บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   น่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฏก   พระสุตตันตปิฏก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฏก ๔๕ เล่ม   คำค้นหาพระไตรปิฎก  ชาดก  ธรรมปฏิบัติ  



ข้อความน่ารู้
จาก
พระไตรปิฎก

อะไรเป็นแก่นสาร

ส่วนแห่งความรู้

ฐานะ ๕

เงื่อนไขแก่ภิกษุณี

อาสวะที่พึงละ

การรักษาสาธารณสมบัติ

อานาปานาสติ

ถามตอบธรรม

ความทุกข์ของสตรี

วิชาดูดาว

การทำให้สุข

 

ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก

แจกหัวข้อธรรม (ธัมมหทยวิภังค์)

๑๘๖. คำถามคำตอบเรื่องแจกหัวข้อธรรม

              ขันธ์มีเท่าไร ? อายตนะมีเท่าไร ? ธาตุมีเท่าไร ? สัจจะมีเท่าไร ? อินทรีย์มีเท่าไหร ? เหตุมีเท่าไร ? อาหารมีเท่าไร ? ผัสสะมีเท่าไร ? เวทนามีเท่าไร ? สัญญามีเท่าไร ? เจตนามีเท่าไร ? จิตมีเท่าไร ?

              ขันธ์มี ๕. อายตนะมี ๑๒. ธาตุมี ๑๘. สัจจะมี ๔. อินทรีย์มี ๒๒. เหตุมี ๙. อาหารมี ๔. ผัสสะมี ๗. เวทนามี ๗. สัญญามี ๗. เจตนามี ๗. จิตมี ๗.

วิภังค์ อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๔๑

๑๘๗. ขันธ์ (กอง) ๕ มีอะไรบ้าง ?

              ขันธ์ ๕ คือ

              ๑. กองรูป (รูปขันธ์ คือธาตุทั้งสี่ประชุมกันเป็นกาย พร้อมทั้งรูปที่อาศัยธาตุทั้งสี่ปรากฏ เช่น ความเป็นหญิง ความเป็นชาย เป็นต้น)
              ๒. กองเวทนา (เวทนาขันธ์ คือความรู้สึกเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือไม่ทุกข์ไม่สุข)
              ๓. กองสัญญา (สัญญาขันธ์ คือความจำได้หมายรู้ เช่น จำรูป จำเสียง)
              ๔. กองสังขาร (สังขารขันธ์ คือความคิด หรือเจตนา ที่ดีบ้าง ชั่วบ้าง)
              ๕. กองวิญญาณ (วิญญาณขันธ์ คือความรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เช่น รู้สึกว่า เห็น, ได้ยิน, ได้กลิ่น เป็นต้น)
              นี้เรียกว่าขันธ์ ๕.

วิภังค์ อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๔๒

๑๘๘. อายตนะ (ที่ต่อ) ๑๒ มีอะไรบ้าง ?

              อายตนะ ๑๒ คือ

๑. ที่ต่อคือตา        (จักขายตนะ)
๒. ที่ต่อคือหู           (โสตายตนะ)
๓. ที่ต่อคือจมูก       (ฆานายตนะ)
๔. ที่ต่อคือลิ้น         (ชิวหายตนะ)
๕. ที่ต่อคือกาย       (กายายตนะ)
๖. ที่ต่อคือใจ           (มนายตนะ)
} (จัดเป็นอายตนะภายใน)
๗. ที่ต่อคือรูป                    (รูปายตนะ)
๘. ที่ต่อคือเสียง                (สัททายตนะ)
๙. ที่ต่อคือกลิ่น                 (คันธายตนะ)
๑๐. ที่ต่อคือรส                  (รสายตนะ)
๑๑. ที่ต่อคือสิ่งที่ถูกต้องได้ (โผฏฐัพพายตนะ)
๑๒. ที่ต่อคืออารมณ์ของใจ (ธัมมายตนะ)
} (จัดเป็นอายตนะภายนอก)

              นี้เรียกว่าอายตนะ ๑๒.

วิภังค์ อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๔๒

๑๘๙. ธาตุ ๑๘ มีอะไรบ้าง

              ธาตุ ๑๘ คือ
              ๑. ธาตุคือตา (จักขุธาตุ)
              ๒. ธาตุคือรูป (รูปธาตุ สิ่งที่เห็นได้ด้วยตา)
              ๓. ธาตุคือความรู้อารมณ์ทางตา (จักขุวิญญาณธาตุ)
              ๔. ธาตุคือหู (โสตธาตุ)
              ๕. ธาตุคือเสียง (สัททธาตุ)
              ๖. ธาตุคือความรู้อารมณ์ทางหู (โสตวิญญาณธาตุ)
              ๗. ธาตุคือจมูก (ฆานธาตุ)
              ๘. ธาตุคือกลิ่น (คันธธาตุ)
              ๙. ธาตุคือความรู้อารมณ์ทางจมูก (ฆานวิญญาณธาตุ)
              ๑๐. ธาตุคือลิ้น (ชิวหาธาตุ)
              ๑๑. ธาตุคือรส (รสธาตุ)
              ๑๒. ธาตุคือความรู้อารมณ์ทางลิ้น (ชิวหาวิญญาณธาตุ)
              ๑๓. ธาตุคือกาย (กายธาตุ)
              ๑๔. ธาตุคือสิ่งที่ถูกต้องได้ด้วยกาย (โผฏฐัพพธาตุ)
              ๑๕. ธาตุคือความรู้อารมณ์ทางกาย (กายวิญญาณธาตุ)
              ๑๖. ธาตุคือใจ (มโนธาตุ)
              ๑๗. ธาตุคือสิ่งที่รู้ได้ด้วยใจ (ธัมมธาตุ)
              ๑๘. ธาตุนี้ความรู้อารมณ์ทางใจ (มโนวิญญาณธาตุ)
              นี้เรียกว่าธาตุ ๑๘.

วิภังค์ อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๔๒

๑๙๐. สัจจะ ๔ มีอะไรบ้าง ?

              สัจจะ ๔ คือ
              ๑. ความจริงคือทุกข์ (ทุกขสัจจ์)
              ๒. ความจริงคือเหตุให้ทุกข์เกิด (สมุทยสัจจ์)
              ๓. ความจริงคือความดับทุกข์ (นิโรธสัจจ์)
              ๔. ความจริงคือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ (มัคคสัจจ์)
              นี้เรียกว่าสัจจะ ๔

วิภังค์ อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๔๒

๑๙๑. อินทรีย์ ๒๒ มีอะไรบ้าง ?

              อินทรีย์ (ธรรมที่เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน) ๒๒ คือ
              ๑. อินทรีย์คือตา (จักขุนทรีย์)
              ๒. อินทรีย์คือหู (โสตินทรีย์)
              ๓. อินทรีย์คือจมูก (ฆานินทรีย์)
              ๔. อินทรีย์คือลิ้น (ชิวหินทรีย์)
              ๕. อินทรีย์คือกาย (กายินทรีย์)
              ๖. อินทรีย์คือใจ (มนินทรีย์)
              ๗. อินทรีย์คือหญิง (อิตถินทรีย์)
              ๘. อินทรีย์คือชาย (ปุริสินทรีย์)
              ๙. อินทรีย์คือชีวิต (ชีวิตินทรีย์)
              ๑๐. อินทรีย์คือสุข (สุขินทรีย์-สุขกาย)
              ๑๑. อินทรีย์คือทุกข์ (ทุกขินทรีย์ - ทุกข์กาย)
              ๑๒. อินทรีย์คือโสมนัส (โสมนัสสินทรีย์-สุขใจ)
              ๑๓. อินทรีย์คือโทมนัส (โทมนัสสินทรีย์-ทุกข์ใจ)
              ๑๔. อินทรีย์คืออุเบกขา (อุเปกขินทรีย์-เฉย ๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข)
              ๑๕. อินทรีย์คือความเชื่อ (สัทธินทรีย์)
              ๑๖. อินทรีย์คือความเพียร (วิริยินทรีย์)
              ๑๗. อินทรีย์คือความระลึกได้ (สตินทรีย์)
              ๑๘. อินทรีย์คือความตั้งใจมั่น (สมาธินทรีย์)
              ๑๙. อินทรีย์คือปัญญา (ปัญญินทรีย์)
              ๒๐. อินทรีย์คืออัธยาศัยที่มุ่งบรรลุมรรคผลของผู้ปฏิบัติ (อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์)
              ๒๑. อินทรีย์คือการตรัสรู้สัจจธรรมด้วยมรรค (อัญญินทรีย์)
              ๒๒. อินทรีย์ของพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้สัจจธรรมแล้ว (อัญญาตาวินทรีย์)
              นี้เรียกว่าอินทรีย์ ๒๒.

วิภังค์ อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๔๓


๑. นักวิทยาศาสตร์เมื่ออ่านเรื่องธาตุ๑๘ นี้ คงเข้าใจดีขึ้นว่า ความมุ่งหมายหรือคำนิยามคำว่า ธาตุ ซึ่งทางพระพุทธศาสนาใช้ในทีนี้ มีแนวทางธรรมะโดยเฉพาะ มิได้มุ่งหมายอย่างเดียวกับความหมายของคำว่า ธาตุ ทางวิทยาศาสตร์
๒. เช่น ตาก็เป็นใหญ่ในการเห็น จะใช้หูเห็นแทนตาไม่ได้ ลิ้นก็เป็นใหญ่ในการลิ้มรส จะใช้หูแทนลิ้นไม่ได้ เป็นต้น

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   น่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฏก   พระสุตตันตปิฏก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฏก ๔๕ เล่ม   คำค้นหาพระไตรปิฎก  ชาดก  ธรรมปฏิบัติ