บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



บุพพสิกขาวรรณณา

สารบัญ

คำนำ

รตนัตตยบัพพะ

อาปัตตินามาทิบัพพะ

ปฏิปัตติมุขบัพพพะ

กาลิกบัพพะ

พินทวาธิฏฐานาทิบัพพะ

วิชหนาทิบัพพะ

อาปัตติเทสนาทิบัพพะ

มาตรากถา

 

ธรรมรัตน กถา

            จักรพรรณนาธรรมรัตนะ ฯ ถามว่า ธรรม ๆ นั้น อะไรเป็นธรรม สิ่งที่ดีก็กล่าวว่าธรรม สิ่งที่ชั่วก็กล่าวว่าธรรม สิ่งที่ไม่ดีไม่ชั่วก็กล่าว ว่าธรรม ดังบาลี กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา อพฺยากตา ธมฺมา ดังนี้ อะไรเป็นธรรมในธรรมรัตนะนี้ ?

            แก้ว่า ความดีจริงเป็นธรรม ในธรรมรัตนะนี้ ความดีแต่ไม่จริงไม่เป็นธรรม ความเห็นว่าผลแห่ง บุญและบาปไม่มี อิธโลกก็ไม่มีดังนี้ เป็นต้น ชื่อว่าความไม่ดีไม่จริง ความเห็นว่าอาทิตย์เป็นของส่องโลกให้สว่าง ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นที่ อาศัยของสัตว์ แล้วแลกราบไหว้บูชาของเหล่านั้น อย่างนี้ ชื่อว่า ความจริงแต่ไม่ดี ปฏิบัติของบุคคลบางพวกดังนี้

            เมื่อเวลาราคะ โทสะเกิดขึ้นในจิต เห็นว่าราคะ โทสะเป็นของไม่ดี แล้วหันหน้าสู้ ด้วยอุบายดังนี้ ว่าพระเป็นเจ้าผู้สร้างโลกอยู่ในที่ทั้งปวง รู้เห็นอยู่ใน กาลทั้งปวง ท่านเห็นเราลุอำนาจราคะ โทสะไม่ข่มเสีย ท่านจะจด บาญชีลงชื่อเราไว้แล้วแลปรับโทษในภายหลัง ใช้อุบายดังนี้แล้วแล ข่มราคะ โทสะเสียดังนี้ ชื่อความดีแต่ไม่จริง เพราะหันหน้าสู้ข่ม ราคะ โทสะซึ่งเป็นกิเลสเป็นความดี แต่พระเป็นเจ้าเช่นนั้นไม่มีจริง ความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง ที่บุคคลทำให้มีให้เป็นขึ้นด้วยอุบายที่ จริงที่แท้ ใช่ความเป็นเองที่ไม่มีโลภ ไม่มีโกรธ ไม่มีหลง เพราะ ไม่มีสังสารเป็นที่ตั้งก็ดี ชื่อว่าความดีจริง

            ถามว่า ความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง ที่บุคคลทำให้มีให้เป็น ขึ้นด้วยอุบายที่จริงที่แท้ ชื่อว่าความดีจริงนั้นอย่างไร ? แก้ว่า เหมือนอย่างบุคคลคิดเห็นว่าร่างกายที่มีวิญญาณครองและรู้สุขรู้ทุกข์ ชื่อว่าสัตว์นี้ จะเป็นมนุษย์ก็ตาม ดิรัจฉานก็ตาม ย่อมเกลียดทุกข์ รักสุขทั่วทุกตัวตน เมื่อกำหนดเห็นฉะนั้นแล้ว และไม่เบียดเบียน สัตว์อื่นให้ได้ความทุกข์ด้วยกายและวาจาของตน คิดความสุขให้แก่ สัตว์อื่น ข่มความโลภ ความโกรธเสียด้วยอุบายดังนี้ ด้วยเห็นว่าการ ประพฤติเช่นนี้เป็นความดีจะให้ได้สุขข้างหน้า ชื่อว่าความดีจริง

            อนึ่ง รำพึงถึงความตายได้ความสลดใน ก็ดี หรือรำพึงว่ากองกายนี้เต็มด้วย เครื่องโสโครก มี ผม ขน ฟัน เป็นต้น มีปฏิกูลสัญญาบังเกิดขึ้น รำงับเสียซึ่งความกำหนัด ความโกรธ ความหลงได้ ก็ดี หรือเห็น ละเอียดลงไปว่า สรรพสิ่งทั้งปวง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ใช่ตนด้วยเหตุนี้ ๆ แล้วไม่มีความโลภ ความโกรธ ความหลง ด้วยเห็นว่าปฏิบัติอย่างนี้ จะให้ตนได้สุขภายหน้าและพ้นทุกข์ทั้งปวงดังนี้ ก็ดี นี่แลชื่อว่าความ ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง มีขึ้นเป็นขึ้นด้วยอุบายที่แท้ที่จริง ชื่อว่า ความดีจริง เมื่อกล่าวดังนี้ ทานคือจาคเจตนา ก็ดี ศีลคือทุจริตวิรัติ ภาวนาคือความที่ยังกุศลให้มีให้เป็นขึ้น ซึ่งเป็นความดีจริงดังนี้ ก็ดี หรือระเบียบถ้อยคำที่ประกาศความดีจริงนั้น ก็ดี ชื่อว่าธรรม

            ถามว่า ธรรม แปลว่าอะไร ? แก้ว่า ธรรม แปลว่าของทรงไว้ ซึ่งสัตว์ที่ทรงไว้ซึ่งตน อย่างหนึ่งว่าของอันบุคคลพึงทรงไว้ ความ ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง ที่บังเกิดขึ้นด้วยอุบายที่จริงที่แท้ดังกล่าวมา แล้วนั้น บุคคลผู้ใดทำให้มีให้เป็นขึ้นในตน ผู้นั้นชื่อว่าธรรมจารี ผู้ทรงไว้ซึ่งธรรม ๆ นั้นและย่อมจะทรงผู้นั้นไว้ คือไม่ให้ตกไปในที่ กอบด้วยความทุกข์มีนรก เป็นต้น เพราะเหตุนั้นพระพุทธเจ้าจึ่งได้ ทรงภาษิตไว้ว่า
                    "ธมฺโม
หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ
                    ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ
                    เอสานิส?โส ธมฺเม สุจิณฺเณ
                    น ทุคฺคตึ คจฺฉติ ธมฺมจารี.

            (ความว่า) ธรรมนั้นเทียวใช่อื่นย่อมรักษาไว้ คือว่าทรงไว้ซึ่ง บุคคลผู้ประพฤติซึ่งธรรม ๆ อันบุคคลประพฤติดีแล้วย่อมนำมาซึ่งสุข อันนี้เป็นอานิสงส์ในธรรมอันบุคคลประพฤติแล้วดี คือผู้ประพฤติซึ่ง ธรรมย่อมไม่ไปยังทุคติ" ซึ่งแปลว่าของอันบุคคลจะพึงทรงไว้นั้น ได้ในปริยัติธรรมอันประกาศซึ่งความดีจริงนั้น เพราะปริยัติธรรม เป็นระเบียบบท บุคคลจะพึงเล่าท่องทำทรงไว้ อนึ่ง ปริยัติธรรมจะ แปลว่าทรงไว้ซึ่งผู้ทรงไว้ซึ่งตนด้วยก็ได้ เพราะว่าปริยัติธรรมผู้ใด ทรงท่านไว้ด้วยหวังจะปฏิบัติตาม ท่านย่อมจะทรงผู้นั้นไว้ด้วย ให้ ความเจริญด้วยพาหุสัจจะแล้ว และพ้นจากที่กอบด้วยทุกข์มีอบาย เป็นต้นได้ ความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง ซึ่งเป็นความดีจริงนั้น ที่ ยั่งยืนก็มี ที่ไม่ยั่งยืนก็มี ที่ไม่ยั่งยืนนั้น คือเกิดขึ้นแล้วดับไป มีความ โลภ ความโกรธ ความหลง เกิดขึ้นได้อีก ได้แก่โลกิยกุศลธรรมซึ่ง เป็นไปในภูมิสาม คือ กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร ที่ยั่งยืนนั้น คือเกิดขึ้นแล้วแม้ดับไป ความโลภ ความโกรธ ความหลง ไม่กลับ เกิดอีกได้เลย ได้แก่โลกุตรธรรม อันจะกล่าวในภายหน้าโน้น ฯ

            อนึ่ง ธรรมจัดโดยย่อเป็น ๓ คือ ปริยัติสัทธรรม ๑ ปฏิบัตติ สัทธรรม ๑ ปฏิเวธสัทธรรม ๑ ระเบียบถ้อยคำอันกอบด้วยกิริยา และการกประกาศซึ่งปฏิปัตติสัทธรรม และปฏิเวธสัทธรรม ชื่อว่า ปริยัติสัทธรรม ๆ นั้น จัดโดยบุคคลผู้กล่าวเป็น ๔ คือ เป็นพุทธภาสิต สาวกภาสิต อิสิภาสิต เทวตาภาสิต ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงภาษิต แสดงไว้ชื่อว่าพุทธภาสิต ได้แก่วินัยสุตตันตอภิธัมมัตถะ ธรรมอัน สาวกนับเนื่องในบริษัท ๔ ภาษิตแสดงไว้มีอนังคณสูตร สัมมาทิฐิสูตร เป็นต้น ชื่อว่า สาวกภาสิต ธรรมอันฤษีปริพาขกภายนอกซึ่งรู้ภูมิแห่ง ธรรม ภาษิตแสดงไว้ดังปริพาชกวรรค เป็นต้น ชื่อว่า อิสิภาสิต ธรรมที่เทวดามารพรหมภาษิตแสดงไว้ ชื่อว่า เทวตาภาสิต ได้แก่ ระเบียบแห่งคำในเทวตาสังยุต เป็นต้น ที่เป็นคำอันเทวดาเทวบุตร และมารพรหมกล่าว ปริยัติสัทธรรม ซึ่งจัดโดยภาสิต ๔ นั้น มีองค์ อวยวะเป็นที่กำหนด ๙ คือ สุตตะ ๑ เคยยะ ๑ เวยยากรณะ ๑ คาถา ๑ อุทาน ๑ อิติวุตตกะ ๑ ชาตกะ ๑ อัพภูตธรรม ๑ เวทัลละ ๑ ระเบียบคำที่แสดงเนื้อความได้เรื่องหนึ่ง ควรจะชักมาสาธกได้แต่บาลี ประเทศนั้น ๆ ดังนี้ ชื่อว่า สุตตะ เหมือนคำที่เป็นอุเทศวาร ดังนี้ว่า

            "ปญฺจิมานิ ภิกฺขเว พลานิ กตมานิ ป?ฺจ สทฺธาพล? วิริยพล? สติพล? สมาธิพล? ปญฺ?าพล?" ดังนี้ชื่อว่าเป็นสุตตะ หรือคำว่า "อิธ ภิกฺขเว อริยสาวโก สทฺโธ โหติ สทฺทหติ ตถาคตสฺส โพธึ อิติปิ โส ภควา อรห? ฯ เป ฯ ภควาติ" ดังนี้เป็นต้น ก็ชื่อว่าสุตตะ ระเบียบคำที่แสดงเนื้อความได้เรื่องหนึ่งดังนี้ แม้ในวินัยหรือใน อภิธรรมก็ดี ชื่อว่าเป็นสุตตะในที่นี้ ก็ระเบียบคำที่เป็นจุณณิยบทบ้าง คาถาบ้าง ปนกันอยู่ ดังสคาถาวรรคในคัมภีย์สังยุต ชื่อว่าเคยยะ ระเบียบคำที่เป็นจุณณิยบทล้วนไม่มีคาถาปน ดังธัมจักกัปปวัตตน สูตรเป็นต้น ชื่อว่าเวยยากรณะ ระเบียบคำที่ท่านประพันธ์ผูกเป็น คาถาล้วน ไม่มีจุณณิยบทปน ดังกามสูตร คุหัฏฐกสูตรเป็นต้น ชื่อว่า คาถา ระเบียบคำที่พระผู้มีพระภาค อาศัยโสมนัสสญาณเปล่งออก ชื่อว่าอุทาน ดังคำว่า
                    "ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา
                    อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส
                    อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา
                    ยโต ปชานาติ สเหตุธมฺม?"
เป็นต้น

            อุทานนี้เป็นคาถาก็มี เป็นจุณณิยบทก็มี ระเบียบคำที่พระ พุทธเจ้าตรัสเป็นอุเทศวารขึ้นก่อนแล้ว แสดงอุเทศวารนั้นแล้ว จึ่งกล่าวนิคมน์ในภายหลังอีก ชื่อว่าอิติวุตตกะเหมือนคำว่า "อิมา ฉ ธาตุโยติ ภิกฺขเว มยา ธมฺโม เทสิโต อนิคฺคหิโต อสงฺกิลิฏฺโ? อนุปวชฺโช อบฺปฏิกุฏโ?ว สมเณหิ พฺราหฺมเณหิ วิ?ฺญูหีติ ิอิติโข ปเนต? วุตฺต? กิญฺเจต? ปฏิจฺจ วุตฺต? ฉยิมา ภิกฺขเว ธาตุโย ปฐวีธาตุ ฯเปฯ วิญฺ?ูหีติ อิติ ยนฺต? วุตฺต? อิทเมต? ปฏิจฺจ วุตฺต?."

            ระเบียบคำที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงบูรพาจารีตที่กอบด้วยคำว่า "ภูตปุพฺพ? ภิกฺขเว" ดังนี้ชื่อว่าชาตกะดังทีฆาวุชาดกและมฆเทวชาดก เป็นต้น ระเบียบคำกอบด้วยอัจฉริยัพภูตธรรม ดังคำว่า "จตฺตาโรเม ภิกฺขเว อจฺฉริยา อพฺภูตธมฺมา อานนฺเท" เป็นต้น ชื่อว่าอัพภูต ธรรม ระเบียบคำที่ผู้ถามได้ความรู้แจ้งและความยินดี ถามต่อ ๆ ขึ้นไป ชื่อว่าเวทัลละ ดังจุลเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร สัมมาทิฐิสูตร สักก ปัญหสูตรเป็นต้น อนึ่งเคยยะและเวยยากรณะเป็นต้น ท่านก็เรียกว่า สุตตะ ๙ นี้ชื่อว่าเป็นองค์แห่งปริยัติสัทธรรม ปริยัติสัทธรรมนี้ เมื่อ พระสังคีติกาจริยเจ้ายังไม่ได้ทำสังคายนา และจะทำสังคายนานั้น ท่านเรียกว่าธรรมวินัย ๆ ชื่อดังนี้ ระเบียบคำที่ประกาศข้อปฏิบัติใน กายวาจา ที่พระพุทธเจ้าแต่งตั้งไว้เป็นพุทธอาชญาเป็นอาณาเทศนา ชื่อว่าวินัย ระเบียบคำที่ประกาศข้อปฏิบัติ ที่เป็นไปในกายวาจาใจ ที่พระพุทธเจ้ามิได้แต่งตั้งเป็นอาชญา เป็นแต่แสดงด้วยโวหาร เทศนาบ้าง ปรมัตถเทศนาบ้าง ชื่อว่าธรรม

            อนึ่งเมื่อเวลาทำสังคาย นานั้น ส่วนวินัยท่านเรียกว่าอุภโตวินัย แปลว่าวินัยโดยส่วนสอง คือภิกขุวินัย ภิกขุนีวินัย ส่วนธรรมท่านเรียกว่าปัญจนิกาย แปลว่า นิกาย ๕ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตนิกาย อังคุตรนิกาย ขุททก นิกาย อนึ่งปริยัติสัทธรรมนี้ตั้งแต่ทำสังคายนาแล้วมาท่านเรียกว่า เตปิฏก? พุทฺธวจน? เป็นโวหารปรากฏอยู่ในคัมภีร์อรรถกถา เตปิฏก? พุทฺธวจน? แปลว่า คำแห่งพระพุทธเจ้า คือหมวดแห่งปิฎก ๓ ท่าน จัดเอาอุภโตวินัยเป็นวินัยปิฎก จัดนิกาย ๕ เป็น ๒ ปิฎก ส่วนระเบียบ คำซึ่งประกาศธรรมที่สุขุมละเอียดบ้าง ที่ไม่สุขุมละเอียดบ้าง ที่พระ ผู้มีพระภาคทรงแสดงเป็นเคยยะบ้าง เป็นเวยยากรณะบ้าง เป็นคาถา บ้าง เป็นอุทานบ้าง เป็นอิติวุตตกะบ้าง เป็นชาตกะบ้าง เป็นอัพ ภูตธรรมบ้าง เป็นเวทัลละบ้าง และพระสังคีติกาจริยเจ้าท่านจัดไว้ เป็นระเบียบคำ มีนิทานบ้าง ไม่มีนิทานบ้าง ประดับด้วยองค์คือสุตตะ มากบ้างน้อยบ้าง ดังนี้ชื่อว่าสุตตันตปิฎก ท่านจัดระเบียบคำที่ประกาศ ธรรมสุขุมละเอียด ไม่มีนิทานและประดับด้วยองค์ ๒ คือ สุตตะและ เวยยากรณะ ดังนี้ชื่อว่าอภิธรรมปิฎก

            เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถา จริยเจ้า ท่านจะชี้ปริยัติสัทธรรม ท่านจึงกล่าวว่า "ปิฏกตฺตยสงฺคหิต? สพฺพ? พุทฺธวจน? ปริยตฺติสทฺธมฺโม นาม (แปลว่า) คำแห่งพระ พุทธเจ้าที่ท่านสงเคราะห์ด้วยหมวด ๓ แห่งปิฎกชื่อว่าปริยัติสัทธรรม" ด้วยคำว่า พุทฺธวจน? แปลว่า คำแห่งพระพุทธเจ้านั้น ให้นักปราชญ์ พึงรู้เถิดว่า คำที่สาวกและฤษีและเทวดาภาษิตแล้ว และพระพุทธเจ้า ทรงอนุโมทนาตอบดังนี้ ก็ชื่อว่าพุทธวจนะ นับว่าเป็นปริยัติสัทธรรม

            อนึ่งปริยัติสัทธรรมนี้ ท่านกล่าวว่า "จัดโดยขันธ์เป็นหมวด ๆ มีอยู่ ๘๔,๐๐๐ ขันธ์" จึ่งได้เรียกกันว่า ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ทุกวันนี้จะได้มีผู้ใดนับตรวจดู รู้ว่ายิ่งหรือหย่อนขาดหรือเหลือก็หาไม่ ปริยัติสัทธรรมนี้ แต่เดิมท่านทรงไว้ด้วยปากเรียกว่ามุขปาฐะ เมื่อ ประดิษฐานอยู่ในพระอริยะเจ้า ผู้มีสันดานอันบริสุทธิ์ พระปริยัติ สัทธรรมก็เป็นของบริสุทธิ์ใสสะอาด ปราศจากสัทธรรมปฏิรูปคำเป็น ธรรมปลอม ดังทองในท้องพระคลังหลวงซึ่งบริสุทธิ์ปราศจากของ ปลอม ครั้นนานมาพระพุทธศาสนกาลล่วงแล้ว ๔๐๐ ปี พระเถรเจ้า ทั้งหลายในลังกาทวีป เป็นกุลบุตรมีปัญญาน้อย ไม่อาจจะทรงไว้ ด้วยปาก จึงจารึกเป็นอักษรไว้ในใบลาน

            ครั้นนานกุลบุตรมีปัญญา น้อยลง ท่านจึ่งแต่งคัมภีร์อรรถกถา แก้เนื้อความในพระบาลี แต่ง คัมภีร์ฎีกาแก้อรรถกถา พระปริยัติสัทธรรมนี้ เมื่อประดิษฐานอยู่ใน ปุถุชนผู้มีสันดานไม่บริสุทธิ์ดังพระอริยเจ้า ก็เป็นประหนึ่งว่าเงินทอง อยู่ในมือราษฎร บุคคลบางจำพวกเป็นกัลยาณปุถุชน มีสันดานอัน ซื่อตรงเคารพในปริยัติสัทธรรมมาก บางจำพวกมีสันดานไม่ชื่อตรง เคารพในปริยัติสัทธรรมน้อย

            เพราะเหตุนั้นสัทธรรมปฏิรูปของปลอม สัทธรรม บุคคลบางจำพวกแต่งขึ้นแล้วและอ้างว่าเป็นพุทธวจนะก็มี ดังกุลัมพสูตร ราโรวาทสูตร ติขิณทริยสูตรเป็นต้น ปรากฏชื่ออยู่ใน อรรถกถา สูตรเช่นนั้นคนที่เป็นนักปราชญ์แต่งขึ้นไว้ อ้างว่าเป็น พุทธภาษิตบ้าง สาวกภาษิตบ้าง มีอยู่มาก ดังอคารวาตารสูตร วิชานสูตร และคัมภีร์อื่น ๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ กุลบุตรผู้ปรีชา เมื่อเห็นคัมภีร์และ ปาฐะที่ท่านอ้างว่าเป็นพุทธภาษิตและสาวกภาษิตใด ๆ ก็ดี ถ้ามีความ สนเท่ห์แล้วไซร้ ก็พึงปฏิบัติตามมหาประเทศ ๔ ที่พระผู้มีพระภาคทรง แสดงไว้เป็นเครื่องตัดสินธรรมวินัย แล้วตรวจพยัญชนะและอรรถ ถ้าวิบัติแล้วอย่าพึงเชื่อ ถ้าไม่วิบัติแล้วไซร้ก็ควรเชื่อ

            อนึ่งพยัญชนะ สมบูรณ์ แต่อรรถวิบัติเล่าก็ไม่ควรเชื่อ ระเบียบคำอันใดชี้อรรถ คือข้อปฏิบัติไม่เป็นไปเพื่อวินัย นำเสียซึ่งอกุศลสังกิเลสมีราคะเป็น ต้น ไม่รำงับความโลภ ความโกรธ ความหลง ลงได้ และไม่เป็นไป เพื่ออภิญญาความรู้ยิ่ง รู้ของจริง ๔ คืออริยสัจ ระเบียบคำเช่นนี้ชื่อ ว่าวิบัติโดยอรรถไม่ควรเชื่อ ระเบียบคำอันใดแสดงอรรถ คือข้อ ปฏิบัติเป็นไปเพื่อวินัย นำเสียได้ซึ่ง ราคะ โทสะ โมหะ อันเป็น อกุศลสังกิเลส และเป็นไปเพื่ออภิญญาความรู้ยิ่งรู้สัจจะของจริง ๔ ระเบียบคำเช่นนี้ ชื่อว่าสมบูรณ์ด้วยอรรถสมบัติ เป็นของควรเชื่อ อนึ่งพึงตัดสินปริยัติสัทธรรมด้วยโอวาท ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง แก่นางมหาปชาบดี ซึ่งจักกล่าวในปฏิบัติสัทธรรมนั้นด้วยเถิด

            ปริยัติสัทธรรมนี้ แปลว่าสัทธรรมคือระเบียบคำอันบุคคล พึงถึงรอบ คือเล่าเรียนศึกษาให้รู้อรรถาธิบายในสำนักอาจารย์ อนึ่ง ปริยัติสัทธรรมนี้ เป็นของอาศัยเหตุภายใน คืออุตสาหะกับปัญญา สองประการ อาศัยเหตุภายนอก คือกาลสมบัติจึงเป็นไปสมบูรณ์ บริสุทธิ์ ฯ

ปริยัติสัทธรรมกถา จบ

         

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ