บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



บุพพสิกขาวรรณณา

สารบัญ

คำนำ

รตนัตตยบัพพะ

อาปัตตินามาทิบัพพะ

ปฏิปัตติมุขบัพพพะ

กาลิกบัพพะ

พินทวาธิฏฐานาทิบัพพะ

วิชหนาทิบัพพะ

อาปัตติเทสนาทิบัพพะ

มาตรากถา

 

            ถามว่า สิ่งไรเป็นปฏิปัตติสัทธรรม ? แก้ว่า ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ๓ สิกขานี้ ชื่อว่าปฏิบัตติสัทธรรม ฯ ศีลคือความ สำรวมกายวาจาตามสิกขาบทบัญญัติ ได้แก่ปาติโมกขสังวรศีล ซึ่งเป็นเชฏฐกศีลสำเร็จด้วยอริยาสมมติ และวิรัติความเว้นจากวจี ทุจริต ๔ กายทุจริต ๓ มิจฉาชีพ ๑ ซึ่งเรียกว่าอาชีวมัฏฐกศีล ๆ มี อาชีวะเป็นที่ ๘ อันเป็นอาทิพรหมจริยกาสิกขา สำเร็จด้วยสมาทาน เจตนาก็ดี ชื่อว่าศีลสิกขา สมาธิความตั้งใจอยู่ในอารมณ์อันเดียว คือ กุสเลกัคตา ความที่แห่งจิตมีอารมณ์อันเดียว เป็นกุศลอันเกิดขึ้นด้วย สมถกรรมฐาน มีกสิณปริกรรมและอสุภปริกรรมเป็นต้น ที่เรียกว่า อัปปนาสมาธิ เพราะเป็นสมาธิแอบแนบแน่นในอารมณ์ หรือเรียก ว่าอัปปนาฌาน เพราะเป็นของแอบแนบแน่นเพ่งอารมณ์มีกสิณ เป็นต้นอยู่ก็ดี และอุปจารสมาธิ ซึ่งเป็นสมาธิยังไม่ถึงอัปปนาก็ดี ชื่อว่าสมาธิสิก ปัญญาความรู้เท่าสังขาร คือนามรูปและปัญจขันธ์ เป็นต้น ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ใช่ตน ได้แก่วิปัสสนาปัญญา

            ตั้งแต่สัมมสนญาณจนถึงอนุโลมญาณ ซึ่งเกิดขึ้นด้วยวิปัสสนากรรม ฐานนั้น ชื่อว่าปัญญาสิกขา ศีล สมาธิ ปัญญา ๓ นี้ ชื่อว่าสิกขา เพราะเป็นกิจการในศาสนาอันบุคคลผู้ประสงค์ความสิ้นทุกข์ จะพึง ศึกษาสำเหนียกกระทำปฏิบัติตาม สิกขาศัพท์นี้ จะแปลว่าความศึกษา ก็ได้ จะแปลว่าธรรมชาติอันบุคคลพึงศึกษาก็ได้ แต่ในที่นี้ต้องแปลว่า ธรรมชาติอันบุคคลพึงศึกษา เพราะ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นธรรมชาติ อันบุคคลพึงศึกษา

            ด้วยกล่าวไตรสิกขาว่าเป็นปฏิปัตติสัทธรรมนี้ ข้อปฏิบัติอันเศษซึ่งเป็นอุปการะแก่ไตรสิกขา คือวัตรประเวณีอัน พระพุทธเจ้าแต่งตั้งไว้ในวินัยขันธ์ มีบรรพชาขันธ์และอุโปสถขันธ์ เป็นต้นก็ดี และข้อปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในพระสูตร มีอปัณณกปฏิปทา ๓ คือ อินทรียสังวร โภชนมัตตัญญุตา ชาคริยานุ โยค และอริยวังสปฏิปทาเป็นต้นก็ดี ข้อปฏิบัติเหล่านี้ก็เป็นอันกล่าวว่า ปฏิปัตติสัทธรรมด้วย เพราะเหตุนั้นพระอรรถกถาจารย์ เมื่อท่านจะ ชี้ปฏิปัตติสัทธรรมท่านจึงกล่าว "เตรส ธุตงคคุณา จุทฺทส ขนฺธก วตฺตานิ ทฺวาสีติ มหาวตฺตานิ สีลสมาธิวิปสฺสนาติ ปฏิปตฺติสทฺธมฺโม นาม (แปลว่า) ธุดงคคุณทั้งหลาย ๑๓ วัตรทั้งหลายอันมาในวัต ขันธ์ ๑๔ มหาวัตรทั้งหลาย ๘๒ ศีลสมาธิวิปัสสนาดังนี้ เหล่านี้ชื่อว่า ปฏิปัตติสัทธรรม"

            ธุดงคคุณ ๑๓ นั้น คือ ปังสุกุลิกังคะ เตจีวริกังคะ ปิณฑปาติกังคะ สปทานจาริกังคะ เอกาสนิกังคะ รุกขมูลิกังคะ อัพโภกาสิกังคะ ยถาสันถติกังคุ เนสัชชิกังคะ ธุดงค์ ๑๓ นี้ เกิดแต่ อริยวังสปฏิปา ขันธกวัตร ๑๔ นั้น คือ อาคันตุกวัตร อาวาสิกวัตร คมิกวัตร อนุโมทนวัตร ภัตตัคควัตร ปิณฑปาตจาริกวัตร อารัญญิก วัตร เสนาสนวัตร ชันตาคารวัตร วัจจกุฏิวัตร อุปัชฌายวัตร สัทธิง วิหาริกวัตร อาจริยวัตร อันเตวาสิกวัตร มหาวัตร ๘๒ นั้น คือวัตร ที่พระพุทธเจ้าบัญญัติแก่ภิกษุปาริวาสิก ตั้งแต่ห้ามไม่ให้ยังกุลบุตร ให้อุปสมบทจนถึงห้ามว่า ภิกษุผู้ปกกัตตจงกรมอยู่ ณ แผ่นดิน อย่า จงกรม ณ ที่จงกรมเป็นที่สุดนับได้ ๖๖ กับวัตรที่พระพุทธเจ้าห้ามว่า อย่าอยู่ในอาวาสมุงอันเดียวกันกับด้วยภิกษุผู้ปาริวาสิกแก่กว่า และ ด้วยภิกษุผู้มูลายปฏิกัสสนารหะ ผู้มานัตตารหะ ผู้มานัตตจารี ผู้อัพภา นารหะ นับได้ ๕ ประสมกับเก่าได้ ๗๑ กับวัตรที่พระพุทธเจ้าบัญญัติ แก่ภิกษุ อันสงฆ์กระทำอุกเขปนิยกรรม ห้ามไม่ให้ยินดีสามีจิกรรม มีการไหว้เป็นต้นแห่งภิกษุผู้ปกตัตตะ นับเป็น ๑ กับวัตรมีอันห้ามไม่ ให้โจทภิกษุปกตัตตะด้วยศีลวิบัติเป็นต้น ๑๐ รวมเป็น ๑๑ จึงเป็น มหาวัตร ๘๒ มหาวัตร ๘๒ นี้ เป็นของจะพึงประพฤติในกาลบางครั้ง บางคาบ ไม่ต้องประพฤติในกาลทั้งปวง

            เพราะเหตุนั้น จึงไม่นับเข้า ในขันธกวัตร ๑๔ ศีลสมาธินั้นดังกล่าวแล้ว แต่ปัญญาในที่นี้เรียกว่า วิปัสสนา เพราะว่าท่านประสงค์ให้เห็นว่า ไตรสิกขาซึ่งจัดเป็น ปฏิปัตติสัทธรรมนี้เป็นโลกิยธรรม ไม่เป็นโลกุตรธรรม ปฏิปัตติ สัทธรรมนี้ เมื่อประดิษฐานอยู่ในพระอริยเจ้าผู้มีสันดานอันบริสุทธิ์ และกัลยาณปุถุชนผู้มีสันดานอันซื่อตรงกอบด้วยปัญญา และอาศัย กาลสมบัติก็สมบูรณ์บริสุทธิ์ ปราศจากโทษคือสัทธรรมปฏิรูป ดังทอง เมื่อประดิษฐานอยู่ในมือแห่งคนที่ซื่อตรงฉลาดดูรู้ของแท้และเทียม หรืออาศัยกาลสมบัติด้วยก็สมบูรณ์บริสุทธิ์ปราศจากโทษคือชาติรูป ปฏิรูปของทำเทียม ปฏิปัตติสัทธรรมนี้

            เมื่ออาศัยกาลวิบัติก็ไม่ สมบูรณ์ และอาศัยปุถุชนผู้มีสันดานไม่ซื่อตรงกอบด้วยอคารวะมาก มุ่งต่อโลกามิส ก็เป็นของไม่สมบูรณ์บริสุทธิ์ปราศจากโทษ คือ ปฏิปัตติสัทธรรมปฏิรูปก็เกิดขึ้น ดังภิกษุวัชชีบุตรบัญญัติวัตถุ ๑๐ ประการในกาลก่อนนั้น เพราะเหตุนั้น ปฏิปัตติสัทธรรมเมื่อนำสืบ ๆ กันมา สิ้นกาลนานจนถึงกาลบัดนี้ เป็นไฉนจะไม่เสื่อมทราม ปฏิรูปก็เกิดขึ้นต่าง ๆ ดังถือว่าเดินจงกรมอาบัติตกหมด นาน ๆ อยู่ บริวาสมานัตเสียคราวหนึ่ง ชำระตัวให้บริสุทธิ์ และปฏิบัติอย่างอื่น ๆ ในทางศีลก็มีอยู่มาก และถือว่าบริกรรมว่า "อส?วิสุโลปุสพุภ" ชื่อว่าเจริญพุทธคุณก็มี และอัญเชิญพระปิติ ๕ และตั้งในไว้ที่ตรงอก เป็นต้น แล้วบริกรรมว่า อรห? ๆ ไม่รู้อธิบายว่าอะไร แล้วเห็นสี ต่าง ๆ สำคัญว่าพระมาโปรด แล้วถือว่าสำเร็จในภูมิสมาธิเท่านี้ และ ปฏิบัติในสมาธิและปัญญา ที่ผิดอย่างอื่น ๆ ที่หยาบและละเอียดกว่า กล่าวนี้ก็มีอยู่มาก เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้แสวงหาปฏิปัตติสัทธรรมที่จริงที่แท้ พึงทำตนให้เป็นคนชื่อตรง แสวงหาในปริยัติสัทธรรมที่จริงที่แท้เถิด ก็คงจะรู้จะเห็น

            อนึ่ง ถ้ามีความเคลือบแคลงสงสัยในข้อปฏิบัติ และปริยัติ บางแห่งแล้ว ก็พึงตัดสินด้วยโอวาทที่พระผู้มีพระภาคสอนนางปชา ปดีโคตมีดังนี้ว่า "ดูก่อนนางโคตมี ท่านถ้ารู้ธรรมทั้งหลายใดว่า ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ เป็นไปเพื่อสราคะ ความกำหนัดย้อมใจ ไม่เป็นไปเพื่อวิราคะ ความคลายกำหนัดฟอกใจ และเป็นไปเพื่อ สังโยค ความประกอบไว้พร้อมด้วยทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อวิสังโยค ความประกอบปราศจากทุกข์ และเป็นไปเพื่ออาจยะ ความสั่งสม กระทำขึ้นซึ่งวัฏฏะ ไม่เป็นไปเพื่ออปจยะ ความไม่สั่งสมกระทำ ขึ้นซึ่งวัฏฏะ และเป็นไปเพื่ออหิจฉตา ความเป็นผู้มีความอยาก อันใหญ่หลวง ไม่เป็นไปเพื่ออสันตุฏฐิ ความไม่สันโดษยินดีด้วยวัตถุ อันมีของตน ไม่เป็นไปเพื่อสันโดษยินดีด้วยวัตถุอันมีของตนและ เป็นไปเพื่อสังคณิกา ความเป็นคนนับพร้อมเกี่ยวข้องในหมู่ ไม่เป็น ไปเพื่อปวิเวก ความสงัดจากหมู่ และเป็นไปเพื่อโกสัชชะความ เกียจคร้าน ไม่เป็นไปเพื่อวิริยารัมภะ ความปรารภซึ่งความเพียร และเป็นไปเพื่อทุพภรตา ความเป็นคนอันผู้อื่นเลี้ยงยาก ไม่เป็น ไปเพื่อสุภรตา ความเป็นคนอันผู้อื่นเลี้ยงด้วยง่าย

            เมื่อท่านถ้ารู้ ดังนี้แล้วไซร้ ดูก่อนนางโคตมี ท่านพึงทรงไว้โดยส่วนอันเดียว เถิดว่า 'นั่นใช่ธรรม นั่นใช่วินัย นั่นใช่สัตถุศาสนะคำสอนแห่ง พระศาสดา' ดูก่อนนางโคตมี ท่านถ้ารู้ธรรมทั้งหลายใดว่า ธรรม ทั้งหลายเหล่านี้ เป็นไปเพื่อคลายความกำหนัดฟอกใจ ไม่เป็นไป เพื่อความกำหนัดย้อมใจ และเป็นไปเพื่อความประกอบปราศจากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อประกอบไว้ด้วยทุกข์ และเป็นไปเพื่อความไม่สั่งสม กระทำขึ้นซึ่งวัฏฏะ ไม่เป็นไปเพื่อความสั่งสมกระทำขึ้นซึ่งวัฏฏะ และเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีความอยากอันน้อย ไม่เป็นไปเพื่อความ เป็นผู้มีความอยากอันใหญ่หลวง และเป็นไปเพื่อความสันโดษยินดี ด้วยวัตถุอันมีของตน ไม่เป็นไปเพื่อไม่สันโดษ เป็นไปเพื่อปวิเวก ความสงัดจากหมู่ ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นคนอันผู้เลี้ยงด้วยง่าย ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นคนอันผู้อื่นเลี้ยงด้วยยาก

            ดูก่อนนางโคตมี ท่านพึงทรงไว้เถิดโดยส่วนอันเดียวว่า "นั่นธรรม นั่นวินัย นั่นสัตถุ ศาสนะคำสอนแห่งพระศาสดา" สุคโตวาทนี้ เป็นแบบสำหรับ ตัดสินสัทธรรมที่จริงที่แท้และสัทธรรมปฏิรูป ก็แลปฏิปัตติสัทธรรม นี้ แปลว่าสัทธรรมคือความไต่ไปดำเนินไป ด้วยว่าไตรสิกขาเป็นทาง แห่งพระนิพพาน เมื่อกุลบุตรศึกษาปฏิบัติตาม ก็ชื่อว่าไต่ไป ดำเนินไปตามทางพระนิพพาน ก็แลปฏิปัตติสัทธรรมนี้เป็นของ อาศัยเหตุภายใน คือศรัทธากับปัญญา ๒ ประการ เกิดขึ้นสมบูรณ์ บริสุทธิ์ดำรงอยู่ ฯ

ปฏิปัตติสัทธรรมกถา จบ

         

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ