บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



บุพพสิกขาวรรณณา

สารบัญ

คำนำ

รตนัตตยบัพพะ

อาปัตตินามาทิบัพพะ

ปฏิปัตติมุขบัพพพะ

กาลิกบัพพะ

พินทวาธิฏฐานาทิบัพพะ

วิชหนาทิบัพพะ

อาปัตติเทสนาทิบัพพะ

มาตรากถา

 

            ถามว่า อธิคมสัทธรรมนั้นอย่างไร ? แก้ว่า มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ชื่อว่า อธิคมสัทธรรม มรรค แปลว่าหนทาง ธรรม ๘ ประการ คือ สมฺมาทิฏฺ?ิ ความเห็นชอบ คือเห็นสัจจะ ๔ สมฺมา สงฺกปฺโป ความดำริชอบ คือ ความดำริกอบด้วยเนกขัม อพยาบาท อวิหิงสา สมฺมาวาจา วาจาชอบคือความเว้นจากวจีทุจริต ๔ สมฺมา กมฺมนฺโต การงานชอบคือความเว้นจากกายทุจริต ๓ สมฺมาอาชีโว ความเป็นอยู่ชอบ คือ ความมละมิจฉาชีพเลี้ยงชีวิตด้วยความเพียร เป็นเครื่องเป็นอยู่ชอบ สมฺมาวายาโม ความพยายามชอบ คือ สัมมัป ปธาน ๔ สมฺมาสติ ความระลึกชอบ คือสติปัฏฐาน ๔ สมฺมาสมาธิ ความตั้งใจไว้ขอบ คือฌาน ๔ เจตสิกธรรม ๘ นี้ ชื่อว่าองค์แห่งมรรค เพราะเป็นทางแห่งพระนิพพาน โดยโวหารบัญญัติแห่งพระพุทธเจ้า

            เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้าจึ่งกล่าวว่า มรรคเป็นของพระอริยเจ้า ประกอบด้วยองค์ ๘ ผลนั้นแปลว่าความเผล็ดออก คือความแก่ ความสุกมาแต่มรรค ได้แก่ความรำงับแห่งประโยคในการออกจาก กิเลสแห่งสัมมาทิฐิเป็นต้นนั้น ชื่อว่าผล ซึ่งว่ามรรค ๔ ผล ๔ นั้น คือ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล อนาคามิมรรค ปนาคามิผล อรหัตมัค อรหัตผล ซึ่งมรรคผล เป็นสิ่งละสี่ ๆ นี้ ตามนิยมที่มละกิเลสนั้น ๆ ได้ และคุณที่สำเร็จมา แต่การมละกิเลส จะกล่าวด้วยกิเลสที่มรรคนั้น ๆ จะพึงมละได้ก่อน สังโยชน์มี ๑๐ คือ สกฺกายทิฏฺ?ิ ความเห็นผิดอาศัยขันธ์ชื่อว่าสักกายะ เป็นไป คือความเห็นซึ่งรูป โดยความเป็นตัวเป็นตนเป็นเรา ๆ เป็น รูป ดังประทีปน้ำมันตามอยู่ เห็นว่าเปลวเป็นแสง ๆ เป็นเปลว และเห็นว่าตนมีรูปดังต้นไม้มีเงา และเห็นว่ารูปในตนดังกลิ่นในดอก ไม้ และเห็นว่าตนในรูปดังแก้วมณีในผอบ เห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นตนเป็นเรา เราเป็นผู้เสวย ผู้หมาย ผู้ตั้งใจ ผู้รู้วิเศษ ความเสวย ความหมาย ความตั้งใจ ความรู้วิเศษเป็นเรา ดังนี้ เป็นต้น ๑ วิจิกิจฺฉา ความเคลือบแคลงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และในกาลทั้ง ๓ สีลพฺพตปรามาส ความลูบคลำ คือ ถือว่าบริสุทธิ์ด้วยศีลวัตรภายนอกศาสนา คือปกติธรรมเนียม ดังโคเป็นต้น ๑ กามราโค ความกำหนัดความย้อมใจในกามคุณ มีสิ่งที่ตาเห็นเป็นต้น ๑ พฺยาปาโท ความปองร้ายโทสะวิการ คิดความ พินาศแห่งสัตว์อื่น ๑ รูปราโค ความกำหนัดยินดีในรูป คือ รูปาวจรฌาน และรูปารจรภพ ๑ อรูปราโค ความกำหนัดยินดี ในอรูปธรรมคืออรูปาวจรฌาน และอรูปาวจรภพ ๑ มาโน คววาม สำคัญว่าเป็นเรา ๆ ประเสริฐ เราเหมือนเขา เราต่ำกว่าเขาเป็นต้น ๑ อุทฺธจฺจ? ความฟุ้งซ่านไม่สงบใจ ๑ อวิชฺชา ความไม่รู้แจ้งสัจจะ ของจริงสี่ ๑ กิเลส ๑๐ นี้ชื่อว่าสังโยชน์ เพราะเป็นของประกอบ เป็นของสืบซึ่งขันธ์ด้วยขันธ์ และสืบซึ่งกรรมด้วยผล

            อนึ่งเพราะเป็น ของประกอบสัตว์ไว้ด้วยทุกข์ จึ่งได้ชื่อว่าสังโยชน์ สักกายทิฐิ วิจิกิจฉา สีสัพพัตตปรามาส กามราคะ พยาบาท ๕ นี้ชื่อว่า โอรัมภาคิยสังโยชน์ แปลว่า สังโยชน์เป็นส่วนข้างล่างคือกามภพ เพราะเป็นของทำสัตว์ให้เกิดในกามภพซึ่งเป็นส่วนเบื้องต่ำ สังโยชน์ เบื้องปลาย ๕ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา นี้ชื่อว่า อุทธัมภาคิยสังโยชน์ แปลว่า สังโยชน์เป็นส่วนเบื้องบน เพราะว่าเป็นกิเลสอันละเอียดมีแก่สัตว์ที่บังเกิดในรูปภพ และอรูป ภพ และกระทำสัตว์ให้บังเกิดในรูปภพและอรูปภพ สังโยชน์ ๓ คือ สักกายทิฐิ วิจิกิจฉา สีสัพพัตตปรามาส โสดาปัตติมรรคฆ่าตายมละ ได้ขาด กับมละกามราคพยาบาทที่เป็นอบายคามีเป็นกิเลสกล้า ยัง สัตว์ให้เกิดในอบายได้ กามราคพยาบาท ๒ นี้เป็นส่วนหยาบ สกิทา คามิมรรคฆ่าตายมละได้ขาด เพราะสกิทาคามิมรรคทำราคะ โทสะ โมหะ ให้บางเบา จึ่งมละกิเลสเช่นนั้นได้ กามราคพยาบาท ๒ สังโยชน์ ซึ่งเป็นกิเลสอันละเอียดเหลืออยู่นั้น อนาคามิมรรคฆ่าตาย มละได้ทีเดียว อุทธัมภาคิยสังโยชน์ เบื้องปลาย ๕ นั้น อรหัตมรรค ฆ่าตายมละได้ขาดไม่เหลือเลยทีเดียว นี้แลชื่อว่ามรรคมีเป็น ๔ โดย นิยมแห่งกิเลสปหานการมละกิเลสนั้นดังนี้แล ให้นักปราชญ์พึงรู้เถิด ส่วนผลเล่าซึ่งว่าเป็น ๔ นั้นก็ตามนิยมแห่งมรรค เพราะว่าโสดาปัตติ มรรคเกิดขึ้นสำเร็จกิจของตน คือฆ่าสังโยชน์ ๓ ขาดแล้วดับไป โสดาปัตติผลจึ่งมี เป็นคุณคือความรำงับแห่งความขวนขวายในที่จะ ฆ่าสังโยชน์อันนั้นอีก ก็เกิดขึ้นในลำดับแห่งโสดาปัตติมรรคนั้น แม้ สกิทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล เหล่านี้เล่าก็เหมือนกัน เพราะ ว่าเป็นคุณความรำงับแห่งประโยคในที่จะออกจากกิเลสฆ่ากิเลสนั้น ๆ เกิดขึ้นในลำดับแห่งมรรคนั้น ๆ นี้แลผลซึ่งว่าเป็น ๔ โดยนิยมแห่ง ปโยคปัสสัทธิ ความรำงับแห่งประโยคนั้นดังนี้

            อนึ่ง มรรคเป็นต้นเหตุ คือเป็นโลกุตรกุศล ผลเป็นความแก่ ความสุกแห่งมรรค คือเป็นโลกุตรวิยาก ผลมาแต่มรรค ๆ มาแต่ โคตรภู ๆ มาแต่อนุโลม ๆ มาแต่อุปจาร ๆ มาแต่สังขารุเบกาขาญาณ คือตัววิปัสสนาปัญญา ที่มีกำลังกล้ากว่าวิปัสสนาญาณทั้ง ๗ มีสัม มสนญาณเป็นต้น มรรคกับผลบังเกิดในวิถีอันเดียวกัน จิคซึ่งจะ เป็นกุศลก็ดี อกุศลก็ดี เป็นในขณะแห่งชวนะ คือความแล่นไปแห่ง จิต ชวนจิตแล่นไป คือเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป เพียงเจ็ดครั้งเป็นอย่างยิ่ง พระโยคาพจรเห็นสังขารไม่เที่ยงเป็นทุกข์ใช่ตน ด้วยปัญญาอันแก่ กล้า จนเพิกเฉยในสังขารทั้งปวง ความเห็นดังนั้นชื่อว่าสังขารุเบก ขาญาณ ๆ เมื่อมีกำลังกล้าแล้ว ในขณะมรรคจะเกิดขึ้นนั้น จิตอัน สัมปยุตด้วยสังขารุเบกขาญาณลงสู่ภวังค์แล้ว มโนทวาราวัชชนจิตซึ่ง เป็นกิริยาเกิดขึ้นแล้ว ชวนจิตเป็นไป ๗ ครั้ง ชวนจิตที่ต้นชื่อว่า บริกรรม ชวนจิตที่ ๒ ชื่อว่าอุปจาร ชวนจิตที่ ๓ ชื่อว่าอนุโลม ชวนจิตที่ ๔ ชื่อว่าโคตรภู ชวนจิตที่ ๕ เป็นวาระแห่งมรรค ชวน จิตที่ ๖-๗ ชื่อว่าผล

            ปัญญาที่มีในจิตลักษณะทั้ง ๓ คือบริกรรมอุป จารอนุโลมนั้น รวมกันเข้าเรียกว่าอนุโลมญาณ เพราะเป็นของ อนุโลมแก่วิปัสสนาญาณทั้ง ๘ มีสัมมสนญาณเป็นต้นในเบื้องต่ำ และเป็นของอนุโลมแก่โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ในเบื้องบน ปัญญาใน ขณะจิตรชื่อว่าโคตรภูนั้น เรียกว่าโคตรภูญาณ เพราะเป็นปัญญา ครอบงำเสียซึ่งโคตร คือภูมิแห่งปุถุชนจะหยั่งเข้าสู่อริยภูมิ ปัญญาใน ขณะมรรคจิตนั้น ชื่อว่ามรรคญาณ เพราะกระทำกิจ ๔ ประการ คือ ปริญญากำหนดรู้ทุกข์ ๑ ปหานะมละกิเลส ๑ สัจฉิริริยาเห็น พระนิพพาน ๑ ภาวนาให้มรรคเกิดขึ้น ๑ ปัญญาในขณะผลจิตนั้น ชื่อว่าผลญาณ เพราะเป็นความรำงับแห่งประโยคในที่จะมละกิเลส ก็อนุโลมญาณ ๓ นั้นเป็นโลกิยกุศล โลกิยปัญญา กระทำสังขารเป็น อารมณ์ โดยความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ใช่ตน และเป็นญาณที่สุดแห่ง วุฏฐานคามินีวิปัสสนาซึ่งมีสังขารเป็นอารมณ์ ว่าโดยนิรวเศษ โคตร ภูญาณ เป็นที่สุดแห่งวุฏฐานคามินีวิปัสสนา

            แต่ถ้าว่าเป็นโลกิยปัญญา ปล่อยสังขารยึดพระนิพพานเป็นอารมณ์ และเป็นญาณตั้งอยู่ในที่เป็น อาวัชชนแห่งมรรค โลกิยปัญญาอันเห็นพระนิพพาน ก็มีอยู่แต่ โคตรภูญาณนี้สิ่งเดียว แต่ถ้าว่ามละกิเลสไม่ได้ มรรคญาณเป็น โลกุตรกุศล โลกุตรปัญญา กระทำพระนิพพานเป็นอารมณ์ฆ่ากิเลสได้ จึ่งจัดเป็นโลกุตรกุศล โลกุตรปัญญา ผลญาณก็เป็นโลกุตรปัญญา กระทำพระนิพพานเป็นอารมณ์ แต่ถ้าว่าไม่ต้องฆ่ากิเลส เป็นแต่ อานิสงส์ คือความรำงับแห่งความขวนขวายในที่จะฆ่ากิเลสเท่านั้น จึ่งจัดเป็นโลกุตรวิบาก เป็นผลสุกมาแต่มรรค

            อนึ่ง ผลจิตในมรรควิถีนี้เป็น ๓ ก็มี เพราะอนุโลมจิตเป็น แต่ ๒ ไม่เป็น ๓ ดังวาระก่อน โคตรภูจิตเป็นที่ ๓ มรรคจิตเป็นที่ ๔ ผลจิตรจึ่งเป็น ๓ ดังนี้ ก็แลผลจิตนั้นลงสู่ภวังค์แล้ว มโนทวาราวัช ชนจิตรเกิดขึ้นแล้ว ต่อไปมรรคปัจจเวกขณญาณ คือปัญญาที่พิจารณา มรรคก็เกิดขึ้น แล่นไป ๗ ครั้งเหมืนกัน แม้ถึงผลปัจจเวกขญาณ ปัญญาพิจารณาผลและปหีนกิเลสปัจจเวกขณญาณ ปัญญาพิจารณา กิเลสที่มรรคมละแล้วก็ดี และนิพพานปัจจเวกขณญาณ ปัญญา พิจารณากิเลสที่เหลืออยู่ก็ดี เหล่านี้ก็เกิดขึ้นตามลำดับโดยนิยมดัง กล่าวแล้วในมรรคปัจจเวกขณญาณนั้น

            ปัจจเวกขณญาณทั้ง ๕ นี้ ย่อมเกิดมีแก่พระอริยเจ้าเบื้องต่ำ ๓ คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามิ พระอนาคามิ แก่พระอรหันต์นั้นมีแต่ ๔ เพราะอวสิฏฐกิเลสปัจจ เวกขณญาณไม่มี ซึ่งกล่าวมานี้ไม่นิยมว่ามรรคว่าผลใด เป็นแต่กล่าว โดยสามัญ เพื่อจะให้รู้ลำดับวารแห่งมรรคจิตและผลจิตเท่านั้น ก็ แลมรรคทั้ง ๔ ละสิ่ง ๆ เกิดในจิตตวารอันเดียวทุกมรรค มรรคไม่เกิด หลายครั้งเหมือนดังผล ส่วนผลทั้ง ๔ นั้นละสิ่ง ๆ ในมรรควิถีอัน หนึ่ง ๆ เกิด ๒-๓ ครั้งบ้าง ดังกล่าวมาแล้ว แต่ในผลมาบัติวิถี คือความที่พระอริยเจ้านั้น ๆ จะเข้าสู่ผลสมาบัติตามผลนิยมแห่งตน ๆ ผลจิตนั้นเกิด ๓ ครั้งบ้าง ๔ ครั้งบ้าง เพราะมรรคจิตนั้นไม่มีในวิถี แห่งผลสมาบัติ ด้วยว่ากิจที่จะฆ่ากิเลสที่มรรคนั้น ๆ ฆ่าแล้วอีก ไม่มี แก่พระอริยเจ้าผู้ได้แล้วซึ่งผลนั้น

            อนึ่งพระอริยเจ้าผู้ได้ซึ่งโสดา ปัตติผลแล้วชื่อว่าพระโสดาบัน ๆ นั้น บางองค์นั่งอยู่ในอาสนะที่ได้ ผลนั้นเอง เจริญวิปัสสนาต่อ ๆ ขึ้นไป ได้สกิทาคามิมรรค อรหัตผล โดยลำดับก็มี บางองค์ลุกจากอาสนะนั้นแล้ว ไปในสมัยอื่นเจริญ วิปัสสนาต่อ ๆ ขึ้นไป แล้วแลได้ถึงซึ่งมรรคและผลนั้น ๆ โดยลำดับ ก็มี ก็แลโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล แปลว่ามรรคว่าผลแห่งพระผู้ แรกถึงซึ่งธรรม ชื่อว่าโสตะ คือ มรรค โสต ศัพท์นี้ แปลว่ากระแสน้ำ แต่ในที่นี้โสตศัพท์เป็นชื่อแห่งมรรค เพราะว่ามรรคเป็นดุจหนึ่งว่า กระแสน้ำอันหนึ่งที่จะชักพาให้สัตว์ถึงพระนิพพาน

            เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึ่งตรัสว่า " นิพฺพานนินฺนา ภิกฺขเว สมฺมาทิฏฺ?ิ นิพฺพานโปณา นิพฺพานปพฺภารา (ความว่า) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบซึ่งเป็นประธานแห่งองค์มรรค ย่อมเป็น ธรรมอันลุ่มไปสู่พระนิพพาน เป็นธรรมอันน้อมไปสู่พระนิพพาน เป็น ธรรมอันเงื้อมไปสู่พระนิพพาน ดังกระแสแห่งแม่น้ำอันลุ่มไปน้อมไป เงื้อมไปสู่พระมหาสมุทรทะเลใหญ่ฉะนั้น" พระอริยเจ้าผู้ถึงมรรคผล ที่ต้น ชื่อว่าเป็นคนแรกลงกระแสแห่งพระนิพพาน คือมรรค

            เพราะ ฉะนั้นจึ่งได้แปลดังนี้ สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล แปลว่ามรรค ว่าผลแห่งพระผู้มาคราวเดียว เพราะว่าพระอริยเจ้าผู้ถึงซึ่งผลที่สองนี้ ย่อมจะมาเกิดในกามภพนี้อีกครั้งเดียว แล้วจักกระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ คือถึงพระอรหัตแล้วแลดับขันธ์ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ อนาคามิ มรรค อนาคามิผล แปลว่ามรรคว่าผลแห่งพระผู้ไม่มา เพราะว่า พระอริยเจ้าผู้ได้ซึ่งผลที่สามนี้ย่อมจะไปบังเกิด ณ พรหมโลก ชื่อว่า สุทธาวาส แล้วแลปรินิพพานในพรหมโลกนั้น มีอันไม่กลับจาก พรหมโลกนั้นมาเกิดในกามภพนี้อีกเป็นธรรมดา อรหัตมรรค แปลว่า มรรคเป็นที่มาแห่งความเป็นพระอรหันต์ อรหัตผล แปลว่า ผล คือความเป็นอรหันต์ พระอริยเจ้าผู้ได้ผลที่สี่นี้ ชื่อว่าพระอรหันต์ เป็นผู้ไกลกิเลสดับขันธ์แล้วไม่มีภพใหม่ ก็แลมรรคนั้นเป็นผู้ฆ่ากิเลส ดังพระมหากษัตริย์กระทำศึกด้วยพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นศัตรูในราช ธานีอื่น จับกษัตริย์ซึ่งเป็นศัตรูพิฆาตฆ่าเสีย ผลเป็นอานิสงส์แห่ง มรรคที่พระอริยเจ้าจะพึงเสวย ดังราชสมบัติอันมหากษัตริย์นั้น พิฆาตฆ่าซึ่งกษัตริย์ผู้เป็นศัตรูแล้ว ได้เสวยสุขสำราญฉะนั้น

            ถามว่า มรรค มละกิเลสอันใด กิเลสนั้นเป็นอดีตหรืออนาคต หรือปัจจุบัน ? แก้ว่า กิเลสที่เป็นอดีตก็ดับล่วงไปแล้ว กิเลสที่เป็น อนาคตเล่าก็ยังไม่บังเกิด ทั้ง ๒ นี้ไม่เป็นวิสัยที่มรรคจะมละ กิเลสที่ เป็นปัจจุบันเล่าก็ไม่มีในขณะแห่งมรรค เพราะว่ากิเลสนั้นไม่มีเสีย แล้วแต่ในขณะแห่งโลกิยวิปัสสนาปัญญาเบื้องต้น ถ้าจะว่ากิเลสมีใน ขณะแห่งมรรคแล้วไซร้ มรรคภาวนาก็จะเป็นสาสวะ กอปรด้วย อาสวะคือกิเลส อนึ่งไม่ฉะนั้น กุศลอกุศลทั้งสองซึ่งเป็นข้าศึกกัน ก็จะเป็นอันเกิดพร้อมกันในขณะจิตอันเดียวกันได้ ข้อซึ่งว่ามรรค มละกิเลสนั้น ประสงค์เอากิเลสซึ่งควรบังเกิดในขันธ์ทั้ง ๕ มีรูปเป็น ต้น ซึ่งเป็นภูมิแห่งวิปัสสนา ที่ชื่อว่าภูมิลัทธุปปันนกิเลส ๆ มีภูมิ คือ ขันธ์ ๕ อันได้แล้วบังเกิดขึ้น ดังรสแห่งปฐวีธาตุและอาโปธาตุอัน ซาบอยู่ในรากไม้ ลำต้น กิ่งใบ ดอกผลทั้งปวงฉะนั้น มรรคเมื่อเกิด ขึ้นในขันธสันดานแห่งท่านผู้ใดแล้ว ขันธสันดานแห่งผู้นั้นได้ต้อง สัมผัสแห่งมรรคที่เกิดขึ้นนั้น ขันธสันดานแห่งผู้นั้น ชื่อว่าเป็นขันธ สันดานอันตายด้วยตายแห่งกิเลสแล้วไม่สืบพืชผล คือกุศลากุศลต่อไป ดังต้นไม้มีดอกและผลอันเป็นพิษ บุรุษผู้หนึ่งตอกต่อยด้วยหนาม กระเบน อันกำซาบด้วยยาพิษในทิศทั้ง ๔ ต้นไม้นั้นเมื่อต้องสัมผัส แห่งยาพิษแล้วก็ตาย ด้วยรสแห่งปฐวีธาตุ อาโปธาตุซึ่งซึมซาบนั้น แห้งหายไปด้วยสัมผัสยาพิษนั้นแล้ว เป็นต้นไม้ไม่เผล็ดดอกออกผล ได้ต่อไปฉะนั้น.

มรรควิภาวนา จบ

            ถามว่า นิพพาน แปลว่าอะไร ? แก้ว่า นิพพาน แปลว่าธรรม เป็นที่ดับแห่งกิเลสัคคิ เพลิง คือกิเลส และทุกขัคคิ เพลิง คือทุกข์ ราคะ ความกำหนัด โทสะ ความประทุษร้าย โมหะ ความหลง ๓ นี้ ชื่อว่า กิเลสัคคิ เพราะเกิดขึ้นกับจิต ทำจิตให้เศร้าหมองขุ่นมัวด้วย และให้จิตเร่าร้อนกระสับกระส่ายด้วย จึ่งชื่อว่า กิเลสัคคิ ชาติ ความ เกิด ชรา ความแก่ มรณะ ความตาย โศก ความแห้งใจ ปริเทวะ ความสะอื้นอาลัย ทุกข์ ความเจ็บกาย โทมนัส ความเสียใจ ความ เจ็บใจ อุปายาส ความคับแคบใจ เหล่านี้ชื่อว่า ทุกขัคคิ เพราะเป็น เหตุแห่งความทุกข์และเป็นตัวทุกข์เหลือทน เผาสัตว์อยู่ให้เร่าร้อน ดังกองเพลิง จึ่งชื่อว่า ทุกขัคคิ กิเลสัคคิ และทุกขัคคิ เหล่านี้

            เมื่อถึง พระนิพพาน อาศัยพระนิพพานแล้วดับไป และไม่มีในพระนิพพาน เพราะเหตุนั้น นิพพานจึ้งแปลว่า ธรรมเป็นที่ดับแห่งเพลิง คือกิเลส และเพลิงคือทุกข์ ด้วยกล่าวว่า เพลิงทุกข์คือชาติ และชรา มรณะ ดับ ไม่มีในพระนิพพานนั้น ให้นักปราชญ์พึงรู้เถิดว่าขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่มีในพระนิพพาน

            ด้วยเหตุว่า ชาติความบังเกิดนั้น คือความมีขึ้นเป็นขึ้นแห่งปัญจขันธ์ ชื่อว่าชาติ ความแก่เก่าสุกรอบแห่งปัญจขันธ์ ชื่อว่าชรา เมื่อกล่าวว่าชาติและ ชราดับ ก็ได้ชื่อว่ากล่าวว่าปัญจขันธ์ดับ ไม่มีในพระนิพพาน ด้วย พระนิพพานเป็นวิสังขาร ปราศจากสังขาร คือนามรูปและปัญจขันธื เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึ่งตรัสว่า " เอต? สนฺต? เอต? ปณีต? ยทิท? สพฺพสงฺขารสมโถ สพฺพุปธิปฏินิสฺสคฺโค ตณฺหกฺขโย นิโรโธ นิพฺพาน? " แปลว่า เอต? สนฺต? ธรรมชาตินั้นเป็นของรำงับเป็นของ ละเอียด เอต? ปณีต? ธรรมชาตินั้นเป็นของประณีตอุดม ยทิท? คือว่า สพฺพสงฺขารสมโถ ธรรมเป็นที่รำงับแห่งสังขารทั้งปวง สพฺพุปธิปฏิ นิสฺสคฺโค ธรรมเป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง ตณฺหกฺขโย ธรรม เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา นิโรโธ ธรรมเป็นที่เงียบหาย นิพฺพาน? ธรรมเป็นที่ดับ" คำเหล่านี้เป็นชื่อแห่งพระนิพพานทั้งสิ้น

            ด้วยคำว่า สพฺพสงฺขารสมโถ สพฺพุปธิปฏินิสฺสคฺโค นี้ แสดงว่าสรรพสิ่งทั้งปวง ซึ่งเป็นเหตุภายใน คือกุศลากุศลและกิเลส ก็ดี และผลภายใน คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นวิบากขันธ์ ก็ดี และเหตุภาย นอกมีฤดูเป็นต้น ก็ดี และผลภายนอกมีต้นแผ่นดินฟ้าอากาศอาทิตย์ จันทร์เป็นต้นก็ดี ไม่มีในพระนิพพาน ด้วยว่าความเพียรชื่อว่าสังขาร กุศลากุศลก็ชื่อว่าสังขาร สิ่งทั้งปวงที่เกิดด้วยเหตุภายใน คือกุศลากุศล ดังปัญจขันธ์ ก็ดี และสิ่งที่เกิดด้วยเหตุภายนอกมีฤดู เป็นต้น ดังต้นไม้ และแผ่นดินเป็นต้น ก็ดี ก็ชื่อว่าสังขาร ๆ ทั้งปวงเหล่านี้ไม่มีในพระ นิพพาน ๆ จึ่งชื่อว่า สพฺพสงฺขารสมโถ เป็นที่รำงับแห่งสังขารทั้งปวง และกิเลสก็ชื่อว่าอุปธิ กุศลากุศล ก็ชื่อว่าอุปธิ ปัญจขันธ์ ก็ชื่อว่า อุปธิ กิเลสกามและวัตถุกาม ก็ชื่อว่าอุปธิ ๆ ทั้งปวงเหล่านี้ไม่มีใน พระนิพพาน พระนิพพานจึ่งชื่อว่า สพฺพุปธิปฏินิสฺสคฺโค เป็นที่ สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง

            อนึ่ง ด้วยคำทั้งสองนั้นแสดงว่าพระนิพพาน ไม่มีสีเขียวเหลือง เป็นต้น และสัณฐานยาวสั้นใด ๆ และไม่มีที่ ประดิษฐาน ณ ทิศใด ณ ตำบลใด ไม่มีธรรมสิ่งใดเป็นอารมณ์ แต่ เป็นอารมณ์แห่งอริยมรรคปัญญา เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึ่ง ได้เปล่งอุทานวาจาว่า "อตฺถิ ภิกฺขเว ตทายตน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ยตฺถ ในอายตนะไรเล่า เนว ป?มวี ดินก็หาไม่เลย น อาโป น้ำก็หาไม่ น เตโช ไฟก็หาไม่ น วาโย ลมก็หาไม่ น อากาสานญฺจายตน? อากาสานัญจายตนะก็หาไม่ น วิญฺ?าน?ฺ จายตน? วิญญานัญจายตนะก็หาไม่ น อากิญฺจ?ฺ?ายตน? อากิญ จัญญายตนะก็หาไม่ น เนวสญฺ?านาส?ฺ?ายตน? เนวสัญญานาสัญญา ยตนะก็หาไม่ นาย? โลโก โลกนี้ก็หาไม่ น ปโร โลโก โลกหน้า ก็หาไม่ น อุโภ จนฺทิมสุริยา จันทร์และอาทิตย์ทั้ง ๒ ก็หาไม่ ตทปห? ภิกฺขเว เนว อาคตึ วทามิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราผู้ตถาคตย่อมไม่ กล่าวเลยซึ่งอายตนะ

            แม้นั้นว่า มีกิริยาอันมาดังมาจากบ้านโน้นถึง บ้านนี้ น คตึ เราย่อมไม่กล่าวว่ามีกิริยาอันไป ดังไปจากบ้านนี้ถึง บ้านอื่น น ?ิตึ เราย่อมไม่กล่าวว่ามีกิริยาอันหยุดอยู่ น จุตึ เราย่อม ไม่กล่าวว่ามีความเคลื่อน น อุปปตฺตึ เราย่อมไม่กล่าวว่ามีความบัง เกิดขึ้น อปฺปติฏฺ?? อายตนะนั้น เป็นธรรมไม่ตั้งอยู่ ณ ที่ใด หรือ ไม่มีที่ตั้งว่าอยู่ในทิศใดตำบลใด อปฺปวตฺต? เป็นของไม่มีปวัตติความ เป็นไป อนารมฺมณ? เป็นของไม่มีธรรมชาติสิ่งใดเป็นอารมณ์ เอเส วนฺโร ทุกฺขสฺส นั่นแลเป็นที่สุดแห่งทุกข์" พระสูตรนี้แสดงลักษณะ แห่งพระนิพพาน ด้วยคำว่า ดิน น้ำ ลม ไฟ ก็หาไม่ แสดงว่า ไม่มีใน พระนิพพาน ๆ เป็นอรูปธรรม ด้วยคำว่า อากาสานัญจายตนะเป็นต้น ก็หาไม่นั้น แสดงว่า นามธรรม คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แม้ละเอียดสุขุมประหนึ่งว่าจะไม่มี ดังเนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่มี ในพระนิพพาน พระนิพพานเป็นอนามธรรม ใช่อารัมมณิกนาม ธรรม ตัวนามกอปรด้วยอารมณ์เป็นเครื่องยึด ก็แลในประเภทแห่ง ธรรมแสดงนามรูปบางแห่ง ท่านจัดพระนิพพานเข้าในประเภทแห่ง นามธรรมนั้น ประสงค์ว่าพระนิพพานเป็นอารมณ์แห่งอริยมรรค ปัญญา ควรพระอริยเจ้าจะน้อมเข้ามาด้วยจิตอันสัมปยุตด้วยมรรคและ ผลได้เท่านั้น ใช่จะแสดงว่าพระนิพพานเป็นอารัมมณิกนามธรรม คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สิ่งใดสิ่งหนึ่งก็หาไม่ และจะ แสดงว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีในพระ นิพพานก็หาไม่ ด้วยคำว่าโลกนี้ก็หาไม่เป็นต้นนั้น แสดงว่า พระ นิพพานไม่มีที่ประดิษฐานตั้งอยู่ในทิศใดตำบลใด และไม่ประดิษฐาน ดำรงอยู่ในทิศใดตำบลใด ด้วยคำนี้แล ห้ามความเห็นผิดแห่งพาลชน ทุกวันนี้ว่า พระนิพพานาเป็นเมืองแก้วอันวิเศษเกษมไพศาลสำราญ นิราศภัย และห้ามความถือว่าพระนิพพานเป็นดังรูปฟัก หรือดังรูป พรหม ไม่มีจิตสัญญานอนนิ่งอยู่ในกาลทั้งปวง

            ถามว่า ถ้าอย่างกล่าวมานี้ ความสูญเปล่าไม่เป็นไม่มีแห่ง สรรพสิ่งทั้งปวงหรือเป็นพระนิพพาน ? แก้ว่า หาไม่ ถ้าจะว่าความ สูญเช่นนั้นเป็นพระนิพพานแล้วไซร้ พระนิพพานก็ชื่อว่าไม่มี คำที่ พระพุทธเจ้าตรัสว่า อายตนะ คือ พระนิพพานนั้นมีอยู่ คำนั้นก็ผิด พระนิพพานเป็นของมีแท้ จึ่งเป็นทุกขนิโรธอริยสัจ ของจริงของ พระอริยเจ้าส่วนหนึ่ง เป็นอสาธารณธรรมไม่ทั่วไปแก่ปุถุชน ๆ ไม่อาจเห็นได้ เพราะไม่มีดวงตา คือ อริยมรรคญาณ พระอริยเจ้า ท่านกระทำให้แจ้งเห็นประจักษ์ด้วยอริยมรรคญาณ ดังบุคคลผู้ใด เจโตปริยญาณ รู้จิตตวารแห่งผู้อื่นฉะนั้น และปุถุชนไม่เห็นธรรม สิ่งใด จะกล่าวว่าธรรมสิ่งนั้นไม่มีไม่ได้

            อนึ่ง ถ้าจะว่าพระนิพพานไม่มีแล้วไซร้ สัมมาปฏิปทา คือ อริยมรรคประดับด้วยองค์ ๘ มีสัมมาทิฐิเป็นต้น ซึ่งสงเคราะห์ด้วย ไตรสิกขานั้นก็เป็นหมัน ไม่ออกผลคือให้ถึงพระนิพพานได้ อนึ่ง ถ้าจะว่าอริยมรรคไม่เป็นหมัน เพราะให้ถึงความไม่มีแห่งปัญจขันธ์ ที่เป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ในเบื้องหน้าเล่าไซร้ ก็ไม่ชอบ เพราะว่า ความถึงพระนิพพานในความไม่เป็นไม่มีแห่งปัญจขันธ์ ซึ่งเป็นอดีต อนาคตไม่มี อนึ่ง จะประสงค์ว่าความไม่เป็นไม่มีแห่งปัญจขันธ์ที่ เป็นปัจจุบันเป็นพระนิพพานเล่าไซร้ก็ไม่ชอบ เพราะขณะแห่งอริย มรรคปัญญาเกิดขึ้นเห็นพระนิพพานนั้น ปัญจขันธ์ก็ยังมีปรากฏ เฉพาะหน้าอยู่ไม่สูญไป อนึ่ง ความถึงสอุปาทิเสสนิพพานเล่า ก็มี ก็เป็นในขณะมรรค อาศัยซึ่งปัญจขันธ์ซึ่งเป็นปัจจุบันเกิดขึ้น อนึ่ง จะประสงค์ว่า ความไม่มีไม่เป็นแห่งกิเลสเป็นปัจจุบันและเป็น พระนิพพานเล่าไซร้ อริยมรรคก็จะเป็นของไม่มีประโยชน์ เพราะว่า ก่อนแต่อริยมรรคบังเกิด กิเลสก็ไม่มีไม่เป็นไปอยู่แล้ว ด้วยอำนาจ โลกิยวิปัสสนาปัญญา

            อนึ่ง ถ้าว่าประสงค์ความไม่มีกิเลสเป็นพระ นิพพานแล้วไซร้ นอนหลับสนิทก็จะเป็นพระนิพพานได้ เพราะ กิเลสไม่มีในเวลาหลับสนิทนั้น อนึ่ง ถ้าประสงค์ ราคักขัย ความ สิ้นราคะ โทสักขัย ความสิ้นโทสะ โมหักขัย ความสิ้นโมหะ ตาม ชมพูขาทกสูตรเป็นต้น ว่าเป็นพระนิพพานแล้วไซร้โทษก็มีมาก คือ พระนิพพานก็จะเป็นอิตตรกาล มีกาลเวลานิดหนึ่งครู่หนึ่งแต่เพียง สิ้นกิเลสไปเท่านั้น อย่างหนึ่งก็จะตกลงในลักษณะแห่งสังขตธรรม อย่างหนึ่งก็จะเป็นของได้ด้วยง่าย ไม่พึงถึงสัมมาวายามะก็จะพึงถึงได้ ก็แลเมื่อตกลงในลักษณะแห่งสังขตธรรม เพราะเนื่องเข้าในสังขต ธรรม ก็จะเป็นของร้อนด้วยเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์ เพราะเป็นของร้อน พระนิพพานก็จะเป็นทุกข์

            อนึ่ง ราคาทิขัย ความสิ้นราคะเป็นต้น เป็นพระนิพพานแล้ว ไซร้ พระนิพพานก็จะมีมาก ความสิ้นราคะ โทสะ โมหะ ก็จะเป็น พระนิพพานอันหนึ่ง ๆ อีกอย่างหนึ่ง พระนิพพานก็จะเป็นของหยาบ แม้คนพาลก็จะพึงรู้ได้ด้วยง่าย อย่างหนึ่งพระนิพพานก็จะไม่เป็น อารมณ์แห่งโคตรภูญาณและมรรคได้ อนึ่ง จะประสงค์ว่าตั้งแต่ความ สิ้นกิเลสอันใดไป กิเลสอันนั้นไม่เป็นต่อไปได้อีก ความสิ้นกิเลส เช่นนั้นเป็นพระนิพพานเล่าไซร้ก็ไม่ชอบ เพราะความสิ้นกิเลสเช่น นั้นไม่มีไม่เป็น ถ้าหากว่ามีเป็นก็ไม่พ้นโทษดังกล่าวมาได้ อนึ่ง พระอริยมรรคก็จะเป็นพระนิพพานไป เพราะว่ามรรคและผลพระมีผู้ พระภาคกล่าวด้วยชื่อว่า ราคกฺขโย โทสกฺขโย โมหกฺชโย เหมือน ชื่อพระนิพพานก็มีอยู่ ราคกฺขโย โทสกฺขโย โมหกฺขโย ถ้าเป็นชื่อ แห่งมรรค ต้องแปลว่า ธรรมเป็นเหตุสิ้นไปแห่งราคะ โทสะ โมหะ เพราะการฆ่ากิเลสเป็นกิจแห่งมรรค ถ้าเป็นชื่อแห่งผล ต้องแปลว่า ความสิ้นไปแห่งราคะ โทสะ โมหะ เพราะอรหัตผลเกิดในที่สุดแห่ง ความสิ้นกิเลส ถ้าเป็นชื่อแห่งพระนิพพาน ต้องแปลว่า ธรรมเป็น ที่สิ้นแห่งราคะ โทสะ โมหะ เพราะว่ากิเลสมาถึงพระนิพพาน ซึ่งเป็น อารมณ์แห่งมรรคแล้วแลสิ้นไป ตั้งแต่อริยมรรคเป็นเครื่องสิ้นไป แห่งกิเลสเกิดขึ้น กิเลสไม่เป็นต่อไปได้อีก ส่วนพระนิพพานย่อมเป็น อุปนิสัยแก่อริยมรรคนั้น คือว่าเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยมีกำลังแก่อริย มรรคนั้น โดยปริยาย พระนิพพานนั้น พระผู้มีพระภาคจึ่งตรัสว่า ราคกฺ ขโย โทสกฺขโย โมหกฺขโย ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งราคา โทสะ โมหะ กล่าวดังนี้ ด้วยผลุปจารโวหาร คือกล่าวเหตุด้วยผล ในที่นี้ประสงค์ พระนิพพานเป็นเหตุ มรรคเป็นผล เพื่อจะชี้อธิบายบทว่า ราคกฺขโย โทสกฺขโย โมหกฺขโย นี้เท่านั้น ถ้าจะกล่าวโดยเหตุผลตามอริยสัจจ กถา มรรคเป็นเหตุ พระนิพพานเป็นผล

            อนึ่ง ความว่างเปล่าและ ความไม่มีไม่เป็นแห่งปัญจขันธ์เป็นต้น และความสักว่าสิ้นไปแห่ง กิเลสเป็นพระนิพพานเล่าไซร้ ที่ไหนพระผู้มีพระภาคเจ้าจะตรัสว่า พระนิพพานเป็นของลึก และตรัสว่าเป็นอสังขตธรรมเล่า พระผู้มี พระภาคตรัสว่า พระนิพพานเป็นของลึกดังนี้ "คมฺภีโร จาย? ธมฺโม ธรรมคือพระนิพพานเป็นของลึก ทุทฺทโส อันบุคคลเห็นด้วยยาก ทุรานุโพโธ อันบุคคลตรัสรู้ตามด้วยยาก สนฺโต เป็นของรำงับ ปณีโต เป็นของประณีต อตกฺกาวจโร ไม่เป็นที่ลงเที่ยวไปแห่ง ความวิตก คือว่าปุถุชนจะตรึกนึกคาดคะเนเอาเองไม่ได้ นิปุโณ เป็นของละเอียด ปณฺฑิตเวทนิโย เป็นของอันบัณฑิต คือพระอริย เจ้าจะพึงรู้แจ้ง ปุถุชนไม่รู้แจ้ง" ก็แลพระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า เป็นอสังขตธรรมนั้นโดยนัยหลายอย่าง อธิบายโดยสังเขปดังนี้ว่า ธรรมทั้งปวงกล่าวโดยย่อมีประเภท ๒ คือสังขตธรรมและอสังขตธรรม สังขตธรรม แปลว่า ธรรมอันปัจจัย คือฤดูและกุศลากุศล เป็นต้น ตกแต่งให้มีให้เป็นขึ้น ได้แก่สังขารทั้งปวงดังรูปกายในภายนอกก็ดี และอรัมมณิกนามธรรมอันเป็นกุศล จนถึงมรรคถึงผลก็ดี ชื่อว่า สังขตธรรม เพราะประกอบด้วยสังขตลักษณะ ๓ ดังนี้ คือความเกิด ขึ้นย่อมปรากฏอย่างหนึ่ง ความดับไปย่อมปรากฏอย่างหนึ่ง เพราะประกอบ ด้วยสังขตลักษณะ ๓ ดังนี้ จึ่งชื่อว่าสังขตธรรม อสังขตะ แปลว่า ธรรมอันปัจจัยสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ได้ตกแต่งให้มีขึ้นให้เป็นขึ้น ได้แก่พระ ินิพพานสิ่งเดียว เพราะพระนิพพานประกอบด้วยอสังขตลักษณะ ๓ ดังนี้ คือความเกิดขึ้นก็ไม่ปรากฏอย่างหนึ่ง ความดับไปก็ไม่ปรากฏ อย่างหนึ่ง ความตั้งอยู่แล้วแปรไปเป็นอย่างอื่นก็ไม่ปรากฏอย่างหนึ่ง เพระพระนิพพานประกอบด้วยอสังขตลักษณะ ๓ ดังนี้ จึ่งชื่อว่า อสังขตธรรม ความสูญเปล่าความไม่มีแห่งปัญจขันธ์ และความสักว่า สิ้นไปแห่วกิเลสนั้น จะเป็นของลึกของเห็นยากสักกี่มากน้อย จะเป็น อสังขตธรรมอย่างไรได้ เพราะเหตุนั้นปราชญ์พึงรู้เถิดว่า พระ นิพพานเป็นธรรมธาตุอันหนึ่งมีอยู่แท้ ใช่ความสูญเปล่า ใช่ความไม่มี แห่งสังขาร ใช่ความสักว่าไม่มีแห่งกิเลสเป็นพระนิพพาน

            ถามว่า พระนิพพานมีอยู่ เหตุใดพระผู้มีพระภาคจึ่งไม่แสดง โดยสรูปชี้องค์พระนิพพานให้ชัดเหมือนอย่างมรรคและผลเล่า ? แก้ว่า แสดงอย่างนั้นไม่ได้ เพราะพระนิพพานเป็นของสุขุมละเอียดนัก ก็แลความที่พระนิพพานเป็นของสุขุมละเอียดนั้นย่อมปรากฏอยู่ด้วย พาให้พระผู้มีพระภาคมีขวนขวายน้อยในการที่จะแสดงธรรม ในเวลา เมื่อพระองค์แรกได้ตรัสรู้ อย่างหนึ่งปรากฏ เพราะพระนิพพานเป็น ของอันพระอริยเจ้าจะพึงเห็นด้วยดวงตา คืออริยมรรคปัญญา เพราะ เหตุนั้นพระนิพพานจึ่งเป็นอสาธารณไม่ทั่วไปแก่ปุถุชน อนึ่ง พระ นิพพานเป็นอัปปภวะ ไม่มีแดนเกิด คือไม่มีเงื่อนต้นว่ามีขึ้นครั้ง พระพุทธเจ้าองค์โน้นก่อนนั้นไม่มี

            อนึ่ง จะว่าพระนิพพานเป็นปภวะ มีธรรมเป็นแดนเกิด เพราะพระอริยมรรคให้เกิดขึ้นเล่าไซร้ก็ไม่ชอบ ้ด้วยพระนิพพานนั้นเป็นของอันพระอริยเจ้าจะพึงถึงพึงได้ด้วยอริย มรรคต่างหาก มิใช่เป็นธรรมอันพระอริยมรรคให้มีให้เป็นให้เกิดขึ้น เพราะเหตุนั้น พระนิพพานจึ่งเป็นอัปปภวะไม่มีแดนเกิด เพราะพระ นิพพานไม่มีแดนเกิดจึ่งเป็นอชรามรณะ ไม่มีความแก่ ความตาย เพราะไม่มีธรรมเป็นแดนเกิดและไม่มีความแก่ความตาย พระนิพพาน จึ่งเป็นธรรมอันเที่ยง เพราะเหตุดังกล่าวมานี้แล พระนิพพานจึ่งเป็น ของมีแท้โดยปรมัตถ์ เพราะเป็นธรรมอันบุคคลจะพึงได้ด้วยญาณ วิเศษซึ่งสำเร็จด้วยความเพียรอันไม่หย่อน อนึ่ง เพราะคำแห่งพระ พุทธเจ้าผู้เป็นสัพพัญญูตรัสดังนี้ว่า "อตฺถิ ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีอยู่โดยแท้ อชาต? คือธรรมชาติ ชื่อว่าอชาตะ เพราะเป็นของใช่ ธรรมอันเกิดขึ้น ด้วยประชุมพร้อมแห่งและปัจจัย อภูต? คือ ธรรมชาติชื่ออภูตะ เพราะใช่ธรรมเว้นจากเหตุเป็นขึ้นเอง อกต? คือ ธรรมชาติชื่ออกตะ เพราะเป็นของอันเหตถสิ่งใดไม่ได้กระทำ อสงฺขต? คือธรรมชาติชื่อว่าอสังขตะ เพราะเป็นของอันเหตุและปัจจัยสิ่งใด ไม่ได้แต่งขึ้น" ด้วยพุทธวจนะดังนี้ ปราชญ์พึงรู้เถิดว่า พระนิพพาน เป็นของมีแท้ ด้วยคำว่าพระนิพพาน เป็นของอันบุคคลพึงได้ด้วย ญาณวิเศษนั้น แสดงว่าพระนิพพานเป็นปัจจักขสิทธิ สำเร็จโดย ประจักษ์แจ้งแก่พระอริยเจ้าจำพวกเดียว ด้วยอ้างสัพพัญญฺวจนะนั้น แสดงว่าพระนิพพานเป็นอนุมานสิทธิ สำเร็จแก่ปุถุชนโดยอนุมาน คาดคะเนว่ามีตามพุทธวจนะ โลกิยปัญญาซึ่งจะเห็นพระนิพพาน ก็มี อยู่แต่โคตรภูญาณอันเกิดในชวนวารเบื้องต้นแห่งมรรคชวนวาร ซึ่ง ไม่คืนมาเป็นโลกิยปัญญาอีก นอกนั้นโลกุตรปัญญา คือมรรคญาณ ผลญาณอย่างเดียวเห็นพระนิพพาน.

นิพพานวิภาวนา อธิคมสัทธรรมกถา จบ

         

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ