บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



บุพพสิกขาวรรณณา

สารบัญ

คำนำ

รตนัตตยบัพพะ

อาปัตตินามาทิบัพพะ

ปฏิปัตติมุขบัพพพะ

กาลิกบัพพะ

พินทวาธิฏฐานาทิบัพพะ

วิชหนาทิบัพพะ

อาปัตติเทสนาทิบัพพะ

มาตรากถา

 

            ลำดับนี้จะกล่าวในข้อที่ ๓ ชื่อปฏิปัตติมุขบัพพะ ว่าด้วยสิกขาบท ที่เป็นปากเป็นทางแห่งความปฏิบัติอยู่โดยมาก ก็แลในบุพพสิกขา ในบัพพะอันนี้ ตั้งแต่สิกขาบทแห่งปาราชิกาบบัติ จนถึงสิกขาบทแห่ง ทุกกฏาบัติ ได้แยกไว้เป็น ๒ แผนก เป็นสจิตตกสิกขาบทแผนก ๑ เป็นอจิตตกสิกขาบทแผนก ๑ เพื่อจะให้รู้ง่าย ด้วยบุพพสิกขานั้น เป็นคำย่อนัก ก็แลบุพพสิกขาวรรณนานี้จเไม่กล่าวตามลำดับใน บุพพสิกขานั้น จะกล่าวตามลำดับสิกขาบทที่มาในปาติโมกขุทเทส ยกไว้แต่บัญญัติแห่งถุลลัจจยาบัติ และบัญญัติแห่งทุกกฏาบัติ ที่ไม่ได้ มาในปาติโมกขุทเทส ในส่วนสิกขาบทที่มาในปาติโมกขุทเทสนั้น ที่เป็นทางแห่งความปฏิบัติ ที่ยกขึ้นกล่าวในบุพพสิกขาก็ดี ที่ไม่ได้ ยกขึ้นกล่าวในบุพพสิกขาก็ดี จะกล่าวโดยพิสดารสักหน่อยหนึ่ง ตามควร และจะกล่าวตามบาลีและตามอรรถกถาชื่อ กังขาวิตรณี จะ กล่าวองค์และวิธีมีสมุฏฐานเป็นต้นด้วย และจะกล่าวสิกขาบทที่ไม่ เป็นปากเป็นทางความปฏิบัติด้วย แต่จะกล่าวโดยย่อพอให้รู้ความ ตามบทมาติกา จะไม่ประกอบองค์และวิธีมีสมุฏญฐานเป็นต้นด้วย เมื่อ เป็นเช่นนี้ก็จะได้สมกับคำที่กล่าว ปฏิบัติมุขบัพพะ ก็แต่ข้อบัญญัติ ซึ่งไม่มาในปาติโมกข์ จักกล่าวโดยย่อบ้าง โดยพิสดารตามคัมภีร์ สมันตปาสาทิกา บ้าง ตามคัมภีร์อื่นบ้าง.

            จักวรรณนาในปาราชิกสิกขาบทนั้นก่อน ก็แลปาราชิกสิกขาบท แห่งภิกษุมี ๔ คือ เมถุน ๑ อทินนาทาน ๑ มนุสสวิคคหะ ๑ อุตตริมนุสสธรรม ๑.

            ก็แลเมถุนสิกขาบทที่ ๑ นั้น ความว่า ภิกษุรูปใดเป็นผู้ถึงพร้อม แล้วซึ่งอธิสีลสิกขา และสิกขาบทเป็นที่เลี้ยงชีพอยู่ด้วยกันแห่งภิกษุ ทั้งหลาย และเธอไม่กล่าวคืนซึ่งสิกขา ไม่กระทำให้แจ้งซึ่งความเป็น ึคนทุรพลน้อยกำลังเสียก่อน ถ้าเธอเสพเมถุนโดยที่สุดแม้ในติรัจฉาน ตัวเมีย เธอนั้นย่อมเป็นปาราชิกไม่มีสังวาสด้วยภิกษุอื่น ภิกษุนั้น คือกุลบุตรผู้ได้อริยาสมมติ อันเนื่องมาแต่พระพุทธเจ้า เป็นสมมติ สำหรับครองปาติโมกขสังวรศีลเป็นของใหญ่ คือสงฆ์พร้อมเพรียงกัน อุปสมบทบวชให้ ด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาไม่กำเริบ คือพร้อมด้วย วัตถุสมบัติ ญัตติสมบัติ อนุสาวนสมบัติ สีมาสมบัติ ปริสสมบัติ และ ควรแก่เหตุเป็นที่ตั้ง ดังนี้แล ชื่อว่าภิกษุ ภิกษุแปลว่าผู้ขอ คือว่าจะ ได้ก็ตาม ไม่ได้ก็ตาม ขอตามอย่างพระอริยเจ้า คือว่าเวลาเช้านุ่งห่ม เป็นปริมณฑล อุ้มบาตรยืนเฉพาะเรือนตระกูลเป็นสำคัญ ไม่ร้องขอ ด้วยวาจา ที่ว่ารูปใดนั้น คือว่าจะสูงต่ำดำขาวใด ๆ ก็ดี จะประกอบ การงานอยู่อย่างไร และจะมีชาติ มีชื่อ มีโคตร มีปกติ มีวิหารธรรมมี โคจร

            อย่างไรก็ดี และจะเป็นเถระผู้แก่หรือภิกษุใหม่ หรือภิกษุปาน กลางก็ดีไม่ว่า ถ้าแลเสพเมถุนเป็นปาราชิกทุกรูป ซึ่งว่าไม่กล่าวคืน ซึ่งสิกขา และไม่ทำให้แจ้งซึ่งความเป็นคนทุรพลนั้น คือว่าไม่ลาสิกขา พร้อมด้วยจิต และเขต และกาล และประโยค และบุคคล และพร้อม ด้วยวิชานนะ คือความรู้ และพร้อมด้วยจิตนั้น คือคิดจะเคลื่อนจาก ความเป็นอุปสัมบันภิกษุ แล้วกล่าวคำลาสิกขา ไม่กล่าวเล่น กล่าว พลั้ง จึ่งเป็นอันลาสิกขาอย่างหนึ่ง ก็แลเขตนั้น มีมากถึง ๒๒ บท จะกล่าวแต่ที่ควรจะใช้ กล่าวว่า สิกฺข? ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้ากล่าวคืน ซึ่งสิกขาก็ดี วินย? ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้ากล่าวคืนซึ่งวินัยดังนี้ก็ดี และ กล่าวว่า คิหีติ ม? ธาเรหิ ท่านจงทรงไว้ซึ่งข้าพะจ้าว่าเป็นอุบาสกก็ดี กล่าว อุปาสโกติ ม? ธาเรหิ ท่านจงทรงไว้ซึ่งข้าพเจ้าว่าเป็นคฤหัสถ์ก็ดี กล่าว ตามบทดังนี้แล และไม่กล่าวตามบทอื่นดังนี้ว่า รุกฺข? ปจฺจกฺขามิ เป็น ต้น อย่างนี้ชื่อว่าลาสิกขาพร้อมด้วยเขต

            พร้อมด้วยกาลนั้น คือกล่าว คำลาด้วยวัตตมานกาลว่า ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้ากล่าวคืน ธาเรหิ ท่าน จงทรงไว้ก็ดี และกล่าวด้วยคำไม่อาศัยกาลดังนี้ว่า อล? เม สิกฺขาย อย่าเลยด้วยสิกขาแก่ข้า ดังนี้ เป็นต้นก็ดี และไม่กล่าวด้วยคำเป็นอดีต กาลว่า ปจฺจกฺขาสึ ข้ากล่าวคืนแล้ว ธาเรสิ ท่านทรงไว้แล้วก็ดี และ ไม่กล่าวด้วยอนาคตกาลว่า ปจฺจกฺขิสฺส? ข้าจักกล่าวคืน ธาเรสฺสสิ ท่านจักทรงไว้ก็ดี และไม่กล่าวด้วยคำเป็นปริกัปว่า ปจฺจกฺเขยฺย? ข้าพึงกล่าวคืนก็ดี ดังนี้แล ชื่อว่าลาสิกขาพร้อมด้วยกาล ก็แลพร้อม ด้วยประโยคนั้น คือประโยคแห่งวาจาที่เปล่งออกว่า ข้าพเจ้ากล่าว คืนซึ่งสิกขาเป็นต้น กล่าวด้วยภาษาใด ๆ ไม่ว่า แต่ไม่ลาด้วยกาย ประโยคมีเขียนหนังสือลาเป็นต้น ดังนี้แล ชื่อว่าลาสิกขาพร้อมด้วย ประโยค พร้อมด้วยบุคคลนั้น คือผู้ลาสิกขา ไม่เป็นบ้า ไม่เป็น คนมีจิตฟุ้งซ่าน ไม่เป็นคนเจ็บอันทุกขเวทนาหนักครอบงำ เป็นคน ปกติดีอยู่ ผู้ฟังคำลาเล่าก็เป็นชาติมนุษย์ ไม่เป็นคนเจ็บอันทุกขเวทนา หนักครอบงำ และเป็นคนอยู่เฉพาะหน้า ไม่ต้องบอกด้วยทูตและ หนังสือ ดังนี้แล ชื่อว่าพร้อมด้วยบุคคล พร้อมด้วยความรู้นั้น คือผู้ลา สิกขานิยมต่อผู้ใด ผู้นั้นได้ยินและรู้ความในขณะนั้น ไม่นึกไปนาน แล้วจึ่งรู้ ดังนี้ก็ดี ถ้าไม่มีนิยมบุคคลและลาสิกขาเฉพาะหน้าคนมาก ด้วยกัน ในคนเหล่านั้น คนใดคนหนึ่ง รู้ความในขณะนั้นก็ดี

            ดังนี้ จึ่งชื่อว่าพร้อมด้วยความรู้ ภิกษุลาสิกขาพร้อมด้วยจิตเป็นต้นดังกล่าว มานี้แล จึ่งเป็นอันลา ถ้าไม่พร้อมไม่เป็นอันลาสิกขา ก็แลเสพเมถุน นั้น คือให้นิมิตของตน แม้พ้นแม้ห่อด้วยวัตถุอันหนึ่งอันใดก็ตาม เข้า ไปในวัจจมรรคทวารหนัก ปัสสาวมรรคทวารเบา มุขมรรคช่องปาก อันใดอันหนึ่งแห่งผู้อื่น ที่ยังไม่ตายหรือตายแล้ว และทวารนั้นระยอง จะลาดด้วยวัตถุอันใดอันหนึ่งก็ตาม ไม่รองไม่ลาดก็ตาม เป็นทวาร อันสัตว์ยังไม่กัดเสียโดยมาก ให้ล่วงที่ชุ่มอันลมปกติไม่ถูกต้องชั่ว เมล็ดงาหนึ่ง ด้วยจิตยินดีก็ดี หรือผู้อื่นข่มขืนในนิมิตตน และยินดี ด้วยในกาลทั้ง ๔ คือแรกเข้าไปแห่งนิมิต และเข้าไปแล้ว และหยุดอยู่ และดำเนินออกแห่งนิมิต คราวไรความหนึ่งก็ดี หรือองค์กำเนิดแห่ง คนยาว ให้เข้าไปในทวารหนักตนเองก็ดี หรือหลังอ่อนก้มลงอมเอา องค์กำเนิดแห่งตนด้วยความยินดีก็ดี อาการทั้งปวงเหล่านี้ ชื่อว่า เสพเมถุนเป็นปาราชิก ไม่มีสังวาส คือไม่ร่วมสังฆกรรมน้อยใหญ่ กับภิกษุอื่นได้ต่อไป.

            ก็แลหญิงมนุษย์ หญิงอมนุษย์ ติรัจฉานตัวเมีย มีทวาร ๓ คือ ทวารหนัก ทวารเบา ช่องปาก พวกละสาม ๆ เป็น ๙ อุภโตพยัญ ชนก คนมีทั้งเพศหญิงเพศชายทั้ง ๒ อย่าง ที่เป็นมนุษย์เป็นติรัจฉาน มีทวาร ๒ คือ ทวารหนักและช่องปาก พวกละสอง ๆ เป็น ๖ บัณเฑาะก์ เป็นมนุษย์เป็นอมนุษย์ติรัจฉาน มีทวารละสอง ๆ เป็น ๖ รวมเป็น ๑๒ ผสมหมดด้วยกัน เป็นทวารมรรค ๓๐ ให้เกิดอาบัติปาราชิก ก็แล กำหนดสัตว์ติรัจฉานนั้นดังนี้ สัตว์ไม่มีเท้า ได้แก่ทีฑชาติ มีงูเหลือม งูเรือน เป็นต้น และชาติสัตว์น้ำ มี ปลา และเต่า และกบ เป็นต้น ที่มีทวารมรรคทั้ง ๓ อันใดอันหนึ่ง พอให้องค์กำเนิดเข้าไปได้ชั่ว เมล็ดงาหนึ่ง เหล่านี้เป็นวัตถุแห่งปาราชิก ต่ำลงไปกว่านั้น เป็นวัตถุ แห่งทุกกฏ สัตว์ ๒ เท้า ได้แก่ ไก่ กา และนกพิราบเป็นต้น และสัตว์ ๔ เท้า ได้แก่แมว และกระรอก พังพอน และจะกวดเป็นต้น เหล่านี้ เป็นอย่างเล็ก ให้พึงรู้ว่าเป็นวัตถุแห่งปาราชิกและทุกกฏดังกล่าวแล้ว ในก่อน และภิกษุให้ต่อมหรือปมที่งอกขึ้นในองค์กำเนิดแห่งตน มี กายประสาทยังไม่ตาย ยังรู้สัมผัสอยู่ ให้เข้าไปในทวารมรรค ๓๐ ดัง กล่าวแล้ว แห่งใดแห่งหนึ่ง แม้ทวารนั้น มีหนังและเนื้อเป็นต้นเลิกไป หมดแล้ว สักว่าสัณฐานแห่งนิมิตยังปรากฏดังนี้ ครั้นจิตคิดว่า จะเสพมีอยู่ ก็เป็นปาราชิก ภิกษุให้ขนหรือต่อมหรือปมอันเกิดในองค์ กำเนิดตน มีกายประสาทอันฉิบหายแล้วไม่รู้สัมผัส ให้เข้าไปในทวาร มรรคดังกล่าวแล้วนั้น เป็นทุกกฏ ถ้าทวารมรรคนั้นเลิกไปหมดแล้ว แม้แต่มาตรว่าสัณฐานแห่วนิมิตก็ไม่เหลือ ภิกษุพยายามในที่เช่นนั้น สังเขปว่าเป็นแผล เป็นถุลลัจจัย ช่องตา ช่องจมูก ช่องหู และฝักแห่ง หัวไส้คือนิมิต และแผลที่กระทำด้วยศัสตรา ในกายแห่งมนุษย์เหล่านี้ ก็ดี และฝักแห่งหัวไส้ และคลองจมูกแห่งสัตว์ติรัจฉาน มีช้างม้า เป็นต้นก็ดี และนิมิตแห่งคนตาย ตั้งแต่สัตว์กัดเสียกึ่งหนึ่งแล้วไป ยังไม่ขึ้นพองก็ดี และลิ้นหรือฟันที่ออกมานอกริมฝีปากก็ดี เหล่านี้ เป็นเขตเป็นวัตถุแห่งอาบัติถุลลัจจัย ช่องตา ช่องหู และแผลใน กายสัตว์ติรัจฉานก็ดี และนิมิตที่เล็กแห่งสัตว์ติรัจฉานมีงูและปลา เป็นต้น ที่ไม่พอประมาณองค์กำเนิดดำเนินเข้าไปได้ก็ดี และสรี ราวัยวะอันเศษมีรักแร้เป็นต้น แห่งมนุษย์และติรัจฉานก็ดี และนิมิต ในซากศพที่ขึ้นพองแล้วก็ดี และชิ้นเนื้อที่ตกลงแล้วนอกนิมิตก็ดี เหล่านี้เป็นเขตเป็นวัตถุแห่งอาบัติทุกกฏ ภิกษุสอดองคชาตเข้าใน ปากซากศพที่อ้าอยู่ ไม่ให้กระทบเบื้องต่ำและข้างทั้ง ๔ นั้น เป็น ทุกกฏ กล่าวมานี้เป็นประเภทแห่งอาบัติ

            แลไม่เป็นอาบัติในสิกขาบทนี้ ภิกษุไม่รู้ไม่ยินดี เป็นบ้ามีจิต อันฟุ้งซ่านเวทนาครอบงำ ภิกษุเป็นอาทิกัมมิกะผู้ต้นบัญญัติเหล่านี้ ไม่เป็นอาบัติ และภิกษุนอนหลับอยู่ ผู้อื่นมาลอบทำเมถุนในนิมิตตน ไม่รู้ตัว ชื่อว่าไม่รู้ ไม่เป็นอาบัติ ภิกษุใดแม้รู้ แต่ไม่ยินดีเลย ชื่อ ว่าไม่ยินดี ไม่เป็นอาบัติ ภิกษุเป็นบ้าดีเดือดคลั่งไคล้เหลือเยียวยา และภิกษุเขาทำจิตให้ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าเป็นคนมีจิตอันฟุ้งซ่าน ๒ จำพวก นี้ ที่ไม่รู้สมฤดี เห็นเพลิงกับทอง คูถกับแก่นจันทน์ เสมอกัน ดังนี้ เป็นประมาณในที่จะไม่เป็นอาบัติ ภิกษุใดไม่รู้สิ่งไรเลย เพราะ กระสับกระส่ายอยู่ด้วยทุกขเวทนากล้า ดังนี้ ชื่อว่าอันทุกขเวทนา ครอบงำไม่เป็นอาบัติ ภิกษุใด เป็นเดิมเหตุที่จะให้พระผู้มีพระภาค บัญญัติสิกขาบทนั้น ดังพระสุทินน์แรกเสพเมถุนก่อนกว่าภิกษุอื่นดังนี้ ชื่อว่า อาทิกัมมิกะผู้ต้นบัญญัติ ไม่เป็นอาบัติ กล่าวมานี้ ชื่อว่ากล่าว ด้วยอนาบัติ

            อนึ่ง สิกขาบทนี้ เป็นอนาณัตติกะ เพราะไม่ต้องปาราชิก ด้วยบังคับผู้อื่นให้เสพเมถุน ก็แต่ว่าบังคับหรือภิกษุด้วยกันให้เสพ เมถุน ถึงไม่เป็นปาราชิกก็จริง ก็คงไม่พ้นทุกกฏาบัติ เพราะอกัปปิย สมาทาน มีองค์ ๒ คือ เสวนจิตฺต? จิตคิดจะเสพเมถุน ๑ มคฺเคน มคฺคปฏิปาทน? ยังองค์กำเนิดให้เข้าไปในทวารมรรค ถูกต้อง ณ ที่ใดที่หนึ่ง เป็นองค์อย่าง ๑ พร้อมด้วยองค์ ๒ ดังนี้ จึ่งเป็น ปาราชิกาบัติ ไม่พร้อมไม่เป็น สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๑ ชื่อว่าปฐม ปาราชิกสมุฏฐาน คือเกิดแต่กายกับจิตเป็นสมุฏฐาน ๑ อนึ่ง เป็น กิริยา เป็นสัญญาวิโมกข์ เป็นสจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม เป็น อกุศลจิต เป็นทฺวิเวทน? มีเวทนา ๒ คือ สุขกับอุเบกขา

ป?ม? ปาราชิก? จบ

         

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ