บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



บุพพสิกขาวรรณณา

สารบัญ

คำนำ

รตนัตตยบัพพะ

อาปัตตินามาทิบัพพะ

ปฏิปัตติมุขบัพพพะ

กาลิกบัพพะ

พินทวาธิฏฐานาทิบัพพะ

วิชหนาทิบัพพะ

อาปัตติเทสนาทิบัพพะ

มาตรากถา

 

            ในโกสิยวรรคที่ ๒ ประดับด้วยสิกจาบท ๑๐ โกสิยะสิกขาบท ที่ ๑ ความว่า ภิกษุใด หล่อเองหรือให้เขาหล่อ ซึ่งสันถัตเจือด้วย ไหม แม้สักเส้น ๑ ปลิวมาตามลมตกลงในเวลาหล่อ สันถัตนั้นเป็น นิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์ สันถัตนั้น คือ เครื่องลาดอย่างหนึ่ง ที่เขา เอาขนเจียม หรือเส้นไหมลาดซ้อนกันขึ้นในพื้นที่เสมอแล้ว เอา น้ำข้าวเป็นต้นเทลงกระทำ ชื่อว่าหล่อ ไม่ได้ทอ เรียกว่าสันถัต.

ป?ม? จบ

            ในสุทธกาฬกะสิกขาบทที่ ๒ ความว่า ภิกษุใดหล่อเองหรือให้ เขาหล่อซึ่งสันถัต ด้วยขนเจียมที่ลำล้วน ไม่มีสีอื่นเจือด้วย สันถัต นั้นเป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์.

ทุติย? จบ

            ในเทวภาคะสิกขาบทที่ ๓ ความว่า ภิกษุจะหล่อเองหรือให้เขา หล่อซึ่งสันถัตใหม่ พึงถือเอาขนเจียมดำล้วน ๒ ชั่ว ขนเจียมขาว ชั่ง ๑ เป็นที่ ๓ ขนเจียมเหลืองชั่ง ๑ เป็นที่ ๔ ผสมกันหล่อเข้า ถ้าภิกษุไม่ชั่ง เอาขนเจียมเป็น ๔ ส่วน ดังนี้ และให้เขาหล่อสันถัต ขึ้นใหม่ สันถัตนั้น เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์ ก็แลสันถัตที่เป็น นิสสัคคีย์ทั้ง ๓ อย่างนี้ แม้ภิกษุเสียสละแล้ว ได้กลับคืนมา จะปริโภค ก็ไม่ควร.

ตติย? จบ

            ในฉัพพัสสะสิกขาบทที่ ๔ ความว่า ภิกษุหล่อเองหรือให้เขา หล่อซึ่งสันถัตใหม่ขึ้นแล้ว พึงทรงไว้ คือบริโภคให้ได้ ๖ ปีก่อน ถ้า ยังไม่ครบ ๖ ปี ภิกษุสละเสียก็ดี ไม่สละเสียก็ดี ซึ่งสันถัตนั้น และ หล่อเอง หรือให้เขาหล่อก็ดี ซึ่งสันถัตใหม่อื่นขึ้นอีก ในภายใน ๖ ปี สันถัตใหม่นั้น เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุเป็นไข้ ได้สันถัตสมมติ ไม่เป็นอาบัติ.

จตุตฺถ? จบ

            ในนิสีทนสันถตะสิกขาบทที่ ๕ ความว่า ภิกษุหล่อเอง หรือให้ เขาหล่อซึ่งสันถัต สำหรับรองนั่งที่มีชาย พึงตัดเอาสันถัตเก่าให้กลม หรือเป็น ๔ เหลี่ยมด้วยคืบพระสุคตหนึ่ง มาผสมเข้าด้วยในประเทศ อันหนึ่งแห่งสันถัตใหม่ หรือสางออกผสมเข้า เพื่อจะทำสันถัตใหม่ ให้เสียสี ถ้าภิกษุไม่ทำเช่นนั้นและหล่อเอง หรือให้เขาหล่อซึ่งสันถัต สำหรับรองนั่งใหม่ขึ้น สันถัตนั้น เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์.

ป?ฺจม? จบ

            ในเอฬกโลมะสิกขาบทที่ ๖ ความว่า ภิกษุเดินทางไป ขนเจียม เกิดขึ้นแต่สงฆ์หรือคณะเป็นต้น เมื่อจำนงอยู่ก็พึงรับขนเจียมนั้น รับแล้ว เมื่อคนผู้ช่วยนำไปไม่มี พึงนำไปด้วยมือตนเองไกลเพียง ๓ ประโยชน์ เป็นอย่างยิ่ง ถ้าเธอนำไปไกลยิ่งกว่า ๓ โยชน์ไซร้ แม้คน ผู้ช่วยนำไปไม่มี ขนเจียมนั้น ก็คงเป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์.

ฉฏฺ?? จบ

            ในเอฬกโลมโธวาปนะสิกขาบทที่ ๗ ความว่า ภิกษุใดใช้นาง ภิกษุณีที่อุปสมบทแล้วในสงฆ์ ๒ ฝ่ายผู้ใช่ญาติ ใช้ซัก หรือให้ย้อม หรือให้สาง ซึ่งขนเจียม ขนเจียมนั้น เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์.

สตฺตม? จบ

            ในรูปิยะสิกขาบทที่ ๘ ความว่า ภิกษุใดรับเอง หรือให้เขารับ ซึ่งรูปิยะ คือเงินและทองที่เขาให้ หรือตกอยู่แห่งใดแห่งหนึ่ง ไม่มี เจ้าของหวงก็ดี ถือเอาเพื่อประโยชน์ตนเอง หรือยินดีรูปิยะที่ เขาเก็บไว้ให้ก็ดี รูปิยะนั้น เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์ ทองรูป พรรณก็ดี ทองแท่งก็ดี เงินก้อนก็ดี เงินรูปพรรณก็ดี กหาปณะก็ดี มาสกทองแดง มาสทองเหลือง มาสกทำด้วยไม้ มาสกทำด้วยครั่ง ก็ดี และวัตถุอันใด ใช้ซื้อหา แลกเปลี่ยน ได้แทนเงิน ในประเทศใด ในกาลใด ดังเหรียญทองแดง ใช้แทนเงินในสยามประเทศนี้ ก็ชื่อว่า เงินในประเทศนั้น ในกาลนั้น ทองและเงินเหล่านี้เรียกว่ารูปิยะ เป็น นิสสัคคิยวัตถุ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ที่เขาขัดแล้ว ศิลาที่เป็นเครื่องประดับ แก้วประพาฬ แก้วทับทิม โมรา ข้าวเปลือก ๗ ประการ ทาสชาย ทาสหญิง ไร่นา ที่ดิน สวนดอกไม้ ผลไม้เป็นต้น เหล่านี้เป็นทุกกฏวัตถุ ภิกษุถือเอาเพื่อตนเป็นทุกกฏ ด้าย ป่าน ผ้า ฝ้าย อปรัณณชาติ คือถั่วงาต่าง ๆ เภสัช มีเนยใส เนยก้อน เป็นต้น เหล่านี้ เป็นกัปปิยวัตถุ ภิกษุถือเอาไม่เป็นอาบัติ ในนิสสัคคิยวัตถุ ภิกษุรับเอง หรือให้ผู้อื่นรับเพื่อตน หรือเขาเก็บไว้ให้ต่อหน้าว่า ของ นี้เป็นของผู้เป็นเจ้า หรือของนั้นอยู่ที่ลับหลัง เป็นแต่เจ้าของสละให้ ด้วยกายและวาจา หรือด้วยกายวิการให้รู้ว่า เงินทองของข้าพเจ้ามีอยู่ ณ ที่โน้น เงินทองนี้ จงเป็นของท่านเถิด ดังนี้ ภิกษุไม่ห้ามเสียด้วย วาจา ก็ชื่อว่ายินดีรูปิยะที่เขาเก็บไว้ให้ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ นับตาม วัตถุนั้น รูปิยะเป็นนิสสัคคีย์เช่นนี้แล้ว พึงเสียสละในท่ามกลางสงฆ์ อย่างเดียว ด้วยคำว่า "อห? ภนฺเต รูปิย? ปฏิคฺคเหสึ ; อิท? เม ภนฺเต นิสฺสคฺคิย?, อิมาห? สงฺฆสฺส นิสฺสชฺชามิ" ดังนี้ ถ้ามีคฤหัสถ์ผู้หนึ่ง มาในที่เสียสละนั้น ให้สงฆ์พึงว่ากะเขาว่า ท่านจงรู้ของนี้ ถ้าเขา ถามว่า ด้วยของนี้จะให้เอาอะไรมา ภิกษุอย่าพึงบังคับว่า ให้เอาสิ่งนี้ ๆ มา พึงบอกแต่ของที่ควรว่า เนยใสน้ำมันเป็นต้น เป็นของควรแก่ภิกษุ ถ้าหากว่าคฤหัสถ์นั้น เขาหาของที่ควรมาด้วยรูปิยะนั้น ภิกษุทั้งปวง พึงแจกกันบริโภค เว้นแต่ภิกษุผู้รับรูปิยะผู้เดียว ไม่ควรบริโภค วัตถุสิ่งใดที่เกิดแต่รูปิยะนั้น แม้ผู้อื่นได้มาถวายก็ดี โดยที่สุดแม้แต่ เงาต้นไม้ที่บังเกิดแต่รูปิยะนั้นก็ดี ภิกษุผู้รับรูปิยะนั้น ไม่ควรบริโภค เลย ก็ถ้าคฤหัสถ์ผู้นั้น เขาไม่อยากจะเอารูปิยะไปซื้อสิ่งของมาเล่า ไซร้ ให้สงฆ์พึงวานเขาว่า ท่านจงทิ้งของสิ่งนี้เสีย ถ้าเขาทิ้งเสีย ณ ที่ ใดที่หนึ่ง หรือเขาถือเอาไปเสียก็ดี อย่าพึงห้ามเขาเลย ถ้าคฤหัสถ์ นั้นเขาไม่ทิ้งไซร้ สงฆ์พึงสมมติภิกษุที่พร้อมด้วยองค์ ๕ ให้เป็นผู้ทิ้ง รูปิยะ ภิกษุผู้ได้สมมตินั้น อย่าทำนิมิตหมายที่ตก พึงเกลียดดั่งคูถแล้ว ขว้างรูปิยะนั้นไป ถ้าเธอนั้นทำนิมิตหมายที่ตกไซร้ ต้องทุกกฏ ใน รูปิยะ เป็นติกกปาจิตตีย์ ใช่รูปิยะสำคัญว่ารูปิยะ หรือสงสัยและรับ หรือรับนิสสัคคิยวัตถุ เพื่อผู้อื่น มีสงฆ์แบะเจดีย์เป็นต้น หรือรับทุกกฏ วัตถุ เพื่อตนและเพื่อคนอื่นก็ดี เหล่านี้เป็นทุกกฏ เขาถวายรูปิยะ หรือ เขาเก็บไว้ให้ในที่ต่อหน้า หรือลับหลังว่า ของนี้จงเป็นของ ๆ ท่าน ถ้าภิกษุยินดีด้วยจิตอยากจะถือเอาอยู่ และห้ามเสียด้วยกาย หรือวาจา ว่าของนี้ไม่ควร หรือไม่ห้ามด้วยกายวาจา มีจิตอันบริสุทธิ์อยู่ ไม่ยินดี ด้วยคิดว่าของนี้ไม่ควรแก่เตาก็ดี อย่างนี้ ก็ควร ไม่มีโทษ ภิกษุถือเอง หรือให้เขาถือเอาซึ่งรูปิยะ ที่ตกอยู่ในภายในอาราม หรือภายในที่อยู่ แห่งตน ด้วยคิดว่า ของผู้ใด ผู้นั้นจักมาเอาไป ดังนี้ โดยนัยในรตน สิกขาบทก็ดี ภิกษุบ้าเป็นต้นก็ดี เหล่านี้ ไม่เป็นอาบัติ เป็นสาณัตติกะ มีองค์ ๓ ของนั้นเป็นทองและเงินที่เป็นนิสสัคคิยวัตถุ ๑ เฉพาะเป็น ของตัว ๑ รับเองหรือให้เขารับ หรือเขาเก็บไว้ให้ยินดีเอา อย่างใด อย่างหนึ่ง เป็น ๑ พร้อมด้วยองค์ ๓ นี้ จึ่งเป็นนิสสัคคีย์ สมฏฐาน วิธีเป็นต้น เหมืนอด้วยสัญจริตตสิกขาบท แปลกแต่สิกขาบทนี้เป็น สิยากิริยา เพราะต้องด้วยการรับ และเป็นสิยาอกิริยา เพราะต้องด้วย ไม่ทำซึ่งการห้ามซึ่งรูปิยะที่เขาเก็บไว้ให้.

อฏฺ?ม? จบ

            ในรูปิยสัโพยหาระสิกขาบทที่ ๙ ความว่า ภิกษุใด ซื้อขายแลก เปลี่ยนด้วยรูปิยะมีประการต่าง ๆ ของนั้น เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์ พระองค์ทรงห้ามการรับนิสสัคคิยวัตถุ และทุกกฏวัตถุ ด้วยสิกขาบท ก่อน พระองค์ทรงห้ามการแลกเปลี่ยนนิสสัคคิยวัตถุซื้อ และทุกกฏวัตถุ ด้วยสิกขาบทนี้ เพราะเหตุนั้น ภิกษุเอาทุกกฏวัตถุซื้อ แลกเปลี่ยน ทุกกฏวัตถุ และกัปปิยวัตถุก็ดี เอากัปปิยวัตถุแลกเปลี่ยนทุกกฏวัตถุ ก็ดี อย่างนี้เป็นทุกกฏ ก็แลภิกษุเอานิสสัคคิยวัตถุ ซื้อหาแลกเปลี่ยน นิสสัคคิยวัตถุ หรือทุกกฏวัตถุ หรือกัปปิยวัตถุก็ดี หรือเอาทุกกฏวัตถุ และกัปปิยวัตถุ แลกเปลียนนิสสัคคิยวัตถุก็ดี เหล่านี้เป็นนิสสัคคิย ปาจิตตีย์ ของที่ได้มาเป็นนิสสัคคีย์ พึงเสียสละในท่ามกลางสงฆ์อย่าง เดียว และพึงปฏิบัติในของที่เสียสละแล้ว ดังในสิกขาบทก่อน ภิกษุ บ้าเป็นต้น ไม่เป็นอาบัติ เป็นอนาณัตติกะ มีองค์ ๒ ของที่แลกเปลี่ยน มาก็ดี ทรัพย์ของตนที่จเอาไปแลกเปลี่ยนก็ดี ข้างใดข้างหนึ่ง เป็น รูปิยะ เป็นนิสสัคคิยวัตถุ ๑ สำเร็จในการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน ๑ พร้อมด้วยองค์ ๒ นี้ จึงเป็นนิสสัคคีย์ สมุฏฐานวิธีเป็นต้น เหมือน ด้วยสิกขาบทก่อน แปลกแต่สิกขาบทนี้เป็นกิริยา เกิดแต่ทำซึ่งการ แลกเปลี่ยน.

            ในกยวิกกยะสิกขาบทที่ ๑๐ ความว่า ภิกษุใดซื้อขายแลกเปลี่ยน กัปปิยวัตถุ ด้วยกัปปิยวัตถุ มีประการต่าง ๆ มีจีวรเป็นต้นกับคฤหัสถ์ ของนั้นเป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์ ภิกษุกล่าวกับคฤหัสถ์ว่า ท่านให้ ของนี้ด้วยของนี้ก็ดี ท่านเอาของนี้ไปให้ของนี้แก่เรา เอาของนี้แลก กับของนี้ก็ดี เอาของสิ่งนี้ไป จงทำของสิ่งนี้ ให้แก่เราก็ดี ดังนี้เป็นต้น ต้องทุกกฏ ถือเอากัปปิยภัณฑ์แห่งผู้อื่นมา ชื่อว่าซื้อ ให้กัปปิยภัณฑ์ ของตนไป ชื่อว่าขาย เพราะเหตุนั้น ภิกษุให้กัปปิยภัณฑ์ของตนไป แล้วถือเอากัปปิยภัณฑ์อันใดของคฤหัสถ์ พ้นจากสหธัมมิกทั้ง ๕ แม้เป็นมารดาด้วยวาจา เป็นคำแลกเปลี่ยนกัน กัปปิยภัณฑ์นั้นเป็น นิสสัคคีย์ พึงเสียสละวัตถุเป็นนิสสัคคีย์นั้น แก่สงฆ์หรือแก่คณะ หรือแก่บุคคล ภิกษุให้ของกินหรือวัตถุสิ่งไรแก่คฤหัสถ์ กล่าวว่า ท่านจงกินสิ่งนี้ หรือถือเอาสิ่งนี้แล้ว เอาของนี้มาให้เรา หรือทำสิ่งนี้ ให้เรา แล้วใช้ให้เอาน้ำย้อมเป็นต้นมาก็ดี หรือให้ทำบริขารมีธัมมกรก เป็นต้น และให้ทำนวกรรม มีชำระพื้นดายหญ้า เป็นต้น เช่นนี้ ถ้าของจะพึงเสียสละมี ก็พึงเสียสละก่อน ถ้าของไม่มี ก็พึงแสดงอาบัติ ปาจิตตีย์อย่างเดียว ภิกษุถามราคาว่า ของนี้ราคาเท่าไรก็ดี ปรารถนา จะถือเอาภัณฑะแต่มือผู้ใดเว้นผู้นั้นเสีย ให้ผู้อื่นโดยที่สุดแม้เป็นลูก ของเจ้าของภัณฑะนั้น วานให้เป็นกัปปิยการแลกเปลี่ยนแทน ว่า ท่านจงเอาของนี้แลกของนี้มาให้เรา ดังนี้ก็ดี และกล่าวให้พ้นกยวิก กยะ ดังภิกษุเดินทางไป มีแต่ข้าวสาร จะต้องการข้าวสุก ว่ากะเจ้าของ ข้าวสุกว่า ข้าวสารของเรามีอยู่ เราหาต้องการไม่ เราต้องการด้วย ข้าวสุก ว่าดังนี้ และเจ้าของข้าวสุกเอาข้าวสารไป ให้ข้าวสุกแก่ภิกษุ ก็ดี ภิกษุบ้าเป็นต้นก็ดี เหล่านี้ไม่เป็นอาบัติ เป็นอนาณัตติกะ มีองค์ ๓ คือ ของ ๆ คนที่จะเอาไปแลกก็ดี ของ ๆ ผู้อื่นที่ตนจะแลกมาก็ดี ทั้ง ๒ นี้ เป็นกัปปิยภัณฑ์ของควร ๑ เจ้าของภัณฑะนั้น เป็นคฤหัสถ์ ใช่สหธัมมิก ๑ แลกเปลี่ยนด้วยอาการดังว่าแล้ว ๑ พร้อมด้วยองค์ ๓ นี้ จึ่งเป็นนิสสัคคีย์ วินิจฉัยนอกนั้นมีนัยดังกล่าวแล้วในรูปิยสิกจาบท.

ทสม? จบ ทุติโย วคฺโค จบวรรคที่ ๒

            ในปัตติวรรคที่ ๓ ประดับด้วยสิกขาบท ๑๐ ปัตตสิกขาบทที่ ๑ ความว่า บาตรเป็นอดิเรก คือยังไม่ได้อธิษฐาน ยังไม่ได้วิกัป ภิกษุ พึงเก็บไว้เพียง ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง เมื่อภิกษุนั้นเก็บบาตรนั้นไว้ให้ เกิน ๑๐ วันไป ไม่อธิษฐานและวิกัปเสีย อรุณที่ ๑๑ ขึ้นมา บาตร นั้นเป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์ บาตรมี ๒ อย่าง คือ บาตรดิน บาตร เหล็ก กอปรด้วยประมาณเป็นสมณสารูปแล้ว จึ่งควรอธิษฐานและ วิกัป ประมาณบาตรและอธิษฐานวิกัป จักกล่าวข้างหน้าและวินิจฉัย นอกนั้น เหมือนปฐมกฐินสิกขาบท.

ป?ม? จบ

            ในโอนปัญจพันธนะสิกขาบทที่ ๒ ความว่า บาตรแตกร้าวยาว ๒ นิ้ว ชื่อว่ามีที่ผูกแห่ง ๑ ภิกษุใด มีบาตรมีที่ผูกยังไม่ครบ ๕ แห่ง และขอบาตรใหม่อื่น แต่คนใช่ญาติใช่ปวารณา บาตรนั้นที่ได้มาเป็น นิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์ ภิกษุนั้น พึงเอาบาตรนั้นเสียสละในท่ามกลาง สงฆ์อย่างเดียว สงฆ์ทั้งปวงพึงถือเอาบาตรของตน ๆ ไปสู่ที่ประชุม แล้วสมมติภิกษุผู้พร้อมด้วยองค์ ๕ ขึ้นเป็นผู้เปลี่ยนบาตร ภิกษุผู้ได้ สมมตินั้น พึงเอาบาตรที่เสียสละนั้น ถวายแก่พระมหาเถระ เอาบาตร ของพระมหาเถระ ถวายแก่พระอนุเถระ เปลี่ยนดังนี้ตามลำดับลงไป จนถึงภิกษุผู้เป็นสังฆนวกะนั้ง ณ ที่สุดอาสนะแล้ว เอาบาตรของภิกษุ ผู้เป็นสังฆนวกะนั้น ให้แก่ภิกษุผู้สละบาตรนั้นแล้ว กำชับว่า นี่แล บาตรของท่าน ๆ จงบริโภคกว่าจะแตกเถิด อย่าสละทิ้งเสีย อย่าให้ ผู้อื่นเสีย ปฏิบัติอย่างนี้แล เป็นความชอบยิ่งในบาตรนั้น.

ทุติย? จบ

            ในเภสัชชะสิกขาบทที่ ๓ ความว่า เภสัช ๕ อย่าง คือ สปฺปิ เนยใส นวนีต? เนยข้น เตล? น้ำมันหมูเป็นต้น ๑ มธุ น้ำผึ้ง ผาณิต? น้ำอ้อย เป็นยา ภิกษุเป็นไข้ก็ดี ไม่เป็นไข้ก็ดี จะพึงบริโภคได้ในกาล ทั้งปวง เภสัชทั้ง ๕ นี้ ภิกษุรับประเคนแล้ว พึงสั่งสมเก็บไว้ฉัน เพียง ๗ วัน เป็นอย่างยิ่ง เมื่อภิกษุไว้เภสัชนั้นให้เกิน ๗ วัน อรุณที่ ๘ ขึ้นมา เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์ นับตามเภสัชนั้น ถ้าเก็บไว้ใน ภาชนะอันเดียวเนื่องกัน ก็เป็นอาบัติตัวเดียว ถ้าไม่เนื่องกันก็เป็น อาบัติตามวัตถุนั้น ในข้อนี้จะกล่าวพิสดาร ณ เบื้องหน้า ยาทั้ง ๕ อย่างนี้ เป็นนิสสัคคีย์เสียสละแล้ว ได้กลับคืนมา จะบริโภคในกาย มีทาแผลเป็นต้น หรือกลืนกินไม่ควร พึงน้อมเข้าไปในประทีปและ ผสมเขม่าทาในที่ ๆ มือและกายจะไม่พึงถูกต้อง ภิกษุอื่นใช่เจ้าของ จะบริโภค ทากายควรอยู่ จะกลืนกินไม่ควร ยาทั้ง ๕ อย่างนี้ สิ่งใด ภิกษุเสียสละให้อนุสัมบันขาดแล้วในภายใน ๗ วัน ได้กลับคืนมาอีก จะกลืนกินก็ควร ยาทั้ง ๕ อย่างนี้ ภิกษุรับประเคนด้วยคิดจะกลืนกิน แล้วไว้ให้เกิน ๗ วันไป จึ่งเป็นนิสสัคคีย์ ถ้าไม่คิดจะกลืนกิน จะเอาไว้ ทาแผลเป็นต้น ถึงล่วง ๗ วันไป ก็ไม่เป็นนิสสัคคีย์ วินิจฉัยนอกนั้น ทั้งองค์และสมุฏฐาน ให้พึงรู้ดังกล่าวแล้วในปฐมกฐินสิกขาบท.

ตติย? จบ

            ในวัสสิกสาฏิกะสิกขาบทที่ ๔ ความว่า แต่แรมค่ำ ๑ เดือน ๗ จนถึงเพ็ญเดือน ๘ สองปักษ์นี้ ชื่อว่า เป็นเดือนหนึ่งปลายฤดูร้อน เป็นเขตที่จะแสวงหาวัสสิกสาฏิกจีวร คือผ้าอาบน้ำฝน ให้ภิกษุพึง แสวงหา คือเตือนสติในทายกที่เคยให้มาแต่ก่อนว่า เดี๋ยวนี้เป็นกาล แห่งผ้าวัสสิกสาฏิกาแล้ว ตั้งแต่ขึ้นค่ำ ๑ เดือน ๘ จนถึงวันเพ็ญ เป็นกึ่งเดือนแห่งปลายฤดูร้อน เป็นเขตที่จะทำผ้าอาบน้ำฝน ที่แสวง หาได้มาแล้วนั้น และเป็นเขตที่จะนุ่งห่มด้วย แต่ยังไม่เป็นเขตที่จะ อธิษฐานก่อน แต่แรมค่ำ ๑ เดือน ๘ ไปจนสิ้นฤดูฝน จึงเป็นเขต ที่จะอธิษฐาน ก็แลยังไม่ถึงปลายฤดูร้อนเดือนหนึ่ง ภิกษุด่วนแสวงหา ผ้าอาบน้ำฝนเสียก่อนได้มา ผ้านั้นเป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์.

จตุตฺถ? จบ

            ในจีวราจฉินทนะสิกขาบทที่ ๕ ความว่า ภิกษุใด ให้เองซึ่งจีวร ควรวิกัปเป็นปัจฉิมประมาณ แก่ภิกษุอื่นเองแล้ว ด้วยหวังจะให้เธอ ทำการขวนขวายอุปัฏฐากเป็นต้นแก่ตน และภายหลังเห็นเธอนั้น ไม่ทำการขวนขวายแก่ตนแล้ว กลับชิงเอาเองด้วยสำคัญว่า เป็นของ ของตน เป็นิสสัคคิยปาจิตตีย์ นับตามวัตถุ ใช้ให้ผู้อื่นชิงเอาเป็น ทุกกฏด้วยบังคับ ผู้อื่นชิงเอามาได้ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ นับตามคำ บังคับนั้น ๆ ในอุปสัมบันเป็นติกกปาจิตตีย์ ในอนุปสัมบัน ผู้จะให้นั้น สำคัญว่าอุปสัมบันก็ดี สงสัยอยู่ก็ดี หรือรู้ว่าเป็นอนุปสัมบันก็ดี แล้ว ให้ผ้าและบริขารอื่นแล้วชิงเอาก็ดี หรือให้บริขารอื่นแก่อุปสัมบัน แล้วชิงเอาก็ดี อย่างนี้เป็นทุกกฏ ผู้ที่ได้ไปยินดี หรือโกรธแล้ว คืนให้ เองก็ดี หรือถือเอาด้วยวิสาสะในผู้ที่ได้ไปก็ดี ภิกษุบ้าเป็นต้นก็ดี เหล่านี้ ไม่เป็นอาบัติ สละให้ขาดแล้ว กลับชิงคืนเอามา ให้วินัยธร ปรับตามราคาของ เป็นสาณัตติกะ มีองค์ ๕ คือผ้ากว้างยาวควรวิกัป เป็นอย่างต่ำ ๑ ผ้านั้นภิกษุให้เอง ๑ สำคัญอยู่ว่าเป็นของ ๆ ตัว ๑ ผู้ที่ได้ไปเป็นอุปสัมบันภิกษุ ๑ ชิงเอาเอง หรือให้ผู้อื่นชิงเอาด้วย ความโกรธ ๑ พร้อมด้วยองค์ ๕ นี้ จึ่งเป็นนิสสัคคีย์ สมุฏฐานวิธี เป็นต้น เหมือนอทินนาทานสิกขาบท ยกไว้แต่เวทนาในสิกขาบทนี้ เป็นทุกขเวทนาอย่างเดียว.

ป?ฺจม? จบ

            ในสุตตวิญญัตติสิกขาบทที่ ๖ ความว่า ภิกษุใด ขอด้ายทั้ง ๖ อย่าง สิ่งใดสิ่งหนึ่งมาเอง แต่คนใช่ญาติใช่ปวารณา ให้ช่างหูกผู้ใช่ญาติ ใช่ปวารณาทอจีวร ในประโยคที่ช่างหูกจัดอยู่นั้น ให้เกิดอาบัติทุกกฏ ครั้นทอแล้ว กว้างยาวได้ปัจฉิมประมาณควรวิกัป ผ้านั้นเป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์.

ฉฏฺ?? จบ

            ในมหาเปสการะสิกขาบทที่ ๗ ความว่า คฤหัสถ์ผู้ใช่ญาติ ให้ ช่างหูกทอจีวรเฉพาะถวายภิกษุใด ภิกษุนั้น เขาไม่ได้ปวารณาก่อน และเธอเข้าไปหาช่างหูกกำหนดว่า ผ้านี้เขาเฉพาะเราให้ท่านทอ ท่าน จงทอให้ยาว ให้กว้าง ให้แน่น ทอให้ดี ขึงให้ดี กรีดให้ดี หวีให้ดี ถ้าไฉนเราจะเพิ่มสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ท่าน เธอว่าดังนี้แล้ว เพิ่มสิ่งใด สิ่งหนึ่งให้แก่ช่างหูก โดยที่สุดแม้บิณฑบาตของกิน ถ้าช่างหูกนั้น เพิ่มด้ายขึ้น ทอให้กว้างยาวตามคำภิกษุ ในประโยคช่างหูกจัดอยู่นั้น เป็นทุกกฏ ทอแล้วได้ผ้ามา ผ้านั้นเป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์.

สตฺตม? จบ

            ในอัจเจกจีวระสิกขาบทที่ ๘ ความว่า อัจเจกจีวร คือผ้ารีบผ้าด่วน ได้แก่คนผู้จะไปการสงคราม หรือคนผู้จะไปอยู่นาน และคนไข้หนัก และหญิงมีครรภ์ และคนมีศรัทธาหรือความเลื่อมใสเกิดขึ้นใหม่ ถวายเป็นผ้าจำนำพรรษาแก่สงฆ์ ในวันขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ผ้า เช่นนี้ ภิกษุได้ส่วนมาแต่สงฆ์แล้ว พึงจำหมายไว้ เพื่อพรรษา ขาดจะได้คืนให้แก่สงฆ์ ถ้าพรรษาไม่ขาด เก็บไว้จนสิ้นจีวรกาล ไม่วิกัปอธิษฐานก็ได้ ถ้าเก็บไว้ให้เกินจีวรกาลไป ผ้านั้นเป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์ จีวรกาลนั้น ตั้งแต่วันแรมค่ำ ๑ เดือน ๑๑ ไปถึงเพ็ญ เดือน ๑๒ เป็นเดือนหนึ่ง ถ้าได้กรานกฐินไปถึงเพ็ญเดือน ๔ เป็น ๕ เดือน ชื่อว่าจีวรกาล.

อฏฺ?ม? จบ

            ในสาสังกะสิกขาบทที่ ๙ ความว่า เมื่อพร้อมด้วยองค์ ๔ แล้ว พระองค์ทรงอนุญาต ให้ภิกษุฝากไตรจีวรไว้ในบ้าน ก็แลองค์ ๔ นั้น คือภิกษุเข้าปุริมพรรษาแล้ว ได้ปวารณาในวันมหาปวารณาเป็นองค์ ที่ ๑ ตั้งแต่แรมค่ำ ๑ เดือน ๑๑ จนถึงเพ็ญเดือน ๑๒ ชื่อกัตติกมาส เดือน ๑ นี้เป็นองค์ที่ ๒ อารัญญิกเสนาสนะควรประมาณ คือวัด แต่เขตบ้านมา จนถึงเขตวัด ไกล ๕๐๐ ชั่วธนู คือคิดเป็น ๒๕ เส้น เป็นอย่างต่ำเป็นองค์ที่ ๓ เสนาสนะป่านั้น ประกอบด้วยความรังเกียจ คือในอารามหรืออุปจารแห่งอาราม มีโอกาสที่อยู่ ที่กิน ที่ยืน ที่นั่ง ที่นอน แห่งโจรเห็นปรากฏอยู่ และเป็นเสนาสนะประกอบด้วยภัย คือ ในอารามหรืออุปจารแห่งอาราม โจรเข้ามาฆ่ามาปล้นมาทุบตีมนุษย์ เห็นปรากฏอยู่ เสนาสนะประกอบด้วยความรังเกียจและภัย ดังนี้ เป็นองค์ที่ ๔ เมื่อพร้อมด้วยองค์ ๔ ดังนี้แล้ว ภิกษุฝากไตรจีวรไว้ ในบ้านโคจรคามโดยรอบอาราม บ้านใดบ้านหนึ่งไว้ได้เดือน ๑ ผ้า นั้นไม่เป็นนิสสัคคีย์ ถ้ามีเหตุภิกษุออกจากอารัญญิกเสนาสนะนั้น ไปอื่น พึงอยู่แรม ผ้านั้น ได้เพียง ๖ คืน เป็นอย่างยิ่ง ถ้าเธออยู่ ปราศจากผ้านั้น ยิ่งกว่า ๖ คืนขึ้นไป ไม่กลับมายังอารัญญิกเสนาสนะ หรือบ้านที่ไว้ผ้านั้น ในภายใน ๖ ราตรี อรุณที่ ๗ ขึ้นมา ผ้าที่อยู่ ในบ้านนั้น เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุเป็นไข้ ได้ สมมติอยู่ปราศจากไตรจีวร.

นวม? จบ

            ในปริณตะสิกขาบทที่ ๑๐ ความว่า ภิกษุรู้อยู่ว่า ลาภคือปัจจัย ทั้ง ๔ โดยที่สุดแม้ก่อนจุรณและไม้สีฟัน และด้ายชิงเชิงทายก แม้เป็น สหธัมมิกทั้ง ๕ หรือคฤหัสถ์ แม้เป็นมารดาบิกา เขาน้อมไปแล้วแก่สงฆ์ ด้วยวาจาว่า เราจักถวาย เธอรู้อยู่ดั่งนี้ และน้อมมาเพื่อตน ในประ โยคที่กล่าวน้อมมานั้นเป็นทุกกฏ ลาภนั้นได้มาถึงมือ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์ ถ้าลาภนั้นทายกถวายแก่สงฆ์แล้วไซร้ ภิกษุถือเอา ไม่ควร พึงคืนให้แก่สงฆ์ ลาภเขาน้อมไปแล้วแก่สงฆ์ ภิกษุสงสัยอยู่ น้อมมาเพื่อตนก็ดี ลาภเขาน้อมไปแก่สงฆ์หมู่หนึ่งและน้อมไปแก่สงฆ์ หมู่อื่น หรือแก่เจดีย์ก็ดี ดังนี้ต้องทุกกฏ ลาภเขาน้อมไปแก่เจดีย์ องค์หนึ่งแล้ว ภิกษุน้อมไปแก่เจดีย์อื่น หรือน้อมไปแก่สงฆ์แก่คณะ แก่บุคคลก็ดี หรือลาภเขาน้อมไปแก่บุคคลแล้ว โดยที่สุดแม้แก่สุนัข ตัวหนึ่งแล้ว ภิกษุน้อมมาแก่บุคคล แม้แก่สุนัขตัวอื่น หรือน้อมไป แก่สงฆ์แก่คณะ แก่เจดีย์ก็ดี หรือลาภเขายังไม่ได้น้อมไป ภิกษุสำคัญ ว่าน้อมไปแล้วก็ดี สงสัยอยู่ก็ดี และน้อมมาเพื่อตนเพื่อผู้อื่น เหล่านี้ ต้องทุกกฏ ลาภเขาน้อมไปแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ได้น้อมไป และ น้อมมาเพื่อตน เพื่อผู้อื่นก็ดี ทายกถามว่า ข้าพเจ้าจะให้ในที่ไหนดี ภิกษุกล่าวว่า ไทยธรรมของท่านจะพึงได้เป็นเครื่องบริโภค เป็น เครื่องบริขาร และตั้งอยู่ได้นานในที่ใดก็ดี หรือจิตของท่านเลื่อมใส ในที่ใดก็ดี ท่านจงให้ในที่นั้นเถิด กล่าวดั่งนี้ก็ดี ภิกษุบ้าเป็นต้นก็ดี เหล่านี้ ไม่เป็นอาบัติ เป็นอนาณัตติกะ มีองค์ ๓ คือ ลาภทายกน้อม ไปแล้วในสงฆ์ ๑ รู้แล้วน้อมมาเพื่อตน ๑ ได้มา ๑ พร้อมด้วย องค์ ๓ นี้ จึ่งเป็นนิสสัคคีย์ สมุฏฐานวิธีเป็นต้น เหมือนอทินนาทาน สิกขาบท.

ทสม? จบ ตติโย วคฺโค จบวรรคที่ ๓

นิสฺสคฺคิยวณฺณนา นิฏฺ?ิตา จบนิสสัคคีย์

         

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ