บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



บุพพสิกขาวรรณณา

สารบัญ

คำนำ

รตนัตตยบัพพะ

อาปัตตินามาทิบัพพะ

ปฏิปัตติมุขบัพพพะ

กาลิกบัพพะ

พินทวาธิฏฐานาทิบัพพะ

วิชหนาทิบัพพะ

อาปัตติเทสนาทิบัพพะ

มาตรากถา

 

            ในอทินนาทานสิกขาบทที่ ๒ ความว่า ภิกษุใด ลักเองหรือใช้ ให้ผู้อื่นลัก ซึ่งทรัพย์ข้าวของที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต มีราคาแต่บาทหนึ่ง ขึ้นไป ด้วยบาทในมคธประเทศ ที่ตั้งอยู่ ณ บ้าน หรือในป่า หรือตั้ง อยู่ในน้ำ ในบก ในอากาศ ในที่ใด ๆ ก็ดี อันมีเจ้าของหวงแหนอยู่ ด้วยเถยยจิต โดยอาการแห่งการลักต่าง ๆ คือฟ้องร้อง เบียดบัง หลอก ลวง สับเปลี่ยน ฉ้อชิง ข่มเหง ขว้าวทิ้ง ใด ๆ ก็ดี ภิกษุนั้นเป็นปาราชิก

            ซึ่งว่าบาทหนึ่งนั้น ในบาลีว่า ๕ สาวกเป็นบาท ๑ ในเมือง ราชคฤห์ โดยบาลีว่า "เตน โข ปน สมเยน ราชคเห ป?ฺจมาสโก ปาโท โหติ" ในอรรถกถาว่า ๒๐ มาสก เป็นกหาปณะ ๑ ในเมือง ราชคฤห์ในครั้งนั้น เพราะเหตุนั้น ๕ มาสกจึ่งเป็นบาท ๑ โดย ลักษณะนั้น พึงรู้เถิดว่า ส่วนที่ ๔ แห่งกหาปณะเป็นบาท ๑ ใน ชนบททั้งปวง ก็แต่ส่วนที่ ๔ แห่งกหาปณะนั้น พึงรู้ด้วยสามารถ แห่งโบราณนีลกหาปณะ ใช่กหาปณะอื่น มีรุทรทามกหาปณะ เป็นต้น ด้วยว่าแม้พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ในอดีตและอนาคต ท่านก็บัญญัติ ทุติยปาราชิกด้วยบาทส่วนที่ ๔ แห่งนีลกหาปณะนั้นสิ้น โดยปาฐะว่า "ป?ฺจมาสโก ปาโทติ ตทา ราชคเห วีสติมาสโก กหาปโณ โหติ, ตสฺมา ปญฺจมาสโก ปาโท ; เอเตน ลกฺขเณน สพฺพชนปเทสุ กหาปณสฺส จตุตฺโถ ภาโค ปาโทติ เวทิตพฺโพ. โส จ โข โปราณสฺส นีลกหาปณสฺส วเสน, น อิตเรส? รุทฺรทามกาทีน? ; เตน หิ ปาเทน อตีตา พุทฺธาปิ ปาราชิก? ปญฺ?าเปสุ? อนาคตาปิ ปญฺ?เปสฺสนฺติ." ก็แลการวินิจฉัยบาทมคธลงเป็นเงินในสยามประเทศนี้ ตามอรรถ กถาและฎีกา จะกล่าวในเบื้องหน้าในที่สุดแห่งวินิจฉัยทั้งปวง.

            ก็แลอวหาร อาการที่จะลักนั้น พึงรู้โดยบาลี ๖ บท ดังนี้ก่อน คือ อาทิยนะ หรณะ อวหรณะ อิริยาปถวิโกปนะ ฐานาจาวนะ สังเกตวีตินามนะ อธิบายในบททั้ง ๖ นั้น ตามอรรถกถาดังนี้ อาทิยนะ นั้น ว่าถือเอา ได้แก่ภิกษุโจทฟ้องร้องเอาสวน ไร่นา ที่ดินของผู้อื่น ว่าเป็นของตน ต้องทุกกฏ ไม่ต้องปาจิตตีย์ ด้วยมุสาวาท เพราะเป็น บุพพประโยคแห่งอทินนาทาน ครั้งเจ้าของสงสัยว่าเราจะได้หรือไม่ ได้ ภิกษุนั้นต้องถุจลัจจัย ครั้นเจ้าของปลงธุระว่าจักไม่เป็นของเรา แล้ว ภิกษุก็ปลงธุระจักไม่ให้แล้ว จึ่งเป็นปาราชิก ถ้าภิกษุยังคิดจะ ให้อยู่ เป็นแต่แสดงอนุภาพให้กลัวก็ดี หรือเจ้าของยังไม่ปลงธุระ ก็ยังรักษาอยู่ก่อน ต่อเมื่อใดปลงธุระลงทั้ง ๒ ข้าง ภิกษุก็จักไม่ให้ เจ้าของก็ว่าไม่ได้แล้ว จึ่งเป็นปาราชิก หรณะนั้น ว่าเอาไป ได้แก่ ภิกษุช่วยนำของแห่งผู้อื่นไปด้วยศีรษะ เป็นต้น

            ครั้นมีเถยยจิตคิดจะ ลัก จับต้องลูบคลำของอยู่บนศีรษะนั้น ต้องทุกกฏ ทำของนั้นให้ไหว ไปมาอยู่บนศรีษะ ต้องถุลลัจจัย ปลงของนั้นลงมาบ่า ต้องปาราชิก กำหนดศรีษะนั้น ข้างหน้าเพียงหลุมคอ ข้างหลังเพียงท้ายผมตก ข้างทั้ง ๒ เพียงหมวกหู ภิกษุเลื่อนของลงมาจากศีรษะ ไม่ให้พ้นศรีษะ เลย พอพ้นเขตศรีษะที่กำหนดไว้ ก็เป็นปาราชิก ถ้ายกขึ้นพอพ้น ศรีษะเส้นผมหนึ่ง ก็เป็นปาราชิก ของแบกบนบ่าและกระเดียด ด้วยเอว หิ้วด้วยมือ ก็ให้วินิจฉัยเหมือนของอยู่บนศรีษะนั้นเถิด อวหรณะนั้น ว่าเอาลง ได้แก่ภิกษุรับของฝากเขาไว้ ครั้นเจ้าของเขา มาทวง ภิกษุแกล้งกล่าวเพี้ยนคำว่า ข้าไม่ได้รับไว้ กล่าวดังนี้ด้วย เถยยจิต ต้องทุกกฎ ทำให้เจ้าของเกิดความสงสัย ต้องถุลลัจจัย ครั้น เจ้าของปลงธุระ ภิกษุก็ปลงธุระ ทั้ง ๒ ข้าง ดังกล่าวแล้วในอาทิยนะ นั้น ภิกษุนั้นก็เป็นปาราชิก อิริยาปถวิโกปนะนั้นว่า ยังอิริยาบถ ให้กำเริบ ได้แก่ภิกษุมีเถยยจิตคิดจะลัก พาของกับทั้วคนผู้นำของไป ด้วย และไล่คนผู้นำของไปนั้น ให้ยกเท้าที่แรกก้าวไปตามประสงค์ แห่งตน ต้องถุลลัจจัย ไล่ให้ยกเท้าที่ ๒ ก้าวไปอีก ต้องปาราชิก ฐานาจาวนะนั้น ว่าให้เคลื่อนจากที่ ได้แก่ภิกษุคิดจะลักของที่ตั้งอยู่บน บก ในน้ำ ในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง และจับต้องลูกคลำของนั้น เป็นทุกกฏ ทำของนั้นให้ไหวไปมาอยู่ในที่ เป็นถุลลัจจัย ทำของนั้นให้เคลื่อน จากฐาน เป็นปาราชิก ก็แลกำหนดฐานที่ตั้งนั้นดังนี้ ถ้าของนั้น เป็นหม้อ ตั้งอยู่ในน้ำในโคลนมีฐาน ๖ คือปากข้างบนแห่งหนึ่ง ก้น หม้อที่ถูกพื้นแห่งหนึ่ง ข้างทั้งสี่ ๆ แห่งเป็น ๖ แห่งด้วยกัน รั้งมา ข้างหน้า ให้ส่วนหม้อที่ถูกพื้นข้างโน้น พ้นส่วนหม้อที่ถูกพื้นข้างนี้ เส้นผมหนึ่งก็ดี หรือเสือกไปข้างหน้า ให้ส่วนหม้อข้างนี้ พ้นส่วนหม้อ ที่ถูกพื้นข้างโน้น เส้นผมหนึ่งก็ดี หรือชักไปข้างซ้ายให้ส่วนหม้อที่ถูก พื้นข้างขวา พ้นส่วนหม้อที่ถูกพื้นข้างซ้ายไป เส้นผมหนึ่งก็ดี หรือชัก มาข้างขวา ให้ส่วนหม้อที่ถูกพื้นข้างซ้าย พ้นส่วนหม้อที่ถูกพื้นข้างขวา เส้นผมหนึ่งก็ดี หรือยกขึ้นให้ก้นหม้อพ้นพื้น สักหม้อที่ถูกพื้นข้างขวา เส้นปมหนึ่งก็ดี หรือยกขึ้นให้กันหม้อพ้นพื้น สักเส้นผมหนึ่ง หรือ กดหม้อให้จมลงไป ให้ปากหม้อพ้นส่วนทีก้นหม้อถูกพื้นบงไป เส้นปม หนึ่งก็ดี

            ดังนี้ ชื่อว่าให้เคลื่นจากฐาน เป็นปาราชิก ให้พึงรู้จักฐาน ที่ตั้งแห่งของทั้งปวงดังนี้ ของตั้งอยู่ในที่ทั้งปวงบางสิ่งมีฐาน ๑ บาง สิ่งมีฐาน ๒ บางสิ่งมีฐาน ๓ บางสิ่งมีฐาน ๔ บางสิ่งมีฐาน ๕ ถ้า เป็นเงินอยู่ในหม้อ ภิกษุเอาภาชนะตักเอา หรือเอามือกำเอาก็ดี เงินที่อยู่ในภาชนะและในมือนั้น ขาดไม่ติดกับเงินที่อยู่ในหม้อแล้ว ถึงยังไม่ยกขึ้นก็เป็นปาราชิ สังเกตวีตินามนะนั้น ว่าล่วงสังเกต ได้แก่ด่านขนอนที่พระเจ้าแผ่นดินตั้งไว้ ในระหว่างเขาขาด และท่าน้ำ ประตูบ้าน อันใดอันหนึ่งว่า ผู้ใดเข้ามาในที่นี้ ให้เรียกเอาค่าด่านขนอน ภิกษุไปถึงด่านขนอนเช่นนั้น คิดจะไม่ให้ค่าด่านขนอน มีเถยยจิต จับต้องลูบคลำภัณฑะที่ตนเอาไป ควรค่าด่านขนอนบาทหนึ่งนั้น ต้องทุกกฏ ยกเท้าที่แรกข้ามด่านขนอนไป เป็นถุลลัจจัย ยกเท้าที่ ๒ ข้ามไปอีก เป็นปาราชิก อนึ่ง ภิกษุเข้าไปในที่เป็นบริเวณเป็นต้น ได้เห็นภัณฑะแห่งผู้อื่นที่น่ารัก และกำหนดประตูห้องหรือหน้ามุข เป็นต้น แห่งหนึ่งแห่งใดไว้เป็นที่สังเกต แล้วคิดว่า ในระหว่างนี้ ถ้าเจ้าของเขาเห็น เราจะทำเป็นหยิบขึ้นชมเล่น แล้วจะคืนให้เขาผู้เป็น เจ้าของ ถ้าเจ้าของไม่เป็น เราจะลักเอา กำหนดดังนี้แล้ว พาของนั้น เดินไป ยกเท้าที่แรกก้าวข้ามประตูห้องเป็นต้น ที่สังเกตุไว้ ต้อง ถุลลัจจัย ยกเท้าที่ ๒ ก้าวไปอีก ต้องปาราชิก ดังกล่าวมานี้ ก็ชื่อว่า ล่วงสังเกต อนึ่ง อวหาร การลัก พระอรรถกถาจารย์ตั้งไว้ว่า มีอยู่ ๒๕ จัดเป็นหมวด ๆ ๕ หมวดดังนี้ นานาภัณฑปัญจกะหมวด ๑ เอกภัณฑปัญจกะหมวด ๑ สาหัตถิกปัญจกะหมวด ๑ ปุพพปโยค ปัญจกะหมวด ๑ เถยยาวหารปัญจกะหมวด ๑.

            ก็แลนานาภัณฑปัญจกะนั้นว่า หมวดแห่งการลัก ๕ มีของต่าง ๆ เป็นที่กำหนด คือ อาทิยนะ โจท เอาของมีวิญญาณและไม่มีวิญญาาณ ของเขา ๑ หรณะ ช่วยนำเอาของที่มีวิญญาณและไม่มีวิญญาณของเขา ไป ๑ อวหรณะ บิดเพี้ยนเอาของมีวิญญาณและไม่มีวิญญาณที่เขาผาก ไว้ ๑ อิริยาปถวิโกปนะ ทำอิริยาบถแห่งคนผู้นำของไปให้กำเริบ ๑ ฐานาจาวนะ ทำของมีวิญญาณและไม่มีวิญญาณให้เคลื่อนจากฐาน ๑ อวหาร ๕ หมวดนี้ ชื่อว่านานาภัณฑปัญจกะ เพราะกำหนดด้วยของ ต่าง ๆ คือของมีวิญญาณและไม่มีวิญญาณ วินิจฉัยพิสดารให้พึงรู้ ดังกล่าวมาแล้วในบททั้ง ๖ ข้างต้นนั้นเถิด.

            ก็แลเอกภัณฑปัญจกะนั้นว่า หมวด ๕ แห่งการลัก มีของสิ่ง เดียวเป็นที่กำหนด คืออาทิยนะ โจท เอาของมีวิญญาณ คือทาสและ สัตว์ของเลี้ยงของเขา ๑ หรณะ ช่วยนำเอาทาสและสัตว์ของเลี้ยงของ เขาไป ๑ อวหรณะ บิดเพี้ยนเอาทาสและสัตว์ของเลี้ยงของเขาให้ กำเริบ ๑ ฐานาจาวนะ ทำทาสและสัตว์ของเลี้ยงของเขาให้เคลื่อนจาก ฐาน ๑ ๕ นี้ชื่อเอกภัณฑปัญจกะ กำหนดด้วยของมีวิญญาณสิ่งเดียว วินิจฉัยโดยพิสดารดังกล่าวแล้วในก่อน.

            ก็แลสาหัตถิกปัญจกะนั้นว่า หมวดแห่งการลัก ๕ มีลักด้วยมือ ตนเป็นเบื้องต้น คือ สาหัตถิกะ อาณัตติกะ นิสสัคคิยะ อัตถสาธกะ ธุรนิกเขปะ เป็น ๕ สาหัตถิกะนั้นว่า การลักเกิดด้วยมือตนเอง คือ ภิกษุลักของที่ตั้งอยู่บนบกในน้ำและที่ใดที่หนึ่ง เป็นของผู้อื่น ด้วยมือ ตนเอง อาณัตติกะนั้นว่า การลักเกิดด้วยบัง คือภิกษุบังคับให้ภิกษุ อื่นลักว่า ท่านจงลักของสิ่งนี้ ผู้บังคับต้องทุกกฎ ในขณะบังคับ ผู้จะลัก สำคัญว่าของสิ่งนั้นก็ดี สำคัญว่าของสิ่งอื่นก็ดี และลักได้ของตาม บังคับ ดังนี้เป็นปราชิกทั้ง ๒ ทั้งผู้ลักผู้บังคับ ถ้าผู้ลักสำคัญว่าของ นั้นก็ดี สำคัญว่าของอื่นก็ดี และลักได้ของอื่นจากของที่กำหนดนั้น ดังนี้ ผู้บังคับไม่เป็นปาราชิก เป็นแต่ผู้ลักผู้บังคับ ถ้าผู้ลักสำคัญว่าของ พุทธรักขิตว่า ท่านจงบอกธัมมรักขิต ให้บอกแก่สังฆรักขิต ให้ลัก ของชื่อนี้ ดังนี้ ต้องทุกกฏในขณะบังคับ พุทธรักขิตไปบอกธัมมรักขิต ก็ต้องทุกกฏ ธัมมรักขิตไปบอกสังฆรักขิต ๆ รับจะลัก อาจารย์ ผู้บังคับเดิมต้องถุลลัจจัย สังฆรักขิตลักของนั้นได้ตามบังคับดังนี้ ต้องปาราชิกด้วยกันทั้ง ๔ รูป ถ้าพุทธรักขิตข้ามธัมมรักขิตเสีย ไป บอกสังฆรักขิต ๆ ก็ลักได้ตามกำหนด ดังนี้ อาจารย์ผู้บังคับเดิมไม่เป็น ปาราชิก เป็นแต่พุทธรักขิตผู้บังคับรองและสังฆรักขิตผู้ลักเท่านั้น ภิกษุบังคับผู้อื่นให้ลัก แล้วมีความวิปปฏิสาระร้อนใจ ห้ามเสียให้ได้ยิน ผู้รับบังคับจะลักนั้นไม่ฟังขืนลัก ดังนี้ ผู้บังไม่เป็นปาราชิก เป็น แต่ผู้ลัก นี้ชื่อว่าอาณัตติกะ ก็แลนิสสัคคิยะนั้นว่า ลักด้วยการซัดขว้าง ของไป คือภิกษุกำหนดที่ไว้มีประตูห้องเป็นต้นว่า ภายในห้องนี้ถ้า เจ้าของเห็น เราจะทำเป็นชมเล่น ถ้าเจ้าของไม่เห็น เราจะลักเอา ครั้นเจ้าของไม่เห็น ขว้างข้ามประตูห้องออกมา ถ้าของนั้นจะพ้น ประตูห้องได้เป็นแท้ พอของนั้นหลุดพ้นจากมือ ก็เป็นปาราชิก

            อนึ่ง ภิกษุไปถึงด่านขนอน เอาของที่จะต้องเสียด่าด่านขนอน โยนข้าม ขนอนไป ถ้าของนั้นจะพึงตกในภายนอกได้เป็นแท้ พอหลุดจากมือ ก็เป็นปาราชิก ดังนี้ชื่อนิสสัคคิยะ ก็แลอัตถสาธกะนั้นว่า ยังอัตถะให้ สำเร็จก่อนแต่การลัก ได้แก่ภิกษุบังคับภิกษุว่า ท่านอาจลักของสิ่งนี้ ของผู้โน้นได้เมื่อใด ท่านจงลักเมื่อนั้นเถิดดังนี้ ถ้าผู้รับบังคับนั้นคง ไม่มีอันตรายในหว่างจะลักได้เป็นแน่ ผู้บังคับเป็นปาราชิกในขณะ บังคับ ผู้ลักเป็นปาราชิกในเวลาที่ลัก อนึ่ง ภิกษุเอารองเท้าเป็นต้น อัน จักดื่มน้ำมันครบราคาบาทหนึ่งได้ ทิ้งลงในหม้อน้ำมันของผู้อื่น พอ รองเท้าหลุดจากมือก็เป็นปาราชิก อย่างกล่าวมานี้ชื่อว่า อัตถสาธกะ ธุรนิกเขปะนั้นว่า สำเร็จเป็นการลักด้วยปลงธุระ ดังภิกษุโจทเอาที่ สวนเป็นต้น และของผู้อื่นฝากไว้ เจ้าของเขามาทวงไม่ให้ก็ดี และ ของยืมเขามาหรือของเป็นภัณฑไทย คือของใด ๆ ที่ภิกษุทำของเขา เสียหายจะต้องใช้คืนให้แก่เจ้าของ ครั้นเจ้าของเขามาทวงไม่ให้ ดังนี้เป็นปาราชิก เพราะปลงธุระด้วยกันทั้งสองข้างดังได้กล่าวแล้ว อย่างนี้ ชื่อว่าธุรนิกเขปะ ๕ หมวดนี้ ชื่อว่าสาหัตถิกปัญจกะ.

            ก็แลปุพพปโยคปัญจกะนั้นว่า หมวดแห่งการลัก ๕ มีประโยค ก่อนเป็นเบื้องต้น คือปุพพปโยค สหปโยค สังวิธาวหาร สังเกตกรรม นินิตตกรรม เป็น ๕ ปุพพปโยคนั้นว่า การลักมีประโยคก่อน ได้แก่ อาณัตติกะ บังคับให้ผู้อื่นลักของ ๆ เขาดังกล่าวแล้วในอาณัตติกะ ชื่อ ว่าปุพพปโยค เพราะความบังคับนั้น เป็นประโยคก่อนแต่ประโยคแห่ง ผู้อื่นรับบังคับจะถือเอาของ สหปโยคนั้นว่าเป็นอวหาร การลักพร้อม ด้วยประโยคที่ถือเอาของ ได้แก่ภิกษุทำของในน้ำในบกเป็นต้น ให้ เคลื่อนจากฐาน และปักหลักเป็นต้นให้เกินที่ไร่นาของเขาไปด้วยมือ ตน เป็นปาราชิก นี้ชื่อสหปโยค เพราะสำเร็จเป็นการลัก พร้อมด้วย ประโยคที่ทำของเขาให้เคลื่อนจากฐาน สังวิธาวหารนั้นว่า เป็นอันลัก ด้วยกันทั้งหมด ด้วยชักชวนกันไปลัก คือภิกษุมากด้วยกันชักชวนกัน จะไปลักสิ่งใดแล้ว แม้แต่องค์หนึ่งลักของสิ่งนั้นได้ ก็เป็นปาราชิก ด้วยกันทั้งสิ้น สังเกตกรรมนั้นว่า ทำสังเกต คือภิกษุบังคับภิกษุด้วย กำหนดกาล มีเวลาเช้าเป็นต้นว่า ท่านจงลักของสิ่งนั้นได้ ก็เป็นปาราชิก ผู้รับบังคับไปลักได้ในเวลาเช้าตามกำหนด ดังนี้ เป็นปาราชิกทั้งผู้ใช้ ผู้ลัก ถ้าผู้รับบังคับไปลักในเวลาอื่น มีเวลาเย็นเป็นต้น ผิดสังเกต ผู้ใช้ไม่เป็นปาราชิก เป็นแต่ผู้ลักผู้เดียว อย่างนี้ชื่อว่าสังเกตกรรม เพราะเป็นอวหารแก่ผู้ใช้ตามที่ทำสังเกต ก็แลนิมิตตกรรมนั้นว่า ทำนิมิต มีขยิบตาเป็นต้น ได้แก่ภิกษุบังคับว่า ท่านจงลักในขณะเรา ขยิบตาหรือพยักหน้าดังนี้ ผู้ลัก ก็ลักในขณะขยิบตาและพยักหน้าแห่ง ผู้บังคับนั้น เช่นนี้เป็นปาราชิกทั้งผู้ลักผู้บังคับ ถ้าผู้ลัก ไปลักเสียก่อน หรือลักทีหลังขยิบตาพยักหน้านั้น ผู้บังคังไม่เป็นปาราชิก เป็นแต่ ผู้ลักผู้เดียว เช่นนี้ชื่อว่านิมิตตกรรม เพราะเป็นอวหารแก่ผู้ทำนิมิตด้วย ผู้ลัก ๆ ถูกตามกำหนด ๕ หมวดดังกล่าวนี้ชื่อว่าปุพพปโยคปัญจกะ.

            ก็แลเถยยาวหารปัญจกะนั้นว่า หมวดแห่งการลัก ๕ มีเถยยาว- หารเป็นต้น คือ เถยยาวหาร ปสัยหาวหาร ปริกัปปาวหาร ปฏิจ ฉันนาวหาร กุสาวหาร เป็น ๕ เถยยาวหารนั้นว่า ลักด้วยความเป็น ขโมย ดังภิกษุตัดที่ต่อมีฝาเรือนเป็นต้น ย่องเบาไม่ให้เจ้าของเห็น ถือเอาก็ดี หลอกลวงเขาด้วยชั่งเกียจทะนานโกง และเงินทองแดง ตะกั่วเป็นต้น ดังนี้ย่อมเป็นปาราชิก ชื่อว่าเถยยาวหาร ก็แลปสัย หาวหารนั้นว่า ข่มเหงลักเขา ได้แก่ภิกษุข่มเหงกดขี่แยงชิงปล้นเอา ของผู้อื่น ดังโจรปล้นบ้านเป็นต้น และถือเอาส่วยอากรเกินกว่าส่วน ที่ถึงแก่ตน ดังราชอมาตย์เรียกเอาส่วยอาการเกินพิกัดก็ดี ดังนี้เป็น ปาราชิก นี้ชื่อว่า ปสัยหาวหาร ปริกัปปาวหารนั้นว่า เป็นอันลักตาม กำหนด ปริกัปปาวหารนี้มี ๒ คือกำหนดของอย่าง ๑ กำหนดโอกาส อย่าง ๑ กำหนดของนั้นดังนี้ ภิกษุต้องการจะลักผ้าสาฎก ลอกเข้าไป ในห้องเวลากลางคืนกำหนดว่า ถ้าเป็นผ้าเราจะเอา ถ้าเป็นด้ายเรา ไม่เอา แล้วยกกระสอบขึ้น ถ้าแลในกระสอบนั้นเป็นผู้สาฎกไซร้ เป็นปาราชิกในขณะยกขึ้น ถ้าเป็นด้ายไซร้ ยังไม่เป็นปาราชิก ครั้น เอาออกมาข้างนอกแก้กระสอบออกดู รู้ว่าเป็นด้ายแล้วกลับเอาเข้าไป วางไว้อีก ยังรักษาอยู่ก่อน แม้รู้ว่าเป็นด้ายแล้ว คิดว่าเราได้สิ่งใด สิ่งนั้นจำจะต้องเอาแล้วพาเดินไป ให้วินัยธรพึงปรับอาบัติด้วย บทวาร คือยกเท้าที่ ๑ ที่ ๒ ถ้าวางลงที่พื้นแล้วกลับถือเอาอีก พอ ยกขึ้นก็เป็นปาราชิก ถ้าเจ้าของเขาร้องว่าโจร ๆ แล้วไล่ตามไป ภิกษุ ทิ้งของเสียแล้วหนีไป ก็ยังรักษาอยู่ก่อน ถ้าเจ้าของเขาเป็นเขาถือเอา ของเขาไป ก็ยังรักษาอยู่ ถ้าคนอื่นเอาของเขาไปไซร้ เป็นภัณฑไทย ครั้นเจ้าของกลับแล้ว ภิกษุมาเห็นเข้าเอง จึ่งถือเอาด้วยปังสุกุลสัญญา และด้วยคิดว่าของนั้นเราถือเอาก่อนแล้ว คราวนี้ก็เป็นของ ๆ เรา แม้ดังนี้ ก็เป็นภัณฑไทย กำหนดว่าเป็นผ้าเราจะเอา

            ดังกล่าวมานี้ แล ชื่อว่าภัณฑปริกัปปะ กำหนดของ ก็แลโอกาสปริกัปปะ กำหนด โอกาสนั้น คือกำหนดประตูห้องและหน้ามุขเป็นต้น ดังกล่าวแล้ว ในสังเกตวีติมานนะนั้น กำหนดสิ่งของหรือโอกาส ๒ ดังนี้แล้วและ ลัก นี้แลชื่อว่าปริกัปปาหาร ก็แลปฏิจฉันนาวหารนั้น ปกปิดไว้แล้ว และลัก ให้พึงรู้ดังนี้ ภิกษุได้เห็นของผู้อื่นมีแหวนเป็นต้น เขาถอด วางไว้ในสวนเป็นต้น ถือเอาฝุ่นหรือใบไม้ปิดไว้ ด้วยคิดว่าภายหลัง เราจะถือเอาเท่านี้ยังไม่เป็นอันยกขึ้น เพราะเหตุนั้น ยังไม่เป็นอวหาร ก่อน ครั้นกาลใดเจ้าของมาค้นหาไม่เห็น และเขามีอาลัยอยู่ว่า พรุ่งนี้ เราจึงจะรู้ แล้วกลับไปบ้าน ที่นั้นภิกษุมายกของนั้นขึ้น พอยกขึ้นก็ เป็นอวหาร ถ้าภิกษุนั้นถือเอาด้วยสกสัญญา สำคัญว่าของนั้นเป็น ของ ๆ เราแต่ครั้งเราปิดไว้แล้ว ถือเอาด้วยปังสุกุลสัญญา สำคัญว่า เจ้าของเขาไปแล้ว เขาทิ้งของนี้เสียแล้ว อย่างนี้เป็นภัณฑไทย แม้ ในวันที่ ๒ เจ้าของเขามาค้นหาไม่เห็น เขาทอดธุระเสียแล้วกลับไป ภิกษุมาถือเอาก็เป็นภัณฑไทย ภายหลังเจ้าของเขารู้เขามาทวง ภิกษุ ไม่ให้ เจ้าของปลงธุระก็เป็นอวหารแก่ภิกษุ เพราะว่าของนั้นเจ้าของ หาไม่เห็นด้วยประโยคแห่งภิกษุ ก็แลภิกษุไม่ปิดของเช่นนั้น ของ วางอยู่ตามที่ มีเถยยจิตเอาเท้าเหยียบไว้ให้จมลงไปในโคลนหรือใน ทราย พอของจมลงไปพ้นฐานเดิมก็เป็นอวหาร

            ดังกล่าวมานี้ชื่อว่า ปฏิจฉันนาวหาร ก็แลกุสาวหารนั้นว่า การลักด้วยเปลี่ยนสลาก ให้พึง รู้โดยนัยนี้ ภิกษุใด เห็นสลากเขาทำด้วยตอกหรือใบลาน เขาเขียนชื่อ ภิกษุไว้ด้วย แล้วทอดไว้ในผ้าเป็นส่วน ๆ แจกกันอยู่ เธอปรารถนา จะยักส่วนของผู้อื่น ที่มีราคาน้อยหรือมาก หรือมีราคาเท่ากัน ซึ่ง วางอยู่ใกล้ส่วนของตน เธอยกสลากของตนขั้นด้วยปรารถนาจะวาง ในส่วนแห่งผู้อื่น ก็ยังรักษาอยู่ก่อน วางสลากของตนลงในส่วน ผู้อื่นเล่า ก็ยังรักษาอยู่ก่อน ต่อเมื่อใดยกสลากผู้อื่นขึ้นจากส่วนผู้อื่น พอยกขึ้น ก็เป็นอวหาร ถ้าหากว่าภิกษุยกสลากส่วนแห่งผู้อื่นก่อน ด้วยปรารถนาจะวางลงในส่วนของตนเล่าไซร้ เมื่อยกขึ้นยังรักษาอยู่ เมื่อวางลงก็ยังรักษาอยู่ ครั้นยกสลากของตนขึ้นจากส่วนของตน เมื่อ ยกขึ้นยังรักษาอยู่ ครั้นยกขึ้นแล้ว วางสลากของตนลงในส่วนแห่งผู้อื่น พอพ้นมือ ก็เป็นอวหาร อาการที่ลักอย่างนี้แล ชื่อว่า กุสาวหาร ๕ หมวดนี้ชื่อว่า เถยยาวหารปัญจกะ ใน ๕ ปัญจกะ เป็นอาการลัก ละ ๕ ๆ จึ่งเป็นอวหาร ๒๕ โดยพิสดารตามอรรถกถา ก็แลนานา ภัณฑปัญจกะกับเอกภัณฑปัญจกะไม่แปลกกันนัก ถ้ายกเอกภัณฑ ปัญจกะเสีย คงอวหาร ๒๐ อนึ่ง สหปโยคกับสาหัตถิกะ ปุพพปโยค กับอาณัตติกะ ก็ไม่แปลกันนัก ถ้าผสมเป็นอันเดียวกันเสีย คง อวหาร ๑๘

            อนึ่ง อาทิยนะและอวหรณะกับธุรนิกเขปะก็ไม่แปลก กันนัก ถ้ายกธุรนิกเขปะเสีย ได้อวหาร ๑๗ ถ้าคงธุรนิกเขปะไว้ ยกอาทิยะกับอวหรณะเสีย ได้อวหาร ๑๖ อนึ่ง ภิกษุคิดจะไปลัก ทรัพย์ของผู้อื่น ในปุพพประโยคทั้งปวง ตั้งแต่เดินไปเป็นต้น เป็น อาบัติทุกกฏทุก ๆ ประโยค จับต้องลูบคลำ ก็เป็นทุกกฏ ทำทรัพย์ที่เป็น วัตถุแห่งปาราชิกให้ไหว เป็นถุลลัจจัย ครั้นลักเอาทรัพย์มาสกหนึ่ง หรือหย่อนกว่ามาสก เป็นทุกกฎ ถ้าทรัพย์เกินมาสกขึ้นไป ต่ำกว่า ๕ มาสกลงมา เป็นถุลลัจจัย ถ้าทรัพย์นั้น ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสกขึ้นไป เป็นปาราชิก อนึ่ง อทินนาทานสิกขาบทนี้ละเอียดสุขุมนัก พระอรรถกถาจารย์วินิจฉัยไว้โดยนัยวิจิตต่าง ๆ ในคัมภีร์สมันตปาสา ทิกา ซึ่งกล่าวมานี้โดยย่อ แล้วท่านสอนไว้ว่าเป็นสิกขาบทละเอียดสุขุม ยากที่จะตัดสินได้

            เพราะเหตุนั้น เมื่อมีผู้มาโจทภิกษุด้วยอทินนาทาน แม้วินัยธรสอบสวนโดยอวหารประเภท เห็นว่าเป็นอวหารแล้ว ก็ อย่าเพ่อตัดสินโดยพลัน พึงสอบสวนที่ ๕ สถาน คือ วัตถุ กาล ประเทศ อัคฆะ บริโภค ดังนี้ก่อน วัตถุคือของที่ภิกษุลักมา ให้ สอบสวนดูว่า วัตถุนั้นมีเจ้าของหรือไม่มี ถ้าว่ามีเจ้าของ ในเวลา เมื่อลักมานั้น เจ้าของมีอาลัยหรือทอดอาลัยแล้ว ถ้าเจ้าของยังมี อาลัยอยู่ ให้ปรับตามราคาของ ถ้าเจ้าของทอดอาลัยแล้ว อย่าพึง ปรับอาบัติปาราชิกเธอเลย ครั้นเจ้าของทวงเอา ก็พึงคืนให้ อันนี้ เป็นความชอบยิ่ง นี่แลชื่อว่าสอบสวนวัตถุ ก็กาลนั้น คือคราวที่ลัก ของนั้นมา ด้วยว่า ของนั้นบางคราวมีราคาเสมอ บางคราวมีราคามาก ก็แลประเทศนั้น คือที่ ๆ ลักของนั้นมา ของลักมาในประเทศใด ให้ ปรับตามราคาในประเทศนั้น อัคฆะนั้น คือราคาของที่ลักมา นี่แลที่ ๕ สถาน ให้พึงสอบสวนดู ก็แลจะไม่เป็นปาราชิกาบัติในสิกขาบทนี้ คือสำคัญว่าเป็นของ ๆ ตัว ถือเอาอย่าง ๑ และวิสาสะคุ้นเคยกันอย่าง ๑ ยืมมาใช้อย่าง ๑ ของนั้นเป็นของยักษ์ เปรต และเป็นของสัตว์ติรัจฉาน ไม่เป็นของมนุษย์อย่าง ๑ ถือเอาด้วยปังสุกุลสัญญา สำคัญว่าไม่มี เจ้าของอย่าง ๑ และภิกษุเป็นบ้าเป็นต้น ไม่เป็นอาบัติ สิกขาบทนี้ เป็นสาณัตติกะ เพราะใช้ผู้อื่นให้ลัก ก็เป็นอาบัติ มีองค์ ๕ คือ ปรปริคฺคหิต? เป็นของผู้อื่นเป็นชาติมนุษย์หวงแหนอยู่ ๑ ปรปริคฺ คหิตสญฺ?ิตา คือสำคัญรู้ว่าเป็นของผู้อื่นหวงอยู่ ๑ ครุปริกฺขาโร ของนั้นราคาบาทหนึ่งหรือราคากว่าบาทหนึ่งขึ้นไป ๑ เถยฺยจิตฺต? จิตเป็นขโมย ๑ อวหรณ? ลักได้ด้วยอวหารอย่างใดอย่างหนึ่งดัง กล่าวแล้ว ๑ พร้อมด้วยองค์ ๕ นี้ จึ่งเป็นปาราชิก อนึ่ง สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ ชื่อ อทินนาทานสมุฏฐาน คืออาบัติเกิดแต่กายจิต ๑ แต่วาจาจิต ๑ แต่กายวาจาจิต ๑ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ เป็นโลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต มีเวทยา ๓.

ทุติย? ปาราชิก? จบ

         

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ