บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



บุพพสิกขาวรรณณา

สารบัญ

คำนำ

รตนัตตยบัพพะ

อาปัตตินามาทิบัพพะ

ปฏิปัตติมุขบัพพพะ

กาลิกบัพพะ

พินทวาธิฏฐานาทิบัพพะ

วิชหนาทิบัพพะ

อาปัตติเทสนาทิบัพพะ

มาตรากถา

 

            มนุสสวิคคหะสิกขาบทที่ ๓ ความว่า ภิกษุใด แกล้งพรากกาย มนุษย์ตั้งแต่ปฐมวิญญาณตั้งลง เกิดกลรูปในครรภ์มารดาเสียจาก ชีวิต คือฆ่าให้ตาย แม้แต่ประกอบยาร้อน และเหยียบนวดเป็นต้น หรือตั้งเครื่องศัสตราวุธต่าง ๆ อันจักสังหารชีวิตมนุษย์ไว้ หรือ สรรเสริญความตาย ท่านจะต้องการอันใดด้วยความเป็นอยู่ชั่วช้า ลามกไม่เสมอเพื่อน ตายเสียดีกว่า ตายแล้วก็จะได้สุคติ หรือบอก อุบายให้ตาย คือบังคับว่า ท่านจงเชือดคอเสีย จงกินยาพิษเสียเป็นต้น เธอประสงค์จะให้ตายและทำดังนี้ มนุษย์นั้นตายในขณะนั้น หรือนาน ไปจึ่งตายด้วยเหตุนั้นก็ดี แม้เธอนั้น ก็เป็นปาราชิก มนุษย์เป็นวัตถุ แห่งปาราชิก อมนุษย์ ยักษ์ เปรต เป็นวัตถุแห่งถุจลัจจัย ดิรัจฉาน เป็นวัตถุแห่งปาจิตตีย์.

            ก็แลประโยคแห่งปาณาติบาต มี ๖ คือ สาหัตถิกปโยค นิสสัค คิยปโยค อาณัตติกปโยค ถาวรปโยค วิชชามยปโยค อิทธิมยปโยค ดังนี้ สาหัตถิกปโยคนั้นว่า ประโยคความเพียรในที่จะฆ่าสัตว์อัน บังเกิดด้วยมือและเท้าเป็นต้น หรือด้วยของเนื่องด้วยกายมีหอกดาบ เป็นต้น นิสสัคคิยปโยคนั้นว่า ประโยคคือการซัดขว้างไป ได้แก่ ภิกษุใคร่จะให้ผู้อยู่ที่ไกลตาย และยิงพุ่งซัดขว้างไปซึ่งศัสตราวุธ มีธนูหน้าไม้และหอกยนต์ก้อนศิลาเป็นต้น ด้วยกายหรือด้วยวัตถุอัน เนื่องด้วยกาย ในสาหัตถิกะและนิสสัคคิยะ ทั้ง ๒ ประโยคนี้ จัด เป็น ๒ ๆ คือ เฉพาะและไม่เฉพาะ เฉพาะนั้น ไม่เป็นกรรมพันธุ์ คือ และประหารเองก็ดี หรือซัดขว้างไปก็ดี ถูกผู้นั้นตาย ก็เป็นกรรมพันธุ์ เครื่องผูกคือกรรมตามวัตถุนั้น ถ้าถูกผู้อื่นตาย ไม่เป็นกรรมพันธุ์ คือ ว่า เฉพาะมนุษย์ผู้ใด ถูกมนุษย์ผู้นั้นตาย จึ่งเป็นปาราชิก ถ้าถูกมนุษย์ ผู้อื่นหรืออมนุษย์และติรัจฉาน ไม่เป็นอาบัติอันใด ถ้าเฉพาะอมนุษย์ และติรัจฉาน ๆ ตายเป็นถุจลัจจัย และปาจิตติย์ตามวัตถุ ถ้าถูกมนุษย์ และติรัจฉานอื่นตายไม่เป็นอาบัติอันใด ไม่เฉพาะนั้น คือภิกษุไม่ เฉพาะด้วยคิดว่าใคร ๆ ก็จงตายเถิด แล้วประหารหรือซัดขว้างไป ถ้า ถูกพระอรหันต์หรือมารดาบิดาตนตาย เป็นอนันตริยกรรมด้วย เป็น ปาราชิกด้วย ถ้าถูกอมนุษย์หรือยักษ์เปรตสัตว์ติรัจฉานตาย เป็นอาบัติ ตามวัตถุนั้น ๆ ในประโยคที่เฉพาะและไม่เฉพาะ ๒ นี้ ผู้ต้อง ประหารนั้น ตายในขณะนั้นหรือตายทีหลัง ตายด้วยโรคอันนั้นก็ดี เป็น กรรมพันธุ์ แก่ผู้ประหารในขณะประหารนั้น ก็แลอาณัตติกปโยคนั้น ว่า ประโยคเกิดแต่บังคับ คือภิกษุบังคับผู้อื่นว่า ท่านจงฆ่าผู้นี้ ๆ ดังนี้ ในประโยคนี้ ให้พึงรู้จักนิยม ๖ อย่าง คือนิยมวัตถุ ๑ นิยมกาล ๑ นิยมโอกาส ๑ นิยมอาวุธ ๑ นิยมอิริยาบถ ๑ นิยมกิริยาวิเศษ ๑ นิยมวัตถุนั้น คือกำหนดบุคคลที่จะพึงฆ่า คือนิยมผู้ใดและบังคับ ให้ฆ่า ผู้รับบังคับฆ่าผู้นั้นตาย เป็นอาบัติทั้งผู้บังคับและผู้ฆ่า ถ้าผู้ฆ่า ไปฆ่าผู้อื่น ด้วยสำคัญว่าผู้นั้นก็ดี ผู้บังคับพ้นโทษ นิยมกาลนั้น คือ กำหนดเวลาเช้าเป็นต้น ผู้ฆ่าไปฆ่าเสียในเวลาอื่น มีเวลาเย็นเป็นต้น ดังนี้ผิดสังเกต นิยมโอกาสนั้น คือกำหนดที่ให้ฆ่าคนอยู่ที่บ้าน ที่ร้านเป็นต้น ผู้ฆ่าไปฆ่าในที่อื่น มีเรือนและนอกบ้านเป็นต้น ก็ผิด สังเกต นิยมอาวุธนั้น คือกำหนดให้ฆ่าด้วยหอกดาบ ผู้ฆ่าไปฆ่าด้วย อาวุธอื่น ๆ ก็ผิดสังเกต นิยมอิริยาบถนั้น คือกำหนดให้ฆ่าด้วยแทง หรือฟัน ผู้ฆ่า ไปฆ่าด้วยกิริยาอื่น คือตีหรือเชือด ก็ผิดสังเกต ที่ว่า ผิดสังเกตนั้น ผู้บังคับไม่เป็นอาบัติ เป็นแต่ผู้ฆ่า ถ้าถูกตามสังเกต เป็นอาบัติด้วยกันทั้ง ๒ อนึ่ง ถ้าผู้รับบังคับนั้น ไปฆ่าไม่ได้ กลับมา บอกผู้บังคับ ๆ กลับบังคับอีกว่า ท่านอาจฆ่าได้เมื่อใด ก็จะฆ่าเมื่อนั้น เถิดดังนี้ แม้นานสักร้อยปี ผู้ฆ่าคงจะฆ่าได้เป็นแน่ ผู้บังคับเป็นอาบัติ ในขณะบังคับ ผู้ฆ่าเป็นอาบัติในขณะฆ่า ก็แลถาวรปโยคนั้นว่า ประโยคถาวรตั้งมั่น คือภิกษุจักฆ่าผู้อื่นด้วยเครื่องฆ่าอันถาวร ได้แก่ ขุดบ่อ ขุดหลุม และพนักยนต์ กระดานหก และตั้งเครื่องศัสตราวุธ มีดาบเป็นต้นไว้ และละลายยาพิษในบึงในบ่อเหล่านี้ เพื่อจะให้ผู้อื่น มาตกตาย ถูกตาย ติดตายก็ดี และนำเอารูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ที่น่ารักและน่ากลัว เพื่อจะให้ผู้อื่นเหือดแห้งหรือสะดุ้ง ตกใจตาย หรือดักแร้ว ฟ้าทับเหวได้ เหล่านี้ชื่อว่า ถาวรปโยค อนึ่ง ภิกษุเขียนหนังสือพรรณนาความตายว่า ผู้ใดตายอย่างนี้ ๆ จักได้ลาภยศ ได้ไปสวรรค์ดังนี้ ก็นับเข้าในถาวรปโยค ในถาวรปโยคนี้ ภิกษุ เฉพาะผู้ใด ถ้าผู้นั้นตายก็เป็นอาบัติตามวัตถุนั้น ถ้าผู้อื่นตาย ไม่เป็น อาบัติ ถ้าภิกษุไม่เฉพาะ คือคิดว่าผู้ใด ๆ ก็จงตายเถิดดังนี้ ก็เป็น กรรมพันธุ์ตามวัตถุที่ตาย คือพระอรหันต์และมารดาบิดาแห่งภิกษุนั้น ตาย ก็เป็นอนันตริยกรรมด้วย เป็นปาราชิกด้วย ถ้ามนุษย์อื่นและยักษ์ เปรต ติรัจฉานตาย ก็เป็นปาราชิก ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ตามวัตถุนั้น เครื่องที่เป็นถาวรปโยคนี้ ดังแร้วและหนังสือเป็นตัวอย่าง แร้วและ หนังสือ ภิกษุให้เปล่าหรือขายเขาเสีย ผู้ที่ได้ไปจัดแจงใหม่ ก็เป็นโทษ ด้วยกันทั้ง ๒ ถ้าภิกษุร้อนใจว่าสัตว์ตายมาก เอามาแต่ไหนก็เอาไปไว้ ที่เดิมจึ่งพ้นโทษ ถ้าชื้อเขามา คืนให้เจ้าของเดิมกลับ เอามูลค่ามาเสีย จึ่งพ้นโทษ ถ้าแร้วภิกษุทำเอง หนังสือภิกษุเขียนเอง เอาเผาไฟเสีย ให้หมดจึ่งจะพ้นโทษ ถ้าซื้อเขามา คืนให้เจ้าของเดิมกลับ เอามูลค่ามาเสีย ประหารผู้อื่นตาย เจ้าของเดิมก็ไม่พ้นโทษ ถ้าหนังสือไฟไหม้ไม่หมด ผู้ใดเอามาเรียงเข้าอ่านได้ความแล้ว ตายด้วยหนังสือนั้น เจ้าของเดิมก็ ไม่พ้นโทษ ก็แลวิชชามยปโยคนั้นว่า ประโยคอันแล้วด้วยวิชชา คือ ภิกษุร่ายมนต์อาคมต่าง ๆ และใช้คุณภูตผีใด ๆ ก็ดี ทำให้ผู้อื่นจุกเสียด อย่างใดอย่างหนึ่งตาย ดังนี้ชื่อว่าวิชชามยปโยค เฉพาะผู้ใด ผู้นั้นตาย ไม่ผิดสังเกต ถ้าผู้อื่นตาย ผิดสังเกต ถ้าไม่เฉพาะ เป็นอาบัติตามวัตถุ ที่ตายนั้น ก็แลอิทธิประโยคนั้นว่า ประโยคอันสำเร็จด้วยอิทธิ อันบังเกิดแต่กรรม ดังฤทธิ์นาค ฤทธิ์ครุฑ ฤทธิ์ยักษ์ ฤทธิ์เทวดา ฤทธิ์พระราชา หากว่าภิกษุมีตาเป็นอาวุธ โกรธถลึงตาแลดูผู้ใด ด้วย หมายจะให้ตาย ถ้าผู้นั้นตาย เป็นอาบัติด้วยอิทธิมยปโยค อนึ่ง ภิกษุขุดบ่อเป็นต้น เพื่อจะให้สัตว์ตกตาย ในประโยคที่ขุดนั้นไม่เป็น ปาจิตตีย์ เป็นทุกกฏทุก ๆ ประโยค๑ เพราะเป็นปุพพประโยคแห่ง ปาณาติบาต ถ้าขุดไม่เฉพาะสัตว์ใด ๆ มาตกลง ก็คงเป็นทุกกฏ๑ ถ้า ยักษ์เปรตมีกายเป็นติรัจฉานและอมนุษย์ หรือติรัจฉานมีกายเป็น มนุษย์ หรือสัตว์ติรัจฉานก็ดี ตกลง เกิดทุกขเวทนา ก็เป็นทุกกฏ ถ้า มนุษย์ตกลง เกิดทุกขเวทนา ก็เป็นถุลลัจจัย ถ้ายักษ์เป็นต้น ตกลงตาย ก็เป็นถุลลัจจัย ถ้ามนุษย์ตาย เป็นปาราชิก อนึ่ง ภิกษุไม่แกล้งจะให้ ตาย ดังสาก ๒ อันพิงกันอยู่ ภิกษุไม่รู้ว่าเขาจะตายด้วยเหตุนี้ ดังภิกษุ ให้บิณฑบาตอันเจือด้วยยาพิษแก่ภิกษุอื่นฉัน ภิกษุผู้ฉันนั้นตาย ไม่ เป็นอาบัติ ภิกษุไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ดังให้ยาแก่ผู้อื่นกินตาย ไม่เป็นอาบัติ ภิกษุบ้าเป็นต้นไม่เป็นอาบัติ สิกขาบทนี้ เป็นสาณัตติกะ ต้องเพราะบังคับ มีองค์ ๕ คือสัตว์เป็นชาติมนุษย์ ๑ รู้อยู่ว่าสัตว์มี ชีวิต ๑ จิตประสงค์จะฆ่า ๑ พยายามด้วยประโยคทั้ง ๖ อันใดอันหนึ่ง ๑ สัตว์นั้นตายด้วยพยายามนั้น ๑ พร้อมด้วยองค์ ๕ นี้ จึ่งเป็นปาราชิก สิกขาบทนี้ เป็นอทินนาทานสมุฏฐาน เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิต ตกะ โลกวัชชะ เป็น กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา.

ตติย? ปาราชิก? จบ

            ๑. ในวินัยมุขเล่ม ๑ หน้า ๓๐ แสดงทางสันนิษฐาน ตามวิภังควินิจฉัยว่า ถ้ามี สิกขาบทอื่นจะปรับอาบัติได้สูงกว่านั้น ให้ยกเอาสิกขาบทนั้นมาปรับ.

            อุตตริมนุสสธรรมะสิกขาบทที่ ๔ ความว่า ภิกษุใดไม่ตรัสรู้เลย เป็นคนมุ่งลาภมุ่งความสรรเสริญ อวดอุตตริมนุสสธรรม ซึ่งเป็นเครื่อง รู้เครื่องเห็นแห่งพระอริยเจ้า อันสามารถ น้อมเข้ามาในตนด้วยความ เท็จว่า เรารู้เราเห็นอุตตริมนุสสธรรมอย่างนี้ ๆ ด้วยกายหรือวาจา หรือทั้งกาย วาจา แก่ผู้อื่นเป็นชาติมนุษย์ เขารู้ความในขณะนั้น ภายหลังจะมีผู้ซักไซ้ก็ตาม เขาจะไม่ซักไซ้ก็ตาม เธอต้องปาราชิก เสียแล้วแต่ในขณะอวดนั้น แม้เธอประสงค์ความบริสุทธิ์ คือเป็น คฤหัสถ์เป็นต้น และจะกลับปฏิญญาว่า ข้าไม่รู้ไม่เห็นดอก แกล้ง พูดว่ารู้เห็น ข้าพูดเท็จพูดปดดังนี้ ก็ไม่พ้นโทษ เว้นไว้แต่สำคัญว่าตน ได้อุตตริมนุสสธรรมนั้นแล้ว กล่าวตามความสำคัญ ไม่เป็นอาบัติ อุตตริมนุสสธรรมนั้นว่า เป็นธรรมแห่งมนุษย์อันยิ่ง คือมหัคคตธรรม และโลกุตตรธรรม รูปาพจรฌาน ๔ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อรูปาพจรฌาน ๔ คือ อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ และวิชชา ๖ คือ มโนมยิทธิญาณ อิทธิคือนิรมิตกายอื่นออกจากกายตน อิทธิวิธิญาณ ความรู้แผลงอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ ทิพพโสตญาณ ความรู้ ให้หูทิพย์เกิดขึ้น เจโตปริยญาณ ญาณที่กำหนดรู้จิตผู้อื่น ปุพเพ นิวาสญาณ ญาณระลึกชาติ จุตูปปาตญาณ ญาณรู้จุติปฏิสนธิ เหล่านี้ เป็นมหัคคตธรรม โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตมรรค อรหัตผล พระนิพพาน เหล่านี้ เป็นโลกุตตรธรรม วิโมกข์ ๓ สมาธิ ๓ คือ สุญญตวิโมกข์ สุญญตสมาธิ อนิมิตตวิโมกข์ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตวิโมกข์ อัปปณิหิตสมาธิ มัคคภาวนา ๓๗ คือสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคประดับด้วยองค์ ๘ ก็ดี ปหานะ ๓ คือ มละราคะ โทสะ โมหะ วินีวรณตา ๓ คือ จิตเปิดจากราคะ โทสะ โมหะ และวิชชาที่ ๓ คือ อาสวักขยญาณ เหล่านี้นับเข้าในมรรค สมาบัติ ๓ คือ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ เหล่านี้เป็นชื่อ แห่งผล มหัคคตธรรมและโลกุตตรธรรมเหล่านี้แล ชื่อว่า อุตตริ อุตตริมนุสสธรรมนี้ไม่มีในตน ภิกษุกล่าวว่าเราถึงปฐมฌานเป็นต้น ก็ดี เราได้อิทธิวิธิญาณเป็นต้นก็ดี และกล่าวว่าได้โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลเป็นต้นก็ดี เราได้มรรคได้ผล เราเป็นพระโสดาบัน เป็นต้นก็ดี เราเป็นพระอริยเจ้า เรามละราคะแล้วเป็นต้นก็ดี กล่าว อวดดังนี้ด้วยกายหรือวาจา เมื่อจักกล่าวก็รู้ว่า เราจักปด เมื่อกล่าวอยู่ ก็รู้ว่าเราพูดปด กล่าวอวดแก่ผู้ใด ผู้นั้นเป็นมนุษย์ เป็นบรรพชิต ก็ตาม เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม แต่เขา รู้ความในขณะนั้นว่า เธอได้ฌานได้มรรคได้ผลเป็นต้น เขาจะเชื่อว่า จริงก็ตาม ไม่เชื่อก็ตาม ภิกษุนั้นเป็นปาราชิก ถ้าผู้ฟังเขาไม่รู้ความ ภิกษุนั้นต้องถุลลัจจัย ถ้าอาศัยตน แต่อ้างผู้อื่นกล่าวว่า ผู้ใด อยู่ใน วิหารของท่าน ผู้นั้นได้ปฐมฌานเป็นต้น ผู้ฟังรู้ความในขณะนั้น ภิกษุนั้นต้องถุลลัจจัย ผู้ฟังไม่รู้ความ ต้องทุกกฏ ก็แลจะไม่เป็นอาบัติ ในสิกขาบทนี้ คือบอกด้วยสำคัญว่าได้ว่าถึง และไม่ประสงค์ในที่ จะอวด และภิกษุบ้าเป็นต้น ไม่เป็นอาบัติ สิกขาบทนี้เป็น อนาณัตติกะ มีองค์ ๕ คือ อุตตริมนุสสธรรมไม่มีในตน ๑ อวดด้วย มุ่งลาภมุ่งความสรรเสริญ ๑ ไม่อ้างผู้อื่น ๑ บอกแก่ผู้ใด ผู้นั้นเป็น ชาติมนุษย์ ๑ เขารู้ความในขณะนั้น ๑ พร้อมด้วยองค์ ๕ นี้จึ่งเป็น อาบัติปาราชิก สมุฏฐานวิธีเป็นต้น เหมือนอทินนาทานสิกขาบท.

จตุตฺถ? ปาราชิก? จบ

            ประมวลปาราชิกหมดด้วยกัน ๒๔ คือ มาในอุทเทสส่วนภิกษุ ๔ ส่วนนางภิกษุณีที่เป็นอสาธารณะ ๔ เป็น ๘ กับอภัพพปาราชิก ๑๑ คือบัณเฑาะก์ ๑ เถยยสังวาส คนลักเพศลักสังวาส ๑ ติตถิย ปักกันตกะ ผู้เป็นภิกษุอยู่ไปเข้าลัทธิเดียรถีย์เสีย ๑ ติรัจฉาน ๑ ผู้ฆ่ามารดา ๑ ผู้ฆ่าบิดา ๑ ผู้ฆ่าพระอรหันต์ ๑ ผู้ประทุษร้าย นางภิกษุณี ๑ ผู้ทำสังฆเภท ๑ ผู้ทำโลหิตในกายพระพุทธเจ้า ให้เกิดขึ้น ๑ คนมีเพศทั้งเพศหญิงเพศชาย ๑ รวมกันเป็น ๑๙ กับนางภิกษุณีอยากเป็นคฤหัสถ์ นุ่งผ้าย้อมฝาดโดยอาหารดังคฤหัสถ์ อีก ๑ เป็น ๒๐ กับอนุโลมปาราชิก ๔ คือ ภิกษุมีนิมิตยาว ใส่นิมิต ในทวารหนักของตนเอง ๑ ภิกษุหลังอ่อนก้มลงอมนิมิตของตนเอง ๑ ภิกษุรวมปาราชิกทั้งหมดเป็น ๒๔ ดังนี้.

ปาราชิกวณฺณนา นิฏฺ?ิตา จบปาราชิกแต่เท่านี้

         

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ