บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



บุพพสิกขาวรรณณา

สารบัญ

คำนำ

รตนัตตยบัพพะ

อาปัตตินามาทิบัพพะ

ปฏิปัตติมุขบัพพพะ

กาลิกบัพพะ

พินทวาธิฏฐานาทิบัพพะ

วิชหนาทิบัพพะ

อาปัตติเทสนาทิบัพพะ

มาตรากถา

 

            ถามว่า พระพุทธเจ้ามีคุณอย่างไร ? แก้ว่า คุณพระพุทธเจ้า มากนักพ้นที่จะพรรณนาได้ ใหญ่หลวงดังพื้นฟ้าอากาศ คนเช่นเรา จะพรรณนาคุณพระพุทธเจ้านั้น ดังนกน้อยบินในอากาศ ไม่อาจ พรรณนาให้สิ้นสุดได้ แม้โบราณภาษิตท่านก็ได้กล่าวไว้ว่า "แม้ พระพุทธเจ้าด้วยกัน ไม่กล่าวเรื่องอื่นเลย พรรณาแต่คุณพระ พุทธเจ้าด้วยกันอย่างเดียว สิ้นกัลปหนึ่ง กัลปหนึ่งนั้น จะพึงสิ้นไป เปล่าในระหว่าง คุณของพระตถาคตเจ้า ในระหว่างกาลนานเท่านั้น ไม่พึงสิ้นเลย"
            ด้วยเหตุดังนี้แล จึ่งว่าคุณพระพุทธเจ้าใหญ่หลวง มากนักพ้นที่จะพรรณนา แต่ตัดให้สั้นลงก็มีอยู่ ๓ คือ ปัญญาอย่าง ๑ ความบริสุทธิ์อย่าง ๑ พระกรุณาอย่าง ๑ เท่านี้แลเป็นประธานแห่ง คุณทั้งปวง ๆ ประชุมลงในคุณทั้ง ๓ นี้สิ้น ก็แลปัญญานั้น ได้แก่ ความรู้เท่าสังขารดังกล่าวมาแล้ว คือ มรรคญาณ ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่ง สัพพัญญุตญาณ กับญาณอันเศษมีจตุเวสารัชชญาณ ทสพลญาณ อนาวรณญาณ เป็นต้น ที่เกิดแต่มรรคญาณให้สำเร็จคุณแก่สัตว์โลก คือรู้ว่าสิ่งนี้เป็นประโยชน์ สิ่งนี้ไม่เป็นประโยชน์แก่สัตว์ สิ่งที่ไม่ เป็นประโยชน์ ประกอบอุบายให้สัตว์มละเสีย สิ่งที่เป็นประโยชน์ ประกอบอุบายให้สัตว์ทำให้เจริญขึ้นด้วยอนุศาสนี นี่แลชื่อว่าปัญญา ความบริสุทธิ์นั้นได้แก่มละกิเลสเครื่องหมองจิตขาดกับทั้งวาสนา แม้ โลกธรรม ๘ มาถึงเฉพาะหน้า ไม่ยินดีไม่ยินร้าย พระหฤทัยใส บริสุทธ์ นี่แลชื่อว่าความบริสุทธิ์ กรุณานั้นได้แก่ความเอ็นดูปรานี สัตว์ เห็นสัตว์ร้อนอยู่ด้วยเพลิงกิเลส ว่ายอยู่ในทะเลใหญ่ คือสังสารวัฏ จะให้สัตว์ดับเพลิงพ้นจากสังสารวัฏที่มีแก่พระองค์เมื่อ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่และเมื่อตรัสรู้แล้ว นี้แลชื่อว่า กรุณา
            ถ้าแล พระพุทธเจ้ามีแต่พระปัญญาอย่างเดียว ความบริสุทธิ์และกรุณาไม่มี พระองค์ก็จะไม่สอนสัตวโลก ๆ เช่นเราก็จะไม่รู้กุศลอกุศลทางสุคติ ทุคติ และศีลสมาธิปัญญา ซึ่งเป็นทางพระนิพพาน หรือมีแต่ ปัญญากับพระกรุณา หากจะสอนสัตว์บ้างก็จะน้อมไปตามใจรักตาม ใจชัง และตามความเห็น เทศนาคำสอนก็จะไม่ บริสุทธ์ เพราะไม่มี ความบริสุทธิ์ช่วยปัญญาและกรุณา
            อนึ่ง ถ้ามีแต่ความบริสุทธิ์กับ พระกรุณา พระปัญญาไม่มีเล่าไซร้ ก็จะไม่อาจสั่งสอนสัตว์ได้ อนึ่งไม่มีพระกรุณา มีแต่พระปัญญากับความบริสุทธิ์ พระองค์ก็ จะไม่คิดสั่งสอนสัตว์ จะเสวยแต่เอกีภาวสุขอยู่แต่ผู้เดียว หรือ ดับขันธปรินิพพานเสียโดยเร็วพลัน สัตว์เช่นเราก็จะไม่รู้จักกุศลอกุศล ทางสุคติทุคติ และศีลสมาธิปัญญาทางพระนิพพาน พระกรุณาคุณ ของพระองค์ เมื่อยังเป็นโพธิสัตว์อยู่นั้นดังนี้ พระองค์เป็นโพธิสัตว์ อยู่ มีอุปนิสัยควรแก่อรหัตผลสาวกบารมีญาณแล้ว ได้ประสบ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีพระทีปังกรเป็นต้น แม้หวังจะพ้นทุกข์แต่ ผู้เดียว รับเทศนาแต่สำนักพระทีปังกรนั้น ก็จะสำเร็จอรหัตตผล สาวกบารมีญาณ พ้นสังสารทุกข์แต่ตนผู้เดียวได้
            หากพระองค์เห็น สัตว์ทั้งหลายร้อนอยู่ด้วยเพลิงทุกข์มีชาติเป็นต้น เพลิงกิเลสมีราคะ เป็นต้น และว่ายอยู่ในทะเลใหญ่คือสังสารวัฏ พระองค์มีความ ปรานีจะดับเพลิงทุกข์เพลิงกิเลสแห่งสัตว์อื่นด้วย จะช่วยยกจากทะเล ใหญ่คือสังสารวัฏ จึ่งมละอรหัตผล ที่ตนจะพึงได้ในสำนักพระพุทธ เจ้านั้นเสีย น้อมจิตไปเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า แล้วบำเพ็ญบารมี พุทธการกธรรม คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฏฐาน เมตตา อุเบกขา ต้องเสวยทุกข์ในสังสารวัฏเป็น อเนกทุกข์ในอเนกชาติ อันนี้ชื่อว่ากรุณาคุณ ๆ เป็นเหตุให้สำเร็จ ปัญญาคุณบริสุทธิคุณแก่พระองค์ตรัสรู้แล้วไปนั้น เกื้อกูลแก่สัตว์อื่น ฝ่ายเดียว และประกาศให้สัตว์อื่นรู้คุณรัตนตรัย เพราะเหตุนั้นจึงว่า คุณ ๓ ประการนี้เป็นประธานแห่งคุณทั้งปวง คุณอื่นประชุมลงใน คุณทั้ง ๓ นี้สิ้น

            อนึ่ง พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลกเป็นคุณแก่โลก ด้วยพระองค์ พร้อมด้วยสัมปทา ๓ คือ เหตุสัมปทา ผลสัมปทา สัตตุปการ สัมปทา เหตุสัมปทาที่ต้นมีเท่าไร มี ๒ คือ มหากรุณาสมาโยค โพธิสัมภารสัมภรณะ มหากรุณาสมาโยคอย่างไร ความที่ พระองค์ประกอบด้วยกรุณาปรานีสัตว์อันใหญ่หลวง ซึ่งมีมา แต่บาทมูลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามที่ปังกรนั้น มายั่งยืนใน สันดานไม่คืนคลายทุกภพมาจนถึงปัจจุบันชาตินี้ นี่แลชื่อว่ามหา กรุณาสมาโยค
            โพธิสัมภารสัมภรณะนั้นอย่างไร ความที่พระองค์ เพิ่มพูนโพธิสัมภารบารมีพุทธการกธรรม คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฏฐาน เมตตา อุเบกขา ที่สัตว์อื่น ยากจะทำได้สิ้นกาลนาน นับด้วยโกฏิแห่งกัลปเป็นอันมากนั้น นี่แล ชื่อว่าโพธิสัมภารสัมภรณะ ๒ สัมปทานี้เป็นคุณอันถึงพร้อมแห่ง พระองค์ เป็นเหตุเบื้องต้น ให้สำเร็จผลสัมปทาและสัตตุปการ สัมปทาเบื้องปลาย จึ่งชื่อว่าเหตุสัมปทา
            ผลสัมปทามีเท่าไร มี ๔ คือ ญาณสัมปทา ปหานสัมปทา อานุภาวสัมปทา รูปกาย สัมปทา ญาณสัมปทานั้นอย่างไร มรรคญาณพระปัญญาความรู้ เท่าสังขารในมรรคทั้ง ๔ ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสัพพัญญุตญาณ และ ญาณอื่นมีทสพลญาน และอนาวรณญาณ จตุเวสารัชชญาณ เป็นต้น ซึ่งให้สำเร็จตามความสามารถในเญยยธรรมทั้งปวงโดย สะดวก และประกอบอุบายเทศนาสอนสัตว์ไม่ขัดขวางครั่นคร้าม พระญาณเหล่านี้ชื่อว่าญาณสัมปทา ปหานสัมปทานั้นอย่างไร ความที่พระองค์มละกิเลสกับทั้งวาสนาขาดได้โดยส่วนอันเดียว ไม่ ให้เกิดขึ้นได้อีกเป็นธรรมดา นี่แลชื่อว่าปหานสัมปทา
            อานุภาว สัมปทานั้นอย่างไร ความที่พระองค์เป็นอธิบดีเป็นใหญ่ ในที่ จะให้ความประสงค์สำเร็จความปรารถนา คือ พระองค์เป็น อิสระในจิตจะแสดงฤทธิ์ประการใดได้ตามประสงค์ทุกประการ ดังนี้ ชื่อว่าอานุภาวสัมปทา รูปกายสัมปทาอย่างไร ความที่พระองค์ บริบูรณ์ด้วยพระกายอันประดับด้วยทวัตติงสมหาปุริสลักขณะ และ อสีตยานุพยัญชนะอันควรเป็นนยนาภิเษกโสรจสรงจักษุแห่งสัตวโลก ทั้งปวง อันนี้ชื่อว่า รูปกายสัมปทา ๔ สัมปทานี้เป็นคุณถึงพร้อม แห่งพระองค์สำเร็จมาแต่เหตุสัมปทา จึงชื่อว่าผลสัมปทา สัตตุปการ สัมปทานั้นมีเท่าไร มี ๒ คือ อาสยะและประโยค
            อาสยะนั้นอย่างไร ความที่พระองค์มีพระหฤทัยเยือกเย็นด้วยพระกรุณา หวังประโยชน์ ให้สัตว์ทั้งหลายอยู่เป็นนิจ แม้สัตว์ที่ทำผิดดังเทวทัตเป็นต้น พระองค์ ก็ทรงพระกรุณา นี่อย่าง ๑ อนึ่ง ความที่พระองค์เห็นสัตว์อื่นมีปัญ ญินทรีย์ยังไม่แก่รอบ พระองค์ทรงคอยท่าการอยู่กว่าอินทรีย์แห่ง สัตว์จะแก่ควรแก่ตรัสรู้ ๑ สองนี้ชื่ออาสยะ
            ประโยคนั้นอย่างไร ความที่พระองค์มีพระหฤทัยบริสุทธิ์ไม่เพ่งต่ออามิสมีลาภสักการเป็น ต้น ทรงแสดงธรรมด้วยยานตรัยมุข คือ ศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็น ทางพระนิพพาน ทรงเปิดเผยจำแนกซึ่งธรรมนั้น ๆ กระทำให้ตื้นขึ้น ให้สัตว์อื่นที่มีอุปนิสัยตรัสรู้ตามบรรลุโลกุตรผลนำตนต้นจากทุกข์ ทั้งปวงได้ อันนี้ชื่อว่าประโยค อาสยะ และประโยคทั้งสองนี้เป็นคุณ ถึงพร้อมแห่งพระองค์พร้อมด้วยสัมปทา ๓ ดังกล่าวมานี้แล อนึ่ง อรหัต ชื่อว่าสัตตุปการสัมปทา นี่แลพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลกเป็นคุณแก่ โลก ด้วยพระองค์พร้อมด้วยสัมปทา ๓ ดังกล่าวมานี้แล อนึ่ง อรหัต ตาทิคุณแห่งพระพุทธเจ้าผู้บังเกิดขึ้นแล้วในโลกเป็นคุณใหญ่เล่าลือ อยู่ในโลก ปรากฏแก่เทพดามนุษย์มากกว่าคุณทั้งปวง เพราะ เหตุนั้นในบุพพสิกขาจึ่งได้ว่า "ก็แลเกียรติศัพท์อันงามแห่งพระผู้มี พระภาคนั้น ไปในเบื้องบนยิ่งฟุ้งไปดังนี้ว่า อิติปิโส ภควา อรห? ฯลฯ ภควาติ" ดังนี้

         

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ