บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



บุพพสิกขาวรรณณา

สารบัญ

คำนำ

รตนัตตยบัพพะ

อาปัตตินามาทิบัพพะ

ปฏิปัตติมุขบัพพพะ

กาลิกบัพพะ

พินทวาธิฏฐานาทิบัพพะ

วิชหนาทิบัพพะ

อาปัตติเทสนาทิบัพพะ

มาตรากถา

 

            จักพรรณนาในนิสสัคคิยสิกขาบท ๆ มี ๓๐ สิกขาบท ประดับ ด้วยวรรค ๓ วรรค ๆ ที่ต้น ชื่อว่าจีวรวรรค มีสิกขาบท ๑๐ สิกขาบท ที่ต้น ชื่อปฐมกฐิน ความว่า จีวรภิกษุทำสำเร็จแล้ว กฐินเดาะแล้วฃ คือว่า อานิสงส์กฐินทั้ง ๕ รำงับแล้ว ด้วยปลิโพธ ๒ ขาดแล้ว ให้ภิกษุ พึงเก็บอดิเรกจีวร คือผ้าที่ยังไม่ได้วิกัปอธิษฐานไว้เพียง ๑๐ วัน เป็นอย่างยิ่ง เมื่อภิกษุไว้อติเรกจีวรนั้นให้เกิน ๑๐ วันไป จนถึงอรุณ ที่ ๑๑ ขึ้นมา ผ้านั้นเป็นนิสสัคคีย์ เป็นอาบัติปาจีตตีย์ด้วย โขม? ผ้าทอ ด้วยด้ายเปลือกไม้ กปฺปาสิก? ผ้าทอด้วยด้ายผ้าย โกเสยฺย? ผ้าทอด้วย ไหม กมฺพล? ผ้าทอด้วยขนสัตว์อันเศษ ยกแต่ขนมนุษย์ ขนหางสัตว์ เสีย สาณ? ผ้าทอด้วยเปลือกสาณะ ภงฺค? ผ้าที่เจือด้วยด้าย ๕ อย่าง มีด้ายเปลือกไม้เป็นต้น ผ้า ๖ อย่างนี้ก็ดี และผ้าทุกกุละ และผ้า ปัคคุณณะ และผ้าโสมารปฏะ และผ้าจินปฏะ ผ้าอิทธิชะและผ้าเทวดา ให้ เหล่านี้เป็นอนุโลมตามผ้า ๖ อย่างก่อน ชื่อว่า จีวร ที่ยังไม่ได้ อธิษฐาน และวิกัป ชื่อว่า อติเรกจีวร นับแต่วันได้ผ้านั้นมาเก็บไว้ จนถึงอรุณที่ ๑๑ ขึ้นมา ไม่อธิษฐานวิกัปเสีย สละเสียในระหว่างนั้น เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ผ้าเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์แล้ว ไม่เสียสละแก่ สงฆ์ หรือคณะ หรือบุคคลก่อน เอามาบริโภคคือนุ่งห่ม เป็นทุกกฏ วิธีอธิบายฐานและวิกัป และเสียสละผ้าเป็นนิสสัคคีย์นั้น จักกล่าวข้าง หน้า ผ้าล่วง ๑๐ วันไปแล้ว ภิกษุรู้อยู่ว่าล่วง ๑๐ วันก็ดี สงสัยอยู่ก็ดี สำคัญว่ายังไม่ล่วงก็ดี ก็คงเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ผ้าไม่ได้อธิษฐาน และวิกัป ยังไม่ได้สละให้แก่ผู้อื่น และยังไม่ฉิบหายด้วยเหตุใดเหตุ หนึ่ง ก็ดี สำคัญว่าอธิษฐานแล้วเป็นต้น ล่วง ๑๐ วันไป ก็คงเป็น นิสสัคียปาจิตตีย์ ผ้ายังไม่ล่วง ๑๐ วัน สำคัญว่าล่วงแล้วก็ดี สงสัย อยู่ก็ดี เป็นทุกกฏด้วยบริโภค ภิกษุอธิษฐานเสีย วิกัปเสีย สละให้ ผู้อื่นเสียในภายใน ๑๐ วันก็ดี ผ้าหายเสีย ฉิบหายเสีย ไฟไหม้เสีย โจร ชิงเอาไปเสีย เพื่อนถือเอาเสียด้วยวิสาสะ ในภายใน ๑๐ วันก็ดี ภิกษุ บ้าเป็นต้น ก็ดี เหล่านี้ไม่เป็นอาบัติ สิกขาบทนี้ เป็นอนาณัตติกะ มีองค์ ๕ ผ้าประกอบด้วยชาติและประมาณเป็นของ ๆ ตน ๑ ผ้านั้น ถึงซึ่งกาลนับวันได้ คือว่าถึงมือตนแล้วเป็นต้น ๑ ปลิโพธทั้ง ๒ ขาดแล้ว ๑ ผ้านั้นเป็นอติเรกจีวร ๑ ล่วง ๑๐ วันไป ๑ พร้อมด้วย องค์ ๕ จึ่งเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ เป็นปฐมกฐินสมุฏฐาน คืออาบัติ เกิดแต่กายวาจา ๑ แต่กายวาจาจิต ๑ เป็นอกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓.

ป?ม? จบ

            ในสิกขาบทที่ ๒ ชื่อทุติยกฐิน บางทีท่านเรียกว่าอุทโทสิตะ สิกขาบทบ้าง ความว่า จีวรแห่งภิกษุสำเร็จแล้ว กฐินเดาะแล้ว ถ้า ภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวรทั้ง ๓ ผืน หรือผืนใดผืนหนึ่ง แม้แต่ราตรี ๑ ผ้านั้นเป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุไข้ได้อวิปปวาส สมมติ ผ้าสังฆาฏิ ผ้าอุตตราสงค์ ผ้าอันตรวาสก ๓ ผืนนี้ ภิกษุ อธิษฐานตามชื่อแล้ว ก็เรียกว่าไตรจีวร ต้องรักษา ถ้าไม่รักษาทิ้ง ไว้ให้อรุณขึ้นมา ชื่อว่าอยู่ปราศจากผ้านั้น ก็แลที่ที่จะรักษาจีวรนั้น มี ๑๕ คือ บ้าน เรือน คลัง หอรบ โรงกลม ปราสาท ปราสาทโน้น เรือ หมู่เกวียน ไร่ ลานข้าว สวน วิหาร โคนไม้ ที่แจ้ง ที่เหล่านี้ ถ้าเจ้าของคนเดียวล้อมด้วยรั้วหรือกำแพง ภิกษุไว้จีวรในที่เหล่านี้ ก็ ให้อยู่ในที่ล้อมนั้น ถ้าว่าที่เหล่านั้น ไม่ได้ล้อม เก็บผ้าไว้ในที่ใดก็ให้ อยู่ในที่นั้น อย่ามละหัตถบาสที่นั้น ถ้าที่เหล่านั้นเจ้าของต่าง ๆ กัน เป็นที่ล้อม เก็บผ้าไว้ในที่ใด ให้อยู่ในที่นั้น หรืออยู่ในที่เป็นที่ประชุม และริมประตูเป็นที่เข้าออก อย่ามละหัตถบาสที่นั้น ถ้าที่เหล่านั้นเขา ไม่ได้ล้อม เก็บผ้าไว้แห่งใด ให้อยู่ที่แห่งนั้น อย่ามละหัตถบาสที่แห่ง นั้น ถ้าภิกษุไม่อยู่ในที่ดังกล่าวมา ผ้าผืนที่อยู่ปราศนั้น เป็นนิสสัคคีย์ พร้อมกับด้วยอรุณใหม่ขึ้นมา ต้องเสียสละผ้านั้น แก่สงฆ์ หรือคณะ หรือบุคคล จึ่งจะนุ่งห่มได้ วิธีเสียสละเป็นต้น จักกล่าว ณ เบื้องหน้า เพราะเหตุนั้น ต่อไป ณ เบื้องหน้า ให้พึงรู้เถิดว่า ของเป็นนิสสัคคีย์ แล้วต้องเสียสละก่อน จึงแสดงอาบัติตก ต่อไปจักไม่กล่าวอีก ผ้าไตร จีวรภิกษุอยู่ปราศแล้ว รู้อยู่ว่าอยู่ปราศแล้วก็ดี สงสัยอยู่ก็ดี สำคัญว่า ไม่ได้อยู่ปราศก็ดี ก็คงเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ไตรจีวรภิกษุยังไม่ได้ ปัจจุทธรณ์ ยังไม่ได้เสียสละ ยังไม่หายเป็นต้น ภิกษุสำคัญว่า ปัจจุท ธรณ์แล้วเป็นต้นก็ดี สงสัยอยู่ก็ดี รู้อยู่ว่ายังไม่ได้ปัจจุทธรณ์เป็นต้นก็ดี และอยู่ปราศจากผ้านั้น ก็คงเป็นนิสสัคคีย์ ผ้าไตรจีวรภิกษุไม่ได้อยู่ ปราศ สำคัญว่าอยู่ปราศก็ดี สงสัยอยู่ก็ดี เอาบริโภคต้องทุกกฏ ปัจจุท ธรณ์เสียก็ดี เสียสละเสีย เป็นต้นก็ดี ในภายในอรุณ และภิกษุเป็นไข้ สงฆ์สมมติให้อยู่ปราศไตรจีวรก็ดี ภิกษุบ้าเป็นต้นก็ดี ไม่เป็นอาบัติ เป็นอนาณัตติกะ มีองค์ ๔ คือผ้าภิกษุอธิษฐานเป็นไตรจีวรแล้ว ๑ ไม่มีอานิสงส์กฐิน ๑ ไม่ได้อวิปปวาสสมมติ ๑ อยู่ปราศจากผ้านั้น ราตรีหนึ่งจนอรุณใหม่ขึ้นมา ๑ พร้อมด้วยองค์ ๔ นี้ จึ่งเป็นนิสสัค คิยปาจิตตีย์ สมุฏฐานวิธีเป็นต้น เหมือนปฐมกฐินสิกขาบทก่อน แปลกแต่สิกขาบทก่อนไม่ได้อธิษฐาน ไม่ได้วิกัป ชื่อว่าเป็นอกิริยา ก็แลในสิกขาบทนี้ ไม่ปัจจุทธรณ์เสียในภายในอรุณ ชื่อว่าเป็นอกิริยา.

ทุติย? จบ

            ในสิกขาบทที่ ๓ ชื่อตติยกฐิน ความว่าจีวรแห่งภิกษุสำเร็จแล้ว กฐินเดาะแล้ว ผ้าอกาลจีวร คือผ้าที่เกิดนอกจีวรกาล และผ้าที่ทายก เฉพาะให้เป็นอกาลจีวร ถวายในจีวรกาลก็ดี ผ้าเช่นนี้ ถ้าเกิดขึ้นแก่ ภิกษุ ให้ภิกษุผู้จำนงพึงรับแล้ว และรีบทำเสียแต่ใน ๑๐ วัน ถ้า ผ้านั้นไม่พอจะเป็นสังฆาฏิ หรืออุตตราสงค์ หรืออันตรวาสก ผืนใด ผืนหนึ่งไซร้ ถ้าความหมายจะได้แต่ญาติและมิตรเป็นต้นมีอยู่ ก็ให้ ภิกษุพึงเก็บผ้าเดิมนั้นไว้เป็นอติเรกจีวรเพียงเดือน ๑ เพื่อจะผสมกับ ผ้าที่หมายได้นั้น ถ้าเก็บไว้ให้เกินเดือน ๑ ไม่อธิษฐานวิกัปเสีย แม้ ถึงความหมายจะได้ผ้าอื่นมีอยู่ ผ้าเดิมคงเป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์.

ตติย? จบ

            ในสิกขาบทที่ ๔ ชื่อปุราณจีวร ความว่า ภิกษุใดใช้นางภิกษุณี ที่ได้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ ๒ ฝ่าย คือ ภิกษุณีสงฆ์ ภิกษุสงฆ์ และ นางภิกษุณีนั้นไม่เป็นญาติ ให้ซัก หรือให้ย้อม หรือให้ทุบ ฟอก ซึ่งผ้า เก่า คือผ้าที่นุ่งห่มแล้วแม้ครั้งหนึ่ง ผ้านั้นเป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์.

จตุตฺถ? จบ

            ในสิกขาบทที่ ๕ ชื่อจีวรปฏิคคหณะ ความว่า ภิกษุใดรับผ้า แม้กว้างยาวควรวิกัป แต่มือนางภิกษุณีผู้อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ใช่ญาติ ผ้านั้นเป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยนกัน แม้ด้วยของเล็กน้อย ไม่เป็นอาบัติ.

ป?ฺจม? จบ

            ในสิกขาบทที่ ๖ ชื่ออัญญาตกวิญญัตติ ความว่า ภิกษุใด ขอเอง หรือใช้ผู้อื่นให้ขอ ซึ่งผ้าแม้ควรวิกัปเป็นปัจฉิมประมาณ กะคฤหัสถ์ ผู้ใช่ญาติ ในประโยคที่ของอยู่ เป็นทุกกฏ ได้มา เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่สมัย คือคราวภิกษุมีผ้าเขาชิงเอาเสียหมด หรือมีผ้าอันหาย เสียหมด ขอได้ ไม่เป็นอาบัติ ผู้ที่ติดแฝดกันฝ่ายข้างมารดาหรือบิดา ขึ้นไป จนถึงปู่ทวด ตาทวด ซึ่งเป็นบุรพบุรุษ ชื่อว่าญาติ ในคนใช่ญาติ เป็นติกกปาจิตตีย์ คือเขาใช่ญาติ รู้ว่าใช่ญาติก็ดี สงสัยอยู่ก็ดี สำคัญ ว่าเป็นญาติก็ดี ให้พึงรู้โดยนัยดังกล่าวแล้วเถิด จะไม่กล่าวพิสดารอีก จะกล่าวแต่คำว่าติกกปาจิตตีย์เท่านั้น เขาเป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าใช่ ญาติก็ดี ภิกษุสงสัยอยู่ก็ดี และขอผ้าดังว่านั้น เป็นทุกกฏ ขอในสมัยก็ดี ขอแต่ญาติหรือคนปวารณาก็ดี ขอเพื่อผู้อื่นก็ดี แลกเปลี่ยนด้วย ทรัพย์ของตนที่เป็นกัปปิยะก็ดี ภิกษุบ้าเป็นต้นก็ดี เหล่านี้ไม่เป็น อาบัติ ผ้าของภิกษุอันพระราชา หรือนักเลง หรือโจรผู้ใดผู้หนึ่งแย่ง ชิงเอาไปเสีย ชื่อว่าเป็นคนมีผ้าเขาชิงเอาไปเสีย ผ้าของภิกษุไฟ ไหม้เสียก็ดี ลอยน้ำไปก็ดี หนูหรือปลวกกัดเสียก็ดี เก่าขาดเสียด้วย นุ่งห่มก็ดี เช่นนี้ชื่อว่าเป็นคนมีผ้าหาย ชื่อว่าเป็นสมัย พระองค์ทรง อนุญาตให้ขอผ้ากะคฤหัสถ์ในอาวาสนั้นมานุ่งห่ม ด้วยคิดจะกลับคืนให้ ก็ควร ถ้าไม่ได้ผ้าเช่นนั้น ก็พึงปิดบังกายด้วยหญ้าหรือใบไม้แล้ว จึงมา อย่าเปลือยกายมา ถ้าเปลือยกายมาเป็นทุกกฏ คฤหัสถ์ผู้มีศรัทธา กล่าวว่า ข้าพเจ้าปวารณาด้วยปัจจัยทั้ง ๔ มีจีวรเป็นต้น ผู้เป็นเจ้า ต้อง การสิ่งใด ให้บอกให้ขอ ข้าพเจ้าจักถวายสิ่งนั้น เช่นนี้ ชื่อว่าคน ปวารณา เขาปวารณาเป็นสงฆ์ ผู้ประมาณจึงควร เขาปวารณาเป็น บุคคลเฉพาะตัว ด้วยปัจจัยสิ่งใด ให้ขอแต่ปัจจัยสิ่งนั้น ทายกเขา ปวารณาด้วยปัจจัยทั้ง ๔ แล้ว เขากำหนดเองแล้ว ถวายผ้าตามกาล ถวายข้าวต้ม ข้าวสวย เป็นต้นทุกวัน ๆ ต้องการด้วยปัจจัยสิ่งใด เขา ถวายปัจจัยสิ่งนั้น เช่นนี้ กิจที่จะขอนั้นไม่มี ก็แลทายกผู้ใดปวารณา แล้วและไม่ให้ เพราะเป็นคนเขลาหรือลืมไป ทายกเช่นนี้ให้พึงขอ ก็แลชื่อว่าขอเพื่อคนอื่นนั้น คือขอแต่ญาติและคนปวารณาของตน เพื่อภิกษุอื่นก็ดี หรือเขาเป็นญาติ เป็นคนปวารณาแห่งภิกษุใด ขอ เพื่อภิกษุนั้นก็ดี ไม่เป็นอาบัติ เป็นอนาณัตติกะ เพราะวานให้ภิกษุ ขอแต่ญาติ และคนปวารณาของเธอให้แก่ตน ไม่เป็นอาบัติ มีองค์ ๔ คือผ้ากว้างยาวควรวิกัปได้ ๑ ไม่มีสมัย ๑ ขอกะคนใช่ญาติ ๑ ได้มา ๑ พร้อมด้วยองค์ ๔ นี้ จึงเป็นนิสสัคคีย์ เป็นสัญจริตตสมุฏฐาน เป็น กิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓

ฉฏฺ?? จบ

            ในสิกขาบทที่ ๗ ชื่อตทุตตริ ความว่า ภิกษุมีผ้าอันเขาชิงเอาเสีย หรือผ้าหาย ดังกล่าวแล้วในสิกขาบทก่อน ถ้าคฤหัสถ์ผู้ใช่ญาติ นำผ้า มามากปวารณาให้ภิกษุ ๆ นั้น ถ้าผ้าหายทั้ง ๓ ผืน พึงยินดีแต่ ๒ ผืน คือผ้านุ่งผ้าห่ม ถ้าหาย ๒ ผืน พึงยินดีแต่ผืนเดียว ถ้าหายผืนเดียว อย่ายินดีเลย ถ้าภิกษุยินดีให้เกินกำหนดไปไซร้ ในประโยคที่ขออยู่ เป็นทุกกฏ ได้ผ้ามาเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ในคนผู้ใช่ญาติ เป็นติกก ปาจิตตีย์ ผู้เป็นญาติภิกษุสำคัญว่าใช่ญาติก็ดี สงสัยอยู่ก็ดี ขอแล้ว ยินดีให้เกินกำหนด เป็นทุกกฎ ภิกษุกล่าวว่าเราจักทำจีวรแต่ ๒ ผืน เหลือนั้น จักเอามาคืนให้แล้วเอาไปมาก่อนก็ดี และเจาของกล่าว เหลือนั้น จงเป็นของท่านก็ดี ถือเอาผ้าที่ทายกเขาไม่ได้ให้เพราะเป็น คนมีผ้าอันเขาชิง หรือผ้าหายก็ดี ขอแต่ญาติแต่คนปวารณาก็ดี แลกเปลี่ยนเอาด้วยทรัพย์ของตน ที่เป็นกัปปิยะก็ดี ภิกษุบ้าเป็นต้นก็ดี เหล่านี้ ไม่เป็นอาบัติ เป็นอนาณัตติกะ มีองค์ ๔ คือ ยินดีให้เกิน กำหนด ๑ ไม่มีเหตุ เป็นต้นว่าผ้าเขาชิงเอาไปเสียหมด ๑ ขอกะคน ผู้ใช่ญาติ ๑ ได้มาเป็นของตน ๑ พร้อมด้วยองค์ ๔ นี้ จึ่งเป็น นิสสัคคีย์ สมุฏฐานวิธีเป็นต้น เหมือนสิกขาบทก่อน.

สตฺตม? จบ

            ในสิกขาบทที่ ๘ ชื่อปฐมอุปักขฏะ ความว่า คฤหัสถ์ผู้ใช่ญาติ เขาเฉพาะภิกษุ กำหนดตั้งมูลค่าจีวร มีเงินและทองเป็นต้นลงไว้ว่า เราจักเอามูลค่าจีวรเท่านี้ ซื้อผ้าถวายแก่ภิกษุชื่อนี้ ภิกษุนั้น ทายก เขาไม่ได้ปวารณาก่อน รู้ข่าวเอง หมายจะใคร่ได้ผ้าที่ดี และเข้าไป ว่ากะทายกว่า ดีแล้ว ท่านจงเอามูลค่าจีวรนั้น ซื้อผ้าให้ยาว ให้กว้าง ให้แน่น ให้ละเอียด ให้เราเถิด ดังนี้แล้ว ทกยกเพิ่มมูลค่า ซื้อผ้าที่ดี ตามคำภิกษุ ผ้าที่ได้มานั้น เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์.

อฏฺ?ม? จบ

            ในสิกขาบทที่ ๙ ชื่อทุติยอุปักขฏะ อธิบายความเหมือนปฐม- อุปักขฏสิกขาบทก่อน แปลกแต่ในสิกขาบทก่อนนั้นเจ้าของคนเดียว ภิกษุทำการเบียดเบียนแก่คน ๆ เดียว ในสิกขาบทนี้เจ้าของมาก ภิกษุ ไปว่าให้เข้าทุนกัน ชื่อว่าทำการเบียดเบียนแก่คนมาก.

นวม? จบ

            ในราชะสิกขาบทที่ ๑๐ ความว่า พระเจ้าแผ่นดิน หรือขุนนาง หรือพราหมณ์ หรือคฤหบดี เขาเฉพาะภิกษุ แล้วใช้ทูตให้เอามูลค่า จีวรไปซื้อผ้าถวายแก่ภิกษุ ถ้าทูตนั้นไม่ซื้อผ้า เอามูลค่าจีวรนั้น ไปถวายแก่ภิกษุว่า มูลค่าจีวรนี้ เฉพาะผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้านำมา ขอผู้ เป็นเจ้าจงรับมูลค่าจีวรนี้ ดังนี้ ภิกษุนั้น พึงว่ากะทูตผู้นั้นวา เรารับ มูลค่าจีวรไม่ได้ เรารับได้แต่จีวรที่เป็นเจ้ามีหรือไม่ ดังนี้ไซร้ ภิกษุผู้มีความต้องการด้วยจีวรอยู่ ก็พึงแสดงคนรักษาวัดหรืออุบาสก เป็นไวยาวัจกร ด้วยคำว่า ผู้นั้นเป็นไวยาวัจกรแห่งภิกษุทั้งหลาย อย่าว่า ๆ ท่านจงให้แก่คนนั้น ผู้นั้นเขาจักเก็บไว้ ผู้นั้นเขาจักแลก ผู้นั้นเขาจักซื้อจีวร ว่าดังนี้ ไม่ควร ถ้าทูตนั้น เขามอบมูลค่าจีวร กะไวยาวัจกรที่ภิกษุแสดงนั้น ผู้นั้นเป็นไวยาวัจกรแห่งภิกษุทั้งหลาย อย่าว่า ๆ ท่านจงให้แก่คนนั้น ผู้นั้นเขาจักเก็บไว้ ผู้นั้นเขาจักแลก ผู้นั้นเขาใช้ผู้อื่นให้มาแจ้งความว่า ผู้เป็นเจ้าแสดงไวยาวัจกรคนใด ไวยาวัจกรคนนั้น ข้าพเจ้าสั่งไว้ให้รู้เสร็จแล้ว ผู้เป็นเจ้าจงเข้าไป เถิด เขาจักถวายจีวรแก่ผู้เป็นเจ้าในกาลอันควร ดังนี้ไซร้ ภิกษุผู้มี ความต้องการด้วยจีวน พึงเข้าไปหาไวยาวัจกร พึงทวง ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง ด้วยคำว่า เราต้องการด้วยผ้า แต่อย่ากล่าวว่า ท่านจงให้ ผ้าแก่เรา เอาผ้ามาให้เรา แลกผ้ามาให้เรา ซื้อผ้ามาให้เรา กล่าว ดังนี้ไม่ควร ถ้าภิกษุโจททวง ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง ได้ผ้าสำเร็จมาก็เป็น การดี ถ้าไม่ได้ผ้าสำเร็จมาไซร้ เธอนั้นพึงเข้าไปเฉพาะต่อจีวร ยิน นิ่งอยู่เพียง ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง ๖ ครั้ง เป็นอย่างยิ่ง อย่านั่งในอาสนะ อย่ารับอามิส อย่าแสดงธรรมแก่เขา ถ้าเขาถามว่า ผู้เป็นเจ้ามาด้วย เหตุอะไร พึงกล่าวว่า ท่านจงรู้เถิด ถ้าเธอนั่งในอาสนะ หรือรับ อามิส หรือแสดงธรรมไซร้ ชื่อว่าหักการยืน ทำเหตุที่มาให้ฉิบหาย เสีย ถ้าเธอเฉพาะยืนนิ่งอยู่เพียง ๖ หนเป็นอย่างยิ่ง ได้จีวรสำเร็จ มาก็เป็นการดี ถ้าไม่สำเร็จมาไซร้ ต่อไปเธอพยายามยืนให้ยิ่งกว่า ๖ หน ในประโยคที่พยายามอยู่เป็นทุกกฎ ได้จีวรสำเร็จมา ผ้านั้น เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์ ถ้าไม่ได้ผ้าสำเร็จมาด้วยการยืนเพียง ๖ หน เป็นอย่างยิ่งแล้วไซร้ มูลค่าจีวรเขานำมาแต่ผู้ใด ภิกษุพึงไป หาผู้นั้นเอง หรือพึงส่งทูตไปให้บอก ท่านเฉพาะภิกษุใด ส่งมูลค่า จีวรมา ของนั้นไม่สำเร็จประโยชน์สักน้อยหนึ่งแก่ภิกษุนั้น ท่านจง ทวงเอาของ ๆ ท่านเสียเถิด อย่าให้ของ ๆ ท่านฉิบหายเสียเลย อันนี้ เป็นความชอบยิ่งในกรรมอันนั้น ถ้าภิกษุไม่ไปเองหรือไม่ส่งทูตไป บอกเจ้าของเดิม ต้องวัตตเภททุกกฏ ก็แลกัปปิยการกที่ภิกษุแสดงดังนี้ พระองค์ทรงอนุญาตให้ทวงได้ ๓ หน ยืนได้ ๖ หน โดยกำหนด อย่างอุกฤษฏ์ เพราะเหตุนั้น เป็นอนุญาตยืน ๒ ครั้ง แทนทวง ครั้ง ๑ ด้วยเหตุนี้ ถ้าภิกษุทวงอย่างเดียวไม่ยืน ทวงได้ ๖ หน ถ้ายืนอย่างเดียวไม่ทวง ยืนได้ ๑๒ หน ถ้าทำทั้ง ๒ อย่าง ทวง ที ๑ ลดยืน ๒ หน ภิกษุใดในวันเดียวไปบ่อย ๆ ทวงครบ ๖ หน หรือไปคราวเดียวทวงครบ ๖ ครั้ง ก็ดี อนึ่ง ในวันเดียวไปบ่อย ๆ ยืนครบ ๑๒ หน หรือไปคราวเดียวยืนในที่นั้น ๆ ๑๒ แห่ง ภิกษุ นั้นชื่อว่า หักทวงหักยืนเสียหมด ที่ไปทวงไปยืนในวันต่าง ๆ ไม่ต้อง ว่า กัปปิยการที่ทายกแสดงเอง ภิกษุไม่ได้แสดงนั้น ภิกษุจะทวง สักร้อยครั้งก็ควร กัปปิยการกใด ที่ภิกษุและทายกไม่ได้แสดงเลย คือ กัปปิยการกรับอาสาเอาเอง ต่อหน้าภิกษุก็ดี ต่อหน้าทายกก็ดี และ กัปปิยการกที่รับมูลค่าไว้ลับหลังก็ดี ทั้ง ๒ จำพวกนี้ ภิกษุจะทวงไม่ได้ เลย ในทวงและยืนเกินกำหนด เป็นติกกปาจิตตีย์ ทวงและยืนยังไม่ ครบกำหนด สำคัญว่าเกินก็ดี สงสัยอยู่ก็ดี และพยายามได้ผ้ามา เป็น ทุกกฏ ภิกษุทวงตามกำหนดและยืนตามกำหนดก็ดี ไม่ได้ทวงกัป ปิยการกนั้น ซื้อมาถวายเองก็ดี เจ้าของเดิมทวงมาถวายเองก็ดี ภิกษุ บ้าเป็นต้นก็ดี เหล่านี้ ไม่เป็นอาบัติ เป็นอนาณัตติกะ มีองค์ ๔ คือ กัปปิยการกภิกษุแสดงเอง ๑ ทูตบอกกัปปิยการกให้รู้แล้ว บอกภิกษุ ให้รู้ด้วย ๑ พยายาม คือ ทวงและยืนให้เกินกำหนด ๑ ได้มาด้วย พยายามนั้น ๑ พร้อมด้วยองค์ ๔ นี้ จึ่งเป็นนิสสัคคีย์ สมุฏฐานวิธี เป็นต้น เหมือนด้วยอัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท.

ทสม? จบ ป?โม วคฺโค จบวรรคที่ ๑

         

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ