงความตกลงใจใน พระตถาคต เห็นอมตะ ทำให้แจ้งอมตะ คือความไม่เลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธ, พระธรรม, พระสงฆ์. มีศีล, มีญาณ, มีวิมุติ อันเป็นอริยะ.

ตรัสว่า ควรเจริญธรรม ๖ อย่าง เพื่อรู้ยิ่งซึ่งอุปกิเลส ๑๖ ( อุปกิเลส ( เครื่องหมายเศร้าหมองจิต ) ๑๖ ประการ คือ ๑. โลภ ๒. พยาบาท ๓. โกรธ ๔. ผูกโกรธ ๕. ลบลู่ บุญคุณท่าน ๖. ตีเสมอ ๗. ริษยา ๘. ตระหนี่ ๙. มายา ๑๐. โอ้อวด ๑๑. กระด้าง ๑๒. แข่งดี ๑๓. ถือตัว ๑๔. ดูหมิ่น ๑๕. มัวเมา ๑๖. ประมาท ) มีราคะ เป็นต้น คืออนุตตริยะ ๖ ( อนุตตริยะ ๖ คือการเห็น การฟัง, การได้, การศึกษา, การบำเรอ, การระลึก อันยอดเยี่ยม.), อนุสสติ ๖ ( การระลึก ๖ ประการ คือ ๑. ตั้งกายกรรม, ๒. วจีกรรม, ๓. มโนกรรม อันประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนพรหมจารี ๔. แบ่งปันลาภแก่เพื่อนพรหมจารี ๕. มีศีลที่ดีเสมอกัน ๖. มีความเห็นที่ดีเสมอกันกับเพื่อนพรหมจารี ) , สัญญา ๖ ตาม ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น.

จบพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒

อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

ซึ่งว่าด้วยชุมนุมธรรมะจำนวน ๕ และจำนวน ๖


    '๑' . อนุตตริยะ ๖ กับอนุสสติ ๖ กล่าวไว้แล้วหลายครั้ง ส่วนสัญญา ๖ ประการ คือความกำหนดหมายว่า ไม่เที่ยง, ความกำหนดหมายว่าทุกข์ในสิ่งที่ไม่เที่ยง, ความกำหนดหมายว่าไม่ใช่ตนในสิ่งที่เป็นทุกข์, ความกำหนดหมายถึงการละ, ถึงความคลายกำหนัด, ถึงการดับกิเลส


บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ