บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



บุพพสิกขาวรรณณา

สารบัญ

คำนำ

รตนัตตยบัพพะ

อาปัตตินามาทิบัพพะ

ปฏิปัตติมุขบัพพพะ

กาลิกบัพพะ

พินทวาธิฏฐานาทิบัพพะ

วิชหนาทิบัพพะ

อาปัตติเทสนาทิบัพพะ

มาตรากถา

 

คำนำ

           บุพพสิกขาวรรณนา เป็นหนังสือแสดงอธิบายพระวินัยที่ท่าน พระอมราภิรักขิต (อมโร เกิด) เป็นผู้รจนาขึ้น ท้ายหนังสือบอกไว้ว่า เสร็จทั้งหมดในปีวอก พุทธศักราช ๒๔๐๓ นับเป็นปีรัชกาลที่ ๑๐ ในรัชกาลที่ ๔

            ในเบื้องต้นของบุพพสิกขาวรรณา ท่านผู้รจนาได้กล่าวปรารภ ถึงบุพพสิกขาที่ท่านได้แต่งไว้แล้วโดยย่อ เพื่อให้กุลบุตรผู้เป็นคนใหม่ ในศาสนา ศึกษาตามในกาลเป็นเบื้องต้น จึงจะทำการวรรณนาบุพพสิกขานั้น โดยพิสดารสักหน่อย เพื่อผู้ใคร่จะรู้จะศึกษา ตามคำ ปรารภนี้ แสดงว่า ท่านผู้รจนาได้แต่งเรื่องที่ท่านให้ชื่อว่าบุพพสิกขา ไว้ก่อนแล้วโดยย่อ สำหรับ 'คนใหม่' จะได้ศึกษาในเบื้องต้น ตรง กับชื่อเรื่องว่า 'บุพพสิกขา' ที่แปลว่า 'ศึกษาในเบื้องต้น'

            เรื่องบุพพสิกขาที่เป็นต้นเดิมของหนังสือบุพพสิกขาวรรณนา เจ้าหน้าที่ได้พบในตู้หนังสือ บนตำหนักล่าง ซึ่งเป็นตำหนักเดิมของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เรียกชื่อเต็มว่า สัตตปัพพปุพพสิกขา เรียกสั้นในคำเริ่มต้นว่า บุพพสิกขา กล่าวถึงเรื่อง ที่กุลบุตรพึงศึกษาก่อน ๗ ข้อ คือ ข้อต้นว่าด้วยคุณพระรัตนตรัย ข้อที่ ๒ ว่าด้วยชื่ออาบัติเป็นต้น ข้อ ๓ ว่าด้วยสิกขาบทที่ใกล้จะต้องเป็น ทางปฏิบัติมาก ข้อ ๔ ว่าด้วยกาลิก ข้อ ๕ ว่าด้วยพินทุอธิษฐาน วิกัปป์และปัจจุทธรณ์ ข้อ ๖ ว่าด้วยขาดอธิษฐานเป็นต้น ข้อ ๗ ว่าด้วยแสดงอาบัติเป็นต้น ในตอนท้ายแต่งเป็นฉันท์บาลี ๑ คาถา บอกว่า ' อมระ ' เป็นผู้แต่ง คำนี้ตรงกับนามฉายาของท่านผู้รจนา บุพพสิกขาวรรณนา จึงสันนิษฐานได้ว่า ท่านอมระผู้แต่งบุพพสิกขา นั้น คือท่านผู้รจนาบุพพสิกขาวรรณนานั้นเอง เพราะหนังสือบุพพสิกขาที่ค้นพบ ไม่ได้บอกชื่อผู้แต่งไว้ในที่อื่นนอกจากในคาถาท้ายเรื่อง นั้น และไม่ได้บอกปีที่พิมพ์ คำบาลีใช้อักษรอริยกะทั้งหมด อักษร อริยกะนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงคิดขึ้นตั้งแต่สมัย ที่ยังทรงผนวชอยู่ และทรงตั้งโรงพิมพ์ขึ้นด้วย ในวัดบวรนิเวศวิหาร ตรงที่สร้างตำหนักเพชรในปัจจุบัน ใช้อักษรไทยพิมพ์ภาษาไทย ส่วน ภาษาบาลีใช้อักษรอริยกะที่ทรงคิดขึ้น ในเวลานั้นนิยมใช้เขียนด้วย อักษรของ เวลานี้ยังได้พบหนังสือที่พิมพ์ในครั้งนั้นเก็บอยู่ในตู้เป็น บางเรื่อง เช่นหนังสือปาติโมกข์บาลี ใช้พิมพ์ด้วยอักษรอริยกะตลอด และหนังสือบุพพสิกขานี้ ก็น่าคิดว่าจะพิมพ์ในสมัยที่ใกล้เคียงกันนั้น เพราะอักษรอริยกะใช้กันอยู่ในวงแคบและชั่วระยะกาลหนึ่งเท่านั้น

            ต่อมา ท่านผู้รจนาบุพพสิกขา ๗ ข้อ จึงได้รจนาวรรณนา แห่งบุพพสิกขา ๗ ข้อนั้นโดยพิสดาร ดังที่เรียกว่า "บุพพสิกขา-ภ วรรณนา" นี้ บุพพสิกขาวรรณนาใช้เป็นหลักในการศึกษาปฏิบัติ พระวินัยในสมัยก่อนมานาน เป็นที่นิยมนับถือของพระสงฆ์ ผู้เป็น นักศึกษาปฏิบัติทั่วไป และบุพพสิกขาวรรณนานี้กล่าวได้ว่า เป็นต้น เดิมของหนังสือวินัยมุข ที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงรจนาขึ้น ดังที่ทรงไว้ในคำนำของวินัยมุขว่า "ในการรจนาหนังสือนี้ ข้าพเจ้าได้อาศัยบุพพสิกขาวรรณนาเป็นอย่าง มาก เพราะท่านผู้รจนาได้เลือกจากปกรณ์ทั้งหลาย มารวบรวมไว้ใน เรื่องเดียว ทั้งความมุ่งหมายของข้าพเจ้า ก็เพื่อจะแต่งแก้บุพพสิกขาวรรณนา เหมือนเป็นฎีกาของหนังสือนั้น บูรณะข้อที่บกพร่อง และแก้ ข้อที่ผิด ให้สำเร็จประโยชน์ จึงต้องใช้หนังสือนั้นเป็นเครื่องมือ จะ ถือว่าเก็บข้อความในบุพพสิกขาวรรณนานั้น มาเรียงเข้ารูปใหม่ก็ได้ ข้าพเจ้าขอแสดงความระลึกถึงอุปการ ของท่านพระอมราภิรักขิต (อมร เกิด) เจ้าวัดบรมนิวาส ผู้รจนาหนังสือนั้น" แม้หนังสือ นวโกวาทของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าพระองค์นั้น ก็ดูมีเค้าความ ประสงค์คล้ายหนังสือบุพพสิกขา เพระเป็นหนังสือย่อข้อที่ควรศึกษา ก่อน สำหรับคนใหม่เช่นเดียวกัน แต่มีต่างกัน เช่นนวโกวาท ย่อคศาม ในสิกขาบทมาในพระปาติโมกข์ครบถ้วนเป็นต้น

            สรูปความว่า ท่านพระอมรารักขิต (อมโร เกิด) ได้รจนา หนังสือบุพพสิกขา หรือสัตตปัพพปุพพสิกขาขึ้นสำหรับนวกะแล้ว รจนาบุพพสิกขวรรณนา สำเร็จตั้งแต่ในรัชกาลที่ ๔ ต่อมา สมเด็จ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงรจนาหนังสือ นวโกวาทและวินัยมุข ซึ่งใช้หนังสือของท่านพระอมราภิรักขิตนั้นเป็น คู่มือ และได้ใช้เป็นหลักสูตรแห่งการศึกษานักธรรมในคณะสงฆ์ใน ปัจจุบันหนังสือบุพพสิกขาวรรณนา ปรากฏว่า เดิมเป็นหนังสือจารใน คัมภีร์ใบลาน ต่อมาจึงได้มีการคัดลอกพิมพ์เป็นเล่มสมุดขึ้น และได้ พิมพ์ต่อมาอีกหลายครั้ง ฉบับพิมพ์ในสมัยต่าง ๆ กัน เท่าที่ได้พบใน เวลาทำคำนำนี้ มีเป็นลำดับดังต่อไปนี้

            พ. ศ. ๒๔๓๘ (ร. ศ. ๑๑๔) สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ขระดำรงพระยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช โปรด ให้พิมพ์ ๑,๐๐๐ เล่ม ถวายไว้ในมหากุฏราชวิทยาลัย เป็นการทรง บำเพ็ญพระกุศล ในสมัยตรงกับวันประสูติครบ ๓๖ ปีบริบูรณ์ในวันที่ ๑๑ มกราคม ศกนั้น มีแจ้งในอารัมภกถาตอนหนึ่งว่า "ในครั้งนี้ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส จึงได้ทรงแนะนำให้สร้างหนังสือ 'บุพพสิกขาวรรณนา' นี้ ที่พระอมราภิรักขิต (เกิด) วัดบรมนิวาสได้แต่ง ขึ้นไว้ เป็นหนังสือแสดงข้อวินัยปฏิบัติโดยพิสดาร เป็นของที่นิยม นับถือของพระสงห์ทั้งปวง จึงเป็นหนังสือสำคัญที่ต้องการผู้ศึกษา แต่ก่อนเป็นหนังสือจารในคัมภีร์ใบลาน มักจารวิปลาสคลาดเคลื่อน และผู้ศึกษาจะหาได้ด้วยยาก เมื่อได้ลงพิมพ์ให้เป็นเล่มสมุดให้แพร่ หลายมากขึ้นแล้ว ก็จะเป็นประโยชน์แก่พระภิกษุสามเณรซึ่งจะศึกษา ทั่วไป.

            ในการที่พิมพ์ "บุพพสิกขาวรรณนา" ฉบับนี้ พระเจ้าน้อง ยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ทรงมอบพระธุระให้ หม่อมเจ้าพระสถาพรพิริยพรต วัดราชบพิธ ชำระสอบทานกับต้นฉบับโดย ละเอียดแล้ว หนังสือบุพพสิกขาวรรณนาฉบับพิมพ์ ซึ่งได้ทรงสร้างขึ้น ในครั้งนี้ พิเศากว่าหนังสือบุพพสิกขาวรรณนาที่จารในใบลานทั้งสิ้น สมควรที่ผู้ศึกษาจะใช้เป็นหนังสือสำหรับศึกษาทั่วไป

            การพิมพ์ครั้งนั้นโปรดให้พิมพ์ที่โรงพิมพ์วัชรินทร์ ซึ่งหม่อมเจ้า วัชรินท์ทรงเป็นผู้จัดการ

            พ.ศ. ๒๔๔๐ (ร. ศ. ๑๑๖) สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ขณะทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราช เทวีโปรดให้พิมพ์ ๒,๐๐๐ เล่ม ที่โรงพิมพ์บำรงนุกูลกิจ หลวงดำรง ธรรมสารเป็นผู้จัดการพิมพ์ ปรากฏในอารัมภกถาว่า "ทรงพระราช อุทิศส่วนพระราชกุศล ถวายฉลองพระเดชพระคุณ แด่พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมชนกนาถ ผู้ทรงเป็นพระราช ธุระชักนำสงฆมณฑลในดำรงวินัยปฏิบัติ ประดิษฐานพระพุทธศาสนา ให้วัฒนาถาวรสืบมา" สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสขณะดำรงพระยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณ- วโรรส ทรงชำระตรวจสอบต้นฉบับ

            พ. ศ. ๒๔๔๓ (ร. ศ. ๑๑๙) โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ สี่กั๊ก เสาชิงช้า ถนนบำรุงเมือง พิมพ์จำหน่าย บอกที่หน้าปกว่า พิมพ์ ครั้งที่สอง ๒,๐๐๐ ฉบับ

            พ.ศ. ๒๔๔๘ (ร. ศ. ๑๒๔) พิมพ์ที่โรงพิมพ์ศิริเจริญ ตำบลสะพานหัน เพื่อจำหน่าย ไม่บอกจำนวนพิมพ์

            พ. ศ. ๒๔๔๙ ( ร. ศ. ๑๒๕ ) พิมพ์ที่โรงพิมพ์ศิริเจริญ ตำบล สะพานหัน เพื่อจำหน่าย มีธุดงควัตร์สิบสามประการด้วย ไม่บอก จำนวนพิมพ์

            พ. ศ. ๒๔๕๐ (ร. ศ. ๑๒๖) โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ พิมพ์ จำหน่าย บอกที่หน้าปกว่าพิมพ์ครั้งที่สี่ ๕,๐๐๐ ฉบับ

            พ. ศ. ๒๔๕๓ (ร. ศ. ๑๒๙) หลวงโสภณเพ็ชรรัตน บริจาค ทรัพย์สร้างขึ้น ๔๐๐ ฉบับ เพื่อแจกในการทำกุศล ๑๐๐ วันให้มารดา มีแจ้งในคำนำฉบับพิมพ์ที่โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ สร้างขึ้นจากฉบับที่ พิมพ์แล้วหรือจะพิมพ์ขึ้นใหม่ไม่ได้บอกไว้

            พ. ศ. ๒๔๕๖ (ร. ศ. ๑๓๒) โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ พิมพ์ จำหน่าย บอกที่หน้าปกว่าพิมพ์ครั้งที่ห้า ๕,๐๐๐ ฉบับ

            พ.ศ. ๒๕๐๘ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พิมพ์พระราชทานใน งานพระศพ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ?าโณทโย) วัดสระเกษราชวรมหาวิหาร ณ พระเมรุหน้าพลับพลา ิอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๐๘ ปรากฏในบานแผนกตอนหนึ่งว่า "ได้ทรงเผดียงพระสาสนโสภณ เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ให้เลือกสรรหนังสือที่จะพิมพ์ขึ้น เป็น วิทยาทานเพื่อระลึกถึงงานนี้ พรสาสนโสภณถวายชื่อหนังสือขึ้นมาบางเรื่อง ได้ทรงเลือกให้พิมพ์หนังสือบุพพสิกขาวรรณนา วินิจฉัย พระวินัยบัญญัติ เพื่อหวังประโยนชน์ในทางศึกษาเทียบเคียง เพราะ หนังสือเรื่องนี้แม้จะเคยพิมพ์กันมาแล้วหลายครั้ง ก็ยังควรจะใช้ได้อีก และเวลานี้ก็เหลืออยู่น้อยเล่มแล้ว ทรงอุทิศพระราชกุศลแด่สมเด็จ พระสังฆราชพระองค์นั้น" ในครั้งนี้ พิมพ์ที่โรงพิมพ์พระจันทร์ ทรง พระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พิมพ์พระราชทานในงานพระศพ ๓,๐๐๐ เล่ม มหามกุฏราชวิทยาลัยขอให้โรงพิมพ์พระจันทร์พิมพ์เพิ่มอีก ๑,๐๐๐ จบ พระธรรมโสภณ (กิจจฺจกาโร) พระจุลนายก (อุคคเสโน) วัดบวรนิเวศวิหาร และพระธรรมไตรโลกาจารย์ (นิรนฺตโร) วัด เทพศิรินทราวาส เป็นผู้ตรวจฉบับพิมพ์ และได้ตรวจชำระในหมวด มาตรากถาโดยตลอดด้วย ในที่บางแห่ง ท่านผู้ตรวจได้ทำเชิงหน้าไว้ เพื่อให้สะดวกแก่ผู้ศึกษา

            มหามกุฏราชวิทยาลัยรับหนังสือที่ให้พิมพ์เพิ่มยังไม่ได้เข้าเล่มมา เก็บไว้ตั้งแต่คราวนั้น บัดนี้พิจารณาเห็นว่าสมควรจะพิมพ์ สัตตปัพพปุพพสิกขา หรือ เรียกสั้นว่า บุพพสิกขา ที่ท่านพระอมราภิรักขิต (อมโร เกิด) ได้รจนาไว้ก่อน ซึ่งได้พบในตู้หนังสือดังกล่าวข้างต้น เพิ่มไว้ข้างหน้าบุพพสิกขาวรรณนารวมเป็นเล่มเดียวกัน จึงได้ดำเนิน การพิมพ์รวมเข้าดังที่ปรากฏอยู่นี้ การพิมพ์ได้พยายามรักษาสำนวน โวหารและอักษร สกด การันต์ ของท่านไว้ให้เหมือนฉบับเดิม จะ มีต่างอยู่ก็อักษรที่เป็นภาษาบาลี จำเป็นต้องใช้ดังที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพราะตัวอักษรอริยกะไม่มี

            หนังสือบุพพสิกขาวรรณนา พร้อมด้วยบุพพสิกขา ซึ่งเป็น ต้นเดิม เป็นหนังสือที่มีประโยชน์เกื้อกูลแก่การศึกษาปฏิบัติพระวินัย อันถือว่าเป็นรากแก้วพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก แม้ในบัดนี้ ได้มี หนังสือวินัยมุข พร้อมกับนวโกวาทเป็นหลักสูตรแห่งการศึกษาที่ใช้ ทั่วไปแล้ว แต่ถ้าหากได้มีบุพพสิกขากับบุพพสิกขาวรรณนา สำหรับ ศึกษาประกอบเข้าอีก ก็จะได้ความรู้เทียบเคียงกว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้ง ยังใช้เกื้อกูลแก่การปฏิบัติพระวินัยได้อีกส่วนหนึ่งด้วย

            มหามกุฏราชวิทยาลัย ขอแสดงความระลึกถึงคุณูปการของท่าน พระอมราภิรักขิต (อมโร เกิด) ผู้รจนาบุพพสิกขา และบุพพสิกขาวรรณนา ซึ่งได้อำนวยประโยชน์ในการศึกษาปฏิบัติพระวินัยเป็นอัน มาก ตั้งแต่สมัยก่อนมีหนังสือนวโกวาทและวินัยมุข ตลอดมาถึงทุก วันนี้.

กองอำนวยการมหามกุฏราชวิทยาลัย
๒๑ มกราคม ๒๕๑๐

         

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ