บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



บุพพสิกขาวรรณณา

สารบัญ

คำนำ

รตนัตตยบัพพะ

อาปัตตินามาทิบัพพะ

ปฏิปัตติมุขบัพพพะ

กาลิกบัพพะ

พินทวาธิฏฐานาทิบัพพะ

วิชหนาทิบัพพะ

อาปัตติเทสนาทิบัพพะ

มาตรากถา

 

รตนัตตยบัพพะ ที่ ๑

นมตฺถุ รตนตฺตยสฺส


                          รตนตฺตย? นมิตฺวา             นวานมนุสิกฺขิตุ?
                          อาทิมฺหิ สฺยามภาสาย         ส?เขเปเนว ภาสิตา
                          ยา จ ปุพฺพสิกฺขา ตสฺสาว     โถก? วิตฺถารวณฺณน?
                          กริสฺส? ?าตุกามานั           ปณาเมน สุภ? ภเว

            ข้าพเจ้านอบน้อมมนัสการ ซึ่งพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์แล้ว บุพพสิกขาอันใดที่ข้าพเจ้าภาษิต คือว่า แต่งไว้แล้ว เพื่อให้กุลบุตรทั้งหลายผู้เป็นคนใหม่ในศาสนา ศึกษา ตามในกาลเป็นเบื้องต้น ด้วยเป็นสยามภาษา โดยสังเขปย่อนัก

            ข้าพเจ้าจะกระทำการวรรณนา แห่งซึ่งบุพพสิกขานั้น โดย พิสดารสักน้อยหนึ่ง เพื่อกุลบุตรทั้งหลายผู้ใคร่จะรู้จะศึกษา ใน สิกขาบทบัญญัติปฏิบัติตามจะได้รู้ ด้วยข้าพเจ้านอบน้อมรัตนตรัย ขอความงามความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าเถิด

            คำว่าบุพพสิกานั้นประสงค์เป็นชื่อคัมภีร์ เป็นของอันกุลบุตร จะพึงศึกษาแต่เราก่อน จึ่งได้ชื่อว่าบุพพสิกขา เพราะฉะนั้นจึ่งได้ กล่าวว่า ผู้จะอุปสมบท และอุปสมบทแล้ว พึงศึกษาข้อทั้ง ๗ นี้ ก่อน ก็ข้อทั้ง ๗ นั้นคือ รตนัตตยบัพพะ ข้อว่าด้วยรัตนตรัย ๑ อาปัตตินามาทิบัพพะ ข้อว่าด้วยชื่อแห่งอาบัติเป็นต้น ๑ ปฏิปัตติ มุขสิกขาบัพพะ ข้อว่าด้วยสิกขาบท เป็นปากเป็นทางแห่งความ ปฏิบัติโดยมาก ๑ กาลิกบัพพะ ข้อว่าด้วยกาลิก ๑ พินทวาธิฏฐานา ทิบัพพะ ข้อว่าด้วยพิธีมีพินทุและอธิฏฐานเป็นต้น ๑ วิชหนาทิ บัพพะ ข้อว่าด้วยขาดอธิฏฐานเป็นต้น ๑ อาปัตติเทสนาทิบัพพะ ข้อว่าด้วยแสดงอาบัติเป็นต้น ๑ เป็น ๗ ข้อดังนี้

            จะว่าด้วยรตนัตตยบัพพะข้อต้นก่อน คำว่า รตนตฺตย? นั้น แปลว่าหมวดสามแห่งรัตนะ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สามวัตถุ นี้ชื่อว่ารัตนะ เพราะว่าเป็นของประเสริฐกว่าสวิญญาณกรัตนะและ อวิญญาณกรัตนะ ซึ่งมีในไตรภพ อนึ่งเพราะเป็นของทำความยินดี ให้บังเกิดแก่โลกทั้งสาม

            จะกล่าวด้วยพระพุทธรัตนะก่อน ถามว่า เรียกกันว่าพุทธะ ๆ นั้น อะไรเป็นพุทธะ ? แก้ว่า พุทธะนั้นว่าโดยปรมัตถโวหาร วิสุทธ ขันธสันดาน คือ กองรูป กองเวทนา กองสัญญา กองสังขาร กอง วิญญาณ ซึ่งเป็นของมีต่อมาแต่ภพก่อน เป็นของบริสุทธิ์จากปาป ธรรมอุปกิเลส คือไม่มีอกุศลเจตสิก เป็นแต่อพยากตเจตสิกซึ่งบังเกิด แต่กุศลเจตสิก นั่นแลเป็นพระพุทธเจ้า ว่าโดยโลกยโวหาร สัตว์ พิเศษผู้หนึ่ง ใช่พรหมใช่มารใช่เทพดาใช่อมนุษย์ เป็นมนุษยชาติ แต่เป็นมนุษย์อัศจรรย์ มีปัญญาฉลาดล่วงสมณเทพดามารพรหม และทำสัตว์ให้บริสุทธิ์จากปาปธรรมอุปกิเลสได้ และสอนสัตว์อื่นให้ ได้ความบริสุทธิ์ได้ด้วย นั่นแลเป็นพระพุทธเจ้า

            ถามว่า พุทธะ ๆ นั้น แปลว่าอะไร ? แก้ว่า แปลว่าผู้รู้เท่า สังขารทั้งปวงด้วยตนเอง และให้ผู้อื่นรู้เท่าสังขารด้วย เป็นผู้บาน แล้วเต็มที่ ปุถุชนเช่นเราชื่อว่าเป็นคนเขลาไม่รู้เท่าสังขาร จึ่งต้อง โศกเศร้าเมื่อเวลาสังขารนั้นวิบัติ

            ถามว่า อะไรเป็นสังขาร ? แก้ว่า สิ่งทั้งปวงที่เป็นของภายใน และภายนอก ประกอบด้วยวิญญาณและหาวิญญาณมิได้ ที่มีขึ้นเป็น ขึ้นด้วยเหตุภายในมีกรรมเป็นต้น หรือด้วยเหตุภายนอกมีฤดูเป็นต้น นี้แลชื่อว่าสังขาร รู้เท่าสังขารนั้นอย่างไร รู้ความเป็นเองของสังขาร รู้เหตุที่ให้เกิดสังขาร รู้ที่ดับสังขาร รู้หนทางดำเนินไปยังที่ดับสังขาร นี่แลชื่อว่ารู้เท่าสังขาร ท่านรู้ความเป็นเองของสังขารอย่างไร พระ องค์รู้ว่าสรรพสังขารทั้งปวงไม่เที่ยงแท้ย่อมแปรปรวนไปต่าง ๆ มี แล้วหาไม่ เกิดแล้วดับไป สรรพธรรมทั้งปวงใช่ตัวใช่ตนด้วยไม่อยู่ ในอำนาจบังคับของผู้ใด เพราะไม่เที่ยงเพราะใช่ตนนั้นเป็นแต่กอง ทุกข์ นี่แลเป็นความจริงเป็นความเป็นเองของสังขาร พระองค์ กำหนดรู้ดังนี้ด้วยปริญญาภิสมัย อย่างนี้แลชื่อว่ารู้ความเป็นเองแห่ง สังขาร รู้เหตุที่ให้เกิดสังขารอย่างไร พระองค์รู้ว่าตัณหาคือความ ดิ้นรนด้วยอยากได้นี้เอง เป็นผู้สร้างสังขารภายใน เพราะตัณหามี แล้วให้สัตว์กระทำกรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่จะตกแต่งสังขารเป็น กองทุกข์ แล้วท่านมละตัณหานั้นเสียได้ด้วยปหานาภิสมัย อย่างนี้แล ชื่อว่ารู้เหตุที่ให้เกิดสังขาร ฯ รู้ที่ดับแห่งสังขารนั้นอย่างไร พระองค์ รู้ว่าพระนิพพานเป็นที่ดับตัณหาที่ให้เกิดทุกข์ แล้วกระทำพระนิพพานให้แจ้งประจักษ์ขึ้นในพระหฤทัยด้วยสัจฉิกิริยาภิสมัย อย่างนี้ แลชื่อว่าท่านรู้ที่ดับแห่งสังขาร ฯ
            พระองค์รู้หนทางดำเนินไปยังที่ ดับสังขารนั้นอย่างไร ฯ พระองค์รู้ว่ามรรค ประดับด้วยองค์แปด มีสัมมาทิฐิเป็นต้นที่เกิดขึ้นแล้ว กำหนดรู้ความทุกข์ มละตัณหา เห็น พระนิพพาน นี้แลเป็นหนทางให้ถึงซึ่งความดับทุกข์ และพระองค์ ทำมรรคนั้น ให้มีให้เป็นให้เกิดขึ้นในพระหฤทัยด้วยภาวนาภิสมัย อย่างนี้แลชื่อว่าท่านรู้หนทางดำเนินไปยังที่ดับสังขาร พระองค์รู้ ความรู้ ๔ อย่างนี้พร้อมกันแล้วจึ่งได้ความบริสุทธิ์จนไม่ยินดี ถือว่า เรารู้เราเห็น แม้สังขารคือร่างกายของพระองค์จะวิบัติเป็นประการ ใด ๆ ก็ไม่เศร้าไม่โศกเสียใจเหมือนปุถุชน อย่างนี้แลชื่อว่าพระองค์ รู้เท่าสังขารทั้งปวง

            ถามว่า บุคคลที่ท่านเรียกว่าพุทธะนั้นมีที่พวก ? แก้ว่า มี อยู่ ๔ พวก คือ พหุสุตพวก ๑ ท่านเรียกว่าสุตพุทธะ เพราะเป็น ผู้รู้เท่าซึ่งความดีชั่วเป็นต้น ด้วยการสดับและเล่าเรียนปริยัติธรรม อริยสาวกอีกพวก ๑ ท่านเรียกว่าสาวกพุทธะ เพราะได้ฟังคำสอน แห่งพระพุทธเจ้า แล้วแลรู้เท่าสังขารตามเสด็จพระพุทธเจ้า พระ สยัมภูผู้เป็นพระรู้เองสอนผู้อื่นไม่ได้ ดังคนใบ้ฝันเห็นจำพวก ๑ ท่าน เรียกว่าปัจจเจกพุทธะ เพราะรู้เท่าสังขารแต่ลำพังตัวเอง พระผู้รู้เอง แล้วแลสอนผู้อื่นให้รู้ตามได้จำพวก ๑ ท่านเรียกว่าสัพพัญญูพุทธะ เพราะเป็นผู้รู้เท่าสังขารและธรรมทั้งปวง ที่ว่าด้วยพุทธะในที่นี้ ประสงค์เอาสัพพัญ?ูพุทธะอย่างเดียว

            ถามว่า พระพุทธเจ้าของเรานี้ พระองค์เกิดขึ้นในที่ไหน ? แก้ว่า พระองค์เกิดขึ้นในมนุษย์พวกอริยกะในมัชฌิมประเทศ มัชฌิม ประเทศนั้น แปลว่าประเทศท่ามกลาง เพราะว่าเป็นท่ามกลาง ที่เกิดแห่งพระพุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธเจ้า อัครสาวก พุทธอุปัฏฐาก และพุทธบิดา พุทธมารดา และจักรพรรดิราช และ ติตถกรบัพพชิตผู้มีทิฐิวาทต่าง ๆ ดังท่ามกลางแห่งสนามเป็นที่มา ประชุมแห่งชนทั้งปวงฉะนั้น มัชฌิมประเทศนั้นอยู่ในทิศตะวันตก แต่ประเทศสยามนี้ไป ประเทศสยาม ประเทศรามัญ ประเทศพม่า ประเทศลาว เป็นต้น เหล่านี้ชื่อว่าปัจจันตประเทศ มนุษย์เกิดใน ประเทศเหล่านี้ชื่อว่ามิลักขกมนุษย์ มนุษย์เกิดในมัชฌิมประเทศชื่อ ว่าอริยกะ แต่เดี๋ยวนี้เขาเรียกประเทศนั้นว่าอินเดีย

            ถามว่า พระพุทธเจ้าเกิดในมัชฌิมประเทศ เป็นชาวเมืองไหน เป็นชาติอะไร เป็นโครแซ่อะไร พระนามเดิมชื่อไร เป็นบุตรผู้ใด พระองค์มีบุตรภรรยาหรือหาไม่ เมื่อใดพระองค์จึ่งเป็นพระพุทธเจ้า ? แก้ว่า พระองค์เป็นชาวเมืองกบิลพัสดุ์ในแขวงสักกะ พระองค์เป็น ชาติกษัตริย์พวกสักกะ เป็นโคตมโคตร พระนามเดิมชื่อว่าสิทธัตถะ พระบิดาทรงพระนามว่า สุทโธทนะ อยู่ ณ เมืองกบิลพัสดุ์ พระ มารดาทรงพระนามว่า สิริมหามายา พระโอรสของพระองค์ทรง พระนามว่า ราหุล พระเทวีของพระองค์ทรงพระนามว่า พิมพายโส ธรา เมื่อพระชนมายุของพระองค์ได้ ๒๙ พรรษา พระองค์จึ่งละ ฆราวาสสมบัติออกบรรพชา บำเพ็ญเพียรแสวงหาโมกขธรรมอัน บริสุทธิ์อยู่ถึง ๖ ปี จึ่งได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมสัมโพธิญาณ ต่อนั้น ไปพระองค์ทรงบำเพ็ญพุทธกิจสั่งสอนเวเนยยนิกรตลอด ๔๕ พรรษา จึ่งเสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ เมืองกุสินารา

            ถามว่า บิดามารดาบุตรภรรยาและสุขสมบัติเป็นของรัก เหตุ ไฉนพระองค์จึ่งมละทิ้งเสียได้ ? แก้ว่า พระองค์มละทิ้งเสียได้ด้วย เหตุดังนี้ คือพระองค์เห็นชราความแก่ พยาธิความเจ็บไข้ มรณะ ความตายเป็นกองทุกข์ใหญ่ ดังหนึ่งไฟเผาสัตว์อื่นและตัวท่านอยู่ แต่ ผู้อื่นนั้นเห็นคนแก่คนไข้เจ็บคนตายแล้วเกลียดชัง ไม่รู้ว่าของสาม อย่างนี้เป็นของสำหรับตัว พระองค์เห็นว่าของสามอย่างนี้เป็นของ สำหรับสัตว์อื่นและสำหรับตัวท่าน จะเกลียดเหมือนอย่างคนอื่นเขา เกลียดก็ไม่ชอบ จะรักก็ไม่น่ารัก จะเฉยเสียว่าช่างเถิดก็ไม่ชอบกล พระองค์เห็นแล้วว่า ชรา พยาธิ มรณะ นี้เป็นภัยใหญ่หลวงน่ากลัว แต่จะหนีทางไหนก็ไม่พ้นด้วยเป็นของสำหรับอยู่กับรูปกาย
            พระองค์ จึงทรงอนุมานว่า ธรรมที่ไม่มีความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นที่ หลีกหนีความแก่ ความเจ็บ ความตาย คงจะมีเป็นแน่ เหมือนกับมีไฟ เป็นของร้อนแล้วก็มีน้ำเป็นของเย็นแก้ มีมืดแล้วก็มีแสงสว่างแก้ แล้วพระองค์ค้นหาว่า ความแก่ ความไข้เจ็บ ความตาย มีมาแต่ไหน เห็นว่ามาแต่ชาติคือความเกิด ค้นต่อไปว่าชาติมาแต่ไหน ก็ไม่เห็น ชัดด้วยปัญญาเหมือนกับเห็นของสามอย่างมาแต่ชาติ พระองค์จึ่ง ร้อนพระหฤทัยว่าจะอยู่ในสุขสมบัตินี้ จะหาธรรมที่เป็นที่หลีกหนี ความทุกข์เหล่านี้ไม่ได้เป็นแน่ ด้วยเกลื่อนกล่นอยู่ด้วยบุตรภรรยา ทรัพย์สมบัติ ที่จะพาให้ลุ่มหลงและถมทุกข์ทวีขึ้น สิริสมบัตินี้เป็นที่ คับแคบนัก แล้วทรงเห็นว่าบรรพชาทรงเพศเป็นบรรพชิตอยู่แต่ ผู้เดียวนั้น ไม่เกลื่อนกล่นด้วยเหตุที่จะให้เกิดความยินดียินร้าย พระองค์จึ่งมละสุขสมบัติออกทรงเพศเป็นบรรพชิต แสวงหาธรรมที่ สิ้นทุกข์ทั้งปวง
            เพราะฉะนั้นท่านจึ่งกล่าวว่าพระพุทธเจ้าพระองค์เกิด เป็นสองครั้ง คือเกิดด้วยรูปกายครั้งหนึ่ง เกิดด้วยนามกายอันบริสุทธิ์ ครั้งหนึ่ง คือตั้งแต่ลงสู่พระครรภ์พระมารดาแล้วอยู่ในครรภ์ ๑๐ เดือนแล้ว ประสูติจากพระครรภ์ ณ ป่าลุมพินีวัน ที่ระหว่างเมือง เทวทหะกับเมืองกบิลพัสดุ์ มีพระกายพร้อมด้วยทวัตติงสมหาปุริส ลักขณะ ควรจะเป็นภาชนะรองพุทธคุณ ทรงพระนามว่า สิทธัตถะ อยู่เป็นกุมาร ๑๖ ปี พระบิดาให้เสวยสุขสมบัติอยู่ปราสาททั้ง ๓ สมควรแก่ฤดูทั้ง ๓ ได้ ๑๓ ปีแล้วมละฆราวาสสมบัติออกทรงเพศ เป็นบรรพชิต บำเพ็ญความเพียรแสวงหากิงกุศล ๖ ปี เสด็จนั่ง ณ โคนไม้ชื่ออัสสัตถะ ที่เรียกกันว่าต้นโพธิ์ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา จนสำเร็จวิชาสองเบื้องต้น และวิปัสสนาญาณเพียงโคครภูญาณต่อ กับโสดาปัตติมรรค
            ในกาลเท่านี้ ชื่อว่าเกิดแล้วด้วยรูปกายยังเรียกว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้ ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคโสดาปัตติผล จนถึงอรหัต มรรคเกิดขึ้น ชื่อว่าเกิดอยู่ด้วยนามกาย ตั้งแต่อรหัตผลความรู้ เท่าสังขารเกิดขึ้นแล้วไป ชื่อว่าพระองค์เกิดแล้วด้วยนามกาย แต่ ยังไม่ชื่อว่าผู้บานเต็มที่แล้วด้วยยังไม่ได้บำเพ็ญพุทธกิจ ตั้งแต่ พระองค์ทรงแสดงธัมจักกัปปวัตนสูตร แก่ปัญจวัคคีย์ภิกขุ ณ ป่า ิอิสิปตนมฤคทายวัน พระอัญญาโกณฑัญญัตเถระได้โสดาปัตติผล รู้เท่าสังขารโดยเอกเทศ ตามเสด็จพระองค์แล้วไป จนพระองค์ ดับขันธ์ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ณ ระหว่างไม่รังทั้งคู่ ในสวน สาลวันแห่งมลลกษัตริย์ ชื่อว่าบานแล้วเต็มที่ เพราะบำเพ็ญพุทธกิจ เสร็จแล้ว

            ถามว่า อะไรรูปกาย อะไรนามกาย ? แก้ว่า มหาภูตรูป ๔ อุปาทายรูป ๒๔ ชื่อว่ารูปกาย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ๔ กองนี้ ชื่อว่านามกาย ๆ ไม่เกิดพร้อมกันกับรูปกายหรือ เกิดพร้อม กัน แต่ว่านามกายที่ให้เป็นพระพุทธเจ้า คือ อรหัตมรรค อรหัตผล ซึ่งเป็นพวกสังขารที่ฆ่านามกายอันร้ายมีโลภ เป็นต้น ซึ่งนับ เนื่องในสังขารขันธ์ด้วยกันนั้น ยังไม่เกิด จึ่งยังไม่เป็นพระพุทธเจ้า ต่ออรหัตมรรค อรหัตผลเกิดแล้ว จึ่งเป็นพระพุทธเจ้า เพราะเหตุนั้น จึ่งว่าพระพุทธเจ้าเกิดสองครั้ง

            ถามว่า พระองค์แสวงหากุศลธรรมนั้นอย่างไร ? แก้ว่าพระองค์ แสวงหาด้วยอุบายต่าง ๆ จนถึงกลั้นลมหายใจอดอาหาร ก็ไม่ได้ธรรม วิเศษสิ่งใด ภายหลังพระองค์จึ่งทรงนึกได้ถึงอานาปานสติฌานที่ พระองค์ได้เมื่อยังทรงพระเยาว์อยู่ครั้งหนึ่ง ว่าเป็นของอัศจรรย์ชอบ กลนักหนา เห็นจะเป็นทางแห่งความตรัสรู้ได้ พระองค์จึ่งกลับเสวย อาหาร แล้วเสร็จไปทรงนั่ง ณ โคนไม้อัสสัตถะ เจริญอานาปานสติ คือตั้งสติเฉพาะลมหายใจออกเข้าอย่างเดียว ไม่ส่งจิตไปอื่น
            รำงับ กามฉันทะความใคร่ความพอใจ พยาบาทความปองร้าย ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน อุทธัจจะ กุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ วิจิกิจฉาความเคลือบแคลงเหล่านี้ ที่เป็นนิวรณ์เครื่องห้ามสมาธิ เครื่องหมองใจ เป็นของทำปัญญาให้เสียไป แล้วจึ่งได้ปฐมฌาน เป็นฌานประกอบด้วยองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคตา แรงกล้ากว่าเจตสิกธรรมอื่น แล้วพระองค์พยายามยิ่ง ๆ ขึ้นไปโดย ลำดับ รำงับวิตกวิจารเป็นของหยาบเสีย เหลืออยู่แต่ปีติ สุข เอกัค ตา เป็นทุติยฌาน แล้วรำงับปีติเป็นของหยาบเสีย เหลืออยู่แต่สุข เอกัคตา เป็นตติยฌาน แล้วละสุขเป็นของหยาบเสีย เหลืออยู่ แต่เอกัคตากับอุเอกขาที่กล้าเป็น จตุตถฌาน แล้วพระองค์ทำฌาน ทั้ง ๔ นั้น ให้ชำนาญคล่องแคล่วด้วยการนึกและการเข้า เป็นต้น
            ครั้นจิตใสบริสุทธิ์ละเอียดดีแล้วด้วยอำนาจจตุตถฌาน พระองค์ จึ่งน้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือปัญญาที่ตามระลึก ซึ่งขันธ์ที่ตนและสัตว์อื่นอยู่แล้วในภพก่อนชาติก่อนก็ระลึกได้ ซึ่ง ชาติหลังตั้งแต่ชาติหนึ่งจนถึงอเนกสังวัฏฏวิวัฏฏกัลป ความสงสัยว่า ภพก่อนชาติก่อนจะมีหรือหาไม่นั้นก็สิ้น เห็นชัดว่าภพก่อนชาติก่อน มีแน่แท้ แต่ถ้าว่าเห็นว่าสังสารวัฏมีเบื้องต้นแม้บุคคลระลึกตามไปก็ ไม่รู้ อันนี้เป็นวิชชาที่ต้น พระองค์ได้ในปฐมยาม
            ครั้งมัชฌิยาม พระองค์จึ่งน้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ คือปัญญาที่รู้ที่เป็นจุติ ปฏิสนธิแห่งสัตว์ พระองค์ก็ได้เห็นสัตว์ทั้งหลายที่ประพฤติทุจริต ทั้งสาม กอปรด้วยมิจฉาทิฐิ จุติแล้วไปบังเกิดในอบายภูมิด้วย สัมมาทิฐิ ครั้นจุติแล้วไปบังเกิดในสุคติภูมิ ด้วยกุศลกรรมนั้น พระองค์เห็นชัดด้วยทิพยจักษุญาณดังนี้ ความสงสัยว่าสิ่งไรเป็นของ แต่งให้สัตว์ได้ดีได้ชั่ว และความสงสัยว่าชาติมาแต่ไหนก็สิ้น ด้วย เห็นชัดว่ากรรมคือบุญบาปเป็นของแต่งสัตว์ให้ดีให้ชั่ว ชาติมาแต่ กรรมภพ อันนี้เป็นวิชชาที่สอง พระองค์ได้ในยามกลาง
            ครั้นวิชชา ทั้งสองชำระทางปัญญาให้บริสุทธิ์แล้ว พระองค์น้อมจิตไปเพื่อ อาสวักขยญาณ ปัญญารู้ซึ่งธรรมเป็นเครื่องสิ้น อาสวะ ได้แก่มรรค ผลและนิพพาน คือพระองค์ปรารภชรา พยาธิ มรณะ ซึ่งเป็นทุกข์ ประหนึ่งว่าไฟเผาสัตว์ที่ได้เห็นแล้วแต่เดิมนั้นก่อน จึ่งค้นหาปัจจัย แห่งความทุกข์นั้น ก็ได้เห็นชรา พยาธิ มรณะนั้นมาแต่ชาติ ๆ มา แต่กรรมภพคือกุศลอกุศล ภพมาแต่อุปาทานความถือมั่น ๔ อย่าง คือ กาม ทิฐิ สีลพัต อัตตวาท อุปาทาน ๔ อย่างมาแต่ตัณหา คือ ความดิ้นรนด้วยความอยาก ตัณหามาแต่เวทนา คือ ความเสวยรส อารมณ์ เป็นสุขเป็นทุกข์และมัธยัสถ์ เวทนามาแต่ผัสสะความ กระทบถูกต้อง คือทวารมีจักษุประสาทเป็นต้น และวิญญาณมีจักษุ วิญญาณเป็นต้น และอารมณ์มีรูป เป็นต้น ถึงพร้อมกันเข้าเรียกว่า ผัสสะ ๆ มาแต่อายตนะ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อายตนะ ๖ มาแต่นามรูป สิ่งที่น้อมไปนึกอารมณ์ได้เป็นนาม สิ่งที่ฉิบหายวิบัติ ด้วยเย็นนักร้อนนักเป็นต้น เป็นรูป นามรูปมาแต่วิญญาณคือปฏิสนธิ จิต วิญญาณมาแต่สังขารของแต่งสัตว์ให้ดี ให้ชั่ว คือกุศลและอกุศล สังขารมาแต่อวิชชาคือความไม่รู้แจ้งว่านี่ทุกข์ นี่เหตุให้เกิดทุกข์ นี่ ที่ดับทุกข์ นี่หนทางให้ถึงที่ดับทุกข์ แล้วพระองค์เห็นว่าอวิชชากับ ตัณหาสองนี้ เป็นรากเง่าเค้ามูลแห่งสังสารวัฏ แล้วจึ่งเจริญวิปัสสนา ให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อมละอวิชชาตัณหานั้น
            เจริญวิปัสสนาอย่างไร พระองค์จับ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป อายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ เหล่านี้ละสิ่ง ๆ ขึ้นพิจารณา นึกพินิจฉัยว่า ใช่สัตว์ใช่บุคคลใช่ตัวใช่เขาใช่เรา เป็นสภาพ อันหนึ่ง ๆ อาศัยซึ่งกันแลกันเกิดขึ้นแล้วดับไป ๆ แล้วเกิดขึ้น เมื่อ อวิชชามีอยู่ก็เป็นปัจจัยให้เกิดมีสังขาร สังขารมีอยู่ก็เป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณ วิญญาณมีอยู่ก็เป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป ๆ มีอยู่ก็เป็นปัจจัย ให้เกิดอายตนะ ๆ มีอยู่ก็เป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ ๆ มีอยู่ก็เป็นปัจจัยให้ เกิดเวทนา ๆ มีอยู่ก็เป็นปัจจัยให้เกิดภพ ๆ มีอยู่ก็เป็นปัจจัยให้เกิดชาติ ๆ มีอยู่ก็เป็นปัจจัยให้เกิดความทุกข์ คือ ชรา มรณะ โสกปริเทวะ ทุกข โทมนัส อุปายาส เป็นประหนึ่งว่าเพลิงเผาอยู่ให้ร้อนทุกภพ ทุกชาติ นี้แลธรรมอาศัยซึ่งกันแลกันเกิดขึ้นดังนี้ หมุนเวียนไปในสังสารวัฏ จะว่าสิ่งไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นเบื้องปลายนั้นไม่ได้ ได้ จริงอยู่แต่กองทุกข์เท่านั้น เกิดขึ้นดับไปหนุนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ จะว่าสัตว์และบุคคลเสวยทุกข์นั้นไม่ได้ เพราะเป็นสภาพอันหนึ่ง ๆ อาศัยกันแลกันเกิดขึ้นเท่านั้น แล้วพระองค์เห็นว่านี่แลเป็นความ ทุกข์ ๆ นี้จะพึงกำหนดรู้แท้ได้ แล้วพระองค์ได้กำหนดรู้ด้วย ปริญญาภิสมัยดังนี้ แล้วพระองค์รู้ว่าอวิชชา ตัณหา สองนี้แลเป็น มูลรากแห่งสังสารวัฏ เป็นเหตุให้เกิดกองทุกข์ดังว่ามา อวิชชา ตัณหา จะพึงมละได้แท้ พระองค์มละเสียได้ด้วยปหานาภิสมัย พระองค์เห็นว่าดับอวิชชา ตัณหา สองนี้ได้แล้ว สังขาร วิญญาณ นามรูป เป็นต้น ที่เป็นผลก็ดับสิ้น ธรรมที่ดับทุกข์นี้ จะพึงเห็นได้ ชัดเป็นแท้ พระองค์เห็นธรรมที่ดับทุกข์ชัดได้ด้วยสัจฉิกิริยาภิสมัย พระองค์เห็นว่าปัญญาความเห็นอย่างนี้ เป็นทางให้ถึงที่ดับทุกข์ ปัญญานี้เป็นของจะพึงให้มีให้เจริญขึ้นได้เป็นแท้ แล้วพระองค์ได้ทำ ให้มีให้เจริญขึ้นด้วยภาวนาภิสมัย ความกำหนดรู้ทุกข์ มละอวิชชา ตัณหา เห็นนิพพานชัด
            ความเป็นขึ้นแห่งมรรคจิตอย่างนี้เกิดขึ้น ในขณะจิตอันเดียว ชื่อว่าเป็นมรรคเกิดขึ้น มรรคนี้เกิดขึ้นในกาลใด กาลนั้นอาสวะเครื่องดองในสันดานทั้งสาม คือ กามาสวะ ภวาสวะ เป็นตัวตัณหากับอวิชชาสวะก็สิ้นสูญ แล้วผลเกิดขึ้นรำงับซ้ำอีกครั้ง หนึ่ง มรรคผลนี้แลชื่อว่าอาสวักขยญาณ ปัญญารู้ความสิ้นอาสวะ เครื่องดองในสันดาน อาสวักขยญานนี้ ชื่อว่าวิชชาที่สาม พระองค์ ได้ในเวลาจวนรุ่ง วันวิศาขบูรณมี ดังกล่าวมานี้แลชื่อว่า พระองค์ แสวงหาธรรมเป็นที่สิ้นความทุกข์

            ถามว่าเหตุอันใดบันดาลให้พระองค์เห็น ชรา พยาธิ มรณะ เป็นทุกข์ประหนึ่งว่าเพลิงเผาตนเองและสัตว์อื่น ให้ร้อนพระหฤทัย มละสุขสมบัติเสีย ออกแสวงหาธรรมที่สิ้นทุกข์ดังนี้ ชนอื่นทำไมเล่า จึงไม่เห็นอย่างพระองค์นั้น ? แก้ว่า พระองค์เคยย่ำยีแยกขยาย กระจายสังขารเห็นความจริงสามประการ คือ อนิจจตา ความเป็นขอ ไม่เที่ยง ทุกขตา ความเป็นทุกข์ อนัตตตา ความเป็นของใช่ตัวตน ด้วยปัญญาและกุศลอื่นมีทานศีลเป็นต้น ซึ่งพระองค์ได้บำเพ็ญมา ในภพก่อนมามากนาน จึ่งเป็นอุปนิสัยบันดาลให้พระองค์เห็นดังนี้ แล้ว แสวงหาธรรมที่สิ้นทุกข์ ส่วนชนอื่นไม่ได้ปฏิบัติเหมือนอย่าง พระองค์ จึงเห็นวัตถุแห่งความทุกข์ว่าเป็นวัตถุแห่งความสุขแล้ว และหลงอยู่ในวัตถุนั้น

            ถามว่า ในบุพพสิกขาว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ ด้วยมละนิวรณ์ ๕ ตั้งจิตในสติปัฏฐาน ๔ เจริญโพชฌงค์ ๗ จึ่ง เป็นพระพุทธเจ้า ในที่นี้ว่าตรัสรู้ได้ด้วยวิชชา ๓ จึ่งเป็นพระพุทธเจ้า ทำไมจึ่งไม่เหมือนกัน ? แก้ว่า เป็นแต่เทศนามุขเท่านั้น โดยอรรถ คำทั้งสองนั้นลงกันเหมือนกัน จะกล่าวให้ฟัง นิวรณ์ ๕ คือ กามฉันทะ ความใคร่ความพอใจในกามคุณ ๑ พยาบาท ความปองร้าย ๑ ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน ๑ อุทธัจจะ กุกกุจจะ ความ ฟุ้งซ่านรำคาญใจ ๑ วิจิกิจฉา ความเคลือบแคลง ๑ รวม ๕ นี้ เรียกว่านิวรณ์ เพราะเป็นของกั้นกุศลธรรม มีสมาธิเป็นต้นมิให้เกิด ขึ้นได้ เป็นของทำใจให้เศร้าหมอง เป็นของทำปัญญาให้เสียกำลัง ไป พระองค์มละนิวรณ์ ๕ นี้ด้วยวิขัมภนปหาน คือข่มไว้ด้วยอานา ปานสติฌานก่อนแล้ว เมื่อมรรคเกิดขึ้นฆ่า อวิชชา ตัณหา ซึ่งเป็น สีสะแห่งกิเลส เป็นมูลรากแห่งสังสารวัฏ ตายขาดแล้ว นิวรณ์ ๕ ซึ่งเป็นกิเลส นับเนื่องใน อวิชชา ตัณหา นั้นก็ตายขาดด้วยสมุจ เฉทปหาน
            ด้วยเหตุนี้จึ่งว่า มละนิวรณ์ ๕ ฯ สติปัฏฐาน ๔ คือ กายานุปัสสนา ความตามเห็นซึ่งกายโดยความสิ้นความเสื่อม ๑ เวทยานุปัสสนา ความตามเห็นซึ่งเวทนาโดยความสิ้นความเสื่อม ๑ จิตตานุปัสสนา ความตามเห็นซึ่งจิตโดยความสิ้นความเสื่อม ๑ ธัมมานุปัสสนา ความตามเห็นซึ่งธรรมโดยความสิ้นความเสื่อม ๑ สี่นี้ชื่อว่า สติปัฏฐาน ๆ แปลว่าธรรมชาติเข้าไปตั้งอยู่ในอารมณ์ คือสติ หรือว่าสติเข้าไปตั้งอยู่ในอารมณ์ สติ แปลว่าความระลึก สตินี้เป็นเจตสิกตัวเดียวไม่เป็นสอง
            เหตุใดจึ่งว่าสติปัฏฐาน ๔ เหล่า ซึ่งกล่าวว่าสติปัฏฐาน ๔ นั้น ด้วยสามารถอารมณ์เป็นที่เข้า ไปตั้งอยู่แห่งสติ อารมณ์แห่งสตินั้น ๔ คือ กาย ๑ เวทนา ๑ จิต ๑ ธรรม ๑ สติปรารภเอาเอกเทศแห่งกายมีลมหายเป็นต้น หรือปรารภสกลกายมี ผม ขน เล็บ ฟัน เป็นต้นเป็นอารมณ์ แล เห็นความสิ้นความเสื่อมเกิดดับแห่งกาย หรือเห็นว่ากายเป็นของปฏิกูล หรือเห็นว่าเป็นสักว่าธาตุก็ดี หรือสักว่าเป็นแต่กายก็ดี ดังนี้นั้นชื่อว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติปรารภเอาเวทนา ๓ คือ สุข ทุกข์ อุเบกขา อันใดอันหนึ่งเป็นอารมณ์ แลเห็นความสิ้นคามเสื่อมเกิดดับ แห่งเวทนา หรือเห็นว่าสักว่าเวทนาเท่านั้นก็ดี ดังนี้ชื่อว่าเวทนา นุปัสสนาสติปัฏฐาน สติปรารภเอาจิตกอบด้วยราคะความกำหนัด หรือจิตปราศจากราคะเป็นต้น อันใดอันหนึ่งเป็นอารมณ์ แลเห็น ความสิ้นความเสื่อมเกิดดับแห่งจิต หรือเห็นว่าสักว่าจิตเท่านั้นก็ดี
            ดังนี้นั้นชื่อว่า จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติปรารภเอาธรรมคือ อุปาทายรูป หรือสัญญา หรือสังขารขันธ์ ที่พ้นจากกายเวทนาจิต อันใดอันหนึ่งเป็นอารมณ์ แลเห็นความสิ้นความเสื่อมเกิดดับแห่ง ธรรม หรือเห็นว่าเป็นสักว่าธรรมเท่านั้นก็ดี ดังนี้นั้นชื่อว่าธัมมานุ ปัสสนาสติปัฏฐาน ก็ในองค์แห่งปฏิจจสมุบบาท ๑๒ มีอวิชชาเป็นต้น มีชรามรณะเป็นที่สุดนั้น อวิชชา สังขาร อายตนะ ผัสสะ ตัณหา อุปาทาน ภพ อุปาทายรูปในรูป และสัญญา เจตนา เอกัคตา ชีวิตินทรีย์ในนาม หรือในอุปปัตติภพและชาติ ชื่อว่าเป็นธรรม วิญญาณชื่อว่าเป็นจิต เวทนาชื่อว่าเป็นเวทนา มหาภูตรูปในรูปหรือ ในอุปปัตติภพและชาติ ชื่อว่าเป็นกาย
            เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค เมื่อพระองค์จับองค์แห่งปฏิจจสมุบบาท มีอวิชชาเป็นต้นละสิ่ง ขึ้น พิจารณานึกพินิจฉัยดังกล่าวมาแล้วในก่อน ชื่อว่าพระองค์ตั้งจิต เฉพาะด้วยดีในสติปัฏฐาน ๔ ฯ โพชฌงค์ แปลว่าองค์ว่าเหตุแห่ง ความตรัสรู้เท่าสังขาร โพชฌงค์ ๗ นั้น คือ สติความระลึกได้แก่ สติปัฏฐานนั้นเอง ธัมมวิจยะ ความเลือกความค้นซึ่งธรรมว่า นี่กุศล นี่อกุศลเป็นต้น ก็ได้แก่ปัญญาที่ปรารภองค์ปฏิจจสมุบบาท มีอวิชชา เป็นต้น และอารมณ์แห่งสติปัฏฐาน มีกายเป็นต้นเป็นอารมณ์ แล เห็นความสิ้นความเสื่อมแห่งอารมณ์นั้นเอง วิริยะ ความเป็นคนกล้า ได้แก่เพียรพยายามมละอกุศลมีนิวรณ์ ๕ เป็นต้น และทำกุศลมีสติ ปัญญาเป็นต้นให้เกิดขึ้นนั้นเอง ปัสสัทธิ ความรำงับกายรำงับจิตได้แก่ ความไม่กระวนกระวายจิต เจตสิก ในขณะกุศลธรรมมีสติปัญญาและ สมาธิเป็นต้นเกิดขึ้นนั้นเอง สมาธิ ความตั้งจิตในอารมณ์อันเดียวได้ แก่เอกัคคตา อัปปนาฌานทั้ง ๔ นั้นเอง อุเบกขา ความเพ่งโดยอุปบัติ ได้แก่ความไม่ขวนขวายในที่จะตั้งจิตให้เป็นสมาธิอีก เป็นแต่เพ่งจิต ที่ถึงซึ่งความรำงับอยู่แล้วเท่านั้นเอง ธรรม ๗ นี้แลชื่อว่าโพชฌงค์
            เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคดำเนินในวิชชา ๓ แล้วถึงความตรัสรู้ รูเท่าสังขาร ก็ชื่อว่าพระองค์เจริญโพชฌงค์ ๗ ด้วยคำว่าเจริญโพชฌงค์ ทั้ง ๗ นั้น เป็นคำกล่าวโดยนิรวเศษ กำหนดตามโพชฌงคนิยม แต่ ถ้าว่าในขณะอรหัตมรรคอรหัตผลบังเกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคนั้น พระองค์ถึงความตรัสรู้รู้เท่าสังขารนั้น ก็ชื่อว่าพระองค์เจริญโพชฌงค์ มีแต่ ๖ เพราะปีติสัมโพชฌงค์ พระองค์มละเสียแล้วด้วยตติยฌาน อนึ่งกิจในพรหมจรรย์โดยสังเขปมีอยู่ ๒ คือ ปหานะและภาวนา คำว่าพระผู้มีพระภาคมละนิวรณ์ ๕ นั้น เป็นคำแสดงปหานกิจว่า ใช่แต่มละนิวรณ์ ๕ อย่างเดียวหาไม่ มละอาสวะ ๓ ด้วย วิขัมภน ปหานข่มไว้ด้วยวิชชา ๒ เบื้องต้น และด้วยสมุจเฉทปหาน มละ ขาดทีเดียวด้วยวิชชาที่ ๓ ด้วยคำว่าพระผู้มีพระภาคเจริญโพชฌงค์ ๗ นั้น เป็นคำแสดงภาวนากิจ ว่าใช่แต่เจริญโพชฌงค์ ๗ อย่างเดียวหา มิได้ ทำวิชชา ๓ ให้เจริญด้วย ฯ
            คำว่าพระผู้มีพระภาคตั้งจิตในสติ ปัฏฐานทั้ง ๔ นั้น เป็นคำแสดงปฏิปทา ข้อปฏิบัติซึ่งให้เกิด ปหานะและภาวนา พระผู้มีพระภาคแสดงสติปัฏฐาน ๔ ไม่ยิ่งไม่ หย่อนนั้น ตามจริตของบุคคล ก็แลบุคคลว่าโดยจริตสังเขปมีอยู่ ๒ จำพวก คือตัณหาจริต ๑ ทิฐิจริต ๑ ตัณหาจริตมีอีกเป็นสอง คือ หยาบละเอียด ทิฐิจริตก็มีสองบ คือหยาบละเอียด กายานถปัสสนาสติ ปัฏฐาน เป็นสบายแก่คนเป็นตัณหาจริตหยาบ เวทยานุปัสสนาสติ ปัฏฐาน เป็นสบายแก่คนเป็นตัณหาจริตละเอียด จิตตานุปัสสนาสติ ปัฏฐาน เป็นสบายแก่คนเป็นทิฐิจริตหยาบ ธัมมานุปัสสนาสติ ปัฏฐาน เป็นสบายแก่คนเป็นทิฐิจริตละเอียด ก็แลมละนิวรณ์ ๕ ตั้ง จิตในสติปัฏฐาน ๔ และเจริญโพชฌงค์ ๗ สามนี้ละสิ่ง ๆ ในกาล เป็นบูรพภาค ย่อมมีย่อมเป็นในขณะจิตต่าง ๆ กันบ้าง แต่ในกาล เมื่อมรรคบังเกิดขึ้น ย่อมมีย่อมเป็นในขณะจิตอันเดียวกัน ด้วยคำว่า พระผู้มีพระภาคมละนิวรณ์ ๕ ตั้งจิตในสติปัฏฐาน ๔ เจริญ โพชฌงค์ ๗ แล้วแลตรัสรู้สัมมาสัมโพธิดังนี้นั้น แสดงว่าพระผู้มีพระ- ภาคเมื่อยังเป็นโพธิสัตว์อยู่นั้น กอบด้วยทิฐิจริตละเอียด และตั้งจิต ในธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานโดยมาก ในกาลเป็นบูรพภาค
            เพราะ กุศลธรรมและอกุศลธรรม ๒ นี้โดยสังเขป ชื่อว่าธรรมเป็นอารมณ์ แห่งธัมมนุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็อกุศลธรรมยกนิวรณ์ ๕ ขึ้นเป็น ตัวอย่าง ฝ่ายกุศลธรรมยกโพขฌงค์ ๗ ขึ้นเป็นตัวอย่าง อนึ่งบุคคล มีปัญญามาก มักกอบด้วยทิฐิจริตละเอียด ด้วยในวิชชาที่ ๓ กล่าวว่า พระผู้มีพระภาค กระทำองค์แห่งปฏิจจสมุบาทมีอวิชชาเป็นต้น ให้เป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาญาณนั้น แสดงว่าพระผู้มีพระภาคเมื่อ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่นั้น กอปรด้วยโลกิยปัญญามาก เป็นผู้มีทิฐิจริต ละเอียด และตั้งจิตในธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานโดยมาก
            ในกาล เป็นบูรพภาค เพราะองค์ปฏิจจสมุบบาทมีอวิชชเป็นต้นชื่อว่า ธรรมซึ่งเป็นอารมณ์แห่งธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานมีอยู่ได้มาก ซึ่ง กล่าวมาทั้งนี้ เพื่อจะให้รู้ว่าคำที่กล่าวว่าพระผู้มีพระภาคมละนิวรณ์ ๕ ตั้งจิตในสติปัฏฐาน ๔ เจริญโพชฌงค์ ๗ จึ่งเป็นพระพุทธเจ้า กับคำว่าพระพุทธเจ้าดำเนินในวิชชาทั้ง ๓ จึ่งเป็นพระพุทธเจ้า สองนี้ลงกันเหมือนกันไม่ผิดดังนี้ ให้นักปราชญ์พึงรู้ว่า ซึ่งพรรณนา ความบังเกิดแห่งพระพุทธรัตนะมาดังนี้
            เพื่อจะให้รู้อธิบายคำใน บุพพสิกขาที่กล่าวไว้โดยย่อดังนี้ว่า "พระผู้มีพระภาคนั้น พระองค์ บังเกิดขึ้นแล้วในมนุษย์อริยกะทั้งหลายในมัชฌิมประเทศ โดยชาติ พระองค์เป็นกษัตริย์ โดยโคตรพระองค์เป็นโคตมโคตร เป็นบุตร สักยกษัตริย์ ออกจากสักยตระกูลบวชแล้ว พระองค์แสวงหากิงกุศล สันติวรบท ส่วนธรรมรำงับทุกข์อันบวรประเสริฐไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า พระองค์ได้มละนิวรณ์ ๕ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเป็นของทำ ปัญญาให้เสียกำลัง พระองค์มีจิตตั้งลงเฉพาะในสติปัฏฐานทั้ง ๔ ยังโพชฌงค์ ๗ แล้ว ให้เป็นให้เจริญขึ้นโดยความถ่องแท้แล้ว ตรัสรู้ สัมมาสัมโพธิ ปัญญาธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้เองชอบ ประเสริฐไม่มี สิ่งไรยิ่งกว่า ณ โคนโพธิ์อัสสัตถพฤกษ์ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา" ดังนี้แล

         

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ