บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



บุพพสิกขาวรรณณา

สารบัญ

คำนำ

รตนัตตยบัพพะ

อาปัตตินามาทิบัพพะ

ปฏิปัตติมุขบัพพพะ

กาลิกบัพพะ

พินทวาธิฏฐานาทิบัพพะ

วิชหนาทิบัพพะ

อาปัตติเทสนาทิบัพพะ

มาตรากถา

 

ธรรมคุณกถา

            ถามว่า พระธรรมมีคุณอย่างไร ? แก้ว่า คุณแห่งพระธรรม มีมากนัก พ้นวิสัยปุถุชนจะพรรณานาได้ ตัดสั้น ความที่เป็นของดีจริง ดังกล่าวมาแล้วนั่นแล เป็นคุณใหญ่ในพระธรรม อนึ่ง กล่าวคุณตาม ประเภทแห่งธรรมทั้งสามปริยัติสัทธรรมมีคุณอย่างยิ่ง คือประกาศ ส่องสว่างแก่สัตว์ ให้สัตว์รู้จักปฏิปัตติสัทธรรม ส่วนปฏิปัตติ สัทธรรมมีคุณอย่างยิ่ง คือให้สัตว์ดำเนินถึงอธิคมสัทธรรม ส่วน อธิคมสัทธรรมมีคุณอย่างยิ่ง คือฆ่ากิเลสนั้น ๆ ให้สัตว์ให้ความสุข ถึงความสิ้นทุกข์ อนึ่งสวากขาตตาทิคุณ เป็นคุณแห่งพระธรรม ควรเป็นอนุสสติฐาน ที่ตั้งแห่งความระลึก เพราะเหตุนั้น บัดนี้จะแปล และอธิบายในบททั้ง ๖ มี สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม เป็นต้น

            ตามลำดับในบุพพสิกขา คำในพระอรรถกถาว่าไว้ดังนี้ว่า "แม้ ปริยัติสัทธรรมย่อมถึงความสงเคราะห์ในบทว่า สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม ด้วย โลกุตรธรรมอย่างเดียว ย่อมถึงความสงเคราะห์ ในบททั้ง ๕ นอกนั้นตั้งแต่ สนฺทิฏฺ?ิโก จนถึง ปจฺจตฺต? เวทิตพฺโพ วิญฺ?ูหิ นี้ ประกาศคุณแห่งปริยัติสัทธรรม และอธิคมสัทธรรม สองประการเท่านั้น ไม่ประสงค์ปฏิปัตติสัทธรรมด้วย แม้ถึงกระนั้น อรรถกถาประสงค์นั้นว่า ธมฺโม อันว่าปริยัติสัทธรรม สฺวากฺขาโต ภควตา อันพระผู้มีพระภาคกล่าวแล้วดี เพราะเป็นของไพเราะ งาม ในเบื้องต้นและท่ามกลางและที่สุด อย่างหนึ่ง เพราะเป็นของประกาศ ซึ่งพรหมจรรย์ มีอรรถ มีพยัญชนะเต็มรอบสิ้นเชิงหมดจดริบสิ้นเชิง จึงชื่อว่าอันพระผู้มีพระภาคกล่าวแล้วดี แท้จริง พระปริยัติสัทธรรม แม้เป็นคาถา ๔ บาท ก็ชื่อว่าเพราะในเบื้องต้นด้วยบาทที่แรก ชื่อว่า เพราะในท่ามกลางด้วยบาทที่ ๒-๓ ชื่อว่าเพราะในที่สุดด้วยบาทที่ ๔ ด้วยว่าในบาทแห่งคาถาทั้ง ๔ นั้น บาทใดบาทหนึ่งจะได้แสดง เนื้อความอันวิปริต และแสดงเนื้อความไม่เป็นประโยชน์หาไม่ อนึ่ง ปริยัตสัทธรรมชื่อว่าไพเราะในเบื้องต้น ด้วยแสดงศีลเป็นคุณเบื้องต้น แห่งพรหมจรรย์ ชื่อว่าไพเราะในท่ามกลาง ด้วยแสดงสมาธิเป็น คุณท่ามกลางแห่งพรหมจรรย์

            อนึ่งแม้ปฏิปัตติสัทธรรม ก็ชื่อว่า งามดีในเบื้องต้นด้วยศีล เหตุศีลเป็นของห้ามกิเลสอย่างกลาง คือ ปริยุฏฐานกิเลสลุกขึ้นตั้งอยู่รอบจิต ชื่อว่างามดีในที่สุดด้วยปัญญา เหตุปัญญาเป็นของห้ามกิเลสอย่างละเอียด คืออนุสัยกิเลสดุจหนึ่ง ตามนินอยู่ในสันดาน อนึ่ง ปริยัติสัทธรรม ชื่อว่าเพราะในเบื้องต้น ด้วยการฟัง ด้วยว่าในขณะเมื่อฟังโดยเคาระ ย่อมได้ความสังเวชและ ความเลื่อมใสในที่ควรจะสังเวชและเลื่อมใส แล้วข่มเสียได้ซึ่งนิวรณ์ ทั้ง ๕ ชื่อว่าเพราะในท่ามกลางด้วยปฏิบัติ เหตุบุคคลผู้ปฏิบัติ เมื่อ ปฏิบัติได้ความสังเวช ได้ความเลื่อมใส ย่อมข่มกิเลสนั้น ๆ ได้เห็นคุณ แห่งธรรม ชื่อว่าเพราะในที่สุดด้วยผลแห่งปฏิบัติ คือนำมาซึ่งความ เป็นคนชื่ว่าตาทิ คือไม่โสมนัส โทมนัสในอารมณ์นั้น ๆ เป็นคุณ อย่างยิ่ง พระธรรมชื่อว่าอันพระผู้มีพระภาคกล่าวแล้วดี เพราะเป็น ของไพเราะในเบื้องต้นและท่ามกลางและที่สุดนั้นดังนี้

            อนึ่ง ข้อซึ่งว่าปริยัติสัทธรรม ชื่อว่าอันพระผู้มีพระภาคกล่าว แล้วดี เพราะเป็นของประกาศซึ่งพรหมจรรย์ มีอรรถมีพยัญชนะ เต็มรอบสิ้นเชิง หมดจดรอบสิ้นเชิงนั้น อธิบายว่า ศาสนะ คำสอน อย่างหนึ่ง มรรคอย่างหนึ่ง ชื่อว่าพรหมจรรย์ในที่นี้ ศาสน พรหมจรรย์ มรรคพรหมจรรย์อันใดนั้น ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง โดยนัยต่าง ๆ พรหมจรรย์สองนั้น ชื่อว่า สาตฺถ? มีอรรถ เพราะถึง พร้อมด้วยเนื้อความ อันบุคคลผู้ปฏิบัติจะพึงรู้พึงเห็นพึงได้ด้วยปัญญา ชื่อว่า สพฺย?ฺชน? มีพยัญชนะ เพราะถึงพร้อมด้วยพยัญชนะ คือ อักขระและบทประพันธ์ ซึ่งเป็นบทบาลีประกาศเนื้อความนั้น ก็ แลพรหมจรรย์ชื่อว่า เกวลปริปุณฺณ? เต็มรอบสิ้นเชิงนั้น เพราะ ไม่มีสิ่งที่จะพึงเติมเข้าอีก ดังสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น ก็คงเป็น ๔ ไม่มีนักปราชญ์จำพวกใดจะกล่าวโทษว่าบกพร่องแล้วและเพิ่มให้เป็น ๕ ขึ้นได้ ก็แลพรหมจรรย์ ชื่อว่า ปริสุทฺธ? เป็นของหมดจดรอบ สิ้นเชิงนั้น ด้วยเป็นของไม่มีโทษที่จะพึงตัดออกเสีย

            ดังอริยมรรค ประดับด้วยองค์ ๘ ก็คง ๘ อยู่อย่างนั้น ในองค์มรรคทั้ง ๘ นั้น องค์ มรรคอันใดอันหนึ่ง ซึ่งนักปราชญ์จะคัดค้านว่าเกินแล้วแลเอาออก เสีย ให้คงเป็นแต่ ๗ หรือ ๖ ก็ดี หรือนักปราชญ์จะอ้างว่าองค์มรรค อันนี้มีโทษดังนี้ ๆ ไม่ควรเป็นองค์อวัยวะแห่งมรรค แล้วแลเปลี่ยน เอาธรรมอื่นเป็นองค์อวัยวะแทนก็ดี ดังนี้ไม่ได้ เพราะเหตุนั้น พรหมจรรย์จึ่งชื่อว่าเต็มรอบสิ้นเชิง หมดจดรอบสิ้นเชิง ข้อซึ่งว่า ปริยัติสัทธรรม ชื่อว่าอันพระผู้มีพระภาคกล่าวแล้วดี เพราะ ประกาศซึ่งพรหมจรรย์ มีอรรถมีพยัญชนะเต็มรอบสิ้นเชิง หมดจด รอบสิ้นเชิงดังกล่าวมานี้ อนึ่ง ปริยัติสัทธรรมนั้น ชื่อว่าอันพระผู้มี พระภาคกล่าวแล้วดี เพราะไม่มีอรรถวิปลาสดังธรรมแห่งเดียรถีย์ แท้จริง อรรถแห่งธรรมของเดียรถีย์ซึ่งเป็นครูอื่นย่อมถึงซึ่งวิปลาส คือธรรมที่เดียรถีย์กล่าวว่าเป็นอันตรายิกธรรม ของทำอันตรายแก่ สุคติเป็นต้น จะได้ทำอันตรายดังเดียรถีย์กล่าวนั้นหาไม่ และธรรม ที่เดียรถีย์กล่าวว่าเป็นนิยยานิกธรรม ด

            ังอัตตกิลมถานุโยคปฏิปทา ปฏิบัติทรมานตนให้ลำบากย่างกายให้กิเลสแห้ง นี้แล นำสัตว์ออกจาก สังสารทุกข์ได้ ข้อนั้นจะเป็นนิยยานิกะ นำสัตว์ออกจากสังสารทุกข์ ได้จริงนั้นหามิได้ เพราะเหตุนั้น ธรรมแห่งเดียรถีย์จึ่งชื่อว่า ทฺรากฺขาโต อันเดียรถีย์กล่าวแล้วชั่ว กล่าวแล้วไม่ดี อรรถแห่งธรรม ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง จะได้ถึงความวิปลาสหามิได้ คือสิ่งที่ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นอันตรายิกธรรมของทำอันตรายแก่ สวรรค์เป็นต้น ดังอันตรายิกธรรม ๕ มีกัมมันตรายิกะเป็นประธาน ย่อมเป็นของทำอันตรายแด่สวรรค์และมรรคผลแท้ ก็แลสิ่งที่พระผู้มี พระภาคตรัสว่าเป็นนิยยานิกธรรม นำสัตว์ออกจากสังสารทุกข์ ดัง อัฏฐังคิกมรรค ก็ย่อมนำสัตว์ออกจากสังสารทุกข์ได้แท้ เพราะเหตุนั้น ธรรมแห่งพระผู้มีพระภาคจึ่งชื่อว่า สฺวากฺขาโต อันพระผู้มีพระภาค กล่าวแล้วดี

            อนึ่ง โลกุตรธรรม ก็ชื่อว่า สฺวากฺขาโต ภควตา อันพระผู้ มีพระภาคกล่าวแล้วดี เพราะปฏิปทาข้อปฏิบัติก็สมควรแก่พระ นิพพาน พระนิพพานก็สมควรแก่ข้อปฏิบัติ ด้วยว่าพระนิพพาน ซึ่งเป็นสถานะพึงถึงด้วยข้อปฏิบัติเล่า ก็เป็นของบริสุทธิ์ไม่มีกิเลส คือ ราคะ โทสะ โมหะ ปฏิปทาซึ่งเป็นหนทางดำเนินสู่พระนิพพาน คือ ไตรสิกขาเล่า ส่วน ศีล ก็ห้ามกิเลส คือ ราคะ โทสะ โมหะ ที่ หยาบ ซึ่งเป็น วิติกกมะ ความล่วงสิกขาบทบัญญัติทางกายทางวาจา ส่วนสมาธิเล่า ก็ห้ามกิเลส คือ ราคะ โทสะ โมหะ อย่างกลาง ซึ่ง ชื่อว่า ปริยุฏฐาน ลุกขึ้นตั้งอยู่รอบจิต ส่วนปัญญาเล่า ก็ห้ามกิเลส คือ ราคะ โทสะ โมหะ อย่างละเอียด ซึ่งชื่อว่า อนุสัย ดูประหนึ่งว่า ตามนอนอยู่ในสันดาน นี้แลข้อปฏิบัติกับพระนิพพาน สมควรกลม เกลียวไหลลงในที่อันเดียวไม่ขัดขืนแปลกกันดังนี้ ดังน้ำในแม่น้ำ ชื่อว่าคงคาไหลลงมาในที่อันเดียวกับด้วยน้ำในแม่น้ำยมุมานที เสมอ โดยสีและรสเป็นอันเดียวกันฉะนั้น

            เพราะเหตุนี้ธรรมจึ่งชื่อว่า อัน พระผู้มีพระภาคกล่าวแล้วดี บทว่า ธมฺโม เป็นประธานแห่งบททั้ง ปวง ตั้งแต่ สนฺทิฏฺ?ิโก ไป สนฺทิฏฺ?ิโก แปลว่า เป็นธรรมอันบุคคล จะพึงเห็นเอง อธิยายว่า โลกุตรธรรม ๙ นั้น อันพระอริยเจ้า จำพวกใด ๆ ได้แล้วถึงแล้ว พระอริยเจ้าจำพวกนั้น ๆ จะพึงเห็นเอง ด้วยปัจจเวกขณญาณ ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นบอก มละเสียซึ่งความเป็น ของจะพึงถึงด้วยความเชื่อผู้อื่น เพราะเหตุนั้น อธิคมสัทธรรมทั้ง ปวงจึ่งชื่อว่า สนฺทิฏฺ?ิโก เป็นของอันบุคคลจะพึงเห็นเอง อกาลิโก แปลว่า ธรรมเป็นของไม่มีกาลไม่มีเวลา อธิบายว่า พระธรรม คือ อริยมรรค เกิดขึ้นแล้วในสันดานผู้ใด จะหยุดอยู่สิ้นกาล ๕, ๗ วัน หรือวัน ๑ กึ่งวัน แล้วจึ่งให้ผลหาไม่ ย่อมให้ผลในลำดับแห่งตน เป็นไปนั่นเทียว คือว่า ชวนวารแห่งจิตที่สัมปยุตด้วยมรรคดับแล้ว ชวนวารแห่งจิตซึ่งสัมปยุตด้วยผลก็เกิดขึ้นในลำดับ ไม่มีชวนวาร แห่งจิตอื่นคั่นในระหว่าง เพราะเหตุนั้น มรรคธรรมจึ่งชื่อว่า อกา ลิโก เป็นของไม่มีกาลไม่มีเวลา เอหิปสฺสิโก แปลว่า พระธรรม เป็นของควร เอหิปัสสวิธี คือจะร้องเรียกผู้อื่นว่าท่านจงมาดูได้ อธิบายว่า อธิคมสัทธรรมทั้งปวงเป็นของมีแท้ และเป็นของบริสุทธิ์ ใสสะอาดแท้ จึ่งควรจะร้องเรียกให้ท่านอื่นมาดูได้ เหมืนอย่างบุคคล มีกำมือเปล่า ไม่อาจร้องเรียกผู้อื่นว่าเงินทองของเรามีอยู่ท่านจงมาดู เถิดดังนี้ได้ เพราะในกำมือไม่มีสิ่งใด หรือในกำมือมีของอยู่ แต่ เป็นมูตรหรือคูถ ก็ไม่อาจร้องเรียกว่าท่านจงมาดูได้ เพื่อจะให้จิต ผู้อื่นรื่นเริงด้วยประกาศของเจริญใจ ที่แท้มูตรและคูถนั้น เป็นของ จำจะต้องปกปิดเสียด้วยหญ้าและใบไม้ เพราะเป็นของไม่บริสุทธิ์ สะอาด ส่วนโลกุตรธรรม ๙ นี้ เป็นของมีแท้โดยสภาพความเป็น ของตน และเป็นของบริสุทธิ์ในสะอาด ดังจันทรมณฑลอันไพบูลย์ ในอากาศปราศจากเมฆวลาหก

            อนึ่ง บริสุทธิ์ดังแก้วมณีโดยชาติอัน บุคคลวางไว้ในผ้ากัมพล เพราะเหตุนั้น อธิคมสัทธรรมทั้งปวงจึ่ง ชื่อว่า เอหิปสฺสิโก ควรจะร้องเรียกว่าท่านจงมาดูได้ โอปนยิโก แปลว่า พระธรรมเป็นของอันบุคคลจะพึงน้อมเข้ามาได้ อธิบายว่า ธรรมนี้ ควรพระอริยเจ้าจะน้อมเข้ามาใส่ในของตน ๆ ได้ ด้วยอำนาจ แห่งภาวนา คือเร่งเฉพาะรีบเพียร ดังรีบดับผ้าและเศียรอันเพลิง ไหม้อยู่ แล้วแลทำมรรคผลให้มีขึ้นเกิดขึ้น เพราะเหตุนั้น ธรรม จึ่งชื่อว่า โอปนยิโก อันบุคคลจะพึงน้อมเข้ามาได้ อธิบายดังนี้ได้ใน สังขตโลกุตรธรรม คือ มรรคผล ส่วนอสังขตโลกุตรธรรม คือ พระนิพพาน ควรพระอริยเจ้าจะน้อมเข้ามาด้วยจิตของตนได้ คือว่า พระอริยเจ้าจะพึงทำให้แจ้งประจักษ์ เหนี่ยวเอาเป็นอารมณ์ด้วย อริยมรรคจิต เพราะเหตุนั้น แม้พระนิพพานก็ชื่อว่า โอปนยิโก อัน บุคคลจะพึงน้อมเข้ามาได้เหมือนกัน ปจฺจตฺต? เวทิตพฺโพ วิญฺ?ฺหิ แปลว่า พระธรรมเป็นของอันวิญญูผู้รู้วิเศษทั้งหลาย จะพึงรู้แจ้ง เฉพาะตัว อธิบายว่า อธิคมสัทธรรม ทั้งปวงนี้ อันนักปราชญ์ คือ พระอริยเจ้าที่เป็น อุคฆติตัญญู วิปัจจิตัญญู หรือเนยโย ๓ จำพวกนี้จะพึงเห็นแจ้งในตน ๆ ว่า มรรคอันเราให้มีให้เป็นแล้ว ผลเราถึงทับได้แล้ว นิพพานเป็นที่ดับทุกข์ เรากระทำให้แจ้งแล้วดังนี้ จริงอยู่ มรรคที่อุปัชฌายะให้มีให้เป็นขึ้นแล้ว จะพลอยมละกิเลสของ สัทธิงวิหาริกผู้ศิษย์ด้วยก็หาไม่ สัทธิงวิหาริกจะพลอยอยู่ผาสุกสำราญ ด้วยผลสมาบัติแห่งอุปัชฌายะนั้นด้วยก็หาไม่ และจะพลอยกระทำให้ แจ้งซึ่งพระนิพพานที่อุปัชฌายะนั้นกระทำให้แจ้งแล้วด้วยก็หาไม่ เพราะเหตุนั้น โลกุตรธรรมนั้นจึ่งเป็นของอันผู้อื่นไม่พึงพลอยเห็น ด้วยได้ ดังอาภรณ์เครื่องประดับเกล้าแห่งผู้อื่น เป็นของเฉพาะ วิญญูบุคคลผู้ได้ จะพึงเห็นพึงเสวยในจิตของตนอย่างเดียว ด้วยว่า โลกุตรธรรมไม่เป็นวิสัยแห่งคนพาล ด้วยเหตุดังนี้แล โลกุตรธรรม จึ่งเป็น ปจฺจตฺต? เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ อันผู้รู้วิเศษทั้งหลายจะพึงรู้แจ้ง เฉพาะตัว

            อนึ่ง ธรรมชื่อว่า สฺวากฺขาโต อันพระผู้มีพระภาคกล่าวแล้วดี เพราะเป็นของอันบุคคลจะพึงเห็นเอง ชื่อว่า สนฺทิฏฺ?ิโก เป็นของ อันบุคคลจะพึงเห็นเอง เพราะเป็นของไม่มีกาลไม่มีเวลา ชื่อว่า อกาลิโก ไม่มีกาลไม่มีเวลา เพราะเป็นของจะร้องเรียกผู้อื่นให้มา ดูได้ ก็แลธรรมอันใดชื่อว่า เอหิปสฺสิโก เป็นของควรจะร้องเรียก ผู้อื่นให้มาดูได้ ธรรมอันนั้นก็ย่อมเป็น โอปนยิโก อันบุคคลจะพึง น้อมเข้ามาใส่ใจได้ และจะพึงน้อมเข้ามาด้วยใจได้ เพราะเป็นของ อันผู้รู้วิเศษทั้งหลายจะพึงรู้แจ้งเฉพาะตัว กล่าวดังนี้แสดงว่าบทหลัง เป็นเหตุแห่งบทหน้าต่อ ๆ กัน ก็แลคุณแห่งพระธรรมซึ่งพรรณนา เนื้อความตั้งแต่บท สนฺทิฏฺ?ิโก มานี้ ล้วนเป็นคุณแห่ง โลกุตรธรรม อันเป็นของสูง เป็นวิสัยแห่งพระอริยเจ้าจำพวกเดียว ไม่เป็นวิสัย แห่งปุถุชน ครั้นแสดงแก่ปุถุชน ผู้ปรารถนาจะเห็นคุณแห่งพระธรรมตามบท บาลีนี้ ก็พึงยกเอาคุณแห่งปฏิปัตติสัทธรรมส่วนที่เป็นโลกิยะ ซึ่งเป็น วิสัยแห่งตนเข้าเทียบในบทว่า สนฺทิฏฺ?ิโก เป็นต้นแล้ว และรำพึง เถิดก็จะเห็น เมื่อเห็นคุณแห่งปฏิปัตติสัทธรรมว่าเป็น สนฺทิฏฺ?ิโก แล้ว ก็จะอนุมานรู้ตามใน โลกุตรธรรม ว่าเป็น สนฺทิฏฺ?ิโก ได้บ้าง โดยปริยาย เหมือนเห็นปุถุชนเจริญกายคตาสติ รำพึงว่ากายนี้เต็ม ด้วยวัตถุไม่สะอาดเครื่องโสโครกต่าง ๆ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน เป็นต้น จนถึงมูตรเป็นที่สุด ส่วนทั้ง ๓๑ นี้แต่ละส่วน ๆ ล้วนเป็น เครื่องโสโครก แล้วแลได้สมาธิความหยุดใจอย่างต่ำเป็นขณิกะ หรือ อุปจาระ ในส่วนใดส่วนหนึ่งก็ดี หรือปัญญาที่เห็นโทษแห่งกายว่าไม่ดี ไม่งามก็ดี ส่วนสมาธิก็เป็นธรรมอันใสสะอาด เพราะข่มกามฉันทะ ซึ่งเป็นราคะ ความกำหนัดยินดีในกายตนและกายผู้อื่น สมาธิอันใส สะอาดเกิดขึ้นในจิตเห็นประจักษ์แก่ตนเอง

            ส่วนปัญญาเล่าก็กำจัดมืด คือโมหะที่เห็นว่ากายงาม เป็น อศุภานุปัสสนา อันใสสะอาดเกิดขึ้น กับจิต เห็นประจักษ์แก่ตน สมาธิและปัญญานี้แลชื่อว่าเป็น โลกิย ปฏิปัตติสัทธรรม ๆ นี้ก็เป็น สนฺทิฏฺ?ิโก อันบุคคลผู้ปฏิบัติจะพึง เห็นเอง อย่างนี้ประจักษ์อยู่ เมื่อเห็นว่า โลกิยปฏิปัตติสัทธรรม เป็น สนฺทิฏฺ?ิโก ดังนี้แล้ว ก็คงจะเห็นว่าเป็น อกาลิโก ไม่มีกาลไม่มีเวลา ว่า ปฏิบัติชอบถูกดีแล้ววันนี้ พรุ่งนี้สมาธิปัญญาจึ่งจะเกิดดังนี้ เมื่อ เห็นว่าเป็น อกาลิโก แล้วก็คงจะเห็นว่าเป็น เอหิปสฺสิโก ควรจะ ร้องเรียกว่าท่านจงมาดูได้ เพราะสมาธิปัญญาเป็นของมีอยู่แท้และ เป็นของบริสุทธิ์ เมื่อเห็นว่าเป็น เอหิปสฺสิโก แล้ว ก็คงจะเห็นว่า เป็น โอปนยิโก อันบุคคลจะพึงน้อมเข้ามาได้ในใจ เพราะสมาธิ และปัญญาเป็นของเกิดขึ้นในใจตน เมื่อเห็นว่าเป็น โอปนยิโก แล้ว ก็คงจะเห็นว่าเป็น ปจฺจตฺต? เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ ท่านผู้รู้วิเศษทั้งหลาย จะรู้แจ้งเฉพาะตัว เพราะสมาธิและปัญญาเป็นของเกิดขึ้นเห็นประจักษ์ แก่ตนเอง ผู้อื่นไม่พลอยเห็นได้ด้วยดังนี้ อนึ่ง บุคคลถ้าดำเนินใน วิปัสสนาปัญญาแล้วไซร้ ย่อมจะเห็นคุณแห่งปฏิปัตติสัทธรรม โดย บทบาลีว่า สวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม สนฺทิฏฺ?ิโก ไปโดยง่าย แต่ ถ้าว่าวิปัสสนาปัญญาเป็นของสุขุมละเอียด ขันธอายตนะ เป็นต้น ซึ่ง เป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาปัญญา นั้น ยากที่บุคคลจะพึงรู้ เพราะ เหตุนั้น จึ่งได้ยก กายคตาสติภาวนา ขึ้นกล่าวอ้างพอเป็นปฏิปัตติมุข.

ธรรมรตนวรรณนา จบ

         

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ