บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



บุพพสิกขาวรรณณา

สารบัญ

คำนำ

รตนัตตยบัพพะ

อาปัตตินามาทิบัพพะ

ปฏิปัตติมุขบัพพพะ

กาลิกบัพพะ

พินทวาธิฏฐานาทิบัพพะ

วิชหนาทิบัพพะ

อาปัตติเทสนาทิบัพพะ

มาตรากถา

 

วินยกถา

                          อิโต ปร? ทุติยาทิ             ปพฺพาน? วณฺณนาคตา
                          วินโย ยตฺถ นาญฺโ?           สิกฺขิตพฺพ?ว สาธุก?

            ลำดับนี้ ความพรรณนาบัพพะที่ ๒ เป็นต้น มาถึงเข้า ใน วรรณนาไรเล่า เป็นแต่วินัยอย่างเดียวใช่ธรรมอื่น กุลบุตรผู้หวัง ความศึกษาพึงศึกษาให้ดีเถิด

            จักกล่าวในอาปัตตินามาทิบัพพะ ข้อว่าด้วยชื่อแห่งอาบัติ เป็นต้น อาบัติทั้งปวงที่ภิกษุต้องแล้วจะยกชื่อขึ้นปฏิญญา ว่าโดย หมวดมีอยู่ ๗ คือ ปาราชิก ๑ สังฆาทิเสส ๑ ถุลลัจจัย ๑ ปาจิตติย ๑ ปาฏิเทสนีย ๑ ทุกกฏ ๑ ทุพภาษิต ๑ โดยลำดับแห่งโทษหนักเบา ดังนี้ อาบัติ ๆ นั้นแปลว่า ความต้อง ความถึงซึ่งวิติกกมโทษ คือการล่วงสิกขาบท อนึ่ง แปลว่า ธรรมชาติอันภิกษุพึงต้องพึงถึง ด้วยประพฤติอนาจารเป็นการนอกบัญญัติ

            ปาราชิก ศัพท์นี้ ถ้าเล็งตัวบุคคลเป็นปธานบท แปลว่า ผู้ถึง ซึ่งความแพ้ ถ้าเล็งอาบัติเป็นปธานบท แปลว่า อาบัติยังบุคคล ให้แพ้ ด้วยว่าอาบัตินี้อันภิกษุใดต้องแล้ว ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นคนแพ้ เป็นคนจุติเคลื่อนคลาดพลาดจากพระสัทธรรม

            สังฆาทิเสส แปลว่า กองอาบัติมีสงฆ์อันภิกษุพึงปรารถนา ใน กาลเป็นเบื้องต้น และกาลอันเศษ ว่าด้วยอาบัติกองนี้ อันภิกษุ ใดต้องข้าแล้ว ภิกษุนั้นต้องอาศัยสงฆ์ ในกาลเบื้องต้น คือให้ปริวาส และกาลอันเศษ คือ มูลายปฏิกัสสนะ และให้มานัตเป็นท่ามกลาง และอัพภานกรรมเป็นกาลเศษสุด จึ่งออกจากอาบัตินั้นได้

            ถุลลัจจัย แปลว่า โทษอ้วน โทษหยาบ ด้วยว่าบรรดาอาบัติ ที่ภิกษุต้องแล้ว และแสดงในสำนักแห่งภิกษุอื่น แม้องค์เดียวก็หลุด พ้นไปได้ อาบัตินี้แลอ้วน หยาบกว่าอาบัติซึ่งเป็นเทสนาคามินี นอกนั้น

            ปาจิตติย แปลว่า อาบัติยังกุศลธรรมให้ตกไป ด้วยว่าภิกษุ ใดแกล้งต้องอาบัติกองนี้แล้ว ภิกษุนั้นชื่อว่าตกจากกุศลธรรม ผิด ต่ออริยมรรค ถึงซึ่งโมหฐานที่เคลิ้มหลงแห่งจิต

            ปาฏิเทสนีย แปลว่า อาบัติอันภิกษุพึงกลับแสดงอย่างอื่น ด้วย ว่าอาบัตินี้ ภิกษุต้องแล้วไม่แสดงอย่างอาบัติอื่น ต้องกลับใช้บาลี แสดงดังนี้ว่า "คารยฺห? อาวุโส ธมฺม? อาปชฺชึ อสปฺปาย? ปาฏิเทสนีย? ต? ปฏิเทเสมิ" ดังนี้

            ทุกกฏ แปลว่า ทำชั่ว ด้วยว่าภิกษุใดต้องอาบัตินี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่าทำชั่ว ทำไม่ดี ทำผิดต่ออริยมรรค ดังบุคคลทำบาปในที่แจ้ง หรือที่ลับ โลกย่อมติเตียนว่าเป็นคนทำชั่ว ทำไม่ดี ทำผิด

            ทุพภาษิต แปลว่า กล่าวชั่ว ด้วยว่าคำอันใดเป็นคำชั่ว คำพลาด คำหม่นหมอง คำอันนักปราชญ์ติเตียน ภิกษุกล่าวคำนั้นจึ่งต้องอาบัตินี้

            อนึ่ง ปาราชิกาบัติ เป็นอเตกิจฉา เยียวยาไม่ได้ด้วยอุบาย อันใดอันหนึ่ง แม้จะถือเพศฆราวาสแล้วกลับมาขออุปสมบทอีก ก็ไม่ ได้ อาบัตินอกนั้น ๖ เป็นสเตกิจจฉาพอเยียวยาได้ คือว่าต้อง แล้วทำตนให้บริสุทธิ์ด้วยวุฏฐานวิธีและเทสนาวิธีได้ อนึ่ง ปาราชิก สังฆาทิเสส ๒ นี้ชื่อว่า ครุกาบัติ เป็นอาบัติหนัก ปาราชิกเป็นอาบัติ หนักโดยโทษเป็นมูลัจเฉท สังฆาทิเสสเป็นอาบัติหนักโดยโทษด้วย โดยวิธีที่จะออกจากอาบัตินั้นด้วย อาบัตินอกนั้น ๕ กอง ชื่อว่า ลหุ กาบัติ เป็นอาบัติเบาโดยวิธีที่จะออก

            อนึ่ง สังฆาทิเสสาบัติ ชื่อว่า เป็นวุฏฐานคามินี ถึงวุฏฐานวิธี คืออาศัยสงฆ์รับปริวาสและมานัต ประพฤติกิจ จึ่งออกพ้นเป็นคนบริสุทธิ์ได้ อาบัตินอกนั้น ๕ กอง ชื่อว่า เทสนาคามินี ถึงเทสนาวิธี คืออาศัยสงฆ์รับปริวาสและมานัต ประพฤติกิจ จึ่งออกพ้นเป็นคนบริสุทธิ์ได้ อาบัตินอกนั้น ๕ กอง ชื่อว่า เทสนาคามินี ถึงเทสนาวิธี คือแสดงเสียในสำนักแห่งภิกษุแม้ องค์เดียวก็บริสุทธิ์ได้

            อนึ่ง แม้ปาราชิกาบัติ ก็ชื่อว่าเทสนาคามินีด้วย ด้วยว่าผู้ใดต้องแล้วผู้นั้นปฏิญญาตนตามจริงต่อหน้าแห่งภิกษุอื่นแล้ว มละเพศแห่งภิกษุเสีย ถึงเพศฆราวาส ก็พ้นโทษนั้นได้ อาบัตินั้นไม่ เป็นสัคคาวรณ์ห้ามสวรรค์แก่ผู้นั้น อนึ่ง ปาราชิก สังฆาทิเสส ๒ นี้ ชื่อทุกฏฐุลลาบัติ เป็นอาบัติชั่วหยาบโดยโทษ อาบัติ ๕ กองนอกนั้น ชื่อว่าอทุฏฐุลลาบัติ เป็นอาบัติชั่วหยาบโดยโทษ อนึ่ง ปาราชิก ชื่อว่า อนวเสสาบัติ เป็นอาบัติไม่มีเศษ ภิกษุต้องแล้วก็เคลื่อนจากพรหม จรรย์ไปฝ่ายเดียว อาบัติ ๖ กองนอกนั้น ชื่อว่า สาวเสสาบัติ เป็น อาบัติยังมีเศษอยู่ อนึ่งอาบัติปาราชิก สังฆาทิเสส ๒ นี้เป็นศีลวิบัติ เป็นโทษใหญ่ ภิกษุต้องแล้ว ชื่อว่าถึงความวิบัติแห่งศีล ในอาบัติ ๕ กองนั้น อาบัติใดที่ภิกษุต้องเข้าแล้ว ทั้งเป็นโทษด้วย ทั้งอาจาร มารยาทสมณะเสียไปด้วย ดังนี้ชื่อว่าอาจารวิบัติ ในอาบัติ ๕ กอง นั้นแล อาบัติใดที่ภิกษุต้องทิฐิ ความเห็นวิปริตเป็นอันตคาหิกทิฏฐิ ดังนี้ชื่อว่าทิฐิวิบัติ ดังปาจิตติยาบัติแห่งภิกษุผู้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค ในอริฏฐสิกขาบทเป็นตัวอย่าง

            ในอาบัติ ๕ กองนั้นแล อาบัติกองใด ภิกษุต้องเข้าแล้ว อาชีวะความเลี้ยงชีพเสียไป ดังอาบัติเพราะ กุลทูสกกรรม อาบัตินั้นชื่อว่าอาชีววิบัติ อนึ่ง อาบติปาราชิก สังฆาทิเสสที่ภิกษุต้องเพราะอาศัยอาชีวะ ก็ชื่อว่าอาชีววิบัติด้วย เพราะเหตุนั้น ในคัมภีร์ปริวาร ท่านยกสิกขาบท ๖ ขึ้นตั้งไว้เพื่อจะให้ เห็นอาชีววิบัติดังนี้ว่า ภิกษุอวดอุตตริมนุสสธรรมซึ่งไม่มีในตน เพราะเหตุแห่งอาชีวะ ต้องปาราชิก ภิกษุถึงสัญจริตชักสื่อเพราะเหตุ แห่งอาชีวะ ต้องสังฆาทิเสส ภิกษุอวดุตตริมนุสสธรรมซึ่งไม่มีในตน เพราะเหตุแห่งอาชีวะ ต้องปาราชิก ภิกษุถึงสัญจริตชักสื่อเพราะเหตุ แห่งอาชีวะ ผู้ฟังรู้ความในขณะนั้น ภิกษุนั้นต้องถุลลัจจัย ภิกษุไม่ เป็นไข้ ขอแกงและข้าวสุกกะคนใช่ญาติฉัน เพราะเหตุแห่งอาชีวะ ต้องทุกกฏ ดังนี้ ด้วยท่านยกสิกขาบท ๖ ขั้นกล่าวไว้นี้แล พึงรู้เถิด ว่าในสิกขาบทซึ่งเป็นสีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฐิวิบัตินั้น ข้อใดที่ภิกษุ ต้องด้วยอาศัยอาชีวะเป็นเหตุ ข้อนั้นก็เป็นอาชีววิบัติด้วย

            อนึ่ง ปาจิตติยนั้น มี ๒ คือ นิสสัคคิยปาจิตติย สุทธิกปาจิตติย นิสสัคคิปาจิตยนั้น แปลว่า ปาจิตติยมีการสละเป็นวินัยกรรมได้แก่ ปาจิตติยาบัติ ในนิสสัคคิยุทเทสแห่งภิกขุปาติโมกข์ ๓๐ แห่งภิกษุณี ปาติโมกข์ที่เป็นอสาธารณ ๑๒ สิกขาบท ด้วยว่า ปาจิตติยาบัติเหล่านี้ ภิกษุต้องเพราะอาศัยภัณฑะข้าวของที่เสียไปโดยพุทธบัญญัติ ภิกษุ นั้นต้องเอาภัณฑะนั้นมาเสียสละในท่ามกลางสงฆ์หรือคณะ หรือใน สำนักแห่งภิกษุรูปเดียว เป็นวินัยกรรมเสียก่อนจึ่งแสดงอาบัตินั้นตก เพราะเหตุนั้น ปาจิตติยาบัติเหล่านี้ จึ่งชื่อว่านิสสัคคิยปาจิตติย สุทธิกปาจิตติยนั้น แปลว่า ปาจิตติยล้วน ไม่มีวินัยกรรมอันใดอันหนึ่ง เป็นบุรพกิจแห่งเทสนาวิธี ได้แก่ปาจิตติยาบัติ ในปาจิตติยุทเทส ในภิกขุปาติโมกข์ ๙๒ สิกขาบท ในภิกขุนีปาติโมกข์ที่เป็นอสาธารณะ ๙๖ สิกขาบท เหล่านี้แลชื่อสุทธิกปาจิตติย อนึ่ง สุทธิกปาจิตติยมีอีก เป็น ๒ คือ ปกติปาจิตติย ๆ โดยปกติ ๑ เภทกาทิปาจิตติย ๆ มีอัน ต่อยภัณฑะเสียก่อนเป็นต้นแล้วจึ่งแสดงตก ๑

อาปัตตินามกถา จบ

            จักกล่าวด้วยกำหนดสิกขาบทแห่งอาบัตินั้น ๆ สิกขาบทแห่ง ปาราชิกาบัติส่วนภิกษุ ๔ ส่วนนางภิกษุณีที่เป็นอสาธารณไม่ทั่ว มาแก่ภิกษุด้วย ๔ รวมเป็น ๘ ส่วนสาธารณะทั่วมาแก่ภิกษุด้วยอีก ๔ ผสมหมดด้วยกันเป็น ๑๒ สิกขาบทเหล่านี้ขึ้นสู่ปาติโมกขุทเทส สิกขาบทแห่งสังฆาทิเสสาบัติ ส่วนภิกษุ ๑๓ ส่วนนางภิกษุณีที่เป็น อสาธารณะ ๑๐ รวมกันเป็น ๒๓ ส่วนที่เป็นสาธารณะอีก ๗ หมด ด้วยกันเป็น ๓๐ สิกขาบทเหล่านี้ขั้นสู่ปาติโมกขุทเทส ที่บัญญัติแห่ง ถุลลัจจยาบัติมากไม่มีกำหนด ไม่ขึ้นสู่ปาติโมกขุทเทส เหตุซึ่งไม่มี กำหนดนั้นจะมีแจ้งข้างหน้า สิกขาบทแห่งนิสสัคคิยปาจิตติยาบัติ ส่วนภิกษุ ๓๐ ส่วนนางภิกษุณีที่เป็นอสาธารณะ ๑๒ รวมกันเป็น ๔๒ ถ้าผสมสาธารณะ ๑๘ สิกขาบทเข้าด้วย หมดด้วยกันเป็น ๖๐ สิกขาบท เหล่านี้ขึ้นสู่ปาติโมกขุทเทส สิกขาบทแห่งสุทธิกปาจิตยาบัติ ส่วน ภิกษุ ๙๒ ส่วนนางภิกษุณีที่เป็นอสาธารณะ ๙๖ รวมกันเป็น ๑๘๘ ถ้าผสมสาธารณะ ๗๐ สิกขาบทด้วย รวมกันเป็น ๒๕๘ สิกขาบทเหล่านี้ ขึ้นสู่ปาติโมกขุทเทส สิกขาบทแห่งปาฏิเทสนียาบัติส่วนภิกษุ ๔ ส่วน นางภิกษุณี ๘ รวมกันเป็น ๑๒ ขึ้นสู่ปาติโมกขุทเทส ที่บัญญัติแห่ง ทุกกฏาบัติมีมากไม่มีกำหนด ด้วยว่าทุกกฏาบัติว่าโดยอาคตัฏฐานที่มา โดยย่อมี ๒ สถาน มาในบาลีพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติอย่าง ๑ เรียก ชื่อว่าบาลีทุกกฏ มาในอัฏฐกถาพ้นจากบาลี พระสังคีติกาจารย์ผู้รู้ พุทธาธิบายตั้งไว้อย่าง ๑ เรียกชื่อว่าบาลีมุตตกทุกกฏ เนื้อความ พิสดารจักมีแจ้งข้างหน้า

            เพราะเหตุนั้น สิกขาบทแห่งทุกกฏาบัติจึ่ง ขึ้นสู่ปาติโมกขุทเทสแต่สขิยสิกขาบทอย่างเดียว นอกนั้นไม่ขึ้นสู่ อุทเทส สิกขาบทแห่งทุพภาสิตาบัติ ที่มีนิทานเบื้องต้นให้พระผู้มี พระภาคทรงบัญญัตินั้นไม่มี ด้วยว่าทุพภาสิตาบัตินี้มาในวิภังค์แห่ง โอมสวาทสิกขาบทแห่งเดียว เพราะเหตุนั้น ในเบื้องหน้า เมื่อ วินิจฉัยโอมสวาทสิกขาบทแล้ว ทุพภาสิตาบัติก็จักรู้ด้วย จักเป็นอัน วินิจฉัยด้วย อนึ่ง อุทเทสสำหรับที่จะยกสิกขาบทขึ้นสวดทุก ๆ กึ่ง เดือนในวันอุโบสถ ที่ชื่อว่าปาติโมกขุทเทสนั้น โดยชื่อที่มีอยู่ใน พระคัมภีร์ปาติโมกข์ มีอยู่ ๙ อุทเทส คือ นิทานุทเทส ๑ ปาราชิ กุทเทส ๑ สังฆาทิเสสุทเทส ๑ อนิยตุทเทส ๑ นิสสัคคิยุทเทส ๑ ปาจิตติยุทเทส ๑ ปาฏิเทสนียุทเทส ๑ เสขิยุทเทส ๑ สมถุทเทส ๑

            ในนิทานุสเทสเป็นเบื้องต้นนี้ไม่เป็นอุทเทสสำหรับชื่อสิกขา บท เป็นแต่คำประกาศญัตติแห่งอุโบสถกรรม และประกาศคำที่เป็น นิทานเบื้องต้นแห่งอุทเทสอื่นเท่านั้น สุณาตุ เม ฯ เป ฯ ปาติโมกฺข อุทฺทิเสยฺย? คำนี้ชื่อว่าญัตติ ความว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ พระสงฆ์ จงสดับแต่ข้า อุโบสถวันนี้เป็นที่ ๑๔ ที่ ๑๕ ถ้าหากว่าอุโปสถกรรม มีกาลอันถึง มีกาลอันควร คือว่าพร้อมด้วยองค์ ๔ แล้วไซร้ พระสงฆ์ พึงทำซึ่งอุโบสถ พึงสวดขึ้นปาติโมกข์ องค์ ๔ นั้น คือ วันที่ สิบสี่ ที่สิบห้า สามัคคี ๓ วันนี้วันใดวันหนึ่ง เป็นองค์อัน ๑ ภิกษุ ตั้งแต่ ๔ ขั้นไป ไม่ต้องอุกเขปนียกรรม เป็นปกตัตต์ ตั้งอยู่ในสีมา อันเดียวกัน ไม่มละหัตถบาสกัน เป็นองค์อัน ๑ ภิกษุเหล่านั้นไม่ต้อง สภาคาบัติมีวัตถุเสมอกัน มีฉันโภชนะในเวลาบ่ายด้วยกันเป็นต้น ไม่มีในภายในหัตถบาสสงฆ์ เป็นองค์อัน ๑ อุโบสถพร้อมด้วยองค์ ๔ นี้ จึ่งควรจะกล่าวว่า ปตฺตกลฺล? ได้ ถ้าไม่พร้อมเป็นแต่ ๓ หรือ ๒ ไม่ควรกล่าว ถ้าผู้สวดนั้นอ่อนกว่าภิกษุสงฆ์อยู่สักองค์ ๑ ก็ดี ให้ว่า ภนฺเต ถ้าแก่กว่าหมดให้ว่าอาวุโส อนึ่งถ้าเป็นวันที่ ๑๕ ให้ว่า ปณฺ ณรโส คงตามบาลีเดิม ถ้าเป็นวันที ๑๔ ให้ว่า จาตุทฺทโส กึ สงฺฆสฺส ฯ เป ฯ ผาสุ โหติ คำเหล่านี้ชื่อว่านิทาน เป็นคำถามคำสอนผู้จะฟัง ปาติโมกข์ ความว่าอะไร บุพพกรณ์ บุพพกิจ กรรมจะต้องทำก่อนแห่ง สงฆ์ ทำแล้วหรือ คือว่ากวาดโรงอุโบสถ ๑ ถ้าเป็นเวลากลางคืนตาม ประทีป ๑ ปูอาสนะ ๑ ตั้งน้ำใช้น้ำฉันไว้ ๑ สี่นี้ชื่อว่าบุพพกรณ์ เพราะจะต้องทำก่อนแต่ประชุมสงฆ์ นำฉันทะแห่งภิกษุผู้ควรฉันทะ มา ๑ นำปาริสุทธิแห่งผู้ควรปาริสุทธิมา ๑ บอกฤดู ๑ นับภิกษุ ๑ ให้โอวาทแก่นางภิกษุณี ๑ ห้านี้ชื่อว่าบุพพกิจ เพราะจะต้องทำก่อน แต่สวดขึ้นซึ่งปาติโมกข์ บุพพกรณ์ บุพพกิจ ๙ เหล่านี้แห่งสงฆ์ทำ แล้วหรือ ตั้งแต่บาลีว่า ปาริสุทฺธึ ไป เป็นคำสอน ความว่า ดูก่อน ท่านทั้งหลายผู้มีอายุ ท่านทั้งหลายจงบอกความที่แห่งตนเป็นผู้บริสุทธิ์ ไปเถิด ข้าพเจ้าจักแสดงขึ้นซึ่งพระปาติโมกข์ เราทั้งหลายหมดด้วย กันจงฟัง จงกระทำไว้ในใจให้ดีซึ่งพระปาติโมกข์เถิด

            แต่นี้ไป อย่างไรจะเป็นอันบอกความที่แห่งตนเป็นผู้บริสุทธิ์ จะ ประกาศอย่างนั้น ยสฺส สิยา ฯ เป ฯ เวทิสฺสามิ ความว่า ถ้าอาบัติ แห่งภิกษุใดมี ภิกษุนั้นพึงทำให้แจ้งเสีย บอกเสียในท่ามกลางสงฆ์ หรือแม้แก่ภิกษุองค์หนึ่งที่นั่งอยู่ใกล้ว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติชื่อนั้น ๆ ข้าพเจ้าลลุกจากที่นี้แล้วจักทำคืนซึ่งอาบัตินั้น ถ้าเคลือบแคลงอยู่ให้ บอกดังนี้ว่า ข้าพเจ้าเคลือบแคลง ในกาลนั้นข้าพเจ้าจะทำคืนซึ่งอาบัติ นั้น ครั้นเมื่ออาบัติไม่มีก็พึงนิ่งอยู่ อาการที่บอกอาบัติและนิ่งอย่าง นี้แล ชื่อว่าบอกความที่แห่งตนเป็นผู้บริสุทธิ์ ข้าพเจ้าจักรู้แจ้งซึ่ง ท่านทั้งหลายว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ ด้วยความที่นิ่งอยู่เป็นสำคัญ และคำว่า ยถา โย ฯเปฯ โหติ นี้เป็นคำบอกให้รู้จักอนุสาวนาและเขตแห่งอาบัติ ความว่า เหมือนอย่างภิกษุองค์เดียวภิกษุองค์หนึ่งถามเฉพาะตัว และ กล่าวแก้ไขฉันใด คำอันเราให้ได้ยินอยู่เนือง ๆ ในภิกษุบริษัทเช่นนี้ จนถึงครั้นที่ ๓ ว่า ตติยมฺปิ ปุจฺฉามิ กจฺจิตฺถ ปริสุทฺธา นี้ทุกอุทเทส ไปฉันนั้น ถ้าภิกษุองค์ใด เมื่อเราสวดให้ได้ยินอยู่ จนถึงครั้งที่ ๓ ว่า ตติยมฺปิ ปุจฺฉามิ กจฺจิตฺถ ปริสุทฺธา ดังนี้ เธอระลึกได้อยู่ ถ้าไม่ กระทำให้แจ้งไม่บอกซึ่งอาบัติที่มีอยู่เสีย สัมปชานมุสาวาท ความ กล่าวเท็จแห่งผู้รู้ ย่อมมีแก่ภิกษุนั้น คือว่าภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏ เพราะปิดอาบัติแห่งตนไว้ ปรับเป็นมุสาวาท ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ทั้งหลาย ก็แลสัมปชานมุสาวาททุกกฏนี้ พระผู้มีพระภาคได้กล่าวแล้ว ว่าเป็นธรรมทำซึ่งอันตรายแก่ฌานและมรรคผล เพราะเหตุนั้น ภิกษุ ระลึกได้อยู่ อาบัติมีอยู่พึงกระทำให้แจ้งเสีย ด้วยว่ากระทำให้แจ้งเสีย แล้ว ย่อมเป็นความผาสุกสำราญแก่ภิกษุนั้น

นิทานุทเทส จบ

            ในปาราชิกุทเทส ส่วนภิกษุมีสิกขาบท ๔ ส่วนภิกษุณีมี ๘ สิกขาบท ในสังฆาทิเสสุทเทส ส่วนภิกษุมีสิกขาบท ๑๓ ส่วนภิกษุณี มี ๑๗ ในอนิยตุสเทสมีสิขาบท ๒ อนิยตุทเทสนี้ ในภิกขุนี ปาติโมกข์ไม่มี ในนิสสัคคิยุทเทส ส่วนภิกษุ ๓๐ สิกขาบท ส่วน ภิกษุณีก็ ๓๐ ในปาจิตติยุทเทส ส่วนภิกษุมีสิกขาบท ๙๒ ส่วนภิกษุณี ๑๖๖ ในปาฏิเทสนียุทเทส ส่วนภิกษุมีสิกขาบท ๔ ส่วนภิกษุณี ๘ ในเสขิยุทเทส ส่วนภิกษุและภิกษุณีมีสิกขาบท ๗๕ เหมือนกัน ในสม ถุทเทสไม่มีสิกขาบท มีแต่ธรรม ๗ ประการ คือสัมมุขาวินัยเป็นต้น ชื่อว่าสมถะ เพราะเป็นของสำหรับรำงับอธิกรณ์ ๔ มีวิวาทาธิกรณ์ เป็นต้นเท่านั้น กล่าวปาติโมกขุทเทส ส่วนภิกษุ ๙ อุทเทส ส่วน ภิกษุณี ๘ อุทเทสนั้น กล่าวตามชื่อซึ่งมีอยู่ในคัมภีร์พระปาติโมกข์ ถ้าจะกล่าวโดยพุทธบัญญัติไซร้มีอยู่ ๕ คือ นิทานุทเทสเป็นที่ ๑ ปาราชิกุทเทสเป็นที่ ๒ สังฆาทิเสสุทเทสเป็นที่ ๓ อนิยตุทเทสเป็น ที่ ๔ ตั้งแต่นิสสัคคิยุทเทสไปจนสมถุทเทสเป็นที่ ๕ ชื่อวิตถารุทเทส เป็นที่ ๕ ดังนี้ ทรงบัญญัติเป็น ๕ นี้ เพื่อจะให้รู้จักพระปาติโมกข์ โดยย่อและพิศดารในเวลาเมื่อมีอันตราย ความนี้จักรู้แจ้งในอุโบสถ กถาข้างหน้าโน้น.

ว่าด้วยอุทเทส จบ

            อนึ่ง ในบุพพสิกขา กล่าวสจิตตกะ และวัชชะไว้ ในกถานี้นั้น จะยกไว้ก่อน จะไว้กล่าวในสมุฏฐานกถาเบื้องหน้าโน้น.

สิกขาปทปริจเฉทกถา จบ

            จะกล่าวในวิธีมีสมุฏฐานเป็นต้น สมุฏฐาน ๆ แปลว่า ที่เกิด แห่งอาบัติในสิกขาบทนั้น ๆ ก็แลสมุฏฐานแห่งอาบัติในสิกขาบท ทั้งปวงนั้นมี ๖ คือกายเป็นที่ ๑ วาจาเป็นที่ ๒ กายวาจาเป็นที่ ๓ กายจิตเป็นที่ ๔ วาจาจิตเป็นที่ ๕ กายวาจาจิตเป็นที่ ๖ เป็น ๖ ด้วยกัน กายอย่างเดียวหรือวาจาอย่างเดียว เป็นสมุฏฐานอัน ๑ ดังนี้ชื่อว่า เอกังคิกะ ว่าสมุฏฐานมีองค์อันเดียว กายกับวาจา หรือ กายกับจิต หรือวาจากับจิตก็ดี เป็นสมุฏฐานอัน ๑ ดังนี้ชื่อว่า ทวังคิกะ ว่าสมุฏฐานมีองค์ ๒ ทั้งกายทั้งวาจาทั้งจิตเป็นสมุฏฐาน อัน ๑ ดังนี้ชื่อว่า ติวังคิกะ ว่าสมุฏฐานมีองค์ ๓ ๓ ข้างต้น คือ กาย ๑ วาจา ๑ กายวาจา ๑ นี้ชื่อ อจิตตกสมุฏฐาน ๓ เหล่านี้ อันใดอันหนึ่ง สิกขาบทนั้นเป็นอจิตตกะด้วย ส่วน ๓ ข้างปลาย คือ กายจิต ๑ วาจาจิต ๑ กายวาจาจิต ๑ นี้ชื่อ สจิตตกสมุฏฐาน มีจิตเจือด้วย อาบัติในสิกบทใด ต้องด้วยสมุฏฐานเหล่านี้อันใดอัน หนึ่ง ไม่มีสมุฏฐานข้างต้นเจือด้วยเลย สิกขาบทนั้น เป็นสจิตตกะมีจิต เจือด้วย อาบัติทั้งปวงภิกษุต้องด้วยสมุฏฐาน ๑ บ้าง ๒ บ้าง ๓ บ้าง ๔ บ้าง ต้องด้วยสมุฏฐาน ๕ ไม่มี อาบัติในสิกขาบทใด ภิกษุ ต้องด้วยสมุฏฐานที่ ๔ อย่างเดียว ดังในปฐมปาราชิก ต้องด้วยสมุฏ ฐาน ที่ ๕ อย่างเดียว ดังในธัมมเทสนาสิกขาบท ต้องด้วยสมุฏฐานที่ ๖ อย่างเดียว ดังในสังฆเภทสิกขาบท ๓ นี้ชื่อว่า เอกสมุฏฐานสิกขาบท ว่า มีสมุฏฐานอันเดียว อาบัติในสิกขาบทใด ภิกษุต้องด้วยสมุฏฐาน ที่ ๑ หรือ ที่ ๔ ดังในเอฬกโลมสิกขาบทก็ดี ต้องด้วยสมุฏฐาน ที่ ๓ หรือ ที่ ๕ ดังในปทโสธัมมสิกขาบทก็ดี ต้องด้วยสมุฏฐาน ที่ ๓ หรือ ที่ ๖ ดังในปฐมกฐินสิกขาบทก็ดี ๕ สิกขาบทนี้ชื่อ ทวิสมุฏฐาน มีสมุฏฐาน ๒ อาบัติในสิกขาบทใด ภิกษุต้องด้วยสมุฏฐานข้างต้น คือที่ ๑ หรือ ที่ ๒ หรือ ที่ ๓ ดังในภูตาโรจนสิกขาบทก็ดี ต้องด้วย สมุฏฐาน ๓ ข้างปลายคือที่ ๔ หรือที่ ๕ หรือที่ ๖ ดังในอทินนาทาน สิกขาบทก็ดี ๒ สิกขาบทนี้ชื่อ ติสมุฏฐาน สิกขาบทมีสมุฏฐาน ๓ อาบัติในสิกขาบทใด ภิกษุต้องด้วยสมุฏฐานที่ ๑ หรือ ที่ ๓ หรือที่ ๔ หรือ ที่ ๕ หรือ ที่ ๖ ดังในอนนุญญาตสิกขาบทก็ดี ๒ สิกขาบทนี้ ชื่อ จตุสมุฏฐาน สิกขาบทมีสมุฏฐาน ๔ อาบัติในสิกขาบทใด ต้องด้วย สมุฏฐาน ๖ คือ ที่ ๑ หรือ ที่ ๒ หรือ ที่ ๓ หรือ ที่ ๔ หรือ ที่ ๕ หรือ ที่ ๖ ดังในสัญญจริตตสิกขาบท ๆ นี้ชื่อ ฉสมุฏฐาน สิกขาบท มีสมุฏฐาน ๖

            อาบัติทั้งปวงว่าโดยสมุฏฐานมี ๑๓ อาบัติ ๑๓ นั้นได้ชื่อ ทั้ง ๑๓ โดยสมุฏฐานตามสิกขาบทที่เป็นปฐมปัญญัติดังนี้ว่า ปฐม ปาราชิกสมุฏฐาน อทินนาทานสมุฏฐาน สัญจริตตสมุฏฐาน สมนุ ภาสนสมุฏฐาน ปฐมกฐินสมุฏฐาน เอฬกโลมสมุฏฐาน ปทโสธัมม สมุฏฐาน อัทธานสมุฏฐาน เถยยสัตถสมุฏฐาน ธัมมเทสนาสมุฏ ฐาน ภูตาโรจนสมุฏฐาน โจรีวุฏฐาปนสมุฏฐาส อนนุญญาตสมุฏ ฐานเป็น ๑๓ ดังนี้ อาบัติในสิกขาบทใด เกิดแต่กายกับจิต สิกขาบท นั้นชื่อว่า ปฐมปาราชิกสมุฏฐาน อาบัติในสิกขาบทใด เกิดแต่สจิตตก สมุฏฐาน ๓ ข้างปลาย สิกขาบทนั้นชื่อว่า อทินนาทานสมุฏฐาน อาบัติในสิกขาบทใดเกิดแต่สมุฎฐานทั้ง ๖ สิกขาบทนั้นชื่อสัญจริตต สมุฏฐาน อาบัติในสิกขาบทใด เกิดแต่สมุฏฐาน ที่ ๖ อย่างเดียว สิกขาบทนั้นชื่อว่า สมนุภาสนสมุฏฐาน อาบัติในสิกขาบทใด เกิดแต่ สมุฏฐาน ที่ ๑ และที่ ๖ สิกขาบทนั้นชื่อ ปฐมกฐินสมุฏฐาน อาบัติ ในสิกขาบทใด เกิดแต่สมุฏฐาน ที่ ๑ และ ที่ ๔ สิกขาบทนั้นชื่อ เอฬกโลมสมุฏฐาน อาบัติในสิกขาบทใด เกิดแต่สมุฏฐาน ที่ ๒ และ ที่ ๕ สิกขาบทนั้น ชื่อปทโสธัมมสมุฏฐาน อาบัติในสิกขาบทใด เกิด แต่สมุฏฐาน ที่ ๑ และ ที่ ๓ และ ที่ ๔ และ ที่ ๔ สิกขาบทนั้นชื่อ เอฬกโลมสมุฏฐาน อาบัติในสิกขาบทใดเกิดแต่สมุฏฐาน ที่ ๔ และที่ ๖ สิกขาบทนั้นชื่อ เถยยสัตถสมุฏฐาน อาบัติในสิกขาบทใดเกิดแต่สมุฏ ฐาน ที่ ๕ อย่างเดียว สิกขาบทนั้นชื่อ ธัมมเทสนาสมุฏฐาน อาบัติใน สิกขาบทใด เกิดแต่อจิตตกสมุฏฐาน ๓ ข้างต้น สิกขาบทนั้นชื่อ ภูตาโรจนสมุฏฐาน อาบัติในสิกขาบทใด เกิดแต่สมุฏฐานที่ ๕ และที่ ๖ สิกขาบทนั้นชื่อ โจรีวุฏฐาปนสมุฏฐาน ว่ามีสมุฏฐานดังโจรีวุฏฐาปน สิกขาบทแห่งนางบภิกษุณี อาบัติในสิกขาบทใด เกิดแต่สมุฏฐาน ที่ ๒ และ ที่ ๓ และ ที่ ๕ และ ที่ ๖ สิกขาบทนั้นชื่อ อนนุญญาตสมุฏฐาน ว่ามีสมุฏฐาน ดังอนนุญญาตสิกขาบทแห่งนางภิกษุณี ครบ ๑๓ สิกขาบทดังนี้ ก็แลด้วยคำว่า วิธีมีสมุฏฐานเป็นต้นนั้น สงเคราะห์ เอากิริยา สัญญา จิต วัชชะ กรรม ติกกะ อาณัติด้วย

            ก็แลอาบัติในสิกขาบททั้งปวงว่าโดยกิริยามี ๕ คือเป็นกิริยา ๑ อกิริยา ๑ กิริยากิริยา ๑ สิยา กิริยา สิยา อกิริยา ๑ สิยา กิริยา สิยา กิริยา กิริยา ๑ เป็น ๕ ดังนี้ อาบัติในสิกขาบทใด ย่อมเป็นแก่ภิกษุผู้ทำ ซึ่งความล่วงด้วยกายหรือวาจา ดังในปฐวีขณนสิกขาบทเป็นต้น สิกขาบทนั้น ชื่อว่าเป็นกิริยา คือเกิดแต่การทำ อาบัติในสิกขาบทใด ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่ทำซึ่งกรรมอันตนจะพึงทำด้วยกายและวาจา ดังใน ปฐมกฐินสิกขาบท ไม่ทำวิกัปและอธิษฐาน ไว้อติเรกจีวรให้เกิน ๑๐ วันดังนี้ สิกขาบทนั้นชื่อว่า เป็นอกิริยา คือเกิดแต่ความไม่ทำ อาบัติในสิกขาบทใด ย่อมเป็นแก่ภิกษุทำด้วยและไม่ทำด้วย ดังใน จีวรปฏิคคหณสิกขาบท ทำซึ่งการรับผ้าจีวรแต่มือแห่งนางภิกษุณี ที่ใช่ญาติ ไม่ทำซึ่งการแลกเปลี่ยนก่อนจึ่งเป็นอาบัติ สิกขาบทดังนี้ นั้น ชื่อว่าเป็นกิริยากิริยา คือเกิดแต่การทำและไม่ทำด้วย อาบัติใน สิกขาบทใด ย่อมเป็นแก่ภิกษุผู้บางทีทำบางทีไม่ทำ ดังในรูปิยปฏิคค หณสิกขาบท บางทีต้องด้วยทำซึ่งการรับรูปิยะ บางทีต้องด้วยความ ไม่ทำซึ่งความห้ามรูปิยะที่เขาให้ สิกขาบทดังนี้นั้น ชื่อว่าเป็นสิยกิริยา สิยาอกิริยา คือบางทีเกิดแต่การทำ บางทีเกิดแต่การไม่ทำ อาบัติใน สิกขาบทใด ย่อมเป็นแก่ภิกษุผู้บางทีทำ บางทีทำด้วยไม่ทำด้วย ดังใน กุฏิการสิกขาบท บางทีเป็นอาบัติด้วยให้สงฆ์แสดงที่แล้วทำกุฏิให้ล่วง ประมาณ บางทีเป็นอาบัติด้วยไม่ให้สงฆ์แสดงที่ก่อน และทำให้ล่วง เกินประมาณ สิกขาบทดังนี้ ชื่อเป็นสิยา กิริยา สิยา กิริยากิริยา คือ บางทีเกิดแก่การทำ บางทีเกิดแต่การทำและไม่ทำด้วย

            อนึ่ง สิกขาบททั้งปวงว่าโดยสัญญามี ๒ คือสัญญาวิโมกข์ ๑ โนสัญญาวิโมกข์ ๑ ในสิกขาบทใด พ้นจากอาบัติได้ ด้วยสำคัญจะไม่ ล่วงบัญญัติ ดังน้ำมีตัวสัตว์สำคัญว่าไม่มีแล้วบริโภคไม่เป็นอาบัติ สิกขาบทดังนี้นั้น เป็นสัญญาวิโมกข์ ในสิกขาบทใด ไม่พ้นจากอาบัติ ได้ด้วยความสำคัญ ดังบ่ายแล้วสำคัญว่ายังไม่บ่าย ฉันของที่เป็น ยาวกาลิกทั้งปวงเป็นอาบัติ สิกขาบทดังนี้นั้น เป็นโนสัญญาวิโมกข์

            อนึ่งสิกขาบททั้งปวงว่าโดยจิตมี ๒ คือ เป็นสจิตตกะ และอจิตตกะ อาบัติในสิกขาบทใดเกิดด้วยสจิตตกสมุฏฐาน ๓ ข้างปลาย คือ กาย จิต และวาจาจิต และกายวาจาจิตอย่างเดียว ไม่เจือด้วยอจิตตกสมุฏฐาน อันใดอันหนึ่งเลย สิกขาบทดังนี้นั้นชื่อว่า เป็นสจิตตกะ อาบัติ ในสิกขาบทใด เกิดด้วยอจิตตกสมุฏฐาน ๓ ข้างต้น คือกายและวาจา และกายวาจาอย่างเดียวก็ดี หรือแต่อันใดอันหนึ่งเป็นสมุฏฐานอันหนึ่ง และมีสจิตตกสมุฏฐานอันใดอันหนึ่งเจืออยู่ด้วยก็ดี สิกขาบทดังนี้นั้น ชื่อว่าเป็นอจิตตกะ สิกขาบทใดเป็นสัญญาวิโมกข์ สิกขาบทนั้นเป็น สจิตตกะ สิกขาบทใดเป็นโนสัญญาวิโมกข์ สิกขาบทนั้น เป็นอจิตตกะ

            อนึ่ง สิกขาบททั้งปวงว่าโดยวัชชะ คือ โทษ มี ๒ คือเป็น โลกวัชชะ ๑ ปัณณัตติวัชชะ ๑ อาบัติในสิกขาบทใดแม้เป็นอจิตตกะ ดังสุราปานสิกขาบทเป็นต้น จิตในขณะต้องในส่วนข้างสจิตตกะ คือ มีจิตรู้นั้นเป็นอกุศลจิต ดังสุราปานสิกขาบทเป็นสจิตตกะ ภิกษุแม้ ไม่รู้ว้าเป็นสุราและให้ล่วงลำคอ ก็เป็นอาบัติ แต่ในส่วนจิตที่รู้ว่า เป็นสุราและให้ล่วงลำคอเข้าไปเป็นอาบัตินั้น เป็นอกุศลจิตฝ่าย โลภมูล สิกขาบทนี้นั้นชื่อว่า เป็นโลกวัชชะ ว่ามีโทษ อันนักปราชญ์ พึงเว้นพึงติเตียนโดยโลก ซึ่งว่ามีจิตรู้นั้น ประสงค์เอารู้วัตถุที่จะล่วง ดังรูปว่าสุราเป็นต้นและดื่มกินด้วยโลภจิต ไม่ประสงค์เอาจิตรู้บัญญัติ คือรู้ว่าไม่ควร ถ้ารู้ว่าไม่ควรและฝ่าอาชญาพระพุทธเจ้าล่วงสิกขาบท ด้วยจิตอันใด จิตอันนั้น เป็นปฏิฆจิตฝ่ายโทสมูล เพราะเหตุนั้น จึ่งเป็นอจิตตกโลกวัชชะ ก็แลจิตที่รู้วัตถุแห่งอาบัติในสิกขาบทใด แม้เป็นกุศลก็มี สิกขาบทนั้นชื่อว่า เป็นปัณณัติวัชชะ ว่ามีโทษ อัน นักปราชณ์พึงเว้นโดยพุทธบัญญัติ

            อนึ่ง สิกขาบททั้งปวง ว่าโดยกรรมมี ๑ คือเป็นกายกรรมก็มี เป็นวจีกรรมก็มี เป็นทั้งกายกรรมวจีกรรมก็มี อาบัติในสิกขาบทใด ภิกษุจะพึงต้องในกายทวารอย่างเดียว ต้องอาบัติเกิดแต่สมุฏฐานที่ ๑ หรือที่ ๔ สิกขาบทเช่นนี้ชื่อว่าเป็นกายกรรม อาบัติในสิกขาบทใด ภิกษุจะพึงต้องในวจีทวารอย่างเดียว ดังอาบัติเกิดแต่สมุฏฐานที่ ๒ และที่ ๕ สิกขาบทเช่นนี้ชื่อว่าเป็นวจีกรรม อาบัติในสิกขาบทใด ภิกษุจะพึงต้องในวจีทวารทั้ง ๒ คือกายและวาจา สิกขาบทนั้นจะต้อง กายกรรมวจีกรรา ว่าเป็นกายกรรมด้วยวจีกรรมด้วย

            อนึ่ง ติกกะมี ๒ คือ กุสสติกกะ หมวด ๑ กำหนดด้วยกุศลจิต อย่าง ๑ เวทนาติกกะ หมวด ๓ แห่งเวทนาอย่าง ๑ ภิกษุเมื่อจะต้อง อาบัติ มีจิตเป็นกุศลอยู่ต้องก็มี มีจิตเป็นอกุศลอยู่ต้องก็มี มีจิตเป็น อัพยากฤต คือไม่เป็นกุศลและอกุศล ดังนอนหลับอยู่ต้องก็มี อนึ่งเสวย ทุกขเวทนาอยู่ต้องอาบัติก็มี เสวยสุขเวทนาอยู่ต้องอาบัติก็มี เสวย อุเบกขาเวทนามัธยัตอยู่ต้องอาบัติก็มี เมื่อเป็นเช่นนี้สิกขาบทใด กล่าวว่า เอกจิตฺต? มีจิตอันเดียว ให้พึงรู้ว่าได้แก่อกุศลจิต และใน สิกขาบทใด ถ้ากล่าวว่า ทฺวิจิตฺต? ว่ามีจิต ๒ ให้พึงรู้ว่าได้แก่จิตที่เป็น กุศลและอัพยากฤต ในสิกขาบทใดที่กล่าวว่า ติจิตฺต? ว่ามีจิต ๓ ให้พึง รู้ว่าได้แก่จิตที่เป็นกุศลและอกุศลและอัพพยากฤต ในสิกขาบทใดที่ กล่าวว่า เอกเวทนา ว่าเวทนาอันเดียวให้พึงรู้ว่าได้แก่ทุกขเวทนา ถ้ากล่าวว่า ทฺวิเวทน? ว่ามีเวทนา ๒ ให้พึงรู้ว่าได้แก่สุขเวทนาและ อุเบกขาเวทนา ถ้ากล่าวว่า ติเวทน? ว่ามีเวทนา ๓ ให้พึงรู้ว่าได้แก่ สุข ทุกข์ อุเบกขา อนึ่ง สิกขาบททั้งปวงเป็นสาณัตติกะก็มี อนาณัตติกะ ก็มี อาบัติในสิกขาบทใด ภิกษุทำเองก็ต้อง ใช้ให้ผู้อื่นทำก็ต้อง สิกขาบทนั้น ชื่อ สาณัตติกะ ว่าประกอบด้วยบังคับ อาบัติในสิกขา เป็นอนาณัตติกะ ว่าไม่มีบังคับ ก็แลสมุฏฐานวิธีเป็นต้นดังกล่าวมานี้ แลจะประกอบในสิกขาบท ซึ่งจะกล่าวข้างหน้านั้นไว้เป็นของสำหรับ จะตัดสินอาบัติในสิกขาบทนั้น ๆ และให้เกิดความฉลาดแยบคายสังเกต กำหนดอาบัติในสิกขาบทนั้น ๆ.

สมุฏฐานาทิกถา จบ

            จักกล่าวอาการที่จะต้องอาบัติ ก็แลภิกษุจะต้องอาบัตินั้นด้วย อาการ ๖ อย่าง คือ อลชฺชิตา ต้องด้วยความเป็นอลัชชีไม่มีละลาย ๑ อ?าณตา ต้องด้วยไม่รู้ ๑ กุกฺกุจฺจปกตตา ต้องด้วยความเป็นคน อันความรำคาญสงสัยครอบงำอยู่แล้ว ๑ อกปฺปิเย กปฺปิยสญฺ?ิตา ต้องด้วยความเป็นคนสำคัญว่าควรในของที่ไม่ควร ๑ กปฺปิเย อกปฺ ปิยสญฺ?ิตา ต้องด้วยความสำคัญว่าไม่ควรในของที่ควร ๑ สติสมฺ โมสา ต้องด้วยความหลงลืมแห่งสติ ๑ เป็น ๖ ดังนี้ ภิกษุรู้อยู่ว่า ไม่ควรย่ำยีขืนทำการล่วงสิกขยาบทบัญญัติ อย่างนี้ ชื่อว่าต้องด้วยความ เป็นอลัชชีไม่มีละอาย ลักษณะแห่งภิกษุเป็นอลัชชีนั้นดังนี้ คือแกล้ง ต้องอาบัติและบังอาบัติไว้ด้วย ถึงอคติทั้ง ๔ มีฉันทาคติเป็นต้นด้วย บุคคลเช่นนี้แล ชื่อว่าอลัชชีผู้ไม่มีละอาย ภิกษุเป็นคนเขลามีปัญญา น้อย ไม่รู้ว่าสิ่งนี้ควรทำ สิ่งนี้ไม่ควรทำ และไปทำสิ่งที่ไม่ควรทำ สิ่งที่ควรทำ ๆ ให้ผิดไปเสีย ดังเก็บดอกไม้ ควรจะใช้อนุปสัมบันด้วย กัปปิยโวหารและไม่ใช้ ไปเก็บเองมาบูชาพระเจดีย์ ด้วยเข้าใจว่าเป็น กุศล ดังนี้ ชื่อว่าต้องด้วยความไม่รู้ ภิกษุเกิดความสงสัยขึ้นว่า สิ่งนี้ก็ดี ทำอย่างนี้ก็ดี จะควรหรือไม่ควรดังนี้ ครั้นจะถามวินัยธรให้ตัดสิน ก็เห็น ว่า ถ้าวินัยธรตัดสินว่าควร ก็จะต้องทำ ถ้าท่านตัดสินว่าไม่ควร ก็จะ พึงทำไม่ได้ เป็นการลำบาก เห็นเอาเองว่าควร ฝ่าพุทธอาชญาล่วง สิกขาบท อย่างนี้ สิ่งที่สงสัยนั้น ถ้าเป็นของไม่ควร ก็เป็นอาบัติตาม วัตถุนั้น ๆ ถ้าเป็นของควร ก็คงเป็นอาบัติทุกกฏ เพราะโทษที่สงสัย แล้วแลทำ ดังนี้ ชื่อว่าต้องด้วยความสงสัยครอบงำ เมื่อเนื้อหมีเป็น ยาวกาลิกก็ดี ฉันน้ำปานะที่ไม่ควร สำคัญว่าน้ำปานะที่ควรก็ดี ดังนี้ ก็คงต้องอาบัติตามวัตถุนั้น ๆ อย่างนี้ ชื่อว่าต้องด้วยสำคัญว่าควร ในของที่ไม่ควร เหมือนอย่างกัปปิยมังสะ คือมังสะแห่งสุกรและมังสะ แห่งเนื้อ ภิกษุสำคัญว่าเนื้อหมี เนื้อเสือเหลือง ที่เป็นอกัปปิยมังสะ กัปปิยโภชนะ สำคัญว่าเป็นอกัปปิยโภชนะ แล้วแลฉันก็ดี ยังเช้าอยู่ คงเป็นอาบัติทุกกฏตามสัญญา อย่างนี้ ชื่อว่าต้องด้วยสำคัญว่าไม่ควร ในของที่ควร ภิกษุนอนในที่มุงบังอันเดียวกันกับอนุปสัมบัน ครบ ๓ ราตรีแล้ว ครั้นราตรีที่ ๔ ลืมไป นอนต่อไปอีกก็ดี และลืมไป อยู่ปราศจากไตรจีวรก็ดี และไว้เภสัช ๕ มีเนยใสเป็นต้น ที่รับประเคน แล้วให้เกิน ๗ วันก็ดี ดังนี้ ก็คงเป็นอาบัติตามวัตถุนั้น ๆ อย่างนี้ ชื่อว่า ต้องด้วยหลงลืมสติ เป็นอาการ ๖ ดังกล่าวมาฉะนี้ ภิกษุจะต้องอาบัติ ก็ต้องด้วยอาการ ๖ ดังนี้แล จะต้องด้วยอาการอันอื่นนอกนี้ก็หาไม่.

ทุติย? อาปตฺตินามาทิปพฺพ? จบข้อที่ ๒ ชื่ออาปัตตินามาทิบัพพะ

         

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ