บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   น่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฏก   พระสุตตันตปิฏก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฏก ๔๕ เล่ม   คำค้นหาพระไตรปิฎก  ชาดก  ธรรมปฏิบัติ  



ข้อความน่ารู้
จาก
พระไตรปิฎก

อะไรเป็นแก่นสาร

ส่วนแห่งความรู้

ฐานะ ๕

เงื่อนไขแก่ภิกษุณี

อาสวะที่พึงละ

การรักษาสาธารณสมบัติ

อานาปานาสติ

ถามตอบธรรม

ความทุกข์ของสตรี

วิชาดูดาว

การทำให้สุข

 

ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก

๑๑๒. พระพุทธเจ้าทรงพยาบาลภิกษุอาพาธ

              สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธด้วยโรคท้องเสีย เธอนอนจนปัสสาวะ อุจจาระของตนอยู่. ขณะนั้นพระผู้มีพระภาค มีท่านพระอานนท์ตามเสด็จ เที่ยวตรวจเสนาสนะไปยังที่อยู่ของภิกษุนั้น ทอดพระเนตรเห็นเธอนอนจมปัสสาวะ อุจจาระของตนอยู่ จึงเสด็จเข้าไปหา ตรัสถามว่า "ดูก่อนภิกษุ เธออาพาธด้วยโรคอะไร?"
              ภิกษุนั้นกราบทูลว่า "โรคท้องเสีย พระเจ้าข้า"
              "ภิกษุผู้พยาบาลเธอไม่มีหรือ?"
              "ไม่มี, พระเจ้าข้า"
              "เพราะเหตุไรเล่า ภิกษุทั้งหลายจึงไม่พยาบาลเธอ?"
              "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ทำประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลาย. เพราะเหตุนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงไม่พยาบาลข้าพระองค์."
              ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกพระอานนท์มาสั่งว่า "ดูก่อนอานนท์ เธอจงไปนำน้ำมา เราจะอาบน้ำให้ภิกษุนี้."
              พระอานนท์รับพระพุทธดำรัสแล้ว จึงไปนำน้ำมา.
              พระผู้มีพระภาคทรงรดน้ำ พระอานนท์ทำความสะอาด. พระผู้มีพระภาคทรงจับทางศีรษะ พระอานนท์ยกทางเท้าให้ภิกษุนั้นนอนบนเตียง.
              ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคทรงเรียกประชุมภิษุทั้งหลาย เพราะเหตุการณ์นั้น ตรัสถามว่า "ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย มีภิกษุไข้อยู่ในวิหารโน้นมิใช่หรือ? "
              "มี พระเจ้าข้า"
              "เธออาพาธด้วยโรคอะไร ?"
              ด้วยโรคท้องเสีย พระเจ้าข้า."
              "มีใครพยาบาลภิกษุนั้นหรือเปล่า ?"

              "ไม่มี พระเจ้าข้า"
              "ทำไมเล่า ภิกษุทั้งหลายจึงไม่พยาบาลภิกษุนั้น."
              "ภิกษุทั้งหลายไม่พยาบาลเธอ เพราะเธอไม่ทำประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าข้า"

              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มารดาบิดาผู้จะพึงพยาบาลพวกเธอก็ไม่มี. ถ้าเธอไม่พยาบาลกันเอง ใครเล่าจักพยาบาล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดจะพยาบาลเรา ก็พึงพยาลภิกษุไข้เถิด. ถ้ามีอุปัชฌายะ อุปัชฌายะพึงพยาบาลเธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย. ถ้ามีอาจารย์ อาจารย์พึงพยาบาลเธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย. ถ้ามีสัทธิวิหาริก สัทธิวิหาริกพึงพบาลเธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย. ถ้ามีอันเตวาสิก อันเตวาสิกพึงพยาบาลเธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย. ถ้ามีภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌายะ ภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌายะพึงพยาบาลเธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย. ถ้ามีภิกษุผู้ร่วมอาจารย์ ภิกษุผู้ร่วมอาจารย์พึงพยาบาลเธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย. ถ้าไม่มีอุปัชฌายะ อาจารย์สัทธิวิหาริก อันเตวาสิก ผู้ร่วมอุปชฌายะ หรือผู้ร่วมอาจารย์ สงฆ์พึงพยาบาลเธอ. ถ้าไม่พยาบาลต้องอาบัติทุกกฏ."

วินัยปิฎก ๕/๒๒๖

๑๑๓. ผู้เช่นไร บรรลุสุขอันไพบูล

              "ท่านทั้งหลายจงอย่าประกอบเนือง ๆ ซึ่งความประมาทและความเชิดเชื้อกับความยินดีในกาม เพราะวาผู้ไม่ประมาท เพ่ง(ธรรม) อยู่ ย่อมได้บรรลุความสุขอันไพบูล."

๑๑๔. ขึ้นสู่ที่สูงมองดูคนข้างล่าง

              "เมื่อใด บัณฑิตรุนความประมาทออกด้วยความไม่ประมาทได้ เมื่อนั้น บัณฑิตขึ้สู่ปราสาทคือปัญญา เป็นผู้ไม่เศร้าโศก ย่อมมองเห็นประชาสัตว์ผู้โศกเศร้า. ผู้มีปัญญา ย่อมมองเห็นคนพาลได้ เหมือนคนยืนอยู่บนภูเขามองเห็นคนที่ยืนอยู่บนพื้นดินฉะนั้น."

๑๑๕. ผู้มีปัญญาเหมือนม้าฝีเท้าเร็ว

              "ผู้มีปัญญา เมื่อคนทั้งหลายประมาท เป็นผู้ไม่ประมาท เมื่อคนทั้งหลายหลับ (เพราะกิเลส) เป็นผู้ตื่นอยู่โดยมาก ย่อมขึ้นหน้าคนมีปัญญาทรามไป เหมือนม้ามีฝีเท้าเร็ว ขึ้นหน้าม้าที่ไม่มีกำลังไปฉะนั้น."

ธรรมบท ๒๕/๑๘

๑๑๖. ดีเหนือผู้อื่นด้วยความไม่ประมาท

              "ท้าวมฆวา (พระอินทร์) บรรลุความเป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวาทั้หลายด้วยนความไม่ประมาท. บัณฑิตสรรเสริญความไม่ประมาท ติเตียนความประมาททุกเมื่อ."

ธรรมบท ๒๕/๑๙


๑. คำว่า เรา ในที่นี้ หมายถึงพระพุทธเจ้าและพระอานนท์
๒. อุปัชฌายะ คือผู้บวชให้ คู่กับสัทธิวิหาริก คือผู้อยู่ด้วย หมายเอาผู้ที่เข้ามาบวช มีภิกษุใดเป็นอุปัชฌายะ ก็เป็นสัทธิวิหาริกของภิกษุนั้น. อาจารย์ คือผู้สวดประกาศสงฆ์ในขณะบวช หรือผู้สอนธรรม ผู้ปกครองคู่กับอันเตวาสิก คือผู้อยู่ในปกครอง

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   น่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฏก   พระสุตตันตปิฏก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฏก ๔๕ เล่ม   คำค้นหาพระไตรปิฎก  ชาดก  ธรรมปฏิบัติ