บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



บุพพสิกขาวรรณณา

สารบัญ

คำนำ

รตนัตตยบัพพะ

อาปัตตินามาทิบัพพะ

ปฏิปัตติมุขบัพพพะ

กาลิกบัพพะ

พินทวาธิฏฐานาทิบัพพะ

วิชหนาทิบัพพะ

อาปัตติเทสนาทิบัพพะ

มาตรากถา

 

            จักพรรณนาในอนิยตะสิกขาบท ๆ มี ๒ อลังกัมมนิยะสิกขาบท ที่ ๑ ความว่า ภิกษุใดแต่ผู้เดียวนั่งอยู่ หรือนอนในอาสนะที่ปิดบัง เป็นที่ลับตา กับด้วยหญิงแม้เกิดในวันนั้น แม้ถึงหลานคน ที่นั่งหรือ นอนอยู่ อุบาสิกาที่มีถ้อยคำควรเชื่อ คือเป็นอริยสาวิกา ได้เห็นภิกษุ นั้น และโจทด้วยปาราชิก เพราะเสพเมถุน หรือด้วยสังฆาทิเสส เพราะกายสังสัคคะ หรือด้วยปาจิตตีย์ เพราะนั่งในที่ลับกับด้วยหญิง ข้อใดข้อหนึ่ง ภิกษุนั้นเธอปฏิญญาเสพเมถุน ให้วินัยธรปรับอาบัติตาม ปฏิญญาในข้อนั้น คือปฏิญญาว่าเสพเมถุน ให้ปรับปาราชิก ปฏิญญา ว่าจับต้องหญิง ให้ปรับด้วยสังฆาทิเสส ปฏิญญาว่านั่งหรือนอนอยู่ ในที่ลับกับด้วยหญิงที่นั่งและนอนอยู่ ก็ให้ปรับปาจิตตีย์ ถ้าปฏิญญา ว่าตนยืน หรือหญิงยืนอยู่ไม่ได้ทำอะไรกัน อย่าให้วินัยธรปรับอาบัติ ิสิ่งใดเธอเลย ด้วยความเห็นนั้น บางทีก็เป็นอย่างเห็น บางทีก็เป็น อย่างอื่น ไม่แน่นอน ภิกษุประสงค์จะไปหามาตุคามด้วยความกำหนัด ในที่ลับ เป็นทุกกฏทุก ๆ ประโยค ครั้นไปถึงที่ นั่งหรือนอนลงแล้ว หญิงจึงนั่งหรือนอนลง หรือหญิงนั่งหรือนอนอยู่แล้ว ภิกษุจึงนั่งหรือ นอนลง หรือนั่งและนอนพร้อมกันทั้งสองก็ดี จึงเป็นปาจิตตีย์ ถ้า ภิกษุนั้นจับต้องหญิงหรือเสพเมถุน ให้วินัยธรพึงปรับอาบัติเธอตาม วัตถุนั้น ๆ แม้ถึงผู้ชายนั่งอยู่ริมประตูห้องที่บานปิดอยู่ ภิกษุนั่งอยู่ ในห้องกับหญิง ชายนั้นก็คุ้มอาบัติไม่ได้ ผู้ชายตาดีนั่งอยู่ในโอกาส ๑๒ ศอกพอแลเห็นกันได้ เป็นคนมีจิตฟุ้งซ่าน แม้นั่งหลับอยู่ก็คุ้ม อาบัติได้ คนตาบอดแม้อยู่ใกล้ ก็คุ้มอาบัติไม่ได้ ถึงคนตาดีแม้นอน หลับอยู่ ก็คุ้มอาบัติไม่ได้ ก็แต่หญิงแม้สักร้อยหนึ่ง ก็คุ้มอาบัติไม่ได้ มีชายผู้รู้ความ ตาไม่บอดนอนอยู่ แต่ไม่หลับก็ดี หรือชายเช่นนั้นอยู่ ในอุปจารก็ดี หรือภิกษุ หรือหญิงยืนอยู่ไม่นั่งก็ดี ภิกษุไม่เพ่งใน ที่ลับก็ดี ส่งใจไปในที่อื่นก็ดี เหล่าไม่เป็นอาบัติปาจิตตีย์ เพราะ นั่งในที่ลับกับหญิง ภิกษุเป็นบ้าเป็นต้น ไม่เป็นอาบัติทั้งสามอย่าง เป็นอนาณัตติกะ องค์ ในสิกขาบทนี้ ให้พึงรู้ตามอาบัติที่ภิกษุ ปฏิญญา สมุฏฐานวิธีเป็นต้น เหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท.

ป?ม? จบ

            ในนาลังกัมมนิยะสิกขาบทที่ ๒ ความว่า อาสนะที่นั่งไม่ปิดบัง ด้วยสิ่งอันใด เป็นที่แจ้งดังกลางวัด กลางบ้าน ไม่ควรจะเสพเมถุน ควรแต่จะพูดทุฏฐุลลวาจากะมาตุคามได้เท่านั้น ภิกษุใด แต่ผู้เดียว ไม่มีชายอื่นผู้รู้ความอยู่ด้วย และนั่งนอนกับด้วยหญิงที่รู้คำหยาบและ ไม่หยาบแต่ผู้เดียว ไม่มีหญิงอื่นที่รู้ความอยู่ด้วย ในอาสนะเช่นนั้น เป็นที่ลับหูอย่างเดียว อุบาสิกาเป็นอริยสาวิกา มีถ้อยคำควรจะพึงเชื่อ ได้ ๆ เห็นภิกษุนั้น และโจทด้วยสังฆาทิเสส เพราะกล่าวทุฏฐุลลวาจา หรืออุบาสิกาผู้มีถ้อยคำควรเชื่อนั้น โจทด้วยข้อใด ให้วินัยธรพึงปรับ อาบัติเธอนั้นด้วยข้อนั้น ถ้าเธอปฏิญญาตนว่ายืน ไม่ได้นั่ง ไม่ได้ นอน อย่าให้วินัยธรพึงปรับอาบัติเธอก่อน วินิจฉัยนอกนั้นเหมือน สิกขาบทก่อน แปลกแต่ในสิกขาบทนี้ แม้หญิง แม้ชาย ผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นคนรู้ความ ไม่บอก ไม่หนวก ยืนหรือนั่งในโอกาสภายใน ๑๒ ศอก แม้มีจิตฟุ้งซ่าน นอนหลับอยู่ ก็คุ้มอาบัติ เพราะโทษนั่งในที่ลับได้ แต่คนหูหนวกแม้ตาดี หรือคนตาบอดแม้ไม่หนวก เหล่านี้ คุ้มอาบัติ ไม่ได้ ก็แลสมุฏฐานวิธีเป็นต้น เหมือนอทินนาทานสิกขาบท.

ทุติย? จบ

            ทั้ง ๒ สิกขาบทนี้ ชื่อว่าอนิยตะ แปลว่า ไม่เที่ยง ด้วยว่าเป็น ปาราชิกบ้าง สังฆาทิเสสบ้าง ปาจิตตีย์บ้าง โดยบัญญัตินั้น ๆ ตาม ปฏิญญาแห่งภิกษุ อนึ่ง ๒ สิกขาบทนี้ ดูเหมือนพระองค์ทรง บัญญัติไว้ให้เป็นตัวอย่างแก่วินัยธร ผู้จะตัดสินความ ผู้โจทก์และ จำเลยในสิกขาบททั้งปวง ให้ตัดสินตามอย่างอนิยตะสิกขาบททั้ง ๒ นี้.

อนิยตวณฺณนา นิฏฺ?ิตา จบอนิยตะ

            จักพรรณนาในถุจลัจจยาบัติ ข้อหนึ่ง ภิกษุอย่าพึงสละครุภัณฆ์ ข้อหนึ่ง อย่างพึงแจกครุภัณฑ์ ที่เป็นของสงฆ์ ถ้าสละหรือแจก ก็ต้อง ถุจลัจจัย ด้วยพุทธบัญญัติห้ามไว้ว่า "ป?ฺจิมานิ ภิกฺขเว อวิสฺสชฺช นิยานิ ฯ เป ฯ อเวภงฺคิยานิ น วิภชิตพฺพานิ ส?เฆน วา คเณน วรา ปุคฺคเลน วา วิภตฺตานิปิ อวิภตฺตานิ โหนฺติ ; โย วิภเชยฺย อาปตฺติ ถุลฺลจฺจยสฺส." ดังนี้ ครุภัณฑ์นั้นมี ๕ หมวดดังนี้ อาราโม สวน ดอกไม้ผลไม้ อารามวตฺถุ ที่ดินพื้นสวน ๒ นี้ หมวดที่ ๑ วิหาโร กุฏีเรือนชั้นเป็นต้น วิหารวตฺถุ ที่ดินพื้นแห่งวิหาร ๒ นี้ เป็นหมวด ที่ ๒ มญฺโจ เตียง ปี?? ตั่ง ภิสี ฟูก พิมฺโพหน? หมอน ๔ นี้ เป็น หมวดที่ ๓ โลหกุมฺภี หม้อทำด้วยโลหะ โลหภาณก? คะนนทำด้วย โลหะ โลหวารโก กะปุก ขวด ทำด้วยโลหะโตจุของกว่า ๕ ทะนาน มคธขึ้นไป โลหกฏาห? กระถาง กะทะ ทำด้วยโลหะ แม้เล็กจุน้ำซอง มือหนึ่ง โลหะนั้น เป็นชื่อแห่งทองเหลือง ทองขาว ทองแดง ทอง สัมฤทธิ์ วาสี มีดใหญ่ ที่ตัดฟันของใหญ่ ที่พ้นจากตัดไม้สีฟันและ ปอกอ้อยขึ้นไปได้ ผรสุ ขวาน เครื่องทำไม้ เหล็กหมาด บิดหล่า เครื่อง เจาะไซ ๙ สิ่งนี้ เป็นหมวดที่ ๔ วลฺลี เถาวัลย์ ยาวแต่กึ่งแขนขึ้นไป เวฬุ ไม้ไผ่ ยาวแต่ ๘ นิ้วขึ้นไป มุญฺช? หญ้ามุงกระต่าย ปพฺพช? หญ้าปล้อง ติณ? หญ้าต่าง ๆ ที่สำหรับมุงบังได้แต่กำมือ ๑ ขึ้นไป มตฺติกา ดินปกติและดินสีต่าง ๆ เป็นเครื่องทา ทารุภณฺฑ? เครื่องใช้ ทำด้วยไม้ต่าง ๆ ยาวแต่ ๘ นิ้วขึ้นไป มตฺติกาภณฺฑ? เครื่องใช้ทำ ด้วยดินต่าง ๆ เหล่านี้ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทายกถวายแก่สงฆ์ก็ดี เกิดในที่ สงฆ์ก็ดี ชื่อว่า เป็นของสงฆ์ เป็นครุภัณฑ์ เป็นอวิสสัชชนิยะ เป็น อเวภังคิยะ อันสงฆ์และคณะและบุคคลจะพึงสละและแจกไม่ได้ ถึง สละและแจกไป ก็ไม่เป็นอันสละและแจก คงเป็นของสงฆ์อยู่อย่าง เดิม ภิกษุใดสละหรือแจกของเหล่านี้ ด้วยถือว่าตัวเป็นใหญ่ ต้อง ถุลลัจจัย ถ้าเสียสละหรือแจกด้วยเถยยจิต ให้วินัยธรพึงปรับอาบัติ ตามราคาของนั้น ครุภัณฑ์เหล่านี้ ด้วยถือว่าตัวเป็นใหญ่ ต้อง เป็นอุปการแก่สงฆ์ เอาสิ่งที่เป็นของถาวรแลกเปลี่ยนสิ่งที่เป็นของ ถาวรด้วยกันก็ดี เอาสิ่งนอกนั้นที่เป็นอกัปปิยะหรือเป็นกัปปิยะ แม้มี ราคามาก แลกเปลี่ยนของนอกนั้นด้วยกัน ด้วยการแลกเปลี่ยนเป็น กัปปิยะก็ดี ก็ควร หรือจะสละครุภัณฑ์เหล่านั้น ที่เป็นของเลวแล้ว แลกเปลี่ยนบิณฑบาต เป็นต้น เอามาบริโภคเพื่อจะรักษาเสนาสนะ เป็นต้น ที่เป็นของดี ในเวลาข้าวแพง เป็นต้น ก็ควร ในครุภัณฑ์ เหล่านี้ ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีไม้ไผ่ เป็นต้น ภิกษุจะถือเอาเพื่อ ประโยชน์ตน พึงทำผาติกรรมการตอบแทนให้เสมอกันหรือยิ่งกว่าจึง ถือเอา หม้อ บาตร ถาลกะ ขันทองห้าว กาน้ำที่ไม่จะน้ำได้ ๕ ทะนานมคธก็ดี ไม้บ้ายยาตา กล้องยานัตถุ์ ไม้ไค้หู เข็มเย็บผ้า เข็มเย็บใบไม้ มีดพับเล็ก เหล็กแหลมเล็ก ๆ กุญแจ ดาล เป็นต้น เครื่องโลหะก็ดี เครื่องไม้ก็ดี ที่ทำค้างอยู่ เหล่านี้เป็นของแจกได้ เถาวัลย์และไม้ไผ่ เป็นต้น เมื่อทำการสงฆ์และการเจดีย์เสร็จแล้ว เหลืออยู่จะน้อมเข้าไปในการบุคคลก็ควร ซึ่งว่ามานี้สังเขป ถ้า ประสงค์จะรู้วิตถาร พึงดูในจุตตถสมันตปาสาทิกานั้นเถิด

            ข้อหนึ่ง อย่างให้เขาทำสัตถกรรมในที่แคบ ข้อหนึ่ง อย่าให้เขา ทำสัตถกรรมหรือวัตถิกรรมในโอกาสที่เพียง ๒ นิ้ว แต่ที่ใกล้แห่ง ที่แคบ คือ ทวารหนัก ถ้าให้เขาทำ ต้องถุลลัจจัย ด้วยทรงห้ามไว้ว่า "น ภิกฺขเว สมฺพาเธ สตฺถกมฺม? ฯ เป ฯ สมฺพาธสฺส สมนฺตา ทุวงฺคุเล สตฺถกมฺม? วา วตฺถิกมฺม? วา การาเปตพฺพ? ; โย การา เปยฺย อาปตฺติ ถุลฺลจฺจยสฺส." ดังนี้ ตัดหรือผ่า หรือแทง หรือขีด ด้วยศัสตรา หรือเข็ม หรือหนาม หรือกะเทาะศิลา หรือเล็บก็ดี อันใด อันหนึ่ง ในโอกาสที่กำหนดแล้วนั้น อย่างนี้ชื่อว่าทำ ด้วยว่าการ ทั้งปวงนั้น ชื่อว่าสัตถกรรมสิ้น แม้บีบหัวไส้ด้วยหนัง หรือผ้าอันใด อันหนึ่ง ก็อย่าพึงทำ ด้วยว่าการทั้งปวงนั้น ก็ชื่อว่าวัตถิกรรม ก็แล คำว่า ในโอกาสที่เพียง ๒ นิ้ว แต่ที่ใกล้แห่งที่แคบนั้น ห้ามแต่ สัตถกรรมอย่างเดียว ไม่ห้ามวัตถิกรรมด้วย วัตถิกรรมห้ามแต่ใน ที่แคบอย่างเดียว ก็แต่ว่า ภิกษุจะหยอดน้ำแสบน้ำด่างในหัวไส้นั้น หรือจะเอาเชือกอันใดอันหนึ่งผูกรัดหัวไส้ ก็ควรอยู่ ถ้าหากว่าหัวไส้ นั้นขาดออก ด้วยน้ำแสบหรือเชือก ชื่อว่าขาดด้วยดี ไม่มีโทษ จะ ทำสัตถกรรม คือผ่าเจาะในอัณฑะที่บวมดังนั้นไม่ควร เพราะเหตุนั้น จะผ่าอัณฑะ ควักเอาพืชออกเสีย ด้วยคิดจะทำให้หายโรค เช่นนี้ อย่าพึงทำ ก็แต่จะรมจะย่างด้วยเพลิงและทายา เหล่านี้ ไม่ห้าม ในทวาร หนักจะเอากรวยใบไม้เอาเกลียวชุด หรือกระบอกไม้ไผ่ ที่ทายาสอดเข้า เอาน้ำด่างน้ำแสบหยอดลงในกรวย หรือเอาน้ำมันสอดในกระบอก ไม้ไผ่นั้น ให้ไหลเข้าไปในทวารหนัก ดังนี้ ควรอยู่ ๔ ถุลลัจจัยนี้ เป็นสจิตตกะ.

            ข้อหนึ่ง ภิกษุอย่าพึงฉันเนื้อมนุษย์ ถ้าฉันเป็นถุลลัจจัย ด้วย ทรงห้ามไว้ว่า "น ภิกฺขเว มนุสฺสม?ส? ปริภุญฺชิตพฺพ?" ดังนี้ ใช่แต่ เนื้ออย่างเดียว แม้กระดูก เลือด หนัง และขน ก็ไม่ควร สิกขาบทนี้ เป็นอจิตตกะ อนึ่ง ถุลลัจจยาบัติมีมาก ไม่ได้ขึ้นปาติโมกข์อุทเทส ว่า โดยอาคตัฏฐานที่มา มี ๓ สถาน คือ มาในขันธกะแห่ง ๑ เรียกชื่อว่า ขันธกถุลลัจจัย มาในวินีตวัตถุถุลลัจจัย มาในวิภังคแห่งปาราชิก และสังฆา ทิเสสแห่ง ๑ เรียกชื่อว่า วิภังคถุลลัจจัย เพราะเหตุนั้น บัญญัติแห่ง ุถุลลัจจยาบัติจึ่งไม่มีกำหนด.

            ขันธกถุลลัจจัยนั้น ดังนี้ ภิกษุอย่าพึงถือนัคคิยะ ติดถิยสมาทาน คือข้อปฏิบัติแห่งเดียรถีย์อย่างหนึ่ง เปลือยกายไม่นุ่งห่ม ถ้าภิกษุใด ปฏิบัติดังนี้ ต้องถุลลัจจัย ภิกษุอย่าทรงไว้ คือว่านุ่งห่มผ้าคากรอง อย่าทรงผ้าที่เขากรองถักด้วยเปลือกไม้ อย่าทรงผ้าที่เขาทำด้วย ผลไม้กรอง อย่าทรงผ้ากัมพลทำด้วยผมคน อย่าทรงผ้ากัมพลทำด้วย ขนทางสัตว์ อย่าทรงผ้าทำด้วยปีกนกเค้า อย่าทรงหนังเสือ อย่าทรง ผ้าทำด้วยปอ ผ้าเหล่านี้ เป็นธงแห่งเดียรถีย์ ภิกษุใดทรงผ้าเหล่านี้ ต้องถุลลัจจัย.

            ข้อหนึ่ง ภิกษุอย่าพึงถูกต้ององคชาตนิมิตแห่งติรัจฉานตัวเมีย ด้วยจิตกำหนัด ถ้าถูกต้องเป็นถุลลัจจัย ข้อหนึ่ง วันอุโบสถหรือวัน ปวารณา ภิกษุเจ้าอาวาสตั้งแต่ ๔ หรือ ๕ ขึ้นไป รู้อยู่ว่า ภิกษุเจ้าอาวาส ด้วยกัน หรือภิกษุเป็นอาคันตุกะอื่น อยู่ในสีมาอันเดียวกันมีอยู่ แต่ ยังไม่มาสู่โรงอุโบสถ โรงปวารณาเข้าหัตถบาส แกล้งจะให้เธอเหล่า นั้นฉิบหายจากอุโบสถจากปวารณา และด่วนทำอุโบสถหรือปวารณา เสียก่อน ต้องถุลลัจจัย ถุลลัจจัยเหล่านี้ ก็ดี ถุลลัจจัย ๕ ข้อก่อน ก็ดี เป็นขันธกถุลลัจจัย.

            วินีตวัตถุถุลลัจจัยนั้น ดังนี้ ภิกษุองค์หนึ่ง ปรารถนาจะให้อสุจิ เคลื่อนเดินทางไป อสุจิไม่เคลื่อน แล้วเกิดความสงสัย กราบทูลถาม พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ทรงตัดสินว่า ต้องถุลลัจจัย เรื่องหนึ่ง ภิกษุ เคล้าคลึงกายหญิงที่ตายแล้ว แล้วเกิดความสงสัย จึ่งกราบทูลถาม พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ทรงตัดสินว่า ต้องถุลลัจจัย ๆ อย่างนี้ ชื่อว่า วินิตวัตถุถุลลัจจัย.

            ก็แลวิภังคถุลลัจจัยนั้นมีหลายอย่าง คือเป็นอนุสาวนถุลลัจจัย บ้าง วิมติถุลลัจจัย บ้าง ยถาสัญญาถุลลัจจัย บ้าง ยถาเขตตถุลลัจจัย บ้าง ยถาวัตถุถุลลัจจัย บ้าง ยถาปโยคถุลลัจจัย บ้าง ยถาวัชชถุลลัจจัย บ้าง อนุสาวนถุลลัจจัยนั้น ดังอาบัติถุลลัจจัย เพราะสงฆ์ทำสมนุภา สนกรรม ๑๑ อย่าง อันใดอันหนึ่ง แก่ภิกษุและภิกษุณี เพื่อจะให้มละ กรรมนั้น ๆ เสีย และเธอไม่มละเสีย จบอนุสาวนะที่ ๑ ที่ ๒ ลง ต้อง ถุลลัจจัย ๆ อย่างนี้ ชื่อว่าอนุสาวนถุลลัจจัย ๆ นี้ เมื่อจบอนุสาวนะที่ ๓ ต้องครุกาบัติแล้ว ถุลลัจจัยนั้นรำงับไปเองไม่ต้องแสดง หญิง ภิกษุ สงสัยอยู่ว่าหญิงหรือมิใช่ และกำหนัดยินดีถูกต้องกายหญิงนั้นด้วย กายตน ต้องถุลลัจจัย ๆ ดังนี้ ชื่อว่าวิมติถุลลัจจัย เพราะต้องด้วยความ สงสัย หญิง ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ กำหนัดยินดี ถูกต้องกาย หญิงนั้นด้วยกายตน ต้องถุลลัจจัย ๆ ดังนี้ ชื่อว่า ยถาสัญญาถุลลัจจัย เพราะเป็นอาบัติตามสัญญาความสำคัญ ภิกษุมีความกำหนัด สรรเสริญ หรือติเตียนอวัยวะหญิง เบื่องบนแต่รากขวัญลงไป เบื้องต่ำแต่เข่า ขึ้นมา ยกทวารหนักทวารเบาเสีย ต้องถุลลัจจัย ๆ ดังนี้ ชื่อว่ายถา เขตตถุลลัจจัย เพราะเป็นอาบัติตามเขต ภิกษุจับต้องกายบัณเฑาะก์ ด้วยกายตน ด้วยความกำหนัด ต้องถุลลัจจัย ๆ ดังนี้ ชื่อว่ายถาวัตถุ ถุลลัจจัย เพราะเป็นอาบัติตามวัตถุ ภิกษุมีเถยยจิตจะพาทาสเขาหนี ชวน ก็ดี ไล่ ก็ดี ให้ทาสนั้นยกเท้าที่แรกก้าวไป ต้องถุลลัจจัย เพราะเป็นอาบัติตามโทษ เพราะอาบัติถุลลัจจัยต่าง ๆ อย่างนี้ จึงไม่มี กำหนด ดังปาราชิกและสังฆาทิเสสเป็นต้น.

ถุลฺลจฺจยวณฺณนา นิฏฺ?ิตา จบถุลลัจจัย

         

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ