บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



บุพพสิกขาวรรณณา

สารบัญ

คำนำ

รตนัตตยบัพพะ

อาปัตตินามาทิบัพพะ

ปฏิปัตติมุขบัพพพะ

กาลิกบัพพะ

พินทวาธิฏฐานาทิบัพพะ

วิชหนาทิบัพพะ

อาปัตติเทสนาทิบัพพะ

มาตรากถา

 

            บัดนี้จะแปลอธิบายในบทว่า อรหํ เป็นต้น ท่านประกอบบท ไว้เป็นอนุสสรณนัยอย่างสำหรับตามระลึก ซึ่งคุณแห่งพระพุทธเจ้า ดังนี้ว่า โส ภควา อิติปิ อรหํ ฯลฯ โส ภควา อิติปิ ภควา แปลว่า โส ภควา พระผู้มีพระภาคนั้น อรหํ ชื่อ อรหํ อิติปิ แม้ เพราะเหตุดังนี้ แปลอย่างนี้ไปทุกบท จนถึงบทว่า โส ภควา อิติปิ ภควา อธิบายว่า โส ภควา พระผู้มีพระภาคนั้น อรหํ ชื่อว่า อรหํ เพราะเป็นผู้ไกลจากกิเลสอย่าง ๑ เพราะเป็นผู้ควรอย่าง ๑ แท้จริง พระผู้มีพระภาคนั้น ตั้งอยู่แล้วในที่ไกลด้วยดียิ่งนักจากกิเลสทั้งปวง เพราะเหตุนั้นจึ่งชื่อ อรหํ กิเลส ๆ นั้น แปลว่าเครื่องหมองใจ ได้แก่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง และมายาสาไถยเป็นต้น ที่เกิดขึ้น แล้ว ทำน้ำจิตให้เศร้าหมองขุ่นมัวเป็นอกุศลจิต ซึ่งว่าพระองค์ ไกลกิเลสนั้น ใช่ว่ากิเลสจะกลัวพระองค์หนีไปอยู่แห่งใดแห่งหนึ่ง หรือพระองค์หนีกิเลสมานั้นก็หาไม่ เพราะกิเลสเป็นอรูปธรรม ไม่มีรูปไม่มีตัว ซึ่งว่าพระองค์ไกลกิเลสนั้น คือไม่มีกิเลสเครื่อง หมองใจในสันดาน เพราะสรรพกิเลสนั้น คือไม่มีกิเลสเครื่อง เสียแล้วด้วยมรรคญาณนั้น ๆ ก็วาสนานั้นแปลว่า ปกติอันกิเลส อบรมอยู่ ได้แก่อาการแห่งกายวาจาของพระขีณาสพ ผู้ไม่มีกิเลส เหมือนอาการของคนมีกิเลส วาสนานี้พระสัพพัญญูพุทธเจ้าจำพวก เดียว มละได้ขาดพร้อมกับกิเลสด้วยอรหัตตมรรค พระปัจเจก พุทธเจ้าและพระอรหันต์ซึ่งเป็นสาวกมละวาสนาไม่ได้ มละได้แต่ กิเลสอย่างเดียว

            เพราะเหตุนั้น พระสาริบุตรผู้อัครสาวก ในภพก่อน ่ท่านเคยเกิดในกำเนิดวานร วาสนาอาการแห่งวานรติดมา แม้เป็น พระอรหันต์แล้ว เมื่อเวลาดำเนินถึงที่หลุมบ่อ ท่านก็โดดโลดดัง วานร อนึ่ง พระปิลินทวัจฉัตเถระ เมื่อท่านเป็นปุถุชนอยู่มักกล่าวว่า วสลิ ๆ เป็นคำหยาบ โดยนิยมในมคธภาษา แม้ท่านเป็นพระอรหันต์ ขีณาสพแล้ว ท่านก็ยังกล่าวอยู่ว่าวสลิ ๆ เพราะวาสนาพระอรหันต์ สาวกมละไม่ได้

            เพราะเหตุนั้น ความมละกิเลสแห่งพระพุทธเจ้า ไม่สาธารณทั่วไป กับพระปัจเจกพุทธะ พระองค์มีพระหฤทัย อันบริสุทธิ์ใสสะอาดไม่หวาดหวั่นไหวในโลกธรรมทั้ง ๘ ลาภและ ใช่ลาภ ยศและใช่ยศ นินทา ปสังสา สุข ทุกข์ มาถึงเฉพาะพระองค์ ๆ ไม่อนุโรธพิโรธยินดียินร้าย ย่อมเพิกเฉยประกอบด้วยฉฬังคุเบกขา แม้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ดีร้ายใด ๆ มากระทบ จักษุ โสต ฆาน ชิวหา กาย มโนทวาร พระองค์ไม่โสมนัสโทมนัส ย่อมเพ่งโดยอุปบัติด้วยญาณุเบกขา

            อนึ่ง พระองค์มีพระหฤทัยดัง แผ่นดิน แม้พระกายข้างหนึ่งทาด้วยจุรณาจันทน์สุคนธชาติของหอม พระกายข้างหนึ่งทาด้วยทุคนธชาตินั้น มีพระหฤทัยอันเสมอ ดังนี้ เพราะพระองค์ไกลกิเลส อนึ่งพระผู้มีพระภาคนั้น ชื่อว่า อรห? เพราะเป็นผู้ควร แท้จริงพระผู้มีพระภาคนั้น พระองค์ควรจะ บัญญัติซึ่งสิกขาบทจากกิเลสแล้ว ไม่กระทำการบัญญัติซึ้งสิกขาบท และ แสดงธรรมตามอำนาจกิเลส พระองค์ทำสิ่งที่เป็นธรรมและวินัยเป็น เบื้องหน้าแล้ว ทรงบัญญัติซึ่งสิกขาบทและแสดงธรรม

            อนึ่งพระองค์ ควรในลาภยศและความสรรเสริญความสุข เพราะพระองค์ไม่มีความ ยินดี อนึ่งพระองค์ควรจะรับปัจจัยทั้ง ๔ มีจีวรเป็นต้นและบูชาพิเศษ อันเทพดามนุษย์ทั้งหลายกระทำ เพราะพระองค์เป็นยอดทักขิเณยย บุคคล กระทำผลแห่งทานการบูชา ให้ไพบูลพิเศษยิ่ง เพราะเหตุ พระองค์เป็นผู้ควรสักการบูชาพิเศษนั้น เมื่อพระองค์เกิดขึ้นแล้ว ในโลก เทพดามนุษย์ทั้งหลายผู้มีปัญญาจึ่งได้บูชาพระองค์ด้วย ปัจจัย ๔ และเครื่องสักการบูชาพิเศษต่าง ๆ จนพระองค์ดับขันธ ปรินิพพานแล้ว โลกก็ยังได้ทำการบูชาพระองค์จนถึงทุกวันนี้ เพราะเหตุนี้จึ่งว่าพระองค์เป็นผู้ควร

            ในบุพพสิกขาแปลบท อรหํ ว่าผู้ควรก่อนนั้น ตามศัพพรูป แล้วแปลว่าผู้ไกลกิเลสไว้เบื้องหลัง ในที่นี้แปลว่าผู้ไกลจากกิเลส พระผู้ ตามนัยในบาลี เพื่อจะแสดงว่าผู้ควรนั้นเพราะไกลจากกิเลส พระผู้ มีพระภาคทรงพระนามว่า สมฺทาสมฺพุทฺโธ นั้น เพราะพระองค์เป็นผู้ ตรัสรู้ คือรู้เท่าซึ่งธรรมทั้งปวงเองชอบ อธิบายทั้งปวงให้นักปราชญ์ พึงรู้ดังบทว่า พุทฺโธ ดังกล่าวแล้วในก่อน

            แปลกแต่ที่นี้มีบทว่า สมฺมาสิ กับว่าธรรมทั้งปวง แทนสังขารทั้งปวงเท่านั้น สมฺมา แปลว่าชอบ แสดงว่าความตรัสรู้ของพระองค์ชอบแท้ไม่วิปริต และบรรเทากิเลสา สวเสียได้ คำว่า สํ แปลว่าเองนั้น แสดงว่าพระองค์ตรัสรู้เองแต่ ลำพัง ไม่มีผู้ใดในไตรภพเป็นครูสอน ก็ธรรมทั้งปวงที่พระองค์ตรัสรู้ นั้นคือ อายตนะ วิญญาณกาย ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา ตัณหา กาย วิตก วิจาร สิ่งละหก ๆ ขันธ์ ๕ กสิณ ๑๐ อนุสติ ๑๐ สัญญา ๑๐ อาการมีผมขนเป็นต้น อายตนะ ๑๒ ภพ ๙ ฌาน ๔ อัปปมัญญา ๔ อรูปสมาบัติ ๔ องค์ปฏิจจามุปาบาท มี อวิชชาเป็นต้น มีชรามรณะเป็นที่สุด โดยอนุโลมปฏิโลม เหล่านั้น ชื่อว่าธรรมทั้งปวง แทนสังขารทั้งปวง พระองค์รู้เท่าธรรมทั้งปวง นี้ คือรู้ว่าเป็นอภิญเญยยธรรม จะพึงรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง จะพึงรู้ยิ่ง อย่างไร ส่วนธรรมที่เป็นปริญเญยยะ จะพึงกำหนดรู้ คือทุกข์ก็ กำหนดรู้ว่าเป็นทุกข์

            ส่วนธรรมที่เป็นปหาตัพพะ จะพึงมละได้ คือ สมุทัย ก็มละได้ ส่วนธรรมที่เป็นสัจฉิกาตัพพะ จะพึงกระทำให้แจ้ง ประจักษ์ คือนิโรธ ก็กระทำให้แจ้งประจักษ์ได้ ส่วนธรรมที่เป็น ภาเวตัพพะ จะพึงให้มีให้เจริญขึ้น คือ มรรค ก็ให้มีให้เจริญขึ้นได้ อย่างนี้แลชื่อว่ารู้ยิ่ง จะประกอบในอายตนะอันเดียวคือจักษุ พอเป็น นิทัสสนะตัวอย่าง จักษุนี้เป็นของจะพึงกำหนดรู้ว่าเป็นทุกข์ เพราะ ไม่เที่ยง เพราะใช่ตนจึ่งเป็นทุกข์ ตัณหานี้เป็นของจะพึงมละได้ ความ ไม่เป็นไปแห่งทุกข์และสมุทัยนั้นชื่อว่านิโรธ ๆ นี้ เป็นของจะพึงกระทำ ให้แจ้งประจักษ์ได้ ความรู้ทุกข์สมุทัยนิโรธนั้นชื่อว่ามรรค ๆ นี้จะพึง ให้มีให้เจริญขึ้นได้

            พระผู้มีพระภาครู้อย่างนี้แลชื่อว่ารู้ชอบ ไม่มีผู้ใด สอนพระองค์ ๆ รู้เอง เพราะเหตุนั้นจึ่งทรงพระนามว่า สมฺมาสมฺพุทฺโธ ผู้รู้เท่าซึ่งธรรมทั้งปวงเองชอบ ให้นักปราชญ์พึงประกอบในอายตนะ นอกนั้นและธรรมอันเศษดังนี้ทุก ๆ บทเถิด ก็แลบทว่า อรหํ นั้น สำเร็จด้วยปหานะการมละกิเลส บทว่า สมฺมาสมฺพุทฺโธ นั้นสำเร็จด้วย ภาวนาความทำปัญญาให้เจริญขึ้น

            พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน นั้น เพราะพระองค์ถึงพร้อมแล้วบริบูรณ์แล้วด้วยวิชชาและจรณะ วิชชา ๓ อย่างหนึ่ง วิชชา ๘ อย่างหนึ่ง วิชชา ๓ นั้น คือ บุพเพนิวาสา นุสสติญาณ ปัญญาตามระลึกซึ่งขันธ์ที่ตนและสัตว์อื่นอยู่แล้วใน ภพก่อน ๑ จุตูปปาตญาณ ปัญญารู้เห็นจุติปฏิสนธิแห่งสัตว์ ๑ อาสวักขยญาณ ปัญญาความรู้ในธรรมเป็นเครื่องสิ้นอาสวะ ๑ สามนี้ ชื่อว่าวิชชา เพราะเป็นความรู้แจ้งแทงตลอดล่วงรู้

            วิชชา ๓ นี้ ได้กล่าวพิสดารแล้วในเบื้องหลัง วิชชา ๘ นั้นคือ วิปัสสนาญาณ ปัญญาเห็นกายนี้ดังชักไส้หญ้าปล้อง ๑ อิทธิวิธิ ส่วนฤทธิ์สำเร็จด้วย อธิฏฐาน คือคนเดียวอธิฏฐานให้เป็นคนมาก ๆ อธิฏฐานให้เป็น คนเดียวเป็นต้น ๑ ทิพพโสตธาตถ โสตทิพย์ได้ยินเสียงมนุษย์และ เสียงทิพย์ในที่ใกล้หรือที่ไกล ๑ เจโตปริยญาณ รู้กำหนดจิต แห่งผู้อื่นว่า เป็นจิตประกอบด้วยราคะและปราศจากราคะเป็นต้น ๑ กับวิชชา ๓ ดังกล่าวแล้วนั้น จึ่งเป็น ๘ ๘ นี้ชื่อว่าวิชชา เพราะ เป็นความรู้วิเศษรู้ต่าง ๆ รู้แจ้วแทงตลอด

            วิชชา ๘ นี้มีที่มาน้อย วิชชา ๓ นั้นมีที่มามาก จรณะมี ๑๕ คือ ศีลสังวร ศีล คือความ สำรวมกายวาจา ๑ อินทริยสังวร ความสำรวมในอินทรีย์ทั้ง ๖ มี จักขุนทรีย์เป็นต้น มิให้อภิชฌาโทมนัสปาปธรรมเกิดขึ้นได้ ๑ โภชนมัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ๑ ชาคริยา นุโยค ความประกอบตามซึ่งความเพียรเป็นของแห่งคนผู้ตื่นอยู่ ๑ กัปสัปปุริสธรรม ๗ คือ ศรัทธา ความเชื่อต่อของที่ควรเชื่อ หิริ ความละอายเพราะทุจริตปาปธรรม โอตตัปปะ ความสะดุ้งแต่ ทุจจริตปาปธรรม พาหุสัจจะ ความเป็นพหุสุต วิริยะ ความเพียร สติ ความระลึก ปัญญา ความรู้ทั่วถึง กับฌาน ๔ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน

            ธรรมมีประเภท ๑๕ นี้ ชื่อว่า จรณะ เพราะเป็นธรรมสำหรับบุคคลจะสัญจรดำเนินไปสู่ทิศที่ ไม่เคยไปคือ พระนิพพาน วิชชา ๓ และ ๘ ก็ดี และจรณะ ๑๕ นี้ ย่อมมีพร้อมบริบูรณ์ไม่บกพร่องในพระผู้มีพระภาค เพราะเหตุนั้น จึ่งทรงพระนามว่า วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชา และจรณะ วิชชาสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยวิชชา แห่งพระผู้มี พระภาคนั้นย่อมกระทำ สัพพัญญุตา ความเป็นผู้รู้ซึ่งสรรพเญยยธรรม ทั้งปวงไม่ขัดข้องให้บริบูรณ์ดำรงอยู่ จรณะสัมปทา ความที่พระองค์ ถึงพร้อมด้วยจรณะย่อมกระทำมหาการุณิกตา ความที่พระองค์มีกรุณา อันใหญ่หลวง ให้บริบูรณ์ดำรงอยู่ พระองค์นั้นย่อมรู้ซึ่งสิ่งที่เป็น ประโยชน์และใช่ประโยชน์แห่งสรรพสัตว์ด้วยสัพพัญญุตา และเว้น เสียซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ประกอบสัตว์ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ด้วย มหากรุณิกตาความกรุณาอันใหญ่หลวง ทั้งนี้เพราะพระองค์ถึง พร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ

            เพราะเหตุนั้น สาวกของพระองค์ จึ่งเป็น สุปฏิปนฺโน ผู้ปฏิบัติแล้วดี ไม่เป็น ทุปฺปฏิปนฺโน ผู้ปฏิบัติ แล้วชั่วดังสาวกแห่งครูผู้วิบัติจากวิชชา และจรณะ เป็นอัตตันตัปปะ ผู้ทำตนให้เร่าร้อนเปล่าเป็นต้น

            พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า สุคโต นั้น เพราะพระองค์ ไปแล้วสู่ที่อันดีคือพระนิพพานอันเป็นอมฤตสถาน อนึ่ง พระองค์ ทรงพระนามว่า สุคโต เพราะพระองค์ไปแล้วชอบ แท้จริง กิเลสใดที่ พระองค์มละแล้วด้วยโสดาปัตติมรรค พระองค์ไม่คืนมาสู่กิเลสนั้นอีก กิเลสใด ๆ ที่พระองค์มละแล้วด้วย สกิทาคามิมรรค และอนาคามิมรรค หรืออรหัตมรรค ก็ดี พระองค์ไม่กลับคืนมาสู่กิเลสนั้น ๆ อีก

            เพราะ เหตุนั้น พระองค์จึ่งทรงพระนามว่า สุคโต ผู้ไปแล้วชอบ อนึ่ง สุคโต แปลว่าเป็นผู้ไปแล้วดี แท้จริง พระผู้มีพระภาคไปเสียแล้ว จากธรรมเหล่าใด ธรรมเหล่านั้นไม่คืนมาสู่พระองค์ได้อีก เมื่อ พระองค์ถึงแล้วซึ่งที่อันใด ที่อันนั้นไม่กำเริบ ธรรมที่พระองค์ไป จากเสียนั้น คือกิเลสที่พระองค์มละแล้วด้วยมรรคนั้น ๆ กิเลสนั้นไม่ กลับคืนมาบังเกิดในพระหฤทัยได้อีก ที่อันพระองค์ถึงแล้วนั้น คือ พระนิพพาน ๆ เป็นอกุปปธรรมไม่กำเริบกลับคืนเป็นสราคาทิธรรมที่ กอปรด้วย ราคะและกลับคืนเป็นชาติธรรมชราธรรม เป็นต้น พระองค์ ไปเสียจากกิเลส ถึงแล้วซึ่งพระนิพพาน ด้วยเหตุนั้นจึงทรงพระนาม ว่า สุคโต ผู้ไปแล้วดี

            พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า โลกวิทู นั้น เพราะพระองค์ เป็นผู้รู้แจ้งซึ่งโลกด้วยประการทั้งปวง แท้จริงพระผู้มีพระภาคนั้น รู้แจ้งแทงตลอดแล้วซึ่งขันธาทิโลก โดยสภาพความเป็นของตนแห่ง โลก คือทุกข์ และรู้โดยสมุทัยเหตุเป็นแดนเกิดแห่งโลก คือ ตัณหา และรู้โดยนิโรธ ธรรมเป็นที่ดับแห่งโลกและสมุทัย คือ พระนิพพาน และรู้โดยนิโรธุบาย ธรรมเป็นอุบายในความดับโลกคือมรรค พระองค์รู้ด้วยประการทั้งปวงดังนี้

            เพราะเหตุนั้นพระองค์จึ่งได้ตรัส แก่โรหิตัสสเทวบุตรว่า "ในที่สุดโลกใด สัตว์ย่อมไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ย่อมไม่เคลื่อน ไม่เข้าถึง เราตถาคตย่อมไม่กล่าวซึ่งที่สุด โลกนั้นว่า เป็นที่อันบุคคลจะพึงรู้พึงเห็นพึงถึงได้ ด้วยการไปโดย ปกติมีไปด้วยเท้าเป็นต้น ก็แลเราตถาคตย่อมไม่กล่าวว่ายังไม่ถึงซึ่ง ที่สุดแห่งโลก และกระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ได้ ก็แต่ว่าเราตถาคต ย่อมบัญญัติซึ่งโลก และโลกสมุทัยเหตุเป็นแดนเกิดแห่งโลก และ โลกนิโรธที่เป็นดับโลก และโลกนิโรธคามินีปฏิปทา ทางดำเนินไป ถึงที่ดับโลก ๔ นี้ ในกเฬวรสรีรกายยาวประมาณวาหนึ่ง ประกอบ ด้วยสัญญาและในนี้แล ใช่จะบัญญัติในที่อื่นก็หาไม่" พระผู้มีพระ ภาครู้โลกด้วยประการทั้งปวงดังนี้

            เพราะเหตุนั้นจึ่งทรงพระนามว่า โลกวิทู ผู้รู้แจ้งซึ่งโลก นัยอันนี้ได้ในสังสารโลก อนึ่งแม้ถึงสัตวโลก พระผู้มีพระภาคก็ย่อมรู้แจ้ง รู้แจ้งอย่างไร พระองค์ก็รู้แจ้งดังนี้ว่า สัตวโลกคือ เทพดามนุษย์จำพวกนี้มีอาสยะ ธรรมเป็นที่มานอนอยู่ แห่งจิตดังนี้คือ บางพวกเป็นสัสสตาสยะ บางพวกเป็นอุจเฉทาสยะ บางพวกเป็นอนุโลมิกขันตยาสยะ บางพวกเป็นยถาภูตญาณาสยะ และรู้ว่าสัตวโลกจำพวกนี้มีอนุสัตคือกิเลสนอนอยู่ในสันดานดังนี้ คือ เป็นราคานุสัยเป็นต้น และรู้ว่าสัตว์จำพวกนี้กอบด้วยสุจริตและทุจริต หรือรู้จริตทั้ง ๖ แห่งสัตว์ก็ดี และรู้ว่าสัตว์ผู้มีอธิมุตติ คือ อัธยาศัย ต่ำช้าและประณีต ดังนี้ก็ดี และรู้ว่าสัตว์ผู้มีอินทรีย์คือศรัทธาเป็นต้น อันคมกล้า ผู้นี้มีอินทรีย์อันอ่อนทราม ผู้มีอาการอันดีคือเป็น วิวัฏฏาศัย ผู้นี้มีอาหารอันชั่ว คือเป็นวัฏฏาศัย ผู้นี้จะพึงให้รู้ได้ ด้วยง่าย เพราะมีศรัทธาและปัญญา ผู้นี้จะพึงให้รู้ได้ด้วยยาก เพราะไม่มีศรัทธาและปัญญา ผู้นี้เป็นภัพพสัตว์ควรจะตรัสรู้ เพราะ ปราศจากอาวรณธรรมเครื่องกั้น คือกรรรมและกิเลสและวิบาก ผู้นี้ เป็นอภัพพสัตว์ เพราะประกอบด้วยอาวรณธรรมมีกรรมเป็นต้น พระองค์รู้แจ้งซึ่งสัตวโลกดังนี้แล จึ่งทรงพระนามว่า โลกวิทู ผู้รู้แจ้ง ซึ่งโลก

            อนึ่ง โลกโดยประเภทมี ๓ คือ สังขารโลก ได้แก่นามรูป เป็นต้น ๑ สัตวโลก ได้แก่เทพดามนุษย์เป็นต้น ๑ โอกาสโลก คือแผ่นดินอากาศเป็นต้น ๑ พระผู้มีพระภาคย่อมรู้โลกทั้ง ๓ นี้ว่า เป็นปลุชชนธรรม มีความหลุดทลายหักพังไม่ยั่งยืนเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้นพระองค์จึ่งทรงพระนามว่า โลกวิทู ผู้รู้แจ้งซึ่งโลก

            พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า อนุตฺตโร นั้น เพราะไม่มีผู้ใด ในไตรภพยิ่งกว่าพระองค์ด้วยคุณ แท้จริง พระผู้มีพระภาคนั้น ครอบงำเสียซึ่งโลกทั้งปวง ด้วยคุณ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ และพระองค์ไม่มีผู้เสมอ พระองค์ย่อมเสมอ ด้วยพระพุทธเจ้าที่ไม่มีผู้ใดเสมอ พระองค์ไม่มีผู้เปรียบ ไม่มี บุคคลผู้เปรียบด้วยคุณมีศีลเป็นต้น เพราะเหตุนั้น พระองค์จึ่งทรง พระนามว่า อนุตฺตโร เป็นผู้ไม่มีใครยิ่งกว่า ให้บัณฑิตพึงสาธกด้วย อัคคัปปสาทสูตรเป็นต้น

            พระนามว่า ปุริสทมฺมสารถิ นั้น แปลว่าพระองค์เป็นผู้ทรมาน ซึ่งบุรุษที่ควรทรมาน แท้จริง พระผู้มีพระภาคนั้นย่อมทรมาน ซึ่ง เทพดามนุษย์และอมนุษย์ ซึ่งเป็นบุรุษควรทรมานนั้น ด้วยวินัย อุบายอันวิจิตรต่าง ๆ คือสัตว์จำพวกใดชอบคำละเอียดไพเราะ พระองค์ก็ทรงทรมานด้วยคำละเอียด คือ แสดงสุจริต ๓ มีกาย สุจริตเป็นต้น และแสดงผลแห่งสุจริต ชื่อว่าเป็นคำละเอียดไพเราะ พระองค์ก็ทรงทรมานด้วยคำละเอียด คือ แสดงสุจริต ๓ มีกาย สุจริตเป็นต้น และแสดงผลแห่งสุจริต ชื่อว่าเป็นคำละเอียด ให้สัตว์ นั้นยินดีประพฤติ สัตว์จำพวกใดชอบคำหยาบ พระองค์ก็ทรงทรมาน ด้วยคำหยาบ คือประกาศทุจริต ๓ และผลแห่งทุจริตนั้น ให้ สัตว์เกลียดกลัวมละเสีย สัตว์จำพวกใดชอบทั้งคำละเอียดคำหยาบ พระองค์ก็ทรงทรมานด้วยคำทั้งละเอียดทั้งหยาบ คือทรงแสดงซึ่ง พยสอันร้ายคือทุจริต ตั้งอยู่ในกุศลสุจริต สัตว์จำพวกใดไม่ รับวินัยอุบายวิธีทรมานอันวิจิตรพระองค์ดังนี้ สัตว์จำพวกนั้น ชื่อว่า อปุริสทมฺโม ใช่บุรุษควรทรมาน บุรุษไม่ควรทรมาน พระองค์ ไม่ทรงทรมาน บุรุษจำพวกนั้นชื่อว่าอันพระผู้มีพระภาคฆ่าเสียแล้ว ด้วยไม่ทรงทรมานสั่งสอน บุรุษนั้นชื่อว่า ตายจากกุศลธรรมและ ความสุขในโลกทั้งสอง พระผู้มีพระภาคฉลาดในการทรมานสัตวโลก ดังนายหัตถาจารย์อัสสาจารย์ควาญช้างควาญม้าผู้ฉลาดทรมานซึ่ง คชสารและอัสดร ซึ่งเป็นสัตว์ควรทรมานให้มละพยสอันร้ายดังนี้ พระองค์จึ่งทรงพระนามว่า ปุริสทมฺมสารถิ ผู้ทรมานซึ่งบุรุษควร ทรมาน

            อนึ่ง อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สองนี้เป็นพระนามเดียวกัน แปลว่าพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ทรมานซึ่งบุรุษที่ควรทรมาน ไม่มีใคร ยิ่งกว่า แท้จริง เหมืนออย่างคชสารและอัสดร นายหัตถาจารย์ อัสสจารย์ ความผู้ฉลาดทรมานคล่องแคล่วแล้วด้วยดี นายควาญ ประสงค์จะให้แล่นไปในทิศใด ก็แล่นไปได้ยังทิศนั้นอย่างเดียวใน วารหนึ่ง ส่วนบุรุษที่พระผู้มีพระภาคทรงทรมานแล้วนั้น แม้นั่งอยู่ ด้วยบัลลังก์อันเดียวก็ย่อมแล่นไปได้สู่ทิศทั้ง ๘ คือ สมาบัติ ๘

            เพราะเหตุนั้นพระองค์จึ่งทรงพระนามว่า อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ อนึ่งพระองค์ทรงทรมานเทพดามนุษย์ซึ่งเป็นบุรุษควรทรมาน ด้วย อนุสาสนีปาฏิหาริย์ เป็นกระบวนทรมานไม่ข่มเหงด้วยอาชญา ให้สัตว์เสวยทุกขเวทนา ดังควาญช้างควาญม้าและคนที่เป็นอิสสรา ธิบดี ทรมานซึ่งคชสารและอัสดรและชนอยู่ในอำนาจแห่งตน ด้วย ดำด่าและอาชญา คือจองจำและประหารด้วยเครื่องประหารต่าง ๆ แม้พระองค์ทรงทรมานสัตว์บางพวก ด้วยอิทธิปาฏิหารย์และอาเทสนา ปาฏิหาริย์บ้าง ก็เป็นกระบวนปราบปรามให้สิ้นพยสอันดุร้ายมานะดื้อ กระด้างเสียก่อน แล้วก็ทรงทรมานด้วยอนุศาสนีปาฏิหาริย์ คือ ประทานเทศนาคำสอนให้สัตว์ปฏิบัติตาม มละพยสอันร้ายคือ ทุจริตสังกิเลสธรรม ด้วยมรรคภาวนานั้น ๆ สัตว์นั้นไม่กลับคืน ประกอบด้วยทุจริตสังกิเลสธรรมซึ่งเป็นพยสอันร้ายอีกเลย ดัง คชสารและอัสดร นายควาญทรมานแล้วแลกลับคืนมีพยสอันร้ายอีก บ้างในกาลบางคราว เพราะเหตุนั้นพระองค์จึ่งทรงพระนามว่า อนุตฺตโร ปุริสทมฺทสารถิ ผู้ทรมานซึ่งบุรุษที่ควรทรมานไม่มีใคร ยิ่งกว่า

            พระนามว่า สตฺถา เทวมนุสฺสานํ แปลว่าพระองค์เป็นศาสดา ผู้สอนของเทพดามนุษย์ทั้งหลาย แท้จริง พระผู้มีพระภาคย่อม สอนด้วยประโยชน์ ๓ คือทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ในทิฏฐธรรม ปัจจุบัน และสัมปรายิกัตถประโยชน์ในภพหน้า และปรมัตถ ประโยชน์ เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง คือพระนิพพาน ตามควรแก่ อัธยาศัยแห่งเวไนยสัตว์ พระองค์สอนด้วยทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ นั้น

            ดังพระองค์สอนทีฆชาณถโกฬิยบุตร และอุชยพราหมณ์ด้วย สัมปทา ๔ คือ อุฏฐานสัมปทา ความหมั่นประกอบกิจการงาน ซึ่งเป็นหน้าที่อันตนจะต้องทำ และแสวงหาทรัพย์โดยอุบายที่ชอบ อารักขสัมปทา ความฉลาดรักษากิจการงานที่ตนประกอบ และ ทรัพย์ที่แสวงหาได้มาด้วยความหมั่นนั้นมิให้เสียหาย สมชีวิตา ความ เลี้ยงชีพใช้ทรัพย์พอควรแก่กำลังทรัพย์ที่มีมากและน้อย และกัล ยาณมิตตตา ความเป็นผู้เสพกับยาณมิตรดังนี้ก็ดี และทรงชี้ให้รู้จัก อบายมุข

            ประตูที่จะให้เสื่อมทรัพย์ ๔ อย่าง คือ ประกอบการเสพ สุรา ๑ เที่ยวเล่นกลางคืน ๑ เพลินในการเล่นเกินประมาณ ๑ ประกอบการเล่นพนัน ๑ คบคนชั่วเป็นมิตร ๑ เกียจคร้านประกอบ กิจการงาน ๑ ให้สิงคาลมานพคฤหบดีบุตรรู้จัก เพื่อมละเว้นเสีย ดังนี้ ชื่อว่าสอนด้วยทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ และพระองค์สอนด้วย สัมปรายิกัตถประโยชน์นั้น ดังสอนทีฆชาณุโกฬิยยบุตรเป็นต้นนั้น ด้วยสัมปทา ๔ คือ ศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา

            อนึ่ง พระองค์ทรง แสดง มัตเตยยตา ปฏิบัติเกื้อกูลแก่สมณะผู้ปฏิบัติกายวาจาใจรำงับ จากบาป พราหมัญญตา ปฏิบัติเกื้อกูลแก่ท่านผู้มละบาปในไตรทวาร ซึ่งได้นามตามอริยโวหารว่าพราหมณ์ อปจายนะ ความประพฤติตน อ่อนน้อมแก่บุคคลควรอ่อนน้อม และแสดงญาติสังคหะ ความ สงเคราะห์ญาติ ปุตตทารสังคหะ ความสงเคราะห์บุตรภริยา และ บุญญกิริยาวัตถุ ๓ คือ ทานการให้ปัน ๑ ศีล ความสำรวมกายวาจา เรียบร้อยปราศจากโทษ ๑ ภาวนา ความทำกุศลให้เกิดมีในจิต ๑ ทุจริตปหาน การมละความประพฤติชั่ว สุจริตสมาทาน การถือความ ประพฤติดีเป็นต้น

            โดยนัยวิจิตรพลิกแพลงยักย้ายต่าง ๆ ซึ่งมีมาใน สุตตันตประเทศนั้น ๆ ดังนี้ ชื่อว่าสอนด้วยสัมปาริกัตถประโยชน์ พระองค์ทรงแสดงไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญาและแสดงปฏิปทา ต่าง ๆ ซึ่งเป็นอุปการะแก่ไตรสิกขา ซึ่งเป็นทางที่สัตว์จะดำเนินถึง พระนิพพาน เป็นที่เกษมสิ้นทุกข์ โดยอเนกนัยวิจิตรต่าง ๆ ซึ่งมี มาในคัมภีร์ปริยัติธรรมดังนี้นั้น ชื่อว่าทรงสอนด้วยปรมัตถประโยชน์

            เพราะพระองค์สอนสัตว์ด้วยประโยชน์ ๓ ดังนี้ จึ่งมีพระนามว่า สตฺถา เทวมนุสฺสานํ ก็แลพระองค์ทรงสอนด้วยทิฏฐธัมมิกัตถประ โยชน์ และสัมปรายิกัตถประโยชน์นั้นไม่มหัศจรรย์ยิ่งนัก ด้วย ครูอื่นบางเหล่าอาจแสดงได้แม้โดยเอกเทศ

            อนึ่ง พระผู้มีพระภาคดังอาจารย์ ผู้สอนอักขรสมัย ฝ่ายเวไนยสัตว์ ซึ่งยังไม่เคยสดับพุทธภาษิต ไม่รู้จัก ประโยชน์ ๒ ก็ดี และประเภทกุศลและอกุศล และประเภทแห่ง สังขารมีขันธ์เป็นต้น ประกอบด้วยวิปลาสสำคัญว่า สังขารเป็น ของเที่ยงเป็นสุขเป็นตัวตนสัตว์บุคคลและเป็นของงาม ดังกุมารน้อย ที่ยังไม่ได้ศึกษาในอักขรสมัย แม้เห็นอักษรก็สำคัญว่าลวกลายวิจิตร ครั้นเวไนยสัตว์ได้สดับพุทธภาษิตเฉพาะพระพักตร์ หรืออาศัย อุคคหปริปุจฉา และสดับเทศนาแต่พหุสุตบุคคลแสดงสืบ ๆ มา แล้วอ่านออกและรู้ประเภทแห่งธรรมเป็นกุศลและอกุศล และรู้ ประเภทแห่งสังขารมีนามรูปเป็นต้น แล้วแยกย้ายกองสังขาร เป็นนามรูปหรือขันธ์ ๕ ขั้นพิจารณาด้วยสัมมสนญาณ เห็นสามัญญ ลักษณะในสังขารว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์ใช่ตน หรือเห็นว่าเป็นของ ปฏิกูลไม่งาม มละวิปลาส ๓-๔ ได้ด้วยตทังคปหานขณะหนึ่งก็ดี หรือด้วยสมุจเฉทปหาน มละขาดทีเดียวก็ดี ดังกุมารน้อยได้ศึกษา ในอักขรสมัย ในสำนักอาจารย์แล้ว ได้เห็นอักษรอ่านออกรู้ความ มละวิปลาสซึ่งเห็นว่าเป็นลวดลายนั้นได้

            พระผู้มีพระภาคแม้ถึง พระองค์ดับขันธปรินิพพานแล้วล่วงไป คำสอนซึ่งเป็นอนุศาสนี ปาฏิหาริย์ยังประดิษฐานอยู่ เป็นคุณแก่เทพดามนุษย์ในภายหลัง ก็ได้ชื่อว่าเป็นศาสดาผู้สอนของเทพดาและมนุษย์ในภายหลังด้วย เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคจึ่งทรงพระนามว่า สตฺถา เทวมนุสฺสานํ คำว่า เทวมนุสฺสานํ นั้นเป็นคำกล่าวด้วยสามารถกำหนดสัตว์อัน อุกฤษฏ์ และกำหนดสัตว์ที่เป็นภัพพบุคคล ควรตรัสรู้จตุราริยมัค คาริยผล

            ถึงกระนั้นพระผู้มีพระภาค ก็ได้ชื่อว่าเป็นศาสดาผู้สอน ของอมนุษย์และดิรัจฉานบางเหล่าด้วย เพราะพระองค์ประทาน อนุศาสนีคำสนอแก่อมนุษย์และดิรัจฉานเหล่านั้น ดังอาฬวกยักษ์ และอปฬาลนาคราชเป็นต้น ซึ่งได้รับอนุศาสนีของพระองค์ ได้ประสาทหยั่งลงในรัตนตรัย มละพยสอันร้ายคือทุจริตเสียได้

            พระนาม ว่า พุทฺโธ นั้น แปลว่าเป็นผู้ตรัสรู้คือรู้เท่าเ?ยยธรรม ทั้งปวง อนึ่งแปลว่าเป็นผู้บานแล้วถึงที่ ด้วยตรัสรู้สัจจะของจริง ๔ โดยลำพังพระองค์เองและให้สัตว์อื่นตรัสรู้ตามด้วย อธิบายทั้งปวง ให้ปราชญ์พึงรู้ดังนัยหนหลังนั้นเถิด ในที่นี้แปลกแต่คำว่าเ?นนธรรม แทนสังขารเท่านั้น

            พระนามว่า ภควา นั้น แปลว่าผู้มีภาค ก็ภาคนั้นได้แก่กุศล ธรรมมีทานศีลเป็นต้น ซึ่งเป็นธรรมอันถึงซึ่งส่วนอันอุดมอย่าง อุกฤษฏ์ และเป็นกุศลยังโลกิยสุขโลกุตรสุขให้บังเกิดขึ้น ภาคนั้น ย่อมมีแก่พระองค์ เพราะเหตุนั้นพระองค์จึ่งทรงพระนามว่า ภควา อนึ่ง ภควา แปลว่าเป็นผู้แจกออก ก็แลพระผู้มีพระภาคนั้นย่อมแจก ออกซึ่งสรรพธรรมทั้งปวง โดยประเภทว่าเป็นกุศลและอกุศล และอพยากฤตธรรมใช่กุศลและอกุศลเป็นต้นแล้ว ก็แจกกระจายขยาย ธรรมเหล่านั้นเป็นจิตเจตสิก แล้วก็จัดแจกเป็นภูมิ ๔ เป็นต้น เพื่อ ให้กุลบุตรรู้แจ้งชัดในธรรมมีกุศลเป็นต้นนั้น แล้วยักย้ายธรรม เหล่านั้นเป็นขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ อริยสัจ ปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น เพื่อเป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาปัญญา และแจกสามัญญ ลักษณะเครื่องหมายเป็นสามัญซึ่งมีทั่วไปในธรรมเหล่านั้น คือ อนิจจตา

            ความที่ธรรมเหล่านั้นเป็นของไม่เที่ยง ทุกขตา ความ ที่ธรรมเหล่านั้นเป็นทุกข์ อนัตตา ความที่ธรรมเหล่านั้นเป็นของ ใช่ตน ๓ นี้เป็นลักษณะเครื่องหมายแห่งวิปัสสนาปัญญา และ ประสงค์จะชี้ว่าในธรรมทั้งปวงเหล่านั้นได้จริงอยู่ ๔ จึ่งทรงแจกสัจจะ ๔ นั้นว่าธรรมีขันธ์เป็นต้นนั้นเป็นทุกข์ ด้วยอรรถคือบีบคั้นสัตว์ อย่าง ๑ ด้วยอรรถคือเป็นธรรมอันปัจจัยทั้งหลายมีตัณหาเป็นต้น ประชุมพร้อมกันเข้าทำให้เป็นขึ้นอย่าง ๑ ด้วยอรรถคือยังสัตว์ให้ เร่าร้อนพร้อมอย่าง ๑ ด้วยอรรถคือเป็นของแปรปรวนไม่ยั่งยืน อย่าง ๑ จึ่งเป็นทุกข์ ตัณหาเป็นสมุทัย เหตุเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์ นั้น

            ด้วยอรรถคือประมวลมาด้วยสามารถยังทุกข์ให้เกิดอย่าง ๑ ด้วยอรรถคือเป็นเหตุมอบให้ซึ่งทุกข์เป็นผลของตนอย่าง ๑ ด้วย อรรถคือประกอบสัตว์ไว้ด้วยทุกข์อย่าง ๑ ด้วยอรรถคือห้ามกันไว้ ไม่ให้สัตว์ได้มรรคผลอย่าง ๑ จึ่งเป็นสมุทัย พระนิพพานเป็นนิโรธที่ ดับทุกข์ ด้วยอรรถคือสลัดเสียซึ่งอุปธิธรรมเป็นที่เข้าตั้งอยู่แห่งทุกข์ ทั้งปวงอย่าง ๑ ด้วยอรรถคือสงัดจากสังขารทั้งปวงอย่าง ๑ ด้วยอรรถคือเป็นธรรมอันปัจจัยสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ได้ประชุมพร้อมกัน กระทำให้เป็นขึ้นอย่าง ๑

            ด้วยอรรถคือเป็นของไม่ตายเพราะเป็น ของเที่ยงอย่าง ๑ จึ่งชื่อว่านิโรธ สัมมาปฏิปทาชื่อว่ามรรคว่าทาง ด้วยอรรถคือนำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์อย่าง ๑ ด้วยอรรถคือเป็น เหตุยังสัตว์ให้ถึงซึ่งนิพพานอย่าง ๑ ด้วยอรรถคือเห็นซึ่งนิพพาน เป็นธรรมอันสุขุมล่วงส่วนอย่าง ๑ ด้วยอรรถคือเป็นอธิบดี แห่งสัมปยุตธรรมในการเห็นซึ่งนิพพานอย่าง ๑ จึ่งชื่อว่ามรรค พระผู้มีพระภาคทรงจำแนกซึ่งธรรมทั้งหลายโดยนัยดังนี้เป็นต้น เพราะเหตุนั้นจึ่งทรงพระนามว่า ภควา คำว่า ภควา นี้เป็นพระนาม แห่งพระผู้มีพระภาค สำหรับกล่าวด้วยสามารถความเคารพในพระ ผู้มีพระภาค ผู้เป็นศาสดาอันวิเศษและอุดมกว่าสัตว์ทั้งหลาย

            พระนามตั้งแต่ อรห จนถึง ภควา เหล่านี้ พระพุทธมารดา พระพุทธบิดา หรือพระญาติทั้งปวง หรือเทพดาผู้วิเศษผู้ใดผู้หนึ่ง ก็ดี จะได้ถวายแก่พระองค์นั้นหาไม่ พระนามเหล่านี้เป็นเนมิตตก นาม มาแต่นิมิต คือคุณเกิดขึ้นพร้อมกันกับด้วยความบังเกิด ด้วยนามกายในอริยชาติ และทรงแสดงธัมจักกัปปวัตตนสูตรแห่ง พระองค์

            พระนามเหล่านี้ บางพระนามเหมือนด้วยชื่อพระขีณาสพ ซึ่งเป็นสาวกก็มี แต่เนื้อความแปลกกัน ให้นักปราชญ์พึงรู้โดยเนื้อ ความซึ่งกล่าวมาแล้วเถิด คุณซึ่งได้ในพระนามเหล่านี้ว่าโดยย่อเป็น ๒ คือ อัตหิตสัมปัตติ ความถึงพร้อมบริบูรณ์ด้วยธรรมเกื้อกูลแก่ ตน ๑ ปรหิตปฏิปัตติ ความปฏิบัติเกื้อกูลแก่สัตว์อื่น ๑ บทว่า อรหํ ฯลฯ อนุตฺตโร เหล่านี้ ประกาศปรหิตปฏิปัตติคุณ เพราะ บทเหล่านั้นแสดงญาณและปหานะซึ่งเป็นผลสัมปทา บทว่า อนุตฺตโร เพราะบทเหล่านั้นแสดงสัตตุปการสัมปทา ด้วยบทว่า พุทฺโธ ภควา นี้ ประกาศคุณทั้ง ๒ คือ อัตหิตสมบัติและปรหิตปฏิบัติ เพราะ บททั้งสองนั้นแสดง โพธิสัมภารสัมภรณะ และญาณซึ่งเป็นเหตุ สัมปทา และผลสัมปทา และแสดงสัตตุปการสัมปทา

            เมื่อเป็น เช่นนี้บททั้งหลายเหล่านั้นได้ชื่อว่าประกาศมหากรุณาสมาโยค และ อานุภาวสมบัติ รูปกายสมบัติ โดยสามารถ อนึ่ง บทว่าอรหํ แสดง ปหานะการมละกิเลส บทว่า สมฺมาสมฺพุทฺโธ แสดงภาวนาความ ทำกุศลให้มีให้เป็นขึ้นด้วยเหตุนั้น พระนามทั้ง ๒ นี้ จึ่งเป็นพระนาม ใหญ่ พระองค์ได้ตรัสด้วยพระนามนี้ มีในสุตตันประเทศนั้น ๆ โดยมาก อนึ่ง บทเหล่านี้เป็นเหตุต่อ ๆ กันดังนี้

            เพราะพระองค์ เป็นผู้ไกลจากกิเลสเป็นผู้ตรัสรู้เองชอบ จึ่งเป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วย วิชชาและจรณะ เพราะพระองค์ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ จึ่งเป็นผู้ไปแล้วดีได้ เพราะเป็นผู้ไปแล้วดี จึ่งเป็นผู้รู้แจ้งซึ่งโลกได้ เพราะเป็นผู้รู้แจ้งซึ่งโลก จึ่งเป็นผู้ทรมานซึ่งบุรุษควรทรมานไม่มี ใครยิ่งกว่า เพราะเป็นผู้ทรมานซึ่งบุรุษควรทรมานไม่มีใครยิ่งกว่า จึ่งชื่อว่าเป็นผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพราะเป็นผู้สอน ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย จึ่งเป็นผู้บานแล้วถึงที่ เพราะเป็น ผู้บานแล้วถึงที่ จึ่งชื่อว่าเป็นศาสดาผู้วิเศษแล้วด้วยคุณ อุดมยิ่ง กว่าสัตว์ ควรความเคารพของโลก

            ถ้าจะเจริญพุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณแห่งพระพุทธเจ้า ให้ถึง ระลึกดังนี้ว่า โส ภควา อิติปิ อรหํ พระผู้มีพระภาคนั้นทรงพระนาม ว่า อรหํ แม้เพราะเหตุนี้ไปทุกบท ๆ จนถึง โส ภควา อิติปิ ภควา พระผู้มีพระภาคนั้นทรงพระนามว่า ภควา แม้เพราะเหตุนี้ คำว่า แม้เพราะเหตุนี้นั้น เล็งเอาคำแปลและอธิบายซึ่งกล่าวมาแล้วก่อนนั้น ให้ถือเอาอรรถคือเนื้อความขึ้นรำพึง ให้เห็นคุณพระพุทธเจ้าตาม เนื้อความที่กล่าวมาแล้ว อย่าถือเอาพยัญชนะขึ้นบ่นบริกรรม ทำอย่างนี้จะไม่เห็นคุณพระพุทธเจ้า จะระลึกทุก ๆ บทก็ได้ หรือ บทใดบทหนึ่งตามถนัดก็ได้.

จบพุทธรัตน กถา

         

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ