บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



บุพพสิกขาวรรณณา

สารบัญ

คำนำ

รตนัตตยบัพพะ

อาปัตตินามาทิบัพพะ

ปฏิปัตติมุขบัพพพะ

กาลิกบัพพะ

พินทวาธิฏฐานาทิบัพพะ

วิชหนาทิบัพพะ

อาปัตติเทสนาทิบัพพะ

มาตรากถา

 

            จักพรรณนาในสังฆาทิเสสสิกขาบทแห่งภิกษุมี ๑๓ สัญเจตนิกะ สิกขาบทที่ ๑ ความว่า ภิกษุมีความกำหนัดแกล้งพยายามในนิมิตตน อย่างใดอย่างหนึ่ง ให้สุกกะ คือ อสุจิเคลื่อนจากฐานที่ตั้ง ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส เว้นไว้แต่เคลื่อนในความฝัน สุกกะมี ๑๐ อย่าง มีสี เหลืองแดง ขาว เป็นต้น อธิบายจะให้อสุจิเคลื่อนมี ๑๐ มีปรารถนา จะให้หายโรค เป็นต้น ภิกษุมีความประสงค์จะให้อสุจิทั้ง ๑๐ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งเคลื่อน ด้วยอธิบายจะให้หายโรค และจะให้มีความ สุขเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ดี และพยายามในนิมิตตนด้วยมือ ตนเอง หรือให้ผู้อื่นพยายามในนิมิตตน ก็ดี และใส่นิมิตเข้าในช่อง ดาลเป็นต้น ก็ดี หรือนอนคว่ำกดลงกับพื้นและผ้า หรือแอ่นสะเอว ในอากาศ ก็ดี โดยที่สุดใส่นิมิตตนในหว่างขา ด้วยคิดจะให้อสุจิ เคลื่อนในความฝัน ก็ดี และอสุจิอันใดอันหนึ่งนั้น เคลื่อนออกจากฐาน ไม่สู้มาก พอแมลงวันตัวน้อยดื่มกินได้ แม้ถึงยังไม่ลงคลองปัสสาวะ ก็เป็นสังฆาทิเสส ในอรรถกถาทั้งหลายท่านกล่าวไว้ดังนี้ว่า อสุจิ เคลื่อนจากฐานแล้ว จะออกมาข้างนอกก็ตาม จะไม่ออกมา อสุจิลงคลองปัสสาวะแล้ว จะออกมาข้างนอกก็ตาม จะไม่ออกมา ข้างนอกก็ตาม คงเป็นสังฆาทิเสส ถ้าแกล้งจะให้เคลื่อนและพยายาม ดังกล่าวแล้ว อสุจิไม่เคลื่อน ต้องถุลลัจจัย ก็แลจะไม่เป็นอาบัตินั้น ภิกษุไม่พยายาม และไม่มีอธิบายในที่จะให้เคลื่อนและพยายาม ปกติ อสุจิเคลื่อน ก็ดี ภิกษุบ้าเป็นต้น ไม่เป็นอาบัติ สิกขาบทนี้ เป็น อนาณัตติกะ เพราะบังคับให้ผู้อื่นพยายามในนิมิตของเขาเอง ไม่เป็น สังฆาทิเสส มีองค์ ๓ คือ เจตนาจะให้เคลื่อน ๑ พยายาม ๑ อสุจิ เคลื่อน ๑ พร้อมด้วยองค์ ๓ นี้ จึ่งเป็นสังฆาทิเสส สมุฏฐานวิธี เป็นต้น เหมือนปฐมปาราชิก.

ปฐม? จบ

            กายสังสัคคะสิกขาบทที่ ๒ ความว่า ภิกษุใดที่จิตกำหนัดในการ เคล้าคลึงกายมาตุคาม คือจับมือหรือจับช้องผม หรือจับต้องลูบคลำ อวัยวะอันใดอันหนึ่งแห่งมนุษย์ผู้หญิง ต้องสังฆาทิเสส หญิงมนุษย์ที่ เป็นอยู่ แม้เกิดในวันนั้น ก็เป็นวัตถุแห่งสังฆาทิเสส บัณเฑาะก์ หญิง ยักษ์ หญิงเปรต เป็นวัตถุแห่งถุลลัจจัย ติรัจฉานตัวเมียตัวผู้และมนุษย์ ชาย เป็นวัตถุแห่งทุกกฏ ช้องนั้น คือ ผมล้วน ก็ดี และเจือด้วยวัตถุอื่น มีด้ายและดอกไม้เป็นต้น ก็ดี เขาจะรัดไว้ ก็ดี ไม่รัด ก็ดี ชื่อว่าช้อง แม้ขนก็สงเคราะห์เข้าในช้อง เพราะเหตุนั้น หญิง ภิกษุก็รู้ว่าเป็นหญิง และจับต้องลูบคลำด้วยกายสังสัคคราคะ แม้โดยที่สุดขนต่อขนถูกกัน คือหญิงมาถูก ภิกษุมีความกำหนัดพยายามรับสัมผัส ก็เป็นสังฆาทิเสส ถ้าหญิง ภิกษุเคลือบแคลงอยู่ว่าหญิงหรือมิใช่ หรือสำคัญว่าเป็น บัณเฑาะก์ เป็นบุรุษ เป็นติรัจฉาน ก็ดี แล้วเคล้าคลึงหรือถูกกายด้วย วัตถุเนื่องด้วยกายตน หรือถูกวัตถุเนื่องด้วยการหญิง มีผ้านุ่งผ้าห่ม เป็นต้นด้วยกายตน หรือจับต้องหญิงอมนุษย์และบัณเฑาะก์ด้วยกาย สังสัคคราคะ เหล่านี้เป็นถุลลัจจัยทั้งสิ้น ภิกษุถูกต้องของเนื่องด้วย กายหญิง ด้วยวัตถุเนื่องด้วยกายตน หรือหญิงโยนของมา ภิกษุโยน ของรับ หรือถูกต้องบัณเฑาะก์ ด้วยของเนื่องด้วยกายตน เป็นต้น หรือ บัณเฑาะก์ ภิกษุสงสัยอยู่ หรือสำคัญว่าเป็นหญิงเป็นบุรุษ เป็นต้น หรือบุรุษ ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิง เป็นบัณเฑาะก์ เป็นติรัจฉาน หรือ สงสัยอยู่ ก็ดี และมีความกำหนัดถูกกายต่อกายแห่งบัณเฑาะก์เป็นต้น นั้นก็ดี ถูกของที่เนื่องด้วยกาย ก็ดี โยนของรับกัน ก็ดี ดังนี้เป็นทุกกฏ ทั้งสิ้น ก็แลจะเป็นอาบัติมากน้อยให้นับตามวัตถุและประโยคที่จับต้อง ภิกษุยึดไว้มือหนึ่ง ๆ ถูกต้องในที่นั้น ๆ วันหนึ่งยังค่ำก็ดี หรือไม่จับไว้ ลูกแต่ศีรษะตลอดเท้าไม่ให้พ้นตัวเลย หรือรวบนิ้วทั้งห้าเข้าแห่ง เดียวกัน ก็ดี เหล่านี้เป็นอาบัติตัวเดียว ตัววัตถุต่างและประโยคที่จับต้อง ภิกษุยึดไว้มือหนึ่ง ๆ ถูกต้องในที่นั้น ๆ วันหนึ่งยังค่ำ ก็ดี หรือไม่จับไว้ ลูบแต่ศีรษะตลอดเท้าไม่ให้พ้นตัวเลย หรือรวบนิ้วทั้งห้าเข้าแห่ง เดียวกัน ก็ดี เหล่านี้เป็นอาบัติตัวเดียว ถ้าวัตถุต่าง ๆ กันรวบเข้า ๕ นิ้วเป็นอาบัติ ๕ ตัว หญิงมาถูกต้องภิกษุ ๆ มีความกำหนัด แต่ไม่ พยายามด้วยกาย ถึงรู้สัมผัสอยู่ หรือปรารถนาจะให้พ้นและผลัก ไสไป หรือถูกต้องด้วยไม่แกล้ง ก็ดี ด้วยไม่มีสติ ก็ดี ไม่รู้ตัว ก็ดี ด้วยไม่กำหนัดยินดีก็ดี ภิกษุเป็นต้น เหล่านี้ไม่เป็นอาบัติ สิกขาบท นี้เป็นอนาณัตติกะ ไม่ต้องเพราะบังคับ มีองค์ ๕ คือ หญิงมนุษย์ ๑ สำคัญว่าเป็นหญิง ๑ กำหนัดด้วยกายสังสัคคราคะ ๑ พยายามตาม ความกำหนัด ๑ จับมือเป็นต้น ๑ พร้อมด้วยองค์ ๕ นี้ จึ่งเป็นสังฆา ทิเสส สมุฏฐานวิธี เป็นต้น เหมือนปฐมปาราชิก.

ทุติย? จบ

            ในทุฏฐุลลวาจะ สิกขาบทที่ ๓ ความว่า ภิกษุมีจิตกำหนัดยินดี และเจรจากับหญิง ด้วยคำอันชั่วหยาบ ประกอบด้วยเมถุน ดังชายหนุ่ม พูดเกี้ยวหญิงสาว หญิงรู้ความในขณะนั้น ต้องสังฆาทิเสส หญิง มนุษย์ที่รู้หยาบและไม่หยาบ เป็นวัตถุแห่งสังฆาทิเสส แต่วัตถุแห่ง ถุลลัจจัยและทุกกฏ เหมือนในสิกขาบทก่อน คำที่อาศัยทวารหนักทวาร เบา และอาศัยเมถุนในตัวหญิง เหล่านี้ชื่อว่าคำชั่วหยาบ เป็นเขต แห่งสังฆาทิเสส ในกายหญิงตั้งแต่รากขวัญลงไป ตั้งแต่เข้าขึ้นมา เป็น เขตแห่งถุลลัจจัย อวัยวะนอกนั้นเป็นเขตแห่งทุกกฎ อาการที่จะกล่าว ทุฏฐุลลวาจามี ๙ คือ สรรเสริญและติเตียนทวารหนักทวารเบาแห่งหญิ ขอเมถุนอ้อนวอนว่า เมื่อใดเราจักได้เมถุนธรรมแก่ท่าน ถามว่าท่าน ให้เมถุนธรรมแก่ชู้แก่ผัวอย่างไร ถามว่าได้ยินว่าท่านให้เมถุนธรรม แก่ชู้แก่ผัวอย่างนี้หรือ หญิงถาม ภิกษุบอกว่า ท่านจงให้เมถุนอย่างนี้ ชู้จึ่งจะรัก ภิกษุด่าว่า อีมีหงอน อีมีทวารหนักทวารเบาอันเนื่องกัน อีมีทั้งนิตหญิงนิมิตชาย อาการแห่งคำ ๙ นี้ คำใดคำหนึ่ง ภิกษุรู้อยู่ ว่าเป็นหญิง มีความกำหนัดกล่าวด้วยกายวิการอย่างไรอย่างหนึ่ง หรือ กล่าวด้วยวาจา ก็ดี หญิงรู้ความในขณะนั้น ต้องสังฆาทิเสส ถ้าหญิง ไม่รู้ความในขณะนั้น ต้องถุลลัจจัย หญิง ภิกษุสังสัยอยู่ ก็ดี สำคัญว่า เป็นบัณเฑาะก์ เป็นบุรุษ เป็นติรัจฉาน ก็ดี หรือบัณเฑาะก์ รู้ว่าเป็น บัณเฑาะก์ ก็ดี และกล่าวทุฏฐุลลวาจาดังนั้น ต้องถุลลัจจัย บัณเฑาะก์ ภิกษุสงสัยอยู่ หรือสำคัญว่าเป็นบุรุษ เป็นติรัจฉาน เป็นหญิง ก็ดี และ บุรุษหรือติรัจฉาน ภิกษุสำคัญถูก ก็ดี ผิด ก็ดี และกล่าวทุฏฐุลลวาจา ดังนั้นต้องทุกกฏ เฉพาะอวัยวะหญิง แต่รากขวัญลงไป แต่เข่าขึ้นมา กล่าวก็ดี และเฉพาะทวารหนักทวารเบาในบัณเฑาะก์ กล่าว ก็ดี ต้อง ถุลลัจจัย เฉพาะอวัยวะหญิง แต่รากขวัญขึ้นไป แต่เข่าลงมา กล่าว ก็ดี เฉพาะอวัยวะทั้งปวงแห่งบัณเฑาะก์เป็นต้น กล่าว ก็ดี เฉพาะของ เนื่องด้วยกาย กล่าว ก็ดี ต้องทุกกฏ ก็แลจะเป็นอาบัติมากน้อย ให้นับ ตามวัตถุและคำที่กล่าว ภิกษุทำอรรถเป็นเบื้องหน้า ก็ดี ทำธรรมเป็น เบื้องหน้า ก็ดี ทำคำสอนเป็นเบื้องหน้า ก็ดี กล่าวด้วยไม่มีกำหนัด และภิกษุบ้าเป็นต้น ก็ดี เหล่านี้ไม่เป็นอาบัติ เป็นอนาณัตติกะ ไม่เป็น อาบัติเพราะบังคับ มีองค์ ๕ คือ หญิงมนุษย์ ๑ รู้อยู่ว่าเป็นหญิง ๑ กำหนัดยินดีในที่จะกล่าวคำชั่วหยาบ ๑ กล่าวตามความกำหนัดนั้น ๑ หญิงรู้ความในขณะนั้น ๑ พร้อมด้วยองค์ ๕ นี้ จึ่งเป็นอาบัติ ไม่ พร้อม ไม่เป็น สมุฏฐานวิธีเป็นต้น เหมือนอทินนาทานสิกขาบท แปลกแต่มีเวทนา ๒.

ตติย? จบ

            ในอัตตกามปาริจริยะ สิกขาบทที่ ๔ ความว่า ภิกษุใดมีความ กำหนัด และกล่าวสรรเสริญความบำเรอด้วยกามแก่ตน ในที่ใกล้หญิง ด้วยคำประกอบด้วยเมถุนว่า ดูก่อนน้องหญิง ถ้านางในบำเรอผู้มีศีล มีธรรมอันงาม ประพฤติราวกะพรฟมเช่นดังเรา ด้วยเมถุนธรรม ความบำเรออันนั้น เป็นยอดแห่งความบำเรอทั้งปวง ดังนี้ ถ้าหญิงรู้ ความในขณะนั้น เป็นสังฆาทิเสส วินิจฉัยนอกนั้น เหมือนสิกขาบท ก่อน แปลกแต่สิกขาบทนี้ ว่าด้วยความสรรเสริญความบำเรอด้วย เมถุนอย่างเดียวเท่านั้น.

จตุตฺต? จบ

            ในสัญจริตตะสิกขาบทที่ครบ ๕ มีความว่า ภิกษุถึงซึ่งสัญจริตตะ คือเที่ยวชักสื่อบอกความประสงค์แห่งชายแก่หญิง หรือบอกความ ประสงค์แห่งหญิงแก่ชาย เพราะให้เป็นเมียเป็นผัวกัน โดยที่สุด บอกแก่หญิงแพศยา จะพึงมีสังวาสในขณะหนึ่งเท่านั้นก็ดี เป็นสังฆา ทิเสส หญิงชายเป็นชาติมนุษย์ ใช่ยักษ์ใช่เปรต เป็นคฤหัสถ์ก็ดี เป็น นักบวชก็ดี เขายังไม่ได้เป็นผัวเป็นเมียกัน หรือเป็นผัวเป็นเมียกัน แต่อย่ากันขาดเสียแล้ว โดยที่สุดเป็นมารดาบิดาของภิกษุก็ดี เหล่านี้ เป็นวัตถุแห่งสัญจริตตะ องค์แห่วงอาการนำสัญจริตตะ มี ๓ คือ ปฏิคฺคณฺหาติ หญิงหรือชาย หรือมารดาแห่งหญิงหรือชาย วานภิกษุ ให้บอกแก่หญิงหรือชาย หรือให้บอกแก่มารดาบิดาแห่งหญิงหรือชาย คนใด ภิกษุรักคำเขาเป็นองค์อย่าง ๑ วีม?สติ เขาวานให้บอกแก่ผู้ใด ภิกษุบอกแก่ผู้นั้นว่า ท่านจงเป็นเมียเป็นผัวเป็นชู้กันก็ดี เป็นองค์ อย่าง ๑ ปจฺจาหรติ ผู้ใดวานไป ภิกษุกลับมาบอกแก่ผู้นั้น เป็นองค์ อย่าง ๑ และเขาจะเป็นเมียเป็นผัวเป็นชู้กันก็ตามไม่เป็นก็ตาม อันนั้น ใช่เหตุ เมื่อพร้อมด้วยองค์ ๓ ก็เป็นสังฆาทิเสส ถ้าได้แต่องค์ ๒ คือ รับและบอก หรือบอกแล้วกลับมาบอกอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นถุลลัจจัย ถ้าเป็นแต่องค์ ๑ คือรับหรือบอกหรือกลับมาบอกอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นทุกกฏ ถ้าบุรุษวานภิกษุให้บอกแก่หญิงอันมารดารักษาอยู่ ภิกษุ ไปบอกแก่หญิงอันบิดารักษา ดังนี้ผิดสังเกต ไม่เป็นสังฆาทิเสส ภิกษุนำสัญจริตตะแก่บัณเฑาะก์ เป็นถุลลัจจัย ภิกษุนำข่าวสงฆ์ ข่าว เจดีย์ ข่าวภิกษุไข้ก็ดี ภิกษุบ้าเป็นต้น ไม่เป็นอาบัติ สิกขาบทนี้เป็น สาณัตติกะ เพราะภิกษุรับคำเขาแล้วแลใช้ผู้อื่นให้ไปบอกแก่หญิง หรือชาย หรือบอกแล้วแลใช้ผู้อื่นให้กลับมาบอกแก่ผู้วานก็ดี คงเป็น อาบัติ มีองค์ ๕ คือ นำสัญจริตตะในผู้ใด ผู้นั้นเป็นชาติมนุษย์ ๑ เขาไม่เป็นผัวไม่เป็นเมียกันอยู่ก่อน หรือเป็นผัวเป็นเมียกันอยู่ก่อน แต่ว่าหย่ากันขาดแล้ว ๑ รับคำเขา ๑ บอกตามเขาสั่ง ๑ กลับมา บอกแก่ผู้วาน ๑ พร้อมด้วยองค์ ๕ นี้ จึ่งเป็นสังฆาทิเสส มีสมุฏฐาน ๖ คือ ภิกษุ ไม่รู้บัญญัติ หรือไม่รู้ว่าเขาหย่ากันขาดแล้ว และรับคำสั่ง เขาด้วยกายวิการ เป็นต้นว่า พยักหน้าและบอกด้วยกายวิการ กลับมา บอกด้วยกายวิการ อย่างนี้อาบัติเกิดแต่กายอย่างเดียว ภิกษุนั่งอยู่ ชายมาสั่งไว้ว่า หญิงชื่อนี้จักมา ท่านจงรู้จิตเขา ภิกษุรับคำว่า เออ ดีแล้ว ครั้นหญิงมาภิกษุก็บอก ครั้นชายกลับมาอีกภิกษุก็บอก ดังนี้ เกิดแต่วาจาอย่างเดียว เพราะภิกษุไม่ได้ทำสิ่งใดด้วยกาย อนึ่ง ภิกษุ รับคำของชายด้วยวาจาแล้ว ไปเรือนของหญิงด้วยกิจอื่น หรือว่าไป ในที่อื่น ไปพบหญิงนั้นเข้า และบอกแก่หญิงนั้นด้วยวจีเภทแล้ว ก็ไปด้วยเหตุอื่นอีก กลับมาพบชายนั้นเข้าแล้ว ก็บอกแก่ชายนั้น ดังนี้ ก็ชื่อว่าเกิดแต่วาจาอย่างเดียว ภิกษุไม่รู้บัญญัติ แม้เป็นพระขีณาสพ บิดาใช้ไป และเธอไปบอกแก่มารดาซึ่งหย่ากันขาดแล้วว่า ท่านจง กลับมาอุปัฏฐากบิดาเถิด แล้วก็กลับมาบอกแก่บิดาดังนี้ อาบัติเกิด แต่กายวาจา ๓ นี้ ชื่อว่าอจิตตกสมุฏฐาน ภิกษุรู้บัญญัติหรือรู้ว่าเขา หย่ากันขาดแล้ว และนำสัญจริตตะโดยนัยทั้ง ๓ อย่างนั้น ๓ สมุฏ ฐานนี้ชื่อว่า สจิตตกสมุฏฐาน ด้วยจิตที่รู้บัญญัติและรู้ว่าหย่ากันขาด แล้ว ชื่อว่ามีสมุฏฐาน ๖ นั้นดังนี้ และเป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ เป็นกายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓.

ปญฺจม? จบ

            ในกุฎีการระสิกขาบทที่ ๖ ความว่า ภิกษุทำเองหรือใช้ให้ผู้อื่นทำ ซึ่งกุฎีอันฉาบด้วยปูนและดินเหนียว ข้างในหลังคาหรือนอนหลังคา หรือทั้งข้างในข้างนอก ด้วยเครื่องอุปกรณ์ มี มีด และขวานเป็นต้น ที่ขอเขามาเอง และเป็นกุฎีไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ เฉพาะเป็นที่อยู่ ตนเอง พึงทำให้ได้ประมาณ คือโดยยาว ๑๒ คืบ โดยกว้าง ๗ คืบ ด้วยคืบพระสุคต อย่าวัดข้างนอก วัดส่วนข้าวในผนัง เธอนั้นพึงชำระ ที่ให้ดีแล้ว ไปเชิญภิกษุมาแต่สงฆ์ ให้มาดูที่ว่า จะเป็นที่ประกอบด้วย ความปรารภ คือเป็นที่อยู่ของมดดำมดแดงเป็นต้น หรือไม่เป็นที่ ประกอบด้วยความปรารภ หรือจะเป็นที่พอเวียนเกวียนเวียนบันได โดยรอบได้ หรือไม่เวียนได้ ภิกษุมาแต่สงฆ์เห็นว่า เป็นที่ไม่มีความ ปรารภ พอเวียนเกวียนและบันไดได้โดยรอบแล้วไซร้ ให้ภิกษุผู้เจ้า ของพาภิกษุทั้งหลายมาแต่สงฆ์ เพื่อให้แสดงที่ให้ว่า เป็นที่ไม่มีความ ปรารภ พอเวียนเกวียนเวียนบันไดได้ ถ้าเธอผู้เป็นเจ้าของนั้น ไม่พา ภิกษุมาให้แสดงที่ หรือทำให้เกินประมาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง ใน ประโยคที่ทำทั้งปวงเป็นทุกกฏ ยังอีก ๒ ก้อน ปูนจะแล้ว ในก้อน ที่แรกเป็นถุลลัจจัย ในก้อนที่ ๒ เสร็จการ เป็นสังฆาทิเสส ทำในที่ ประกอบด้วยรังเกียจ และเวียนเกวียนบันไดไม่ได้ ต้องทุกกฏ

            ๑๒ คืบ พระสุคตเป็น ๘ ศอก กับนิ้ว ๒ กระเบียด ช่างไม้ทุก วันนี้ ๗ คืบ พระสุคตเป็น ๔ ศอกคืบ ๔ นิ้ว ๓ กระเบียด กับ ๒ อนุกระเบียด ช่างไม้ทุกวันนี้.

ฉฏฺฐ? จบ

            ในมหัลลกะสิกขาบทที่ ๗ ความว่า ภิกษุทำเองหรือให้ผู้อื่นทำ ซึ่งวิหารใหญ่ไม่มีประมาณ มีผู้อื่นเป็นเจ้าของ เฉพาะตนเอง พึงพา ภิกษุทั้งหลายมาเพื่อแสดงที่ให้ ถ้าไม่พาภิกษุมาให้แสดงที่ให้ไซร้ เธอทำสำเร็จแล้ว เป็นสังฆาทิเสส ความนอกนั้นเหมือนสิกขาบท ก่อน แปลกแต่ไม่มีประมาณเท่านั้น.

สตฺตม? จบ

            ในอมูลกะสิกขาบทที่ ๘ ความว่า ภิกษุใด โกรธแค้นภิกษุด้วย กัน และแกล้วโจทด้วยปาราชิกทั้ง ๔ อันใดอันหนึ่ง ไม่มีมูล เพราะหา เหตุ จะให้เธอนั้นฉิบหายจากพรหมจรรย์ ภายหลังจะมีผู้ซักไซ้เธอ ก็ตาม ไม่ซักไซ้ก็ตาม อธิกรณ์นั้นไม่มีมูลแน่แล้ว ถึงเธอจะปฏิญญา ว่า เราพูดเท็จ ก็คงเป็นสังฆาทิเสสในขณะโจทนั้นแล้ว ปาราชิก ไม่มีมูลนั้น คือไม่ได้เห็นด้วยตาโดยปกติหรือตาทิพย์ และไม่ได้ยิน ด้วยหูโดยปกติหรือหูทิพย์ และไม่ได้รังเกียจด้วยใจว่า เธอต้องอาบัติ ปาราชิกทั้ง ๔ อันใดอันหนึ่ง ด้วยตนได้เห็นอาการ หรือได้ยินสำเนียง และได้กลิ่นอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ควรจะรังเกียจ อย่างนี้แล ชื่อว่า ไม่มีมูล ว่าโดยสังเขป โจทมี ๔ อย่าง คือ โจทด้วยชี้วัตถุ ๑ ชี้ อาบัติ ๑ ห้ามสังวาส ๑ ห้ามสามีจิกรรม ๑ เป็น ๔ โจทว่าท่าน เสพเมถุนเป็นต้น เช่นนี้ชื่อว่า ชี้วัตถุ โจทว่าท่านต้องอาบัติ เพราะ เมถุนธรรมเป็นต้น ชื่อว่า ชี้อาบัติ โจทว่าจะทำอุโบสถปวารณา สังฆกรรมกับท่านไม่ได้ เช่นนี้ชื่อว่า ห้ามสังวาส ด้วยห้ามสังวาสเท่านั้น ยังไม่ถึงศีรษะ คือเป็นอาบัติก่อน ต่อเมื่อใดกล่าวว่า ท่านไม่เป็นสมณะ เป็นต้น มาต่อเข้าในปลายคำก่อน จึงถึงศีรษะคือเป็นอาบัติ ไม่ทำ อภิวาทและการลุกไปรับ และอัญชลีกรรม และสามีจิกรรม มีการพัด เป็นต้น อย่างนี้ ชื่อว่าห้ามสามีจิกรรม อันนี้ให้พึงรู้ในเวลาที่ภิกษุ ทำการไหว้เป็นต้นโดยลำดับ แล้วไม่ทำแก่ภิกษุองค์หนึ่ง ข้ามไปทำ แก่ภิกษุอันเศษ เท่านี้ ชื่อว่าเป็นอันโทจ ก็แต่อาบัติยังไม่ถึงศีรษะก่อน ต่อเมื่อใด ผู้ที่เธอไม่ไหว้นั้น ถามว่าเหตุไร ท่านจึ่งไม่ทำการไหว้ เป็นต้นแก่เรา แล้วเธอกล่าวคำว่า ท่านไม่เป็นสมณะเป็นต้นต่อวาจา เข้าด้วย จึ่งถึงศีรษะคือเป็นอาบัติ ก็แลภิกษุโจทบุคคลผู้ใดที่ได้ อุปสมบทแล้ว จะเป็นคนบริสุทธิ์ก็ตาม ไม่บริสุทธิ์ก็ตาม โจทด้วย ปาราชิกอันใด รู้อยู่ว่าบุคคลผู้นั้น ไม่ต้องปาราชิกอันนั้น และมี อธิบายจะให้เธอเคลื่อนจากพรหมจรรย์ ไม่ให้เธอทำโอกาสด้วย คำว่า "กโรตุ เม อายสฺมา โอกาส?, อหนฺต? วตฺตุกาโม ท่านผู้มีอายุ จงทำโอกาสแก่ข้า ๆ อยากจะว่าท่าน" ดังนี้ก่อน และโจท ถ้าบุคคล ผู้นั้นรู้ความในขณะนั้นว่า เขาโจทเราดังนี้ เป็นสังฆาทิเสสด้วย เป็น ทุกกฏด้วย ทุก ๆ คำโจท ครั้นผู้โจทให้เธอทำโอกาสแก่ตนก่อนแล้ว จึงโจท เป็นสังฆาทิเสสอย่างเดียว แม้ภิกษุโจทต่อหน้าด้วยกาย คือแม่มือก็อย่างเดียวกัน ก็แลภิกษุโจทในที่ลับหลัง อาบัติไม่ถึงศีรษะ บังคับภิกษุอื่นที่ยืนอยู่ในที่ใกล้ตนให้โจท ผู้รับบังคับไปโจทบุคคล ผู้นั้นตามคำผู้ใช้ เป็นอาบัติแก่ผู้ใช้ โดยนัยดังกล่าวแล้ว แม้ผู้รับไป โจทว่า เราเห็นเราได้ยินด้วย เป็นอาบัติดังก่อนด้วยกันทั้ง ๒ ก็แล ภิกษุให้เขาทำโอกาสก่อน และกล่าวด้วยอธิบายจะด่า เป็นปาจิตตีย์ ด้วย เป็นทุกกฏด้วย โดยนัยดังกล่าวแล้ว ครั้นให้ทำโอกาสเสียก่อน แล้วจึ่งว่า เป็นแต่ปาจิตตีย์อย่างเดียว ภิกษุทำกรรมทั้ง ๗ ประการ ในที่ลับหลัง ด้วยกัมมาธิบายเป็นทุกกฏ ภิกษุกล่าวว่า ท่านต้องอาบัติ ชื่อนี้ ท่านจงแสดงอาบัตินั้นเสีย ดังนี้ ด้วยวุฏฐานาธิบายและยก อุโบสถหรือปวารณาแก่ภิกษุอื่นก็ดี ไม่ต้องขอโอกาส แต่ให้รู้จักเขต ที่จะยก แม้ภิกษุผู้ซักความ ครั้นเมื่อวัตถุเขาโจทขึ้น และกล่าวว่ากรรม ของท่านอันนั้นมีอยู่ ด้วยอธิบายในที่จะซักไซ้ไม่ต้องขอโอกาสก่อน ถ้าเธอเฉพาะนิยมกล่าวว่า ผู้โน้นด้วย ๆ ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นอุบาสก ดังนี้ ลงจากธรรมาสน์แล้ว พึงแสดงอาบัติเสียแล้วจึงไป ก็แลภิกษุ เห็นว่าเป็นคนไม่บริสุทธิ์ในบุคคลบริสุทธิ์ก็ดี เห็นว่าเป็นคนไม่บริสุทธิ์ ในบุคคลไม่บริสุทธิ์ก็ดี แล้วจึงโจท และภิกษุบ้าเป็นต้น ไม่เป็น อาบัติ เป็นสาณัตติกะ มีองค์ ๕ โจทเองหรือให้ผู้อื่นโจทซึ่งผู้ใด ผู้นั้นถึงซึ่งนับว่า เป็นอุปสัมบัน ๑ สำคัญว่าผู้นั้นเป็นผู้บริสุทธิ์ ๑ โจทด้วยปาราชิกใด ปาราชิกนั้น ไม่มีมูลด้วยความเห็นเป็นต้น ๑ โจทเองหรือให้ผู้อื่นโจท ในที่ต่อหน้า ด้วยอธิบายจะให้เคลื่อนจาก พรหมจรรย์ ๑ ผู้ต้องโจทในขณะนั้น ๑ พร้อมด้วยองค์ ๕ นี้ จึงเป็น อาบัติสังฆาทิเสส สมุฏฐานวิธีเป็นต้น เหมือนอทินนาทานสิกขาบท แปลกแต่ในสิกขาบทนี้ เป็นทุกขเวทนาอย่างเดียว.

อฏฺ?ม? จบ

            ในอัญญภาคิยะสิกขาบทที่ ๙ ความว่า ภิกษุใด โกรธแค้นภิกษุ อื่น หมายจะให้เธอเคลื่อนจากพรหมจรรย์ แกล้งถือเอาเลศมีชาติ เป็นต้น มาโจทภิกษุนั้น ด้วยปาราชิกไม่มีมูล คือผู้ที่เป็นชาติกษัตริย์ เป็นต้น เสพเมถุนหรือต้องปาราชิกอันใด ๆ และถือชาตินั้นเป็นเลศมา ใส่ในภิกษุ ที่เป็นชาติกษัตริย์เหมือนกันว่า ท่านเป็นกษัตริย์เสพเมถุน และเป็นปาราชิก ด้วยเหตุนี้ ๆ เราเห็น เราได้ยิน เรารังเกียจ ดังนี้ ต้องสังฆาทิเสสในขณะโจท แม้ปฏิญญาตนในภายหลังก็ไม่พ้นโทษ.

นวม? จบ

            ในสังฆเภทะสิกขาบทที่ ๑๐ ความว่า ภิกษุใดพยายาม คือว่า แสวงหาพวกพ้อง เพื่อจะทำลายสงฆ์ซึ่งพร้อมเพรียงกันอยู่ในสีมา อันเดียวกัน หรือยกเอาเหตุที่จะทำลายสงฆ์ คือเภทกรวัตถุ ๑๘ ขึ้นแสดง ภิกษุอื่นได้เห็นได้ยิน ก็พึงห้ามปรามว่า ท่านอย่าทำอย่างนี้ จงพร้อมเพรียงด้วยสงฆ์เถิด ด้วยว่าสงฆ์พร้อมเพรียงไม่แก่งแย่ง มี อุทเทสอันเดียวกันแล้ว ก็ย่อมอยู่สบาย ถ้าเธอไม่ฟังคำห้าม ต้องทุกกฏ ถ้าภิกษุได้เห็น ได้ยิน ไม่ห้าม ก็ต้องทุกกฏ ภิกษุอื่นห้ามเธอ ๆ ไม่ฟัง คำห้ามแล้ว พึงห้ามอีก ๓ ครั้ง ถ้าเธอสละไซร้ก็เป็นการดี ถ้าเธอไม่ สละไซร้ต้องทุกกฏ แล้วสงฆ์พึงสวดสมนุภาสนะเธอนั้นด้วยญัตติ จตุตถกรรมวาจา ครั้นสงห์สวดสมนุภาสนะจบญัตติลงแล้ว เธอนั้น ต้องทุกกฏ เมื่อจบอนุสาวนะที่ ๑ ที่ ๒ ลง เธอนั้นต้องถุลลัจจัย ครั้น จบอนุสาวนะที่ ๓ ลง ต้องสังฆาทิเสส.

ทสม? จบ

            ในเภทนานุวัตตกะสิกขาบทที่ ๑๑ ความว่า ภิกษุทั้งหลายตั้งแต่ ๓ รูปลงมา เป็นพวกพ้องประพฤติตามภิกษุผู้จะทำลายสงฆ์นั้น ช่วย ว่ากล่าวทัดทานภิกษุอื่นว่า ท่านทั้งหลายอย่าได้ว่ากล่าวสิ่งใดแก่ภิกษุ นั้นเลย ภิกษุนั้นเธอเป็นผู้กล่าวธรรม กล่าววินัย เธอย่อมถือเอา ฉันทรุจิของเราทั้งหลายขึ้นกล่าว เธอย่อมร่วมรู้กับเรา ได้ปรึกษา ด้วยเรา กรรมนั้น ย่อมชอบย่อมควรแก่เราทั้งหลายดังนี้ ให้ภิกษุ ทั้งหลายอื่น ผู้ได้เห็นได้ยินพึงห้ามปรามเธอจนถึง ๓ ครั้ง ถ้าห้าม เธอทั้งหลายไม่ฟัง ให้ภิกษุทั้งหลายนั้น พึงสวดสมนุภาสนะเธอ ทั้งหลาย ด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา เพื่อจะให้สละคืนกรรมนั้นเสีย ถ้าเธอทั้งหลายสละกรรมนั้นเสียก็เป็นการดี ถ้าเธอไม่สละเสีย นิ่งจน จบอนุสาวนะที่ ๓ ลง เธอทั้งหลายนั้น ต้องสังฆาทิเสส ความนอก นั้นเหมือนสิกขาบทก่อน

เอกาทสม? จบ

            ในทุพพะจะสิกขาบบทที่ ๑๒ ความว่า ภิกษุเป็นคนดื้อว่ายากสอน ยกา ครั้นภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวสั่งสอนด้วยสิกขาบทบัญญัติ ทำตน ไม่ให้ผู้อื่นว่ากล่าวได้ คือ กล่าวว่า ท่านทั้งหลายอย่าได้ว่าสิ่งไร เป็น0 คำดีคำชั่วแก่เราเลย แม้เราก็จักไม่ว่าสิ่งไร เป็นคำดีคำชั่วกะท่าน ทั้งหลาย ๆ จงงดการว่ากล่าวเราเสียเถิด ดังนี้ ให้ภิกษุทั้งหลายพึงห้าม ปรามเธอเสีย อย่าให้เป็นคนดื้อ ครั้นภิกษุทั้งหลายว่าเธอ ๆ ยังดื้อ อยู่เช่นนั้น ให้ภิกษุทั้งหลายพึงฉุดคร่าเธอไป ณ ท่ามกลางสงฆ์ สวดสมนุภาสนะ ๓ ครั้ง เพื่อจะให้สละกรรมนั้นเสีย ถ้าเธอสละเสีย ก็เป็นการดี ถ้าไม่สละเสีย จบอนุสาวนะที่ ๓ ลง ต้องสังฆาทิเสส.

ทฺวาทสม? จบ

            ในกุลทูสกะสิกขาบทที่ ๑๓ ความว่า ภิกษุอาศัยบ้านและนิคม ใดอยู่ และประทุษร้ายตระกูล คือให้ดอกไม้ ผลไม้ เป็นต้น แก่ตระกูล ให้เขาเสื่อมผลแห่งทานที่ให้แก่ตนดังนี้ ชื่อว่ากุลทูสกะ ผู้ประทุษร้าย ตระกูล และเธอเป็นคนมีสมาจารอันชั่ว คือปลูกกอไม้ เพื่อสงเคราะห์ ตระกูลเป็นต้น สมาจารอันชั่ว และตระกูลที่เธอประทุษร้ายนั้น ย่อมปรากฏแก่ตา แก่หูผู้อื่น ให้ภิกษุทั้งหลายผู้ได้เห็นได้ยิน พึงทำ ปัพพาชนียกรรม ขับเธอเสียจากบ้านและนิคมนั้น ด้วยญัตติจตุตถ กรรมวาจา ครั้นเธอต้องปัพพาชนียกรรมแล้ว กลับกล่าวติเตียนสงฆ์ ผู้ทำปัพพาชนียกรรมนั้นว่า ทำด้วยฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ ดังนี้ ให้ภิกษุทั้งหลายอื่น ผู้ได้เห็น ผู้ได้ยิน พึงห้ามปรามเธอ อย่าให้ติเตียนการกสงฆ์ดังนั้น ถ้าห้ามปรามเธอไม่ฟัง ให้ภิกษุ ทั้งหลายนั้น พึงฉุดคร่าตัวเธอไป ณ ท่ามกลางสงฆ์ สวดสมนุภาสนะ ๓ ครั้ง เพื่อจะให้สละคำติเตียนนั้นเสีย ถ้าเธอไม่สละเสีย จบอนุสาวนะ ที่ ๓ ลง ต้องสังฆาทิเสส.

เตรสม? จบ

            ตั้งแต่สัญเจตนิกะสิกขาบทจนถึงอัญญภาคิยะสิกขาบท ๙ นี้ ชื่อปฐมาปัตติกา เพราะจะพึงต้องในขณะที่ล่วงเป็นที่แรก นอกนั้น ๔ สิกขาบท ชื่อ ยาวตติยกา เพราะจะพึงต้องในขณะเมื่อจบอนุสาวนะ ที่ ๓ ทั้ง ๑๓ สิกขาบทนี้ ข้อใดข้อหนึ่ง ภิกษุต้องแล้วรู้อยู่และปิดไว้ สิ้นวันเท่าใด ต้องอยู่ปริวาสสิ้นวันเท่านั้น ครั้นอยู่ปริวาสเสร็จแล้ว ต้องประพฤติมานัตอีก ๖ ราตี ครั้นประพฤติมานัตแล้ว พึงขอ อัพภานในสงฆ์ มีภิกษุ ๒๐ องค์เป็นคณะสงฆ์ ให้อัพภานแล้วจึ่งพ้น อาบัตินั้นได้ เพราะเหตุนั้น ภิกษุต้องแล้วอย่าพึงปิดไว้ด้วยความ ละอาย พึงบอกเสียแก่ภิกษุที่เป็นสภาคกันในวันนั้น อย่างให้ทันอรุณ ขึ้นมาได้ เมื่อบอกเสียได้ในวันนั้น จะต้องประพฤติมานัตแต่ ๖ ราตรี แล้วขออัพภานกรรมแก่สงฆ์พ้นโทษได้ง่าย ต้องแล้วให้บอกแม้ ด้วยภาษาไทย ดังนี้ว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสสชื่อนี้ ข้าพเจ้า บอกอาบัตินั้นแก่ท่าน ลักษณะที่จะปิดอาบัตินั้น ดังนี้ อาบัติ ภิกษุต้องแล้ว รู้อยู่ว่าเป็นอาบัติด้วย ตนเป็นปกตัตตะ สงฆ์ไม่ได้ ยกวัต และรู้อยู่ว่าเป็นปกตัตตะด้วย ไม่มีอันตราย ๑๐ อย่าง อันไดอันหนึ่ง และรู้อยู่ว่าไม่อันตรายด้วย พอจะไปบอกภิกษถที่เป็น สภาคกันได้อยู่ และรู้อยู่ว่าพอจะไปได้อยู่ด้วย ปรารถนาจะปิด และ ปิดไว้ด้วย ดังนี้ จึ่งเป็นอันปิด ถ้าเห็นอุปัชฌายอาจารย์ ละอาย ไม่บอก ให้อรุณใหม่ขึ้นมา ก็เป็นอันปิดไว้แท้ ที่ละอายอปัชฌาย อาจารย์นั้นไม่เป็นประมาณ ภิกษุที่เป็นสภาคกันโดยข้อปฏิบัติ รู้แล้วและจะไม่เยาะเย้ยติเตียนล้อเลียนนี้แล้ว เป็นประมาณ ควรบอก.

สงฺฆาทิเสสณฺณนา นิฏฺ?ิตา จบสังฆาทิเสส

         

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ