บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



พระสุตตันตปิฎก

พระสุตตันตะ เล่ม 14

หน้า ๑ ปฐุมปัณณาสก์
หมวด ๕๐ ที่ ๑


๑. ตรัสเรื่อง
พระเสขะ ๕ อย่าง
๒. ตรัสแสดงกำลัง ๕
๓. ผู้ไม่มีความเคารพ ฯลฯ
๔. ตรัสตอบปุจฉา
๕. โภคทรัพย์ ๕ ประการ

หน้า ๒ ทุติยปัณณาสก์
หมวด ๕๐ ที่ ๒
๑. ทรงแสดงนีวรณ์ ๕
๒. สัญญา ๕ สองชุด
๓.ธรรม ๕ อย่างข้างต้น
๔.ธรรมฝ่ายชั่ว ๕ ประการ
๕. ทรงแสดงสัมปทา

หน้า ๓ ตติยปัณณาสก์
หมวด ๕๐ ที่ ๓
๑. ตรัสธรรมะที่ทำ
ให้แกล้วกล้า ๕
๒. ภิกษุผู้เข้าสกุล
๓. ตรัสสอนภิกษุ
ไข้ว่า มีธรรม ๕
๔. ทรงแสดงองค์ ๕ ว่า
จักรพรรดิ์ทรงหมุนจักรไปได้
๕. ทรงแสดงบุคคล ๕

หน้า ๔ จตุตถปัณณาสก์
หมวด ๕๐ ที่ ๔
๑. ตรัสแสดงผู้ฟังธรรมที่ไม่ดี-ที่ดี
๒. ความอาฆาต ๕ อย่าง
๓.ผู้ประกอบด้วยศีล ๕
๔. ผู้อยู่ป่า ๕ ประเภท
๕. ธรรมเก่าแก่
ของพราหมณ์ ๕

หน้า ๕ ปัญจมปัณณาสก์
หมวด ๕๐ ที่ ๕
๑. ตรัสแสดงธรรมะแก่พระกิมพิละ
๒. ผู้กล่าวร้ายพระอริยเจ้า ฯลฯ
๓. โทษของการจาริกไปนาน
๔. ธรรม ๕ อย่าง ผู้ไม่ควร สรรเสริญ
๕. โทษของทุจจริต ๕

พระสูตรที่
ไม่จัดเข้าวรรค
ผู้ประกอบชุมนุม
ธรรมะที่มี ๖ ข้อ
ปฐมปัณณาสก์
หมวด ๕๐ ที่ ๑
๑.ภิกษุประกอบ
ด้วยธรรม ๖

๒.ธรรมที่
ให้ระลึกถึงกัน
๓. ธรรม ๖ อย่าง
๔. ตรัสแสดงว่า
ธรรม ๖ อย่าง
๕. ตรัสกะพระอุทายี

ทุติยปัณณาสก์
หมวด ๕๐ ที่ ๒
๑. ตรัสสอนพระโสณะ
๒. ผู้ละธรรม ๖
๓. ภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยธรรม ๖
๔. ภิกษุ,,ไม่ควร
ทำให้แจ้ง ฯลฯ
๕.ความปรากฏขึ้น
แห่งสิ่ง ๖ สิ่ง หายาก-

หน้า ๖ หมวดนอกจาก ๕๐ ตรัสแสดงราคะ,
โทสะ, โมหะ
พระสูตรที่ไม่จัดเข้าวรรค

 

เล่มที่ ๒๒ ชื่ออังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
(เป็นสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๔)
หน้า ๔

      พระไตรปิฎกเล่มนี้ แบ่งออกเป็น ๒ ตอน คือตอนที่ ๑ ชื่อปัญจกนิบาต ว่าด้วย ธรรมะจำนวน ๕ ตอนที่ ๒ ชื่อฉักกนิบาต ว่าด้วยธรรมะจำนวน ๖.

จตุตถปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๔

      ( แบ่งออกเป็น ๕ วรรค วรรคละประมาณ ๑๐ สูตรเช่นเดิม วรรคที่ ๑ ชื่อสัทธัมมวรรค ว่าด้วยสัทธรรม, วรรคที่ ๒ ชื่ออาฆาตวรรค ว่าด้วยความอาฆาต, วรรคที่ ๓ ชื่ออุปาสกวรรค ว่าด้วยอุบาสก, วรรคที่ ๔ ชื่อ อรัญญวรรค ว่าด้วยป่า, วรรคที่ ๕ ชื่อพราหมณวรรค ว่าด้วยพราหมณ์ ).

      ๑. ตรัสแสดงถึงผู้ฟังธรรมที่ไม่ดีและที่ดี หลายนัย

ที่ไม่ดี เช่น ข่มหรือดูหมิ่นเรื่องที่แสดง, ผู้แสดง, ตัวเอง, มีจิตฟุ้งสร้าน, มีจิตไม่มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ไม่ ใส่ใจโดยแยบคาย ที่ดีคือตรงกันข้าม เป็นต้น.

      ๒. ตรัสสอนวิธีนำออกซึ่งความอาฆาต ๕ อย่าง

คือ พึงเจริญเมตตา, กรุณา, อุเบกขา ในผู้ที่ตนคิดอาฆาต, พึงไม่สนใจในบุคคลนั้น, พึงคิดไปในทางที่ว่า ใครทำกรรมคนนั้นก็จะได้รับผล ( สัตว์มีกรรม เป็นของของตน ) ต่อจากนั้นเป็นคำสอนของพระสาริบุตร ในเรื่องทำนองเดียวกัน เป็นแต่ยักย้ายนัย.

      ๓. ตรัสแสดงอุบาสกผู้ประกอบด้วยศีล ๕ ว่า เป็นผู้ก้าวลงสู่ความแกล้วกล้า ตลอดจน ได้ตรัสถึงการค้าขายที่อุบาสกไม่ควรทำ

คือค้าขายเครื่องประหาร ( ศัสตรา ), ค้าขายสัตว์เป็น, ค้าขายเนื้อสัตว์, ค้าขายน้ำเมา, ค้าขายยาพิษ.

พร้อมทั้งตรัสแสดงคุณของศีล ๕ และโทษของการล่วงละเมิด เป็นต้น. ในที่สุดตรัสเล่าถึงเรื่องภเวสีอุบาสก พร้อมด้วยอุบาสกที่เป็นบริวารอีก ๕๐๐ ต่างแข่งขันทำความดี ตั้งอยู่ในศีล ๕ ให้ดี กว่ากันขึ้นโดยลำดับ จนถึงออกบวชสำเร็จเป็นพระอรหันต์.

      ๔. ตรัสแสดงเรื่องภิกษุผู้อยู่ป่า ๕ ประเภท

คืออยู่ป่าเพราะโง่, เพราะ ปรารถนาลามก ( เช่น ต้องการให้คนนับถือ ), เพราะเป็นบ้า, มีจิตฟุ้งสร้าน, เพราะเห็นว่าพระพุทธเจ้าและพระสาวกสรรเสริญการ อยู่ป่า, เพราะมีคุณธรรม มีมักน้อย สันโดษ เป็นต้น แล้วตรัสสรรเสริญว่า อยู่ป่าเพราะมีคุณธรรมเป็นเลิศ. นอกจากนั้นทรงแสดง ถึงผู้บำเพ็ญธุดงค์ อื่น ๆ อีก มีทรงผ้าบังสุกุล ( ผ้าเปื้อนฝุ่นที่เก็บตก ) เป็นต้น ในทำนอง เดียวกัน.

      ๕. ตรัสแสดงธรรมเก่าแก่ของพราหมณ์ ๕ ประการ

ซึ่งในบัดนี้ไม่ ปรากฏในพราหมณ์ คือ ๑. พราหมณ์ย่อมอยู่ร่วมกับพราหมณี ไม่อยู่ร่วมกับคนที่มิใช่พราหมณี ๒. พราหมณ์ย่อมอยู่ร่วมกับพราหมณี ผู้มีระดู ไม่อยู่ร่วมกับพราหมณีผู้ไม่มีระดู ( ยังเด็กเกินไป ถือความสมควรเมื่อมีระดูแล้ว คือสามารถมีบุตรได้ ) ๓. พราหมณ์ย่อมไม่ซื้อ ขายพราหมณี ย่อมอยู่ร่วมกันด้วยความรักใคร่ สัมพันธ์กัน ๔. พราหมณ์ย่อมไม่สะสมทรัพย์ ข้าวเปลือก ทองเงิน ๕. พราหมณ์ย่อม หาอาหารเย็นกินเย็น หาอาหารเช้ากินเช้า ( ถือการภิกขาจารไม่สะสมหรือขอเอาไว้กินในมื้ออื่น ).

ตรัสแสดงธรรมแก่โทณพราหมณ์ เรื่องคุณธรรมของพราหมณ์ในทางที่ เนื่องด้วยการอบรมจิต.

ตรัสแสดงธรรมแก่สังคารวพราหมณ์ เรื่องคุณธรรมที่ทำให้มนต์แม้ที่ไป ท่องบ่น ยังคงแจ่มแจ้งอยู่ตลอดกาลนาน โดยชี้ไปที่การทำให้จิตปราศจากนีวนณ์ ๕ ( เฉพาะข้อ ๑ ทรงใช้คำว่า กามราคะ แทนคำว่า กามฉันท์๑.( นิวรณ์ ๕ อย่างล้วนเป็นอกุศลราศี คือ :- ๑. กามฉันท์ ความพอใจในกาม ๒. พยาบาท ความคิดปองร้าย ๓. ถีนมิทธะ ความหดหู่ง่วงงุน ๔. อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งสร้านรำคาญใจ ๕. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ) ๒. ( พึงสังเกตว่า ในที่นี้ ไม่ใช้คำว่า กามฉันท์ ความพอใจในกาม แต่ใช้ อภิชฌา แทน ) ๓. ( นิวรณ์คือกิเลสอันกั้นจิตให้บรรลุความดี โดยปกติแสดงว่ากามฉันท์ความพอใจเป็นข้อแรก บางแห่งก็ใช้คำว่าอภิชฌา ( ความเพ่งเล็งหรือโลภ ) ในที่นี้ใช้อภิชฌาวิสมโลภ ( โลภขนาดรุนแรง ) เป็นข้อแรก )

พราหมณ์ชื่อการณปาลี ถามพราหมณ์ชื่อปิงคิยานีถึงคุณงามความดีของ ของพระพุทธเจ้า เมื่อได้ฟังคำอธิบายก็เลื่อมใส แสดงตนเป็นอุบาสก.

ตรัสแสดงความปรากฏแห่งรัตนะ ๕ ที่หาได้ยากแก่เจ้าลิจฉวี มีความ ปรากฏแห่งพระพุทธเจ้า เป็นต้น.

ตรัสแสดงความฝันเรื่องใหญ่ ( มหาสุบิน ) ๕ ประการ ก่อนที่จะตรัสรู้ คือ ๑. ทรงฝันว่ามีมหาปฐพีเป็นที่บรรทม มีขุนเขาหิมพานต์เป็นหมอน, พระหัตถ์ซ้ายขวาพาดมหาสมุทรด้านตะวันออกตะวันตก พระบาททั้งคู่พาดมหาสมุทรด้านใต้ ๒. ทรงฝันว่ามีหญ้าชื่อติริยา เกิดขึ้นจากพระนาภี สูง ขึ้นไปจดท้องฟ้า ๓. ทรงฝันว่ามีหนอนสีขาวมีหัวดำไต่ขึ้นมาจากพระบาทปกคลุมจนถึงชานุมณฑล ( บริเวณเข่า ) ๔. ทรงฝันว่ามีนก ๔ ชนิดมีสีต่าง ๆ มาจาก ๔ ทิศ ตกลงมาแทบบาทมูลแล้วกลายเป็นสีขาวทั้งหมด ๕. ทรงฝันว่าทรงเดินไปมาบนภูเขาอุจจาระลูกใหญ่ แต่ไม่เปื้อนอุจจาระ แล้วทรงอธิบายว่า ข้อ ๑ หมายความว่า จะได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ข้อ ๒ หมายความว่าจะได้ตรัสรู้ อริยมรรคมีองค์ ๘ ข้อที่ ๓ หมายความว่า พวกคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาวจะมาถึงพระตถาคตเป็นสรณะตลอดชีวิต ข้อที่ ๔ หมายความว่า วรรณะทั้งสี่มีกษัตริย์ เป็นต้น จะมาบวชในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว และได้ทำให้แจ้งวิมุติอันยอดเยี่ยม ข้อที่ ๕ หมาย ความว่า พระองค์จะได้ลาภปัจจัย ๔ แต่ไม่ติดอยู่ในสิ่งเหล่านั้น. และได้ตรัสแสดงเรื่องอื่น ๆ เช่น

ลักษณะ ๕ ของวาจาสุภาษิต (ซึ่งได้แปลเอาไว้แล้วว่าลักษณะ ๕ ของวาจาสุภาษิต " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! วาจาที่ประกอบด้วยองค์ ๕ นับเป็นสุภาษิต ไม่เป็นทุพภาษิต ไม่มีโทษ อันผู้รู้ติไม่ได้ คือ :-
      ๑ . วาจาที่กล่าว ( ถูกต้อง ) ตามกาล      ๒. วาจาที่กล่าว เป็นความจริง
      ๓ . วาจาที่กล่าว อ่อนหวาน      ๔ . วาจาที่กล่าว ประกอบด้วยประโยชน์
      ๕ . วาจาที่กล่าว ด้วยจิตประกอบด้วยเมตตา. )

และนิสสารณธาตุ ( ธาตุคือความแล่นออก, ได้แก่พ้นไป ) คือการที่จิตของ บุคคลแล่นออกไป ( หรือพ้นไป ) จากกาม ( ความใคร่ ), พยาบาท ( ความคิดปองร้าย ), วิเหสา ( ความคิดเบียดเบียน ). รูป, สักกายะ ( กายของตน ).


    '๑' . ที่ไม่ดี คือที่ไม่ควรจะก้าวลงสู่ทำนองคลองธรรม อันถูกต้องในกุศลธรรม ที่ดีคือตรงกันข้าม

    '๒' . คำว่า ธุดงค์ หมายถึงข้อปฏิบัติขัดเกลากิเลส มีอยู่ ๑๓ ข้อ มีการอยู่ป่า เป็นต้น

    '๓' . อรรถกถาแก้ว่า หญ้าคา ( ทัพพติณะ )


บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ