บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



บุพพสิกขาวรรณณา

สารบัญ

คำนำ

รตนัตตยบัพพะ

อาปัตตินามาทิบัพพะ

ปฏิปัตติมุขบัพพพะ

กาลิกบัพพะ

พินทวาธิฏฐานาทิบัพพะ

วิชหนาทิบัพพะ

อาปัตติเทสนาทิบัพพะ

มาตรากถา

 

สังฆรตนะกถา

            แต่นี้จะพรรณนาสังฆรตนะ ถามว่า อะไรเป็นสงฆ์ ๆ จะมี สักกี่อย่าง สังฆะนั้นแปลว่าอะไร ? แก้ว่า หมู่บุคคลผู้ฟังคำสอนแห่ง พระพุทธเจ้า แล้วแลตรัสรู้ตามเสร็จพระพุทธเจ้า ชื่อว่าสงฆ์ในที่นี้ ที่เรียกว่าสงฆ์นั้นมี ๒ อย่าง คือ สมมติสงฆ์ อริยสงฆ์ ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป นั่งในภายในสีมาไม่ละหัตถบาสกัน มีอำนาจให้สำเร็จ สังฆกรรมนั้น ๆ มีอุโบสถเป็นต้น ไม่ชื่อว่าสมมติสงฆ์ แปลว่าสงฆ์ โดยสมมติ หมู่สาวกแห่งพระผู้มีพระภาคซึ่งเป็นอริยสาวก ชื่อว่า อริยสงฆ์ แปลว่าหมู่แห่งอริยเจ้า หรือหมู่เป็นพระอริยเจ้า จะกล่าวด้วยสาวกแห่งพระผู้มีพระภาคก่อน

            สาวก แปลว่า คนผู้ฟัง คำสอนแห่งพระผู้มีพระภาค ก็แลคนผู้ฟังคำสอนซึ่งชื่อว่าสาวกนั้น มี ๒ คือปุถุชนสาวก อริยสาวก บุคคลจำพวกใดได้ฟังโอวาทแต่ เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค หรือฟังแต่สำนักสาวสกของพระผู้มี พระภาคก็ดี ไม่ได้ความตรัสรู้มรรคผลธรรมวิเศษสิ่งใด ได้แต่ศรัทธา ความเชื่อในพระรัตนตรัยดำรงอยู่ในสรณคมน์ บุคคลจำพวกนั้น ชื่อว่าปุถุชนสาวก สาวกเป็นปุถุชน บุคคลจำพวกใดได้สดับธรรมา นุศาสน์ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงเองก็ดี หรือสาวกแห่งพระผู้มี พระภาคผู้ใดผู้หนึ่งในพุทธกาล หรือภายหลังแต่พุทธกาลแสดงก็ดี และผู้นั้นย่อมได้โลกุตราภิสมัยมรรคผลในขณะเมื่อฟังก็ดี หรือปฏิบัติ ตามคำสอนแล้วแลได้ในภายหลังก็ดี เหล่านี้ชื่อว่าอริยสาวก แปลว่า สาวกผู้ไปจากข้าศึก คือกิเลสก็ดี เหล่านี้ชื่อว่าอริยสาวก ประสงค์แต่อริยสาวกจำพวกเดียว ก็แลอริยสาวกนั้นจัดเป็นคู่ ได้ ๔ คู่ คือ โสตาปัตติมัคคัฏฐะ โสตาปัตติผลัฏฐะคู่ ๑ สกิทาคามิ มัคคัฏฐะ สกิทาคามิผลัฏฐะคู่ ๑ อนาคามิมัคคัฏฐะ อนาคามิผลัฏฐะ คู่ ๑ อรหัตมัคคัฏฐะ อรหัตผลัฏฐะคู่ ๑ เรียงเป็นตัวบุคคลเป็น ๘ ก็แลชื่อพระอริยเจ้ามี คือ ชื่อว่าโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ ๔ ชื่อนี้ อาศัยท่านผู้ตั้งอยู่แล้วในผล กล่าวโดยคุณ คือ มละกิเลส นั้น ๆ ด้วยมรรคนั้น ๆ แล้วแลตั้งอยู่ในผล พระโสดาบันมละสังโยชน์ ๓ ได้ คือ สักกายทิฐิ วิจิกิจฉา ลีลัพพตปรามาส

            ดังกล่าวแล้ว ในโสดาปัตติมรรค กับมละกามราคะพยาบาทส่วนที่หยาบ ซึ่งจะให้ เกิดเครื่องไม่ให้ตกไปในอบาย เป็นคนเที่ยงเป็นคนมีอันจะตรัสรู้ อรหัตผลเป็นที่ไปในเบื้องหน้า เป็นพระอริยเจ้าแรกถึงพระนิพพาน ขณะเมื่อท่านถึงโสดาปัตติมรรค ชื่อว่าโสตาปัตติมัคคัฏฐะ แปลว่า ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค ขณะเมื่อท่านถึงโสดาปัตติผล ชื่อว่า โสตาปัตติผลัฏฐะ แปลว่าท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล

            อนึ่ง ชื่อว่า โสดาบัน แปลว่าท่านผู้แรกถึงกระแสแห่งพระนิพพานคือมรรค พระโสดาบันมี ๓ จำพวก คือ เอกพีชี มีพืช คือภพอันเดียว เพราะ จะต้องเกิดในมนุษยโลกหรือเทวโลกอีกครั้งเดียวแล้ว กระทำให้แจ้ง อรหัตผลสิ้นภพหน้าจำพวก ๑ ชื่อโกลังโกละคือเกิดอีก ๒ ภพ หรือ ๓ ภพ กระทำให้แจ้งพระอรหัตผล จำพวก ๑ ชื่อสัตตักขัตตุงปรมะ คือยังท่องเที่ยวอยู่ในมนุษยโลกและเทวโลกอีก ๗ ครั้ง ๗ ชาติ เป็นอย่างยิ่งไม่ถึงชาติที่ ๘ คงจะทำให้แจ้งอรหัตผลด้วยขันธ ปรินิพพานในภพที่ ๗ เป็นแท้จำพวก ๑ เป็น ๓ จำพวกนี้ พระสกิทาคามีท่านย่อมทำราคะ โทสะ โมหะซึ่งเป็นอกุศลมูล ให้ น้อยให้บางไปดังต้นหญ้าเกิดในร่ม ท่านมาเกิดในกามภพนี้อีกคราว เดียว แล้วกระทำให้แจ้งชึ่งอรหัตผลอันเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ดับขันธ ปรินิพพาน ก็แลขณะเมื่อท่านถึงสกิทาคามิมรรค ท่านชื่อว่า สกิทาคามิมัคคัฏฐะ แปลว่าท่านผู้ตั้งอยู่ในสกิทาคามิมรรค ขณะเมื่อ ท่านถึงสกิทาคามิผลแล้ว ท่านชื่อว่าสกิทาคามิผลัฏฐะ แปลว่า ท่านผู้ตั้งอยู่ในสกิทาคามิผล หรืออนึ่งชื่อว่าสกิทาคามี แปลว่าท่าน ผู้มายังกามภพนี้อีกคราวเดียว พระอนาคามีท่านย่อมมละสังโยชน์ ๒ คือ กามราคะ พยาบาทได้ ดับขันธ์แล้วท่านย่อมไปบังเกิดในสุทธา วาส พรหมโลกทั้ง ๕ แห่งใดแห่งหนึ่ง แล้วดับขันธปรินิพพาน ในสุทธาวาสนั้น มีอันไม่กลับจากพรหมโลกนั้นเป็นธรรมดา ก็แล ขณะเมื่อท่านถึงอนาคามิมรรค ท่านชื่อว่าอนาคามิมัคคัฏฐะ แปลว่า ท่านผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิมรรค ขณะเมื่อท่านถึงอนาคามิผล ท่านชื่อ ว่าอนาคามิผลัฏฐะ แปลว่าท่านผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิผล หรืออนึ่ง ท่านชื่อว่าอนาคามี แปลว่าท่านผู้ไม่มายังกามภพนี้อีก พระอนาคามี นั้นมี ๕ จำพวกชื่อว่า อันตราปรินิพพายี ผู้ดับในระหว่างคือว่าเกิด ขึ้นในสุทธาวาสพรหมโลกแล้ว และยังไม่ทันถึงท่ามกลางอายุ ท่าน ย่อมยังอรหัตมรรคให้บังเกิดขึ้น เพื่อมละสังโยชน์เบื้องบนได้ จำพวก ๑ ชื่อว่าอุปหัจจปรินิพพายี ท่านผู้เข้าจดแล้วและดับ คือ ว่าท่านเกินท่ามกลางอายุขึ้นไปจวนกาลอายุจะสิ้น ยังอรหัตมรรค ให้บังเกิดขึ้น เพื่อมละสังโยชน์เบื้องบน ๕ ได้ จำพวก ๑ ชื่อว่า อสังขารปรินิพพายี ผู้ดับด้วยอสังขาร คือว่าท่านยังอรหัตมรรค ให้บังเกิดขึ้น เพื่อมละสังโยชน์ ๕ เบื้องบนด้วยไม่ยาก ไม่ต้อง ประกอบความเพียรยิ่งใหญ่ จำพวก ๑ ชื่อว่าสสังขารปรินิพพายี ผู้ดับด้วยสสังขาร คือว่าท่านยังอรหัตมรรคให้บังเกิดขึ้นด้วยยาก ต้องประกอบประโยคยิ่งใหญ่ จำพวก ๑ ชื่อว่า อุทธังโสโต อกนิฏฐ คามี ผู้มีกระแสในเบื้องบน ไปสู่ภพชื่อว่า อกนิฏฐะ คือ จุติจาก อวิหพรหมโลกแล้ว ไปยังอตับปพรหมโลกแล้ว จุติจากอตัปป พรหมโลกแล้ว ไปยังสุทัสสพรหมโลก จุติจากสุทัสสพรหมโลก แล้วไปยังอกนิฏฐพรหมโลก ยังอรหัตมรรคให้เกิดขึ้น มละสังโยชน์ เบื้องบนในพรหมโลกนั้นจำพวก ๑ เป็น ๕ จำพวกดังนี้ พระอรหันต์ ย่อมมละสังโยชน์เบื้องบน ๕ ได้ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ซึ่งเป็นกิเลสละเอียด สิ้นภพในเบื้องหน้าดับขันธ์ แล้วปรินิพพาน ก็แลขณะเมื่อท่านถึงอรหัตมรรค ท่านชื่อว่าอรหัต มัคคัฎฐะ แปลว่าท่านผู้ตั้งอยู่ในอรหัตมรรค ขณะเมื่อท่านถึงอรหัต ผล ท่านชื่อว่าอรหัตผลัฏฐะ แปลว่าท่านผู้ตั้งอยู่ในอรหัตผล หรือ อนึ่งชื่อว่าอรหันต์ แปลว่าท่านผู้ควรผู้ไกลกิเลส พระอรหันต์นั้น โดย คุณนามที่ปรากฏอยู่มี ๔ จำพวก คือ สุกฺขวิปสฺสโก ท่านผู้มีวิปัสสนา อันแห้ง เพราะไม่มียาง คือสมถภาวนา ได้เจริญวิปัสสนาอย่างเดียว บรรลุพระอรหัต ไม่ประกอบด้วยฤทธิวิเศษสิ่งใด จำพวก ๑ ชื่อว่า เตวิชฺโช ท่านผู้ประกอบด้วยวิชชา ๓ จำพวก ๑ ชื่อว่า ฉฬภิ?ฺโ? ท่านผู้ประกอบด้วยอภิญญา ๖ จำพวก ๑ ชื่อว่า ปฏิสมฺภิทปฺปตฺโต ท่านผู้ถึงปฏิสัมภิทาทั้ง ๔ จำพวก ๑ เป็น ๔ จำพวกดังนี้ ประเภท ๔ นี้ย่อมได้ในพระอริยเจ้าเบื้องต่ำด้วยโดยปริยาย หมู่แห่งพระอริยเจ้า ซึ่งเป็นสาวกแห่งพระผู้มีพระภาคกล่าวมานี้แล ชื่อว่าอริยสงฆ์ ในที่นี้ จึ่งได้สมากับบาลีว่า ภควโต สาวกส?โฆ สงฺโฆ นั้น แปลว่าหมู่ ว่าเบียดกัน คือว่าพระอริยเจ้าเหล่านั้น แม้อยู่ไกลกันคนละประเทศ คนละพิภพต่างกันโดยชาติและเพศ ก็ชื่อว่าเป็นหมู่อันหนึ่ง ชื่อว่า เบียดกันด้วยคุณคือศีลและทิฐิความเห็นเสมอกัน เหมือนอย่างคำว่า มิคสงฺโฆ แปลว่าหมู่เนื้อ สกุณสงฺโฆ แปลว่าหมู่นก โดยโวหาร โลกที่กล่าวกันอยู่อย่างนี้ อาศัยชาติและอวัยวะสัณฐานร่างกายที่ คล้ายกันเหมือนกัน เป็นหมวด ๆ หมู่ ๆ สัญจรอยู่บนแผ่นดินก็ดี บนอากาศก็ดี โวหารโลกกล่าวกันว่าหมู่เนื้อหมู่นก เพราะสัตว์เหล่า นั้นเหมือนกันคล้ายกันอยู่ใกล้กัน ก็แลพระอริยเจ้าอยู่ต่างสถานกันก็ดี แต่คุณคือศีลและทิฐินั้น เหมือนกัน ใกล้กัน เบียดกัน เพราะเหตุนั้น โดยอริยโวหารจึ่งได้กล่าว สงฺโฆ ว่าหมู่ ว่าเบียดกันโดยคุณ

            ถามว่า พระสงฆ์มีคุณอย่างไร ? แก้ว่า คุณแห่งพระสงฆ์มีมาก แต่ตัดลงให้สั้น คุณที่เป็นประธานแห่งคุณทั้งปวงก็อย่างเดียวคือ สุปฏิบัติ ความปฏิบัติดี

            ลำดับนี้จะแปลและอธิบายในบาลีว่า สุปฏิปนฺโน เป็นต้น เพื่อ จะให้สาธุชนรู้คุณแห่งพระสงฆ์อันเป็นอนุสสติฏฐาน ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสงฆ์เป็นสาวกแห่งพระผู้มีพระภาค หรือแปลว่าหมู่ สาวกแห่งพระผู้มีพระภาค สุปฏิปนฺโน เป็นคนปฏิบัติแล้วดี คือว่า เป็นผู้ดำเนินไปสู่ สัมมาปฏิปทา อนิวัตติปฏิปทา อนุโลมปฏิปทา อัปปัจจนิกปฏิปทา และธัมมานุธัมมปฏิปทา ฯ มรรคประดับด้วย องค์ ๘ ที่สงเคราะห์ด้วยขันธ์ ๓ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นี้แลชื่อว่า สัมมาปฏิปทา เพราะเป็นความปฏิบัติชอบแท้ไม่วิปลาส ชื่อว่า อนิวัตติปฏิปทา ข้อปฏิบัติไม่กลับ เพราะผู้ใดดำเนินถึงแล้ว ผู้นั้นก็เป็นพระอริยเจ้า ไม่กลับมาเป็นปุถุชนอีก ชื่อว่า อนุโลม ปฏิปทา ข้อปฏิบัติเป็นอนุโลมแก่พระนิพพาน ชื่อว่า อัปปัจจ นิกปฏิปทา ข้อปฏิบัติไม่เป็นข้าศึกแก่พระนิพพาน และคนผู้ปฏิบัติ ชื่อว่า ธัมมานุธัมมปฏิปทา ข้อปฏิบัติเป็นธรรมตามแก่ธรรม คือ ว่าสมควรแก่พระนิพพาน พระสงฆ์เป็นผู้ดำเนินตาม สัมมาปฏิปทา อันประกอบด้วยคุณดังกล่าวมานี้แล จึ่งชื่อว่า สุปฏิปนฺโน เป็นผู้ ปฏิบัติแล้วดี ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสงฆ์ผู้สาวกแห่งพระผู้มี พระภาค อุชุปฏิปนฺโน เป็นผู้ดำเนินไปสู่ข้อปฏิบัติอันตรง สัมมา ปฏิปทา

            ดังกล่าวแล้วนั้นแล ชื่อว่า อุชุปฏิปทา เป็นข้อปฏิบัติอันตรง ไม่คด ไม่โกง ไม่งอ เป็นทางตรงต่อพระนิพพาน พระสงฆ์เดินตาม สัมมาปฏิปทานั้น จึ่งชื่อว่า อุชุปฏิปนฺโน เป็นผู้ดำเนินไปสู่ข้อปฏิบัติ อันตรง ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสงฆ์สาวกแห่งพระผู้มีพระภาค ?ายปฏิปนฺโน เป็นผู้ดำเนินไปสู่ข้อปฏิบัติเป็นเครื่องรู้ สัมมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติชอบนั้นแล ชื่อว่า ญายปฏิปทา เพราะเป็นข้อปฏิบัติ สำหรับรู้แจ้งแทงตลอดซึ่งพระนิพพาน เป็นของพระอริยเจ้า พระสงฆ์ดำเนินตามข้อปฏิบัตินั้น จึ่งชื่อว่า ?ายปฏิปนฺโน เป็นผู้ ดำเนินไปแล้วสู่ข้อปฏิบัติเครื่องรู้ ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสงฆ์ สาวกแห่งพระผู้มีพระภาค สามีจิปฏิปนฺโน เป็นผู้ดำเนินไปสู่ข้อ ปฏิบัติอันชอบแท้ สัมมปฏิปทา ข้อปฏิบัติชอบนั้นแล ชื่อว่า สามีจิปฏิปทา เพราะเป็นข้อปฏิบัติอันชอบแท้ สมควรแก่พระนิพพาน พระสงฆ์ผู้ดำเนินตามข้อปฏิบัตินั้น จึ่งชื่อว่า สามีจิปฏิปนฺโน เป็นผู้ดำเนินไปสู่ข้อปฏิบัติอันชอบแท้ ก็แลพระอริยเจ้าจำพวกใด ตั้งอยู่ในมรรค พระอริยเจ้าจำพวกนั้น ให้บัณฑิตพึงรู้ว่าเป็น สุปฏิปนฺโน ผู้ปฏิบัติดี เพราะเป็นผู้ถึงพร้อมอยู่ด้วยมาปฏิปทา คือมรรค พระอริยเจ้าทั้งหลายใดที่ตั้งอยู่ในผลพระอริยเจ้าทั้งหลาย นั้น ให้บัณฑิตพึงรู้ว่าเป็น สุปฏิปนฺโน ผู้ปฏิปัติดี อาศัยข้อปฏิบัติ ที่เป็นอดีตล่วงไปแล้ว เพราะธรรมที่ท่านจะพึงถึงพึงได้ด้วยสัมมา ปฏิปทานั้น ท่านก็ถึงแล้วได้แล้ว

            อนึ่ง พระสงฆ์ชื่อว่า สุปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติดี เพราะเป็นผู้ ปฏิบัติตามโอวาทที่พระผู้มีพระภาคพร่ำสอนในธรรมวินัยอันพระองค์ กล่าวแล้วดี อนึ่งชื่อว่า สุปฏิปนฺโน เพราะเป็นผู้ดำเนินไปยัง อปัณณกปฏิปทา ดำเนินโดยข้อปฏิบัติอันไม่ผิด ชื่อว่า อุชุปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติตรง เพราะเป็นผู้ไม่เข้าไปใกล้ซึ่งส่วนอันลามก ๒ คือ กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติอันผิด ท่านดำเนินตามมัชฌิมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติเป็นท่ามกลาง อนึ่งชื่อว่า อุชุปฏิปนฺโน เพราะเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อจะมละเสียซึ่งโทษคือความ โกงกาย โกงวาจา โกงใจ พระสงฆ์ชื่อว่า ?ายปฏิปนฺโน เป็นผู้ ปฏิบัติเพื่อธรรมอันบุคคลพึงรู้ เพราะเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ พระนิพพาน เป็นธรรมอันบุคคลพึงรู้ ชื่อว่า สามีจิปฏิปนฺโน เป็นผู้ ปฏิบัติชอบแท้ เพราะว่าบุคคลทั้งหลายปฏิบัติอย่างไร จึ่งเป็นผู้ ควรสามีจิกรรมมีอภิวาทไหว้เป็นต้น ท่านปฏิบัติอย่างนั้น

            อนึ่ง พระสงฆ์ชื่อว่า สุปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติดีนั้น คือท่าน กระทำศีลประการหนึ่งว่ารั้วและกำแพงข้าศึกคือทุจริตสังกิเลส ซึ่ง เป็นอกุศลอันหยาบ อันเกิดในกายทวาร วจีทวาร และท่านทำสมาธิ เป็นดุจแผ่นศิลาอันใหญ่ปิดไว้ซึ่งข้าศึกในภายใน คือปริยุฏฐาน สังกิเลส อันเป็นอกุศลเกิดขึ้นครอบงำน้ำจิต ท่านทำปัญญาเป็น ดวงประทีปส่องให้สว่างในกองสังขารทั้งปวงโดยส่วน ๆ มีขันธ์เป็น ต้น เห็นประจักษ์แจ้งว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์ใช่ตนด้วยเหตุนี้ ๆ แล้ว และกระทำปัญญาเป็นดุจศสัตราอันคมกล้า พิฆาตฆ่าอนุสัยสังกิเลส ซึ่งเป็นส่วนอันละเอียด อย่างต่ำเป็นพระโสดาบันบุคคล สิ้นสักกาย ทิฐิ ด้วยเห็นชัดว่า ปัญจขันธ์ใช่ตัวใช่ตน สิ้นวิจิกิจฉา ความ เคลือบแคลงในกาลทั้ง ๓ ในรัตนะทั้ง ๒ ด้วยเห็นคุณแห่งพระพุทธเจ้า ชัด และโลกุตรธรรมก็บังเกิดปรากฏในสันดาน จนท่านก็เป็น พระอริยสงฆ์ ซึ่งเป็นสัมมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติชอบ ไม่บริสุทธิ์ด้วย ศีลวัตร ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติอย่างอื่น พระสงฆ์ชื่อว่า อุชุปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติตรงนั้น คือท่านปฏิบัติตรงพร้อมทั้งกาย ทั้งวาจา ทั้งใจ เพราะมละได้ซึ่งความโกง ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ชื่อว่า ?ายปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อจะออก คือท่านไม่ปฏิบัติเพื่อลาภ และยศ ความสรรเสริญในปัจจุบัน และสวรรค์สุคติภพที่เสวยสุขนั้น ๆ ในเบื้องหน้า ท่านปฏิบัติเพื่อจะออกจากภพทั้งปวง จากทุกข์ทั้งปวง ฝ่ายเดียว

            พระสงฆ์ชื่อว่า สามีจิปฏิปนฺโน ท่านเป็นผู้ปฏิบัติชอบแท้ คือว่าท่านปฏิบัติดัดกายวาจาใจด้วยไตรสิกขา ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่ง เป็นสัมมาปฏิปทา ความปฏิบัติชอบแท้ควรแท้แก่โลกุตรธรรม ยทิท? อะไรนี้ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ คู่แห่งบุรุษทั้งหลาย ๔ อฏฺ? ปุริสปุคฺ ึคลา บุคคลผู้บุรุษทั้งหลาย ๘ คือว่าจัดเป็นคู่ ๔ คู่ เรียงเป็นตัว บุคคล ๘ เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ นั่นแลชื่อว่าพระสงฆ์ผู้เป็น สาวกแห่งพระผู้มีพระภาค อาหุเนยฺโย ท่านเป็นผู้ควรซึ่งอาหุนะของ คำนับ อาหุนะนั้นแปลว่า ของอันบุคคลจะพึงนำมาแม้แต่ที่ไกลแล้ว และถวายในบุคคลทั้งหลายผู้มีศีล คือปัจจัยทั้ง ๔ นั้นเองใช่อื่น พระสงฆ์เป็นผู้ควรจะรับซึ่งอาหุนะของคำนับนั้น เพราะท่านกระทำ กานคำนับแห่งทายกนั้นให้มีผลอันใหญ่ยิ่งได้ด้วยคุณแห่งตน

            เพราะ เหตุนั้น ท่านจึ่งชื่อว่า อาหุเนยฺโย ผู้ควรซึ่งของคำนับ ปาหุเนยฺโย ท่านเป็นผู้ควรซึ่งปาหุนะของต้อนรับ ก็แลอาคันตุกทานอันบุคคล แต่งไว้พร้อมด้วยเครื่องสักการ เพื่อประโยชน์จะต้อนรับญาติและมิตร น่ารักเจริญใจซึ่งมาแต่ทิศใหญ่และทิศน้อย ชื่อว่าปาหุนะของต้อนรับ อาอันตุกทานของต้อนรับ แม้อันนั้นควรจะยกจะเว้นเสียซึ่งญาติ และมิตรและคนมาแขกเหล่านั้น แล้วแลถวายแก่พระสงฆ์อย่างเดียว พระสงฆ์จำพวกเดียวควรจะรับซึ่งของต้อนรับนั้น เพราะคนผู้มา แขก อื่น ซึ่งจะเสมอเหมือนด้วยพระสงฆ์นั้นไม่มี ด้วยว่าพระสงฆ์เป็นคน มา แขก ย่อมปรากฏมีในกาลเป็นพุทธันดรหนึ่ง ไม่มีในกาลทั้งปวง และท่านย่อมประกอบด้วยธรรมอันกระทำซึ่งความเป็นผู้น่ารักน่าเจริญ ใจ มีศีลคุณเป็นต้นอันไม่เกลื่นกล่นขาดลง

            เพราะดังนี้ ของต้อนรับ นั่นจึ่งควรจะถวายแก่พระสงฆ์นั้นอย่างเดียว พระสงฆ์จำพวกเดียว ควรจะรับซึ่งของต้อนรับนั้น เพราะเหตุดังนี้ พระสงฆ์จึ่งชื่อว่า ปาหุเนยฺโย เป็นผู้ควรซึ่งของต้อนรับ ทกฺขิเณยฺโย ท่านเป็นผู้ควร ซึ่งทักขิณานั้น อนึ่ง ท่านย่อมเกื้อกูลแก่ทักขิณาทานนั้น คือว่าท่าน ย่อมชำระทักขิณาทานของทายกให้บริสุทธิ์ได้ ด้วยกระทำทักขิณา ทานนั้นให้มีผลอันใหญ่ยิ่ง เพราะเหตุดังนี้ จึ่งชื่อว่า ทกฺขิเณยฺโย เป็นผู้ควรซึ่งทักขิณา อญฺชลิกรณีโย ท่านเป็นผู้ควรซึ่งอัญชลิกรรม กระพุ่มมือที่โลกทั้งปวงตั้งลงซึ่งหัตถ์ทั้งสองเหนือเศียรกระทำ เพราะ แม้อย่างต่ำ สัตวโลกแลดูพระสงฆ์ด้วยจักษุประกอบด้วยเมตตาเท่านั้น จักษุนั้นย่อมจะปราศจากโทษมีต้อเป็นต้น ในอเนกชาติ อนุตฺตร? ปุญฺ?กฺเขตฺต? โลกสฺส พระสงฆ์เป็นนาเป็นไร่ที่งอกบุญที่หว่านพืช คือกุศลแห่งสัตวโลกทั้งปวง ไม่มีเขตอื่นยิ่งกว่าหรือเสมอเหมือน เหมือนอย่างว่า ที่งอกที่หว่านพืชข้าวสาลีหรือข้าวเหนียวแห่งกษัตริย์ หรืออมาตย์ โลกย่อมเรียกว่านาข้าวสาลี นาข้าวเหนียวแห่งกษัตริย์ และอมาตย์

            ฉันใดก็ดี พระสงฆ์เป็นที่งอกที่เจริญบุญแห่งโลกทั้งปวง จึ่งชื่อว่านาบุญแห่งโลก ไม่มิใครยิ่งกว่าฉันนั้น เพราะบุญกุศลซึ่ง เป็นไปเพื่อประโยชน์และสุขมีประการต่าง ๆ แห่งสัตวโลก ย่อมงอก งามเจริญก็เพราะอาศัยพระสงฆ์ ซึ่งว่าพระสงฆ์เป็นนาบุญแห่งโลก ดังนาอันบริสุทธิ์ปราศจากโทษ คือหญ้าและแลงกรวดทราย ซึ่งเป็น ของประทุษร้ายแก่ข้าวกล้า ก็แลคุณแห่งพระสงฆ์ซึ่งได้ในบทบาลี เหล่านี้ ว่าโดยย่อตัดสั้นก็ ๒ เท่านั้น คือ อัตตหิตะ คุณเกื้อกูลแก่ ตนเองอย่าง ๑ ปรหิตะ คุณเกื้อกูลแก่ผู้อื่นอย่าง ๑ คุณเกื้อกูลแก่ แก่ตนเองได้ในบทว่า สุปฏิปนฺโน อุชุปฏิปนฺโน ?ายปฏิปนฺโน สามีจิปฏิปนฺโน ดังนี้ คุณเกื้อกูลแก่ผู้อื่นนั้นได้ในบทอันเศษ ตั้งต้น แต่ อาหุเนยฺโย ไป ก็แลผู้รำพึงถึงคุณแห่งพระธรรม พระสงฆ์ จะ รำพึงตามบททุก ๆ บทก็ได้ หรือจะรำพึงตั้งแต่บทใดบทหนึ่งบทเดียว สองบทก็ได้ แต่ในรู้อรรถาธิบายให้ชัด อย่าถือเอาแต่พยัญชนะมา บ่นด้วยวาจา ทำดังนี้ไม่สำเร็จประโยชน์อันใด.

สังฆรตน กถา จบ

         

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ